๘. ราหุลสูตร ว่าด้วยสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์
โดย บ้านธัมมะ  11 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 37218

[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 216

๘. ราหุลสูตร

ว่าด้วยสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 28]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 216

๘. ราหุลสูตร

ว่าด้วยสิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นก็เป็นทุกข์

[๑๘๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลีกเร้นอยู่ในที่สงัด ทรงเกิดปริวิตกแห่งพระหฤทัยอย่างนี้ว่า ธรรมที่เป็นเครื่องบ่มวิมุตติของราหุลแก่กล้าแล้ว ถ้ากระไร เราควรแนะนำราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไปเถิด ครั้นทรงพระดำริฉะนี้แล้ว ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปบิณฑบาตยังกรุงสาวัตถี ครั้นเวลาภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระราหุลมาตรัสว่า ราหุล เธอจงถือผ้านิสีทนะไปสู่ป่าอันธวันด้วยกัน เพื่อพักในกลางวัน.

ท่านพระราหุลทูลรับพระดำรัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ได้ถือผ้านิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไปข้างหลัง ก็สมัยนั้น พวกเทวดาหลายพันติดตามพระผู้มีพระภาคเจ้าไป ด้วยคิดว่า วันนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจักทรงแนะนำท่านพระราหุลในธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะอันยิ่งขึ้นไป.

[๑๘๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่ป่าอันธวัน ประทับ ณ พุทธอาสน์ที่พระราหุลปูลาดถวายที่ควงต้นไม้แห่งหนึ่ง ฝ่ายท่านพระราหุลถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสถามว่า ดูก่อนราหุล เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน จักษุเที่ยงหรือไม่เที่ยง ท่านพระราหุลกราบทูลว่า ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 217

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. จักษุวิญญาณ ฯลฯ จักษุสัมผัส ฯลฯ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 218

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า ฯลฯ

พ. ใจเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. ธรรมารมณ์เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. มโนวิญญาณเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 219

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. มโนสัมผัสเที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.

พ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เที่ยงหรือไม่เที่ยง.

รา. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า.

รา. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.

พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตัวตนของเรา.

รา. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 220

พ. ดูก่อนราหุล อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในจักษุ ทั้งในรูป ทั้งในจักษุวิญญาณ ทั้งในจักษุสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในใจ ทั้งในธรรมารมณ์ ทั้งในมโนวิญญาณ ทั้งในมโนสัมผัส ทั้งในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้จบลงแล้ว ท่านพระราหุลชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า อนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไวยากรณภาษิตนี้อยู่ จิตของท่านพระราหุลหลุดพ้นแล้วจากอาสวะ ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน ฝ่ายเทวดาหลายพันก็เกิดธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทินว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา.

จบ ราหุลสูตรที่ ๘

อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๘

ในราหุลสูตรที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.

บทว่า วิมุตฺติปริปาจนียา ความว่า ชื่อว่า วิมุตฺติปริปาจริยา เพราะอรรถว่า บ่มวิมุตติ บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรม ๑๕ ธรรมเหล่านั้น


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 221

พึงทราบโดยกระทำสัทธินทรีย์เป็นต้นให้หมดจด สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อบุคคลเว้นบุคคลผู้ไม่มีศรัทธา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้ บุคคลผู้มีศรัทธา พิจารณาสัมปสาทนียสูตรทั้งหลาย สัทธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้เกียจคร้าน เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้ปรารภความเพียร พิจารณาสัมมัปปธานสูตร วิริยินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้ เมื่อเว้นบุคคลผู้มีสติหลงลืม เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีสติตั้งมั่น พิจารณาสติปัฏฐานสูตร สตินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีจิตตั้งมั่น พิจารณาฌานและวิโมกข์ สมาธินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้. เมื่อเว้นบุคคลผู้ทรามปัญญา เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคลผู้มีปัญญา พิจารณาญาณจริยาการบำเพ็ญญาณอันลึกซึ้ง ปัญญินทรีย์ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๓ เหล่านี้. ดังนั้น เมื่อบุคคลเว้นบุคคล ๕ จำพวก เสพ คบ เข้าไปนั่งใกล้บุคคล ๕ จำพวก พิจารณากองแห่งสุตตันตะ ๕ ปัญญินทรีย์เหล่านี้ ย่อมหมดจดด้วยอาการ ๑๕ เหล่านี้แล.

ธรรม ๑๕ อีกหมวดหนึ่ง ซึ่งได้ชื่อว่า วิมุตติปริปาจริยา ธรรมบ่มวิมุตติ คืออินทรีย์ ๕ สัญญาอันเป็นส่วนแห่งธรรมเครื่องตรัสรู้ ๕ คืออนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา สัญญาในสิ่งไม่เที่ยงว่าเป็นทุกข์ ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา สัญญาในทุกข์ว่าเป็นอนัตตา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ และธรรม ๕ มีกัลยาณมิตตตาที่ตรัสแก่พระเมฆิยเถระ.

ถามว่า ก็ในเวลาไร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดำริดังนี้. แก้ว่า ในเวลาใกล้รุ่ง พระองค์ทรงตรวจดูสัตว์โลก.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 14 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 222

บทว่า อเนกานิ เทวตาสหสฺสานิ ความว่า ก็ในบรรดาเทวดาผู้ตั้งความปรารถนากับท่านพระราหุลผู้ตั้งความปรารถนา ในรัชกาลแห่งพระเจ้าปาลิตนาคราช แทบบาทมูลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตตระ บางพวกเกิดเป็นภุมมัฏฐกเทวดา บางพวกเกิดเป็นอันตลิกขัฏฐเทวดา บางพวกเกิดเป็นจาตุมหาราชกเทวดา บางพวกเกิดในเทวโลกบางพวกเกิดในพรหมโลก. ก็ในวันนี้ เทวดาทั้งหมด ประชุมกันในอันธวันนั้นเอง ในที่แห่งหนึ่ง.

บทว่า ธมฺมจกฺขุํ ความว่า ในพระสูตรนี้ มรรค ๔ ผล ๔ พึงทราบว่า ธรรมจักขุ. จริงอยู่ในพระสูตรนั้น เทวดาบางพวก ได้เป็นพระโสดาบัน บางพวก เป็นพระสกทาคามี บางพวก พระอนาคามี บางพวก พระขีณาสพ อนึ่ง เทวดาเหล่านั้น นับไม่ได้ว่า มีประมาณเท่านี้. คำที่เหลือในบททั้งปวง ง่ายทั้งนั้น.

จบ อรรถกถาราหุลสูตรที่ ๘