ตติยปาราชิกวรรณนา
โดย บ้านธัมมะ  9 มี.ค. 2565
หัวข้อหมายเลข 42734

[เล่มที่ 2] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒

พระวินัยปิฎก เล่ม ๑ ภาค ๒

มหาวิภังค์ ปฐมภาค

ตติยปาราชิกวรรณนา 315

อธิบายเรื่องเมืองไพศาลี 316

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกรรมฐานแก่พวกภิกษุ 317

ปฐมฌานมีลักษณะ ๑๐ และความงาม ๓ 318

พวกภิกษุฆ่าตัวเองและวานให้ผู้อื่นฆ่า 324

มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุแล้วเกิดความเสียใจ 325

เทวดาช่วยปลอบโยนมิคลัณฑิกะให้ฆ่าฯ 327

มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุต่อไปวันละ ๑ - ๕๐๐ รูป 327

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าภิกษุเบาบางไป 328

พระอานนท์ทูลให้ตรัสบอกกรรมฐานอื่นๆ 329

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอานาปานัสสติแก่ภิกษุ 330

อรรถาธิบายวิธีอบรม ๓๒ อย่าง 338

มติลมหายใจเข้าและออกตามอรรถกถาฯ 339

ผู้เจริญอานาปานัสสติกรรมฐานย่อมได้รับปราโมทย์ฯ 341

ภิกษุกําหนดกรรมฐานแล้วกายสังขารจึงสงบ 344

กายสังขารในฌานชั้นสูงขึ้นย่อมละเอียดฯ 346

กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบําเพ็ญศีลฯ 350

กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย 351

ควรเรียนกรรมฐานในสํานักพุทธโอรสฯ 352

กรรมฐานมีสนธิคือที่ต่อ ๕ อย่าง 353

วิธีมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐาน ๘ อย่าง 354

อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก 355

อธิบายเบื้องต้นท่ามกลางที่สุดลมหายใจฯ 357

ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้า 358

ข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู 359

การกําหนดลมหายใจเปรียบเสมือนเลื่อย 359

อุบายเป็นเหตุนําอานาปานัสสติกรรมฐานฯ 363

ธรรม ๓ อย่างมีบริบูรณ์กรรมฐานจึงถึงอัปปนา 366

จิตย่อมต้งมั ั่นเป็นสมาธิด้วยองค์ 376

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบท 378

ภิกษุฉัพพัคคีย์พรรณนาคุณแห่งความตาย 378

อธิบายสัญจิจจศัพท์ 380

อธิบายปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์ 381

ชีวิตินทรีย์ปัจจุบันมี ๓ ขณะ 383

ประโยคแห่งการฆ่า ๖ อย่าง 385

อธิบายวัตถุที่เป็นเครื่องประหาร 387

อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์ 391

ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมฯ 392

ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นในกองฟางไม่ต้องปาราชิก 393

ภิกษุฆ่าพ่อแม่ในสนามรบเป็นทั้งปาราชิกและปิตุฆาต 394

ฐานะ ๕ และ ๖ พร้อมทั้งอรรถาธิบาย 395

อธิบายวัตถุที่จะพึงถูกฆ่า 396

อธิบายกาลที่สั่งให้ทําการฆ่า 397

อธิบายโอกาสที่สั่งให้ทําการฆ่า 397

อธิบายอาวุธที่เป็นเครื่องมือใช้ให้ฆ่า 397

อธิบายอิริยาบถที่สั่งให้ทําการฆ่า 398

อธิบายกิริยาพิเศษที่สั่งให้ทําการฆ่า 398

กถาว่าด้วยการสั่งทูต 399

อาณัตติกประโยคเรื่องสั่งทูตต่อ 400

เรื่องที่ไม่ลับ สําคัญว่าที่ลับ 404

อธิบายพรรณนาความตายด้วยกาย 405

อธิบายพรรณนาความตายด้วยทูตฯ 406

อธิบายขุดหลุมพรางให้คนตกตาย 408

มติพระเถระสองรูปในการขุดหลุมพราง 411

ว่าด้วยการดักบ่วงของภิกษุ 412

ว่าด้วยการใช้ฟ้าถล่มดักสัตว์ของภิกษุ 413

ลอบวางศัสตราไว้ในวัตถุสําหรับพิง 414

ลอบวางยาพิษแทรกไว้ในเภสัช 415

ลอบวางอาวุธไว้ใต้เตียงหรือตั่ง 416

ว่าด้วยการลอบวางดาบไว้ 417

ว่าด้วยลอบวางยาพิษไว้เป็นต้น 418

การนํารูปและเสียงเป็นต้นเข้าไป 419

การนําธรรมารมณ์เข้าไป 420

ว่าด้วยอนาปัตติวาร 421

ตติยปาราชิกสิกขาบทมีสมุฏฐาน 422

วินีตวัตถุในตติยปาราชิก

เรื่องพรรณนาคุณความตาย 423

เรื่องภิกษุนั่งทับเด็กตาย 424

เรื่องภิกษุทําสากล้มฟาดถูกเด็กตาย 424

เรื่องภิกษุผู้บุตรผลักภิกษุผู้บิดาล้มตาย 425

เรื่องภิกษุฉันบิณฑบาตเจือยาพิษตาย 425

เรื่องภิกษุทดลองยาพิษ 426

เรื่องภิกษุผูกร่างร้าน 427

เรื่องภิกษุโจนลงเหวทับช่างสานตาย 428

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์กล้งศิ ิลาเล่นทับคนฯ 429

เรื่องภิกษุทํายาให้หญิงมีครรภ์กับชู้ตกไปฯ 430

เรื่องภิกษุทํายาให้หญิงหมันมีบุตรตาย 430

ภิกษุไม่ควรทํายาแก่ชนอื่นแต่ควรทําให้สหธรรมิกทั้ง ๕ 431

ภิกษุควรทํายาให้คน ๑๐ จําพวก 432

ภิกษุควรทํายาให้แก่คน ๕ จําพวก 433

เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาฯ 434

เรื่องสวดพระปริตร 435

ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต 436

ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร 436

เรื่องพระอภัยเถระทําปฏิสันถารกับอภัยโจร 437

พระเถระถูกพวกภิกษุโพนทะนา 438

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์จี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์ฯ 439

เรื่องภิกษุฆ่ายักษ์ต้องถุลลัจจัย 440

เรื่องส่งภิกษุไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายฯ 440

เรื่องสําคัญว่าเป็นภิกษุคู่เวรแน่จึงฆ่าเสีย 441

เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ 442

เรื่องภิกษุตัดต้นไม้ 442

เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า 443

เรื่องภิกษุสั่งนายเพชฌฆาต 444

เรื่องภิกษุสั่งให้บุรุษด้วนดื่มเปรียงตาย 445

เรื่องยาดองพิเศษชื่อโลณะโสจิรกะ 445


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 2]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 315

ตติยปาราชิกวรรณนา

ตติยปาราชิกใด ซึ่งพระพุทธเจ้าผู้หมดจดทางไตรทวารทรงประกาศแล้ว, บัด นี้ ถึงลำดับสังวรรณนา แห่งตติยปาราชิก นั้นแล้ว; เพราะเหตุนั้นคำใดที่จะพึงรู้ได้ง่าย และคำใดที่ข้าพเจ้าได้ประกาศไว้แล้วในก่อน สังวรรณนานี้แม้แห่งตติยปาราชิกนั้น จะเว้น คำนั้นๆ เสียฉะนี้แล.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 316

พระบาลีอุกเขปพจน์ว่า เตน สมเยน พุทฺโธ ภควา เวสาลยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ เป็นต้น ข้าพเจ้าจะกล่าวต่อไปนี้:-

[อธิบายเรื่องเมืองไพศาลี]

บทว่า เวสาลิยํ มีความว่า ใกล้นครที่มีชื่ออย่างนั้น คือมีโวหาร เป็นไป ด้วยอำนาจแห่งอิตถีลิงค์. จริงอยู่ นครนั้น เรียกว่า เวสาลี เพราะ เป็นเมืองที่กว้างขวาง ด้วยขยายเครื่องล้อม คือกำแพงถึง ๓ ครั้ง. ความ สังเขปในตติยปาราชิกนี้ มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารแห่งบทว่า เวสาลี นั้น อันผู้ปรารถนาอนุบุพพิกถาพึงถือเอาจากวรรณนาแห่งรัตนสูตร ในอรรถกถา แห่งขุททกปาฐะชื่อปรมัตถโชติกาเถิด. ก็แลนครแม้นี้ พึงทราบว่า เป็นเมือง ถึงความไพบูลย์โดยอาการทั้งปวง ในเมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบรรลุ สัพพัญญุตญาณแล้ว เท่านั้น. ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงโคจรคามอย่างนั้น แล้ว จึงกล่าวที่เสด็จประทับไว้ว่า มหาวเน กูฏาคารสาลายํ (ที่กูฎาคาร ศาลาในป่ามหาวัน).

บรรดาป่ามหาวันและกูฎาคารศาลานั้น ป่าใหญ่มีโอกาสเป็นที่กำหนด เกิดเอง ไม่ได้ปลูก ชื่อว่าป่ามหาวัน. ส่วนป่ามหาวันใกล้กรุงกบิลพัสดุ์ เนื่อง เป็นอันเดียวกันกับป่าหิมพานต์ ไม่มีโอกาสเป็นที่กำหนด ตั้งจดมหาสมุทร. ป่ามหาวันนี้ไม่เป็นเช่นนั้น คือเป็นป่าใหญ่ มีโอกาสเป็นที่กำหนด; เพราะ ฉะนั้น จึงชื่อว่าป่ามหาวัน. ส่วนกูฎาคารศาลา อันถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง ซึ่งสร้างให้มีหลังคาคล้ายทรวดทรงแห่งหงส์ ทำเรือนยอดไว้ข้างใน ณ อาราม ที่สร้างไว้อาศัยป่ามหาวัน พึงทราบว่า เป็นพระคันธกุฎีสำหรับพระผู้มีพระภาคพุทธเจ้า.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 317

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงอสุภกรรมฐานแก่พวกภิกษุ]

หลายบทว่า อเนกปริยาเยน อสุภกถํ กเถติ มีความว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกถาเป็นที่ตั้งแห่งความเบื่อหน่ายในกาย ซึ่งเป็นไปด้วย อำนาจแห่งความเล็งเห็นอาการอันไม่งาม ด้วยเหตุมากมาย. ทรงแดงอย่างไร? ทรงแสดงว่า มีอยู่ในกายนี้ คือ ผม ขนฯ มูตร. มีคำอธิบายอย่างไร? มีคำอธิบายอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บางคน เมื่อค้นหาดูแม้ด้วยความ เอาใจใส่ทุกอย่างในกเลวระมีประมาณวาหนึ่ง จะไม่เห็นสิ่งอะไรๆ จะเป็น แก้วมุกดาหรือแก้วมณี แก้วไพฑูรย์หรือกฤษณา แก่นจันทน์หรือกำยาน การบูรหรือบรรดาเครื่องหอมมีจุณสำหรับอบเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่งก็ตามที ซึ่งเป็นของสะอาด แม้มาตรว่าน้อย; โดยที่แท้ จะเห็นแต่ของไม่สะอาดมีประการ ต่างๆ มีผมและขนเป็นต้นเท่านั้น ซึ่งมีกลิ่นเหม็นอย่างยิ่ง น่าเกลียด มีการ เห็นไม่เป็นมิ่งขวัญ; เพราะเหตุนั้น จึงไม่ควรทำความพอใจ หรือความรัก ใคร่ในกายนี้ อันที่จริง ขึ้นชื่อว่าผมเหล่าใด ซึ่งเกิดบนศีรษะ อันเป็นอวัยวะ สูงสุด แม้ผมเหล่านั้น ก็เป็นของไม่งามเหมือนกัน ทั้งไม่สะอาด ทั้งเป็น ของปฏิกูล ก็แล ข้อที่ผมเหล่านั้นเป็นของไม่งาม ไม่สะอาดและเป็นของ ปฏิกูลนั้น พึงทราบโดยเหตุ ๕ อย่าง คือ โดยสีบ้าง โดยสัณฐานบ้าง โดย กลิ่นบ้าง โดยที่อยู่บ้าง โดยโอกาสบ้าง; ข้อที่ส่วนทั้งหลายมีขนเป็นต้น เป็นของไม่งาม ไม่สะอาด และเป็นของปฏิกูลก็พึงทราบด้วยอาการอย่างนี้แล. ความสังเขปในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้มีเท่านี้. ส่วนความพิสดารพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้ว ในปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส อสุภกถาในส่วนอันหนึ่งๆ โดยอเนกปริยาย มีประเภทส่วนละ ๕ๆ ด้วย ประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 318

ข้อว่า อสุภาย วณฺณํ ภาสติ มีความว่า พระองค์ทรงตั้ง อสุภมาติกา ด้วยอำนาจแห่งอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้นแล้ว เมื่อจะทรงจำแนก คือทรงพรรณนา สังวรรณนา อสุภมาติกานั้น ด้วยบทภาชนีย์ จึงตรัสคุณานิสงส์แห่งอสุภะ.

ข้อว่า อสุภภาวนาย วณฺณํ ภาสติมีความว่า ความอบรมคือ ความเจริญ ความเพิ่มเติมจิต ที่ถือเอาอากากรอันไม่งาม ในส่วนทั้งหลายมีผม เป็นต้น หรือในอสุภะมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น หรือในวัตถุภายในและภายนอก ทั้งหลาย เป็นไป นี้ใด ; พระองค์จะทรงแสดงอานิสงส์แห่งอสุภภาวนานั้น จึงตรัสสรรเสริญ คือทรงประกาศคุณ. ตรัสอย่างไรเล่า? ตรัสว่า ดุก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! ภิกษุผู้ประกอบเฉพาะซึ่งอสุภภาวนา ในวัตถุมีผมเป็นต้น หรือ ในวัตถุมีอุทธุมาตกอสุภะเป็นต้น ย่อมได้เฉพาะซึ่งปฐมฌาน อันละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ มีความงาม ๓ อย่าง และถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ภิกษุ นั้น อาศัยหีบใจ กล่าวคือปฐมฌานนั้น เจริญวิปัสสนา ย่อมบรรลุพระอรหัต ซึ่งเป็นประโยชน์สูงสุด.

[ปฐมฌานมีลักษณะ ๑๐ และความงาม ๓]

บรรดาความงาม ๓ และลักษณะ ๑๐ เหล่านั้น ลักษณะ ๑๐ แห่ง ปฐมฌานเหล่านี้ คือ ความหมดจดแห่งจิตจากธรรมที่เป็นอันตราย ๑ ความ ปฏิบัติสมาธินิมิอันเป็นท่ามกลาง ๑ ความแล่นไปแห่งจิตในสมาธินิมิตนั้น ๑ ความเพิกเฉยแห่งจิตที่หมดจด ๑ ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ดำเนินถึงความสงบ ๑ ความเพิกเฉยแห่งจิตที่ปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลายที่เกิดในฌานจิตนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วย อรรถคือความที่อินทรีย์ทั้งหลายมีรสเป็นอันเคียวกัน ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 319

คือความเป็นไปแห่งความเพียร อันสมควรแก่สมาธิปัญญาและอินทรีย์ซึ่งเป็น ธรรมไม่กลับกลาย และมีรสเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถคือ ความเสพคุ้น ๑.

บาลี * ในวิสัยเป็นที่เปิดเผยลักษณะ ๑๐ นั้น ดังนี้:- อะไรเป็นเบื้องต้น อะไรเป็นท่ามกลาง อะไรเป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ความ หมดจดแห่งปฏิปทาเป็นเบื้องต้น ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลาง ความ ผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน.

ความหมดจดแห่งปฏิปทา เป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน เบื้องต้นมี ลักษณะเป็นเท่าไร เบื้องต้นมีลักษณะ ๓. ธรรมใดเป็นอันตรายของจิตนั้น จิตย่อมหมดจดจากธรรมนั้น จิตย่อมดำเนินไปสู่สมาธินิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะค่าที่เป็นธรรมชาติหมดจด จิตแล่นไปในสมาธินิมิต (ซึ่งเป็นโคจรแห่ง อัปปนา) นั้น เพราะความเป็นธรรมชาติดำเนินไปแล้ว. จิตหมดจดจากธรรม ที่เป็นอันตราย ๑ จิตดำเนินไปสู่สมาธินิมิตอันเป็นท่ามกลาง เพราะค่าที่เป็น ธรรมชาติหมดจด ๑ จิตแล่นไปในสมาธินิมินั้น เพราะเป็นธรรมชาติดำเนินไป ๑ เป็นปฏิปทาวิสุทธิซึ่งเป็นเบื้องต้นแห่งปฐมฌาน; เบื้องต้นมีลักษณะ ๓ เหล่า นี้. เพราะเหตุนั้น ปฐมฌานท่านจึงกล่าวว่า เป็นคุณชาติงามในเบื้องต้น และ ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓.

ความเพิ่มพูนอุเบกขา เป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน ท่ามกลางมีลักษณะ เท่าไร? ท่ามกลางมีลักษณะ ๓. จิตหมดจดย่อมเพิกเฉย จิตดำเนินถึงความสงบ ย่อมเพิกเฉย จิตปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียว ย่อมเพิกฉาย. จิตหมดจดเพิกเฉย ๑ จิตดำเนินถึงความสงบเพิกเฉย ๑ จิตปรากฏด้วยอารมณ์อันเดียวเพิกเฉย ๑


* ปฏิ. ข. ๓๑/๒๕๒ - ๓.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 320

เป็นความเพิ่มพูนอุเบกขา ซึ่งเป็นท่ามกลางแห่งปฐมฌาน; ท่ามกลางมีลักษณะ ๓ เหล่านี้. เพราะเหตุนั้น ปฐมฌานท่านจึงกล่าวว่า เป็นคุณชาติงามในท่าม กลางและถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๓.

ความผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ที่สุดมีลักษณะเท่าไร? ที่สุด มีลักษณะ ๔ ความผุดผ่อง ด้วยอรรถ คือความไม่กลับกลายแห่งธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในฌานจิตนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถคือความที่อินทร์ทั้งหลายมีรสเป็น อันเดียวกัน ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความเป็นไปแห่งความเพียร อัน สมควรแก่สมาธิปัญญาและอินทรีย์ ซึ่งเป็นธรรมไม่กลับกลาย และมีรสเป็น อันเดียวกันนั้น ๑ ความผุดผ่องด้วยอรรถ คือความเสพดุ้น ๑. ความผุดผ่อง เป็นที่สุดแห่งปฐมฌาน ; ที่สุดมีลักษณะ ๔ เหล่านี้. เพราะเหตุนั้นปฐมฌาน ท่านจึงเรียกว่า เป็นคุณชาติงามในที่สุด และถึงพร้อมด้วยลักษณะ. ๔. จิตที่ ถึงความเป็นธรรมชาติ ๓ อย่าง มีความงาม ๓ อย่าง ถึงพร้อมด้วยลักษณะ ๑๐ ย่อมเป็นจิตถึงพร้อมด้วยวิตก ถึงพร้อมด้วยวิจาร ปีติ และสุข ถึงพร้อม ด้วยการตั้งมั่นแห่งจิต ถึงพร้อมด้วยศรัทธา และเป็นจิตที่ถึงพร้อมด้วยวิริยะ สติ สมาธิ และปัญญาด้วยประการฉะนี้.

ข้อว่า อาทิสฺส อาทิสฺส อสุภสมาปตฺติยา วณฺณํ กาสติ มี ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสรรเสริญ คือตรัสอานิสงส์ ทรงประกาศคุณ แห่งอสุภสมาบัติ เพราะทรงทำการกำหนดอ้างถึงบ่อยๆ ว่า เป็นอย่างนั้นบ้าง เป็นอย่างนี้บ้าง. ตรัสอย่างไร? ตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อ ภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุญญาอยู่เนืองๆ จิต ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความ เข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่ฟุ้งซ่านไป ย่อมทั้งอยู่โดยความวางเฉย หรือ โดยความเป็นของปฏิกูล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เปรียบเหมือนปีกไก่ หรือท่อน


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 321

เอ็นที่บุคคลใส่เข้าไปในไฟ ย่อมงอ หดเข้า ม้วนเข้า คือไม่แผ่ออก แม้ฉัน ใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เมื่อภิกษุมีจิตอบรมด้วยอสุภสัญญาอยู่เนืองๆ จิต ย่อมงอ หดเข้า หวนกลับจากความเข้าประชิดด้วยเมถุนธรรม คือไม่พุงซ่าน ไป ฉันนั้นเหมือนกันแล.

ข้อว่า อิจฺฉามหํ ภิกฺขเว อฑฺฒมาสํ ปฏิสลฺลิยิตุํ ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราปรารถนาจะหลีกออก คือหลีกเร้นอยู่โดดเดี่ยวลำพัง ผู้เดียว ตลอดกึ่งเดือนหนึ่ง.

ข้อว่า นมฺหิ เกนจิ อุปสงฺกมิตพฺโพ อญฺตฺร เอเกน ปิณฺ- ฑปาตนีหารเกน มีความว่า ภิกษุรูปใด ไม่ทำปยุตวาจา (วาจาเนื่องด้วย ปัจจัย) ด้วยตน นำบิณฑบาตที่เขาตกแต่งเพื่อประโยชน์แก่เราในตระกูลมี ศรัทธา น้อมเข้ามาแก่เรา ยกเว้นภิกษุผู้นำบิณฑบาต เข้าไปให้นั้นรูปเดียว ใครๆ คนอื่นจะเป็นภิกษุหรือคฤห์ก็ตาม อย่าเข้าไปหาเรา.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงห้ามภิกษุฆ่ากัน เพราะทรงเห็นกรรมเก่า]

ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสอย่างนี้?

แก้ว่า ได้ยินว่า ในครั้งดึกดำบรรพ์ นายพรานเนื้อประมาณ ๕๐๐ คน เอาท่อนไม้และข่ายเครื่องจับสัตว์เป็นอันมาก ล้อมป่าไว้พากันหัวเราะ รื่นเริง รวมเป็นพวกเดียวกันนั่นแล สำเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยกรรม คือการ ฆ่าเนื้อและนก จนตลอดชีวิต แล้วเกิดในนรก. พรานเนื้อเหล่านั้น หมกไหม้ ในนรกนั้นแล้ว เกิดในหมู่มนุษย์ เพราะกุศลกรรมบางอย่าง ที่ตนทำไว้แล้ว ในหนหลังนั้นแล จึงได้บรรพชาและอุปสมบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ทั้งหมด ด้วยอำนาจแห่งอุปนิสัยแห่งกรรมอันงาม. อปราปรเจตนาของ พรานเนื้อเหล่านั้น ที่ยังไม่ได้เผล็ดผล เพราะอกุศลกรรมที่เป็นรากเหงานั้น ได้


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 322

กระทำโอกาสเพื่อเข้าไปตัดรอนชีวิตเสียด้วยความพยายามของตนเอง และด้วย พยายามของผู้อื่น ในภายในกึ่งเดือนนั้น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทอดพระเนตรเห็นความขาดไปแห่งชีวิตนั้นแล้ว. ขึ้นชื่อว่ากรรมวิบากใครๆ ไม่สามารถ จะห้ามได้. ก็บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ยังเป็นปุถุชนก็มี เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระขีณาสพก็มี. ในภิกษุเหล่านั้น ภิกษุ ทั้งหลายผู้เป็นพระขีณาสพ ไม่มีการถือปฏิสนธิ พระอริยสาวกทั้งหลายนอกนี้ เป็นผู้มีคติแน่นอน คือมีสุคติเป็นที่ไปในเบื้องหน้า; คติของพวกภิกษุผู้ยังเป็น ปุถุชน ไม่แน่นอน. คราวนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงดำริว่า ภิกษุเหล่า นี้ กลัวต่อมรณภัย เพราะความรักด้วยอำนาจความพอใจในอัตภาพ จักไม่อาจ ชำระคติให้บริสุทธิ์ได้; เอาเถิด! เราจะแสดงอสุภกถาเพื่อละความรักด้วย อำนาจความพอใจ แก่เธอเหล่านั้น เธอเหล่านั้น ครั้นได้ฟังอสุภกถานั้นแล้ว จักทำการชำระคติให้บริสุทธิ์ได้ เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความ พอใจในอัตภาพแล้ว จักถือเอาปฏิสนธิในสวรรค์ การบรรพชาในสำนักของ เรา จักเป็นคุณชาติมีประโยชน์แก่เธอเหล่านั้น ด้วยอาการอย่างนี้. เพราะเหตุ นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงแสดงอสุภกถา ด้วยหัวข้อพระกรรมฐาน เพื่อ อนุเคราะห์แก่เธอเหล่านั้นหาได้แสดงด้วยความประสงค์ ในการพรรณนาถึง คุณแห่งความตายไม่. ก็แล ครั้นทรงแสดงแล้ว พระองค์ได้มีความดำริอย่าง นี้ ว่า ถ้าภิกษุทั้งหลาย จักพบเห็นเราตลอดกึ่งเดือนนี้ไซร้ เธอเหล่านั้นจัก มาบอกเราว่า วันนี้ภิกษุมรณภาพไปรูปหนึ่ง วันนี้มรณภาพไป ๒ รูป ฯลฯ วันนี้มรณภาพไป ๑๐ รูป ดังนี้ ก็แลกรรมวิบากนี้เราหรือใครคนอื่นก็ไม่สามารถ จะห้ามได้ เรานั้น แม้ได้ฟังเหตุนั้นแล้วก็จักทำอะไรเล่า? จะมีประโยชน์ อะไรแก่เรา ด้วยการฟังที่หาประโยชน์มิได้มีแต่ความฉิบหายใช่ประโยชน์ เอา


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 323

เถิด! เราจะเข้าไปยังสถานที่ๆ ภิกษุทั้งหลายจะเห็นไม่ได้ เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราปรารถนาจะ หลีกออกเร้นอยู่ตลอดกึ่งเดือน ใครๆ อย่าเข้าไปหาเรา นอกจากภิกษุผู้นำ บิณฑบาตเข้าไปให้รูปเดียว.

ส่วนอาจารย์เหล่าอื่นกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสอย่างนั้นแล้ว จึงได้หลีกออกเร้นอยู่ เพื่อจะเว้นความติเตียนของผู้อื่น นัยว่า ชนพวกอื่น จัก กล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นี้เป็นผู้ทรงรู้สิ่ง ทั้งปวง ทั้งทรงปฏิญาณอยู่ว่า เราเป็นผู้ยังจักรคือพระสัทธรรมอันบวรให้เป็น ไป ไม่ทรงสามารถจะห้ามพระสาวกทั้งหลายแม้ของพระองค์ ผู้วานกันและกัน ให้ฆ่ากันอยู่ ไฉนจักทรงอาจห้ามบุคคลอื่นได้เล่า? ในข้อที่ผู้อื่นกล่าวติเตียน นั้นบัณฑิตทั้งหลาย จักกล่าวแก้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบการหลีก ออกเร้นอยู่ หาได้ทรงทราบความเป็นไปนี้ไม่ แม้ผู้จะทูลบอกพระองค์บางคน ก็ไม่มี ถ้าพึงทรงทราบไซร้ ก็จะพึงทรงห้ามแน่นอน. แค่เพียงข้อที่ทรงมี ความปรารถนาเป็นข้อแรกนี้นั่นเอง ย่อมเป็นเหตุในคำนี้ได้.

ศัพท์ว่า อสฺสุธ ในคำว่า นาสฺสุธ เป็นนิบาตลงในอรรถสัก ว่าทำบทให้เต็ม หรือในอรรถคือการห้ามว่า ใครๆ อย่าเข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคเจ้าเลย.

อสุภภาวนานุโยค (ความหมั่น ประกอบเนืองๆ ในการเจริญอสุภกรรม ฐาน) นั้น มีกระบวนการทำต่างๆ ด้วยเหตุทั้งหลายมีสีและสัณฐานเป็นต้นมาก มาย; เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อเนกาการโวการ (มีกระบวนการทำต่างๆ มากมาย). มีคำอธิบายว่า เคล้าคละปะปนกันด้วยอาการมากมาย คือเจือปน


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 324

กันด้วยเหตุหลายอย่าง. อเนกาการโวการนั้นได้แก่อะไร? ได้แก่อสุภภาวนานุโยค. ซึ่งความหมั่นประกอบเนืองๆ ในการเจริญอสุภกรรมฐาน มีกระบวนการต่างๆ มากมายนั้น.

สองบทว่า อนุยุตฺตา วิหรนฺติ ความว่า ภิกษุเหล่านั้น ประกอบ คือขวนขวายอยู่.

บทว่า อฏฺฏิยนฺติ ความว่า ย่อมเป็นผู้อืดอัด คือ มีดวามลำบาก ด้วยกายนั้น.

บทว่า หรายนฺติ แปลว่า ย่อมระอา.

บทว่า ชิคุจฺฉนฺติ แปลว่า เป็นผู้เกิดความเกลียดชังขึ้นเอง.

บทว่า ทหโร แปลว่า เด็กรุ่นหนุ่น.

บทว่า ยุวา แปลว่า ผู้ประกอบด้วยความเป็นหนุ่ม.

บทว่า มณฺฑนกชาติโย แปลว่า ผู้ชอบแต่งตัวเป็นปกติ.

สองบทว่า สีสํ นหาโต แปลว่า ผู้อาบน้ำพร้อมทั้งศีรษะ. ในสองคำว่า ทหโร ยุวา นี้ท่านพระอุบาลีเถระแสดงความเป็นผู้ แรกเป็นหนุ่ม ด้วยคำว่า ทหระ. จริงอยู่ สัตว์ทั้งหลายในคราวแรกเป็นหนุ่ม ย่อมมีปกติเป็นผู้ชอบแต่งตัวโดยพิเศษ. ท่านพระอุบาลีเถระ แสดงถึงเวลาขวนขวายการแต่งตัวด้วยคำทั้งสองว่า สีสํ นหาโตนี้. แท้จริง แม้คนหนุ่มทำการ งานบางอย่างแล้วมีร่างกายเศร้าหมอง ก็หาเป็นผู้ขวนขวายการแต่งตัวไม่. แต่ เขาอาบน้ำสระเกล้าเสร็จแล้วจึงตามประกอบการแต่งตัวทีเดียว ย่อมไม่ปรารถนา แม้ที่จะเห็นของสกปรกมีซากงูเป็นต้น.

[พวกภิกษุฆ่าตัวเองและวานให้ผู้อื่นฆ่า]

ขณะนั้น บุรุษหนุ่มนั้น พึงอึดอัด สะอิดสะเอียน เกลียดชังด้วยซากงู ซากสุนัขหรือซากศพมนุษย์อันคล้องอยู่ที่คอ คือมีบุคคลผู้เป็นข้าศึกบางคนนั่น


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 325

เองนำมาผูกไว้ คือสวมไว้ที่คอ ฉันใด ภิกษุเหล่านั้น ก็อึดอัด ระอา เกลียด ชังด้วยร่างกายของตน ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นผู้ใคร่จะสละร่างกายของตนเสีย เพราะเป็นผู้ปราศจากความรักด้วยอำนาจความพอใจ ดุจบุรุษคนนั้นผู้ใคร่จะ สละทิ้งซากศพนั้นเสีย ฉะนั้น จึงถือเอาศัสตรา แล้วปลงชีวิตตนเองบ้าง วานกันและกัน ให้ปลงชีวิตบ้าง ด้วยพูดอย่างนี้ว่า ท่านจงปลงกระผมเสียจาก ชีวิต กระผมจะปลงท่านเสียจากชีวิต.

คำว่า มิคลัณฑิกะ ในสองบทว่า มิคลณฺฑิกมฺปิ สมณกุตฺตกํ นี้เป็นชื่อของเขา.

บทว่า สมณกุตฺตโก ได้แก่ ผู้ทรงเพศสมณะ. ได้ยินว่ามิคลัณฑิกะ นั้น โกนศีรษะไว้เพียงจุก นุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง อีกผืนหนึ่ง พาดไว้บนไหล่ เข้าอาศัยวิหารนั้นแล เป็นอยู่โดยความเป็นคนกินเดน. ภิกษุทั้งหลายเข้าไปหา มิคลัณฑิกะ ผู้ทรงเพศสมณะแม้นั้น แล้วกล่าวอย่างนั้น.

ศัพท์ว่า สาธุ เป็นนิบาต ลง ในอรรถว่าขอร้อง. โน เป็นทุติยา วิภัตติ พหุวจนะ. มีคำอธิบายว่า พ่อคุณ! ดีละ เธอจงช่วยปลงชีวิตพวกฉันที. ก็บรรดาภิกษุเหล่านั่น ภิกษุผู้ เป็นอริยะไม่กระทำปาณาติบาต ไม่ชักชวนบุคคล อื่น ทั้งไม่อนุญาตด้วย. ส่วนภิกษุผู้เป็นปุถุชน กระทำได้แทบทุกอย่าง.

บทว่า โลหตกํ แปลว่า เปื้อนเลือด. แม่น้ำที่เขาสมมติกันว่าเป็น บุญของชาวโลก เรียกว่า วัคคุ ในคำว่า เยน วคฺคุมุทา นี้. ได้ยินว่า แม้มิคลัณฑิกะนั้น ไปยังแม่น้ำนั้น ด้วยความสำคัญว่า จักลอยบาปในแม่น้ำนั้น.

[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุแล้วเกิดความเสียใจ]

สองบทว่า อทุเทว กุกฺกุจฺจํ ความว่า ได้ยินว่า บรรดาภิกษุ เหล่านั้น ภิกษุบางรูปไม่ได้ทำกายวิการ หรือวจีวิการ, ทั้งหมดทุกรูป มีสติ


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 326

รู้สึกตัวอยู่ นอนลงโดยตะแคงขวา. เมื่อมิคลัณฑิกะนั้น ตามระลึกถึงความ ไม่กระทำกายวิการ และวจีวิการนั้น ได้มีความรำคาญใจแล้วนั้นเทียว. บาป แม้มีประมาณน้อย ชื่อว่าเขาละได้แล้ว ด้วยอานุภาพแห่งแม่น้ำย่อมไม่มี.

คำว่า อหุ วปฺปฏิสาโร นั่น ท่านกล่าวไว้ เพื่อกำหนดสภาพ แห่งความรำคาญนั้นนั่นแล. ได้มีความรำคาญ เพราะความวิปฏิสาร มิใช่ความ รำคาญทางพระวินัยแล.

ท่านกล่าวคำว่า อลาภา วต เม เป็นต้น เพื่อแสดงอาการคือความ เป็นไปแห่งความรำคาญ.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า อลาภา วต เม ความว่า มิคลัณฑิกะนั้น ทอดถอนใจอยู่ว่า บัดนี้ ชื่อว่าลาภคือประโยชน์เกื้อกูลและความสุขของเรา ย่อมไม่มีต่อไป. ก็เขาเน้นเนื้อความนั้นนั่นเอง ให้หนักแน่น ด้วยคำว่า ลาภ ของเราไม่มีหนอ นี้. แท้จริง ในคำว่า น วต เม ลาภา นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า แม้ถ้ามีใครๆ พึงกล่าวว่า เป็นลาภของท่าน คำนั้นผิด ลาภของเรา ย่อม ไม่มีเลย.

ข้อว่า ทุลฺลทฺธํ วต เม มีความว่า ความเป็นมนุษย์นี้ แม้ที่เรา ได้แล้วด้วยกุศลานุภาพ ก็เป็นอันเราได้ไม่ดีหนอ. ก็เขาย่อมเน้นเนื้อความนั้น นั่นเอง ให้หนักแน่นด้วยคำนี้ว่า เราได้ไม่ดีหนอ. จริงอยู่ ในคำว่า น วต เม สุลทฺธํ นี้ มีอธิบายดังนี้ว่า แม้ถ้าใครๆ พึงกล่าวว่า ท่านได้ดีแล้ว คำนั้นผิด เราได้ไม่ดีหนอ.

สองบทว่า อปุฺํ ปสุตํความว่า สิ่งมิใช่บุญเราสั่งสมหรือก่อ ให้เกิดขึ้นแล้ว. หากจะพึงมีผู้ถามว่า เพราะเหตุไร? พึงเฉลยว่า เพราะเหตุ ที่เราได้ปลงภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม เสียจากชีวิต. คำนั้น


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 327

มีอธิบายว่า เพราะเหตุที่เราได้ปลงภิกษุทั้งหลาย ซึ่งเป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม คือผู้มีอุดมธรรม มีธรรมอันประเสริฐ เพราะความเป็นผู้มีศีลนั้นแล จากชีวิต.

[เทวดาช่วยปลอบโยนมิคลัณฑิกะให้ฆ่าภิกษุต่อไป]

สองบทว่า อญฺตรา มารกายิกา มีความว่า ภุมเทวดาคนหนึ่ง ไม่ปรากฏชื่อ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นฝักฝ่ายแห่งมาร ประพฤติตามมาร คิดว่า มิคลัณฑิกะนี้ จักไม่กล้าล่วงบ่วงของมาร คือวิสัยของมารไปได้ ด้วยอุบาย อย่างนี้ ดังนี้แล้วจึงประดับด้วยเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เมื่อจะแสดงอานุภาพ ของตน จึงเดินมาบนน้ำ อันไม่แตกแยก ดุจเดินไปมาอยู่บนพื้นดินฉะนั้น ได้กล่าวคำนั่น กะมิคลัณฑิกะสมณกุตก์.

ศัพท์ว่า สาธุ สาธุ เป็นนิบาต ลงในอรรถ คือความร่าเริง. เพราะเหตุนั้น ในพระบาลีนี้ จึงกล่าวย้ำ ๒ ครั้ง อย่างนี้แล.

สองบทว่า อติณฺเณ ตาเรสิความว่า ท่านช่วยส่งพวกคนที่ยังข้าม ไม่พ้น ให้ข้ามพ้น คือช่วยเปลื้อง ให้พ้นจากสงสาร ด้วยการปลงเสียจาก ชีวิต. ได้ยินว่า เทวดาผู้เป็นพาลทรามปัญญาตนนั้น มีลัทธิดังนี้ว่า บุคคล ทั้งหลาย ผู้ยังไม่ตาย ชื่อว่ายังไม่พ้นจากสงสาร, ผู้ที่ตายแล้วจึงพ้น. เพราะ เหตุนั้น เทวดาผู้มีลัทธิอย่างนั้น ก็เป็นเหมือนชนชาวป่า * ผู้จะเปลื้องตนจาก สงสารฉะนั้น ได้ประกอบแม้มิคลัณฑิกะนั้นไว้ในการให้ช่วยปลงเสียจากชีวิต นั้น จึงกล่าวอย่างนั้น.

[มิคลัณฑิกะฆ่าภิกษุต่อไปวันละ ๑ รูปถึง ๕๐๐ รูป]

ครั้งนั้นแล มิคลัณฑิกะสมณกุตก์ ถึงแม้เป็นผู้มีความเดือดร้อน เกิดขึ้นกล้าแข็งเพียงนั้นก็ตาม ครั้นเห็นอานุภาพของเทวดานั้น ก็ถึงความ ตกลงใจว่า เทวดาตนนี้ ได้กล่าวอย่างนี้, ประโยชน์นี้ พึงเป็นอย่างนี้ทีเดียว


* มิลกฺข มลกฺโข คนชาวป่า, คนป่า, ผู้พูดอย่างเสียงสัตว์ร้อง, เป็นคนมิได้รับการศึกษาเลย.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 328

แน่แท้ แล้วกล่าวคำเป็นต้นว่า นัยว่าเป็นลาภของเรา จึงจากวิหารเข้าไปสู่วิหาร จากบริเวณเข้าไปสู่บริเวณ แล้วกล่าวอย่างนั้น คือ เข้าไปยังวิหารและบริเวณ นั้นๆ แล้ว เปิดประตู เข้าไปภายใน กล่าวกะภิกษุทั้งหลายอย่างนั้นว่า ใครยัง ข้ามไม่พ้น ข้าพเจ้าจะช่วยส่งให้ข้ามพ้น.

สองบทว่า โหติเยว ภยํ ความว่า มีจิตสะคุ้ง เพราะอาศัยความตาย.

บทว่า ฉมฺภิตตฺตํ ความว่า มีร่างกายสั่นเทา ตั้งแต่เนื้อหัวใจ เป็นต้นไป. อาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า ความมีร่างกายแข็งทื่อ เพราะกลัวจัด ดังนี้บ้าง. จริงอยู่ ความมีร่างกายแข็งดุจเสาท่านเรียกว่า ความหวาดเสียว. ความมีขนตั้งชูขึ้นข้างบน ชื่อว่า ความมีชนชูชัน. ส่วนพระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่เห็นสัตว์ตายเลย เพราะท่านเห็นดีแล้ว โดยความเป็นของว่างจากสัตว์ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า อันตรายมีความกลัวเป็นต้นนั่น แม้ทั้งหมด หาได้มีแก่พระขีณาสพเหล่านั้นไม่. มิคลัณฑิกะนั้นได้ปลงภิกษุมีประมาณ ๕๐๐ รูป แม้ทั้งหมดเหล่านั้นเสียจากชีวิตด้วยอำนาจการคำนวณอย่างนั้นคือ เขาได้ ปลงภิกษุจากชีวิตเสีย วันละ ๑ รูปบ้าง ๒ รูปบ้างฯลๆ ๖๐ รูปบ้าง.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบว่าภิกษุสงฆ์เบาบ้างไป]

สองบทว่า ปฏิสลฺลานา วุฏฺิโต ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบข้อที่ภิกฺษุมีประมาณ ๕๐๐ รูปเหล่านั้นถึงมรณภาพ จึงเสด็จออกจาก ความเป็นผู้โดดเดี่ยวนั้น ถึงแม้จะทรงทราบ ก็เป็นเหมือนไม่ทรงทราบจึงได้ ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มา เพื่อให้ตั้งเรื่องขึ้น.

ข้อว่า กินฺนุโข อานนฺท ตนุภูโต วิย ภิกฺขุสงฺโฆ มีความว่า พระองค์ทรงรับสั่งว่า ดูก่อนอานนท์! ในกาลก่อนแต่นี้ไป พวกภิกษุเป็น


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 329

จำนวนมาก ย่อมมาสู่ที่อุปัฏฐาก โดยรวมเป็นพวกเดียวกัน เรียนเอาอุเทศ ปริปุจฉา สาธยายอยู่, อารามย่อมปรากฏดุจรุ่งเรืองเป็นอันเดียวกัน, แต่บัดนี้ โดยล่วงไปเพียงกึ่งเดือน ภิกษุสงฆ์ดูเหมือนน้อยไป คือเป็นประหนึ่งว่าเบาบาง เล็กน้อย ร่อยหรอ โหรงเหรงไป มีเหตุอะไรหรือ? พวกภิกษุหลีกไปในทิศ ทั้งหลายหรือ?

[พระอานนท์ทูลให้ตรัสบอกกรรมฐานอย่างอื่นแก่พวกภิกษุ]

ลำดับนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อไม่กำหนดเหตุที่ภิกษุเหล่านั้นถึง มรณภาพไป เพราะผลแห่งกรรม แต่มากำหนดเพราะความหมั่นประกอบใน อสุภกรรมฐานเป็นปัจจัย จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า ตถา หิ ปน ภนฺเต ภควา ดังนี้ เมื่อจะทูลขอพระกรรมฐานอย่างอื่น เพื่อให้ภิกษุทั้งหลายบรรลุ อรหัตตผล จึงได้กราบทูลคำเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเต ภควา ดังนี้. คำนั้น มีใจความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ! ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มี พระภาคเจ้า โปรดตรัสบอกการณ์อย่างอื่น ซึ่งเป็นเหตุให้ภิกษุสงฆ์ดำรงอยู่ ในพระอรหัตตผล. อธิบายว่า า1ริงอยู่. พระกรรมฐานที่เป็นคุณชาติหยั่งลงสู่ พระนิพพานดุจท่าเป็นที่หยั่งลงสู่มหาสมุทร แม้เหล่าอื่นก็มีมาก ต่างโดย ประเภท คือ อนุสสติ ๑๐ กสิณ ๑๐ จตุธาตุววัฏฐาน ๔ พรหมวิหาร ๔ และอานาปานัสสติ. ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ ในพระกรรมฐานเหล่านั้น แล้วตรัสบอกพระกรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่งเถิด.

ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระประสงค์จะทรงทำเช่นนั้น เมื่อ จะส่งพระเถระไปจึงทรงรับสั่งว่า เตนหิ อานนฺท ดังนี้เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เวสาลี อุปนิสฺสาย ความว่า ภิกษุ มีประมาณเท่าใด ซึ่งอาศัยเมืองไพศาลีอยู่ โดยรอบในที่คาวุตหนึ่งบ้าง กึ่งโยชน์บ้าง, เธอจงเผดียงภิกษุเหล่านั้น ทั้งหมดให้ประชุมกัน.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 330

ข้อว่า สพฺเพ อุปฏฺานสาลายํ สนฺนิปาเตตฺวา ความว่า ไปสู่ ที่ๆ ตนควรจะไปเองแล้ว ในที่อื่น ส่งภิกษุหนุ่มไปแทน จัดพวกภิกษุให้ ประชุมกันไม่ให้เหลือ ที่อุปัฏฐานศาลาโดยครู่เดียวเท่านั้น.

ในคำว่า ยสฺสิทานิ ภนฺเต ภควา กาลํ มญฺติ นี้มีอธิบาย ดังนี้ว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า! ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว, นี้เป็นกาล เพื่อทรงทำธรรมกถา เพื่อประทานพระอนุศาสนีแก่ภิกษุทั้งหลาย, ขอพระองค์ ทรงทราบกาลแห่งกิจที่ควรทรงกระทำในบัดนี้เถิด.

[พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกอานาปานัสสติแก่พวกภิกษุ]

ข้อว่า อถโข ภควาฯ เปฯ ภิกฺขู อามนฺเตสิ อยมฺปิ โข ภิกฺขเว มีความว่า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นรับสั่งตักเตือนแล้ว เมื่อ จะตรัสบอกปริยายอย่างอื่นจากอสุภกรรมฐานที่ตรัสบอกแล้วในก่อน เพื่อบรรลุ พระอรหัตแก่ภิกษุทั้งหลาย จึงตรัสว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้น. บัดนี้ เพราะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีนี้ เพื่อทรงแสดงพระกรรมฐาน ที่เป็น คุณสงบและประณีตจริงๆ แก่ภิกษุทั้งหลาย; ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักทำการ พรรณนาในพระบาลีนี้ ตามลำดับอรรถโยชนา ไม่ละทิ้งให้เสียไป.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อยมฺปิ โข ภิกฺขเว เป็นต้นนี้มีโยชนา ดังต่อไปนี้ก่อนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสุภภาวนาอย่างเดียวเท่านั้น ย่อม เป็นไปเพื่อละกิเลส หามิได้, อีกอย่างหนึ่ง อานาปานัสสติสมาธิ แม้นี้แล อันภิกษุอบรมทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นคุณสงบประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาปอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้อันตรธานสงบไปโดยฉับเพลัน. ก็ใน คำว่า อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นต้นนี้ มีอรรถวรรณนาดังต่อไปนี้.


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 331

สติกำหนดลมหายใจเข้าและหายใจออกชื่อว่าอานาปานัสสติ. สมจริง ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า ลมหายใจเข้า ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ปัสสาสะ, ลมหายใจออก ชื่อว่า ปานะ (๑) ไม่ใช่อัสสาสะ, สติเข้าไปตั้งอยู่ ด้วยอำนาจลมหายใจเข้า สติเข้าไปตั้งอยู่ด้วยอำนาจลมหายใจออก ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจเข้า ย่อมปรากฏแก่บุคคลผู้หายใจออก (๒) .

ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ซึ่งเกิดขึ้นพร้อมกับสติที่กำหนดลมหายใจเข้า และหายใจออกนั้น ชื่อว่าสมาธิ. ก็เทศนานี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยหัวข้อ คือสมาธิ หาใช่ด้วยหัวข้อคือสติไม่. เพราะฉะนั้น ในบทว่า อานาปานสฺสติสมาธิ นี้ พึงทราบใจความอย่างนี้ว่า สมาธิที่ประกอบด้วยอานาปานัสสติ หรือสมาธิใน อานาปานัสสติชื่อว่า อานาปานัสสติสมาธิ.

บทว่า ถาวโต แปลว่า ให้เกิดขึ้น หรือให้เจริญแล้ว.

บทว่า พหุลีกโต แปลว่า กระทำบ่อยๆ.

สองบทว่า สนฺโต เจว ปณีโต จ คือ เป็นคุณสงบด้วยนั่นเทียว เป็นคุณประณีตด้วยทีเดียว. ในบททั้งสองพึงทราบความแน่นอนด้วยเอวศัพท์. ท่านกล่าวอธิบายไว้อย่างไร? ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า จริงอยู่ อานาปานัสสติ สมาธินี้ จะเป็นธรรมไม่สงบ หรือไม่ประณีต โดยปริยายอะไรๆ เหมือน อสุภกรรมฐานซึ่งเป็นกรรมฐานสงบและประณีต ด้วยอำนาจการแทงตลอด อย่างเดียว แต่ไม่สงบไม่ประณีตด้วยอำนาจอารมณ์ เพราะมีอารมณ์หยาบและ เพราะมีอารมณ์ปฏิกูลฉันนั้นหามิได้, อนึ่งแล อานาปานัสสติสมาธินี้ สงบ คือ ระงับดับสนิท เพราะมีอารมณ์สงบบ้าง เพราะมีองค์คือการแทงตลอดสงบบ้าง


๑. อปานนฺติ ปาลิ.

๒. ขุ. ปฏี. ๓๑/๒๕๘.


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 332

ประณีต คือไม่กระทำให้เสียเกียรติ เพราะมีอารมณ์ประณีตบ้าง เพราะมีองค์ ประณีตบ้าง. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสคำว่า สงบและประณีต.

ก็ในคำว่า อเสจนโก จ สุโข จ วิหาโร นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- อานาปานัสสติสมาธินั้น ไม่มีเครื่องรด; เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเยือกเย็น คือ ไม่มีเครื่องราดไม่เจือปน แผนกหนึ่งต่างหาก ไม่ทั่วไป. อนึ่ง ความสงบ โดยบริกรรม หรือโดยอุปจารในอานาปานัสสติสมาธินี้ไม่มี. อธิบายว่า เป็น ธรรมสงบและประณีต โดยสภาพของตนทีเดียว จำเติมแค่เริ่มต้นใฝ่ใจ. แต่ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า บทว่า อเสจนโก ความว่า ไม่มีเครื่องราด คือ มีโอชะ มีรสอร่อยโดยสภาพทีเดียว. โดยอรรถดังกล่าวมาอย่างนี้ อานาปานัสสติสมาธินี้ บัณฑิตพึงทราบว่า เยือกเย็นและอยู่เป็นสุข เพราะเป็นไปเพื่อ ให้ได้ความสุขทางกายและทางจิต ในขณะที่เข้าถึงแล้วๆ.

บทว่า อุปฺปนฺนุปฺปนฺเน หมายความว่า ที่ยังข่มไม่ได้ๆ.

บทว่า ปาปเก หมายความว่า เลวทราม.

สองบทว่า อกุสเล ธมฺเม ได้แก่ ธรรมที่เกิดจากความไม่ฉลาด.

สองบทว่า านโส อนฺตรธาเปติ ความว่า ย่อมให้อันตรธานไป คือข่มไว้ได้โดยฉับพลันทีเดียว.

บทว่า วูปสเมติ ความว่า ย่อมให้สงบไปด้วยดี. อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า อานาปานัสสติสมาธินี้ ย่อมถึงความเจริญด้วยอริยมรรคโดยลำดับ เพราะมีส่วนแห่งการแทงตลอด ย่อมตัดขาดด้วยดี คือย่อมสงบราบคาบได้.

คำว่า เสยฺยถาปิ นี้ เป็นคำแสดงความอุปมา.

หลายบทว่า คิมฺหานํ ปจฺฉิเม มาเส ได้แก่ ในเดือนอาสาฬหะ (เดือน ๘)..


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 333

บทว่า อูหตรโชชลฺลํ (๑) ความว่า ฝุ่นและละออง ถูกลมพัดฟุ้งขึ้น เบื้องบน คือ ลอยขึ้นบนอากาศจากพื้นดิน ที่แตกระแหงเพราะกีบโคและ กระบือเป็นต้นกระทบ ซึ่งแห้งเพราะลมและแดดเผาตลอดกึ่งเดือน.

เมฆซึ่งขึ้นเต็มท้องฟ้าทั้งหมด แล้วให้ฝนตกตลอดกึ่งเดือนทั้งสิ้นใน ชุณหปักข์แห่งเดือนอาสาฬหะ ชื่อว่าฝนห่าใหญ่ที่ตกในสมัยใช่ฤดูกาล. จริงอยู่ เมฆนั้น ท่านประสงค์เอาในอธิการนี้ว่า อกาลเมฆ เพราะเกิดขึ้นใน เวลายังไม่ถึงฤดูฝน.

หลายบทว่า านโส อนฺตรธาเปติ วูปสเมติ ความว่า ฝนห่า ใหญ่ที่ตกในสมัยมิใช่ฤดูกาลนั้น ย่อมพัดเอาฝุ่นและละอองนั้นๆ ไป ไม่ให้ แลเห็น คือพัดให้จมหายไปในเผ่นดินโดยฉับพลันทีเดียว.

คำว่า เอวเมว โข นี้ เป็นคำเปรียบเทียบข้ออุปไมย. ถัดจากคำว่า เอวเมว โข นั้นไป มีนัยดังกล่าวมาแล้วนั่นแล.

ในคำว่า ถถํ ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ นี้ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-

คำว่า กถํ เป็นคำถาม คือความเป็นผู้ใคร่จะยังอานาปานัสสติสมาธิ ภาวนาให้พิสดาร โดยประการต่างๆ.

คำว่า ภาวิโต จ ภิกฺขเว อานาปานสฺสติสมาธิ เป็นคำแสดง ไขข้อธรรมที่ถูกถาม เพราะความเป็นผู้ใคร่จะยังอานาปานัสสติสมาธินั้นให้ พิสดาร โดยประการต่างๆ. แม้ในบททั้งสอง ก็นัยนั่น.

ก็ในคำว่า กถํ ภาวิโต จ เป็นต้นนี้ มีความสังเขปดังนี้ว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! อานาปานัสสติสมาธิ อันภิกษุอบรมแล้ว ด้วยประการไร


(๑) บาลีเป็น อูหตํ รโชชลฺลํ.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 334

ด้วยอาการไร ด้วยวิธีไร? ทำให้มากแล้ว ด้วยประการไร? จึงเป็นคุณสงบ ประณีต เยือกเย็น อยู่เป็นสุข และยังบาป อกุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้วๆ ให้ อันตรธานไปโดยฉับพลัน.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังเนื้อความนั้นให้พิสดาร จึง ตรัสว่า อธิ ภิกฺขเว เป็นต้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ข้อว่า อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ มีความว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุในศาสนานี้. จริงอยู่ อิธศัพท์นี้ในบทว่า ภิกฺขเว นี้ แสดงศาสนาซึ่งเป็นที่อาศัยของบุคคลผู้ให้อานาปานัสสติสมาธิเกิดขึ้นโดย ประการทั้งปวง และปฏิเสธความไม่เป็นเช่นนั้นแห่งศาสนาอื่น. สมจริง ดัง พระดำรัสที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! สมณะ (ที่ ๑) มีในธรรมวินัยนี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในธรรมวินัยนี้. สมณะที่ ๓ มีในธรรม วินัยนี้ สมณะที่ ๔ มีในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นว่างจากสมณะทั้ง * ๔. เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้.

คำว่า อรญฺคโต วา ฯเปฯ สุญฺาตารคโต วา นี้แสดง การที่ภิกษุนั้นเลือกหาเสนาสนะเหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ. เพราะว่า จิตของภิกษุนี้เคยซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้นเสียนาน จึงไม่อยากจะก้าวขึ้นสู่อารมณ์ของอานาปานัสสติสมาธิ คอยแต่จะแล่นไปนอก ทางอย่างเดียว ดุจรถที่เขาเทียมด้วยโคโกงฉะนั้น. เพราะฉะนั้น คนเลี้ยงโค ต้องการจะฝึกลูกโคโกง ตัวดื่มน้ำนมทั้งหมดของแม่โคโกง เติบโตแล้ว พึง พรากออกจากแม่โคนม ปักหลักใหญ่ไว้ส่วนหนึ่ง แล้วเอาเชือกผูกไว้ที่หลัก นั้น, คราวนั้นลูกโคนั้นของเขา ดิ้นรนไปทางโน้นทางนี้ ไม่อาจหนีไปได้


* องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๒๓.


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 335

พึงยืนพิงหรือนอนอิงหลักนั้นนั่นแล ชื่อแม้ฉันใด; ภิกษุแม้รูปนี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ประสงค์จะฝึกฝนจิตที่ถูกโทษประทุษร้าย ซึ่งเจริญด้วยการดื่มรส แห่งอารมณ์มีรูปเป็นต้นมานานแล้ว พึงพรากออกจากอารมณ์มีรูปเป็นตน แล้วเข้าไปสูป่า หรือโคนไม้ หรือเรือนว่างเปล่าแล้วพึงเอาเชือกคือสติผูกไว้ที่ หลัก คือลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จิตของเธอนั้น แม้ จะกวัด แกว่งไปทางโน้นและทางนี้ก็ตาม เมื่อไม่ได้รับอารมณ์ที่เคยชินมาใน กาลก่อนไม่สามารถจะตัดเชือกคือสติหนีไปได้ ย่อมจดจ่อและแนบสนิทอารมณ์ นั้นแล ด้วยอำนาจอุปจาระและอัปปนา. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ ทั้งหลายจึงกล่าวว่า

นรชน เมื่อจะฝึกลูกโค พึงผูกติดไว้ ที่หลัก ฉันใด ภิกษุในศาสนานี้ พึงเอาสติ ผูกจิตของตนไว้ที่อารมณ์ให้มั่นฉันนั้น.

เสนาสนะนั้น ย่อมเป็นสถานที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ นั้น ด้วยประการฉะนี้. เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า คำนี้แสดงการที่ ภิกษุนั้น เลือกหาเสนาสนะที่เหมาะแก่การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ. อีกอย่าง หนึ่ง เพราะอานาปานัสสติกรรมฐานนี้เป็นยอดในประเภทแห่งกรรมฐาน เป็น ปทัฏฐานแห่งการบรรลุคุณพิเศษ และเป็นสุขวิหารธรรมในปัจจุบัน ของพระ พระสัพพัญญูพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวก อันพระโยคาวจรไม่ ละชายบ้านที่อื้ออึงด้วยเสียงสตรี บุรุษ ช้าง และม้าเป็นต้น จะเจริญให้ถึง พร้อม ทำไม่ได้ง่าย เพราะเสียงเป็นข้าศึกต่อฌาน; แต่ในป่าซึ่งไม่ใช่บ้าน พระโยคาวจรกำหนดกรรมฐานนี้แล้ว ยังจตุตถฌานอันมีลมหายใจเข้าและหาย ใจออก เป็นอารมณ์ให้เกิดแล้ว ทำฌานนั้นนั่นเองให้เป็นบาทพิจารณาสังขาร


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 336

ทั้งหลายได้บรรลุพระอรหัตอันเป็นผลที่เลิศจะทำได้ง่าย; เพราะเหตุนั้น พระ ผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเสนาสนะที่เหมาะแก่ภิกษุนั้น. จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อรญฺคโต วา ดังนี้. ด้วยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นประดุจอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณรู้ชัยภูมิพื้นที่. อาจารย์ผู้ทรงวิทยารู้พื้นที่ เห็นพื้นที่ที่จะสร้างนครแล้วพิจารณาโดยตระหนักแล้วชี้ว่า ขอพระองค์จงโปรด สร้างพระนครในที่นี้ เมื่อนครสำเร็จแล้วโดยสวัสดี ย่อมได้มหาสักการะแต่ ราชตระกูล ฉันใด, พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ทรงพิจารณาเสนาสนะอันสมควร แก่พระโยคาวจรแล้วย่อมทรงชี้ว่า กรรมฐาน อันกุลบุตรผู้มีความเพียรพึง พากเพียรพยายามในที่นี้, แต่นั้น เมื่อพระโยคาวจรประกอบกรรมฐานอยู่ใน เสนาสนะนั้นแล้ว บรรลุพระอรหัตโดยลำดับ ย่อมได้มหาสักการะว่า พระผู้มี พระภาคเจ้านั้นเป็นสัมมาสัมพุทธเจ้าแท้แล ฉันนั้นเหมือนกัน. ส่วนภิกษุนี้ ท่านว่า เช่นกับพยัคฆ์, เหมือนอย่างพญาเสือใหญ่ แอบอาศัยพงหญ้า ชัฏป่า หรือเทือกเขา อยู่ในไพร ย่อมจับหมู่มฤคมีกระบือป่า ชะมด (หรือกวาง) และสุกรเป็นต้น (เป็นภักษา) ฉันใด ภิกษุพากเพียรกรรมฐานอยู่ในเสนาสนะ มีป่าเป็นต้นนี้ ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมยึดไว้ได้ซึ่งโสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตตมรรคและอริยผล โดยลำดับ. เพราะ ฉะนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า

ขึ้นชื่อว่า พยัคฆ์ ย่อมแอบจับหมู่ มฤค (เป็นภักษา) แม้ฉันใด พุทธบุตร ผู้ประกอบความเพียรบำเพ็ญวิปัสสนานี้ ก็ เหมือนกัน เข้าไปสู่ป่าแล้ว ย่อมยืดไว้ได้ ซึ่งผลอันอุดม.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 337

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอรัญญเสนาสนะ อันเป็นภูมิควรแก่การประกอบเชาวนปัญญา เพื่อความเจริญก้าวหน้า แก่ พระโยคาวจรนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า อรญฺคโต วา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อรญฺคโต วา ความว่า ไปสู่ป่า อันสะดวกแก่ความสงัดแห่งใดแห่งหนึ่ง ในบรรดาป่าซึ่งมีลักษณะที่กล่าวไว้ อย่างนี้ว่า. ที่ชื่อว่าป่า ได้แก่ สถานที่ภายนอกจากเสาเขื่อนออกไป นั่นทั้งหมด ชื่อว่าป่า (๑) และว่า เสนาสนะที่สุดไกลประมาณ ๕๐๐ ชั่วธนู ชื่อว่าเสนาสนะ ป่า. (๒)

บทว่า รุกฺขมูลคโต วา ความว่า ไปสู่ที่ใกล้ต้นไม้.

บทว่า สุญฺาคารคโต วา ความว่า ไปสู่โอกาสที่สงัด ซึ่งว่าง เปล่า. แต่ในอธิการนี้ แม้ภิกษุจะเว้นป่าและโคนต้นไม้เสีย ไปยังเสนาสนะ ๗ อย่าง ที่เหลือ ก็ควรเรียกได้ว่า ไปสู่เรือนว่างเปล่า.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงชี้เสนาสนะอันสมควรแก่การเจริญอานาปานัสสติ ซึ่งเหมาะแก่ฤดูทั้ง ๓ และเหมาะแก่ธาตุและจริยาแก่ภิกษุนั้น อย่างนั้นแล้ว เมื่อจะทรงชี้อิริยาบถที่สงบ ซึ่งเป็นฝ่ายแห่งความไม่ท้อแท้และ ไม่ฟุ้งซ่าน จึงตรัสว่า นิสีทติ ดังนี้. ภายหลังเมื่อจะทรงแสดงภาวะแห่งการ นั่ง เป็นของมั่นคง ข้อที่ลมอัสสาสะ ปัสสาสะเป็นไปสะดวก และอุบายเครื่อง กำหนดจับอารมณ์แก่เธอนั้น จึงตรัสพระพุทธพจน์มีอาทิว่า ปลฺลงกํ อาภุชิตฺ วา ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปลฺลงฺกํ ได้แก่ การนั่งพับชาทั้ง ๒ โดย รอบ (คือนั่งขัดสมาธิ).


๑. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๖๔. อภิ. วิ. ๓๕/๓๓๘.

๒. วิ. มหา. ๒/๑๔๖.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 338

บทว่า อาภุชิตฺวา แปลว่า คู้เข้าไว้.

ข้อว่า อุชุํ กายํ ปณิธาย มีความว่า ตั้งร่างกายส่วนบนให้ตรง คือให้กระดูกสันหลัง ๑๘ ท่อน จดที่สุดต่อที่สุด. จริงอยู่ เมื่อภิกษุนั่งด้วย อาการอย่างนั้นแล้ว หนัง เนื้อ และเส้นเอ็น ย่อมไม่หงิกงอ. เวลานั้น เวทนาทั้งหลายที่จะพึงเกิดขึ้นแก่เธอในขณะๆ เพราะความหงิกงอแห่งหนัง เนื้อและเอ็นเหล่านั้นเป็นปัจจัยนั่นแล ย่อมไม่เกิดขึ้น. เมื่อเวทนาเหล่านั้น ไม่เกิดขึ้น จิตก็มีอารมณ์เป็นอันเดียว, กรรมฐานไม่ตกไป ย่อมเข้าถึงความ เจริญรุ่งเรือง.

ข้อว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา มีความว่า ตั้งสติมุ่งหน้าต่อ กรรมฐาน. อีกอย่างหนึ่ง ก็ในคำว่า ปริมุขํ สตึ อุปฏฺเปตฺวา นี้ พึง เห็นใจความตามนัยดังที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฎิสัมภิทานั้นแล อย่างนี้ว่า ศัพท์ว่า ปริ มีความกำหนดถือเอาเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า มุขํ มี ความนำออกเป็นอรรถ, ศัพท์ว่า สติ มีความเข้าไปตั้งไว้เป็นอรรถ; เพราะ เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า ตั้งสติไว้เฉพาะหน้า. * ในบทว่า ปริมุขํ สตึ นั้น มีความย่อดังนี้ว่า ทำสติเป็นเครื่องนำออกที่คนกำหนดถือเอาแล้ว.

[อรรถาธิบายวิธีอบรมสติ ๓๒ อย่าง]

ข้อว่า โส สโตว อสฺสสติ มีความว่า ภิกษุนั้นนั่งอย่างนั้น และตั้งสติไว้อย่างนั้นแล้ว เมื่อไม่ละสตินั้น ชื่อว่า มีสติหายใจเข้า ชื่อว่า มีสติหายใจออก. มีคำอธิบายว่า เป็นผู้อบรมสติ.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงอาการเป็นเครื่องอบรม สติเหล่านั้นจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต เป็นต้น. สมจริง


* ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๖๔๕.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 339

ดังคำที่พระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ ในวิภังค์เฉพาะแห่งสองคำนี้ว่า โส สโตว อสฺสสติ สโต ปสฺสสติ ในปฏิสัมภิทาว่า ภิกษุ ย่อมเป็น ผู้อบรมสติ โดยอาการ ๓๒ อย่าง คือ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติ ด้วยสตินั่น ด้วยญาณนั้น, สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจออกยาว ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้อบรมสติด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น ฯลฯ สติของภิกษุผู้รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่านด้วย อำนาจความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจเข้า ... ด้วยอำนาจความ เป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืน หายใจออก ย่อมตั้งมั่น, เธอชื่อว่าเป็นผู้ อบรมสติด้วยสตินั้นด้วยญาณนั้น. (๑)

[มติลมหายใจเข้าและออกตามอรรถกถาวินัยและพระสูตร]

บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า ทีฆํ วา อสฺสสนฺโต ได้แก่ เมื่อให้ลมหายใจเข้ายาวเป็นไปอยู่. ในอรรถกถาวินัย ท่านกล่าวไว้ว่า ลมที่ ออกไปข้างนอก ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจออก (๒) ลมที่เข้าไปข้างใน ชื่อว่า ปัสสาสะ คือลมหายใจเข้า. (๓) ส่วนในอรรถกถาแห่งพระสูตรทั้งหลาย มาโดย กลับลำดับกัน.


๑. ขุ. ปฎิ. ๓๑ /๒๖๔ - ๕.

๒.-๓. ศัพท์ว่า อสฺสาโส และ ปสฺสาโส หรือ อสฺสสติ และ ปสฺสสติ ทั้ง ๒ ศัพท์นี้ บางท่าน แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ ว่า หายใจออก ปาสฺสาโส หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจเข้า, ส่วนในหนังสือเล่มนี้ตั้งแต่ต้นมาได้แปล อสฺสาโส หรือ อสฺสสติ ว่า หายใจเข้า, ปสฺสาโส หรือ ปสฺสสติ ว่า หายใจออก, ที่แปลเช่นนี้ ก็เพราะอาศัยนัยอรรถกถา แห่งพระสูตรเป็นหลัก เช่นอรรถกถามหาหัตถิปโทปมสูตรในปัญจสูทนี ทุติยภาคหน้า ๓๐๘ เป็นต้น ซึ่งท่านอธิบายไว้ดังนี้ คือ:- อสฺสาโสติ อนฺโต ปวิสนนาสิกวาโต ลมที่จมูกเข้าไป ข้างใน ชื่อว่า อัสสาสะ คือลมหายใจเข้า, ปสฺสาโสติ พหิ นิกฺขมนนาสิกวาโต ลมที่ออกไป ภายนอก ชื่อว่า ปัสสาสะ คือลมหายใจออก, ส่วนในอรรถกถาวินัย ท่านก็อธิบายไว้กลับกัน


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 340

บรรดาลมทั้งสองนั้น ในเวลาที่สัตว์ผู้นอนอยู่ในครรภ์แม้ทุกชนิดออก จากท้องแม่ ลมภายในครรภ์ย่อมออกไปข้างนอกก่อน ภายหลัง ลมข้างนอก พาเอาละอองที่ละเอียดเข้าไปข้างใน กระทบเพดานแล้วดับไป. พึงทราบลม อัสสาสะและปัสสาสะอย่างนั้นก่อน. ส่วนความที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เหล่านั้น มีระยะและสั้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งกาล. เหมือนอย่างว่า น้ำ หรือทราย แผ่ออกไปตลอดระยะ คือโอกาสทั้งอยู่ เขาเรียกว่า น้ำยาว ทราย ยาว น้ำสั้น ทรายสั้น ฉันใด ลมหายใจเข้าและหายใจออกแม้ที่ละเอียดจนยิบ ก็ฉันนั้น ยังประเทศอันยาวในตัวช้างและตัวงู กล่าวคืออัตภาพของช้างและงู เหล่านั้น ให้ค่อยๆ เต็มแล้วก็ค่อยๆ ออกไป; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ยาว. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ยังประเทศอันสั้น กล่าวคือ อัตภาพ แห่งสุนัขและกระต่ายเป็นต้น ให้เต็มเร็วแล้วก็ออกเร็วเหมือนกัน; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า สั้น. แต่บรรดาหมู่มนุษย์ มนุษย์บางจำพวกหายใจเข้าและ หายใจออกยาวด้วยอำนาจระยะกาล ดุจช้างและงูเป็นต้น บางจำพวกหายใจเข้า และหายใจออกสั้น ดุจสุนัขและกระต่ายเป็นต้น; เพราะฉะนั้นลมหายใจเข้า และหายใจออกเหล่านั้น ของมนุษย์เหล่านั้น ด้วยอำนาจกาล ที่ออกและเข้าอยู่ กินเวลานาน พึงทราบว่า ยาว ที่ออกและเข้าอยู่ชั่วเวลาน้อย พึงทราบ ว่าสั้น.


ดังที่ปรากฏอยู่ข้างบนนี้ แม้ในปกรณ์วิสุทธิมรรค ภาค ๒ หน้า ๑๖๕ ท่านก็ชักออถกถามหาหัตถิปโทปมสูตรนั่นเองมาอธิบายไว้. เรื่อง ศัพท์ว่า อัสสาสะ และ ปัสสาสะ นี้ ความจริงท่านผู้แต่งอรรถกถาทั้งพระวินัยและพระสูตรก็คนเดียวกัน คือท่านพระพุทธโฆสา และก็ค้านกันอยู่ทั้งสองแห่ง คืออรรถกถาพระวินัย และพระสูตร ถึงในอรรถกถาอธิบายไว้เหมือนพระสูตร ขอ ได้พิจารณาดูเถิด.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 341

[ผู้เจริญอานาปานัสสติกรรมฐานย่อมได้ความปราโมทย์เป็นต้น]

ในลมหายใจเข้าและออกนั้น ภิกษุนั้นเมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว โดยอาการ ๙ อย่าง ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้าหายใจออกยาว. ก็เมื่อ เธอรู้ชัดอยู่อย่างนี้ พึงทราบว่า การเจริญกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน ย่อมสำเร็จ ด้วยอาการอันหนึ่ง เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ ในปฏิสัมภิทาว่า ถามว่าภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว (๑) ฯลฯ เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น อย่างไร (๒) ?

แก้ว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาว ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหาย ใจออกยาว ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างในขณะที่นับว่ายาว ฉันทะย่อม เกิดแก่ภิกษุผู้เมื่อหายใจเข้าและหายใจออกยาว หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วย อำนาจฉันทะ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้าและหายใจออก ละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ ย่อมหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ใน ขณะที่นับว่ายาว ความปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ผู้เมื่อหายใจเข้าและหาย ใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจฉันทะ หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจเข้ายาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความ ปราโมทย์ ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว เมื่อหายใจออกยาวละเอียดกว่า นั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อมหายใจออกในขณะที่นับว่ายาว ฯลฯ เมื่อ หายใจเข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ ย่อม หายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว จิตของภิกษุผู้เมื่อหายใจ


๑. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๖๕

๒. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๔.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 342

เข้าและหายใจออกยาวละเอียดกว่านั้น ด้วยอำนาจความปราโมทย์ หายใจเข้า บ้าง หายใจออกบ้าง ในขณะที่นับว่ายาว ย่อมหลีกออกจากการหายใจเข้าและ หายใจออกยาว อุเบกขาย่อมดำรงอยู่. กายคือลมหายใจเข้าและหายใจออกยาว ด้วยอาการ ๙ อย่างเหล่านั้นย่อมปรากฏ สติเป็นอนุปัสสนาญาณ กายปรากฏ ไม่ ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย; ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วย สตินั้น ด้วยญาณนั้น; เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติ- ปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (๑) ดังนี้.

แม้ในบทที่กำหนดด้วยลมสั้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ส่วนความแปลกกัน มีดังต่อไปนี้:- ในบทที่กำหนดาด้วยลมยาวนั่น ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อหายใจ เข้ายาว ย่อมหายใจเข้าในขณะที่นับว่ายาว ดังนี้ ฉันใด ในบทที่กำหนด ด้วยลมสั้นนี้ ก็มีคำที่มาในบาลีว่า เมื่อหายใจเข้าสั้น ย่อมหายใจเข้าในขณะ นับว่าเล็กน้อย ฉันนั้น. เพราะฉะนั้น พึงประกอบด้วยสามารถแห่งบทที่ กำหนดว่าสั้นนั้น จนถึงคำว่า เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติ- ปัฏฐาน คือการพิจารณาเห็นกายในกาย. ภิกษุนี้ เมื่อรู้ชัดลมหายใจเข้าและ หายใจออกโดยอาการ ๙ อย่างเหล่านี้ ด้วยอำนาจกาลยาวและด้วยอำนาจกาล นิดหน่อยดังพรรณนามาฉะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า ภิกษุเมื่อหายใจเข้ายาว ย่อม รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว ฯลฯ หรือเมื่อหายใจออกสั้น ย่อมรู้ชัดว่า เราหาย ใจออกสั้น ดังนี้. อนึ่ง เมื่อภิกษุนั้นรู้อยู่อย่างนั้น.

วรรณะ (คืออาการ) ทั้ง ๔ คือ ลม ทายใจเข้ายาวและสั้น แม้ลมหายใจออกก็ เช่นนั้น ย่อมเป็นไปเฉพาะที่ปลายจมูกของ ภิกษุ ฉะนี้แล.


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๖๕ - ๒๗๔.


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 343

ข้อว่า สพฺพกายปฏิสํเวที อสฺสสิสฺสามีติฯ เปฯ ปสฺสสิสฺ- สามีติ สิกฺขติ มีอธิบายว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้น ท่าม กลาง และที่สุด แห่งกองลมหายใจเข้าทั้งสิ้น ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหาย ใจเข้า (และ) ย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำเบื้องต้นท่ามกลาง และที่สุด แห่ง กองลมหายใจออกทั้งสิ้นให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจออก. เมื่อเธอทำให้ รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏด้วยอาการอย่างนั้น ย่อมหายใจเข้าและหายใจออก ด้วย จิตที่สัมปยุตด้วยญาณ; เพราะฉะนั้น ท่านจึงเรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักหายใจเข้า จักหายใจออก.

จริงอยู่ เบื้องต้นในกองลมหายใจเข้าหรือในกองลมหายใจออกที่แล่น ไปอย่างละเอียด (๑) ย่อมปรากฏแก่ภิกษุรูปหนึ่ง แต่ท่ามกลางและที่สุดไม่ปรากฏ เธอสามารถกำหนดได้เฉพาะเบื้องต้น เท่านั้น ย่อมลำบากในท่ามกลางและที่สุด. อีกรูปหนึ่ง ย่อมปรากฏแต่ทามกลาง เบื้องต้น และที่สุด ไม่ปรากฏ เธอ สามารถกำหนดได้เฉพาะท่ามกลางเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและที่สุด อีก รูปหนึ่ง ย่อมปรากฏแต่ที่สุด เบื้องต้นและท่ามกลางไม่ปรากฏ เธอสามารถ กำหนดได้เฉพาะที่สุดเท่านั้น ย่อมลำบากในเบื้องต้นและท่ามกลาง. อีกรูปหนึ่ง ย่อมปรากฏได้แม้ทั้งหมด เธอสามารถกำหนดได้แม้ทั้งหมด ย่อมไม่ลำบากใน ส่วนไหนๆ. พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงชี้ว่า อันภิกษุพึงเป็นผู้เช่นนั้น จึงตรัสว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหาย ใจเข้า; ย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้ง ปวงหายใจออก ดังนี้.


(๑) วิสุทธิมรรค. ๒/๖๑ เป็น จุณฺณวิสเฎ, สารัตถทีปนี ๒/๒๙๕ แก้ว่า จุณฺณวิคเตติ อเนก กลาปตาย จุณฺณวิจณฺเณภาเวน วิสเฏ.


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 344

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สิกฺขติ ความว่า ย่อมพากเพียร คือ พยายามอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า สิกฺขติ นี้ พึงเห็นใจความอย่างนี้ ว่า ความสำรวมของภิกษุผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิสีลสิกขา. ในอธิการว่าด้วย อานาปานัสสติภาวนานี้ สมาธิของเธอ ผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา ปัญญาของเธอผู้เป็นอย่างนั้น นี้ชื่อว่าอธิปัญญาสิกขา เธอย่อมสำเหนียก คือย่อมซ่องเสพ เจริญกระทำให้มาก ซึ่งสิกขา ๓ อย่าง ดังพรรณนามานี้ ด้วยสตินั้น ด้วยมนสิการนั้น ในอารมณ์นั้น. เพราะว่า โดยนัยก่อน บรรดา สองนัยนั้น ภิกษุพึงหายใจเข้าและหายใจออกอย่างเดียวเท่านั้นไม่ต้องทำกิจ อะไรๆ อื่น แต่จำเดิมแต่เวลาที่รู้ชัดลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ไป ควร ทำความพากเพียรในอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้น; เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบว่า ในนัยก่อนนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบาลีไว้ด้วยอำนาจเป็น วัตตมานาวิภัตติว่า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจเข้า ย่อมรู้ชัดว่า เราหายใจ ออก เท่านั้น แล้วยกพระบาลีขึ้นด้วยอำนาจคำที่เป็นอนาคตกาล โดยนัยมี อาทิว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักรู้แจ้ง ซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจ เข้า ดังนี้ เพื่อจะทรงแสดงอาการที่ให้ญาณเกิดขึ้นเป็นต้นซึ่งควรทำจำเดิมแต่ กาลนี้ไป.

[ภิกษุกำหนดกรรมฐานแล้ว ถายสังขารจึงสงบ]

ข้อว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ อสฺสสิสฺสามีติฯ เปฯ ปสฺสสิสฺสามีติ สิกฺขติ ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้สงบคือ ระงับ คับ ได้แก่ให้กายสังขารที่หยาบสงบไป หายใจเข้าหายใจออก. ในคำ ว่า จักเป็นผู้ระงับกายสังขารที่หยาบ นั้นพึงทราบความที่ลมเป็นของหยาบและ ละเอียด และความระงับอย่างนี้ คือ :- ก็ในกาลก่อนคือในเวลาที่ภิกษุนี้ ยัง


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 345

ไม่ได้กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ยังมีความกระวนกระวาย ยังหยาบ (๑) เมื่อ เมื่อกายและจิตซึ่งเป็นของหยาบ ยังไม่สงบ แม้ลมหายใจเข้าและหายใจออก ก็ เป็นของหยาบ คือเป็นไปเกินกำลัง จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้างทางปาก ต่อเมื่อใด กายก็ดี จิตก็ดี เป็นของอันเธอกำหนด แล้ว เมื่อนั้น กายและจิตนั้นจึงเป็นของสงบระงับ. ครั้นเมื่อกายและจิตนั้น สงบแล้ว ลมหายใจเข้าและหายใจออกย่อมเป็นไปละเอียด คือเป็นสภาพถึง อาการที่จะต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่หนอ. เปรียบเหมือนลมหายใจเข้าและหาย ใจออก ของบุรุษผู้วิ่งลงจากภูเขา หรือผู้ปลงของหนักลงจากศีรษะแล้วยืนอยู่ ย่อมเป็นของหยาบ จมูกไม่พอหายใจ ต้องยืนหายใจเข้าบ้าง หายใจออกบ้าง ทางปาก ต่อเมื่อใด เขาบรรเทาความกระวนกระวายนั้นเสีย อาบและดื่มน้ำ แล้ว เอาผ้าเปียกคลุมที่หน้าอกนอนพักที่ร่มไม้เย็นๆ ; เมื่อนั้น ลมหายใจ เข้าและหายใจออกนั้นของเขา จึงเป็นของละเอียด คือถึงอาการที่จะต้องค้นหา ว่ามีอยู่หรือไม่หนอ แม้ฉันใด ในกาลก่อน คือในเวลาที่ภิกษุนี้ยังไม่ได้ กำหนดกรรมฐาน กายและจิต ฯลฯ คือถึงอาการที่ต้องค้นหาว่า มีอยู่หรือไม่ หนอ ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? เพราะความจริงเป็นอย่าง นั้น ในกาลก่อน คือในเวลาที่เธอยังมิได้กำหนดกรรมฐาน การคำนึง การ ประมวลมา การมนสิการ และการพิจารณาว่า เราจะระงับกายสังขารส่วน หยาบๆ ดังนี้ หามีแก่เธอนั้นไม่, แต่ในเวลาที่เธอกำหนดแล้ว จึงมีได้. เพราะเหตุนั้นในเวลาที่กำหนดกรรมฐาน กายสังขารของเธอนั้น จึงเป็นของ ละเอียดกว่าเวลาที่ยังไม่ได้กำหนด. เพราะเหตุนั้น พระโบราณาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวไว้ว่า


(๑) ศัพท์ว่า โอฬาริกนํ ให้แก้เป็น โอฬาริกา เป็นบทคุณของกายและจิต. วิสุทธิมรรก ภาค ๒/๖๒ แก้เป็นอย่างนี้.


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 346

เมื่อกายและจิต ยังระล่ำระสายอยู่ กายสังขารย่อมเป็นไปเกินประมาณ เมื่อกาย และจิต ไม่ระส่ำระสาย กายสังขารย่อมเป็น ไปละเอียด.

[กายสังขารในฌานชั้นสูงขึ้นไปย่อมละเอียดไปตามลำดับ]

กายสังขารแม้ในเวลากำหนดก็ยังหยาบ ในอุปจารแห่งปฐมฌาน ละเอียด. ถึงแม้ในอุปจารแห่งปฐมฌานนั้น ก็ยังหยาบ ในปฐมฌานละเอียด. ในปฐมฌานและในอุปจารแห่งทุติยฌานยังหยาบ ในทุติยฌานละเอียด. ใน ทุติยฌานและในอุปจารแห่งตติยฌานก็ยังหยาบ ในตติยฌานละเอียด. ใน ตติยฌานและอุปจารแห่งจตุตถฌานก็ยังหยาบ ในจตุตถฌานละเอียดยิ่งนัก ถึง ความไม่เป็นไปทีเดียว. คำนี้เป็นมติของพระอาจารย์ผู้กล่าวทีฆนิกาย และ สังยุตตนิกายก่อน. ส่วนพระอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกาย ย่อมปรารถนา ความละเอียดกว่ากัน แม้ในอุปจารแห่งฌานชั้นสูงๆ ขึ้นไปกว่าฌานชั้นต่ำๆ อย่างนี้ คือกายสังขารที่เป็นไปในปฐมฌาน ยังเป็นของหยาบ โนอุปจารแห่ง ทุติยฌาน จึงจัดว่าละเอียด ดังนี้เป็นต้น. ก็ตามมติของพระอาจารย์ทั้งหมด นั้นแล ควรทราบดังนี้ว่า กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ยังมิได้กำหนด (กรรมฐาน) ย่อมระงับไปในเวลาที่กำหนดแล้ว กายสังขารที่เป็นไปในเวลาที่ได้ กำหนด ย่อมระงับไปในอุปจารแห่งปฐมฌาม ฯลฯ กายสังขารทีเป็นไปใน อุปจารแห่งจตุตถฌาน ย่อมระงับไปในจตุตถฌาน. ในสมถะมีนัยเท่านี้ก่อน.

ส่วนในวิปัสสนา พึงทราบนัยดังนี้:- กายสังขารที่เป็นไปในเมื่อยัง มิได้กำหนด ยังหยาบ ในการกำหนดมหาภูตรูปละเอียด แม้การกำหนดมหาภูตรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดอุปาทายรูปละเอียด แม้การกำหนดอุปา-


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 347

ทายรูปนั้น ก็ยังหยาบ ในการกำหนดรูปทั้งสิ้นละเอียด แม้การกำหนดรูปทั้ง สิ้นนั้น ก็ยังหยาบ, ในการกำหนดอรูปละเอียด, แม้การกำหนดอรูปนั้น ก็ ยังหยาบ, ในการกำหนดรูปและอรูป ละเอียด แม้การกำหนดรูปและอรูปนั้น ก็ยังหยาบ, ในการกำหนดปัจจัยละเอียด, แม้การกำหนดปัจจัยนั้น ก็ยังหยาบ, ในการเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัยละเอียด, แม้การเห็นนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย นั้น ก็ยังหยาบ, ในวิปัสสนาที่ประกอบด้วยลักษณะและอารมณ์ ละเอียด, แม้นั้นก็ยังหยาบ ในวิปัสสนาที่มีกำลังเพลา, ในวิปัสสนาที่มีกำลังจึงจัดว่า ละเอียด. ในวิปัสสนานัยนั้น พึงทราบความสงบไปแห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ ก่อนๆ ด้วยลมอัสสาสะและปัสสาสะหลังๆ โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ในคำว่า ระงับกายสังขารที่หยาบ นี้ พึงทราบความที่ลมหยาบละเอียดและสงบ ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้แล.

ส่วนในปฏิสัมภิทา พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวเนื้อความแห่ง บทนั้น พร้อมกับคำท้วงแลคำแก้ให้กระจ่างอย่างนั้น:-

ภิกษุย่อมสำเหนียกอย่างไร? ย่อมสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักระงับ กายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก.

กายสังขารเป็นไฉน? ลมหายใจเข้ายาว เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น สำเหนียกอยู่ ; ลมหายใจออกยาวเป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยกาย เป็นกายสังขาร, ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น สำเหนียกอยู่ ; ลมหายใจเข้าสั้น ลมหายใจออกสั้น ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ลมที่ภิกษุรู้แจ้งซึ่งกองลมทั้งปวงหายใจออก เป็นไปทางกาย ธรรมเหล่านี้ เนื่องด้วยกายเป็นกายสังขาร ภิกษุระงับ คือดับ สงบกายสังขารเหล่านั้น


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 348

สำเหนียกอยู่. ความอ่อนไป ความน้อมไป ความเอนไป ความโอนไป ความหวั่นไหว ความดิ้นรน ความโยก ความโคลงแห่งกาย เพราะกายสังขาร เห็นปานใด, ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารเห็นปานนั้นหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารเห็นปานนั้น หายใจออก. ความไม่ อ่อนไป ความไม่น้อมไป ความไม่เอนไป ความไม่โอนไป ความไม่หวั่นไหว ความไม่ดิ้นรน ความไม่โยก ความไม่โคลงแห่งกาย เพราะกายสังขารเห็น ปานใด, ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารที่ละเอียดสุขุมเห็นปานั้น หายใจเข้า หายใจออก. หากว่าภิกษุสำเหนียกอยู่อย่างนี้ว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก. เมื่อ เป็นอย่างนั้น ความได้ลม (๑) (อัสสาสะและปัสสาสะ) ก็ไม่เป็นไป (คือไม่ เกิดขึ้น) ; ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ก็ไม่เป็นไป, อานาปานัสสติก็ไม่เป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิ ก็ไม่เป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลายจะเข้าบ้าง จะออกบ้าง ก็หาไม่, ถ้าหากว่าภิกษุ สำเหนียกอยู่อย่างนี้ว่า เราจักระงับ กายสังขารหายใจเข้า หายใจออก. เมื่อเป็นอย่างนี้ ความได้ลม * (อัสสาสะ และปัสสาสะ) ย่อมเป็นไป (คือเกิดขึ้น) , ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิ ย่อมเป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลายย่อมเข้าบ้าง ย่อมออกบ้าง. ข้อนั้นเปรียบเหมือนอะไร? เปรียบเหมือนเมื่อบุคคลตีกังสดาล เสียงดัง (เสียงหยาบ) ย่อมกระจายไปก่อน เพราะกำหนดใส่ใจ จำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งเสียงดัง แม้เมื่อเสียงดังดับไปแล้ว; ต่อมาเสียงละเอียด (เสียงครวญ) ย่อมกระจายไปภายหลัง, เพราะกำหนด ใส่ใจ จำไว้ด้วยดีซึ่งนิมิตแห่งเสียงครวญ แม้เมื่อเสียงครวญดับไปแล้ว; ต่อ


(๑) วาตปลทฺธิ ความสำเหนียก กำหนดหมายลม.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 349

มาจิตย่อมเป็นไปภายหลัง แม้เพราะมีนิมิตแห่งเสียงครวญเป็นอารมณ์ ข้อนี้ ก็เหมือนกันฉะนั้น ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ ย่อมเป็นไปก่อน, เพราะกำหนดใส่ใจจำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ เมื่อลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบ แม้ดับไปแล้ว, ต่อมาลมหายใจเข้า และหายใจออกที่ละเอียดย่อมเป็นไปภายหลัง เพราะกำหนดใส่ใจ จำไว้ด้วยดี ซึ่งนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ละเอียด เมื่อลมหายใจเข้าและลม หายใจออกที่ละเอียดแม้ดับไปแล้ว, ต่อมาจิตไม่ถึงความฟุ้งซ่านในภายหลัง แม้เพราะมีนิมิตแห่งลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ละเอียดเป็นอารมณ์. เมื่อ เป็นอย่างนี้ ความได้ลม (อัสสาสะและปัสสาสะ) ย่อมเป็นไป, ลมอัสสาสะ และปัสสาสะย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติย่อมเป็นไป, อานาปานัสสติสมาธิย่อม เป็นไป, และสมาบัตินั้น บัณฑิตทั้งหลาย่อมหายใจเข้าบ้าง ย่อมหายใจออก บ้าง กายคือความที่บุคคลระงับกายสังขารหายใจเข้าและหายใจออกย่อมปรากฏ, สติเป็นอนุปัสสนาญาณ, กายย่อมปรากฏ, ไม่ใช่สติ, สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติ ด้วย, ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เพราะเหตุดังนี้ นั้น ท่านจึงกล่าวว่า การเจริญสติปัฏฐานคือการพิจารณาเห็นกายในกาย (๑) ดังนี้.

ในบทว่า ปสฺสมฺภยํ กายสงฺขารํ นี้ มีการพรรณนาตามลำดับบท แห่งปฐมจตุกกะ ซึ่งตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งกายานุปัสสนาเพียงเท่านี้ก่อน. แต่ เพราะในอธิการนี้ จตุกกะนี้เท่านั้น ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งกรรมฐานของ กุลบุตรผู้เริ่มทำ, ส่วนอีก ๓ จตุกกะนอกนี้ ตรัสไว้ด้วยสามารถแห่งเวทนานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ของกุลบุตรผู้บรรลุฌานแล้วในปฐมจตุกกะนี้; ฉะนั้น พุทธบุตร ผู้ปรารถนาจะเจริญกรรมฐานนี้ แล้วบรรลุพระอรหัต


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๘ - ๒๘๐.


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 350

พร้อมกับปฏิสัมภิทา ด้วยวิปัสสนาอันมีอานาปานจตุตถฌานเป็นปทัฏฐาน ควรทราบกิจที่ตนควรทำก่อนทั้งหมด ตั้งแต่ต้น ในอธิการแห่งอานาปานัสสติ กรรมฐานนี้แล ด้วยสามารถแห่งกุลบุตรผู้เริ่มทำ.

[กุลบุตรจะเรียนกรรมฐานต้องบำเพ็ญศีลให้บริสุทธิ์ก่อน]

กุลบุตรควรชำระศีล ๔ อย่างให้หมดจดก่อน. ในศีลนั้น มีวิธีชำระ ให้หมดจด ๓ อย่าง คือ ไม่ต้องอาบัติ ๑ ออกจากอาบัติที่ต้องแล้ว ๑ ไม่ เศร้าหมองด้วยกิเลสทั้งหลาย ๑. จริงอยู่ ภาวนาย่อมสำเร็จแก่กุลบุตรผู้มีศีล บริสุทธิ์อย่างนั้น. กุลบุตรควรบำเพ็ญแม้ศีลที่ท่านเรียกว่าอภิสมาจาริกศีล ให้ บริบูรณ์ดีเสียก่อน ด้วยอำนาจวัตรเหล่านี้ คือ วัตรที่ลานพระเจดีย์ วัตรที่ ลานต้นโพธิ์ อุปัชฌายวัตร อาจริยวัตร วัตรที่เรือนไฟ วัตรที่โรงอุโบสถ ขันธกวัตร ๘๒ มหาวัตร ๑๔. จริงอยู่ กุลบุตรใด พึงกล่าวว่า เรารักษาศีล อยู่, กรรมด้วยอภิสมาจาริกวัตรจะมีประโยชน์อะไร? ข้อที่ศีลของกุลบุตรนั้น จักบริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้. แต่เมื่ออภิสมาจาริกวัตรบริบูรณ์ ศีลก็จะบริบูรณ์. เมื่อศีลบริบูรณ์ สมาธิย่อมถือเอาห้อง. สมจริงดังพระดำรัส ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! ข้อที่ภิกษุนั้นหนอไม่ บำเพ็ญธรรม คือ อภิสมาจาริกวัตรให้บริบูรณ์แล้ว จักบำเพ็ญศีลทั้งหลาย ให้บริบูรณ์ได้ นั่นไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ (๑) เรื่องนี้ควรให้พิสดาร. เพราะเหตุ ฉะนั้น กุลบุตรนี้ควรบำเพ็ญแม้วัตร มีเจติยังคณวัตรเป็นต้น ที่ท่านเรียกว่า อภิสมาจาริวัตร ให้บริบูรณ์ด้วยดีเสียก่อน.

เบื้องหน้าแต่การชำระศีลให้หมดจดนั้น ก็ควรตัดปลิโพธ (ความ กังวล) อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ในบรรดาปลิโพธ ๑๐ อย่างที่พระอาจารย์ ทั้งหลายกล่าวไว้อย่างนี้ว่า


(๑) องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๑๕ - ๑๖.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 351

ปลิโพธ (ความกังวล) ๑๐ อย่างนั้น คือ อาวาส ๑ ตระกูล ๑ ลาภ (คือปัจจัยสี่) ๑ คณะ (คือหมู่) ๑ การงาน (คือการ ก่อสร้าง) เป็นที่คำรบห้า ๑ อัทธานะ (คือ เดินทางไกล) ๑ ญูาติ ๑ อาพาธ ๑ คัณฐะ (คือการเรียนปริยัติ) ๑ อิทธิฤทธิ์ ๑.

กุลบุตรผู้ตัดปลิโพธได้อย่างนั้นแล้ว จึงควรเรียนกรรมฐาน.

[กรรมฐาน ๒ พร้อมทั้งอธิบาย]

กรรมฐานนั้น มีอยู่ ๒ อย่าง คือ สัพพัตถกกัมมัฏฐาน (กรรมฐาน มีประโยชน์ในกุศลธรรมทั้งปวง) ๑ ปาริหาริยกัมมัฏฐาน (กรรมฐานควร บริหารรักษา) ๑. บรรดากรรมฐาน ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า สัพพัตถกกมมัฏฐาน ได้แก่ เมตตา (ที่เจริญไป) ในหมู่ภิกษุเป็นต้น และมรณัสสติ (การระลึก ถึงความตาย). พระอาจารย์พวกหนึ่งกล่าวว่า อสุภสัญญา บ้าง. จริงอยู่ ภิกษุ ผู้จะเจริญกรรมฐาน ครั้งแรกต้องตัดปลิโพธเสียก่อน แล้วจึงเจริญเมตตาไป ในหมู่ภิกษุผู้อยู่ในสีมา, ลำดับนั้น พึงเจริญไปในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมา, ถัดจากนั้นพึงเจริญไปในอิสรชนในโคจรคาม, ต่อจากนั้นพึงเจริญไปในเหล่า สรรพสัตว์กระทั่งถึงขาวบานในโคจรคามนั้น. แท้จริง ภิกษุนั้น ทำพวกชน ผู้อยู่ร่วมกันให้เกิดมีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตาในหมู่ภิกษุ. เวลานั้น เธอจะ มีความอยู่เป็นสุข. เธอย่อมเป็นผู้อันเหล่าเทวดาผู้มีจิตอ่อนโยน เพราะเมตตา ในเหล่าเทวดาผู้อยู่ในสีมาจัดการอารักขาไว้เป็นอย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบ ธรรม. ทั้งเป็นผู้อันอิสรชนทั้งหลาย ผู้มีจิตสันดานอ่อนโยน เพราะเมตตา ในอิสรชนในโคจรคาม จัดรักษาระแวดระวังไว้อย่างดี ด้วยการรักษาที่ชอบ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 352

ธรรม. และเป็นผู้อันชาวบ้านเหล่านั้นผู้มีจิตถูกอบรมให้เลื่อมใส เพราะเมตตา ในพวกชาวบ้านในโคจรคามนั้น ไม่ดูหมิ่นเที่ยวไป. เป็นผู้เที่ยวไปไม่ถูก อะไรๆ กระทบกระทั่งในที่ทุกสถาน เพราะเมตตาในเหล่าสรรพสัตว์. อนึ่ง เธอเมื่อคิดว่า เราจะต้องตายแน่แท้ ด้วยมรณัสสติ ละการแสวงหาที่ไม่สมควร เสีย เป็นผู้มีความสลดใจเจริญสูงขึ้นเป็นลำดับ ย่อมเป็นผู้มีความประพฤติไม่ ย่อหย่อน. ตัณหาย่อมไม่เกิดขึ้น แม้ในอารมณ์ที่เป็นทิพย์ เพราะอสุภสัญญา. เพราะเหตุนั้น คุณธรรมทั้ง ๓ (คือ เมตตา ๑ มรณัสสติ ๑ อสุภสัญญา ๑) นั้น ของภิกษุนั้น ท่านเรียกว่า สัพพัตถกกัมมัฏฐาน เพราะทำอธิบายว่า เป็นกรรมฐานอันกุลบุตรพึงปรารถนา คือ พึงต้องการในที่ทุกสถาน เพราะ เป็นธรรมมีอุปการะมาก และเพราะความเป็นปทัฏฐาน แห่งการหมั่นประกอบ เนืองๆ ซึ่งความเพียร ตามที่ประสงค์ไป โดยนัยดังพรรณนามาฉะนี้.

ก็บรรดาอารมณ์ ๓๘ ประการ กรรมฐานใด ที่คล้อยตามจริตของ กุลบุตรใด กรรมฐานนั้น ท่านเรียกว่า ปารหาริยกรรมฐาน เพราะเป็น กรรมฐานที่กุลบุตรนั้น ควรบริหารไว้เป็นนิตย์ โดยนัยตามที่กล่าวแล้วนั่นเอง แต่ในตติยปาราชิกนี้ อานาปานกรรมฐานนี้แล ท่านเรียกว่า ปาริหาริยกรรมฐาน. ในอธิการว่าด้วยอานาปานกัมมัฏฐานนี้ มีความสังเขปเท่านี้. ส่วน ความพิสดารนักศึกษาผู้ต้องการกถาว่าด้วยการชำระศีลให้หมดจด และกถาว่า ด้วยการตัดปลิโพธ พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

[ควรเรียนกรรมฐานในสำนักพุทธโอรสกระทั่งถึงท่านผู้ได้ฌาน]

อนึ่ง กุลบุตรผู้มีศีลบริสุทธิ์ และตัดปลิโพธได้แล้วอย่างนั้น เมื่อจะ เรียนกรรมฐานนี้ ควรเรียนเอาในสำนักพุทธบุตร ผู้ให้จตุตถฌานเกิดขึ้นด้วย กรรมฐานนี้แล แล้วเจริญวิปัสสนา ได้บรรลุความเป็นพระอรหันต์. เมื่อไม่


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 353

ได้พระขีณาสพนั้น ควรเรียนเอาในสำนักพระอนาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระอนาคามีนั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระสกทาคามี เมื่อไม่ได้แม้พระสกทาคามี นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักพระโสดาบัน, เมื่อไม่ได้แม้พระโสดาบันนั้น ก็ ควรเรียนเอาในสำนักของท่านผู้ได้จตุตถฌาน ซึ่งมีอานาปานะเป็นอารมณ์, เมื่อไม่ได้ท่านผู้ได้จตุตถฌานแม้นั้น ก็ควรเรียนเอาในสำนักของพระวินิจ- ฉยาจารย์ ผู้ไม่เลอะเลือนทั้งในบาลีและอรรถกถา. จริงอยู่ พระอริยบุคคล ทั้งหลายมีพระอรหันต์เป็นต้น ย่อมบอกเฉพาะมรรคที่ตนได้บรรลุแล้วเท่านั้น. ส่วนพระวินิจฉยาจารย์นี้เป็นผู้ไม่เลอะเลือน กำหนดอารมณ์เป็นที่สบายและ ไม่สบาย ในอารมณ์ทั้งปวงแล้วจึงบอกให้ เหมือนผู้นำไปสู่ทางช้างใหญ่ ใน ป่าที่รกชัฏฉะนั้น.

[กรรมฐานมีสนธิคือที่ต่อ ๕ อย่าง]

ในอธิการว่าด้วยการเรียนกรรมฐานนั้น มีอนุบุพพีกถาดังต่อไปนี้:- ภิกษุนั้นควรเป็นผู้มีความประพฤติเบา สมบูรณ์ด้วยวินัยและมรรยาทเข้าไปหา อาจารย์ซึ่งมีประการดังกล่าวแล้ว พึงเรียนกรรมฐาน มีสนธิ ๕ ในสำนักของ อาจารย์นั้น ผู้มีจิตอันตนให้ยินดี ด้วยวัตรและข้อปฏิบัติ. ในคำว่า กรรมฐาน มีสนธิ ๕ นั้น สนธิมี ๕ อย่างเหล่านี้ คือ อุคคหะ การเรียน ๑ ปริปุจฉา การสอบถาม ๑ อุปัฏฐานะ ความปรากฏ ๑ อัปปนา ความแน่นแฟ้น ๑ ลักษณะ ความกำหนดหมาย ๑.

ในอุคคหะเป็นต้นนั้น การเรียนกรรมฐาน ชื่อว่า อุคคหะ. การ สอบถามกรรมฐาน ชื่อว่า ปริปุจฉา. ความปรากฏแห่งกรรมฐาน ชื่อว่า อุปัฏฐานะ. ความแน่วแน่แห่งกรรมฐาน ชื่อว่า อัปปนา. ลักษณะแห่ง กรรมฐาน ชื่อว่า ลักษณะ. มีคำอธิบายว่า ความใคร่ครวญแห่งสภาพกรรม-


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 354

ฐานว่า กรรมฐานนี้ มีลักษณะอย่างนั้น. ภิกษุเมื่อเรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ ๕ อย่างนี้ แม้ตนเองก็ไม่ลำบาก ทั้งไม่ต้องรบกวนอาจารย์ให้ลำบาก. เพราะ ฉะนั้น ควรเรียนอาจารย์ให้บอกแต่น้อย สาธยายตลอดเวลาเป็นอันมาก ครั้น เรียนกรรมฐาน ซึ่งมีสนธิ ๕ อย่างนั้นแล้ว ถ้าในอาวาสนั้น มีเสนาสนะเป็น ต้นเป็นที่สบายไซร้ ควรอยู่ในอาวาสนั้นนั่นแล ถ้าในอาวาสนั้น ไม่มีเสนาสนะ เป็นที่สบายไซร้ ควรบอกลาอาจารย์ ถ้าเป็นผู้มีปัญญาอ่อน ควรไปสิ้นระยะโยชน์หนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ถ้าเป็นผู้มีปัญญากล้าก็ควรไปแม้ไกล (กว่านั้น) ได้ แล้วเข้าไปยังเสนาสนะที่ประกอบด้วยองค์แห่งเสนาสนะ ๕ อย่าง เว้นเสนาสนะ ที่มีโทษ ๑๘ อย่าง แล้วพักอยู่ในเสนาสนะนั้น ตัดปลิโพธหยุมหยิมเสีย ฉันภัตตาหารเสร็จแล้ว บรรเทาความเมาอาหาร ทำจิตให้ร่าเริง ด้วยการอนุสรณ์ ถึงคุณพระรัตนตรัย ไม่หลงลืมกรรมฐานแม้บทหนึ่ง แต่ที่เรียนเอาจากอาจารย์ พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้. ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ มีความ สังเขปเท่านี้. ส่วนความพิสดาร นักศึกษาผู้ต้องการกถามรรคนี้ พึงถือเอาจาก ปกรณ์วิเสสชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

[วิธีมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐาน ๘ อย่าง]

ก็ในคำที่ข้าพเจ้ากล่าวว่า พึงมนสิการอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ มี มนสิการวิธีดังต่อไปนี้:- คือ การนับ การตามผูก การถูกต้อง การหยุด ไว้ การกำหนด การเปลี่ยนแปลง ความหมดจด และการเห็นธรรมเหล่านั้น แจ่มแจ้ง.

การนับนั่นแล ชื่อว่า คณนา. การกำหนดตามไปชื่อว่า อนุพันธนา. ฐานที่ลมถูกต้อง ชื่อว่า ผุสนา. ความแน่วแน่ชื่อว่า ฐปนา. ความเห็น เห็นแจ้ง ชื่อว่า สัลลักขณา. มรรค ชื่อว่า วิวัฏฏนา. ผลชื่อว่า ปาริสุทธิ. การพิจารณา ชื่อว่า เตสัญจ ปฏิปัสสนา.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 355

[อธิบายวิธีนับลมหายใจเข้าออก]

บรรดามนสิการวิธี มีการนับเป็นต้นนั้น กุลบุตรผู้เริ่มบำเพ็ญนี้ ควรมนสิการกรรมฐานนี้โดยการนับก่อน. และเมื่อจะนับไม่ควรหยุดนับต่ำกว่า ๕ ไม่ควรนับให้เกินกว่า ๑๐ ไม่ควรแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง. เพราะเมื่อหยุดนับต่ำกว่า ๕ จิตตุปบาทย่อมดิ้นรนในโอกาสดับแคบ ดุจฝูงโค ที่รวมขังไว้ในคอกที่คับแคบฉะนั้น. เมื่อนับเกินกว่า ๑๐ ไป จิตตุปบาทก็ พะวงยู่ด้วยการนับเท่านั้น. เมื่อแสดง (การนับ) ให้ขาดในระหว่าง จิตย่อม หวั่นไปว่า กรรมฐานของเราถึงที่สุดหรือไม่หนอ. เพราะฉะนั้น ต้องเว้นโทษ เหล่านี้เสียแล้ว จึงค่อยนับ. เมื่อจะนับ ครั้งแรก ควรนับโดยวิธีนับช้าๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าวเปลือก. จริงอยู่ คนตวงข้าวเปลือก ตวงเต็มทะนาน แล้วบอกว่า ๑ จึงเทลง เมื่อตวงเต็มอีก พบหยากเยื่อบางอย่าง เก็บมันทิ้งเสีย จึงบอกว่า ๑ - ๑. ในคำว่า ๒ - ๒ เป็นต้น ก็นัยนี้. กุลบุตรแม้นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน บรรดาลมหายใจเข้าและหายใจออก ส่วนใดปรากฏ พึงจับเอาส่วนนั้น แล้วพึงกำหนด ลมที่กำลังผ่านไปๆ ตั้งแต่ต้นว่า ๑ - ๑ ไป จนถึงว่า ๑.๑๐ เมื่อกุลบุตรนั้นนับอยู่โดยวิธีอย่างนี้ ลมอัสสาสะปัสสาสะ ที่กำลังผ่านออกและ ผ่านเข้า ย่อมปรากฏ.

ลำดับนั้น กุลบุตรนี้ควรละวิธีนับช้าๆ คือนับอย่างวิธีคนตวงข้าว เปลือกนั้นเสีย แล้วพึงนับโดยวิธีเร็วๆ คือนับอย่างวิธีนายโคบาล. แท้จริง นายโคบาลผู้ฉลาด เอาก้อนกรวดใส่พก มือถือเชือกและไม้ตะพูดไปสู่คอกแต่ เช้าตรู่ ตีโคที่หลังแล้ว นั่งอยู่บนเสาลิ่มสลัก นับแม่โคตัวมาถึงประตูแล้วๆ ใส่ก้อนกรวดลงไปว่า ๑ - ๒ เป็นต้น. ฝูงโคที่อยู่ลำบากในโอกาสที่คับแคบ ตลอดราตรี ๓ ยาม เมื่อออก (จากคอก) เบียดเสียดกันและกันรีบออกเป็น


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 356

หมู่ๆ. นายโคบาลนั้น ย่อมนับอย่างรวดเร็วทีเดียวว่า ๓ - ๔- ๕- ๑๐ เป็นต้น. แม้เมื่อกุลบุตรนี้ นับอยู่โดยนัยก่อนอย่างว่ามาแล้วนี้ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ ย่อมปรากฏสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว. ลำดับนั้นเธอรู้อยู่ว่า ลมอัสสาสะและ ปัสสาสะ ย่อมสัญจรไปมา อย่างรวดเร็ว แล้วไม่ถือเอาลมภายในและภายนอก พึ่งกำหนดเฉพาะลมที่มาถึงช่องๆ เท่านั้น นับอย่างเร็วๆ ทีเดียวว่า

๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕

๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖

๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗

๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘

๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙

๑ - ๒ - ๓ - ๔ - ๕ - ๖ - ๗ - ๘ - ๙ - ๑๐

เพราะว่าในกรรมฐานที่เนื่องด้วยการนับ จิตย่อมมีอารมณ์เป็นหนึ่งได้ ด้วยกำลังแห่งการนับเท่านั้น ดุจการหยุดเรือไว้ในกระแสน้ำเชี่ยว ด้วยอำนาจ ที่เอาถ่อค้ำไว้ฉะนั้น. เมื่อเธอนับอยู่เร็วๆ อย่างนี้กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นดุจ ว่า ดำเนินไปไม่ขาดสาย. เวลานั้น ครั้นเธอรู้ว่า กรรมฐานดำเนินไปไม่ขาด สาย แล้ว อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็วๆ ตามนัยก่อน นั่นแล. เมื่อเธอส่งจิตเข้าไปพร้อมกับลมที่เข้าไปภายใน ฐานภายใน ถูกลม กระทบแล้ว ย่อมเป็นเหมือนเต็มด้วยมันข้นฉะนั้น. เมื่อนำจิตออกมาพร้อมกับ ลมที่ออกมาภายนอก จิตย่อมส่ายไปในอารมณ์มากหลายในภายนอก. แต่ภาวนา ย่อมสำเร็จแก่ผู้ตั้งสติไว้ ในโอกาสที่ลมถูกต้อง เจริญอยู่เท่านั้น. เพราะเหตุ นั้น ข้าพเจ้าจึงกล่าวว่า อย่ากำหนดลมทั้งภายในและภายนอก พึงนับเร็วๆ ตามนัยก่อนนั่นแล.


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 357

ถามว่า จะพึงนับลมอัสสาสะและปัสสาสะนั่น นานเท่าไร?

แก้ว่า พึงนับไปจนกว่าสติที่เว้นจากการนับ จะตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์ คือลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เพราะว่าการนับ ก็เพื่อจะตัดวิตกที่พล่านไปใน ภานอก แล้วตั้งสติไว้ในอารมณ์ คือ ลมอัสสาสะและปัสสาสะ..เท่านั้น.

[อธิบายเบื้องต้นท่ามกลางและที่สุดลมหายใจเข้าออก]

พระโยคาวจร ครั้นมนสิการโดยการนับอย่างนั้นแล้ว พึงมนสิการ โดยการตามผูก. กิริยาที่หยุดพักการนับ แล้วส่งสติไปตามลมอัสสาสะและ ปัสสาสะติดต่อกันไป ชื่อว่าการตามผูก. ก็แลการส่งสติไปตามนั้น. หาใช่ด้วย อำนาจการไปตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะ) ไม่. จริง อยู่ นาภี (สะดือ) เป็นเบื้องต้นแห่งลมออกไปภายนอก หทัย (หัวใจ) เป็น ท่ามกลาง นาสิก (จมูก) เป็นที่สุด ปลายนาสิก เป็นเบื้องต้น แห่งลมเข้า ไปภายใน หทัย เป็นท่ามกลาง นาภี เป็นที่สุด. ก็เมื่อพระโยคาวจรนั้น ไป ตามเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด (แห่งลมอัสสาสะและปัสสาสะ) นั้น จิต ที่ถึงความฟุ้งซ่าน ย่อมเป็นไปเพื่อความกระวนกระวาย และเพื่อความหวั่นไหว. เหมือนอย่างที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เมื่อพระโยคาวจรส่ง สติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจว่า กายก็ดี จิตก็ดี ย่อม ความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึงความฟุ้งซ่านไปภายใน เมื่อพระโยคาวจรส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่งลมหายใจออก กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมมีความระส่ำระสาย หวั่นไหว และดิ้นรน เพราะจิตถึง ความฟ้งซ่านไปภายนอก (๑) . เพราะฉะนั้น พระโยคาวจร เมื่อมนสิการโดยการ ตามถูก ไม่พึงมนสิการด้วยอำนาจแห่งเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุด อนึ่งแล


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๙.


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 358

พึงมนสิการด้วยอำนาจการถูกต้อง และด้วยอำนาจการหยุดไว้ เพราะว่าไม่มี การมนสิการเป็นแผนกหนึ่ง ด้วยอำนาจแห่งการถูกต้องและหยุดไว้ เหมือนกับ ด้วยอำนาจแห่งการนับและการตามผูก. แต่พระโยคาวจรเมื่อนับอยู่ในฐานที่ ลมถูกต้องแล้วๆ นั่นแหละชื่อว่ามนสิการด้วยการนับและการถูกต้อง. พระโยคาวจร เมื่อหยุดพักการนับในฐานะที่ลมถูกต้องแล้วๆ นั้นนั่นแล ใช้สติตาม ผูกลมอัสสาสะและปัสสาสะนั้น และตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจอัปปนา ท่านเรียกว่า มนสิการด้วยการตามผูก การถูกต้องและการหยุดไว้. ใจความนี้นั้นพึงทราบ ด้วยข้ออุปมาเหมือนคนง่อยและคนรักษาประตู ที่ท่านกล่าวไว้ในอรรถกถา และด้วยข้ออุปมาเหมือนเลื่อยที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ในปฏิ- สัมภิทา.

[ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้า]

บรรดาข้ออุปมา ๓ อย่างนั้น ข้ออุปมาเหมือนคนง่อยโล้ชิงช้ามีดังท่อ ไปนี้:- เปรียบเหมือนคนง่อยไกวชิงช้า ให้แก่ มารดาและบุตรผู้เล่นชิงช้าอยู่ แล้วนั่งอยู่ที่โคนเสาชิงช้าในที่นั้นนั่นเอง เมื่อกระดานชิงช้าไกวไปอยู่โดยลำดับ ย่อมเห็นที่สุดทั้งสองข้างและตรงกลาง แต่มิได้ขวนขวายเพื่อจะดูที่สุดทั้งสอง ข้างและตรงกลาง แม้ฉันใด ภิกษุนี้ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยืนที่ใกล้โคนเสาอัน เข้าไปผูกไว้ด้วยอำนาจสติแล้วโล้ชิงช้าคือลมหายใจเข้าและหายใจออก นั่งอยู่ ด้วยสติ ในนิมิตนั้นนั่นเอง ส่งสติไปตามเบื้องต้น ท่ามกลางและที่สุดแห่ง ลมหายใจเข้าและหายใจออก ในฐานะที่ลมถูกต้องแล้ว ซึ่งพัดผ่านมาและผ่าน อยู่โดยลำดับ และตั้งจิตเฉยไว้ในนิมิตนั้น และไม่ขวนขวายเพื่อจะแลดูลมเหล่า นั้น. นี้เป็นข้ออุปมาเหมือนตนง่อย.


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 359

[ข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู]

ส่วนข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตูมีดังต่อไปนี้ :- คนรักษาประตูจะ ไม่สอบสวนบุรุษทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกพระนครว่า ท่านเป็นใคร? มาแต่ไหน? จะไปไหน? หรือว่า ในมือของท่านมีอะไร? ความจริง พวก มนุษย์ผู้เดินไปทั้งภายในและภายนอกพระนครเหล่านั้นไม่ใช่หน้าที่ของคนรักษา ประตูนั้น แต่เขาย่อมสอบสวนเฉพาะคนผู้มาถึงประตูแล้วๆ เท่านั้น แม้ฉัน ใด ลมเข้าไปข้างในและลมที่ออกไปข้างนอก ย่อมไม่เป็นหน้าที่ของภิกษุนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน จะเป็นหน้าที่ก็เฉพาะแต่ลมที่มาถึงช่องแล้วๆ เท่านั้น. นี้ เป็นข้ออุปมาเหมือนคนรักษาประตู.

[การกำหนดลมหายใจเปรียบเหมือนเลื่อย]

ส่วนข้ออุปมาเหมือนเลื่อย ควรทราบจำเดิมแต่ต้นไป. สมดังคำที่ท่าน พระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ว่า

นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และ เมื่อบุคคลไม่รู้ธรรมทั้ง ๓ ประการ ย่อมไม่ ได้ภาวนา (ภาวนาย่อมไม่สำเร็จ). นิมิต ลม หายใจเข้าและลมหายใจออก มิใช่เป็น อารมณ์แต่งจิตดวงเดียว และเมื่อบุคคลรู้ซึ่ง ธรรม ๓ ประการ ย่อมได้ภาวนา.

ถามว่า ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จะไม่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว และธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้ จิตจะไม่ถึงความฟุ้งซ่าน ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ แลพระโยคาวจรจะทำประโยคให้สำเร็จ ได้บรรลุคุณวิเศษอย่างไร.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 360

แก้ว่า เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวางไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ บุรุษ เอาเลื่อยเลื่อยต้นไม้นั้น สติของบุรุษ ย่อมปรากฏ ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อย ที่ถูกต้นไม้ และเขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป ทั้งฟัน เลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน (ความเพียรใน การตัดต้นไม้) ย่อมปรากฏ และเขาย่อมให้ประโยค (กิริยาที่ตัดต้นไม้นั้น) สำเร็จได้ (๑) . นิมิตคือสติเป็นเครื่องเข้าไปผูกไว้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่เขาวาง ไว้บนภาคพื้นที่เรียบเสมอ. ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก เปรียบเหมือน ฟันเลื่อย. ภิกษุนั่นตั้งสติไว้มั่น ที่ปลายจมูกหรือที่ริมผีปาก ย่อมไม่ใฝ่ใจถึง ลมหายใจเข้าและหายใจออกที่ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ลมหายใจเข้าและลมหาย ใจออกที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธาน ย่อมปรากฏ และภิกษุนั้นย่อมให้ประโยคสำเร็จได้ ทั้งบรรลุคุณพิเศษด้วย เหมือนบุรุษตั้ง สติไว้ ด้วยอำนาจแห่งฟันเลื่อยซึ่งถูกต้นไม้ เขาย่อมไม่ได้ใฝ่ใจถึงฟันเลื่อยที่ ผ่านมาหรือที่ผ่านไป ทั้งฟันเลื่อยที่ผ่านมาหรือผ่านไป จะไม่ปรากฏก็หามิได้ ประธานย่อมปรากฏ และเขาย่อมทำประโยคให้สำเร็จได้ ฉะนั้น. คำว่า ประธาน ความว่า ประธานเป็นไฉน? กายก็ดี จิตก็ดี ของภิกษุผู้ปรารภความ เพียรย่อมควรแก่การงาน, นี้เป็นประธาน. ประโยค เป็นไฉน? ภิกษุผู้ปรารภ ความเพียร ย่อมละอุปกิเลสได้ วิตกย่อมสงบไป, นี้เป็นประโยค. คุณพิเศษ เป็นไฉน? ภิกษุผู้ปรารภความเพียร ย่อมละสังโยชน์ได้ อนุสัยย่อมหมดสิ้น ไป, นี้เป็นคุณพิเศษ. ธรรม ๓ ประการเหล่านี้ ย่อมไม่เป็นอารมณ์แห่งจิต ดวงเดียว และธรรม ๓ ประการเหล่านี้ จะไม่ปรากฏก็หามิได้, จิตย่อมไม่ถึง ความฟุ้งซ่าน, ประธาน (ความเพียร) ย่อมปรากฏ, และพระโยคาวจร ทำ ให้ประโยค (การหมั่นประกอบภาวนา) สำเร็จได้ ทั้งได้บรรลุคุณพิเศษด้วย.


(๑) บาลีที่มาเดิม มีศัพท์ว่า วิเสสมธิจฺฉติ. ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๕๗.


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 361

ภิกษุใด เจริญอานาปานัสสติให้ บริบูรณ์ดี อบรมมาโดยลำดับ ตามที่พระ พุทธเจ้าทรงแสดงไว้แล้ว, ภิกษุนั้นย่อมทำ โลกนี้ให้สว่างได้ เหมือนพระจันทร์พ้นแล้ว จากหมอก ฉะนั้นแล. (๑)

ข้อนี้อุปมาเหมือนเลื่อย.

ก็ในข้ออุปมาเหมือนเลื่อยนี้ พึงทราบว่า เหตุเพียงไม่ใฝ่ใจด้วยอำนาจ สมหายใจเข้าและลมหายใจออก ที่ผ่านมาแล้วๆ เท่านั้น เป็นประโยชน์แก่ ภิกษุนั้น. กรรมฐานนี้เมื่อภิกษุบางรูป มนสิการนิมิต ย่อมเกิดขึ้นโดยไม่ ชักช้าเลย และฐปนา กล่าวคืออัปปนา ซึ่งประกอบด้วยองค์ฌานที่เหลือ ก็ ย่อมสำเร็จ. แก่สำหรับภิกษุบางรูปมีจำเดิมแต่เวลามนสิการโดยอำนาจการนับ นั่นแล คือตั้งแต่เวลาทำไว้ในใจด้วยอำนาจการนับ เมื่อความกระวนกระวาย ทางกายสงบไป ด้วยอำนาจลมหายใจเข้าและหายใจออกที่หยาบดับไปโดย ลำดับ กายก็ดี จิตก็ดี ย่อมเป็นของเบา ร่างกายย่อมเป็นดุจถึงอาการลอยขึ้น ไปในอากาศเหมือนภิกษุผู้มีกายกระสับกระส่าย เมื่อนั่งลงบนเตียงหรือตั่ง เตียงและตั่งย่อมโอนเอน คดงอไป เครื่องปูลาดย่อมย่นเป็นเกลียว, แต่เมื่อ เธอมีกายไม่กระสับกระส่าย นั่นลง เตียงและตั่งย่อมไม่โอนเอน ไม่คดงอ เครื่องปูลาดก็ไม่ย่นเป็นเกลียว, เตียงตั่งเป็นเหมือนเต็มด้วยปุยนุ่น, เพราะ เหตุไร? เพราะเหตุว่า กายไม่กระสับกระส่าย ย่อมเป็นของเบาฉะนั้น. เมื่อ ลมอัสสาสะและปัสสาสะที่หยาบดับไปแล้ว จิตของภิกษุนั้นมีนิมิต คือ ลม ดับไปแล้ว จิตดวงต่อๆ ไป ซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๕๗ - ๒๕๘.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 362

ถามว่า จิตควงต่อๆ ไป ย่อมเป็นไปอย่างไร?

แก้ว่า เปรียบเหมือนบุรุษ พึงเอาชี่เหล็กท่อนใหญ่ตีกังสดาล ด้วย การตีเพียงครั้งเดียว เสียงดัง พึงเกิดขึ้น, จิตของบุรุษนั้น ซึ่งมีเสียงดัง (หยาบ) เป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, เมื่อเสียงดังดับไป ต่อจากนั้นภายหลัง จิตซึ่งมีเสียงละเอียดเป็นอารมณ์ พึงเป็นไป, แม้เมื่อจิตซึ่งมีนิมิต คือเสียง ละเอียดเป็นอารมณ์นั้นดับไปแล้ว จิตดวงต่อๆ ไป ซึ่งมีอารมณ์คือนิมิตที่ ละเอียดจนละเอียดกว่าจิต ซึ่งมีนิมิต คือเสียงละเอียด เป็นอารมณ์นั้น ย่อม เป็นไปทีเดียว ฉันใด, จิตซึ่งมีนิมิตคือลมอัสสาสะและปัสสาสะเป็นอารมณ์นั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมเป็นไปฉันนั้น. แม้ข้อนี้สมจริงดังคำที่พระธรรม เสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า เปรียบเหมือนบุคคลตีกังสดาล (เสียงดังคือเสียง หยาบ ย่อมกระจายไปก่อน) (๑) ดังนี้ เป็นต้น. ควรให้พิสดาร. เหมือนอย่างว่า กรรมฐานเหล่าอื่น ย่อมปรากฏชัดในชั้นสูงๆ ขึ้นไป ฉันใด, อานาปานัสสติ กรรมฐานนี้จะเป็นฉันนั้น ก็หามิได้. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เมื่อภิกษุ เจริญๆ ในชั้นสูงขึ้นไป ย่อมถึงความเป็นของละเอียด คือจะไม่ถึงแม้ความ ปรากฏ. ก็เมื่อกรรมฐานนั้น ไม่ปรากฏอยู่อย่างนั้น ภิกษุนั้นไม่ควรลุกขึ้น จากอาสนะ ตบท่อนหนังไปเสีย. ไม่ควรลุกขึ้น ด้วยคิดว่า จะพึงทำอย่างไร? เราจักถามพระอาจารย์ หรือว่า บัดนี้กรรมฐานของเราเสื่อมแล้ว. จริงอยู่ เมื่อเธอให้อิริยาบถกำเริบเดินไป กรรมฐานย่อมปรากฏเป็นของใหม่ๆ เรื่อย ไป; เพราะเหตุนั้น ควรนั่งอยู่ตามเติมนั่นแหละ นำกรรมฐานมาจากที่ถูกต้อง ตามปกติ.


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๗๙.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 363

[อุบายเป็นเหตุนำอานาปานัสสติกรรมฐานมา]

ในอธิการว่าด้วยอานาปานัสสติกรรรมฐานนั้น มีอุบายเป็นเครื่องนำมา ดังต่อไปนี้:-

จริงอยู่ ภิกษุนั้น รู้ว่ากรรมฐานไม่ปรากฏ ควรพิจารณาสำเหนียก อย่างนี้ว่า ชื่อว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ มีอยู่ในที่ไหน? ไม่มีใน ที่ไหน ของใครมี? ของใครไม่มี?

ภายหลัง เมื่อภิกษุนั้น พิจารณาดูอยู่อย่างนี้ ก็รู้ได้ว่า ลมหายใจเข้า และหายใจออกนี้ (ของทารกผู้อยู่) ภายในท้องของมารดา ไม่มี พวกชนผู้ ดำน้ำก็ไม่มี. พวกอสัญญีสัตว์ คนตายแล้ว ผู้เข้าจตุตถฌาน ท่านผู้พร้อม เพรียงด้วยรูปภพและอรูปภพ ท่านเข้านิโรธ ก็ไม่มีเหมือนกัน แล้วพึงตักเตือนตนด้วยตนเองอย่างนี้ว่า แน่ะบัณฑิต! ตัวเธอไม่ใช่ผู้อยู่ในท้องของมารดา ไม่ใช่ผู้ดำน้ำ ไม่ใช่เป็นอสัญญีสัตว์ ไม่ใช่คนตาย ไม่ใช่ผู้เข้าจตุตถฌาน ไม่ใช่ผู้พร้อมเพรียง ด้วยรูปภพ และอรูปภพ ไม่ใช่ผู้เข้านิโรธ มิใช่หรือ? ตัวเธอยังมีลมหายใจเข้าและหายใจออกอยู่แท้ๆ , แต่ตัวเธอก็ไม่สามารถจะ กำหนดได้ เพราะยังมีปัญญาอ่อน.

ภายหลัง เธอนั้น ควรตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจที่ลมถูกต้องโดยปกตินั่นเอง ให้มนสิการเป็นไป. จริงอยู่ ลมหายใจเข้าและหายใจออกนี้ กระทบโครงจมูก ของผู้มีจมูกยาวผ่านไป, กระทบริมฝีปากข้างบนของผู้มีจมูกสั้นผ่านไป. เพราะ ฉะนั้น เธอนั่น จึงควรตั้งนิมิตไว้ว่า ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อม กระทบฐานชื่อนี้. ความจริง พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอาศัยอำนาจประโยชน์ นี้แล จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราไม่กล่าวการเจริญอานาปานัสสติ แก่ภิกษุผู้หลงลืมสติ ไม่รู้สึกตัวอยู่. (๑)


(๑) ม. อุป. ๑๔/๑๙๖ - ๗.


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 364

จริงอยู่ กรรมฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมสำเร็จแก่ผู้มีสติ มีความรู้ ตัวเท่านั้น แม้ก็จริง, ถึงกระนั้น กรรมฐานอย่างอื่น นอกจากอานาปานัสสติ กรรมฐานนี้ ย่อมปรากฏได้แก่ผู้ที่มนสิการอยู่. แต่อานาปานัสสติกรรมฐานนี้ เป็นภาระหนัก เจริญสำเร็จได้ยาก ทั้งเป็นภูมิแห่งมนสิการ ของมหาบุรุษ ทั้งหลาย คือ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพุทธบุตรเท่านั้น, ไม่ใช่เป็นกรรมฐานต่ำต้อย, ทั้งมิได้เป็นกรรมฐานที่สัตว์ผู้ต่ำต้อยซ่องเสพ, เป็นกรรมฐานสงบและละเอียด โดยประการที่มหาบุรุษทั้งหลายย่อมทำไว้ใน ใจ ; เพราะฉะนั้นในอานาปานัสสติกรรมฐานนี้ จำต้องปรารถนาสติและปัญญา อันมีกำลัง. เหมือนอย่างว่า ในเวลาชุนผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง แม้เข็มก็จำต้อง ปรารถนาอย่างเล็ก, แม้ด้ายซึ่งร้อยในบ่วงเข็ม ก็จำต้องปรารถนาเส้นละเอียด กว่านั้น ฉันใด, ในเวลาเจริญกรรมฐานนี้ ซึ่งเป็นเช่นกับผ้าสาฎกเนื้อเกลี้ยง ก็ฉันนั้นเหมือนกัน สติมีส่วนเปรียบด้วยเข็มก็ดี ปัญญาที่สัมปยุตด้วยสตินั้น มีส่วนเปรียบด้วยด้ายร้อยบ่วงเข็มก็ดี จำต้องปรารถนาให้มีกำลัง.

ก็แล ภิกษุผู้ประกอบด้วยสติและปัญญานั้นแล้ว ไม่จำต้องแสวงหา ลมหายในเข้าและหายในออกนั้น นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ. เปรียบ เหมือนชาวนาไถนาแล้วปล่อยพวกโคถึก ให้บ่ายหน้าไปสู่ที่หากิน แล้วพึงนั่ง พักที่ร่มไม้, คราวนั้นพวกโคถึกเหล่านั้นของเขาก็เข้าดงไป โดยเร็ว. ชาวนา ผู้ฉลาด ประสงค์จะจับโคถึกเหล่านั้นมาเทียมไถอีก จะไม่เดินคามรอยเท้าโค ถึกเหล่านั้นเข้าไปยังดง, โดยที่แท้ เขาจะ ถือเอาเชือกและประตักเดินตรงไป ยังท่าน้ำซึ่งโคถึกเหล่านั้นลงทีเดียว นั่งหรือนอนคอยอยู่. เวลานั้นเขาได้เห็น โคเหล่านั้น ซึ่งเที่ยวไปสิ้นทั้งวัน แล้วลงไปสู่ท่านํ้าดื่มอาบและกินน้ำแล้ว ขึ้นมายืนอยู่ จึงเอาเชือกผูกแล้วเอาประตักทิ่มแทง นำไปเทียม (ไถ) ทำการ


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 365

งานอีก ฉันใด ภิกษุนั้นก็ฉันนั้นเหมือนกัน ไม่จำต้องแสวงหาลมหายใจเข้า และหายใจออก นอกจากโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ แต่พึงถือเอาเชือก คือ สติ และประตักคือปัญญาแล้ว ตั้งจิตไว้ในโอกาสที่ลมถูกต้องโดยปกติ ยัง มนสิการให้เป็นไป. เพราะว่า เมื่อเธอมนสิการอยู่อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย ลมหายใจเข้าและหายใจออกนั้น จะปรากฏดุจพวกโคปรากฏที่ท่าลงดื่มฉะนั้น. ในลำดับนั้น เธอพึงเอาเชือกคือสติผูกประกอบไว้ในที่นั้นนั่นแหละ แล้วแทง ด้วยประตักคือปัญญาตามประกอบกรรมฐานอีก. เมื่อเธอหมั่นประกอบอยู่ อย่างนั้น ต่อกาลไม่นานเลย นิมิตจะปรากฏ.

อาจารย์บางพวกกล่าวไว้ว่า ก็นิมิตนี้นั้น ย่อมไม่เป็นเช่นเดียวกัน แก่พระโยคาวจรทุกรูป. อนึ่งแล นิมิตนั้น ย่อมปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป ดุจปุยนุ่น ดุจปุยฝ้าย และดุจสายลม ให้เกิดสุขสัมผัส.

ส่วนวินิจฉัยในอรรถกถา มีดังต่อไปนี้ :- จริงอยู่ นิมิตนี้ ย่อม ปรากฏแก่พระโยคาวจรบางรูป ดุจดวงดาว ดุจพวงแก้วมณี และดุจพวงแก้ว มุกดา บางรูปปรากฏเป็นของมีสัมผัสหยาบ ดุจเมล็ดฝ้าย และดุจเสี้ยนไม้แก่น, บางรูปปรากฏเป็นของสายสังวาลที่ยาว ดุจพวงแห่งดอกคำ และดุจเปลวควัน ไฟ, ปางรูปดุจใยแมลงมุมที่กว้าง ดุจช่อกลีบเมฆ ดุจดอกปทุม ดุจล้อรถ ดุจมณฑลจันทร์ และดุจมณฑลพระอาทิตย์ ฉะนั้น.

ก็แล กรรมฐานนี้นั้นเป็นอันเดียวกันแท้ๆ แต่ปรากฏโดยความต่าง กัน เพราะมีสัญญาต่างกัน เหมือนบรรดาภิกษุหลายรูปด้วยกัน นั่งสาธยาย พระสูตรอยู่ เมื่อภิกษุรูปหนึ่ง พูดว่า พระสูตรนี้ ย่อมปรากฏแก่พวกท่าน เป็นเช่นไร้? รูปหนึ่งพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแม่น้ำไหลตกจาก ภูเขาใหญ่, อีกรูปอื่น พูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนแนวป่าแห่งหนึ่ง,


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 366

รูปอื่นพูดว่า ย่อมปรากฏแก่ผม เป็นเหมือนรุกชาติที่เพียบพร้อมด้วยภาระคือ ผลไม้ ซึ่งมีร่มเงาเย็น สมบูรณ์ด้วยกิ่ง. จริงอยู่ พระสูตรของเธอเหล่านั้น ก็เป็นสูตรเดียวกันนั่นเอง แต่ปรากฏโดยความเป็นของต่างกัน เพราะมีสัญญา ต่างกัน ฉะนั้น. ความจริง กรรมฐานนี้ เกิดแต่สัญญา มีสัญญาเป็นต้นเหตุ มีสัญญาเป็นแดนเกิด ; เพราะฉะนั้น พึงทราบว่า ย่อมปรากฏโดยความต่างกัน เพราะมีสัญญาต่างกัน.

[ธรรม ๓ อย่างมีบริบูรณ์กรรมฐานจึงถึงอัปปนา]

ก็ บรรดาลมหายใจเข้า หายใจออก และนิมิตนี้ จิตที่มีลมหายใจเข้า เป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่งต่างหาก จิตที่มีลมหายใจออกเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง จิตที่มีนิมิตเป็นอารมณ์ ก็อย่างหนึ่ง. จริงอยู่ กรรมฐานของภิกษุผู้ไม่มีธรรม ๓ อย่างนั้น ย่อมไม่ถึงอัปปนา ไม่ถึงอุปจาระ. ส่วนกรรมฐานของภิกษุผู้มี ธรรม ๓ อย่างนี้ ย่อมถึงอัปปนาและอุปจาระด้วย. สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรกล่าวไว้ว่า

นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจ ออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิตดวงเดียว, และ เมื่อภิกษุไม่รู้ธรรม ๓ ประการ ย่อมไม่ได้ ภาวนา (ย่อมไม่สำเร็จ) , นิมิต ลมหายใจเข้า และลมหายใจออก มิใช่เป็นอารมณ์แห่งจิต ดวงเดียว, และเมื่อภิกษุรู้ซึ่งธรรม ๓ ประการ ย่อมได้ภาวนา. (๑)

พระอาจารย์ทั้งหลาย ผู้กล่าวทีฆนิกาย ได้กล่าวไว้อย่างนี้ก่อนว่า ก็ เมื่อนิมิตปรากฏแล้วอย่างนั้น ภิกษุนั้นควรไปสำนักของอาจารย์ แล้วบอกว่า


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๕๗.


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 367

นิมิตชื่อเห็นปานนี้ ย่อมปรากฏแก่ผมขอรับ ส่วนอาจารย์ไม่ควรพูดว่า นั่น เป็นนิมิต หรือว่า ไม่ใช่นิมิต ควรพูดว่า ย่อมเป็นอย่างนั้นละ คุณ! แล้ว พึงพูดว่า คุณจงมนสิการบ่อยๆ. จริงอยู่เมื่ออาจารย์พูดว่า เป็นนิมิต เธอ จะพึงถึงความถอยหลัง, เมื่ออาจารย์พูดว่า ไม่ใช่นิมิต เธอก็จะเป็นผู้หมดหวัง จมอยู่, เพราะเหตุนั้น ไม่ควรพูดแม้ทั้งสองอย่างนั้น. ควรประกอบเธอนั้น ไว้ในมนสิการนั่นแล. ส่วนอาจารย์ทั้งหลายผู้กล่าวมัชฌิมนิกายได้กล่าวไว้ว่า เธอ อันอาจารย์พึงพูดว่า นี้เป็นนิมิต คุณ! ขอให้คุณจงมนสิการกรรมฐาน บ่อยๆ เถิดสัตบุรุษ!

ภายหลัง เธอรูปนั้น พึงตั้งจิตไว้ในนิมิตนั่นเอง. จำเดิมแต่ปฏิภาคนิมิตเกิดขึ้นนี้ ภาวนานี้ของเธอรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอำนาจการตั้งไว้ด้วย ประการอย่างนี้. สมจริงดังคำที่พระโบราณาจารย์ทั้งหลายกล่าวไว้ว่า

พระโยคีผู้เป็นธีรชน เมื่อตั้งจิตไว้ ในนิมิต เจริญลมหายใจเข้า และหายใจออก ซึ่งมีอาการต่างๆ อยู่ชื่อว่า ย่อมผูกจิตของ ตนไว้.

จำเดิมตั้งแต่นิมิตปรากฏ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั้น นิวรณ์ทั้งหลาย ย่อมเป็นอันพระโยคีนั้นข่มได้โดยแท้ กิเลสทั้งหลาย สงบนิ่ง สติเข้าไปตั้งมั่น ทีเดียว จิตก็ตั้งมั่น เช่นกัน.

[จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิด้วยองค์]

จริงอยู่ จิตนี้ ย่อมชื่อว่าเป็นธรรมชาติตั้งมั่น ด้วยองค์ ๒ คือ ด้วย การละนิวรณ์ในอุปจารภูมิ หรือด้วยความปรากฏแห่งองค์ในปฏิลาภภูมิ. บรรดาภูมิ ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า อุปจารภูมิ ได้แก่ อุปจารสมาธิ. ที่ชื่อว่า ปฏิลาภภูมิ ได้แก่ อัปปนาสมาธิ.


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 368

ถามว่า สมาธิทั้งสองนั้น มีการทำต่างกันอย่างไร?

แก้ว่า อุปจารสมาธิ แล่นไปในกุศลวิถีแล้ว ก็หยั่งลงสู่ภวังค์. อัปปนาสมาธิ เมื่อพระโยคีนั่งแนบสนิทตลอดทั้งวัน แล่นไปในกุศลวิถีแม้ ตลอดทั้งวัน ก็ไม่หยั่งลงสู่ภวังค์. บรรดาสมาธิ ๒ อย่างเหล่านี้ จิตย่อมเป็น ธรรมชาติตั้งมั่นด้วยอุปจารสมาธิ เพราะนิมิตปรากฏ. ภายหลัง ภิกษุนี้ไม่พึง มนสิการนิมิตนั้นโดยสี ทั้งไม่พึงพิจารณาโดยลักษณะ. ก็อีกอย่างหนึ่งแล เธออย่าประมาท ควรรักษานิมิตไว้ ดุจพระมเหสีของกษัตริย์ ทรงรักษาครรภ์ แห่งพระเจ้าจักรพรรดิ และดุจชาวนารักษารวงแห่งข้าวสาลีและข้าวเหนียว ฉะนั้น. จริงอยู่ นิมิตที่รักษาไว้ได้ ย่อมจะอำนวยผลแก่เธอ.

เมื่อพระโยคีรักษานิมิตไว้ได้ จะไม่ มีความเสื่อม จากอุปจารฌานที่ตนได้แล้ว เมื่อไม่มีการอารักขา (นิมิต) ฌานที่ตนได้ แล้วๆ ก็จะพินาศไป ฉะนี้แล.

[อุบายสำหรับรักษาอานาปานัสสติกรรมฐานไม่ให้เสื่อม]

ในอธิการแห่งอานาปานัสสติกรรมฐานนั้น มีอุบายสำหรับรักษาดัง ต่อไปนี้:- ภิกษุนั้น ควรเว้นอสัปปายะ ๗ อย่างเหล่านี้ คือ อาวาส ๑ โคจร ๑ การสนทนา ๑ บุคคล ๑ โภชนะ ๑ ฤดู ๑ อิริยาบถ ๑ แล้ว เสพสัปปายะ ๗ อย่างเหล่านั้นนั่นแล มนสิการนิมิตนั้นบ่อยๆ.

พระโยคีนั้น ครั้นทำนิมิตให้มั่นคงด้วยการเสพสัปปายะอย่างนั้นแล้ว ควรรอคอยความเจริญงอกงามไพบูลย์ บำเพ็ญความเพียรไม่ละทิ้งอัปปนาโกศล ๑๐ อย่างเหล่านั้น คือ ทำวัตถุให้สละสลวย ๑ ประคองอินทรีย์ให้เป็นไปเสมอ ๑ ฉลาดในนิมิต ๑ ข่มจิตในสมัยที่ควรข่ม ๑ ประคองจิตในสมัยที่ควรประคอง ๑


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 369

ปลอบจิตให้ร่าเริงในสมัยที่ควรปลอบจิตให้ร่าเริง ๑ เพ่งดูจิตในสมัยที่ควร เพ่งดู ๑ เว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ๑ เสพบุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น ๑ น้อมไปใน สมาธินั้น ๑.

เมื่อพระโยคีนั้นหมั่นประกอบโดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้อยู่ มโนทวาราวัชชนะ ซึ่งมีนิมิตเป็นอารมณ์ ตัดภวังค์แล้วก็เกิดขึ้นขณะที่ควรกล่าวว่า อัปปนา จักเกิดขึ้นในบัดนี้. ก็เมื่อมโนทวาราวัชชนะนั้นดับไป บรรดาชวนะ ทั้งหลาย ๔ หรือ ๕ ควง ยึดเอาอารมณ์นั้นนั่นแลแล่นไป ซึ่งชวนะดวงแรก ชื่อบริกรรม ที่ ๒ ชื่ออุปจาระ ที่ ๓ ชื่ออนุโลม ที่ ๔ ชื่อโคตรภู ที่ ๕ ชื่อ อัปปนาจิต อีกอย่างหนึ่ง ควงแรกเรียกว่าบริกรรมและอุปจาระ ที่ ๒ เรียกว่า อนุโลม ที่ ๓ เรียกว่า โคตรภู ที่ ๔ เรียกว่า อัปปนาจิต. จริงอยู่ ชวนะ ดวงที่ ๔ เท่านั้น บางทีที่ ๕ ย่อมเป็นไป (๑) ไม่ถึงดวงที่ ๖ หรือที่ ๗ เพราะ อาสันนภวังค์ (ภวังค์ใกล้อัปปนา) ตกไป.

ส่วนพระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญอภิธรรม กล่าวไว้ว่า กุศลธรรม ทั้งหลาย ย่อมเป็นธรรมมีกำลัง โดยอาเสวนปัจจัย เพราะฉะนั้น ชวนะย่อม ถึงที่ ๖ หรือที่ ๗. คำนั้นถูกคัดค้านในอรรถกถาทั้งหลาย. ในชวนจิตเหล่านั้น จิตที่เป็นบุรพภาค เป็นกามาวจร ส่วนอัปปนาจิตเป็นรูปาวจร. ปฐมฌาน ซึ่งละองค์ ๕ ประกอบด้วยองค์ ๕ สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๑๐ มีความงาม ๓ ย่อมเป็นอันพระโยคีนี้บรรลุแล้ว โดยนัยดังกล่าวมาฉะนี้. เธอยังองค์ฌาน ทั้งหลาย มีวิตกเป็นต้นให้สงบราบดาบในอารมณ์นั้นนั่นเอง ย่อมบรรลุฌาน ที่ ๒ ที่ ๓ และที่ ๔. และด้วยเหตุมีประมาณเพียงนี้ เธอย่อมเป็นผู้ถึงที่สุด แห่งภาวนา ด้วยอำนาจแห่งการหยุดไว้. ในอธิการนี้ มีสังเขปกถาเท่านี้ ส่วน


(๑) โยชนา ๑/๓๓๘ แก้ อปฺเปติ เป็น ปวตฺตติ


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 370

นักศึกษาผู้ต้องการความพิสดาร พึงถือเอาจากปกรณ์วิเสส ชื่อวิสุทธิมรรคเถิด.

ส่วนในกายานุปัสสนานี้ ภิกษุผู้บรรลุจตุตถฌานแล้วอย่างนั้น มีความ ประสงค์ที่จะเจริญกรรมฐาน ด้วยอำนาจการกำหนดและการเปลี่ยนแปลง แล้ว บรรลุความหมดจด กระทำฌานนั้นนั่นแล ให้ถึงความชำนิชำนาญ (วสี) ด้วยอาการ ๕ อย่าง กล่าวคือ อาวัชชนะ การรำพึง สมาปัชชนะ การเช้า อธิษฐานะ การทั้งใจ วุฏฐานะ การออก และ ปัจจเวกขณะ การพิจารณา แล้ว กำหนด รูปและอรูปว่า รูป มีอรูปเป็นหัวหน้า หรืออรูป มีรูปเป็นหัวหน้า แล้ว เริ่มตั้งวิปัสสนา.

ถามว่า เริ่มตั้งวิปัสสนาอย่างไร?

แก้ว่า จริงอยู่ พระโยคีนั้น ครั้นออกจากฌานแล้วกำหนดองค์ฌาน ย่อมเห็นหทัยวัตถุ ซึ่งเป็นที่อาศัยแห่งองค์ฌานเหล่านั้น ย่อมเห็นภูตรูป ซึ่ง เป็นที่อาศัยแห่งหทัยวัตถุนั้น และย่อมเห็นกรัชกายแม้ทั้งสิ้น ซึ่งเป็นที่อาศัย แห่งภูตรูปเหล่านั้น. ในลำดับแห่งการเห็นนั้น เธอย่อมกำหนดรูปและอรูปว่า องค์ฌานจัดเป็นอรูป, (หทัย) วัตถุเป็นต้นจัดเป็นรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอนั้น ครั้นออกจากสมาบัติแล้ว กำหนดภูตรูปทั้ง ๔ ด้วยอำนาจปฐวีธาตุเป็นต้น ใน บรรดาส่วนทั้งหลายมีผมเป็นอาทิ และรูปซึ่งอาศัยภูตรูปนั้น ย่อมเห็นวิญญาณ พร้อมทั้งสัมปยุตธรรมซึ่งมีรูปตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์ หรือมีรูปวัตถุ และทวารตามที่ตนกำหนดแล้วเป็นอารมณ์. ลำดับนั้น เธอย่อมกำหนดว่า ภูตรูปเป็นต้น จัดเป็นรูป, วิญญาณที่มีสัมปยุตธรรม จัดเป็นอรูป. อีกอย่างหนึ่ง เธอครั้นออกจากสมาบัติแล้ว ย่อมเห็นว่า กรัชกายและจิตเป็นที่เกิดขึ้นแห่ง ลมอัสสาสะและปัสสาสะ. เหมือนอย่างว่า เมื่อสูบของช่างทองยังสูบอยู่ ลม ย่อมสัญจรไปมา เพราะอาศัยการสูบ และความพยายามอันเกิดจากการสูบนั้น


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 371

ของบุรุษ ฉันใด, ลมหายใจเข้าและหายใจออก ย่อมเข้าออก เพราะอาศัย กายและจิตฉันนั้นเหมือนกันแล. ลำดับนั้น เธอกำหนดลมหายใจเข้าหายใจออก และกายว่า เป็นรูป, กำหนดจิตนั้นและธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตว่า เป็นอรูป. ครั้น เธอกำหนดนามรูปด้วยอาการอย่างนั้นแล้ว ย่อมแสวงหาปัจจัยแห่งนามรูป นั้น. และเธอเมื่อแสวงหาอยู่ ก็ได้เห็นปัจจัยมีอวิชชาและตัณหาเป็นต้นนั้นแล้ว ย่อมข้ามความสงสัยปรารภความเป็นไปแห่งนามรูปในกาลทั้ง ๓ เสียได้.

เธอนั้น ข้ามความสงสัยได้แล้ว ยกไตรลักษณ์ขึ้นด้วยอำนาจพิจารณา กลาป ละวิปัสสนูปกิเลส ๑๐ อย่าง มีโอภาสเป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นแล้วในส่วน เบื้องต้น ด้วยอุทยัพพยานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความเกิดและความดับ) กำหนดปฏิปทาญาณที่พ้นจากอุปกิเลสว่า เป็นมรรค ละความเกิดเสีย ถึง ภังคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นความดับ) เบื่อหน่ายคลายกำหนัดพ้นไปใน สรรพสังขาร ซึ่งปรากฏโดยความเป็นของน่ากลัว ด้วยพิจารณาเห็นความดับ ติดต่อกันไป ได้บรรลุอริยมรรคทั้ง ๔ ตามลำดับ แล้วตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล ถึงที่สุดแห่งปัจจเวกขณญาณ ๑๙ อย่าง เป็นอัครทักขิไณยแห่งโลก พร้อมทั้ง เทวดา. ก็การเจริญอานาปานัสสติสมาธิ ของภิกษุผู้ประกอบในอานาปานกรรมฐานนั้น ตั้งต้นแต่การนับ จนถึงมรรคผลเป็นที่สุด จบบริบูรณ์เพียง เท่านี้แล.

นี้พรรณนาปฐมจตุกกะโดยอาการทุกอย่าง

ก็เพราะใน ๓ จตุกกะนอกนี้ ขึ้นชื่อว่านัยแห่งการเจริญกรรมราน แผนกหนึ่งย่อมไม่มี, เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาควรทราบเนื้อความแห่ง ๓ จตุกกะ เหล่านั้น โดยนัยแห่งการพรรณนาตามบทนั่น แล.


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 372

บทว่า ปีติปฏิสํเวที ความว่า เธอย่อมสำเหนียกว่า เราจักทำปีติ ให้รู้แจ้ง คือทำให้ปรากฏหายใจเข้า หายใจออก. บรรดาปีติและสุขเหล่านั้น ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยอารมณ์ และโดย ความไม่งมงาย.

ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว โดยอารมณ์อย่างไร?

แก้ว่า ภิกษุนั้นย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้วโดยอารมณ์ ด้วยการได้ฌานในขณะเข้า สมาบัติ เพราะอารมณ์เป็นธรรมชาติอันภิกษุนั้นรู้แจ้งแล้ว.

ถามว่า ปีติ ย่อมเป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้วโดยความไม่งมงายอย่างไร?

แก้ว่า ภิกษุนั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วย่อมพิจารณา ปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม, ปีติชื่อว่าเป็นอันภิกษุรูปนั้น รู้แจ้งแล้ว โดยความไม่งมงาย เพราะแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา. ข้อนี้ สมจริงดังคำที่ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตร กล่าวไว้ในปฏิสัมภิทาว่า เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจเข้ายาว สติย่อมทั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณ นั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ ออกยาว สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วย ญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลมหายใจ เข้าสั้น สติย่อมตั้งมัน, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจลม หายใจออกสั้น สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้นย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุรู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจ


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 373

ความเป็นผู้รู้แจ้งกองลมทั้งปวง หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อภิกษุ รู้ความที่จิตมีอารมณ์เดียว ไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยอำนาจความเป็นผู้ระงับกายสังขาร หายใจเข้าและหายใจออก สติย่อมตั้งมั่น, ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว ด้วยสตินั้น ด้วยญาณนั้น, เมื่อรำพึงถึง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, เมื่อรู้ เมื่อเห็น เมื่อพิจารณา เมื่ออธิษฐานจิต เมื่อน้อมใจไปด้วยศรัทธา เมื่อประคองความเพียร เมื่อเข้าไปตั้งสติไว้ เมื่อตั้งจิตไว้มั่น เมื่อรู้ชัดด้วย ปัญญา เมื่อรู้ยิ่งซึ่งธรรมที่ควรรู้ยิ่ง เมื่อกำหนดรู้ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เมื่อ ละธรรมที่ควรละ เมื่อเจริญธรรมที่ควรเจริญ เมื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ควรทำ ให้แจ้ง ปีตินั้น ย่อมเป็นอันเธอนั้นรู้แจ้งแล้ว, ปีตินั้น เป็นอันภิกษุรู้แจ้งแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้ (๑) .

แม้บทที่เหลือ ก็พึงทราบโดยเนื้อความตามนัยนี้นั่นแล. แต่ในสองบท นี้มีความสักว่าแปลกกัน ดังต่อไปนี้ :- พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งสุข ด้วย อำนาจแห่งฌาน ๓, พึงทราบความเป็นผู้รู้แจ้งจิตสังขาร ด้วยอำนาจแห่งฌาน ทั้ง ๔. ขันธ์ ๒ มีเวทนาเป็นต้น ชื่อว่าจิตสังขาร. ก็บรรดาสองบทนี้ ใน สุขปฏิสังเวทิบท ท่านพระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ในปฏิสัมภิทา เพื่อแสดงภูมิ แห่งวิปัสสนาว่า คำว่า สุข ได้แก่สุข ๒ อย่า ง คือ กายิกสุข ๑ เจตสิกสุข ๑.

สองบทว่า ปสฺสมฺภยํ จิตฺตสงฺขารํ ความว่า ระงับ คือดับจิตสังขารที่หยาบๆ เสีย. ความคับจิตสังขารนั้น พึงทราบโดยพิสดารตามนัย ดังที่กล่าวแล้วในกายสังขารนั้นแหละ.

อีกอย่างหนึ่ง บรรดาบทเหล่านี้ ในปีติบท ท่านกล่าวเวทนาไว้ด้วย ปีติเป็นประธาน, ในสุขปฏิสังเวทิบท ท่านกล่าวเวทนาไว้โดยสรุปทีเดียว, ใน


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/ ๒๘๑ - ๒.


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 374

จิตสังขารบททั้งสอง เป็นอันท่านกล่าวเวทนาที่สัมปยุตด้วยสัญญาไว้ เพราะ พระบาลีว่า สัญญาและเวทนา เป็นเจตสิก ธรรมเหล่านี้เนื่องด้วยจิต เป็น จิตสังขาร (๑) ดังนี้. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส โดยเวทนานุปัสสนานัย ด้วยประการอย่างนี้.

แม้ในจตุกกะที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:- บัณฑิตพึงทราบความเป็นผู้รู้ แจ้งจิต ด้วยอำนาจแห่งฌาน ๔.

สองบทว่า อภิปฺปโมทยํ จิตฺตํ ความว่า ภิกษุย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง คือให้ร่าเริง ได้แก่ ให้เบิกบานหายใจเข้าหายใจออก. ในสองบทนั้น ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอาการ ๒ อย่างคือ ด้วยอำนาจ สมาธิ และด้วยอำนาจวิปัสสนา.

ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจสมาธิอย่างไร?

แก้ว่า ภิกษุย่อมเข้าฌานทั้ง ๒ (ปฐมฌานและทุติยฌาน) ซึ่งมีปีติ. เธอนั้นย่อมให้จิตรื่นเริง ด้วยปีติที่สัมปยุต ในขณะแห่งสมาบัติ.

ถามว่า ความบันเทิง ย่อมมีได้ด้วยอำนาจวิปัสสนาอย่างไร?

แก้ว่า ภิกษุครั้นเข้าฌานทั้ง ๒ ซึ่งมีปีติ ออกจากฌานแล้วพิจารณา อยู่ซึ่งปีติที่สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม. เธอทำปีติสัมปยุตด้วย ฌานให้เป็นอารมณ์ ในขณะแห่งวิปัสสนาอย่างนั้นแล้ว ให้จิตรื่นเริง บันเทิง อยู่. ผู้ปฏิบัติอย่างนั้น ท่านเรียกว่าย่อมสำเหนียกว่า เราจักยังจิตให้บันเทิง หายใจเข้าหายใจออก.

สองบทว่า สมาทหํ จิตฺตํ ความว่า ดำรงจิตไว้เสมอ คือ ทั้งจิต ไว้เสมอในอารมณ์ ด้วยอำนาจแห่งฌานมีปฐมฌานเป็นต้น. ก็หรือว่า เมื่อ เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกจากฌาน พิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่สัมปยุตด้วยฌาน


(๑) ขุ. ปฏิ. ๓๑/๒๘๓ - ๔.


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 375

โดยความสิ้น ความเสื่อม ความที่จิตมีอารมณ์เดียวชั่วขณะ (ขณิกสมาธิ) ย่อมเกิดขึ้น เพราะการแทงตลอดลักษณะ ในขณะแห่งวิปัสสนา ภิกษุผู้ ดำรงจิตไว้เสมอ คือตั้งจิตไว้เสมอในอารมณ์ แม้ด้วยอำนาจแห่งความที่จิตมี อารมณ์เดียวชั่วขณะ ซึ่งเกิดขึ้นแล้วอย่างนั้น ท่านก็เรียกว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักตั้งจิตไว้มั่น หายใจเข้าหายใจออก.

สองบทว่า วิโมจยํ จิตฺตํ ความว่า เมื่อเปลื้อง เมื่อปล่อยจิตให้ พ้นจากนิวรณ์ทั้งหลาย ด้วยปฐมฌาน คือ เมื่อเปลื้อง ปล่อยจิตให้พ้นจาก วิตกวิจาร ด้วยทุติยฌาน จากปีติด้วยตติยฌาน จากสุขและทุกข์ด้วย จตุตถฌาน. ก็หรือว่า เธอเข้าฌานเหล่านั้นแล้วออกมาพิจารณาอยู่ซึ่งจิตที่ สัมปยุตด้วยฌาน โดยความสิ้น ความเสื่อม ในขณะแห่งวิปัสสนา เธอนั้น เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้น จากนิจจสัญญา (ความสำคัญว่าเที่ยง) ด้วยอนิจจานุ ปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่เที่ยง) เปลื้อง คือ ปล่อยจิตให้พ้นจากสุข สัญญา (ความสำคัญว่าเป็นสุข) ด้วยทุกขานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่า เป็นทุกข์) จากอัตตสัญญา (ความสำคัญว่าเป็นตัวตน) ด้วยอนัตตานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นว่าไม่ใช่ตัวตน) จากนันทิ (ความเพลิดเพลิน) ด้วย นิพพิทานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย) จากราคะ (ความ กำหนัด) ด้วยวิราคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเครื่องคลายความ กำหนัด) จากสมุทัย (ตัณหาที่ยังทุกข์ให้เกิด) ด้วยนิโรธานุปัสสนา (ความ พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องคับ) จากอาทาน (ความยึดถือ) ด้วยปฏิ- นิสสัคคานุปัสสนา (ความพิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องสละคืนซึ่งอุปธิ) หาย ใจเข้าและหายใจออกอยู่. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า ย่อม สำเหนียกว่า เราจักปล่อยจิตหายใจเข้า หายใจออก. จตุกกะนี้ บัณฑิตพึง ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจแห่งจิตตานุปัสสนาอย่างนี้.


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 376

ส่วนในจตุกกะที่ ๔ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ในบทว่า อนิจฺจานุปสฺสี นี้ พึงทราบ อนิจจัง (ของไม่เทียง) พึงทราบ อนิจจตา (ความเป็นของไม่ เที่ยง) พึงทราบ อนิจจตานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) พึง ทราบ อนิจจานุปัสสี (ผู้พิจารณาเห็นของไม่เที่ยง) เสียก่อน.

ในลักษณะ ๔ อย่าง มีอนิจจังเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า อนิจจัง ได้แก่ เบญจขันธ์ เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า เบญจขันธ์มีความเกิดขึ้น มีความ เสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยประการอื่น.

ที่ชื่อว่า อนิจจตา ได้แก่ ข้อที่เบญจขันธ์เหล่านั้นนั่นเอง มีความ เกิดขึ้น มีความเสื่อมไป และมีความเป็นไปโดยอาการอื่น หรือมีแล้ว กลับ ไม่มี อธิบายว่า เบญจขันธ์เหล่านั้น เกิดขึ้นแล้ว ไม่ตั้งอยู่โดยอาการนั้นนั่น แล แตกดับเพราะความแตกดับไปชั่วขณะ.

ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสนา ได้แก่ การพิจารณาเห็นในเบญจขันธ์ ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง ด้วยอำนาจแห่งความเป็นของไม่เที่ยงนั้น.

ที่ชื่อว่า อนิจจานุปัสสี ได้แก่ พระโยคาวจรผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนา นั้น. เพราะเหตุนั้น พระโยคาวจรผู้เป็นแล้วอย่างนั้นหายใจเข้า และหายใจออก อยู่ บัณฑิตพึงทราบในอธิการนี้ว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นว่า ไม่เที่ยง หายใจเข้า หายใจออก.

ส่วนวิราคะ ในบทว่า วิราคานุปัสสี นี้ มี ๒ อย่าง คือ ขยวิราคะ คลายความกำหนัด คือความสิ้นไป ๑ อัจจันตวิราคะ คลายความกำหนัด โดยส่วนเดียว ๑ บรรดาราคะ ๒ อย่างนั้น ความแตกดับไปชั่วขณะแห่งสังขาร ทั้งหลาย ชื่อ ว่า ขยวิราคะ. พระนิพพาน ชื่อว่า อัจจันตวิราคะ. วิปัสสนา และมรรคที่เป็นไปด้วยอำนาจแห่งการเห็นวิราคะทั้ง ๒ อย่างนั้น ชื่อว่า วิราคานุปัสสนา (การพิจารณาเห็นการคลายความกำหนัด). พระโยคาวจร


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 377

เป็นผู้ประกอบด้วยอนุปัสสนาแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออกอยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักพิจารณาเห็นวิราคะหายใจเข้า หายใจออก. แม้ในบทว่า นิโรธานุปัสสี ก็มีนัยเหมือนกันนี้.

ปฏินิสสัคคะ (ความสละคืนอุปธิ) แม้ในบทว่า ปฏินิสฺ- สคฺคานุปสฺสี นี้ก็มี ๒ อย่างคือ ปริจจาคปฏินิสสัคคะ ความสละคืน คือความเสียสละ ๑ ปักขันทนปฏินิสสัคคะ ความสละคืน คือความแล่นไป ๑. การพิจารณาเห็น คือความสละคืนนั่นเอง ชื่อว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา. คำว่า ปฏินิสสัคคานุปัสสนา นั่น เป็นชื่อแห่งวิปัสสนาและมรรค. จริง อยู่ วิปัสสนา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะ ย่อมละกิเลสทั้งหลายพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยอำนาจตทังคปหาน และว่า การสละคืนคือการแล่นไปเพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ซึ่งผิดจากสังขาร นั้น เหตุที่น้อมไปในพระนิพพานนั้น เพราะเห็นโทษแห่งสังขตธรรม. มรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า การสละคืน คือการละ เพราะย่อมละ กิเลสพร้อมทั้งขันธาภิสังขาร ด้วยสามารถสมุจเฉทปหาน และว่า การสละคืน คือการแล่นไป. เพราะย่อมแล่นไปในพระนิพพาน ด้วยการกระทำให้เป็น อารมณ์. ก็ วิปัสสนาญาณและมรรคญาณแม้ทั้ง ๒ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส เรียกว่า อนุปัสสนา เพราะเล็งเห็นญาณต้นๆ ในภายหลัง. ภิกษุเป็นผู้ ประกอบด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา ทั้ง ๒ อย่างนั้น หายใจเข้าและหายใจออก อยู่ บัณฑิตพึงทราบว่า สำเหนียกอยู่ว่า เราจักเป็นผู้มีปกติเล็งเห็นญาณชื่อ ปฏินิสสัคคะ ในภายหลัง หายใจเข้า หายใจออก ดังนี้.

คำว่า เอวํ ภาวโตความว่า เจริญแล้วด้วยอาการอย่างนี้ คือด้วย อาการ ๑๖ อย่าง. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.

กถาว่าด้วยอานาปรานัสสติสมาธิ จบ


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 378

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบท

ก็ ในคำว่า อถโข ภควา เป็นต้น มีความสังเขปดังต่อไปนี้:- พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงปลอบภิกษุทั้งหลายให้เบาใจ ด้วยอานาปานัสสติ- สมาธิกถา อย่างนี้แล้ว ในลำดับนั้น ตรัสให้ประชุมภิกษุสงฆ์ เพราะเกิด เรื่องที่ภิกษุทั้งหลายปลงชีวิตกันและกัน อันเป็นเหตุก่อให้เกิดผล และเป็น เหตุเริ่มแรกแห่งการบัญญัติตติยปาราชิกสิกขาบทนี้แล้ว ตรัสสอบถามและทรง ติเตียนแล้ว เพราะในการปลงชีวิตนั้น การปลงชีวิตตนเอง และการใช้ให้ มิคลัณฑิกสมณกุตก์ปลงชีวิตตน ย่อมไม่เป็นวัตถุแห่งปาราชิก ; ฉะนั้น จึง ทรงเว้นการปลงชีวิต ๒ อย่างนั้นเสีย ทรงถือเอาการปลงชีวิตกันและกัน อัน เป็นวัตถุแห่งปาราชิกอย่างเดียว ทรงบัญญัติปาราชิกสิกขาบท ตรัสพระพุทธพจน์ มีคำว่า อนึ่ง ภิกษุใด แกล้งพรากกายมนุษย์จากชีวิต ดังนี้ เป็นต้น. (๑) ก็ในพระบาลีนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่ตรัสว่า โมฆปุริสา ตรัสว่า เต ภิกฺขู เพราะภิกษุเหล่านั้น เจือด้วยพระอริยบุคคล.

[ภิกษุฉัพพัคดีย์พรรณนาคุณแห่งความตาย]

ครั้งเมื่อตติยปาราชิก อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติทำให้มั่นด้วย อำนาจแห่งความขาดมูล ด้วยประการฉะนั้นแล้ว เรื่องพรรณนาคุณแห่งความ ตายแม้อื่นอีก ก็ได้เกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่อนุบัญญัติ. เมื่อแสดงความเกิด ขึ้นแห่งเรื่องนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวว่า เอวญฺจิทํ ถควตา เป็น อาทิ.


(๑) วิ. มหา. ๑/๑๓๔.


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 379

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิพทฺธจิตฺตา มีความว่า ผู้มีจิตรัก ใคร่ด้วยฉันทราคะ อธิบายว่า เป็นผู้มีความรักมาก คือมีความเพ่งเล็ง.

สองบทว่า มรณวณฺณํ สํวณฺเณม มีความว่า เราจะชี้โทษในความ เป็นอยู่ แล้วพรรณนาคุณ คือแสดงอานิสงส์แห่งความตาย.

ในบทว่า กตกลฺยาโณ เป็นอาทิ มีเนื้อความเฉพาะบทดังต่อไปนี้:- กรรมอันงาม คือสะอาดอันท่านทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้นท่านย่อมเป็นผู้ชื่อว่า มีกรรมงามอันทำแล้วแล. อนึ่ง กุศล คือกรรมอันหาโทษมิได้ อันท่านทำ แล้ว ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีกุศลอันทำแล้ว. ความเป็นผู้ขลาด กล่าว คือความกลัวอันใด ย่อมเกิดขึ้นแก่สัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมรณกาลมาถึงเข้า. เครื่องต้านทาน คือกรรมเครื่องป้องกัน จากความเป็นผู้ขลาดนั้นอันท่านทำ แล้ว, เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีเครื่องต้านทานจากความเป็นผู้ขลาดอัน กระทำแล้ว. กรรมที่เป็นบาป คือลามกอันท่านมิได้ทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้ไม่ได้ทำบาป. กรรมของผู้ละโมบ คือกรรมทารุณ ได้แก่กรรม เครื่องเป็นผู้ทุศีล อันท่านมิได้ทำไว้ ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่าผู้มีได้ทำกรรม ของผู้ละโมบ. กรรมหยาบช้า คือกรรมเลวทรามเป็นที่หนาขึ้นแห่งกิเลสมีโลภะ เป็นต้น อันท่านมิได้ทำไว้ ; เพราะเหตุนั้น ท่านชื่อว่า ผู้มิได้ทำกรรมที่ หยาบช้า. คำว่า ท่านมีกรรมงามได้ทำแล้ว เป็นต้นนี้ เราทั้งหลายย่อมกล่าว เพราะเหตุไร? เพราะกรรมงามแม้ทุกประการอันท่านทำแล้ว กรรมอันเป็น บาปแม้ทุกประการอันท่านมิได้ทำแล้ว ; เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลาย จึงกล่าว กะท่านว่าจะประโยชน์อะไรของท่าน ด้วยชีวิตอันชื่อว่าเลวทรามคือต่ำช้าเพราะ ถูกโรคครอบงำ อันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะมากไปด้วยทุกข์นี้, ความตายของ ท่านประเสริฐกว่าความเป็นอยู่. เพราะฉะนั้น จึงมีอธิบายว่า ความตายของ


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 380

ท่าน ดีกว่าความเป็นอยู่. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ท่านเป็นผู้ทำกาละแล้ว คือมีกาละอันทำแล้ว อธิบายว่าทำกาลกิริยา คือตายแล้วจากโลกนี้ ต่อจาก ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ และท่านเข้าถึงแล้วอย่างนั้น จัก เอิบอิ่ม พรั่งพร้อมด้วยกามคุณ ๕ คือส่วนแห่งวัตถุกาม ๕ มีรูปเป็นที่น่าชอบใจ เป็นต้น อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น ยังอัตภาพให้เที่ยวไป ; อธิบาย ว่า จักเป็นผู้ประกอบพร้อม คือถึงความพรั่งพร้อม (ด้วยกามคุณ ๕ คือส่วน แห่งวัตถุกาม ๕ อันเป็นทิพย์ซึ่งเกิดขึ้นในเทวโลกนั้น) จักเที่ยวไปข้างนี้และ ข้างนี้ คือจักอยู่ หรือจักอภิรมย์.

บทว่า อสปฺปายานิ ความว่า โภชนาหารเหล่าใด ยังตนให้ถึง ความสิ้นไปแห่งชีวิตอย่างเร็วพลัน โภชนาหารเหล่านั้น จักว่าไม่เกื้อกูล คือ ไม่ทำความเจริญให้.

[อธิบายสัญจิจจศัพท์]

ศัพท์ว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นศัพท์หนุนสัญจิจจบท ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ในมาติกาว่า สญฺจิจฺจ มนุสฺสวิคฺคหํ ศัพท์ว่า สํ ในบทว่า สญฺจิจฺจ นั้นเป็นอุปสรรค. คำว่า สญฺจิจฺจ นี้ เป็นคำบ่งถึง บุพกาลกิริยา รวมกับ สํ อุปสรรคนั้น. ใจความแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น ว่า จงใจ คือแกล้ง. ก็ภิกษุใดแกล้งปลง, ภิกษุนั้นเป็นผู้รู้อยู่ คือรู้พร้อมอยู่ และการปลงนั้นของภิกษุนั้น เป็นความแกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด ; เพราะเหตุ นั้น เพื่อจะไม่ทำความเอื้อเฟื้อในพยัญชนะ แสดงแต่ใจความเท่านั้น ท่าน พระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบทภาชนะแห่งบทว่า สญฺจิจฺจ นั้น อย่างนี้ว่า รู้อยู่ รู้พร้อมอยู่ แกล้ง คือฝ่าฝืนละเมิด.

บรรดาบทเหล่นั้น บทว่า ชานนฺโต คือ รู้อยู่ว่า สัตว์มีปราณ.


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 381

บทว่า สญฺชานนฺโต คือ รู้พร้อมอยู่ว่า เราจะปลงเสียจากชีวิต. อธิบายว่า รู้อยู่พร้อมกับอาการที่รู้ว่า สัตว์มีปราณนั้นนั่นเอง.

บทว่า เจจฺจ ความว่า จงใจ คือ ปักใจ ด้วยอำนาจเจตนาจะฆ่า.

บทว่า อภิวิตริตฺวา ความว่า ส่งจิตที่หมดความระแวงสงสัยไปย่ำยี ด้วยอำนาจความพยาบาท.

ด้วยบทว่า วิติกฺกโม มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความล่วงละเมิด แห่งจิตหรือบุคคล ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น นี้เป็นความอธิบายสุดยอดแห่ง สัญจิจจ ศัพท์.

[อธิบายปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์]

บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าวคำเป็นต้นว่า ชื่อว่ากายมนุษย์ เพื่อจะแสดงอัตภาพของมนุษย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า ปลงกาย มนุษย์เสียจากความเป็นอยู่ นี้ ตั้งแต่แรก.

บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า (ปฐมจิต) อันใด (เกิดขึ้นแล้ว) ในท้องแห่งมารดา ท่านพระอุบาลีเถระกล่าว เพื่อแสดงอัตภาพอันละเอียดที่สุด ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ผู้นอนในครรภ์. ปฏิสนธิจิต ชื่อจิตดวงแรก. บทว่า ผุดขึ้น ได้แก่เกิด. คำว่า วิญญาณดวงแรก มีปรากฏ นี้ เป็นคำไข ของ คำว่า จิตดวงแรก ที่ผุดขึ้น นั้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า จิตดวงแรก (ที่ผุดขึ้น) ในท้องมารดา นั่นแหละ เป็นอันท่านแสดงปฏิสนธิ ของสัตว์ผู้มีขันธ์ ๕ แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น กายมนุษย์อันเป็นที่แรกที่สุดนี้ คือ จิตดวงแรกนั้น ๑ อรูปขันธ์ ๓ ที่เกี่ยวเกาะด้วยจิตนั้น ๑ กลลรูปที่เกิด พร้อมกับจิตนั้น ๑. บรรดาอรูปขันธ์ และกลลรูปแห่งจิตดวงแรกนั้น รูป ๓ ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งกาย ๑๐ วัตถุ ๑๐ และภาวะ ๑๐ แห่งสตรีและบุรุษ,


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 382

รูป ๒๐ ด้วยอำนาจแห่งกาย ๑๐ และวัตถุ ๑๐ แห่งพวกกะเทย ชื่อว่ากลลรูป. บรรดาสตรี บุรุษ และกะเทยนั้น กลลรูปของสตรีและบุรุษ มีขนาดเท่า หยาดน้ำมันงาที่ช้อนขึ้นด้วยปลายข้างหนึ่ง แห่งขนแกะแรกเกิด เป็นของใส กระจ่าง จริงอยู่ ในอรรถกถาท่านกล่าวคำนี้ว่า

หยาดน้ำมันงา หรือสัปปิใส ไม่ขุ่น มัว ฉันใด, รูปมีส่วนเปรียบด้วยสี ฉันนั้น เรียกว่ากลลรูป.

อัตภาพของสัตว์มีอายุ ๑๒๐ ปีตามปกติ ที่ถึงความเติบโตโดยลำดับ ในระหว่างนี้ คือตั้งต้นแต่เป็นวัตถุเล็กนิดอย่างนั้น จนถึงเวลาตาย นี้ ชื่อว่า กายมนุษย์.

สองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต ความว่า พึงพรากเสียจากชีวิต ด้วยการนาบ และรีด หรือด้วยการวางยา ในกาลที่ยังเป็นกลละก็ดี หรือด้วย ความพยายามที่เหมาะแก่รูปนั้นๆ ในกาลถัดจากเป็นกลละนั้นไปก็ดี. ก็ขึ้น ชื่อว่าปลงเสียจากชีวิต โดยความ ก็คือการเข้าไปตัดอินทรีย์ คือชีวิตเสียนั่น เอง ; เพราะฉะนั้น ในวาระจำแนกบทแห่งสองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต นั้น ท่าน (พระอุบาลี) จึงกล่าวว่า เข้าไปตัด คือเข้าไปบั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย (ไขความว่า) ทำความสืบต่อให้ขาดสาย. เมื่อเข้าไปตัด และเข้าไปบั่นความ สืบต่อเชื้อสาย แห่งอินทรีย์คือชีวิตเสีย ท่านกล่าวว่า ย่อมเข้าไปตัด เข้าไป บั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย ในบทภาชนะนั้น. เนื้อความนี้นั้น ท่านแสดงด้วย บทว่า ทำความสืบต่อให้ขาดสาย.

บทว่า ให้ขาดสาย คือพรากเสีย. ในบทว่า อินทรีย์ คือชีวิต นั้น อินทรีย์คือชีวิต มี ๒ อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ ๑ อรูปชีวิตินทรีย์ ๑. ใน


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 383

๒ อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใครๆ ไม่สามารถปลง อรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มี, บุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อ ปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์ นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วย รูปชีวิตินทรีย์นั้น.

ถามว่า ก็เมื่อปลงชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมปลงที่เป็นอดีต หรือเป็นอนาคต หรือปัจจุบัน

ตอบว่า ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต. ก็ในชีวิตินทรีย์ ๒ ประการนั้น ประการหนึ่งดับไปแล้ว ประการหนึ่งยังไม่เกิดขึ้น ; เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไม่มี ทั้ง ๒ ประการ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มี ความพยายามจึงไม่มี ; เพราะความ พยายามไม่มี จึงไม่อาจปลงได้ แม้ประการหนึ่ง. จริงอยู่ แม้คำนี้ท่านพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า สัตว์เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นอดีต ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่, จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคต ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่, กำลังเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่ (๑) เพราะฉะนั้น ชีวิตย่อมเป็นอยู่ ในขณะ จิตใด, ความพยายามเป็นของสมควรในขณะจิตนั้น ; เพราะเหตุนั้น บุคคล ชื่อว่าย่อมปลงชีวิตินทรีย์ที่เป็นปัจจุบัน.

[ชีวิตินทรีย์ปัจจุบันมี ๓ ขณะ]

ก็ขึ้นชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นปัจจุบันนี้ มี ๓ อย่าง คือขณปัจจุบัน ๑ สันตติปัจจุบัน ๑ อัทธาปัจจุบัน ๑. ใน ๓ อย่างนั้น ปัจจุบันที่พร้อมเพรียง ด้วยความเกิด ความเสื่อมและความสลาย ชื่อขณปัจจุบัน, ใครๆ ไม่สามารถ


(๑) ขุ. มหา. ๒๙/๔๘.


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 384

จะปลงขณปัจจุบันนั้นได้. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ดับไปเองทีเดียว. (ขณะจิต) ชั่ว ๗ - ๘ ชวนวาระ ที่เป็นไปด้วยอำนาจสภาคสันตติแล้วดับไป ชื่อสันตติปัจจุบัน, เมื่อบุคคลมาจากที่ร้อน เข้าสู่ห้องน้อยแล้วนั่ง อันธการ ยังมี เพียงใด หรือว่าเมื่อบุคคลมาจากที่เย็น นั่งในห้องน้อย ฤดูที่มีอยู่ก่อน ยังไม่ระงับไปด้วยความปรากฏแห่งฤดูที่เป็นวิสภาคกันเพียงใด, ในระหว่างนี้ ท่านเรียกว่า สันตติปัจจุบัน เพียงนั้น. ส่วนตั้งแต่ปฏิสนธิไปจนถึงจุติ นี้ชื่อ ว่าอัทธาปัจจุบัน. บุคคลอาจปลงหมวดสองแห่งชีวิตินทรีย์ที่เป็นสันตติ ปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันนั้นได้บ้าง. ถามว่า อาจปลง ได้อย่างไร แก้ว่า จริงอยู่ เมื่อบุคคลทำความพยายามในหมวด ๒ แห่งสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันนั้น. หมวดแห่งรูป ๑๐ ประการ ซึ่งกำหนดด้วยชีวิต ได้ความพยายาม แล้วเมื่อดับ ย่อมเป็นปัจจัยแห่งสันดานที่ทุรพล มีกำลังเสื่อมสิ้นไปแล้ว, ต่อจากนั้น สันตติปัจจุบันหรืออัทธาปัจจุบัน ยังไม่ทันถึงกาล ที่กำหนดไว้ ย่อมดับไปในระหว่างเทียว ด้วยประการใด, บุคคลอาจปลงแม้ซึ่งหมวดสอง แห่งชีวิตินทรีย์ที่เป็นสันตติปัจจุบัน และอัทธาปัจจุบันนั้นได้บ้าง ด้วยประการ นั้น. เพราะเหตุนั้น บัณฑิตพึงทราบสันนิษฐานว่า คำว่า ทำความสืบต่อให้ ขาดสาย นี้ ท่านกล่าวหมายเอาหมวดสองปัจจุบันนั่นเอง.

ก็แล เพื่อประกาศเนื้อความนั้น ควรทราบปาณะ, ควรทราบปาณาติบาต, ควรทราบปาณาติปาตี, ควรทราบประโยคแห่งปาณาติบาต.

บรรดาปาณะเป็นต้น เหล่านั้น ที่ชื่อว่า ปาณะ โดยโวหารได้แก่สัตว์ โดยปรมัตถ์ ได้แก่ชีวิตินทรีย์. จริงอยู่ บุคคลผู้ยังชีวิตินทรีย์ให้ตกล่วงไป ท่านกล่าวว่า ยังสัตว์มีชีวิตให้ตกล่วงไป. ชีวิตินทรีย์นั้น มีประการดังกล่าว แล้วนั้นแล. ปาณาติบาตนั้น คือ บุคคลยังประโยคอันเข้าไปตัดเสีย ซึ่ง


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 385

ชีวิตินทรีย์ ให้ตั้งขึ้นด้วยเจตนาใด เจตนานั้น ชื่อว่า วธกเจตนา ท่านเรียกว่า ปาณาติบาต (เจตนาธรรมเป็นเหตุล้างผลาญชีวิตสัตว์มีปราณ). บุคคลผู้พร้อม เพรียงด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว พึงเห็นว่า ผู้ล้างผลาญสัตว์มีปราณ.

[ประโยคแห่งการฆ่า ๖ อย่าง]

ที่ชื่อว่า ประโยคแห่งปาณาติบาตนั้น ได้แก่ ประโยคแห่งปาณาติบาท ๖ อย่าง คือ สาหัตถิกประโยค ๑ อาณัตติกประโยค ๑ นิสสัคคิยประโยค ๑ ถาวรประโยค ๑ วิชชามยประโยค ๑ อิทธิมยประโยค ๑. บรรดาประโยคเหล่านั้น การประหารด้วยกาย หรือของที่เนื่องด้วยกาย แห่ง บุคคลผู้ฆ่าให้ตายเอง ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค. การสั่งบังคับว่า ท่านจง แทงหรือประหารให้ตาย ด้วยวิธีอย่างนั้น ของบุคคลผู้ใช้คนอื่น ชื่อว่า อาณัตติกประโยค. การซัดเครื่องประหารมีลูกศร หอกยนต์และหินเป็นต้น ไป ด้วยกาย หรือของที่เนืองด้วยกาย แห่งบุคคลผู้มุ่งหมายจะฆ่าบุคคลซึ่งอยู่ ในที่ไกล ชื่อว่า นิสสัคคิยประโยค. การขุดหลุมพรางวางกระดานหก วาง (เครื่องประหาร) ไว้ใกล้ และการจัดยา (พิษ) แห่งบุคคลผู้มุ่งหมายจะฆ่า ด้วยเครื่องมืออันไม่เคลื่อนที่ ชื่อว่า ถาวรประโยค. ประโยคแม้ทั้ง ๘ นั้น จักมีแจงโดยพิสดารในอรรถกถาแห่งบาลีข้างหน้านั่นแล. ส่วนวิชชามยประโยค และอิทธิมยประโยค ไม่ได้มาในบาลี. พึงทราบประโยคทั้ง ๒ นั้นอย่างนี้ ก็โดยสังเขป การร่ายมนต์เพื่อจะให้เขาตาย ชื่อว่า วิชชามยประโยค. แต่ ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านแสดงวิชชามยประโยคไว้อย่างนี้ว่า วิชชามยประโยค เป็นไฉน? พวกหมออาถรรพณ์ ย่อมประกอบอาถรรพณ์ เมื่อเมืองถูกล้อม หรือเมื่อสงความเข้าประชิตกันย่อมก่อความจัญไร ความอุบาทว์ โรค ความไข้ ให้เกิดขึ้นในพวกปัจจามิตรผู้เป็นข้าศึก ย่อมทำให้เป็นโรคจุกเสียด ให้เป็น


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 386

โรคป่วง เพื่อจะป้องกัน, พวกหมออาถรรพณ์ย่อมประกอบอาถรรพณ์อย่านี้ พวกทรงวิชาคุณ ร่ายเวทแล้ว เมื่อเมืองถูกล้อมหรือ ฯลฯ ย่อมให้เป็น โรคป่วง ดังนี้แล้ว กล่าวเรื่องเป็นอันมากของตนทั้งหลายที่ถูกพวกหมอ อาถรรพณ์ และพวกทรงวิชาคุณฆ่าเสีย จะมีประโยชน์อะไรด้วยเรื่องเหล่านั้น ก็ลักษณะในวิชชามยประโยคนี้ มีดังนี้:- คือการร่ายมนต์เพื่อจะให้เขาตาย ชื่อว่า วิชชามยประโยค. การประกอบฤทธิ์อันเกิดแต่ผลแห่งกรรม ชื่อว่า อิทธิมยประโยค. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าฤทธิ์อันเกิดแต่ผลแห่งกรรมนี้ มีมากอย่าง เป็นต้นว่า ฤทธิ์นาคของพวกนาค ฤทธิ์สุบรรณของพวกสุบรรณ ฤทธิ์ยักษ์ ของพวกยักษ์ เทวฤทธิ์ของพวกเทพ ราชฤทธิ์ของพวกพระราชา. บรรดาฤทธิ์ นาค เป็นต้นนั้น พึงทราบฤทธิ์นาคของพวกนาค ซึ่งมีพิษในขณะเห็น ขบ กัดและถูกต้อง ขณะทำการเบียดเบียนสัตว์อื่น เพราะเห็น ขบกัดถูกต้อง พึงทราบฤทธิ์สุบรรณของพวกสุบรรณ ในการฉุดนาคยาวประมาณ ๑๓๒ วา ขึ้นจากมหาสมุทร. ส่วนพวกยักษ์เมื่อมาไม่ปรากฏ เมื่อประหารก็ไม่ปรากฏ, แต่สัตว์ที่พวกยักษ์เหล่านั้นประหารแล้วย่อมตายในที่นั้นนั่นเอง พึงทราบฤทธิ์ ยักษ์ของพวกยักษ์เหล่านั้น ในเพราะเหตุนั้น พึงทราบเทวฤทธิ์ในเพราะความ ตายของพวกกุมภัณฑ์ ที่ท้าวเวสสุวรรณมองดูด้วยนัยนาวุธ ในกาลก่อน แต่ กาลเป็นพระโสดาบัน และในเพราะฤทธานุภาพของตนๆ แห่งพวกเทวดา เหล่าอื่น. พึงทราบราชฤทธิ์ ในเพราะความเหาะไปได้ ในอากาศเป็นต้น ของพระเจ้าจักรพรรดิพร้อมทั้งบริษัท ในเพราะความแผ่พระราชอำนาจไป เป็นต้น ในที่โยชน์หนึ่ง ทั้งเบื้องต่ำและเบื้องบนของพระเจ้าอโศก และใน เพราะการฆ่าเสียซึ่งกุฎุมพีชื่อว่าจูฬสุมนะด้วยการตอกเขี้ยวแห่งจอมนระชาว สิงหลพระนามว่าปิตุราช ดังนี้แล.


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 387

ส่วนพระอาจารย์บางพวก แสดงพระสูตรทั้งหลายเป็นต้นว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เรื่องอื่นยังมีอยู่อีก สมณะหรือพราหมณ์ ผู้มีฤทธิ์ ถึงความ เป็นผู้มีความชำนาญแห่งจิต ย่อมเป็นผู้เพ่งเล็งทารกที่อยู่ในท้องของหญิงอื่น ด้วยใจอันลามกว่า ทำไฉนหนอ หญิงคนนี้ไม่พึงตลอดทารกที่อยู่ในท้องนั้น โดยความสวัสดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ก็เป็นการเบียดเบียนสัตว์ที่ อยู่ในครรภ์ ดังนี้ แล้วกล่าวถึงกรรม คือการเบียดเบียนสัตว์อื่น แม้ด้วย ภาวนามยฤทธิ์, และปรารถนาความพินาศไปแห่งฤทธิ์ พร้อมกับการเบียดเบียน สัตว์อื่นเหมือนการแตกแห่งหม้อน้ำ ที่เขาโยนขึ้นไปบนเรือนที่ถูกไฟไหม้ ฉะนั้น. คำที่กล่าวมานั้น เป็นแค่เพียงความปรารถนาของเกจิอาจารย์เหล่านั้น เท่านั้น. เพราะเหตุไร?. เพราะไม่สมด้วย กุสลัตติกะ เวทนัตติกะ วิตักกัตติกะ และปริตตัตติกะ, ข้อนี้อย่างไร?. ก็ชื่อว่าภาวนามยฤทธิ์นี้ ในกุสลัทติกะ เป็นทั้งกุศลด้วย เป็นทั้งอัพยากฤตด้วย, ปาณาติบาตเป็นอกุศล, ในเวทนัตติกะ สัมปยุตด้วยอทุกขมสุข ; ปาณาติบาตสัมปยุตด้วยทุกข์ ใน วิตักกัตติกะ เป็นอวิตักกอวิจาร, ปาณาติบาตเป็นสวิตักกสวิจาระ, ในปริตตัตติกะเป็นมหัคคตะ, ปาณาติบาต เป็นปริตตะ

[อธิบายวัตถุที่เป็นเครื่องประหาร]

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย นี้ดัง ต่อไปนี้:- เครื่องประหารใด ย่อมนำเสีย ; เหตุนั้น เครื่องประหารนั้น ชื่อว่า สิ่งนำเสีย. ถามว่า นำเสียซึ่งอะไร? ตอบว่า นำเสียซึ่งชีวิต. อีก อย่างหนึ่ง เครื่องประหารใด อันบุคคลพึงนำไป ; เหตุนั้น เครื่องประหารนั้น ชื่อว่าสิ่งอันบุคคลพึงนำไป อธิบายว่า ; เครื่องประหารอันบุคคลพึงจัดเตรียม ไว้ ศัสตรานั้นด้วย เป็นสิ่งนำเสียด้วย ; เหตุนั้น ชื่อศัสตราอันนำเสีย.


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 388

บทว่า อสฺส ได้แก่ กายของมนุษย์.

บทว่า ปริเยเสยฺย มีความว่า พึงทำโดยประการที่ตนจะได้. อธิบาย ว่า พึงจัดเตรียมไว้. ด้วยคำว่า สตฺถหารกํ สตฺถหารกํ วาสฺส ปริเยเสยฺย นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงถาวรประโยค. เมื่อจะถือเอาเนื้อความแม้โดย ประการอื่นจากนี้แล้ว ภิกษุจะพึงเป็นปาราชิกด้วยเหตุสักว่า ศัสตราอันตนแสวง หามาแล้วเท่านั้น. อันที่จริง ข้อนั้นไม่ถูก แต่ในพระบาลี ท่านพระอุบาลี เถระ ไม่เอื้อเฟื้อพยัญชนะทั้งปวง เพื่อจะแสดงเฉพาะศัสตราที่สงเคราะห์เข้า ในถาวรประโยค ในคำว่า สตฺถหารกํ นี้ เท่านั้น จึงกล่าวไว้ในบทภาชนะ ว่า อสึ วาฯ เปฯ รชฺชํ วา ดังนี้. บรรดาเครื่องประหารเหล่านั้น เครื่อง ประหารที่มีดมชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งนอกจากที่กล่าวแล้ว พึงทราบว่า เป็นศัสตรา. และพึงทราบว่า สงเคราะห์ไม้ค้อน ก้อนหิน ยาพิษและเชือก เข้าเป็นศัสตราด้วย เพราะเป็นเครื่องผลาญชีวิตให้พินาศ.

พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า มรณวณฺณํ วา นี้ ดังต่อไปนี้:- ภิกษุ แม้แสดงโทษในความเป็นอยู่ โดยนัยมีคำว่า จะมีประโยชน์อะไร ด้วยความ เป็นอยู่อันชั่วช้าลามกเช่นนี้ ของท่านผู้ไม่ได้เพื่อบริโภคโภชนะอันดี ดังนี้เป็น ต้น แม้กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความตาย โดยนัยมีคำว่า อุบาสก! ท่านแล เป็นผู้ทำกรรมงามไว้แล้ว ฯลฯ บาปท่านไม่ได้ทำเลย ความตายของท่านดีกว่า ความเป็นอยู่ ท่านทำกาละจากอัตภาพนี้แล้ว ฯลฯ จักยังตนให้เที่ยวไป คือ จักมีนางอัปสรแวดล้อม ถึงความสุข อยู่ในสวนนันทวัน ดังนี้ เป็นต้น ชื่อว่า พรรณนาคุณแห่งความตายทีเดียว. ฉะนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวบทภาชนะแยกออกเป็น ๒ ส่วนว่า ชี้โทษในความเป็นอยู่ ๑ สรรเสริญคุณใน ความตาย ๑.


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 389

คำว่า มรณาย วา สมาทเปยฺย มีความว่า พึงแนะนำให้ฉวย เอาอุบาย เพื่อประโยชน์แก่ความตาย. ส่วนคำว่า ท่านจงตกบ่อตายหรือว่าจง ตกเหวตาย เป็นต้น แม้ที่พระอุบาลีเถรมิได้กล่าวไว้ ในคำมีอาทิว่า สตฺถํ วา อาหร ดังนี้ ทั้งหมด ก็พึงทราบว่า ท่านกล่าวไว้แล้วโดยใจความนั้น เอง เพราะเป็นคำซึ่งมีนัยดังกล่าวแล้วข้างหน้า. จริงอยู่ ใครๆ ก็ไม่สามารถ กล่าวคำชักชวนทุกอย่างโดยสิ้นเชิงได้.

บทว่า อิติ จิตฺตมโน มีความว่า เธอมีจิตอย่างนี้ มีใจอย่างนั้น อธิบายว่า เธอมีจิตหมายความตาย มีใจหมายความตายดังกล่าวแล้วในคำนี้ว่า ความตายของท่านดีกว่าความเป็นอยู่ ก็เพราะในบทว่า จิตฺตมโน นี้ มนศัพท์ ท่านกล่าวแล้ว เพื่อแสดงใจความแห่งจิตตศัพท์ แต่จิตและใจ แม้ทั้ง ๒ นี้ โดยใจความ ก็เป็นอันเดียวกันนั่นเอง ; เพราะฉะนั้น เพื่อแสดงความไม่ต่างกัน โดยใจความแห่งจิตและใจนั้น ท่านพระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ว่า ธรรมชาติอันใด เป็นจิต ธรรมชาติอันนั้น ก็คือใจ, ธรรมชาติอันใดเป็นใจ ธรรมชาติอันนั้น ก็คือจิต. ส่วนเนื้อความยังไม่ได้กล่าวก่อน แม้เพราะถอนอิติศัพท์ ออกเสีย. อิติศัพท์ พึงชักมาด้วยอำนาจเป็นเจ้าหน้าที่ในบทว่า จิตฺดสงฺกปฺโป นี้.

จริงอยู่ บทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นี้ แม้ไม่ได้ตรัสอย่างนี้ว่า อิติจิตฺตสงฺกปฺโป ก็พึงทราบว่า เป็นอันตรัสแล้วโดยความเป็นเจ้าหน้าที่นั่นเอง. จริงอย่างนั้น เมื่อท่านจะแสดงเฉพาะเนื้อความนั้น แห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น จึงกล่าวว่าคำว่า มรณสญฺี (มีความหมายในอันตาย) เป็นอาทิ. แต่คำ ว่า สงฺกปฺโป นี้ ในบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น มิได้เป็นชื่อของวิตก อันที่ แท้ คำนั้นเป็นคำเรียกกรรมเพียงการจัดแจง และการจัดแจงนั้นย่อมถึงความ


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 390

สงเคราะห์ด้วยความหมาย ความจงใจ และความประสงค์ในอรรถนี้ ; เพราะ เหตุนั้น ผู้ศึกษาพึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ชื่อว่าผู้มีจิตตสังกัปปะ เพราะ อรรถวิเคราะห์ว่า เธอมีความจัดแจงแปลก คือมีประการต่างๆ. จริงอย่างนั้น แม้บทภาชนะแห่งบทว่า จิตฺตสงฺกปฺโป นั้น ท่านพระอุบาลีเถระ ก็กล่าว ด้วยอำนาจแห่งความหมาย ความจงใจ และความประสงค์. แต่ในอธิการนี้ วิตก พึงทราบว่า เป็นความประสงค์.

สองบทว่า อุจฺจาวเจหิ อากาเรหิ มีความว่า ด้วยอุบายทั้งหลาย ที่ใหญ่และใหญ่โดยลำดับ. บรรดาการพรรณนาคุณความตายและการชักชวน ในความตายเหล่านั้น ในการพรรณนาคุณความตายก่อน อวจาการตา พึง ทราบ ด้วยอำนาจการชี้โทษในความเป็นอยู่ อุจฺจาการตา พึงทราบ ด้วย อำนาจการสรรเสริญคุณแห่งความตาย. ส่วนในการชักชวน อุจฺจาการตา พึง ทราบ ด้วยอำนาจการชักชวนในความตาย เพราะเหตุทั้งหลาย มีกำมือและ ปรบเข่าเป็นต้น อวจาการตา พึงทราบ ด้วยอำนาจการใส่ยาพิษเข้าในเล็บ มือ ของบุคคลผู้บริโภคร่วมกัน แล้วชักชวนในความตายเป็นต้น.

ในคำว่า โสพฺเภ วา นรเก วา ปปาเต วา นี้มีวินิจฉัยดังนี้:- บ่อที่ลึก ซึ่งมีตลิ่งชันโดยรอบชื่อว่า โสพภะ. ที่ชื่อว่า นรก ได้ แก่ ชอก ใหญ่ที่เกิดเองโดยแท้ ในเมื่อพื้นดินแตกระแหงในที่นั้นๆ อันเป็นที่ซึ่งช้างตก ไปบ้าง พวกโจรแอบซ่อนอยู่บ้าง. ที่ชื่อว่า ปปาตะ ได้แก่ ประเทศที่ขาด แหว่งข้างเดียว ในระหว่างภูเขา หรือในระหว่างบนบก.

สองบทว่า ปุริเม อุปาทาย ความว่า ทรงเทียบเคียงบุคลผู้เสพ เมถุนธรรมและผู้ถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ แล้วต้องอาบัติปาราชิก. คำ ที่เหลือ ปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในก่อน และเพราะมีเนื้อ ความตื้น ฉะนี้แล.


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 391

[อธิบายมาติกาในบทภาชนีย์]

ท่านพระอุบาลีเถระ ครั้นจำแนกสิกขาบทที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อุเทศไว้แล้วตามลำดับบทอย่างนี้ บัดนี้ เมื่อจะตั้งมาติกาแสดงมนุสสวิคคหปาราชิกโดยพิสดารไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สามํ อธิฏฺาย ดังนี้อีก เพื่อให้ ภิกษุทั้งหลายถือเอานัยโดยอาการทุกอย่าง และเพื่อป้องกันโอกาสของปาปบุคคล ทั้งหลายในอนาคต เพราะเหตุว่า มนุสสวิคคหปาราชิก พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงในบทภาชนีย์ในหนหลัง โดยสังเขปเท่านั้น ไม่ได้ทรงยกอาบัติขึ้น ปรับแล้ววางแบบแผนไว้โดยพิสดาร และภิกษุทั้งหลาย ไม่สามารถจะถือเอา นัยไว้โดยอาการทั้งปวง ในเนื้อความที่ทรงแสดงไว้โดยสังเขป ทั้งแม้ปาปบุคคล ทั้งหลายในอนาคต ก็มีโอกาส จึงกล่าวคำว่า สามนฺติ สยํ หนติ ดังนี้ เป็นต้น. ในคำเหล่านั้น มีถ้อยคำสำหรับวินิจฉัยพร้อมด้วยการพรรณนาบทที ยังไม่ง่าย ดังต่อไปนี้:-

บทว่า กาเยน ความว่า ด้วยมือ เท้า กำมือ หรือเข่า หรือด้วยอวัยวะ น้อยใหญ่ อย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า กายปฏิพทฺเธน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีดาบเป็นต้น ที่ไม่พ้นจากกาย.

บทว่า นิสฺสคฺคิเยน ความว่า ด้วยเครื่องประหารมีลูกศรและหอก เป็นต้น ที่พ้นจากกาย หรือจากของที่เนื่องด้วยกาย ด้วยลำดับแห่งคำเพียง เท่านี้ ประโยคทั้ง ๒ คือ สาหัตถิกประโยคและนิสสัคคิยประโยคเป็นอันท่าน กล่าวแล้ว. ในประโยคทั้ง ๒ นั้น แต่ละประโยคมี ๒ อย่าง โดยจำแนกเป็น ประโยคเจาะจงและไม่เจาะจง.


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 392

บรรดาประโยคเจาะจงและไม่เจาะจงนั้น พึงทราบวินิจฉัยในประโยค เจาะจง ดังต่อไปนี้:- ภิกษุประหารเจาะจงผู้ใด ด้วยการตายของผู้นั้นนั่นแล ภิกษุนั้นย่อมถูกกรรมผูกพัน. ในประโยกที่ไม่เจาะจงอย่างนี้ว่า ผู้ใดผู้หนึ่ง จง ตาย ดังนี้ ด้วยการตายของผู้ใดผู้หนึ่ง เพราะการประหารเป็นปัจจัย ภิกษุ ย่อมถูกกรรมผูกพัน. ทั้ง ๒ ประโยคผู้ถูกประหารจะตายในขณะพอถูกประหาร หรือจะตายในภายหลังด้วยโรคนั้นก็ตามที ภิกษุย่อมถูกกรรมผูกพันในขณะที่ผู้ ตายถูกประหารนั่นเอง. แต่เมื่อภิกษุให้ประหารด้วยความประสงค์เพื่อการตาย เมื่อผู้ถูกประหารไม่ตายด้วยการประหารนั้น จึงให้การประหารด้วยจิตดวงอื่น ต่อไป ถ้าผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารครั้งแรก แม้ในภายหลัง ภิกษุถูก กรรมผูกพันในเวลาประหารครั้งแรกเท่านั้น ถ้าตายด้วยการประหารครั้งที่ ๒ ไม่มีปาณาติบาต. แม้เมื่อผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารทั้ง ๒ ครั้ง ภิกษุก็ ถูกกรรมผูกพันแท้ ด้วยการประหารครั้งแรกนั่นเอง. เมื่อไม่ตายด้วยการ ประหารทั้ง ๒ คราวก็ไม่มีปาณาติเหมือนกัน. ในการที่คนแม้มากให้ การประหารแก่บุคคลผู้เดียว ก็นัยนี้ ถึงในการที่คนมากคนให้การประหารแม้ นั้น ผู้ถูกประหารตายด้วยการประหารของผู้ใด กรรมพันธ์ ย่อมมีแก่ผู้นั้นเท่า นั้น ฉะนี้แล.

[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นเป็นอนันตริยกรรมและปาราชิก]

อนึ่ง ในอธิการแห่งตติยปาราชิกนี้ เพื่อความฉลาดในกรรมและอาบัติ พึงทราบแม้หมวด ๔ ว่าด้วยเรื่องแพะ. จริงอยู่ ภิกษุรูปใด สำรวจดูแพะซึ่ง นอนอยู่ในที่แห่งหนึ่ง ด้วยคิดในใจว่า เราจักมาฆ่าในเวลากลางคืน. และ มารดาหรือบิดาของภิกษุนั้นหรือพระอรหันต์ห่มผ้ากาสาวะสีเหลือง แล้ว นอน อยู่ในโอกาสที่แพะนอน. เธอเวลากลางคืน ทำในในว่า เราจะฆ่าแพะให้


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 393

ตาย ดังนี้ จึงฆ่ามารดาบิดาหรือพระอรหันต์ตาย. เพราะมีเจตนาอยู่ว่า เรา จะฆ่าวัตถุนี้ให้ตาย เธอจึงเป็นผู้ฆ่าด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้อง ปาราชิกด้วย. มีคนอาคันตุกะอื่นบางคนนอนอยู่. เธอทำในใจว่า เราจะฆ่า แพะให้ตาย จึงฆ่าคนอาคันตุกะนั้นตาย จัดเป็นฆาตกรด้วย ต้องปาราชิกด้วย แต่ไม่ถูกต้องอนันตริยกรรม. มียักษ์หรือเปรตนอนอยู่. เธอนั้นทำในใจว่า เราจะฆ่าแพะให้ทาย จึงฆ่ายักษ์หรือเปรตนั้นตาย, เป็นเฉพาะฆาตกร ไม่ถูก ต้องอนันตริยกรรมและไม่ต้องปาราชิก แต่เป็นถุลลัจจัย. ไม่มีใครๆ อื่นนอน อยู่ มีแต่แพะเท่านั้น. เธอฆ่าแพะตัวนั้นตาย เป็นฆาตกรด้วย ต้องปาจิตตีย์ ด้วย. ภิกษุใดทำในใจว่า เราจะฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์ คนใดคนหนึ่ง ให้ตาย ดังนี้แล้ว ก็ฆ่าบรรดาท่านเหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคนหนึ่งให้ตาย ภิกษุนั้น เป็นฆาตกรด้วย ถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย ต้องปาราชิกด้วย. เธอ ทำในใจว่า เราจักฆ่ามารดาบิดาและพระอรหันต์เหล่านั้นนั่นแหละ คนใดคน หนึ่งให้ตาย แล้วก็ฆ่าอาคันตุกะคนอื่นตาย หรือฆ่ายักษ์เปรตหรือแพะตาย. ผู้ศึกษาหญิงทราบ (อาบัติคือปาราชิก ถุลลัจจัยและปาจิตตีย์) โดยนัยดังกล่าว แล้วในก่อนนั่นแล. แต่โนวิสัยแห่งการฆ่าสัตว์มีอาคันตุกะเป็นต้นนี้ เจตนา ย่อมเป็นของทารุณ แล.

[ภิกษุฆ่าพ่อแม่เป็นต้นในกองฟางไม่ต้องปาราชิก]

ในวิสัยแห่งตติยปาราชิกนี้ ผู้ศึกษาควรทราบเรื่องทั้งหลายแม้เหล่าอื่น มีกองฟางเป็นต้น. จริงอยู่ ภิกษุใด ทำในใจว่า เราจักเช็คดาบหรือที่เปื้อนt เลือด แล้วสอดเข้าไปในกองฟาง ฆ่ามารดาก็ดี บิดาก็ดี พระอรหันต์ก็ดี คนอาคันตุกะก็ดี ยักษ์ก็ดี เปรตก็ดี สัตว์ดิรัจฉานก็ดี ซึ่งนอนอยู่ในกองฟาง นั้นตาย ภิกษุนั้น ด้วยอำนาจแห่งโวหาร เรียกว่า ฆาตกร ได้ แต่เพราะ


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 394

ไม่มีวธกเจตนา เธอจึงไม่ถูกต้องกรรม ทั้งไม่ต้องอาบัติ. ส่วนภิกษุใด เมื่อ กำลังสอด (ดาบหรือหอกนั้น) เข้าไปด้วยอาการอย่างนั้น กำหนดได้ว่าสัมผัส กับร่างกาย ก็สอดเข้าไปฆ่าให้ตายด้วยคิดว่า ชะรอยจะมีสัตว์อยู่ภายโนจงตาย เสียเถอะ. กรรมพันธ์ (ข้อผูกพันทางกรรม) และอาบัติของเธอนั้น พึงทราบ โดยสมควรแก่เรื่องเหล่านั้น. เมื่อภิกษุสอด (ดาบหรือหอกนั้น) เข้าไปเพื่อ เก็บไว้ในกองฟางนั้นก็ดี โยนเข้าไปที่พุ่มไม้ป่าเป็นต้น ก็ดี ก็นัยนี้.

[ภิกษุฆ่าพ่อในสนามรบเป็นทั้งปาราชิกและปิตุฆาต]

ภิกษุใด คิดว่า เราจะฆ่าโจรให้ตาย แล้วก็ฆ่าบิดาซึ่งกำลังเดินไปด้วย เพศเหมือนโจรตาย ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องอนันตริยกรรมด้วย เป็นปาราชิกด้วย. ส่วนภิกษุใด เห็นนักรบคนอื่นและบิดาซึ่งกำลังทำงาน (การรบ) อยู่ในเสนา ฝ่ายข้าศึก จึงยิงลูกศรไปเฉพาะตัวนักรบ ด้วยติดในใจว่า ลูกศรแทงนักรบ คนนั้นแล้วจักแทงบิดาของเรา. ภิกษุรูปนั้น ย่อมชื่อว่าเป็นปิติฆาตก์ (ผู้ฆ่า บิดา) ในเมื่อลูกศรพุ่งไปตามความประสงค์. เธอคิดอยู่ในใจว่า เมื่อนักรบ ถูกลูกศรแทงแล้ว บิดาของเราก็จักหนีไป ดังนี้แล้วจึงยิงลูกศรไป ลูกศรไม่ พุ่งไปตามความประสงค์ กลับทำให้บิดาตาย เธอรูปนั้น ท่านเรียก ปิตุฆาตก์ (ผู้ฆ่าบิดา) ด้วยอำนาจแห่งโวหาร แต่ไม่เป็นอนันตริยกรรม ด้วยประการ ฉะนี้แล.

บทว่า อธิฏฺิหิตฺวา ได้แก่ ยืนอยู่ในที่ใกล้. บทว่า อาณาเปติ ได้แก่ ภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวหรือไม่เจาะตัว. บรรดาการสั่งเจาะตัวไม่เจาะตัวนั้น ครั้นหมู่เสนาฝ่ายข้าศึก ปรากฏขึ้นเฉพาะแล้ว เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งไม่เจาะตัว เลยว่า เธอจงแทงอย่างนี้ จงประหารอย่างนั้น จงฆ่าอย่างนี้ เป็นปาณาติบาต แก่เธอทั้ง ๒ รูป มีประมาณเท่าจำนวนข้าศึกที่ภิกษุผู้รับสั่งฆ่า. บรรดาภิกษุ


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 395

ผู้สั่งและผู้รับสั่งนั้น ถ้าภิกษุผู้สั่งมีมารดาและบิดาอยู่ด้วย, เธอผู้สั่ง ย่อมต้อง อนันตริยกรรมด้วย, ถ้ามีพระอรหันต์อยู่ด้วย, เธอแม้ทั้ง ๒ รูป ย่อมต้อง อนันตริยกรรมด้วย. ถ้าภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นมีมารดาและบิดาอยู่ (ในสนามรบ) , ภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นแล ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวว่า เธอจงแทง จงประหารจงฆ่านักรบคนนั้น ผู้สั่ง ต่ำ มีเสื้อสีแดง มีเสื้อสีเขียว ซึ่งนั่งอยู่บนคอช้าง (หรือ) นั่งอยู่ตรงกลาง (หลังช้าง) , ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่านักรบคนนั้นนั่นเอง, เป็นปาณาติบาตแม้ด้วยกันทั้ง ๒ รูป, และในเรื่อง แห่งอนันตริยกรรม ย่อมต้องอนันตริยกรรมด้วยกันทั้ง ๒ รูป. ถ้าภิกษุผู้รับ สั่งฆ่าคนอื่นตาย, ปาณาติบาต ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง. อาณัตติกประโยค ย่อมเป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยคำว่า อธิฏฺหิตฺวา อาณาเปติ เป็นต้นนั่น.

[ฐานะ ๕ และ ๖ พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]

ในอาณัตติกประโยคนั้น :-

ผู้พิจารณาที่ฉลาด พึงสอบสวน ฐานะ ๕ ประการ คือ วัตถุ กาล โอกาส อาวุธ และอิริยาบถ แล้วพึงทรงไว้ซึ่ง อรรถคดี.

อีกนัยหนึ่ง:-

เหตุทำให้การสั่งแน่นอน (สำเร็จได้) มี ๖ อย่างนี้ คือ วัตถุ กาล โอกาส อาวุธ อิริยาบถ และกิริยาพิเศษ.

บรรดาฐานะมีวัตถุเป็นต้นนั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ สัตว์ที่จะพึง ถูกฆ่าให้ตาย.


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 396

ฐานะว่า กาล ได้แก่ กาลมีกาลเช้าและเย็นเป็นต้น และกาลมีวัย เป็นหนุ่มสาวมีเรี่ยวแรงและมีความเพียรเป็นต้น.

ฐานะว่า โอกาส ได้แก่ สถานทีมีอาทิอย่างนี้ คือ บ้าน ป่า ประตูเรือน ท่ามกลางเรือน ถนน รถ หรือทาง ๓ แพร่ง.

ฐานะว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธมีอาทิอย่างนั้น คือ ดาบ ลูกศร หรือหอก.

ฐานะว่า อิริยาบถ ได้แก่ อิริยาบถมีอาทิอย่างนี้ คือ การเดิน หรือนั่ง ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าให้ตาย.

ฐานะว่า กิริยาพิเศษ ได้แก่ กิริยาที่ทำมีอาทิอย่างนี้ คือ แทง ตัด ทำลาย ถลกหนังศีรษะทำให้เกลี้ยงเหมือนสังข์ (๑) .

[อธิบายวัตถุที่จะพึงถูกฆ่า]

ก็ถ้าหากว่า ภิกษุผู้รับสั่งทำให้วัตถุพลาดไป ไพล่ไปฆ่าคนอื่นจาก บุคคลที่ผู้สั่ง สั่งให้ฆ่า, หรือถูกสั่งว่า ท่านจงประหารข้างหน้าฆ่าให้ตาย ไพล่ไปประหารข้างหลัง หรือข้างๆ หรือที่อวัยวะแห่งใดแห่งหนึ่งให้ตายไป, ข้อผูกพันทางกรรมย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง, ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้รับสั่งเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้รับสั่ง ไม่ทำวัตถุให้พลาดไป ฆ่าผู้นั้น ตายตามที่สั่งไว้. ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่เธอทั้ง ๒ รูป คือ แก่ผู้สั่ง ในขณะที่สั่ง ผู้รับสั่งในขณะที่ประหาร. ก็ในเรื่องวัตถุนี้ ความแปลกกันแห่ง กรรมและความแปลกกันแห่งอาบัติ ย่อมมี เพราะความแปลกกันแห่งวัตถุ. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย และผิดที่หมาย ในวัตถุอย่างนี้ก่อน.


(๑) ความหมายของศัพท์นี้ ในสารัตถทีปนี ๒/๔๐๕ อธิบายไว้ว่า ต้องตัดหนังออก (จากศีรษะ) //กำหนดเพียงหมวกหู และหลุมคอ แล้วเอาก้อนกรวดขัดกะโหลกศีรษะให้มีสีขาวเหมือนสังข์.


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 397

[อธิบายกาลที่สั่งให้ทำการฆ่า]

ส่วนในกาล มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใดได้รับคำสั่งว่า ท่านจงฆ่า ให้ตายในเวลาเช้า ไม่กำหนดว่า วันนี้ หรือพรุ่งนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขา ตายเวลาเช้า ในกาลใดกาลหนึ่ง ความผิดที่หมาย ย่อมไม่มี. ส่วนภิกษุรูปใด ได้รับสั่งว่า ท่านจงฆ่าให้ตายในเวลาเช้าวันนี้, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าเขาตาย ในเวลาเที่ยงวัน หรือเวลาเย็น หรือเวลาเช้าพรุ่งนี้, ย่อมผิดที่หมาย, สำหรับ ภิกษุผู้สั่ง ไม่มีความผูกพันทางกรรม. แม้ในเมื่อภิกษุพยายามจะฆ่าให้ตายใน เวลาเช้า แต่กลายเป็นเที่ยงวันไป ก็มีนัยเหมือนกัน. บัณฑิตพึงทราบความ ถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในประเภทแห่งกาลทั้งปวงโดยนัยนี้.

[อธิบายโอกาสที่สั่งให้ทำการฆ่า]

แม้ในโอกาส มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจงฆ่า บุคคลนั่น ผู้ยืนอยู่ในบ้านให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลนั้นตายในที่ ใดที่หนึ่ง. ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใดถูกสั่งกำหนดไว้ว่า จงฆ่าให้ตาย ในบ้านเท่านั้น, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้นฆ่าเขาตายในป่า, อนึ่ง เธอถูกสั่งว่า จง ฆ่าให้ตายในป่า, แต่เธอฆ่าเขาตายในบ้าน, ถูกสั่งว่า จงฆ่าให้ตายที่ประตู ภายในบ้าน ฆ่าเขาตายตรงท่ามกลางเรือน, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบ ความถูกที่หมายและผิดที่หมายในความต่างกันแห่งโอกาสทั้งปวง โดยนัยนี้.

[อธิบายอาวุธที่เป็นเครื่องมือใช่ให้ฆ่า]

แม้ในอาวุธ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่าท่านจงเอาอาวุธ ฆ่าให้ตาย ไม่ได้กำหนดไว้ว่า ดาบ หรือลูกศร, ภิกษุผู้รับสั่งนั้น เอาอาวุธ ชนิดใดชนิดหนึ่งฆ่าให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า จงใช้ดาบฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ใช้ลูกศรฆ่า, หรือถูกสั่งว่า จงใช้ดาบ


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 398

เล่มนี้ฆ่า ผู้รับสั่งใช้ดาบเล่มอื่นฆ่า หรือถูกสั่งว่า จงเอาคมดาบเล่มเดียวนี้ เท่านั้นฆ่า แต่ภิกษุผู้รับสั่ง ใช้คมคาบนอกนี้หรือใช้ฝ่ามือ หรือใช้จะงอยปาก หรือใช้ด้ามกระบี่ฆ่า. ย่อมผิด ที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมายและ ผิดที่หมายในความแตกต่างกันแห่งอาวุธทั้งปวง โดยนัยนี้.

[อธิบายอิริยาบถที่สั่งให้ทำการฆ่า]

ส่วนในอิริยาบถ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจง ฆ่าบุคคลผู้นั่น ซึ่งกำลังเดินให้ตาย, แต่แม้ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น ฆ่าบุคคลผู้ กำลังเดินไปตาย ย่อมไม่ผิดที่หมาย. เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งว่า ท่านจงฆ่าบุคคล ผู้กำลังเดินอยู่เท่านั้น ให้ตาย แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าบุคคลผู้นั่งอยู่ตาย. หรือ ภิกษุผู้สั่ง สั่งว่า ท่านจงฆ่าบุคคลผู้นั่งอยู่เท่านั้น ให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าบุคคลผู้กำลังเดินไปตาย, ย่อมผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย และผิดที่หมาย ในความต่างแห่งอิริยาบถทั้งปวง โดยนัยนี้.

[อธิบายกิริยาพิเศษที่สั่งให้ทำการฆ่า]

แม้ในกิริยาพิเศษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า ท่านจง แทงให้ตาย ภิกษุผู้รับสั่งนั้น แทงให้ตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. ส่วนภิกษุรูปใด ถูกสั่งว่า จงแทงให้ตาย, แต่ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ตัด (ฟัน) ให้ตายเทียว, ย่อม ผิดที่หมาย. บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมายและผิดที่หมาย ในความต่างกัน แห่งกิริยาพิเศษทั้งปวง โดยนัยนี้.

ส่วนภิกษุรูปใด สั่ง ไม่กำหนด ด้วยอำนาจเพศว่า ท่านจงฆ่าคนผู้ที่ สูง ต่ำ ดำ ขาว ผอม อ้วน ให้ตาย, และภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าคนใดคนหนึ่ง เช่นนั้นตาย, ย่อมไม่ผิดที่หมาย. เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง ๒ รูป. แต่ถ้าภิกษุ ผู้สั่งนั้น สั่งหมายเอาตนเอง, และภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้สั่งนั้นเองตาย ด้วย


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 399

คิดว่า ท่านผู้สั่งนี้แหละ เป็นเช่นนี้, สำหรับภิกษุผู้สั่ง เป็นทุกกฏ, ภิกษุผู้ฆ่า เป็นปาราชิก. ภิกษุผู้สั่ง สั่งหมายเอาตนเอง, ภิกษุผู้รับสั่งนอกนี้ ฆ่าคนอื่น เช่นนั้นตาย ; ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น (จากอาบัติ) , เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ฆ่าเท่านั้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะไม่ได้กำหนดโอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้สั่ง แม้เมื่อสั่งหมายเอาตนเองก็กำหนดโอกาสไว้ว่า ท่านจงฆ่าบุคคลชื่อเห็นปานนี้ ซึ่งนั่งอยู่บนอาสนะพระเถระ หรือบนอาสนะพระมัชฌิมะ ในที่พักกลางคืน หรือที่พักกลางวัน ชื่อโน้น ให้ตาย, แต่ในโอกาสนั้น มีภิกษุรูปอื่นนั่งแทนอยู่, ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าภิกษุผู้ที่มานั่งอยู่นั้นตาย, ภิกษุผู้ฆ่า ย่อมไม่พ้น (จากอาบัติ) แน่, ภิกษุผู้สั่ง ก็ไม่พ้น. ถามว่า เพราะเหตุไร? แก้ว่า เพราะได้กำหนด โอกาสไว้. แต่ถ้าภิกษุผู้รับสั่ง ฆ่าเขาตาย เว้นจากโอกาสที่กำหนดไว้ ภิกษุ ผู้สั่ง ย่อมพ้น (จากอาบัติ) , นัยดังอธิบายมานี้ พระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้ เป็นหลักฐานดี ในมหาอรรถกถา, เพราะฉะนั้น ความไม่เอื้อเฟื้อในนัยนี้ บัณฑิตจึงไม่ควรทำ ฉะนี้แล.

อาณัตติกปโยคกถา ด้วยอำนาจมาติกาว่าอธิฏฐาย จบ

กถาว่าด้วยการสั่งทูต

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยใน ๔ วาระมีว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อาณาเปติ เป็นต้น ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงไขบทมาติกาว่า ทูเตน นี้.

ข้อว่า โส ตํ มญฺมาโน ความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง บอกว่า บุคคลชื่อนี้, ภิกษุผู้รับสั่งรูปนั้น เข้าใจว่าบุคคลนั้นแน่ จึงปลงบุคคล นั้นนั่นเองเสียจากชีวิต เป็นปาราชิกด้วยกันทั้ง ๒ รูป.


ความคิดเห็น 86    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 400

ข้อว่า ตํ มญฺมาโน อญฺํ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง เข้าใจบุคคล ที่ภิกษุผู้สั่ง สั่งให้ปลงเสียจากชีวิต แต่ไพล่ไปปลงบุคคลอื่นเช่นนั้นจากชีวิต เสีย, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่เป็นอาบัติ.

ข้อว่า อญฺํ มญฺมาโน ตํความว่า ภิกษุรูปใด อันภิกษุผู้สั่ง สั่งไว้แล้ว, เธอเห็นบุคคลผู้เป็นสหายที่มีกำลังของภิกษุผู้สั่งนั้น ซึ่ง ยืนอยู่ใน ที่ใกล้ จึงคิดว่า บุคคลผู้นี้ ย่อมขู่ด้วยกำลังของภิกษุผู้สั่งนี้, เราจะปลงบุคคล นี้จากชีวิตเสียก่อน เมื่อจะประหาร เข้าใจว่าเป็นบุคคลที่สั่งให้ฆ่านอกนี้แน่นอน ซึ่งเปลี่ยนกันมายืนอยู่ในที่นั้นแทนว่า เป็นสหาย จึงได้ปลงเสียจากชีวิต, เป็น ปาราชิกด้วยกันทั้ง ๒ รูป.

ข้อว่า อญฺํ มญฺมาโน อญฺํ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่ง คิด โดยนัยก่อนนั่นแหละว่า เราจะปลงบุคคลผู้เป็นสหายคนนี้ ของภิกษุผู้สั่งนั้น จากชีวิตเสียก่อน แล้วก็ปลงบุคคลผู้เป็นสหายนั่นแลจากชีวิต เป็นปาราชิกแก่ ภิกษุผู้รับสั่งนั้นเท่านั้น.

[อาณัตติกประโยคเรื่องสั่งทูตต่อ]

ในคำเป็นต้นว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ในนิเทสวารแห่งบทว่า ด้วยการนำคำสั่งสืบๆ กันมาแห่งทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- พึงเห็นว่าอาจารย์ รูปหนึ่ง อันเตวาสิก ๓ รูป มีชื่อว่า พุทธรักขิต ธรรมรักขิต และสังฆรักขิต.

บรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ภิกฺขุ ภิกฺขุํ อาณาเปติ ความว่า อาจารย์มีความประสงค์จะให้ฆ่าบุคคลบางคน จึงบอกเนื้อความนั้น แล้วสั่ง พระพุทธรักขิต.

สองบทว่า อิตฺถนฺนามสฺส ปาวท ความว่า (อาจารย์สั่งว่า) ดูก่อนพุทธรักขิต! คุณจงไปบอกเนื้อความนั่นแก่พระธรรมรักขิต.


ความคิดเห็น 87    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 401

ข้อว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามสฺส ปาวทตุ ความว่า แม้ พระธรรมรักชิต ก็บอกแก่พระสังฆรักขิต (ต่อไป).

ข้อว่า อิตฺถนฺนาโม อิตฺถนฺนามํ ชีวิตา โวโรเปตุ ความว่า พระธรรมรักขิตถูกท่านสั่งไว้อย่างนั้นแล้ว ก็สั่งท่านพระสังฆรักขิต (ต่อไป) ว่า จงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต, เพราะว่าบรรดาเราทั้ง ๒ ตัวท่านเป็นคน ผู้มีชาติกล้าหาญ สามารถในกรรมนี้.

ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส ความว่า เป็นอาบัติทุกกฏแก่อาจารย์ ผู้สั่งอยู่อย่างนั้นก่อน.

ข้อว่า โส อิตรสฺส อาโรเจติ ความว่า พระพุทธรักขิตบอก พระธรรมรักขิต พระธรรมรักขิต บอกพระสังฆรักขิตว่า อาจารย์ของพวกเรา สั่งอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต. ได้ยินว่า บรรดา เราทั้ง ๒ ตัวท่านเป็นบุรุษผู้กล้าหาญ เป็นทุกกฏ แม้แก่เธอเหล่านั้น ด้วย การบอกต่อกันไปอย่างนั้นเป็นปัจจัย.

สองบทว่า วธโก ปฏิคฺคณฺหาติ ความว่า พระสังฆรักขิตรับว่า ดีละ ผมจักปลง.

ข้อว่า มูลฏฺสฺส อาปตฺติ ถุลฺลจฺจยสฺส มีความว่า ครั้นเมื่อ คำสั่งนั้น พอพระสังฆรักขิตรับแล้ว เป็นถุลลัจจัยแก่อาจารย์, แต่มหาชนอัน อาจารย์นั้นซักนำในความชั่วแล้วแล.

สองบทว่า โส ตํ ความว่า ถ้าภิกษุนั้น คือพระสังฆรักขิตปลง บุคคลนั้น เสียจากชีวิตไซร้, เป็นปาราชิกทั้งหมด คือทั้ง ๔ คน และไม่ใช่ เพียง ๔ คนอย่างเดียว, เมื่อทำไม่ให้ลักลั่น สั่งตามลำดับโดยอุบายนี้ สมณะ ทั้งร้อย หรือสมณะตั้งพันก็ตาม เป็นปาราชิกด้วยกันทั้งหมด.


ความคิดเห็น 88    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 402

ในนิเทศแห่งบทวิสักกิยทูต มีวินิจฉัยดังนี้:-

ข้อว่า โส อญฺํ อาณาเปติ ความว่า ภิกษุนั้น คือพระพุทธรักขิต ที่อาจารย์สั่งไว้ไม่พบพระธรรมรักขิต หรือเป็นผู้ไม่อยากบอก จึงเข้า ไปหาพระสังฆรักขิตทีเดียว แล้วทำให้ลักลั่น สั่งว่า อาจารย์ของเราสั่งไว้ อย่างนี้ว่า ได้ยินว่า คุณจงปลงบุคคลชื่อนี้เสียจากชีวิต. จริงอยู่ ภิกษุนี้ ท่าน เรียกว่า วิสักกิยทูต เพราะทำให้ลักสั่นนั่นเอง.

ข้อว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส คือ เป็นทุกกฏแก่พระพุทธรักขิต เพราะสั่งก่อน.

ข้อว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส นั้น พึงทราบว่า เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมทีเดียว ในเมื่อพระสังฆรักขิตรับ. เมื่อเป็น อย่างนั้น อาบัติในเพราะรับ ไม่พึงมี, แต่แม้ในการรับชักสื่อ และพอใจใน การตาย ก็ยังเป็นอาบัติ, อย่างไร จะไม่พึงเป็นอาบัติ เพราะรับฆ่าเล่า เพราะเหตุนั้น ทุกกฏ มีแก่ภิกษุผู้รับนั่นเอง, ด้วยเหตุนั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสคำว่า มูลฏฺสฺส ในนัยนี้. และแม้ในนัยก่อน ก็พึงทราบ ทุกกฏนี้แก่ภิกษุผู้รับเหมือนกัน. แค่เพราะไม่มีโอกาส จึงไม่ตรัสทุกกฏนี้ไว้. เพราะฉะนั้น ภิกษุใดๆ รับ เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้นๆ เพราะมีการรับนั้นเป็น ปัจจัยแท้, นี้เป็นความชอบใจของเราทั้งหลายในเรื่องนี้แล. เหมือนอย่างว่า ในมนุสสวิคคหะนี้ฉันใด แม้ในอทินนาทาน ก็ฉันนั้นแล. ก็ถ้าพระสังฆรักขิต นั้นปลงบุคคลนั้นจากชีวิตได้ไซร้, เป็นปาราชิกทั้ง ๒ รูป คือ พระพุทธรักขิตผู้สั่ง และพระสังฆรักขิตผู้ฆ่า, ไม่เป็นอาบัติปาราชิกแก่พระอาจารย์เป็น ต้นเดิม เพราะการสั่งลักลั่น, ไม่เป็นอาบัติโดยประการทั้งปวงแก่พระธรารมรักขิต เพราะไม่รู้. ส่วนพระพุทธรักขิต ทำความสวัสดีแก่ภิกษุทั้ง ๒ รูป แล้วพินาศด้วยตนเอง ฉะนั้นแล.


ความคิดเห็น 89    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 403

ในนิเทศแห่ง คตปัจจาคตทูต มีวินิจฉัยดังนี้:-

ข้อว่า โส คนฺตฺวา ปุน ปจฺจาคจฺฉติ ความว่า ภิกษุผู้รับสั่งนั้น ไปสู่ที่ใกล้แห่งบุคคลซึ่งคนจะพึงปลงเสียจากชีวิตนั้น เมื่อไม่อาจปลงบุคคลนั้น จากชีวิต เพราะเขามีการอารักขาจัดไว้ดีแล้วจึงกลับมา.

ข้อว่า ยทา สกฺโกสิ ตทา ตํ มีความว่า ภิกษุผู้สั่งนั้น สั่งใหม่ว่า ต้องฆ่าในวันนี้ทีเดียวหรือ จึงเป็นอันฆ่า? ไปเถิด ท่านอาจเมื่อใด จงปลง เขาเสียจากชีวิต เมื่อนั้น.

สองบทว่า อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เพราะสั่งอีกอย่างนั้น ย่อมเป็นทุกกฏเหมือนกัน. ก็ถ้าบุคคลนั้น เป็นผู้จะพึงถูกปลงจากชีวิตแน่น ไซร้, เจตนาที่ยังอรรถให้สำเร็จ ย่อมเป็นเช่นกับผลที่เกิดในลำดับแห่งมรรค; เพราะฉะนั้น ภิกษุผู้สั่งนี้ จึงเป็นปาราชิกในขณะสั่งทีเดียว. ถ้าแม้ภิกษุผู้ฆ่า จะฆ่าบุคคลนั้นได้ โดยล่วงไป ๖๐ ปีไซร้, และภิกษุผู้สั่ง จะทำกาลกิริยา หรือสึกเสียในระหว่างนั้น, จักเป็นผู้ไม่ใช่สมณะทำกาลกิริยาหรือสึกแท้. ถ้า ผู้สั่งหมายเอามารดาบิดา หรือพระอรหันต์ สั่งอย่างนั้นในเวลาเป็นคฤหัสถ์ แล้วจึงบวช, คนผู้รับสั่งฆ่าบุคคลนั้นได้ ในเมื่อผู้สั่งนั้นบวชแล้ว, ผู้สั่ง ย่อม เป็นผู้ฆ่ามารดา ฆ่าบิดา ฆ่าพระอรหันต์แต่ในเวลาเป็นคฤหัสถ์ทีเดียว; เพราะ เหตุนั้น บรรพชา อุปสมบทของเขา ย่อมไม่ขึ้นเลย. ถ้าแม้บุคคลที่จะพึง ถูกฆ่า ในขณะสั่งยังเป็นปุถุชนอยู่, แต่เป็นพระอรหันต์ในเวลาที่ถูกผู้รับสั่งฆ่า, อีกอย่างหนึ่ง บุคคลที่จะพึงถูกฆ่านั้น ได้การประหารจากผู้รับสั่งแล้วอาศัย ศรัทธามีทุกข์เป็นมูล เจริญวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต แล้วทำกาลกิริยาไป เพราะอาพาธนั้นนั่นเอง, ผู้สั่ง ย่อมเป็นผู้ฆ่าพระอรหันต์ในขณะสั่งนั่นเอง, ส่วนผู้ฆ่าย่อมเป็นปาราชิก ในขณะทำความพยายามในที่ทั้งปวงทีเดียวแล.


ความคิดเห็น 90    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 404

ก็ในบรรดาวาระทั้ง ๓ ที่พระอุบาลีเถระกล่าวไว้ เพื่อแสดงความถูก ที่หมายและผิดที่หมาย ในบทมาติกาที่ตรัสด้วยอำนาจทูตทั้งหมดนี้นั้น บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในปฐมวารก่อน. ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมพูดาคำนั้นเบาๆ หรือ เพราะภิกษุผู้รับสั่งนั้นเป็นคนหูหนวก จึงประกาศให้ได้ยินคำสั่งนี้ว่า เธอจง อย่าฆ่า, ไม่ได้; เพราะเหตุนั้นภิกษุผู้ต้นเดิมจึงไม่พ้น. ในทุติยวาร พ้นได้ เพราะท่านประกาศให้ได้ยิน. ส่วนในตติยวาร แม้ทั้ง ๒ รูป ก็พ้นได้ เพราะ ภิกษุที่เป็นต้นเดิมนั้นประกาศให้ (ภิกษุผู้รับสั่ง) ได้ยิน และเพราะภิกษุผู้รับ สั่งนอกนี้ ก็รับคำว่า ดีละ แล้วงดเว้นเสีย ฉะนั้นแล.

ทูตกถา จบ

เรื่องที่ไม่ลับ สำคัญว่าที่ลับ

ใน อรโห รโหสัญญินิเทศ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:-

บทว่า อรโห ได้แก่ ต่อหน้า. บทว่า รโห ได้แก่ ลับหลัง. บรรดาชน ๒ คน (คือ ผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลัง และผู้มีความสำคัญ ลับหลังว่าต่อหน้านั้น) ภิกษุใด เมื่อภิกษุผู้มีเวรกัน มาพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย แล้วนั่งอยู่ข้างหน้านั่นเอง ในเวลาอุปัฏฐาก ไม่ทราบข้อที่เธอมา เพราะโทษ คือความมืด พอใจความตายของภิกษุผู้มีเวรกันนั้น จึงพูดจาถ้อยคำเช่นนี้ขึ้น ว่า เจ้าพระคุณ! ขอให้ภิกษุมีชื่ออย่างนี้ถูกฆ่า, ทำไมพวกโจร จึงไม่ฆ่ามัน เสีย, งูจึงไม่กัดมันเสีย, ใครๆ จึงไม่เอาศัสตราหรือยาพิษมาวางมันเสีย, ภิกษุนี้ ชื่อว่าผู้มีความสำคัญต่อหน้าว่าลับหลังพูดจา. อธิบายว่า ผู้มีความ สำคัญในที่ต่อหน้านั้นว่าลับหลัง. ฝ่ายภิกษุใด เห็นภิกษุผู้มีเวรกันนั้นนั่งอยู่


ความคิดเห็น 91    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 405

ข้างหน้า เป็นผู้มีความสำคัญว่า เธอยังนั่งอยู่ที่นี้เอง พูดจาขึ้นตามนัยก่อน นั้นแล ในเมื่อเธอแม้ไปพร้อมกับภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำอุปัฏฐากแล้ว กลับไป, ภิกษุนี้ชื่อว่าผู้มีความสำคัญลับหลังว่าต่อหน้าพูดจา. บุคคลผู้มีความสำคัญใน ต่อหน้าว่าต่อหน้า และบุคคลผู้มีความสำคัญในลับหลังว่าลับหลัง ผู้ศึกษาพึง ทราบโดยอุบายนี้แล. และพึงทราบว่า เป็นทุกกฏทุกๆ คำพูดแก่ภิกษุเหล่านั้น แม้ทั้ง ๔ รูป.

[อธิบายการพรรณนาความตายด้วยกาย]

บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัยในนิเทศแห่งมาติกา ๕ มีพรรณนาด้วยกาย เป็นต้น ที่ท่านพระอุบาลีกล่าวไว้ เพื่อแสดงวิภาคแห่งการพรรณนาความตาย.

ข้อว่า กาเยน วิการํ ทสฺเสติ (๑) มีความว่า เขาจะรู้ได้ว่า เนื้อ ความนี้ อันบุคคลนี้กล่าวว่า ผู้ใดใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย หรือเคี้ยวกินยาพิษ ตาย หรือเอาเชือกผูกคอตาย หรือกระโดดบ่อเป็นต้นตาย, ได้ยินว่า ผู้นั้น จะได้ทรัพย์ จะได้ยศ หรือจะไปสวรรค์ ดังนี้ด้วยประการใด, ภิกษุแสดง ด้วยประการนั้น ด้วยอวัยวะทั้งหลายมีหัวแม่มือ เป็นต้น.

ข้อว่า วาจาย ภณติ ความว่า ภิกษุลั่นวาจา กล่าวเนื้อความนั้น นั่นแล. วาระที่ ๓ เป็นอันกล่าวแล้ว ด้วยอำนาจแห่งวาระทั้ง ๒. ทุกๆ วาระ ปรับเป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค แห่งการพรรณนา, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ พรรณนา ในเพราะทุกข์เกิดขึ้นแก่เขา, เมื่อบุคคลที่ตนเจาะจงทำการพรรณนา ตายไป เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้พรรณนาในขณะที่พรรณนาทีเดียว. ผู้นั้น ย่อม ไม่รู้ข้อความนั้น ผู้อื่นรู้แล้วคิดว่า เราได้อุบายเป็นเหตุเกิดความสุขแล้วหนอ ดังนี้ ตายไปเพราะการพรรณนานั้น ไม่เป็นอาบัติ. เมื่อภิกษุเจาะจงทำการ


(๑) บาลี เป็น กโรติ.


ความคิดเห็น 92    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 406

พรรณนาแก่คน ๒ คน รู้คนเดียวแล้วตายไป เป็นปาราชิก, ทั้ง ๒ คนตาย เป็นปาราชิกด้วย เป็นกองอกุศลด้วย. ในบุคคลมากหลาย ก็นัยนี้, ภิกษุ เที่ยวพรรณนาความคายไม่เจาะจง บุคคลใดๆ รู้การพรรณนานั้น แล้วตายไป, บุคคลนั้นๆ ทั้งหมด เป็นอันภิกษุรูปนั้น ฆ่าแล้ว.

[อธิบายพรรณนาความตายด้วยทูตและหนังสือ]

ในการพรรณนาด้วยทูต มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏเมื่อภิกษุเพียง แต่บอกข่าว่า ท่านจงไปสู่เรือน หรือบ้านชื่อโน้น แล้วพรรณนาคุณความ ตาย แก่บุคคลมีชื่ออย่างนั้นนั่นแล. ทูตอันตนส่งไป เพื่อประโยชน์แก่บุคคลใด เพราะทุกข์เกิดแก่บุคคลนั้น เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม, เพราะเขาตาย เป็นปาราชิก. ทูตคิดว่า บัดนี้เรารู้ทางสวรรค์นี้แล้ว ไม่บอกแก่บุคคลนั้น บอกแก่ญาติหรือสายโลหิตของตน, เมื่อเขาตาย เป็นผิดสังเกต, ภิกษุผู้เป็น ต้นเดิมรอดตัวไป. ทูตคิดอย่างนั้นแล ทำกิจที่กล่าวไว้ในการพรรณนาเสียเอง ตายไป, ผิดที่หมายเหมือนกัน. แต่เมื่อภิกษุบอกข่าวไม่เจาะจง เป็นปาณาติ บาตประมาณเท่าจำนวนมนุษย์ที่ตายไป ด้วยการพรรณนาของทูต. ถ้ามารดา และบิดาตายไป เป็นอนันตริยกรรมด้วย.

ในเลขาสังวรรณนา มีวินิจฉัยดังนี้:-

ข้อว่า เลขํ ฉินฺทติ มีความว่า ภิกษุเขียนหนังสือลง (จารึกอักษรลง) ที่ใบไม้หรือที่ใบลานว่า ผู้ใด ใช้ศัสตราฆ่าตัวตาย หรือกระโดดเหวตาย หรือตายด้วยอุบายอย่างอื่น มีการกระโดดเข้าไฟและกระโดดน้ำเป็นต้น, ผู้นั้น จะได้สิ่งนี้ หรือว่า ฯลฯ เป็นความชอบของผู้นั้น. แม้ในการเขียนหนังสือ ที่ไม่เจาะจงนี้ บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นทุกกฏ ถุลลัจจัย และปาราชิก โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.


ความคิดเห็น 93    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 407

แต่เมื่อภิกษุเขียนหนังสือเจาะจง คนเขียนเจาะจงบุคคลใด เพราะ ผู้นั้นนั่นแลตาย เป็นปาราชิก, เมื่อเขียนหนังสือเจาะจงบุคคลหลายคนเป็น ปาณาติบาต มีประมาณเท่าจำนวนคนที่ตายไป, เพราะมารดาและบิดาตาย เป็นอนันตริยกรรม. แม้ในหนังสือที่เขียนไม่เจาะจง ก็นัยนี้แล. ภิกษุ เมื่อ เกิดความเดือดร้อนขึ้นว่า คนสัตว์เป็นอันมากจะตาย จึงเผาใบลานนั้นเสีย หรือทำโดยประการที่อักษรทั้งหลายจะไม่ปรากฏ ย่อมพ้นได้. ถ้าใบลานนั้น เป็นของคนอื่น, ภิกษุจะเขียนหนังสือเจาะจงก็ตาม หรือเขียนไว้ไม่เจาะจง ก็ตาม หรือเขียนไว้ไม่เจาะจงก็ตาม วางไว้ในที่ๆ ตนถือเอามา ย่อมพ้น. ถ้าใบลานนั้น ย่อมเป็นของที่เขาซื้อมาด้วยมูลค่า, เธอให้ใบลานแก่เจ้าของ ใบลานแล้ว ให้มูลค่าแก่เหล่าชนผู้ที่ตนรับเอามูลค่าจากมื้อแล้ว ย่อมพ้นได้. ถ้าภิกษุมากรูปด้วยกันเป็นผู้มีอัธยาศัยร่วมกันว่า พวกเราจักเขียนพรรณนาคุณ ความตาย ดังนี้, รูปหนึ่งขึ้นค้นตาลแล้ว ตัดใบตาล. รูปหนึ่งนำมา, รูป หนึ่งทำให้เป็นใบลาน, อีกรูปหนึ่งเขียน. อีกรูปหนึ่ง ถ้า เป็นการเขียนด้วย เหล็กจาร ก็เอาเขม่าทา: ครั้นทาเขม่าแล้ว จัดใบลานั้นเข้าเป็นผูก, เธอ ทั้งหมดเทียวเอาไปวางไว้ที่สภา หรือที่ร้านตลาด หรือในสถานที่ๆ ประชาชน เป็นอันมากผู้แตกตื่นเพื่อดูหนังสือประชุมกัน. ประชาชนอ่านหนังสือนั้นแล้ว, ถ้าตายไปคนเดียวไซร้, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุทั้งหมด. ถ้าตายไปมากคนไซร้, ก็มีนัยเช่นเดียวกันกับที่กล่าวแล้วนั่นแล. แต่เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น ถ้า ภิกษุเหล่านั้น เอาใบลานนั้นเก็บไว้ในหีบ, และมีผู้อื่นพบเห็นใบลานนั้นแล้ว นำออกมาแสดงแก่ชนเป็นอันมากอีก, เธอทั้งหมดนั้น จะไม่รอดตัวเลย, หีบ จงยกไว้. ถ้าแม้นพวกเธอเหวี่ยงใบลานนั้นลงไป หรือล้างในแม่น้ำหรือทะเล เสีย หั่นเป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ หรือใส่ไฟเผาเสีย ก็ยังไม่รอดตัวตราบเท่า


ความคิดเห็น 94    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 408

ที่ตัวหนังสือยังปรากฏอยู่ในใบลาน แม้ที่ยังเชื่อมต่อกันได้ ซึ่งล้างไม่ดี หรือ เผาไม่ดี. แต่เมื่อกระทำโดยประการที่อักษรทั้งหลายจะไม่ปรากฏเลย จึงรอด ตัวไปได้ แล.

[อธิบายขุดหลุมพรางให้คนตาย]

บัดนี้ จะวินิจฉัยในนิเทศแห่งมาติกามีหลุมพรางเป็นต้น ที่ท่านพระ อุบาลีกล่าวไว้ เพื่อแสดงวิภาคแห่งถาวรประโยค.

ข้อว่า มนุสฺสํ อุทฺทิสฺส โอปาตํ ขนติ ความว่า ภิกษุขุดหลุม เจาะจงคนบางคนด้วยทั้งใจว่า ผู้มีชื่อนี้ จะตกไปตาย ในที่ๆ ผู้นั้น เที่ยวไป แต่ลำพัง. ก่อนอื่น ถ้าแม้ขุดชาตปฐพี เป็นทุกกฏทุกๆ ประโยค แก่ภิกษุ ผู้ขุด เพราะเป็นประโยคแห่งปาณาติบาต เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อให้เกิดทุกข์ แก่คนผู้ที่ตนเจาะจงขุดไว้ เป็นปาราชิก เพราะเขาตาย. เมื่อผู้อื่น แม้ตกไป ตาย ไม่เป็นอาบัติ. ถ้าขุดไว้ไม่เจาะจงด้วยคิดว่า ผู้ใดใครผู้หนึ่งจักตาย เป็นปาณาติบาตเท่าจำนวนสัตว์ที่ตกไปตาย เป็นอนันตริยกรรมในเพราะวัตถุ แห่งอนันตริยกรรม เป็นถุลลัจจัยและปาจิตตีย์ ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัย และปาจิตตีย์.

ถามว่า เจตนาในการขุดหลุมนั้นมีมาก เป็นปาราชิกด้วยเจตนาไหน

แก้ว่า ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาก่อนว่า เมื่อภิกษุขุดหลุม ทั้ง โดยส่วนลึกทั้งโดยส่วนยาวและกว้าง ได้ประมาณ (ขนาด) แล้ว ถากเซาะกอง ไว้ ใช้ปุ้งกี๋สำหรับใส่ฝุ่นโกยขึ้น เจตนาที่ยังอรรถให้สำเร็จ ซึ่งเป็นเหตุให้ ตั้งขึ้น เป็นเช่นเดียวกันกับผลในลำดับแห่งมรรค ถ้าแม้นว่าโดยล่วงไปถึงร้อย ปี จะมีสัตว์ตกลงตายแน่นอน เป็นปาราชิกด้วยเจตนาซึ่งเป็นเหตุให้ตั้งขึ้นนั่น เอง ส่วนในมหาปัจจรี และในสังเขปอรรถกถา ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุใช้


ความคิดเห็น 95    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 409

จอบประหาร (ฟัน) แม้ครั้งเดียว ด้วยคิดว่า บุคคลจักตกที่หลุมนี้ตาย ดัง นี้ ถ้ามีใครๆ พลาดตกลงไปที่หลุมนั้นตาย เป็นปาราชิกเหมือนกัน ; ส่วนพวก พระเถระผู้ชำนาญในพระสูตร ยังยึดเอาเจตนาซึ่งเป็นเหตุให้ตั้งขึ้น (เป็น หลัก).

ภิกษุรูปหนึ่งขุดหลุมพราง แล้วสั่งภิกษุรูปอื่นว่า จงนำคนชื่อโน้นมา แล้ว ผลักให้ตกตายในหลุมพรางนี้. ภิกษุอื่นนั้น ยิ่งผู้นั้นให้ตกตาย เป็น ปาราชิกทั้ง ๒ รูป, ยังผู้อื่นให้ตกตาย ตัวเองตกไปตาย คนอื่นตกไปตายตาม ธรรมดาของตน, ในทุกกรณีมีการผิดที่หมาย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมรอดตัวไป. แม้ในหลุมพรางที่ภิกษุขุดไว้ ด้วยคิดว่าภิกษุชื่อโน้น จักนำคนชื่อโน้นมา ให้ (ตก) ตายในหลุมพรางนี้ก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุขุดไว้ด้วยคิดว่า คนทั้งหลาย ผู้อยากจะตายจักตายในหลุมพรางนี้, เป็นปาราชิก เพราะคนคนเดียวตาย, เป็นกองอกุศล เพราะคนมากคนตาย, เป็นอนันตริยกรรม เพราะมารดาและ บิดาตาย, เป็นถุลลัจจัยและปาจิตตีย์ ในเพราะวัตถุแห่งถุลลัจจัยและปาจิตตีย์. ภิกษุขุดไว้ด้วยคิดว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีความประสงค์จะฆ่าเขาให้ตาย จัก ผลักชนเหล่านั้น ให้ตกตายในหลุมพรางนี้ ดังนี้. พวกเขาผลัก ให้ตกตาย ในหลุมพรางนั้น, เมื่อตายคนเดียว เป็นปาราชิก, เมื่อมากคนทาย เป็นกอง อกุศล, เป็นอนันตริยกรรมเป็นต้น ในเพราะวัตถุแห่งอนันตริยกรรมเป็นต้น และแม้พระอรหันต์ทั้งหลาย ก็ถึงความสงเคราะห์เข้าในนัยหลังนี้ด้วย แต่นัย แรก กิริยาที่พระอรหันต์เหล่านั้นจะตกไปเพราะความเป็นผู้ใคร่จะตาย ย่อม ไม่มี ; เพราะเหตุนั้น พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านจึงไม่สงเคราะห์เข้าด้วย แม้ในนัยทั้งสอง เมื่อบุคคลตกไปตายตามธรรมดาของตน ย่อมมีการผิดที่ หมาย ภิกษุคิดว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งจักผลักคนผู้มีเวรของตนให้ตกตายใน


ความคิดเห็น 96    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 410

หลุมพรางนี้ แล้วขุดไว้, และเหล่าชนผู้มีเวรกัน ก็ผลักคนมีเวรให้ตกตายใน หลุมพรางนั้น, เมื่อถูกฆ่าตายคนเดียว เป็นปาราชิก, เมื่อถูกฆ่าตายมากคน เป็นกองอกุศล เมื่อมารดาหรือบิดา หรือพระอรหันต์ ถูกเหล่าชนผู้มีเวรนำ มาฆ่าให้ตายในหลุมพรางนั้น เป็นอนันตริยกรรม, เมื่อมารดาเป็นต้นเหล่านั้น ตายตามธรรมดาของตน ย่อมผิดสังเกต.

ส่วนภิกษุรูปใด ขุดไว้มิได้เจาะจง แม้โดยประการทั้งปวงเลยว่าชน เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ผู้อยากจะตายก็ดี ไม่อยากจะตายก็ดี ผู้ประสงค์จะฆ่าเขาก็ดี ไม่ประสงค์จะฆ่าก็ดี จักตกไปตาย หรือถูกผลักให้ตกไปตายในหลุมพรางนี้, ภิกษุนั้น ย่อมถูกต้องกรรม และย่อมต้องอาบัติตามสมควร เพราะความตาย ของบุคคลผู้ที่ตายไปนั้นๆ. ถ้าสตรีมีครรภ์ตกไปตายทั้งกรม (๑) เป็นปาณาติบาต ๒ กระทง. เฉพาะสัตว์ผู้อยู่ในครรภ์เท่านั้นพินาศไป เป็นปาณาติบาตกระทง เดียว, สัตว์เกิดในครรภ์ไม่พินาศ แต่มารดาตาย เป็นปาณาติบาตกระทงเดียว เหมือนกัน. คนถูกพวกโจรไล่ติดตาม ตกไปตาย, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ ขุดหลุมพรางเช่นกัน. พวกโจรตกลงไปตายในหลุมพรางนั้น เป็นปาราชิก เหมือนกัน. พวกโจรนำผู้ตกไปในหลุมพรางนั้นออกไปภายนอก แล้วฆ่าให้ ตาย, เป็นปาราชิกเหมือนกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร แก้ว่า เพราะเขาถูก พวกโจรจับได้ ก็เพราะประโยคที่ตกไปในหลุมพราง. ผู้ที่ตกหลุมพรางออกมา จากหลุมพรางได้แล้วตายไป ด้วยความเจ็บไข้นั้นนั่นแล เป็นปาราชิกเหมือน กัน. ครั้นล่วงเลยมาหลายปีแล้ว จึงตายเพราะความเจ็บไข้นั้นนั่นเอง ซึ่ง กำเริบขึ้นอีก เป็นปาราชิกเหมือนกัน. โรคชนิดอื่น เกิดแทรกขึ้นแก่บุคคลผู้ ป่วยไข้ ด้วยโรคที่เกิดขึ้น เพราะมีการตกไปในหลุมพรางนั้นเป็นปัจจัยนั่นแล,


(๑) ตายพร้อมทั้งครรภ์ คือลูกในท้อง


ความคิดเห็น 97    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 411

แต่โรคที่เกิดขึ้นเพราะหลุมพราง เป็นของมีกำลังกว่า, แม้เมื่อผู้นั้นตายเพราะ โรคที่เกิดขึ้นนั้น ภิกษุขุดหลุมพราง ย่อมไม่พ้น. ถ้าโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เป็นของมีกำลังไซร้, เมื่อผู้นั้นตายเพราะโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง เธอรอดตัว. เมื่อผู้นั้นตายด้วยโรคทั้ง ๒ ชนิด ไม่พ้น. มนุษย์ผู้ผุดเกิด ในหลุมพราง ครั้น เกิดแล้ว ไม่สามารถจะขึ้นได้ ก็ตายไป, เป็นปาราชิกเหมือนกัน.

[มติพระเถระสองรูปในการขุดหลุมพราง]

พระอุปติสสเถระ กล่าวว่า เมื่อยักษ์เป็นต้น ตกไปตายในหลุม พรางที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงมนุษย์ ไม่เป็นอาบัติ. ในมนุษย์เป็นต้นแม้ตายอยู่ใน หลุมพราง ที่ภิกษุขุดไว้เจาะจงยักษ์เป็นต้น ก็นัยนั่นแล. แต่เป็นทุกกฏทีเดียว แก่ภิกษุผู้ขุดเจาะจงยักษ์เป็นต้น เพราะการขุดบ้าง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ ยักษ์เป็นต้นเหล่านั้นบ้าง. เพราะ (ยักษ์เป็นต้น) ตายเป็นถุลลัจจัยหรือปาจิตตีย์ ตามอำนาจแห่งวัตถุทีเดียว. สัตว์ตกลงในหลุมพรางที่ภิกษุขุดไว้มิได้เจาะจง โดยรูปยักษ์ หรือรูปเปรตตายไป โดยรูปสัตว์ดิรัจฉาน, ก็รูปที่ตกไป ย่อม เป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึงเป็นถุลลัจจัย.

พระปุสสเทวเถระ กล่าวว่า รูปที่ตายเป็นประมาณ; เพราะฉะนั้น จึง เป็นปาจิตตีย์. แม้ในสัตว์ตกไปด้วยรูปสัตว์ดิรัจฉาน แล้วตายด้วยรูปยักษ์และ รูปเปรต ก็นัยนั่นเหมือนกัน. ภิกษุผู้ขุดหลุมพรางขายหรือให้เปล่าซึ่งหลุมพราง แก่ภิกษุอื่น, ภิกษุนั้นแลยังต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรม เพราะมีผู้ตก ตายเป็นปัจจัย, ผู้ที่ได้หลุมพรางไป ไม่มีโทษแล. ภิกษุผู้ได้ไปแล้วคิดว่า หลุมอย่างนี้ สัตว์ผู้ตกไปยังอาจขึ้นได้ จักไม่พินาศ จักทรงตัวขึ้นได้ง่าย จึง ทำหลุมพรางนั้นให้ลึกลงไป หรือให้ตื้นขึ้น ให้ยาวออกไป หรือให้สั้นเข้า ให้กว้างออกไป หรือให้แคบเข้า ต้องอาบัติ และมีข้อผูกพันทางกรรมด้วยกัน


ความคิดเห็น 98    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 412

แม้ทั้ง ๒ รูป. เมื่อเกิดวิปฏิสารขึ้นว่า คนสัตว์จะตายกันมาก จึงกลบหลุมพราง ให้เต็มด้วยดิน. ถ้าสัตว์ไรๆ ยังตกไปในดินตายได้, แม้กลบให้เต็มแล้ว ก็ ไม่พ้น. เมื่อฝนตกมีโคลน, แม้เมื่อสัตว์ไรๆ ติดตายในโคลนนั้น, ต้นไม้ล้ม ก็ดี ลมพัดก็ดี น้ำฝนตกก็ดี พัดพาคนไป หรือพวกขุดแผ่นดินเพื่อเหง้ามัน ขุดเป็นหลุมบ่อไว้ในที่นั้น, ถ้าสัตว์ไรๆ ติดหรือตกไปตายในหลุมนั้น ภิกษุ ผู้เป็นต้นเดิมยังไม่พ้น. แต่ในโอกาสนั้น ภิกษุให้ทำบึงหรือสระบัวใหญ่ให้ ประดิษฐานเจดีย์ ปลูกต้นโพธิ์หรือให้สร้างวัด หรือให้ทำทางเกวียนแล้วจึง พ้นได้. แม้ในกาลใด ต้นไม้เป็นต้น ในหลุมพรางอันถูกกลบเต็มทำให้แน่น แล้วรากต่อรากเกี่ยวพ้นกัน, เกิดชาตปฐพี, แม้ในกาลนั้นก็พ้นได้. ถ้าแม้น แม้น้ำหลากมาลบล้างหลุมพรางเสีย, แม้อย่างนั้น จึงพ้นได้แล.

กถาว่าด้วยหลุมพรางเท่านี้ก่อน.

[ว่าด้วยการดักบ่วงของภิกษุ]

ก็พึงทราบวินิจฉัย แม้ในบ่วงเป็นต้น อันอนุโลมแก่หลุมพรางนั่น ดังต่อไปนี้:- ภิกษุรูปไค ดัดบ่วงไว้ก่อน ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งหลายจักติดใน บ่วงนี้ตาย เมื่อบ่วงพอพ้นไปจากมือ พึงทราบว่าเป็นปาราชิก อนันตริยกรรม ถุลลัจจัย และปาจิตตีย์ แก่ภิกษุรูปนั้นแน่นอน ด้วยอำนาจสัตว์ที่ติด (บ่วง).

ในบ่วงที่ภิกษุทำเจาะจงไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- บ่วงที่ภิกษุดักเจาะจง สัตว์ตัวใดไว้ เพราะสัตว์เหล่าอื่นจากสัตว์ตัวนั้นมาติด ไม่เป็นอาบัติ. แม้เมื่อ ภิกษุจำหน่ายบ่วงไป ด้วยมูลค่าหรือให้เปล่งก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมเช่นกัน. ถ้าภิกษุผู้ได้บ่วงไป ดักบ่วงเคลื่อนที่ได้ไว้ หรือเห็นพวกสัตว์เดินไปข้างๆ จึงทำรั้วกั้นไว้ ต้อนสัตว์ให้เข้าไปตรงหน้า หรือจัดคันบ่วงไว้ให้แข็งแรง หรือผูกเชือกบ่วงไว้ให้มั่นขึ้น หรือตอกหลักไว้


ความคิดเห็น 99    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 413

ให้มั่นคง ; เธอทั้ง ๒ รูปไม่พ้น ถ้าเมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอจึงรูดบ่วง ให้หลุดออกแล้ว ไปเสีย. คนเหล่าอื่น พบเห็นบ่วงที่รูดออกแล้วนั้น เอา ไว้อีก สัตว์ทั้งหลายที่ติด (บ่วง) แล้วๆ ตายไป; ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ไม่ พ้นไปได้. แต่ถ้าคันบ่วง อันเธอผู้เป็นต้นเดิมนั้นไม่ได้ทำไว้เอง แต่วางไว้. ในที่ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. เธอตัดไม้คันบ่วงซึ่งเกิดอยู่ในสถานที่นั้นเสีย ย่อม พ้น. แต่แม้เมื่อเธอเก็บรักษาไม้คันบ่วงที่คนทำเองไว้ ย่อมไม่พ้น. จริงอยู่ ถ้าภิกษุรูปอื่น ถือเอาไม้คันบ่วงนั้น ไปดักบ่วงไว้อีกไซร้, เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ตายไป เพราะมีการดักบ่วงนั้นเป็นปัจจัย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ย่อมพ้น, ถ้าเธอเผาคันบ่วงนั้น ทำให้เป็นดุ้นไฟแล้วทิ้งเสีย, แม้เมื่อสัตว์ทั้งหลาย ได้ การประหารด้วยดุ้นไฟนั้นตายไปย่อมไม่พ้น. แต่เผาหรือทำให้เสียหายไปโดย ประการทั้งปวง ย่อมพ้น. เธอวางแม้เชือกบ่วงที่คนเหล่าอื่นฟั่นเสร็จแล้วใน ที่ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. เธอได้เชือกมาแล้ว คลี่เกลียวที่เขาฟั่นไว้ออกเสียเอง (หรือ) ทำเชือกที่ตนได้ปอมาแล้วฟั่นไว้ ให้เป็นชิ้นน้อยและชิ้นใหญ่ ย่อมพ้น. แต่แม้เมื่อเธอเก็บรักษาเชือกที่ตนเองนำปอมาจากป่าฟั่นไว้ย่อมไม่พ้น, แต่เผา หรือทำให้เสียหายไปโดยประการทั้งปวง ย่อมพ้น.

[ว่าด้วยการใช้ฟ้าถล่มดักสัตว์ของภิกษุ]

ภิกษุเมื่อจัดแจงฟ้าถล่ม วางเตียงฟ้าถล่มไว้บนเท้าทั้ง ๔ ยกหินขึ้น เป็นทุกกฏ ทุกๆ ประโยค. เมื่อทำการตระเตรียมทุกอย่างแล้ว พอฟ้าถล่ม พ้นไปจากมือ พึงทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น ตามสมควรแก่ประโยคที่ทำ เจาะจงและไม่เจาะจง ด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ที่จะพึงถูกทับแน่นอน. แม้เมื่อ ภิกษุจำหน่ายฟ้าถล่ม ด้วยมูลค่าหรือให้เปล่าก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อม มีแก่ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมทีเดียว. ถ้าภิกษุผู้ได้ฟ้าถล่มไป ยกฟ้าถล่มที่ตกขึ้นไว้


ความคิดเห็น 100    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 414

หรือยกหินแม้ก้อนอื่นขึ้นทำให้มีน้ำหนักกว่า หรือเห็นพวกสัตว์เดินไปข้างๆ ทำรั้วกั้นไว้ต้อนสัตว์ให้เข้าไปที่ฟ้าถล่ม, เธอทั้ง ๒ รูป ย่อมไม่พ้น. ถ้าเมื่อ เกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอจึงทำฟ้าถล่มให้ตกแล้ว ไปเสีย, ภิกษุรูปอื่นพบ เห็นฟ้าถล่มที่ตกแล้วนั้น ก็ทั้งดักไว้อีก, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมไม่พ้น. ภิกษุวาง ก้อนหินไว้ในที่ๆ ตนรับมา และวางขาฟ้าถล่มไว้ในที่ๆ ตนรับมา หรือเผา โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคันบ่วงย่อมพ้น.

แม้เมื่อภิกษุปักหลาว พอทำการตระเตรียมทุกอย่างเสร็จแล้ว พ้นจาก มือ พึงทราบว่า เป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่ประโยคที่ทำเจาะจง ด้วยอำนาจแห่งพวกสัตว์ที่จะตกไปตามบนคมหลาวแน่นอน. แม้เมื่อภิกษุ จำหน่ายหลาว ด้วยมุค่า หรือให้เปล่าก็ตาม ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่ ภิกษุผู้เป็นต้นเดิมเช่นกัน. ถ้าภิกษุผู้ได้หลาวไปแต่งหลาวให้คมกริบ ด้วยติด ว่า สัตว์ทั้งหลาย จักตายด้วยการประหารครั้งเดียวเท่านั้น หรือแต่งหลาวให้ ทื่อเข้า ด้วยคิดว่า สัตว์ทั้งหลาย จักตายเป็นทุกข์ หรือกำหนดว่าหลาวสูงไป ปักให้ต่ำลง หรือกำหนดว่า หลาวต่ำไป ปักให้สูงขึ้นอีก หรือดัดที่คดให้ตรง หรือดัดที่ตรงเกินไปให้โค้งนิดหน่อย ; เธอทั้ง ๒ รูป ไม่พ้น. ก็ถ้าเธอเห็นว่า ไว้ในที่ไม่เหมาะ แล้วเอาไปปักไว้ในที่อื่น ถ้าหลาวนั้น ย่อมเป็นของที่เธอ แสวงหามาทำไว้ตั้งแต่ต้น เพื่อต้องการฆ่าให้ตาย ; ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ไม่พ้น. แต่เมื่อมิได้แสวงหาได้ของที่เขาทำไว้แล้วนั่นแล ยกขึ้นไว้, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ย่อมพ้น. เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้น เธอวางหลาวไว้ในที่ๆ ตนรับมาหรือ เผาเสีย โดยนัยดังกล่าวไว้แล้วในคันบ่วง ย่อมพ้น.

[ลอบวางศัสตราไว้ในวัตถุสำหรับพิง]

ในคำว่า อปสฺเสเน สตฺถํ วา นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ชื่อว่า ที่พิง ได้แก่ เตียง หรือตั่ง หรือกระดานสำหรับพิง ทีใช้เป็นนิจ หรือเสาสำหรับพิง


ความคิดเห็น 101    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 415

ของภิกษุผู้นั่งพักอยู่ในที่พักกลางวัน หรือต้นไม้ซึ่งเกิดอยู่ในที่นั้น หรือต้นไม้ สำหรับยึดเหนียว ของภิกษุผู้ยืนพิงอยู่ในที่จงกรมหรือกระดานสำหรับยึดเหนียว วัตถุมีเตียงเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด ชื่อว่าที่พิง เพราะอรรถว่าเป็นที่ตั้งแห่งการ พิง (เป็นที่ตั้งแห่งการมองไม่เห็น). ภิกษุทำเหมือนอย่างคนแทงหรือฟันบุคคล ที่ไม่เห็น วางบรรดาศัสตราชนิดหนึ่ง มี มีด ขวาน หอก เหล็กแหลม และ หนามเป็นต้นไว้ในที่สำหรับพิงนั้น เป็นทุกกฏ. เมื่อผู้หมดความสงสัยนั่ง หรือ นอน หรือพิงอยู่ในสถานที่ใช้ประจำ เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น ซึ่งมีความถูกต้องศัสตราเป็นปัจจัย, เป็นปาราชิกในเพราะเขาตาย. ถ้าภิกษุผู้มี เวรของเธอนั้นแม้รูปอื่น เที่ยวจาริกไปในวิหาร พบเห็นศัสตรานั้นแล้ว ยิน ดีอยู่ว่า ชะรอยศัสตรานี้เป็นขอที่เธออรูปนี้วางไว้ เพื่อเป็นเครื่องสังหาร, ดีละ จงคายให้สนิทเถิด เดินไป เป็นทุกกฏ. แต่ถ้าภิกษุผู้มีเวรแม้รูปนั้น คิดว่า เมื่อเธอทำศัสตรานั้นไว้อย่างนั้นแล้ว จักเป็นอันเธอทำไว้ดีแล้ว จึงทำกรรม บางอย่าง ด้วยการทำศัสตราให้คมกริบเป็นต้น. เป็นปาราชิกแม้แก่เธอผู้มีเวร รูปนั้น, แต่ถ้าภิกษุผู้มีเวรเห็นว่า เธอรูปนั้นวางศัสตราไว้ในที่ไม่เหมาะ จึง ยกขึ้นมาวางไว้ในที่อื่น, เมื่อเธอทำแล้ววางไว้ เพื่อประโยชน์นั้นๆ เอง ภิกษุ ผู้เป็นต้นเดิม ย่อมไม่พ้น. ภิกษุได้ศัสตราแล้ววางไว้ตามปกติเดิม ย่อมพ้น. ภิกษุนำศัสตรานั้นออกไปเสีย แล้วจึงเอาศัสตราอย่างอื่นที่คมกว่ามาวางไว้แทน. ภิกษุเป็นต้นเดิมย่อมไม่พ้นเหมือนกัน.

[ลอบวางยาพิษแทรกไว้ในเภสัช]

แม้ในการทายาพิษไว้ มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นทุกกฏ เพราะเขายินดี ความตาย จนกระทั่งถึงนัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าภิกษุแม้รูปนั้นกำหนดได้ว่า ก้อน ยาพิษเล็กไป จึงทำให้เขื่องขึ้น หรือกำหนดได้ว่า ก้อนยาพิษเขื่องไป หรือ


ความคิดเห็น 102    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 416

เขื่องเกินไป จึงทำให้เล็กลง หรือบางไป จึงทำให้หนา หรือหนาไป จึงทำ ให้บางลง แล้วลนให้ร้อนด้วยไฟ ทำให้แล่นไปข้างล่างหรือข้างบน; เป็น ปาราชิกแม้แก่ภิกษุรูปนั้น. เธอเห็นว่า ก้อนยาพิษนี้ วางไว้ในที่ไม่เหมาะ จึงถากใสให้บางทุกส่วนทีเดียว แล้วเช็ดถู (ให้เกลี้ยง) เอาวางไว้ในที่อื่น. เมื่อภิกษุปรุงเภสัชด้วยตนเอง แล้วแทรกยาพิษเข้าด้วย ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม ย่อมไม่พ้น เมื่อตนเองไม่ได้ทำ ย่อมพ้น, แต่ถ้าภิกษุรูปนั้นเห็นว่า ยาพิษนี้ มีน้อยเกินไป จึงนำเอายาพิษแม้อื่นมาเติมใส่ไว้ เป็นปาราชิกแก่ภิกษุเจ้าของ ยาพิษซึ่งเป็นเหตุให้เขาตาย. ถ้าเขาตายไปเพราะยาพิษซึ่งเป็นของภิกษุแม้ทั้ง ๒ รูป ก็เป็นปาราชิกแก่เธอแม่ทั้ง ๒ รูป. ภิกษุเห็นว่า ยาพิษนี้ หมดฤทธิ์ กล้าแล้ว จึงนำยาพิษนั้นออกเสีย แล้ววางยาพิษของตนเองไว้แทน; เป็น ปาราชิกแก่ภิกษุนั้นเท่านั้น, ภิกษุผู้เป็นต้นเดิม รอดตัวไป.

[ลอบวางอาวุธไว้ใต้เตียงหรือตั่ง]

สองบทว่า ทิพฺพลํ วา กโรติ ความว่า ภิกษุตัดเตียงและตั่งภายใต้แม่แคร่ หรือตัดหวายและเชือกที่เขาร้อยไว้ ทำให้เหลือไว้นิดหน่อยเท่านั้น จึงสอดอาวุธไว้ภายใต้, เธอตัดส่วนอื่นแม้แห่งวัตถุ มีกระดานสำหรับพิงเป็น ต้น ซึ่งมีต้นไม้และกระดานสำหรับยึดเหนี่ยวในที่จงกรมเป็นที่สุดออก แล้ว เอาอาวุธสอดไว้ภายใต้ ด้วยหวังว่า คนจักตกตายที่อาวุธนี้. ภิกษุนำเตียงตั่ง หรือกระดานสำหรับพิงมาวางไว้ ใกล้บ่อเป็นต้น โดยประการที่คนพอนั่งหรือพิง ที่เตียงเป็นต้นนั้นก็จะตกลงไป, หรือทำสะพานสำหรับเดินไปมาบนบ่อเป็นต้น ให้ชำรุดไว้, เมื่อภิกษุทำอยู่อย่างนั้น เป็นทุกกฏ เพราะทำ, เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่คนนอกนี้, เป็นปาราชิก ในเพราะเขาตาย. ภิกษุ นำเอาภิกษุด้วยกันไปแล้วพักไว้บนริมปากบ่อเป็นต้น ด้วยคิดว่า เธอเห็นแล้ว


ความคิดเห็น 103    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 417

สะทกสะทาน เพราะกลัว จักตกตาย ดังนี้ เป็นทุกกฏ. เธอตกไปอย่างนั้น จริงๆ , เป็นถุลลัจจัย เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้น, เป็นปาราชิก ในเพราะเขา ตาย. ตนเองผลักภิกษุรูปนั้นให้ตกไป, ใช้ผู้อื่นให้ผลักตกไป, ผู้อื่นมิได้สั่ง เลย ผลักให้ตกไปตามธรรมดาของตน อมนุษย์ผลักให้ตกลงไป, ตกไปเพราะ ถูกลมพัด, ตกไปตามธรรมดาของตน ; เป็นปาราชิก ในเพราะผู้นั้นตาย ทุกกรณี. เพราะเหตุไร. เพราะผู้ตายอยู่ใกล้ริมปากบ่อเป็นต้น ด้วยประโยค ของภิกษุผู้เป็นต้นเดิมนั้น.

[ว่าด้วยการลอบวางดาบไว้]

การวาง (ดาบเป็นต้น) ไว้ในที่ใกล้ ชื่อว่า การลอบวาง. ในการ ลอบวางนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใดพรรณนาคุณแห่งความตาย โดยนัย เป็นต้นว่า ผู้ใดตายด้วยดาบนี้, ผู้นั้นจะได้ทรัพย์ ก็ดี พูดว่า ผู้ต้องการตาย จงตายด้วยดาบนี้ ก็ดี พูดว่า ผู้ต้องการตาย จงให้เขาฆ่าด้วยดาบนี้ ก็ดี แล้ว ลอบวางดาบไว้, เป็นทุกกฏแก่ภิกษุรูปนั้น ในการลอบวางไว้. บุคคลผู้อยาก จะตาย จะใช้ดาบนั้นประหารตนเองก็ตาม ผู้มีความประสงค์จะใช้ให้คนอื่นฆ่า จงเอาดาบนั้นประหารคนอื่นก็ตาม, แม้ด้วยการประหารทั้ง ๒ วิธี เป็นถุลลัจจัย แก่ภิกษุผู้ลอบวาง เพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่บุคคลอื่น, เป็นปาราชิก ใน เพราะเขาตาย. เมื่อภิกษุวางไว้ไม่เจาะจงเป็นกองอกุศล ในเพราะคนสัตว์เป็น อันมากตาย, เป็นปาราชิกเป็นต้น ในเพราะวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น. ภิกษุ นั้น เมื่อเกิดความเดือดร้อนขึ้นจึงเก็บดาบไว้ในที่ๆ ตนรับมา ย่อมพ้น. ดาบเป็นของที่เธอรับซื้อมา, เธอคืนดาบให้แก่เจ้าของดาบ ให้มูลค่าแก่เหล่า ชนผู้ที่ตนรับเอามูลค่ามาจากมือของเขาแล้ว ย่อมพ้น. ถ้าภิกษุเอาแท่งโลหะ ผาลไถหรือจอบไปให้ช่างทำเป็นดาบไซร้, ถือเอาภัณฑะใดมาให้ทำดาบ ครั้น


ความคิดเห็น 104    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 418

ทำกลับให้เป็นภัณฑะนั้นอย่างเดิม แล้วจึงจะพ้น. ถ้าภิกษุยังดาบที่เอาจอบ ให้ช่างทำ ให้เสียหายไป แล้วทำให้เป็นผาลไซร้, แม้เมื่อสัตว์มากหลายได้ การประหารด้วยผาลตายไป ภิกษุนั้น ย่อมไม่พ้นจากปาณาติบาต. แต่ถ้าเธอ ให้หลอมโลหะขึ้นมาแล้วให้ช่างทำเป็นดาบ เพื่อการลอบวางนั่นเอง, เมื่อดาบ ที่เธอเอาปลายเหล็กครูดถูแล้วทำให้แหลกละเอียดกระจัดกระจายไป เธอจึงจะ พ้น. แม้ถ้าเป็นดาบที่ภิกษุมากรูปร่วมอัธยาศัยกันทำไว้ เป็นเหมือนใบลานที่ เขียนพรรณนา (คุณความตาย) ไว้ฉะนั้น วินิจฉัยถึงข้อถูกพันทางกรรมพึง ทราบโดยนัยดังที่กล่าวแล้วในใบลานนั่นแล. ในหอกและฉมวกก็นัยนี้. ใน หลาวและไม้ค้อนมีวินิจฉัยเช่นกับที่กล่าวแล้วในไม้คันบ่วง. ในหินก็อย่างนั้น. ในศัสตราก็มีวินิจฉัยเหมือนดาบนั่นเอง.

[ว่าด้วยลอบวางยาพิษไว้เป็นต้น]

บทว่า วิสํ วา ความว่า เมื่อภิกษุลอบวางยาพิษไว้ พึงทราบว่า เป็นปาราชิกเป็นต้น ในวัตถุแห่งปาราชิกเป็นต้น โดยควรแก่การเจาะจงและ ไม่เจาะจงด้วยอำนาจแห่งวัตถุ. ในยาพิษที่ภิกษุซื้อมาเก็บไว้ เธอทำให้เป็น ปกติเติมโดยนัยก่อนแล้ว จึงจะพ้น. เมื่อภิกษุผสมยาพิษเข้ากับเภสัชเสียเอง เธอทำไม่ให้เป็นยาพิษแล้วจึงจะพ้นได้. ในเชือกมีวินิจฉัยเช่นกับด้วยเชือกบ่วง นั่นแหละ.

ในเภสัช วินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุใด เมื่อภิกษุผู้มีเวรเกิดเป็นไข้เชื่อม หรือโรคมีส่วนเป็นพิษขึ้น มีความประสงค์จะให้ตายเรียกว่า วัตถุมีเนยใสเป็น ต้น เป็นที่สบาย ดังนี้ จึงถวายเภสัชแม้อันเป็นที่ไม่สบาย หรือเหง้าบัวรากไม้ และผลไม้ชนิดอื่นบางอย่าง, พึงทราบว่าเป็นทุกกฏแก่ภิกษุนั้น ในเพราะถวาย เภสัชอย่างนั้น, เป็นถุลลัจจัยและปาราชิก ในเพราะก่อทุกข์ให้เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น และในเพราะเขาตาย, เป็นอนันตริยกรรม ในวัตถุแห่งอนันตริยกรรม


ความคิดเห็น 105    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 419

[การนำรูปและเสียงเป็นต้นเข้าไป]

ในการนำรูปเข้าไป มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อุปสํหรติ ความ ว่า ภิกษุพักคนอื่นผู้มีรูปไม่น่าพอใจ ไว้ในที่ใกล้ๆ บุคคลนั้นหรือเธอแปลง เพศเป็นยักษ์และเปรตเป็นต้น ด้วยตนเองแล้วยืนอยู่ พอเมื่อนำรูปเข้าไป เป็น ทุกกฏแก่ภิกษุนั้น, เป็นถุลลัจจัย ในการก่อภัยให้เกิดขึ้นแคนอื่น เพราะเห็น รูปนั้น, เป็นปาราชิก ในเพราะเขาตาย. แต่ถ้ารูปนั้นเอง ย่อมเป็นที่ชอบใจ ของคนบางคนไซร้, และเขาย่อมซูบผอมตาย เพราะไม่ได้ (รูปนั้น) , ย่อม ผิดสังเกต. แม้ในรูปซึ่งเป็นที่ชอบใจ ก็มีนัยเหมือนกันนี้.

ก็บรรดารูปซึ่งเป็นที่ชอบใจเหล่านั้น ว่าโดยพิเศษ รูปบุรุษย่อมเป็น ที่ชอบใจของเหล่าสตรี และรูปสตรี ย่อมเป็นที่ชอบใจของเหล่าบุรุษ. ภิกษุ ตกแต่งรูปนั้นแล้วก็นำเข้าไป คือทำเพียงให้เขาเห็นเท่านั้น, แต่ไม่ยอม ให้แม้เพื่อจะดูนานๆ. คนนอกนี้ย่อมซูบผอมตายเพราะไม่ได้ (รูปนั้น) , ภิกษุ เป็นปาราชิก, ถ้าเขาจักใจตาย, ย่อมผิดสังเกต. แต่ถ้าภิกษุไม่พิจารณา เลยว่า เขาจักตกใจตาย หรือจักซูบผอมตาย เพราะไม่ได้ นำเข้าไปด้วยคิด อย่างเดียวว่า เขาเห็นแล้ว จักตาย ดังนี้, เมื่อเขาตกใจตาย หรือซูบผอมตาย เป็นปาราชิกเหมือนกัน. แม้กิจทั้งหลายมีการนำเสียงเข้าไปเป็นต้น ก็พึงทราบ โดยอุบายนี้ นั่นแล.

จริงอยู่ ในเสียงเป็นต้นนี้ (มีความแปลกกัน) อย่างเดียวคือ (อารมณ์ ภายนอก) มีเสียงของอมนุษย์เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นเหตุให้เกิดความสะดุ้ง เป็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ, เสียงสตรีและเสียงของนักฟ้อนที่ไพเราะเป็นต้น พึงทราบ ว่า ทำความชื่นจิตให้ เป็นเสียงที่ชอบใจ, กลิ่นแห่งรากไม้เป็นต้น ของต้น ไม้ที่มีพิษ ในป่าหิมพานต์และกลิ่นแห่งซากศพ พึงทราบว่า เป็นกลิ่นที่ไม่


ความคิดเห็น 106    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 420

ชอบใจ, กลิ่นอันเกิดแต่รากไม้มีกฤษณาและกำยานเป็นต้น พึงทราบว่า เป็น กลิ่นที่ชอบใจ รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ไม่ ชอบใจ, รสอันเกิดแต่รากไม้ที่ไม่ปฏิกูลเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นรสที่ชอบใจ, ความสัมผัสยาพิษ และสัมผัสหมามุ้ยใหญ่เป็นต้น พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะ ที่ไม่ชอบใจ, ความสัมผัสผ้าที่ทอในเมืองจีน ขนปีกหงส์และนุ่นสำลีเป็นต้น พึงทราบว่า เป็นโผฏฐัพพะที่ชอบใจ.

[การนำธรรมารมณ์เข้าไป]

ในการนำธรรมเข้าไป มีวินิจฉัยดังนี้:- เทศนาธรรม พึงทราบว่า ธรรม. อีกอย่างหนึ่ง ธรรมารมณ์แล อันต่างกันด้วยความวิบัติในนรก และ สมบัติในสวรรค์ ด้วยอำนาจแห่งเทศนา (ก็พึงทราบว่า ธรรม).

บทว่า เนรยิกสฺส ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาเรื่องนรก มีเครื่อง จองจำ ๕ อย่าง และเครื่องกรรมกรณ์เป็นต้น แก่สัตว์ผู้เสียสังวร ทำบาปไว้ ซึ่งควรเกิดในนรก. ถ้าเขาฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตายไปตามธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุ แสดงนิรยกถาด้วยตั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังนิรยกถามนี้แล้ว จักไม่ทำกรรมเห็นปานนี้ จักงด จักเว้น บุคคลนอกนี้ ฟังนิรยกถานั้นตกใจตาย, ไม่เป็นอาบัติ.

บทว่า สคฺคกถํ ได้แก่ กล่าวกถาพรรณนาสมบัติแห่งของมีวิญญาณ มีเทพนาฎกาเป็นต้น และแห่งของไม่มีวิญญาณมีสวนนันทนวันเป็นต้น. บุคคล นอกนี้ได้ฟังสัคคกถานั้น น้อมใจไปในสวรรค์ต้องการได้สมบัตินั้นเร็วๆ ยัง ทุกข์ให้เกิดขึ้น ด้วยใช้ศัสตราประหารกินยาพิษ อดอาหาร และกลั้นลม อัสสาสะปัสสาสะเป็นต้น, เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้กล่าว, เขาตายไป เป็น ปาราชิกแก่ภิกษุผู้กล่าว. แต่ถ้าแม้เขาฟังแล้ว ตั้งอยู่ตลอดอายุแล้วจึงตายตาม


ความคิดเห็น 107    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 421

ธรรมดาของตน, ไม่เป็นอาบัติ. ภิกษุกล่าวด้วยทั้งใจว่า ผู้นี้ได้ฟังสัคคกถานี้ แล้วจักทำบุญ บุคคลนอกนี้ฟังสัคคกถานั้นแล้ว กลั้นใจทำกาลกิริยา, ไม่เป็น อาบัติ (แก่ผู้กล่าว).

ในการบอก มีวินิจฉัยดังนี้ :- สองบทว่า ปุฏฺโ ภณติ มีความ ว่า ภิกษุถูกเขาถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ ; บุคคลตายอย่างไร จึงจะได้ทรัพย์ หรือจะเกิดขึ้นในสวรรค์? ดังนี้ จึงบอก.

ในการพร่ำสอน มีวินิจฉัยดังนี้ :- บทว่า อปฏฺโ ได้แก่ ไม่ ถูกเขาถามอย่างนั้น บอกเสียเองนั่นแล. สังเกตกรรมและนิมิตกรรม พึงทราบตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ใน อทินนาทานกถา.

[ว่าด้วยอนาปัตติวาร]

พระอุบาลีเถระ ครั้นแสดงประเภทของอาบัติโดยประการต่างๆ อย่าง นั้นแล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงอนาบัติ จึงกล่าวคำว่า อนาปตฺติ อสญฺจิจฺจ เป็นอาทิ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสญฺจิจฺจ ได้แก่ ไม่ได้คิดว่า เราจัก ฆ่าผู้นี้ ด้วยความพยายามนี้. จริงอยู่ เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายามที่ ตนไม่ได้คิดทำอย่างนั้น ไม่เป็นอาบัติ. ประหนึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ! ไม่เป็นอาบัติเพราะไม่แกล้ง.

บทว่า อชานนฺตสฺส ได้แก่ ไม่รู้ว่า ผู้นี้จักตายด้วยความพยายามนี้. เมื่อผู้อื่นแม้ตายไปด้วยความพยายาม ไม่เป็นอาบัติ. ดังพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้ไนเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษว่า ดูก่อนภิกษุ! ไม่ต้องอาบัติแก่ เธอผู้ไม่รู้.


ความคิดเห็น 108    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 422

ข้อว่า น มรณาธิปฺปายสฺส ได้แก่ ไม่ปรารถนาจะให้ตาย. จริงอยู่ ผู้อื่นจะตายด้วยความพยายามใด, ครั้นเมื่อผู้นั้น แม้ถูกฆ่าตายด้วยความพยายาม นั้น ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย ดังพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ ไม่เป็นอาบัติแก่เธอผู้ไม่ประสงค์จะให้ตาย. ภิกษุ บ้าเป็นต้น มีนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล. ก็แลภิกษุทั้งหลายผู้ฆ่ากันและกัน เป็นต้นบัญญัติในสิกขาบทนี้ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้น. แต่คงเป็นอาบัติ แก่ภิกษุทั้งหลายที่เหลือ มีภิกษุผู้พรรณนาคุณความตายเป็นต้นแล.

ปทภาชนียวรรณนา จบ

[ตติยปาราชิกสิกขาบท มีสมุฏฐาน ๓]

ในสมุฏฐานเป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐาน ๓ คือ เกิดแต่กายกับจิต ๑ เกิดแต่วาจากับจิต ๑ เกิดแต่กายวาจากับจิต ๑, เป็นกิริยา เป็นสัญญาวิโมกข์ เป็นสจิตตกะ เป็นโลกวัชชะ เป็นกายกรรม วจีกรรม เป็นอกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา. จริงอยู่ ถ้าแม้นพระราชาเสด็จขึ้น สู่พระที่บรรทมอันทรงสิริ เสวยสุขในราชสมบัติอยู่ เมื่อราชบุรุษกราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ! โจรถูกนำมาแล้ว ตรัสทั้งที่ทรงรื่นเริงแลว่า จงไปฆ่ามัน เสียเถิด พระราชานั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ตรัสด้วยพระหฤทัยอิงโทมนัส นั่นแล. แต่พระหฤทัยที่อิงโทมนัสนั้น อันปุถุชนทั้งหลายรู้ได้ยาก เพราะ เจือด้วยความสุข และเพราะไม่ติดต่อกัน (ในวิถีแห่งโทมนัส) ด้วยประการ ฉะนั้นแล.


ความคิดเห็น 109    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 423

วินีตวัตถุในตติยปาราชิก

[เรื่องพรรณนาคุณความตาย]

ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในคาถาแห่งวินีตวัตถุทั้งหลาย มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:-

บทว่า การุญฺเน ความว่า ภิกษุเหล่านั้น เห็นความทุกข์เพราะ ความเป็นไข้อย่างมากของเธอแล้ว เกิดความกรุณาขึ้น ทั้งเป็นผู้มีความต้องการ จะให้ตายด้วย แต่ไม่ทราบว่าเธอมีความต้องการจะตาย จึงได้พรรณนาคุณ ความตายอย่างนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีศีล ได้ทำกุศลไว้แล้ว เพราะเหตุไร เมื่อจะ ตายจึงกลัวเล่า? ขึ้นชื่อว่า สวรรค์ของผู้มีศีล เป็นของเนื่องด้วยเหตุเพียง ความตายเท่านั้น มิใช่หรือ? ภิกษุแม้นั้นก็ตัดอาหาร เพราะการพรรณนา (คุณความตาย) ของภิกษุเหล่านั้น แล้วก็มรณภาพไปในระหว่างนั้นเอง เพราะเหตุนั้น ภิกษุเหล่านั้น จึงต้องอาบัติ. แต่ท่านพระอุบาลีเถระกล่าวไว้ ด้วยอำนาจโวหารว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้พรรณนาคุณความตายด้วยความกรุณา, เพราะฉะนั้นถึงในบัดนี้ภิกษุผู้เป็นบัณฑิต ก็ไม่ควรพรรณนาคุณความตาย อย่างนั้น แก่ภิกษุผู้อาพาธ. จริงอยู่ ถ้าภิกษุผู้อาพาธนั้นได้ฟังการพรรณนา ของภิกษุนั้นแล้ว มรณภาพลงในระหว่าง ในเมื่ออายุแม้ยังเหลืออยู่ชั่วชวนวาระเดียว ด้วยความพยายามมีการอดอาหารเป็นต้น ไซร้, เธอเป็นผู้ชื่อว่าอัน ภิกษุนี้แลฆ่าแล้ว. แต่ควรให้คำพร่ำสอนโดยนัยนี้ว่า ความเกิดขึ้นแห่งมรรค และผลของท่านผู้มีศีล เป็นของไม่น่าอัศจรรย์เลย; เพราะฉะนั้น ท่านไม่ควร ทำความเกี่ยวข้องในสถานที่มีวิหารเป็นต้น ควรตั้งสติให้ไปในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ และในกาย ทำความไม่ประมาทในมนสิการ. และแม้


ความคิดเห็น 110    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 424

เมื่อภิกษุพรรณนาคุณความตายแล้ว ภิกษุใดไม่ทำความพยายามอะไรๆ เพราะ การพรรณนานั้น มรณภาพไปตามธรรมดาของตนตามอายุ และตามความ สืบต่อ (แห่งอายุ) , ภิกษุผู้พรรณนา อันพระวินัยธรไม่ควรปรับอาบัติ เพราะ ความตายของภิกษุนั้นเป็นปัจจัย ฉะนี้แล.

[เรื่องภิกษุนั่งทับเด็กตาย]

ในคำว่า น จ ภิกฺขเว อปฏิเวกฺขิตฺวา เป็นต้น (ซึ่งมีอยู่) ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:-

ถามว่า อาสนะ เช่นไรต้องพิจารณา เช่นไรไม่ต้องพิจารณา?

แก้ว่า อาสนะล้วนๆ ไม่มีเครื่องปูลาดข้างบน และอาสนะที่เขาปูลาด ต่อหน้าพวกภิกษุผู้มายืนดูอยู่ ไม่ต้องพิจารณา, ควรนั่งได้. แม้บนอาสนะที่ ชาวบ้านเขาเอามือปรบๆ เองแล้วถวายว่า ขอนิมนต์นั่งบนอาสนะนี้เถิด ขอรับ! ดังนี้ ก็ควรนั่งได้. ถ้าแม้นว่า ภิกษุหลายรูปมานั่งอยู่ก่อนแล้วแล. ภายหลัง จึงขยับขึ้นไปข้างบนหรือถอยร่นลงมาข้างล่าง, ไม่มีกิจที่จะต้องพิจารณา. แม้ บนอาสนะที่เขาเอาผ้าบางๆ คลุมไว้ให้มองเห็นพื้น (อาสนะ) ได้ ไม่มีกิจที่ จะต้องพิจารณา. ส่วนอาสนะใด ซึ่งเป็นของที่เขาเอาผ้าปาวารและผ้าโกเชาว์ เป็นต้น ปูลาดไว้ก่อนทีเดียว, ภิกษุควรเอามือลูบคลำกำหนดดูอาสนะนั้นเสีย ก่อนจึงนั่ง. แต่ในมหาปัจจรี ท่านกล่าวไว้ว่า ในอาสนะใด แม้ที่เขาเอาผ้า สาฎกที่หนาปูลาดไว้ รอยย่นย่อมไม่ปรากฏ, อาสนะนั้น ไม่ต้องพิจารณา.

[เรื่องภิกษุทำสากล้มฟาดถูกเด็กตาย]

ในเรื่องสาก มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อสญฺจิจฺโจ ได้แก่ ผู้ไม่มี เจตนาจะฆ่า. จริงอยู่ ภิกษุนั้นมีความประกอบผิดพลาดไป; เพราะฉะนั้น เธอ จึงกราบทูลว่า ข้าพระพุทธเจ้ามิได้แกล้ง เรื่องครกมีเนื้อความชัดเจนแล้วแล.


ความคิดเห็น 111    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 425

[เรื่องภิกษุผู้บุตรผลักภิกษุผู้บิดาล้มตาย]

ในเรื่องแรก (ซึ่งมีอยู่) ในเรื่องพวกพระขรัวตา มีวินิจฉัยดังนี้:- (ภิกษุผู้บุตรได้กล่าวกะภิกษุผู้บิดา) ว่า ท่านอย่าได้ทำให้ภิกษุสงฆ์เป็นกังวล ดังนี้ จึงผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไป.

ในเรื่องที่ ๒ มีวินิจฉัยดังนี้:- (ภิกษุผู้บุตรถูกเพื่อนพรหมจารี) กล่าวล้อเลียนอยู่ทั้งในท่ามกลางสงฆ์บ้าง ในท่ามกลางคณะบ้างว่า บุตรของ พระเถระแก่ อึดอัดอยู่ด้วยคำพูดนั้นจึงได้ผลัก (ภิกษุผู้บิดา) ไปด้วยคิดว่า พระขรัวตานี้ จงตายเสียเถิด.

ในเรื่องที่ ๓ มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้บุตร เพราะ ก่อทุกข์ให้เกิดแก่ภิกษุผู้บิดานั้น. ๓ เรื่องถัดจากนั้นไป มีเนื้อความชัดเจน ทั้งนั้น.

[เรื่องภิกษุฉันบิณฑบาตเจือยาพิษตาย]

ในเรื่องบิณฑบาตเจือด้วยยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุผู้บำเพ็ญ สาราณียธรรมนั้น ถวายบิณฑบาตส่วนเลิศแก่เพื่อนสพรหมจารีทั้งหลายเสียก่อน จึงฉัน. เพราะเหตุนั้น ท่านพระอุบาลีเถระ จึงกล่าวไว้ว่า ได้ถวายบิณฑบาต นั้น ทำให้เป็นต้นส่วนเลิศ.

บทว่า อคฺคการิกํ ได้แก่ บิณฑบาตที่ตนได้มาครั้งแรก ซึ่งทำให้ เป็นส่วนเลิศ, อีกอย่างหนึ่ง อธิบายว่า บิณฑบาตที่ยอดเยี่ยมคือที่ประณีตๆ. ก็กิริยาที่ทำให้เป็นส่วนเลิศ กล่าวคือการให้ของภิกษุ นั้นใครๆ ไม่อาจถวาย ได้. จริงอยู่ถึงบิณฑบาต (ตามปกติ) เธอก็ได้ถวายตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระ ลงไป.


ความคิดเห็น 112    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 426

สองบทว่า เต ภิกฺขู ได้แก่ ภิกษุเหล่านั้น คือ ผู้ฉันบิณฑบาต ตั้งต้นแต่อาสนะพระเถระลงไป. ได้ยินว่า ภิกษุเหล่านั้น ได้มรณภาพทั้งหมด ทุกรูป. คำที่เหลือในเรื่องนี้ ชัดเจนทั้งนั้น. อันภิกษุได้บิณฑบาตที่ประณีต โดยเคารพ ในตระกูลพวกมิจฉาทิฏฐิผู้ไม่มีศรัทธายังไม่ได้พิจารณา ตนเองไม่ ควรฉันด้วย ทั้งไม่ควรถวายแก่ภิกษุเหล่าอื่นด้วย. ภิกษุได้ภัตตาหารหรือของ ควรขบฉันแม้สิ่งใด ที่เป็นของค้างคืนมาจากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น, ภัตตาหาร. เป็นต้นแม้นั้น ไม่ควรฉัน. เพราะว่า ตระกูลเหล่านั้น ย่อมถวายแม้วัตถุที่ เขาไม่ได้เอาอะไรปิดไว้ ซึ่งมีงูและแมลงป่องเป็นต้นนอนทับอยู่ เป็นของที่ จะต้องทิ้งเป็นธรรมดา. ภิกษุไม่ควรรับบิณฑบาตแม้ที่เปื้อนด้วยวัตถุ มีของ หอมและขมิ้นเป็นต้น จากตระกูลมิจฉาทิฏฐินั้น. จริงอยู่ ตระกูลมิจฉาทิฏฐิ เหล่านั้น ย่อมสำคัญซึ่งภัตตาหารอันตนเอาเช็ดถูที่มีโรคในร่างกายแล้วเก็บไว้ว่า เป็นของควรถวายแล.

[เรื่องภิกษุทดลองยาพิษ]

ในเรื่องทดลองยาพิษ มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุเมื่อจะทดลอง จึง ทดลองทั้ง อย่าง (ทดลองยาพิษและบุคคล) คือ ทดลองยาพิษด้วยคิดว่า ยาพิษขนานนี้ จะสามารถฆ่าบุคคลคนนี้ตายหรือไม่หนอ? หรือทดลองบุคคล ด้วยคิดว่า บุคคลนี้ ดื่มยาพิษขนานนี้แล้วจะพึงตายหรือไม่หนอ? เมื่อภิกษุ ให้ยาพิษด้วยความประสงค์จะทดลองแม้ทั้ง ๒ อย่าง เขาจะตายหรือไม่ก็ตาม เป็นถุลลัจจัย. แต่เมื่อภิกษุให้ยาพิษ ด้วยคิดอย่างนี้ว่า ยาพิษขนานนี้จงฆ่า บุคคลนี้ให้ตาย หรือว่า บุคคลคนนี้ ดื่มยาพิษขนานนี้แล้ว จงตาย ดังนี้, ถ้าบุคคลนั้นตาย เป็นปาราชิก, ถ้าไม่ตาย เป็นถุลลัจจัย.


ความคิดเห็น 113    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 427

เรื่องการส่งศิลา ๓ เรื่อง ถัดจากเรื่องทดลองยาพิษนี้ไป และเรื่อง ก่ออิฐ เรื่องส่งมีด และเรื่องส่งกลอนอย่างละ ๓ เรื่อง มีเนื้อความชัดเจน ทั้งนั้น. ก็ความแตกต่างแห่งอาบัติและอนาบัตินี้ หามีด้วยอำนาจแห่งศิลา เป็นต้น อย่างเดียวเท่านั้นไม่. แต่ย่อมมีได้ด้วยอำนาจแม้แห่งวัตถุมีไม้พลอง ค้อน สิ่ว และฟืนเป็นต้นเหมือนกัน. เพราะฉะนั้น วัตถุมีไม้พลองเป็นต้นนั้น แม้มิได้มาในพระบาลี ก็พึงทราบโดยนัยที่มาแล้วนั่นเอง.

[เรื่องภิกษุผูกร่างร้าน]

ในเรื่องผูกร่างร้าน มีวินิจฉัยดังนี้:- เตียงเหินฟ้า (๑) ซึ่งเป็นของ ที่พวกชนผูกไว้ เพื่อประโยชน์แก่การงาน มีเสตกรรม (ฉาบทาสีขาว) มาลากรรม (เขียนลายดอกไม้) และลดากรรม (เขียนลายเถาวัลย์) เป็นต้น เขาเรียกว่า ร่างร้าน. ในเรื่องผูกร่างร้านนั้น ภิกษุผู้มีความประสงค์จะให้ตาย กล่าวหมายเอาสถานที่ซึ่งภิกษุผู้ยืนอยู่ แล้วจะพึงพลัดตกลงกระทบตอ หรือจะ พึงมรณภาพไป ในบ่อและเหวเป็นต้นว่า อาวุโส! คุณจงยืนผูกที่ตรงนี้.

ก็บรรดาสถานที่เหล่านั้น ภิกษุบางรูป ย่อมกำหนดที่ข้างบนไว้ด้วย คิดว่า เขาจักพลัดตกจากที่นี่ตาย บางรูป ย่อมกำหนดที่ข้างล่างไว้ ด้วยคิดว่า เขาจักพลัดตกตายจากที่นี้ บางรูป ย่อมกำหนดที่แม้ทั้ง ๒ แห่ง ด้วยติดว่า เขาจักพลัดตกจากที่นี้ แล้วตายในที่นี้. บรรดาสถานที่ๆ ภิกษุกำหนดไว้นั้น ผู้ใดไม่พลัดตกไปจากที่ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างบน พลัดตกไปจากที่อื่นก็ดี, ไม่พลัดตกไปในที่ๆ ภิกษุกำหนดไว้ข้างล่าง พลัดตกไปในที่อื่นก็ดี, พลัดตก พลาดไปในบรรดาที่กำหนดไว้ทั้ง ๒ แห่ง แห่งใดแห่งหนึ่งก็ดี, เมื่อผู้นั้นตาย ชื่อว่าไม่เป็นอาบัติเพราะมีความลักลั่น. แม้ในเรื่องมุงวิหารก็นัยนี้.


(๑) เตียงที่ผูกไว้บนอากาศ หรือขัดห้างที่เขาทำไว้บนต้นไม้สำหรับพักเพื่อดักยิงสัตว์ เรียกว่า เตียงเหินฟัง หรือขัดห้าง.


ความคิดเห็น 114    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 428

[เรื่องภิกษุโจนลงเหวทับช่างสานตาย]

ในเรื่องภิกษุกระสัน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่า ภิกษุนั้นเห็น ความฟุ้งซ่านขึ้นแห่งอกุศลวิตกทั้งหลาย มีกามวิตกเป็นต้น เมื่อไม่อาจห้ามได้ ทั้งไม่ยินดีในพระศาสนา จึงเป็นผู้มุ่งหน้าไปเพื่อเป็นคฤหัสถ์ แต่ภายหลังคิด ได้ว่า เราจักตาย ตราบเท่าที่เรายังไม่เสียศีล. คราวนั้นเธอจึงขึ้นภูเขานั้น แล้วโจนลงไปในเหว ทับช่างสานคนใดคนหนึ่งตาย.

บทว่า วิลิวาการํ แปลว่า ช่างสานไม้ไผ่.

หลายบทว่า น จ ภิกฺขเว อตฺตานํ ปาเตตพฺพํ ความว่า ตน อันภิกษุไม่พึงให้ตกลงไป. ก็บทว่า อตฺตานํ นั่น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส ด้วยวิภัตติเปลี่ยนแปลงไป. แต่ในอธิการว่าด้วยการยังตนให้ตกไปนี้ ภิกษุไม่ ควรยังตนให้ตกไปอย่างเดียวก็หาไม่, ถึงบุคคลอื่นก็ไม่ควรฆ่าด้วยความพยายาม อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุดแม้ด้วยการอดอาหาร. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด อาพาธ มีความประสงค์จะตาย เมื่อเภสัชและผู้อุปัฏฐากมีอยู่ ก็ตัดอาหารเสีย, ภิกษุ นั้นต้องทุกกฏทีเดียว. ส่วนภิกษุใด อาพาธหนักเป็นเครื่องผูกพันอยู่นาน (ต้องรักษาพยาบาลอยู่นาน) ภิกษุทั้งหลายผู้อุปัฏฐากอยู่ ย่อมลำบาก เกลียดชัง คืออึดอัดอยู่ ด้วยคิดว่า เมื่อไรหนอ? พวกเราจักพ้นจากภิกษุอาพาธ. ถ้า ภิกษุนั้น คิดว่า อัตภาพนี้ แม้ถูกประคับประคองไว้ ก็ไม่ดำรงอยู่ และ ภิกษุทั้งหลายก็ลำบาก แล้วตัดอาหารเสีย ไม่เสพเภสัช, ข้อที่เธอตัดอาหาร เสียนั้น ย่อมควร. ส่วนภิกษุใดคิดว่า โรคนี้ร้ายแรง, อายุสังขาร ย่อมไม่ ดำรงอยู่, และการบรรลุคุณวิเศษของเรานี้ ย่อมปรากฏ เหมือนอยู่ในเงื้อม มือแล้ว จึงตัดอาหารเสีย; ข้อที่เธอตัดอาหารเสียนั้น ย่อมควรเหมือนกัน. แม้เมื่อภิกษุผู้ไม่อาพาธ เกิดความสังเวชขึ้นแล้ว ตัดอาหารเสีย ด้วยหัวข้อ


ความคิดเห็น 115    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 429

กรรมฐาน เพราะติดได้ว่า ชื่อว่าการแสวงหาอาหารเป็นที่เนิ่นช้า, เราจักตาม ประกอบกรรมจานเท่านั้น ดังนี้, ข้อที่เธอตัดอาหารเสียนั้น ย่อมควร ภิกษุ พยากรณ์การบรรลุคุณวิเศษ แล้วตัดอาหารเสีย; ข้อนั้นย่อมไม่ควร. แต่จะ บอกแก่ลัชชีภิกษุทั้งหลาย ผู้เป็นสภาคกัน ควรอยู่.

[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์กลิ้งศิลาเล่นทับคนเลี้ยงโคตาย]

ในเรื่องศิลา มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า ทวาย แปลว่า ด้วยการ เล่น คือ ด้วยการหัวเราะ, อธิบายว่า ด้วยการเล่นคะนอง. ที่ชื่อว่า ศิลา ได้แก่ ก้อนหิน. และไม่ใช่แต่หินอย่างเดียว ถึงท่อนไม้ หรือก้อนอิฐอย่างใด อย่างหนึ่งแม้อื่น ภิกษุจะใช้มือหรือเครื่องยนต์กลิ้ง ย่อมไม่ควร. พวกภิกษุ พากันหัวเราะเสสรวลกลิ้งอยู่ก็ดี ยกขึ้นอยู่ก็ดี ซึ่งวัตถุมีหินเป็นต้น เพื่อ ประโยชน์แก่พระเจดีย์เป็นต้น, จัดเป็นคราวทำการงาน; เพราะเหตุนั้น กิจ มีการกลิ้งเป็นต้น จึงควร พวกภิกษุ เมื่อจะทำนวกรรมแม้อย่างอื่นเช่นนี้ หรือจะซักสิ่งของ ยกต้นไม้หรือท่อนไม้สำหรับซักขึ้นแล้ว กลิ้งไป, ข้อนั้น ย่อมควร. ในเวลาทำภัตกิจเป็นต้น ภิกษุขว้างท่อนไม้หรือกระเบื้องถ้วยไปไล่ ฝูงกา และเหล่าสุนัขให้หนีไป; ข้อนั้น ย่อมควร.

เรื่องทั้งหลายมีเรื่องนึ่งตัวเป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนทั้งหมดแล้ว. แล. อนึ่ง ในวิสัยแห่งเรื่องนึ่งตัวเป็นต้นนี้ อันภิกษุไม่ควรทำคิลานุปัฏฐาก ด้วยคิดว่า เรามีความรังเกียจ ทุกอย่าง พึงเข้าไปกำหนดกำลังหรือไม่มีกำลัง ความชอบใจและความสบายของภิกษุอาพาธ แล้วทำโดยความเป็นผู้หวัง ประโยชน์เกื้อกูล.


ความคิดเห็น 116    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 430

[เรื่องภิกษุทำยาให้หญิงมีครรภ์กับชู้ตกไปเป็นต้น]

ในเรื่องหญิงมีครรภ์กับชู้ มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า ปวุฏฺฐปติกา แปลว่า หญิงผู้มีสามีหย่าร้างไปนานแล้ว. บทว่า คพฺภปาตนํ ได้แก่ เภสัช เช่นกับขนานที่หญิงบริโภคแล้ว เป็นเหตุให้ครรภ์ตกไป. เรื่องหญิงร่วมผัว ๒ คน มีเนื้อความชัดเจนแล้วแล.

ในเรื่องรีดลูก มีวินิจฉัยดังนี้:- หญิงมีครรภ์นั้น เมื่อภิกษุบอกว่า จงรีดให้ตกไปเองเถิด วานให้ผู้อื่นรีด ทำให้ตกไป; เป็นผิดความมุ่งหมาย แม้เมื่อภิกษุบอกว่า จงวานผู้อื่นรีดทำให้ตกไปเถิด แต่นางรีดทำให้ตกไปเสีย เอง; เป็นผิดความมุ่งหมายเหมือนกัน. ชื่อว่าปริยาย ในมนุสสวิคคหะ ย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น เมื่อภิกษุพูดว่า ขึ้นชื่อว่าครรภ์ถูกรีดแล้ว จะตก ไปเอง, หญิงมีครรภ์นั้น จงรีดเองหรือจงวานให้ผู้อื่นรีดให้ตกไปก็ตาม, ไม่มี ความลักลั่น เป็นปาราชิกทีเดียว. แม้ในเรื่องนาบครรภ์ให้ร้อนก็นัยนี้เหมือน กัน.

[เรื่องภิกษุทำยาให้หญิงหมันมีบุตรตาย]

ในเรื่องหญิงหมัน มีวินิจฉัยดังนี้:- หญิงผู้ไม่ตั้งครรภ์ ชื่อว่า หญิงหมัน. ธรรมดาหญิงไม่ตั้งครรภ์ ย่อมไม่มี แต่ว่าครรภ์แม้ที่หญิงคนใด ตั้งขึ้นแล้ว ไม่ดำรงอยู่, ข้อนี้ ท่านกล่าวหมายเอาหญิงนั้น. ได้ยินว่า ใน คราวมีระดู หญิงทุกจำพวก ย่อมตั้งครรภ์, แต่อกุศลวิบากมาประจวบเข้า แก่พวกสัตว์ผู้เกิดในท้องของหญิงที่เรียกกันว่า เป็นหมัน นี้. สัตว์เหล่านั้น ถือปฏิสนธิมาด้วยกุศลวิบากเพียงเล็กน้อย ถูกอกุศลวิบากครอบงำจึงพินาศไป. จริงอยู่ ในขณะปฏิสนธิใหม่ๆ นั่นเอง ครรภ์ทั้งอยู่ไม่ได้ ด้วยอาการ ๒ อย่าง คือด้วยลม หรือสัตว์เล็กๆ เพราะกรรมานุภาพ ลมพัด (ครรภ์) ให้แห้งแล้ว


ความคิดเห็น 117    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 431

ทำให้อันตรธานไป. สัตว์เล็กๆ ทั้งหลาย กัดกิน (ครรภ์ ทำให้อันตรธาน ไป). แต่เมื่อแพทย์ประกอบเภสัช เพื่อกำจัดลมและพวกสัตว์เล็กนั้นแล้ว ครรภ์พึงทั้งอยู่ได้. ภิกษุนั้น ไม่ได้ปรุงเภสัชขนานนั้น ได้ให้เภสัชที่ร้ายแรง ขนานอื่น. นางได้ตายไป เพราะเภสัชขนานนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ทรง บัญญัติทุกกฏไว้ เพราะภิกษุปรุงเภสัช. แม้ในเรื่องที่ ๒ ก็นัยนี้เหมือนกัน.

[ภิกษุไม่ควรทำยาแก่ชนอื่นแต่ควรทำให้สหธรรมิกทั้ง ๕]

เพราะฉะนั้น ภิกษุไม่ควรทำเภสัชแก่ชนอื่นผู้มาแล้วๆ , เมื่อทำ ต้อง ทุกกฏ. แต่ควรทำให้แก่สหธรรมิกทั้ง ๕ คือ ภิกษุ ภิกษุณี สิกขมานา สามเณร สามเณรี. จริงอยู่ สหธรรมิกทั้ง ๕ เหล่านั้นเป็นผู้มีศีล ศรัทธา และปัญญาเสมอกัน ทั้งประกอบในไตรสิกขาด้วย ภิกษุจะไม่ทำเภสัชให้ย่อม ไม่ได้, และเมื่อจะทำ ถ้าสิ่งของๆ สหธรรมิกเหล่านั้นมีอยู่, พึงถือเอาสิ่ง ของๆ สหธรรมิกเหล่านั้น ปรุงให้. ถ้าไม่มี, ควรเอาของๆ ตนทำให้ ถ้า แม้ของๆ ตนก็ไม่มี พึงแสวงหาด้วยภิกขาจารวัตร หรือจากที่แห่งญาติและ คนปวารณา (ของตน). เมื่อไม่ได้ ควรนำสิ่งของมาทำให้ แม้ด้วยการไม่ทำ วิญญัติ (คือขอในที่ๆ เขาไม่ได้ทำปวารณาไว้) เพื่อประโยชน์แก่คนไข้. ควรทำ ยาให้แก่คนนี้ ๕ จำพวก แม้อื่นอีก คือ มารดา ๑ บิดา ๑ คนบำรุง มารดาบิดานั้น ๑ ไวยาจักรของตน ๑ คนปัณฑุปลาส ๑. คนผู้ที่ชื่อว่าปัณฑุ- ปลาส ได้แก่ คนผู้เพ่งบรรพชา ยังอยู่ในวิหารตลอดเวลาที่ยังตระเตรียมบาตร และจีวร. บรรดาชน ๕ จำพวกเหล่านั้น ถ้ามารดาและบิดาเป็นใหญ่ ไม่หวัง ตอบแทนไซร้, จะไม่ทำให้ก็ดีควร. แต่ถ้าท่านทั้ง ๒ ดำรงอยู่ในราชสมบัติ ยังหวังตอบแทนอยู่, จะไม่ทำ ไม่ควร. เมื่อท่านทั้ง ๒ หวังเภสัช ควรให้ เภสัช. เมื่อท่านทั้ง ๒ ไม่รู้วิธีประกอบยาควรประกอบยาให้. ควรแสวงหา


ความคิดเห็น 118    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 432

เภสัชเพื่อประโยชน์แก่ชน ๕ จำพวก มีมารดาเป็นต้นแม้ทั้งหมด โดยนัยดังที่ กล่าวแล้วในสหธรรมิกนั่นแล. ก็ถ้าภิกษุนำมารดามาปรนนิบัติอยู่ในวิหาร, อย่าถูกต้องพึงบริกรรมทุกอย่าง, พึงให้ของเคี้ยว ของบริโภคด้วยมือตนเอง. ส่วนบิดาพึงบำรุงทำกิจทั้งหลาย มีการให้อาบน้ำและการนวดเป็นต้น ด้วยมือ ตนเอง เหมือนอย่างสามเณรฉะนั้น. ชนเหล่าใดย่อมบำรุงประคับประคอง มารดาและบิดา, ภิกษุควรทำเภสัช แม้แก่ชนเหล่านั้น อย่างนั้นเหมือนกัน. คนผู้ที่ชื่อว่า ไวยาจักร ได้แก่ ผู้รับเอาค่าจ้างแล้ว ตัดฟืนในป่า หรือทำ การงานอะไรๆ อย่างอื่น. เมื่อเกิดเป็นโรคขึ้นแก่เขา ภิกษุควรทำเภสัชให้ จนกว่าพวกญาติจะพบเห็น. ส่วนผู้ใดเป็นเพียงคนอาศัยภิกษุ ทำการงานทุก อย่าง, ภิกษุควรทำเภสัชให้แก่คนคนนั้นเหมือนกัน. แม้ในปัณฑุปลาส ก็ควรปฏิบัติเหมือนในสามเณร ฉะนั้น

[ภิกษุควรทำยาให้คน ๑๐ จำพวก]

ภิกษุควรทำยาให้แก่ชน ๑๐ จำพวก แม้อื่นอีก คือ พี่ชาย ๑ น้อง ชาย ๑ พี่หญิง ๑ น้องหญิง ๑ น้าหญิง ๑ ป้า ๑ อาชาย ๑ ลุง ๑ อาหญิง ๑ น้าชาย ๑. ก็เมื่อจะทำให้แก่ชนมีพี่ชายเป็นต้นนั้นแม้ทั้งหมด ควรเอาเภสัช อันเป็นของๆ คนเหล่านั้นนั่นแล ปรุงให้อย่างเดียว, แต่ถ้าสิ่งของๆ ชน เหล่านั้น ไม่เพียงพอ และชนเหล่านั้นก็ขอร้องอยู่ว่า ท่านขอรับ! โปรดให้ พวกกระผมเถิด พวกกระผมจักถวายคืนแก่พระคุณท่าน, ควรให้เป็นของยืม, ถึงหากพวกเขาไม่ขอร้อง, ภิกษุควรพูดว่า อาตมา มีเภสัชอยู่, พวกท่านจง ถือเอาเป็นของยืมเถิด หรือควรทำความผูกใจไว้ว่า สิ่งของๆ ชนเหล่านั้น จักมีเมื่อใด เขาจักให้เมื่อนั้น ดังนี้ แล้วพึงให้ไป. ถ้าเขาคืนให้ควรรับเอา, ถ้าไม่คืนให้ ไม่ควรทวง. เว้นญาติ ๑๐ จำพวกเหล่านั้นเสีย ไม่ควรให้เภสัช


ความคิดเห็น 119    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 433

แก่ชนเหล่าอื่น. ก็เมื่อภิกษุใช้ให้ญาตินำจตุปัจจัยมาตราบเท่าจนถึง ๗ ชั่วเครือ สกุล โดยสืบๆ กันมาแห่งบุตรของญาติ ๑๐ จำพวก มีพี่ชายเป็นต้นเหล่านั้น ไม่เป็นการทำวิญญัติ เมื่อทำเภสัช (แก่ชนเหล่านั้น) ก็ไม่เป็นเวชกรรม หรือไม่เป็นอาบัติ เพราะประทุษร้ายสกุล. ถ้าพี่สะใภ้ น้องสะใภ้ หรือพี่เขย น้องเขย เป็นไข้, ถ้าเขาเป็นญาติ, จะทำเภสัชแก่ญาติแม้เหล่านั้น ก็ควร. ถ้าเขามิใช่ญาติพึงทำให้แก่พี่ชาย และพี่หญิง ด้วยสั่งว่า จงให้ในที่ปฏิบัติของ พวกท่าน. อีกอย่างหนึ่ง พึงทำให้แก่บุตรของเขา ด้วยสั่งว่า จงให้แก่มารดา และบิดาของพวกเจ้าเถิด. พึงทราบวินิจฉัยในบททั้งปวงโดยอุบายนี้. อันภิกษุ เมื่อจะใช้สามเณรทั้งหลาย ให้นำเภสัชมาจากป่าเพื่อประโยชน์แก่พี่สะใภ้ น้อง สะใภ้เป็นต้นเหล่านั้น ควรใช้พวกสามเณรที่เป็นญาติให้นำมา หรือ พึงให้นำ มาเพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วจึงให้ไป. แม้พวกสามเณรผู้ ไม่ใช่ญาติเหล่านั้น ก็ควรนำมาด้วยหัวข้อวัตรว่า พวกเราจะนำมาถวายพระอุปัชฌายะ. โยมมารดา และบิดาของพระอุปัชฌายะ เป็นไข้ มายังวิหาร, และพระอุปัชฌายะหลีกไป สู่ทิศเสีย. สัทธิวิหาริก ควรให้เภสัชอัน เป็นของๆ พระอุปัชฌายะ. ถ้าไม่มี ควรบริจาคเภสัชของตน ถวายพระอุปัชฌายะให้ไป. แม้เมื่อของๆ ตนก็ไม่มี ควรแสวงหาทำให้เป็นของๆ พระอุปัชฌายะแล้วให้ไป โดยนัยดังกล่าวแล้ว. ในโยมมารดาและบิดาของสัทธิวิหาริก แม้พระอุปัชฌายะก็ควรปฏิบัติเหมือน อย่างนั้นเหมือนกัน. ในอาจารย์และอันเตวาสิกก็นัยนี้.

[ภิกษุควรทำยาให้แคน ๕ จำพวก]

บุคคลแม้อื่นใด คือ คนจรมา ๑ โจร ๑ นักรบแพ้ ๑ ผู้เป็น ใหญ่ ๑ คนที่พวกญาติสละเตรียมจะไป ๑ เป็นไข้เข้าไปสู่วิหาร ภิกษุผู้ไม่ หวังตอบแทน ควรทำเภสัช แก่คนทั้งหมดนั้น. ตระกูลที่มีศรัทธาบำรุงด้วย


ความคิดเห็น 120    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 434

ปัจจัย ๔ ย่อมตั้งอยู่ในฐานเป็นมารดาและบิดาของภิกษุสงฆ์. ถ้าในตระกูลนั้น มีคนบางคน เป็นไข้, ชนทั้งหลายเรียนขอเพื่อประโยชน์แก่ผูเป็นไข้นั้นว่า ท่านขอรับ! ขอพระคุณท่านทำเภสัชให้ ด้วยความวิสาสะเถิด, ไม่ควรให้ ทั้งไม่ควรทำเลย. ก็ถ้าพวกเขารู้สิ่งที่ควร เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ! เขาปรุงเภสัชอะไรแก้โรคชื่อโน้น? ภิกษุจะตอบว่า เขาเอาสิ่งนี้และสิ่งนี้ ทำ (เภสัช) ดังนี้ ก็ควร. ก็ภิกษุถูกคฤหัสถ์เรียนถามอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ! มารดาของกระผมเป็นไข้ ขอได้โปรดบอกเภสัชด้วยเถิด ดังนี้ ไม่ควรบอก. แต่ควรสนทนาถ้อยคำกะกันและกันว่า อาวุโส! ในโรคชนิดนี้ ของภิกษุ ชื่อโน้น เขาปรุงเภสัชอะไรแก้? ภิกษุทั้งหลายเรียนว่า เขาเอาสิ่งนี้และนี้ ปรุงเภสัช ขอรับ! ฝ่ายชาวบ้าน ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ย่อมปรุงเภสัชแก่ มารดา; ข้อที่ภิกษุสนทนากันนั้น ย่อมควร.

[เรื่องพระมหาปทุมเถระสนทนาเรื่องยาแก้โรค]

ได้ยินว่า แม้พระมหาปทุมเถระ เมื่อพระเทวีของพระเจ้าวสภะเกิด ประชวรพระโรคขึ้น ก็ถูกนางนักสนมคนหนึ่งมาเรียนถาม ท่านก็ไม่พูดว่า ไม่รู้ ได้สนทนากับพวกภิกษุเหมือนอย่างที่กล่าวมาแล้วนนี้แล. ข้าราชบริพาร ฟังคำสนทนานั้นแล้ว ได้ปรุงเภสัชถวายแด่พระเทวีพระองค์นั้น. และเมื่อ พระโรคสงบลงแล้ว ข้าราชบริพารได้บรรทุกผอบเภสัชให้เต็มพร้อมทั้งไตร จีวรและกหาปณะ ๓๐๐ นำไปวางไว้ใกล้เท้าของพระเถระ แล้ว เรียนว่า ท่าน เจ้าข้า! โปรดทำการบูชาด้วยดอกไม้เถิด. พระเถระคิดว่า นี้ชื่อว่าเป็นส่วน ของอาจารย์ แล้วให้ไวยาจักรรับไว้ด้วยอำนาจเป็นของกับปิยะ ได้ทำการบูชา ด้วยดอกไม้แล้ว. ภิกษุควรปฏิบัติในเภสัชอย่างนี้ก่อน.


ความคิดเห็น 121    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 435

[เรื่องสวดพระปริตร]

ก็ในพระปริตร มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุถูกชาวบ้านอาราธนาว่า โปรดทำพระปริตรแก่คนไข้เถิด ขอรับ! ดังนี้ ไม่ควรทำ, แต่เมื่อเขาอาราธนา ว่า โปรดสวดเถิด, ควรทำ. ถ้าแม้ภิกษุนั้น มีความวิตกว่า ธรรมดามนุษย์ ทั้งหลาย ย่อมไม่รู้, เมื่อเราไม่ทำ จักเป็นผู้เดือดร้อน ดังนี้, ก็ควรทำ. ส่วนภิกษุถูกอาราธนาว่า โปรดทำน้ำพระปริตร เส้นด้ายพระปริตรให้เถิด ดัง นี้ ควรเอามือ (ของตน) กวนน้า ลูบคลำเส้นด้าย ของมนุษย์เหล่านั้นแล ให้ไป. ถ้าภิกษุให้น้ำจากวิหาร หรือเส้นด้ายซึ่งเป็นของๆ ตน เป็นทุกกฏ. พวกชาวบ้านนั่งถือน้ำและเส้นด้าย กล่าวอยู่ว่า ขอนิมนต์สวดพระปริตร ดัง นี้ควรทำ, ถ้าเขาไม่รู้ ควรบอกให้. พวกชาวบ้านตรวจน้ำทักษิโณทก * ลง และวางเส้นด้ายไว้ใกล้เท้าทั้งหลายของพวกภิกษุผู้นั่งอยู่แล้ว ก็ไป ด้วยเรียน ว่า ขอนิมนต์ทำพระปริตรสวดพระปริตรเถิด ดังนี้, ภิกษุไม่พึงชักเท้าออก เพราะว่า พวกชาวบ้านจะเป็นผู้มีความเดือดร้อน. พวกชาวบ้านส่งคนไปยัง วิหาร เพื่อประโยชน์แก่คนไข้ ภายในบ้านด้วยสั่งว่า ขอภิกษุทั้งหลาย โปรด สวดพระปริตร ดังนี้, ภิกษุควรสวด. เมื่อโรคหรือความจัญไร เกิดขึ้นใน พระราชมณเฑียรเป็นต้น ภายในบ้าน อิสระชนมีกษัตริย์เป็นต้น รับสั่งให้ อาราธนาภิกษุมาแล้ว นิมนต์ให้สวด (พระปริตรเป็นต้น). ภิกษุพึงสวดพระ สูตรทั้งหลาย มีอาฏานาฏิยสูตรเป็นต้น. แม้เมื่อพวกชาวบ้านส่งคนไปนิมนต์ ว่า ขอภิกษุทั้งหลาย จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมแก่คนไข้เถิด หรือว่า จงมาให้สิกขาบท แสดงธรรมที่พระราชวังหลวง หรือที่เรือนของอำมาตย์เถิด ดังนี้ ภิกษุควรไปให้สิกขาบท ควรกล่าวธรรม. พวกชาวบ้านนิมนต์ว่า ขอ


(๑) อุทกนฺติ ทกฺขิโณทกํ. บทว่า อุทกํ ได้แก่ น้ำทักษิโณทก. สารัตถทีปนี ๒/๔๒๗.


ความคิดเห็น 122    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 436

ภิกษุทั้งหลาย จงมาเพื่อเป็นบริวาร (เพื่อน) ของคนตาย, ไม่ควรไป. ภิกษุ จะไปด้วยมุ่งกรรมฐานเป็นหลักว่า เราจักกลับได้มรณสติ เพราะเห็นกระดูกใน ป่าช้า และเพราะเห็นอสุภ ดังนี้ ควรอยู่. ภิกษุควรปฏิบัติในพระปริตร ดัง พรรณนามาฉะนี้.

[ว่าด้วยเรื่องอนามัฏฐบิณฑบาต]

ส่วนในบิณฑบาต มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า อนามัฏฐบิณฑบาต ควรให้แก่ใคร ไม่ควรให้แก่ใคร? แก้ว่า ควรให้แก่มารดาและบิดาก่อน. ก็หาก ว่า บิณฑบาตนั้น จะเป็นของมีราคาตั้งกหาปณะ ก็ไม่จัดว่าเป็นการยังศรัทธาไทยให้ตกไป, ควรให้แม้แก่คนเหล่านี้ คือ พวกคนบำรุงมารดาบิดา ไวยาจักร คนปัณฑุปลาส. บรรดาคนเหล่านั้น สำหรับคนปัณฑุปลาส จะใส่ในภาชนะ ให้ ก็ควร. เว้นคนปัณฑุปลาสนั้นเสีย จะใส่ในภาชนะให้แก่คฤหัสถ์เหล่าอื่น แม้เป็นมารดาบิดา ก็ไม่ควร. เพราะว่า เครื่องบริโภคของบรรพชิตทั้งอยู่ใน ฐานเป็นเจดีย์ของพวกคฤหัสถ์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าอนามัฏฐบิณฑบาตนี้พึง ให้แก่โจรผู้ลือชื่อบ้าง ทั้งแก่อิสรชนบ้าง ผู้มาถึงเข้า. เพราะเหตุไร? เพราะ เหตุว่า ชนเหล่านั้นแม้เมื่อไม่ให้ ก็โกรธว่า ไม่ให้ แม้เมื่อจับต้องให้ ก็ โกรธว่า ให้ของเป็นเดน. ชนเหล่านั้น โกรธแล้วย่อมปลงจากชีวิตเสียบ้าง ย่อมทำอันตรายแก่พระศาสนาบ้าง. ก็ในข้อนี้ พึงแสดงเรื่องพระเจ้าโจรนาคผู้ เทียวปรารถนาราชสมบัติ (เป็นอุทาหรณ์). ภิกษุควรปฏิบัติในบิณฑบาต ดัง พรรณนามาฉะนี้.

[ว่าด้วยเรื่องปฏิสันถาร]

ส่วนในปฏิสันถาร มีวินิจฉัยดังนี้:- ถามว่า ปฏิสันถาร ควรทำ แก่ใคร ไม่ควรทำแก่ใคร แก้ว่า ชื่อว่าปฏิสันถาร อันภิกษุควรทำทั้งนั้นแก่


ความคิดเห็น 123    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 437

ผู้ใดผู้หนึ่งที่มาถึงวิหาร จะเป็นคนจรมา คนเข็ญใจเป็นโจร หรือเป็นอิสรชน ก็ตาม. ถามว่า พึงทำอย่างไร. แก้ว่า เห็นอาคันตุกะ หมดเสบียงลง มา ถึงวิหาร พึงให้น้ำดื่มก่อน ด้วยกล่าวว่า เชิญดื่มน้ำเถิด, พึงให้น้ำมันทาเท้า. อาคันตุกะมาในกาลพึงให้ข้าวยาคูและภัต. อาคันตุกะมาในเวลาวิกาล ถ้า ข้าวสารมี พึงให้ข้าวสาร, ไม่ควรพูดว่า ท่านมาถึงในคราวมิใช่เวลา, จงไป เสีย. พึงให้ที่นอน. ไม่หวังความตอบแทนเลย ควรทำกิจทุกอย่าง. ไม่ควร ให้ความคิดเกิดขึ้นว่า ธรรมดามนุษย์ ผู้ให้ปัจจัย ๔, เมื่อเราทำการสงเคราะห์ อยู่อย่างนี้ จักเลื่อมใสทำอุปการะบ่อยๆ. ถึงแม้วัตถุของสงฆ์ ก็ควรให้แก่ พวกโจรได้. และเพื่อแสดงอานิสงส์ปฏิสันถาร พระอรรถกถาจารย์ จึงกล่าว เรื่องไว้หลายเรื่อง ในมหาอรรถกถา โดยพิสดารมีอาทิอย่างนี้ คือ เรื่องพระ เจ้าโจรนาค เรื่องพระเจ้ามหานาคผู้เสด็จไปชมพูทวีปพร้อมกับพระราชภาดาเรื่องอำมาตย์ ๔ นาย ในรัชสมัยแห่งพระเจ้าปิตุราช เรื่องอภัยโจร.

[เรื่องพระอภัยเกระทำปฏิสันถารกับอภัยโจร]

บรรดาเรื่องเหล่านั้น จะแสดงเรื่องหนึ่งดังต่อไปนี้:- ดังได้สดับมา ในเกาะสิงหล โจรชื่ออภัย มีบริวารประมาณ ๕๐๐ คน ตั้งค่ายอยู่ ณ ที่แห่ง หนึ่ง ทำประชาชนให้อพยพไปตลอด (ที่มีประมาณ) ๓ โยชน์โดยรอบ. ชาว เมืองอนุราธบุรี ข้ามแม่น้ำกฬัมพนทีไม่ได้. ในทางไปเจติยคิรีวิหาร ขาดการ สัญจรไปมาของประชาชน. ต่อมาวันหนึ่งโจรได้ไปด้วยหมายใจว่า จักปล้น เจติยคิรีวิหาร. พวกคนวัด เห็นจึงบอกแก่พระทีฆภาณกอภัยเถระ.

พระเถระถามว่า เนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น มีไหม?

พวกคนวัด. มี ขอรับ!

พระเถระ. พวกท่านจงให้แก่พวกโจร.


ความคิดเห็น 124    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 438

พระเถระ. ข้าวสาร มีไหม?

พวกคนวัด. มี ขอรับ! ข้าวสาร ผักดอง และโครส ที่เขานำมา เพื่อประโยชน์แก่สงฆ์.

พระเถระ พวกท่านจงจัดภัตให้แก่พวกโจร.

พวกคนวัด ทำตามพระเถระสั่งแล้ว.

พวกโจรบริโภคภัตแล้ว จึง ถามว่า ใครทำการต้อนรับ?. พวกคนวัด. พระอภัยเถระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา. พวกโจรไปยังสำนักของพระเถระ ไหว้แล้ว กราบเรียนว่า พวกกระ ผมมาด้วยหมายใจว่า จักปล้นเอาของสงฆ์และของเจดีย์แต่กลับเลื่อมใสด้วย ปฏิสันถารนี้ของพวกท่าน, ตั้งแต่วันนี้ไป การรักษาที่ชอบธรรมในพระวิหาร จงเป็นหน้าที่ของพวกกระผม, พวกชาวเมืองจงมาถวายทาน จงไหว้พระเจดีย์. และตั้งแต่วันนั้นมา เมื่อชาวเมืองมาถวายทาน พวกโจร ก็ไปต้อนรับถึงริม ฝั่งแม่น้ำทีเดียว คอยรักษานำไปพระวิหาร ; เมื่อพวกชาวเมืองกำลังถวายทาน อยู่แม้ในพระวิหาร ก็พากันยืนทำการรักษาอยู่. แม้ชาวเมืองเหล่านั้นก็ให้ภัตที่ เหลือจากภิกษุทั้งหลายฉันแล้วแก่พวกโจร. แม้ในเวลากลับไป พวกโจรเหล่า นั้น ก็ช่วยส่งชาวเมืองถึงริมฝั่งแม่น้ำแล้ว จึงกลับ.

[พระเถระถูกพวกภิกษุโพนทะนา]

ต่อมาวันหนึ่ง เกิดคำค่อนขอดขึ้นในหมู่ภิกษุว่า พระเถระได้ให้ของๆ สงฆ์แก่พวกโจร เพราะถือว่าตัวเป็นใหญ่. พระเถระสั่งให้ทำการประชุม (สงฆ์) แล้ว กล่าวว่า พวกโจรพากันมา ด้วยหมายใจว่า จักปล้นเอาทรัพย์ ค่าอาหารตามปกติของสงฆ์ และของเจดีย์; เมื่อเป็นเช่นนั้น เราจึงได้ทำ ปฏิสันถารแก่พวกโจรเหล่านั้น ซึ่งมีประมาณเท่านี้ ด้วยคิดเห็นว่า พวกโจร


ความคิดเห็น 125    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 439

จักไม่ปล้นด้วยอาการอย่างนี้ พวกท่านจงประมวลสิ่งของนั้น แม้ทั้งหมดรวม กันเข้าแล้ว ให้ตีราคา, จงประมวลสิ่งของที่พวกโจรไม่ปล้นไป ด้วยเหตุนั้น รวมกันเข้าแล้วให้ตีราคา (เทียบกันดู). ทรัพย์ที่พระเถระให้ไปแม้ทั้งหมด จากทรัพย์ของสงฆ์นั้น มีราคาไม่เท่าเครื่องลาดอันวิจิตด้วยรูปภาพอันงามผืน หนึ่งในเรือนพระเจดีย์. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า ปฏิสันถารที่พระเถระทำแล้ว เป็นอันทำชอบแล้ว, ใครๆ ไม่ได้เพื่อจะโจท หรือเพื่อทำให้ ท่านให้การ, ไม่มีสินใช้ หรืออวหาร. ปฏิสันถาร มีอานิสงส์มากอย่างนี้ ภิกษุผู้บัณฑิต กำหนดดังกล่าวมานี้แล้ว ควรทำปฏิสันถาร ฉะนั้นแล.

[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์จี้ภิกษุสัตตรสวัคคีย์เป็นต้น]

ในเรื่องจี้ด้วยนิ้วมือ มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า อุตฺตสนฺโต ได้ แก่ ผู้เหน็ดเหนื่อย. บทว่า อนสฺสาสโก ได้แก่ ผู้หายใจออกไม่ทัน. ก็แล อาบัติที่จะพึงมีในเรื่องนี้ ทรงแสดงไว้แล้ว ในพวกขุททกสิกขาบท, เพราะ เหตุนั้น จึงไม่ตรัสไว้ในสิกขาบทนี้.

ในเรื่องอันมีในลำดับแห่งเรื่องจี้ ด้วยนิ้วมือนั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า โอตฺถริตฺวา แปลว่า เหยียบแล้ว. ได้สดับมาว่า ภิกษุรูปนั้นล้มลง ถูกพวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้นฉุดลากไปอยู่. ภิกษุรูปหนึ่งขึ้นนั่งทับท้อง ของเธอ. ภิกษุ ๑๕ รูปแม้ที่เหลือ ก็ช่วยกันทับลงไปที่แผ่นดินจนตาย เหมือน หินฟ้าถล่มทับมฤคตาย ฉะนั้น. ก็เพราะภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น มีความ ประสงค์จะลงโทษ หามีความประสงค์จะฆ่าให้ตายไม่; ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงไม่ปรับเป็นปาราชิก.


ความคิดเห็น 126    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 440

[เรื่องภิกษุฆ่ายักษ์ ต้องถุลลัจจัย]

ในเรื่องภิกษุหมอผี มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ยกฺขํ มาเรสิ ความว่า พวกอาจารย์ผู้ขับไล่ภูตผี ต้องการจะปลดเปลื้องบุคคลผู้ถูกยักษ์เข้า สิง จึงเรียกยักษ์ให้ออกมา แล้วพูดว่า จงปล่อย, ถ้ายักษ์ไม่ปล่อย, อาจารย์ หมอผี ก็เอาแป้งหรือดินเหนียว ทำเป็นรูปหุ่นแล้วตัดอวัยวะมีเมือและเท้าเป็น ต้นเสีย. อวัยวะใดๆ ของรูปหุ่นนั้นขาดไป, อวัยวะนั้นๆ ของยักษ์ ย่อมชื่อ ว่าเป็นอันหมอผีตัดแล้วเช่นกัน. เมื่อศีรษะ (ของรูปหุ่นนั้น) ถูกตัด แม้ ยักษ์ก็ตาย. ภิกษุหมอผีแม้นั้นได้ฆ่ายักษ์ตาย ด้วยวิธีดังกล่าวมานี้. เพราะ เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงปรับเป็นถุลลัจจัย. เป็นถุลลัจจัยแก่ภิกษุผู้ฆ่า ยักษ์อย่างเดียวเท่านั้น ก็หาไม่. จริงอยู่ แม้ภิกษุใด พึงฆ่าท้าวสักกเทวราช ตาย, ภิกษุแม้นั้นก็ต้องงถุลลัจจัยเหมือนกัน.

[เรื่องส่งภิกษุไปสู่ที่มีสัตว์ร้ายและยักษ์ดุ]

ในเรื่องยักษ์ดุร้าย

มีวินิจฉัยดังนี้:- บทว่า วาฬยกฺขวิหารํ ความว่า (ส่งไป) สู่วิหารที่มียักษ์ดุร้ายอยู่, จริงอยู่ ภิกษุใด เมื่อไม่ทราบ วิหารเห็นปานนั้น จึงได้ส่ง (ภิกษุบางรูป) ไป เพื่อต้องการให้พักอยู่อย่าง เดียว, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุนั้น. ภิกษุใด มีความประสงค์จะไห้ตาย จึงส่งไป ภิกษุนั้นต้องปาราชิก ในเพราะภิกษุนอกนี้ตาย ต้องถุลลัจจัย เพราะไม่ตาย. บัณฑิตพึงทราบความต่างกัน แห่งอาบัติและอนาบัติ แม้ของภิกษุผู้ส่ง (ภิกษุ อีกรูปหนึ่ง) ไปสู่วิหารที่ร้าย ซึ่งมีพวกมฤคมีราชสีห์และเสือโคร่งที่ดุร้ายเป็น ต้น หรือมีทีฆชาติทั้งหลายมีงูเหลือมและงูเห่าเป็นต้นอยู่อาศัย เหมือนอย่าง ภิกษุส่งภิกษุอีกรูปหนึ่งไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น.


ความคิดเห็น 127    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 441

นัยที่พ้นจากบาลี มีดังต่อไปนี้ :- บัณฑิตพึงทราบความต่างแห่ง อาบัติของภิกษุผู้ส่งแม้ยักษ์ที่ร้ายไปสู่สำนักของภิกษุ เหมือนอย่างภิกษุส่งภิกษุ ไปสู่วิหารที่มียักษ์ดุร้าย ฉะนั้น. ในเรื่องทั้งหลายนี้ ทางกันดารด้วยสัตว์ ร้ายเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ ในเรื่องทางกันดารมีสัตว์ร้ายเป็นต้น นี้ มีเพียงใจความเฉพาะบทอย่างเดียวเท่านั้นเป็นชื่อ. (ที่ต่างกัน) อย่างนี้ คือ ทางกันดารที่มีพวกมฤคที่ดุร้าย หรือมีทีฆชาติอยู่ ชื่อวาฬกันดาร, ทางกันดาร ที่มีพวกโจรอยู่ชื่อโจรกันดาร. อันธรรมดาว่า มนุสสวิคคหปาราชิกนี้ละเอียด ย่อมไม่พ้นด้วยปริยายกถา (กถาโดยทางอ้อม). เพราะฉะนั้น ภิกษุใดพึงกล่าว ว่า ผู้ใดตัดศีรษะของโจร ผู้นั่งอยู่ในโอกาสชื่อโน้นแล้วนำมา, ผู้นั้นย่อมได้ สักการะวิเศษจากพระราชา ดังนี้. ถ้ามีใครได้ฟังคำของภิกษุนั้นแล้วไปฆ่าโจร นั้นเสีย, ภิกษุนี้ย่อมเป็นปาราชิกแล.

[เรื่องสำคัญว่าเป็นภิกษุคู่เวรแน่จึงฆ่าเสีย]

ในคำมีอาทิว่า ตํ มณฺมาโน มีวินิจฉัยดังนี้:- ได้ยินว่าภิกษุนั้น ใคร่จะฆ่าภิกษุผู้มีเวรของตน จึงคิดว่า การที่เราจะฆ่าภิกษุผู้คู่เวรนี้ในกลางวัน หนีไปโดยความปลอดภัย ไม่พึงเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เราจักฆ่าภิกษุนั้นใน กลางคืน, ครั้น กำหนดไว้แล้ว มาในกลางคืนสำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ ใน สถานที่ภิกษุมากรูปจำวัด จึงปลงภิกษุรูปนั้นนั่นเองจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่าภิกษุผู้คู่เวรนั้นแน่ แต่ปลงภิกษุรูปอื่นจากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่น เอง แต่ก็ปลงภิกษุผู้คู่เวรนั้น จากชีวิต, อีกรูปหนึ่ง สำคัญว่า ภิกษุอื่นแน่ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้น นั่นเอง แต่ก็ปลงภิกษุอื่น ซึ่งเป็นสหายของภิกษุผู้คู่เวรนั้นนั่นแลจากชีวิต; เป็นปาราชิกแก่เธอทั้งหมดเหมือนกัน.


ความคิดเห็น 128    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 442

[เรื่องผีเข้าสิงภิกษุ]

ในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิง มีวินิจฉัยดังนี้:- ภิกษุอีกรูปหนึ่ง ได้ให้การประหาร (แก่ภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิ่งนั้น) ด้วยคิดว่า จักขับไล่ยักษ์ให้ หนีไป. ภิกษุนอกจากนี้ คิดว่า คราวนี้ ยักษ์นี้ ไม่สามารถจะทำพิรุธได้, เราจักฆ่ามันเสีย ได้ให้การประหาร. และในเรื่องของภิกษุผู้ถูกผีเข้าสิงเรื่อง แรกนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ผู้ไม่มีความประสงค์ จะให้ตาย เพราะเหตุนั้น ด้วยพระพุทธดำรัสเพียงเท่านี้นั่นแล ภิกษุจึงไม่ควร ให้การประหารแก่ภิกษุผู้ถูกผีสิง, แต่พึงเอาใบตาลหรือเส้นด้ายพระปริตรผูกไว้ ที่มือหรือเท้า. พึงสวดพระปริตรทั้งหลาย มีรัตนสูตรเป็นต้น พึงทำธรรมกถา ว่า ท่านอย่าเบียดเบียนภิกษุผู้มีศีล ดังนี้.

เรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้น มีเนื้อความชัดเจนแล้ว. ก็คำที่พึง กล่าวในเรื่องพรรณนาสวรรค์เป็นต้นนี้ ข้าพเจ้าได้กล่าวไว้แล้วแล.

[เรื่องภิกษุตัดต้นไม้]

เรื่องตัดต้นไม้ ก็เช่นเดียวกับเรื่องผูกร่างร้าน. แต่มีความแปลกกัน ดังต่อไปนี้:- ภิกษุใด แม้ถูกต้นไม้ล้มทับแล้ว ยังไม่มรณภาพ และเธอ สามารถจะตัดต้นไม้หรือขุดแผ่นดินแล้วออกไปโดยข้างๆ หนึ่งได้, และในมือ ของเธอก็มีมีดและจอบ (๑) อยู่ ภิกษุแม้นั้นควรสละชีวิตเสีย. และไม่ควรตัดต้นไม้ หรือไม่ควรขุดดิน. เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า ภิกษุเมื่อทำอย่างนั้น ย่อม ต้องปาจิตตีย์ ย่อมหักรานเสียซึ่งพุทธอาณา ย่อมไม่ทำศีลให้มีชีวิตเป็นทีสุด; เพราะเหตุนั้น ถึงแม้ชีวิตก็ควรสละเสีย แต่ไม่ควรสละศีล; ครั้นภิกษุคำนวณ ได้รอบคอบดังกล่าวมาแล้วนี้ ไม่พึงทำ (การตัดต้นไม้และขุดดิน) ด้วยอาการ


(๑) กธารี ผึ่งถากไม้, ขวานโยน, จอบ.


ความคิดเห็น 129    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 443

อย่างนี้. การตัดต้นไม้หรือขุดดิน แล้วนำภิกษุนั้นออก ย่อมควรแก่ภิกษุ รูปอื่น. ถ้าเธอจะพึงถูกเขากลิ้งต้นไม้ไปด้วยครกยนต์นำออก ควรตัดเอา ต้นไม้นั้นนั่นเอง ใช้เป็นครกแล. พระมหาสุมัตเถระกล่าวว่า จะตัดเอาต้นไม้ แม้อื่นก็ควร. พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ในการผูกพะอง (บันได) ช่วยคน แม้ผู้ตกลงไปในบ่อเป็นต้นให้ขึ้นได้ก็นัยนี้เหมือนกัน, ภิกษุไม่ควรตัดภูตคาม ทำพะองด้วยตนเอง. การทำ (พะอง) แล้วยกขึ้น ย่อมสมควรแก่ภิกษุเหล่าอื่น.

[เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์เผาป่า]

ในเรื่องเผาป่า มีวินิจฉัยดังนี้:- สองบทว่า ทายํ ลิมฺเปสุํ (๑) ความว่า พวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ได้จุดไฟในป่า. ก็ในเรื่องเผาป่านี้ บัณฑิตพึง ทราบว่าเป็นปาราชิกเป็นต้น โดยสมควรแก่วัตถุแห่งปาราชิก อนันตริยกรรม ถุลลัจจัย และปาจิตตีย์ ด้วยอำนาจประโยคที่เจาะจงและไม่เจาะจง และความ เป็นกองอกุศล โดยนัยดังกล่าวแล้วในก่อนนั่นแล, พระอรรถกถาจารย์กล่าว ไว้ในสังเขปอรรถกถาว่า ก็เมื่อภิกษุเผาด้วยคิดว่า หญ้าสดและไม้เจ้าป่าทั้งหลาย จงถูกไฟไหม้ เป็นปาจิตตีย์, เมื่อเผาด้วยคิดว่า เครื่องอุปกรณ์ไม้ทั้งหลาย จงพินาศไป เป็นทุกกฏ, เมื่อเผาแม้ด้วยความประสงค์จะเล่น ก็เป็นทุกกฏ. เมื่อเผาด้วยคิดว่า ไม้สดและไม้แห้งชนิดใดชนิดหนึ่ง ซึ่งมีอินทรีย์และไม่มี อินทรีย์ก็ตามจงถูกไฟไหม้ พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ และทุกกฏ ด้วยอำนาจแห่งวัตถุ. ก็การจุดไฟรับและทำการป้องกัน พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงอนุญาตไว้แล้ว. เพราะฉะนั้น การที่ภิกษุเห็นไฟที่พวก วนกรรมิกชนจุด หรือเกิดขึ้นเองในป่ากำลังลุกลามมา แล้วจุดไฟรับไฟซึ่งจะ เป็นเหตุให้ไฟลุกลามมาบรรจบกันเข้าไหม้เชื้อหมดแล้วดับไป ด้วยทั้งใจว่า กระท่อมหญ้าทั้งหลาย อย่าพินาศ ดังนี้ ย่อมควร. การที่ภิกษุจะทำแม้เครื่อง


(๑) บาลี เป็น อาลิมฺเปสุํ.


ความคิดเห็น 130    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 444

ป้องกัน คือ การถากพื้นดินหรือขุดดูไว้โดยรอบกระท่อมมุงหญ้า โดยประการ ที่ไฟซึ่งลุกลามมา ไม่ได้เชื้อแล้วจะคับไปเอง ก็ควร และเมื่อไฟลุกลามขึ้น แล้วเท่านั้น จึงควรทำกิจ มีจุดไฟรับเป็นต้น ทั้งหมดนั้น. เมื่อไฟยังไม่ลุกลาม ขึ้น พึงใช้อนุปสัมบันให้ทำด้วยกัปปิยโวหาร, และเมื่อจะให้ดับด้วยน้ำ ควร ใช้น้ำที่ไม่มีตัวสัตว์เท่านั้นรด.

[เรื่องภิกษุสั่งนายเพชฌฆาตให้ประหารหนเดียว]

ในเรื่องตะแลงแกง มีวินิจฉัยดังนี้:- เป็นปาราชิก เพราะคำสั่ง ประหารครั้งเดียว ฉันใด, แม้ในคำสั่งเป็นต้นว่า ทวีหิ ปหาเรหิ ก็พึงทราบว่า เป็นปาราชิก ฉันนั้น. ก็เมื่อภิกษุสั่งว่า ทฺวีหิ ดังนี้ แม้เมื่อนักโทษถูกนาย เพชฌฆาตฆ่าตาย ด้วยการประหารครั้งเดียว ชื่อว่าเป็นปาราชิก เพราะหยั่ง ลงสู่เขตแล้วนั่นเอง. แต่เมื่อนักโทษถูกนายเพชฌฆาตฆ่าตาย ด้วยการประหาร ๓ ครั้ง เป็นผิดที่หมาย. เมื่อถูกฆ่าตาย ในเขตตามที่ กำหนดไว้ หรือในร่วม ในที่กำหนดไว้ ย่อมไม่ผิดที่หมาย ด้วยประการฉะนี้. แต่ (เมื่อถูกฆ่าตาย) ในเมื่อล่วงเลยที่กำหนดไว้ ย่อมลักลั่น ในที่ทุกแห่ง, ภิกษุผู้สั่งย่อมพ้น, เพชฌฆาตผู้ฆ่าเท่านั้น มีโทษ. เหมือนอย่างว่านัยที่กล่าวไว้แล้ว ในการ ประหารหลายครั้ง เป็นฉันใด ข้อนี้ก็ฉันนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เมื่อภิกษุ สั่งว่า แม้บรรดาบุรุษทั้งหลาย บุรุษนายหนึ่ง จงฆ่าบุคคลคนหนึ่งให้ตาย ดังนี้, เมื่อบุคลนั้น ถูกบุรุษนายหนึ่งนั่นเองฆ่าตาย ภิกษุต้องปาราชิก, เมื่อ บุคคลนั้น ถูกบุรุษสองนายฆ่าตาย เป็นผิดสังเกต, เมื่อภิกษุสั่งว่า บุรุษ สองคนจงพากันฆ่าบุรุษคนหนึ่งให้ตาย ดังนี้ เมื่อบุคคลนั้นถูกบุรุษนายหนึ่ง หรือสองนายฆ่าตาย ภิกษุต้องปาราชิก, เมื่อถูกบุรุษสามนายฆ่าตาย เป็นผิด สังเกต. เมื่อมีผู้ถาม กล่าวว่า ภิกษุรูปหนึ่ง เอาคาบตัดศีรษะของบุรุษผู้วิ่งไป


ความคิดเห็น 131    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 445

โดยเร็วในสนามรบขาด, ตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะ ย่อมวิ่งพล่านไป ภิกษุรูปอื่น จึงประหารตัวกพันธ์ไม่มีศีรษะนั้นให้ตกไป, ภิกษุรูปไหนเล่า เป็นปาราชิก ดังนี้. พระเถระจำนวนครึ่ง กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ตัดการไป. พระโคทัตตเถระ ผู้ชำนาญพระอภิธรรม กล่าวแก้ว่า เป็นปาราชิกแก่ภิกษุผู้ ตัดศีรษะ, ในการแสดงเนื้อความแห่งเรื่องนี้ บัณฑิตควรกล่าวเรื่องทั้งหลาย แม้เห็นปานฉะนั้นแล.

[เรื่องภิกษุสั่งให้บุรุษด้วนดื่มเปรียงตาย]

ในเรื่องเปรียง มีวินิจฉัยดังนี้:- เมื่อภิกษุสั่งไม่กำหนดว่าพวกท่าน จงให้บุรุษผู้มือและเท้าด้วนนั้นดื่มเปรียง ดังนี้, เมื่อบุรุษนั้น ถูกพวกญาติ ให้ดื่มเปรียงชนิดใดชนิดหนึ่งตายไป, ภิกษุท้องปาราชิก. แต่เมื่อภิกษุสั่ง กำหนดไว้ว่า จงให้ดื่มเปรียงโด เปรียงกระบือเปรียงแพะ หรือสั่งไว้ว่า จง ให้ดื่มเปรียงที่เย็น เปรียงที่ร้อน เปรียงที่รมควัน ที่ไม่ได้รมควัน เมื่อบุรุษ นั้นถูกพวกญาติให้ดื่มเปรียงชนิดอื่น จากเปรียงที่ภิกษุสั่งไว้นั้นตายไป เป็น ผิดสังเกต.

[เรื่องยาดองพิเศษชื่อโลณะโสจิรกะ]

ในเรื่องยาดองโลณะโสจิรกะ มิวินิจฉัยดังนี้:- เภสัชขนานหนึ่ง ซึ่งปรุงด้วยข้าวทุกชนิด ชื่อว่า โลณะโสจิรกะ. เมื่อเขาจะทำเภสัชขนานนั้น เอาน้ำฝาดแห่งผลสมอ มะขามป้อม และสมอพิเภก ธัญชาติทุกชนิด อปรัณชาติทุกชนิด ข้าวสุกแห่งธัญชาติทั้ง ๗ ชนิด ผลทุกชนิดมีผลกล้วย เป็นต้น ผลไม้ซึ่งงอกในหัวทุกชนิด มีผลแห่งหวาย การเกด และเป้งเป็นต้น ชิ้นปลาและเนื้อ และเภสัชหลายอย่าง มีน้าผึ้ง น้ำอ้อย เกลือสินเธาว์ เกลือธรรมดา และเครื่องเผ็ดร้อน ๓ ชนิดเป็นต้น แล้วใส่รวมกันลง (โนหม้อ)


ความคิดเห็น 132    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 10 มี.ค. 2565

พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ปฐมภาค เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้า 446

ปิดฉาบไล้ปากหม้อไว้อย่างดีแล้วเก็บไว้ ๑ ปี ๒ ปี หรือ ๓ ปี ยาโลณะโสจิรกะ นั้น กลั่นให้มีสีเหมือนรสน้ำชมพู เป็นเครื่องบริโภคอย่างสนิท (เป็นยาแก้โรค อย่างชะงัด) แห่งบุคคลผู้เป็นโรคลม โรคไอ โรคเรื้อน โรคผอมเหลือง และบานทะโรคเป็นต้น และเป็นเครื่องดื่มภายหลัง แห่งบุคคลผู้รับประทาน อาหารแล้ว. เภสัชเป็นเครื่องย่อยอาหารที่บริโภคแล้ว เช่นยาขนานนั้นย่อม ไม่มี. ก็ยาโลณะโสจิรกะนี้นั้น ย่อมควรแก่ภิกษุทั้งหลายแม้ในปัจฉาภัต. สำหรับภิกษุผู้อาพาธ จัดเป็นยาตามปกติทีเดียว แต่ผู้ไม่อาพาธต้องผสมกับน้ำ จึงควร โดยความเป็นเครื่องดื่มและเครื่องบริโภคแล.

ตติยปาราชิกวรรณนา

ในอรรถกถาพระวินัย ชื่อสมันตปาสาทิกา จบ