ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ยิน ท่าน อ สุจินต์ เคยแสดง
"ธรรมที่รู้ได้ทางใจ"
ได้ยินแล้วคิด
" รู้ทางใจ " อะไร... ปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ ...
ขณะใด ...จึงชื่อว่า " รู้ได้ทางใจ "
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ
ท่านอาจารย์กล่าวไว้ตอนหนึ่งที่บ้านคุณศิริลักษณ์ มิ่งโมฬี พอจะจับใจความได้ว่า
"...ขณะที่อยู่เฉยๆ แม้มีตา มีสี มีเสียง มีหู มีกลิ่น มีจมูก มีรส มีลิ้น มีกาย...แต่ขณะที่ไม่รู้อารมณ์ต่างๆ เหล่านี้...ขณะนั้น เป็น "ธัมมารมณ์" แล้ว
อารมณ์ใด ที่ไม่ปรากฏขณะที่กำลังเห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัสอารมณ์นอกจากนี้ คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางใจ (ภาษาบาลี ใช้คำว่า ธัมมารมณ์)
แต่...ทางใจ สามารถรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง ไม่เว้นเลยเข้าใจว่า..."ได้ยินแล้วคิด" เป็นคำตอบที่ว่า..............
ขณะที่ "จิตได้ยิน" ต้องได้ยิน "เสียงที่ปรากฏ" (ต้องเสียงที่ปรากฏด้วย)
ต้อง มีสิ่งที่ปรากฏทางหู คือ เสียง และจะต้องไม่หูหนวก ด้วย.
ส่วน จิตที่คิด........เกิดหลังจาก เสียงปรากฏแล้วถ้า เสียงไม่ปรากฏ...จิต ก็ไม่คิดถึง "เสียงที่ได้ยินแล้วนั้น.นี่คือความรวดเร็วของจิต จากได้ยิน แล้วคิด.! เป็นต้นทางอื่น ก็โดยนัยเดียวกัน...."
(หากมีความคลาดเคลื่อนประการใด กรุณาแนะนำด้วยนะคะ...ขออนุโมทนา)
ขออนุญาตเรียนถามเพิ่มเติมครับว่า
- เมื่อวิถีจิตทางทวารเกิดขึ้นในช่วงของ ชวนวิถี นั้น เรียกว่าอะไรครับ
- และ ชวนวิถี ของวิถีจิตทางทวาร เช่นนี้ หากเป็นกุศลจิต จะมีปัญญาเกิดร่วมด้วย
ได้หรือไม่ครับ
- และปัญญาที่ว่า (หากเกิดร่วมด้วย) จะเป็นปัญญาในระดับใด
" รู้ทางใจ "
ได้ยินแล้วคิด...ถึงคำว่า... " คิด " ค่ะ
เพราะเคยเห็น แม้ไม่เห็น...ก็คิดถึง สีนั้น
เพราะเคยได้ยิน แม้ไม่ได้ยิน...ก็คิดถึง เสียงนั้น
เพราะเคยได้กลิ่น แม้ไม่ได้กลิ่น...ก็คิดถึง กลิ่นนั้น
เพราะเคยได้ลิ้มรส แม้ไม่ได้ลิ้มอยู่...ก็คิดถึง รสนั้น
เพราะเคยสัมผัส แม้ไม่ได้สัมผัสอยู่...ก็คิดถึง สัมผัสนั้น
เพราะคุ้นเคยกับการคิดที่เป็นไปในกุศล...ก็คิด เรื่องกุศล บ่อยๆ
เพราะคุ้นเคยกับการคิดที่เป็นไปในอกุศล...ก็คิด เรื่องอกุศล บ่อยๆ กว่า
เพราะ คิด อยู่ตลอด
แม้หลับก็ยังฝัน...เนื่องด้วยความคิดทั้งหลายเหล่านั้น
อยู่คนเดียวกับความคิด
ขณะนั้น...คิดอะไร...รู้ได้ด้วยใจ...รู้ได้ทางใจของคนๆ นั้น คนอื่นรู้ด้วยไม่ได้
เพราะต่างคน ต่างใจ ต่างความคิด...จริงๆ
ขออนุโมทนาคุณ khaeota
ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ
รู้ทางใจ คือจิตที่คิดหลัง เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส
และ คิด แม้ไม่ได้รู้อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
เพราะจิตช่างขยัน คิด ด้วย อกุศลจิต มากกว่า กุศลจิต
ในชีวิตประจำวัน ถ้าไม่ใช่ขณะที่เป็นภวังคจิต และรู้อารมณ์ทางปัญจทวาร
ก็คือ จิตคิด หรือจิตที่รู้อารมณ์ทางใจ นั่นเอง
ทางใจรู้ได้ทุกอย่าง ทั้งปรมัตถธรรมและบัญญัติ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขณะทางปัญจทวาร และรู้รูปที่ดับไปแล้วทางมโนทวาร
เชิญสนทนา
" รู้ทางใจ " อะไร... ปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ ...
ขณะที่รู้ทางใจ เป็นชวนจิตที่รู้ทางมโนทวารวิถีไม่ใช่ทางปัญจทวารวิถี
ขณะที่รู้ทางใจไม่ใช่ขณะที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส
แต่เป็นขณะที่คิดต่อจากทางปัญจทวารวิถี
ขณะใด ...จึงชื่อว่า " รู้ได้ทางใจ "
ขณะที่รู้ทางใจคือ ขณะที่คิดต่อจากทางปัญจทวารวิถี และขณะที่คิด
ทางมโนทวาร และขณะที่ฝัน
ทางใจรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร ได้แก่ จิต๘๙
เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน และบัญญัติ
........ขออนุโมทนาค่ะ........
ขณะที่รู้ทางใจคือ ขณะที่คิดต่อจากทางปัญจทวารวิถี และขณะที่คิด
ทางมโนทวาร และขณะที่ฝัน
.
ขอเรียนถามเพิ่มเติม เพื่อความเข้าใจเพิ่มขึ้น ว่า
รู้ทางใจ...ไม่จำเป็นต้อง "ขณะที่คิดต่อจากทางทวาร ๕" ก็ได้.........?เช่น ขณะใจลอย...คิดเรื่องราวที่ผ่านมานานแล้ว...เป็นต้น....ใช่ไหมคะ.?
ขณะที่ฝัน...........ไม่มีทางฝันถึง "สิ่งที่ไม่เคยจำไว้"........ใช่ไหมคะ.?
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอเรียนถาม ข้อความในความเห็นที่ 8 ที่ว่า
ทางใจรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร
นั้น ผมเข้าใจว่า แม้อารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร ก็ปรากฏทางมโนทวารได้
ตามนัยแห่งหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ที่ว่า
สุ. วิถีจิตทางมโนทวารจะต้องรู้รูปเดียวกันกับที่วิถีจิตทางปัญจทวารรู้
............
เมื่ออารมณ์ปรากฏทางจักขุทวารแล้วก็ปรากฏต่อทางมโนทวารทันที
หลังจากที่ภวังคจิตเกิดคั่นแล้วหลายขณะอย่างรวดเร็วที่สุด
(ฉบับพิมพ์ พ.ย. 2545 หน้า 329 ฉบับหนังสืออิเลคโทรนิค หน้า 126)
ที่ถูกเป็นอย่างไรครับ
ขออนุโมทนาครับ
เรียนความคิดเห็นที่ 10 ค่ะ
ขณะที่วิถีจิตทางใจเกิดขึ้นชื่อว่ารู้ทางใจ ไม่ใช่ปัญจทวาร แต่วิถีจิตทางใจที่เกิดต่อ
จากปัญจทวารสามารถรู้ปัญจารมณ์คือ รูปารมณ์ สัทธารมณ์....ค่ะ วิถีจิตทุกขณะทาง
ใจซึ่งเป็นมโนทวารวิถีจิตนั้นรู้อารมณ์ได้ทุกอารมณ์ คือ รู้รูปารมณ์ คันธารมณ์
สัทธารมณ์ รสารมณ์ และโผฎฐัพพารมณ์ และรู้ธัมมารมณ์ คือ อารมณ์ที่รู้ได้เฉพาะทางใจ คือ มโนทวาร ทวารเดียวเท่านั้น ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ
ขอเรียนถามค่ะเพราะเป็นคนไม่มีความถนัดใดๆ ในศัพท์บาลีต่างๆ
รู้...เข้าใจ...และจำได้...น้อยคำมาก
แต่เข้าใจว่า
หากจะกล่าวถึงคำว่า "ปัญจทวาร"
น่าจะเป็นคนละอย่างกับ "ปัญจทวารวิถีจิต" หรือเปล่าคะ
ปัญจทวาร หมายถึง ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ในขณะที่ ปัญจทวารวิถีจิต หมายถึงจิตที่เกิดขึ้นรู้สิ่งที่ปรากฎทางทวารทั้งห้า
รู้เห็น (สี) รู้ได้ยิน (เสียง) รู้กลิ่น รู้รส รู้กระทบสัมผัส (เย็น ร้อน อ่อน แข็ง)
แต่ขณะที่รู้ว่า สี ที่ปรากฎ เป็น คน สัตว์ สิ่งของ (ตามสมมติบัญญัติใดๆ )
ขณะนั้น...ขณะจิตได้เกิดดับล่วงเลยมาจนถึง...การคิดนึก...ว่าคือสิ่งนั้นสิ่งนี้
(เพราะมีอัตตะสัญญา-จำ สี เสียง กลิ่น รส สัมผัสต่างๆ ไว้ว่า เป็นสิ่งนั้นหรือสิ่งไหน)
เป็นขณะที่รู้ได้ทางใจ เป็น มโนทวารวิถีจิต แล้ว
ดิฉันเห็นว่า ไม่ขัดและสอดคล้องกันกับ
ข้อความที่มีการนำมาอ้างถึงใน ความคิดเห็นที่ 10 ว่า...
ตามนัยแห่งหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ที่ว่า
สุ. วิถีจิตทางมโนทวารจะต้องรู้รูปเดียวกันกับที่วิถีจิตทางปัญจทวารรู้
ไม่เช่นนั้น การเห็นสีใดสีหนึ่ง คงไม่มีทางรู้ว่าเป็นสิ่งใด
เช่น เมื่อมีการเห็นสี (ที่ได้เคยจำไว้ ว่าเป็นโต๊ะ) เห็นดับ
เมื่อถึง มโนทวารๆ ย่อมรู้ว่าเป็นโต๊ะ เพราะรู้รูปเดียวกับที่วิถีจิตทางปัญจทวารรู้
ใช่หรือไม่คะ
ดิฉันมักเรียกขณะที่รู้ว่า (สิ่งที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส สัมผัส) เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใดว่า
" คิด "
และ คิด ย่อมคิดได้ทุกอย่าง
ทั้งเรื่อง สี เสียง กลิ่น รส สัมผัส
และการคิดนึกเป็นไปในเรื่องราวต่างๆ (ธัมมารมณ์)
เหตุที่ถาม เพื่อป้องกันการเข้าใจความหมายสับสนของตนเอง
เพราะดิฉันไม่ถนัดการใช้ศัพท์
แต่เห็นว่า คำว่า ปัญจทวาร และ ปัญจทวารวิถีจิต เป็นคำสำคัญ
ที่มักมีผู้ถามและต้องกล่าวถึงเสมอๆ ค่ะ
หากดิฉันเข้าใจอะไรผิดพลาด คลาดเคลื่อน
ขอความกรุณาท่านวิทยากรและท่านผู้รู้ ช่วยแนะนำแก้ไขให้ด้วยค่ะ
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
เรียนเพิ่มเติมความคิดเห็นที่ 10 ค่ะ
" ทางใจรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร ได้แก่ จิต๘๙
เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน และบัญญัติ "
เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร ซึ่งทางใจสามารถรู้อารมณ์ที่เกิดต่อทางปัญจ-ทวารวิถีจิตได้ นอกจากอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวารแล้ว (เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร) จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน และบัญญัติเป็นธัมมารมณ์
ขออนุโมทนาค่ะ
ธรรมที่ปรากฏให้รู้ได้โดยอาศัยทางหรือทวารต่างๆ จะไม่พ้นไปจากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจขณะที่กำลังพยายามจะคิดให้เข้าใจ "ธรรมที่รู้ได้ทางใจ"ขณะนั้นมีธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ...กำลังปรากฏอยู่หรือไม่ถ้าสติฯ ระลึกได้ ก็จะรู้ตรงลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นโดยไม่เลือก ไม่เจาะจง และไม่ข้ามไปรู้ธรรมที่ไม่ได้ปรากฏ
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12397 ความคิดเห็นที่ 16 โดย เมตตา
เรียนเพิ่มเติมความคิดเห็นที่ 10 ค่ะ
" ทางใจรู้อารมณ์ได้ทุกอย่าง เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร ได้แก่ จิต๘๙
เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน และบัญญัติ "
เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร ซึ่งทางใจสามารถรู้อารมณ์ที่เกิดต่อทางปัญจ-ทวารวิถีจิตได้ นอกจากอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวารแล้ว (เว้นอารมณ์ที่เกิดทางปัญจทวาร) จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน และบัญญัติเป็นธัมมารมณ์
ขออนุโมทนาค่ะ
คุณเมตตา กำลังหมายความว่า
สิ่งที่ไม่ใช่สภาพธรรม คือ
รูป
ที่ปรากฏทาง จักขุปสาทรูป
เสียง
ที่ปรากฏ เฉพาะ ทาง โสตปสาทรูป
กลิ่น
ที่ปรากฏ เฉพาะ ทาง ฆานปสาทรูป
รส
ที่ปรากฏ เฉพาะ ทาง ชิวหาปสาทรูป เย็น ร้อน อ่อน แข็ง ตึง ไหว
(คือ ธาตุ ไฟ ธาตุดิน และ ธาตลม)
ที่ปรากฏ เฉพาะ ทาง กายปสาทรูป
รูป ทั้ง ๗ ประเภทนี้ เท่านั้น ที่ปรากฏได้ทาง ปัญจทวาร
ดังกล่าวข้างต้นภาษาบาลี
ใช้ "คำ" ที่รวม รูปเป็นอารมณ์ที่ปรากฏทางปัญจทวาร ทั้ง ๗ รูปนี้
เรียกสั้นๆ ว่า "โคจรรูป ๗"
ซึ่งไม่ใช่...
จิต ๘๙ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน และบัญญัติ
(อ้างอิงจากข้อความที่คุณเมตตาเขียน ข้างต้น) แต่ว่า...
เมื่อ วิถีจิตทางปัญจทาร ที่รู้อารมณ์ ดังกล่าว (โคจรรูป ๗) ดับแล้ว
วิถีจิตทางมโนทวารเกิดต่อทันที
สมดังข้อความนี้ ทีว่า
ตามนัยแห่งหนังสือปรมัตถธรรมสังเขป ที่ว่า
สุ. วิถีจิตทางมโนทวาร จะต้องรู้รูปเดียวกัน กับที่วิถีจิตทางปัญจทวารรู้
............
เมื่ออารมณ์ปรากฏทางจักขุทวาร แล้วก็ปรากฏต่อ ทางมโนทวารทันที
หลังจากที่ภวังคจิตเกิดคั่นแล้วหลายขณะอย่างรวดเร็วที่สุด
(ฉบับพิมพ์ พ.ย. 2545 หน้า 329 ฉบับหนังสืออิเลคโทรนิค หน้า 126)
.
.
.
เพราะเคยได้ยินท่านอาจารย์ถามว่า
นอกจากรูป ๗ รูปนี้แล้ว ที่ปรากฏให้รู้ได้ขณะนี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถ้าไม่รู้อารมณ์เหล่านี้...แล้วจะรู้อารมณ์อะไร.?
อารมณ์นอกจากนี้....คืออะไร...ปรากฏได้ทางไหน.?
เป็นอารมณ์ที่ปรากฏได้ "เฉพาะ" ทางใจ...ใช่ไหม.?
แต่ ทางใจ...รู้ได้ทุกอย่าง ไม่เว้นเลย.!
................
เป็นเรื่องของ "ถ้อยคำที่ใช้"
คือ คำว่า "ปรากฏ" และ "รู้"มีความหมาย โดยนัยที่ต่างกัน
เช่น เสียงปรากฏให้จิตได้ยิน คือ ขณะที่ รู้ทางหูแต่ รู้ได้ทางใจด้วย...เมื่อวิถีจิตทางมโนทวารเกิดต่อ
ทั้งๆ ที่...ทางใจ ไม่ได้ยิน.!
แม้ "เสียง" ไม่ได้ "ปรากฏทางใจ" แต่รู้เสียงทางใจได้.!
และขณะนั้น ยังไม่ได้เป็นบัญญัติด้วยหมายความว่า ทางใจก็รู้ปรมัตถธรรมได้.!
และที่บอกว่า "ทางใจ" รู้ทุกอย่างไม่เว้นเลยนั้น หมายความว่าต้องรู้ ทั้งปรมัตถ์ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และ บัญญัติ.
ไม่ทราบว่าเข้าใจอย่างนี้............ผิด ถูก ประการใด....กรุณาทักท้วงด้วยค่ะ.?
ขออนุโมทนาค่ะ.
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12397 ความคิดเห็นที่ 17 โดย ajarnkruo
ธรรมที่ปรากฏให้รู้ได้โดยอาศัยทางหรือทวารต่างๆ จะไม่พ้นไปจากทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจขณะที่กำลังพยายามจะคิดให้เข้าใจ "ธรรมที่รู้ได้ทางใจ"ขณะนั้นมีธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ...กำลังปรากฏอยู่หรือไม่ถ้าสติฯ ระลึกได้ ก็จะรู้ตรงลักษณะเฉพาะของธรรมนั้นโดยไม่เลือก ไม่เจาะจง และไม่ข้ามไปรู้ธรรมที่ไม่ได้ปรากฏ
ขณะที่กำลังพยายามจะคิดให้เข้าใจ "ธรรมที่รู้ได้ทางใจ"ขณะนั้นมีธรรมทางตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ ...กำลังปรากฏอยู่หรือไม่.
.
.
ปรากฏค่ะ...แต่ ปรากฏว่ากำลังพยายามทำความเข้าใจในสิ่งที่กำลังสนทนากันอยู่...เป็นส่วนใหญ่น่ะค่ะ
เข้าใจว่า การตรึกไปในธรรม เพื่อเข้าใจความละเอียดของสภาวธรรมอันนำไปสู่ .........การเข้าถึงลักษณะของสภาวธรรม
เป็น "เรื่องราว" ที่น่าสนใจมากเลยน่ะค่ะ.
ขอบพระคุณค่ะ....ขออนุโมทนาคะ
ผมคิดว่าหมายถึงรูปที่ดับไปแล้ว แต่ที่ วิถีจิตทางมโนทวาร รู้รูปเดียวกับทางปัญจทวารนั้น เพราะอาศัยรูปที่เกิดทางปัญจทวารที่ดับไปแล้ว โดยไม่ใช่การคิดนึกอาศัยรูปที่เพิ่งดับไปครับ ผมจึงเคยได้กล่าวว่า สิ่งที่ปรากฎกับจิต ไม่ใช้รูปที่กำลังปรากฏ แต่เป็นสภาพรู้ คือ นาม ผู้ใดถูกพาดพิงเชิญชี้แจงครับ
เรียนคุณพุทธรักษา ความคิดเห็นที่ 19 ค่ะ
สี เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ (เย็นหรือ ร้อน อ่อนหรือแข็ง ตึงหรือไหว) รวม
๗ รูปเป็นสภาพธรรมเป็นรูปปรมัตถ์ที่รู้ได้ทางปัญจทวารค่ะ
...................
เพราะเคยได้ยินท่านอาจารย์ถามว่า
นอกจากรูป ๗ รูปนี้แล้ว ที่ปรากฏให้รู้ได้ขณะนี้ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย
ถ้าไม่รู้อารมณ์เหล่านี้...แล้วจะรู้อารมณ์อะไร.?
อารมณ์นอกจากนี้....คืออะไร...ปรากฏได้ทางไหน.?
มีเพียง ๗ รูปนั้นเท่านั้นที่รู้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น กางกายค่ะ
.....................
และที่บอกว่า "ทางใจ" รู้ทุกอย่างไม่เว้นเลยนั้น หมายความว่าต้องรู้ ทั้งปรมัตถ์ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน และ บัญญัติ."ทางใจ" รู้ทุกอย่าง คือ รู้รูป ๗ รูปที่เกิดต่อทางปัญจทวาร เว้นจาก ๗ รูปนี้
แล้วที่เหลือทั้งหมดที่รู้ทางใจเรียกว่าธัมมารมณ์ค่ะ
........ขออนุโมทนาในกุศลจิตค่ะ.........
กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนา อ.prachern.s
และท่านผู้ร่วมสนทนา ซักถาม เพื่อความเข้าใจที่ละเอียดและถูกต้องยิ่งขึ้น
ทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น สภาพธรรม เป็นสิ่งที่มีจริง สิ่งที่มีจริงทั้งหมดนั้น ไม่พ้นไปจากนามธรรมกับรูปธรรมเป็นสภาพธรรมที่รู้ได้สามารถรู้ได้ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ ไม่พ้นทาง ๖ ทางนี้เลย สิ่งที่ปรากฏทางตามีจริง สิ่งที่ปรากฏทางหู ทางจมูกทางลิ้น ทางกาย ทางใจ มีจริง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏเท่านั้น เมื่อเริ่มฟัง เริ่มศึกษา ค่อยๆ สะสมความเข้าใจไปตามลำดับ เมื่อมีความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นก็จะรู้ว่าเป็นเพียงสภาพธรรมแต่ละอย่าง ที่ไม่ปะปนกัน เป็นธาตุที่ต่างกัน ซึ่งจะทำให้ละคลายความไม่รู้ ได้ ที่สำคัญต้องอาศัยการฟังพระธรรม บ่อยๆ เนืองๆ
สำหรับ ที่กล่าวว่ารู้ได้ทางใจนั้น ต้องเข้าใจเป็นเบื้องต้นก่อนว่า จิต เป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่ในการรู้แจ้งอารมณ์ สิ่งที่จิตกำลังรู้ เรียกว่าอารมณ์ จิตรู้ได้ทุกอย่าง รู้ได้ทั้งนามธรรม รูปธรรม และรู้บัญญัติด้วย สำหรับทาง ๕ ทวารนั้น สิ่งที่เป็นอารมณ์ของจิตนั้น เป็นรูปธรรมเท่านั้น ส่วนสิ่งที่รู้ได้ทางใจนั้น นอกจากจะรู้รูปธรรมที่เกิดดับสืบต่อทาง ๕ ทวารแล้ว ยังสามารถรู้อารมณ์อื่นๆ ได้อีกด้วย กล่าวคือ ปสาทรูป ๕, รูปที่ละเอียด ๑๖ รูป, จิตทั้งหมด, เจตสิกทั้งหมด, พระนิพพาน และบัญญัติ รู้ได้ทางใจ เท่านั้น ...ขออนุโมทนาในกุศจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นไมได้มีชื่อ ไม่มีเรื่องราว
แต่มีลักษณะให้รู้ตามความเป็นจริง
ไม่หลงลืมเพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ครับ
ขออนุโมทนา
ที่สนทนา คือ ทางหรือทวารซึ่งเป็นที่มาของรูป
กอปรด้วยทางปัญจทวาร (รูป) และ มโนทวาร (รูป + ธัมมารมณ์) แต่วิถีจิต คือ สภาพรู้นั้น รู้ทุกทวาร
ธัมมะที่รู้ได้ทางใจคือธัมมารัมณ์รู้ทางใจ สภาพที่รู้ต้องเป็นจิต เจตสิก ปรมัตถธรรมขออนุโมทนากับ ความคิดเห็นที่ 1 ครับ
ขณะที่สติปัฏฐานเกิด ขณะนั้นไมได้มีชื่อ ไม่มีเรื่องราว
แต่มีลักษณะให้รู้ตามความเป็นจริง
ไม่หลงลืมเพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ครับ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ได้ยิน ท่าน อ สุจินต์ เคยแสดง
"ธรรมที่รู้ได้ทางใจ"
ได้ยินแล้วคิด
" รู้ทางใจ " อะไร... ปรมัตถ์ หรือ บัญญัติ ...
ขณะใด ...จึงชื่อว่า " รู้ได้ทางใจ "
.................
กราบขอความกระจ่างค่ะ
"ธัมมารมณ์" นอกจากบัญญัติและ สติเกิดระลึกสภาพธรรมที่ปรากฏ
ต่อจากปัญจทวาร - ภวังค์คั่น - มโนทวารวิถีแรกๆ แล้ว
ธรรมอื่นๆ จะสามารถระลึกรู้ลักษณะขณะใด......
ขั้นสติปัฏฐาน - หรือต้องวิปัสสนาญาณ
กราบอนุโมทนาในความเมตตาค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกๆ ท่านค่ะ
ถ้าอารมณ์ที่รู้ขณะนั้นเป็น จิต เจตสิก รูป นิพพาน ขณะนั้นก็เป็นปรมัตถ์
แต่ถ้าคิดเป็นเรื่องราวต่างๆ ก็เป็นบัญญัติค่ะ
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมที่รู้ได้ทางใจซึ่งเป็นไปตามความเป็นจริง ส่วนการที่
สาวกจะรู้ได้ตามที่ทรงแสดงไว้หรือไม่ เพียงใด ขึ้นอยู่กับปัญญา
เช่น พระนิพพานเป็นธรรมที่รู้ได้ทางใจ แต่ขณะนี้เรารู้พระนิพพานหรือยัง
ค่อยๆ ฟัง ค่อยๆ ศึกษาไปเรื่อยๆ เข้าใจเท่าที่เข้าใจได้ และรู้เท่าที่รู้ได้ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
คุณ Khaeota กล่าวถึงศัพท์ หลายคำ พอจัดระเบียบได้ ดังนี้1. สติเกิดระลึกสภาพธรรมที่ปรากฎ ธัมมารมณ์ บัญญัติ สภาพธรรมที่ปรากฎต่อจากปัญจทวาร
2. การระลึกรู้ลักษณะธรรมอื่นๆ ขั้นใด? สติปัฎฐาน วิปัสสนาญาณ
และผมก็อยากจะฟังคำตอบจากท่านวิทยากร เช่นกันครับ
เรียนความเห็นที่ ๓๑
๑.สติปัฏฐานระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ บัญญัติไม่เป็นอารมณ์ของสติปัฏฐาน
๒.สติปัฏฐานและวิปัสสนาญาณ ก็ระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏครับ
จึงเป็นบัญญัติ
สติปัฏฐานระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏ บัญญัติไม่มีสภาวธรรม
จึงไม่ใช่ปรมัตถธรรม จึงไม่เป็นอารมณ์ของสติปัฎฐานได้
ปรมัตถธรรม ได้แก่ จิต เจตสิก รูป นิพพาน
.....ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ.....