โลกไม่ได้ปรากฏตามความเป็นจริง_สนทนาไทย-ฮินดี วันเสาร์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๖๗
โดย เมตตา  6 ต.ค. 2567
หัวข้อหมายเลข 48639

ท่านอาจารย์: บารมี คืออะไร?

มานิช: บารมี เป็นคุณธรรมอย่างหนึ่งซึ่งเป็นคุณธรรมที่เมื่อไหร่ความเข้าใจเพิ่มขึ้น คุณธรรมต่างๆ นี้ก็เพิ่มขึ้นครับ

ท่านอาจารย์: เพื่ออะไร?

มานิช: เพื่อที่จะให้มีความมั่นคงในความจริงเพิ่มขึ้นครับ

ท่านอาจารย์: เพื่ออะไร?

มานิช: ความมั่นคงว่า นี่แหละคือความจริง

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง ความจริงว่าอะไร ทุกคนนอกจากคุณมานิชตอบได้นะ ?

มานิช: เพื่อที่จะเข้าใจความจริงเพิ่มขึ้น

ท่านอาจารย์: ถึงระดับไหน?

มานิช: รู้ว่า เป็นอริยสัจจ์ครับ

ท่านอาจารย์: ข้อไหน อริยสัจจ์มี ๔?

มานิช: ข้อ ๑ เป็นทุกขอริยสัจจ์ครับ

ท่านอาจารย์: เท่านั้นหรือ?

มานิช: ถ้าความเข้าใจเพิ่มขึ้น ก็รู้ว่า เหตุแห่งทุกข์คืออะไร

ท่านอาจารย์: เท่านั้นหรือ?

อาช่า: ไม่ใช่ว่าแยกกันรู้ แต่ว่ารู้ทุกข์ คือรู้เหตุ รู้หนทาง รู้ความดับของทุกข์ด้วย

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น อริยสัจจ์ที่ ๑ พอไหม ถ้ารู้อริยสัจจะที่ ๑?

อาช่า: รู้เฉพาะ ทุกขอริยสัจจะ ไม่พอค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น จนกว่าจะประจักษ์แจ้งอริยสัจจ์ทั้ง ๔ นั่นคือต้องมีบารมีทั้งหมดก่อนจะรู้จริงๆ

อาช่า: เข้าใจค่ะ

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่เข้าใจธรรมเลย จะมีบารมีได้ไหม?

อาช่า: ไม่ได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น เมื่อมีความเข้าใจถูกต้องแล้ว บารมีมีอะไรบ้าง?

อาช่า: เริ่มจากความอดทนค่ะ

ท่านอาจารย์: คุณอาคิ่ลว่าอย่างไร?

อาคิ่ล: ปัญญาครับ

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่มีปัญญาเป็นบารมีไม่ได้เลย แต่เมื่อมีปัญญา ปัญญารู้ว่า บารมีคืออะไร เมื่อไหร่ เพื่ออะไร?

อาคิ่ล: ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ปัญญาทำให้เริ่มรู้ว่า อกุศลทั้งหมดเป็นบารมีไม่ได้ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องเลือกเวลาสำหรับบารมีหนึ่งบารมีใด

ก่อนเข้าใจพระธรรม คุณมานิช คุณอาคิ่ล ให้สิ่งต่างๆ กับคนที่จำเป็น และต้องการ แต่ขณะนั้นไม่เข้าใจธรรม ขณะนั้นจึงไม่ใช่ทานบารมี

ถ้าให้เป็นประโยชน์แก่คนอื่นเป็นกุศล ถ้าไม่ให้แม้เป็นประโยชน์แก่แก่คนอื่นก็ไม่ให้ก็เป็นอกุศล

เพราะฉะนั้น ถ้ารู้อย่างนี้ ไม่ใช่รีบให้ ต้องเป็นปัญญา

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ และกราบยินดีในกุศลของคุณสุคิน ผู้ถ่ายทอดคำท่านอาจารย์เป็นภาษาฮินดีค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย เมตตา  วันที่ 6 ต.ค. 2567

มาธุ: เมื่อกี๊นี้ฟังเรื่องขันติบารมี และปัญญาบารมี อยากรู้ว่า ความหมายของบารมีคืออะไร ว่าจริงๆ แล้วจะให้เข้าใจบารมีจะให้เข้าใจว่าอย่างไรคะ?

ท่านอาจารย์: บารมี ต้องมีปัญญาเข้าใจธรรม

มาธุ: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ไม่รู้ว่า ขณะนี้เห็นเกิดดับ ไม่กลับมาอีกเลยทุกอย่าง พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ความจริง มีพระมหากรุณาแสดงความจริง คนอื่นไม่สามารถที่จะรู้ความจริง เพราะลึกซึ้ง

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความจริง ที่พระองค์ตรัสรู้ ให้คนอื่นรู้ จนสามารถประจักษ์แจ้งความจริงได้

ความจริง คือสิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ ไม่ได้ปรากฏตามความเป็นจริง

ฟังดีๆ ขณะนี้สิ่งที่มีจริงละเอียดยิบ เกิดแล้วดับทันที แต่สิ่งที่ปรากฏเดี๋ยวนี้ ไม่ปรากฏว่า แต่ละหนึ่งเล็กสุดที่จะประมาณได้ที่เกิดดับ แต่ความจริงขณะนี้เหมือนว่า มีสิ่งที่เป็นสิ่งเดียว ไม่ใช่สิ่งอื่นเลย ความจริงสิ่งเดียวต้องเป็นเล็กมาก แต่ที่รวมกันเป็นหลายอย่าง จึงไม่ใช่ขณะที่เป็นเพียงสิ่งหนึ่งที่เกิดแล้วดับ

คุณสุคิน: ท่านอาจารย์ ยกตัวอย่างได้ไหมว่า สิ่งเดียวหมายถึงอะไร?

ท่านอาจารย์: เห็น

มาธุ: ค่ะ

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้ เห็นอะไร?

มาธุ: เห็นสิ่งที่เห็นค่ะ

ท่านอาจารย์: ไม่ใช่ค่ะ เห็นคน เห็นของต่างๆ ใช่ไหม?

มาธุ: ใช่ค่ะ

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 2    โดย เมตตา  วันที่ 6 ต.ค. 2567

ท่านอาจารย์: เดี๋ยวนี้ เห็นอะไร?

มาธุ: เห็นสิ่งที่เห็นค่ะ

ท่านอาจารย์: ไม่ใช่ค่ะ เห็นคน เห็นของต่างๆ ใช่ไหม?

มาธุ: ใช่ค่ะ เวลานี้เห็นจอ เห็นหน้าบุคคลนี้ บุคคลนั้นค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ความจริงไม่ใช่อย่างที่เขาคิด ต้องรู้ความหมายว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญพระบารมีนานเท่าไหร่ จึงจะรู้ความจริงตามที่ทรงแสดงว่า เห็น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกเห็น ถ้าสิ่งนั้นไม่กระทบตา เห็นสิ่งนั้นไม่ได้ สิ่งที่กระทบตาเป็นผงเล็กนิดเดียว จะปรากฏเป็นโต๊ะ เก้าอี้ ทุกสิ่งทุกอย่างเดี๋ยวนี้ทันทีไม่ได้

เห็นสิ่งที่เล็กที่สุดที่กระทบตาแล้วดับ เพราะฉะนั้น จะปรากฏเป็นสิ่งต่างๆ อย่างที่เห็นไม่ได้เพียง ๑ ขณะ

มาธุ: ค่ะ

ท่านอาจารย์: จริงไหม?

อาช่า: ไม่เป็นอย่างนั้นแน่นอนค่ะ

ท่านอาจารย์: หมายความว่าอย่างไร?

อาช่า: หมายความว่า สิ่งที่กระทบตาจริงๆ จะไม่ปรากฏเหมือนสิ่งที่ปรากฏตอนนี้

ท่านอาจารย์: แน่ใจใช่ไหม?

อาช่า: แน่ใจค่ะ

ท่านอาจารย์: เป็นปัญญาบารมี ทำให้มีสัจจบารมีตรงต่อความจริง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย เมตตา  วันที่ 6 ต.ค. 2567

ท่านอาจารย์: ความเข้าใจไม่เปลี่ยน จนสามารถรู้ความจริงได้ทั้งหมด จึงเป็นบารมีที่เกิดจากปัญญา

ความเข้าใจถูกต้องตามความเป็นจริงมีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สินเงินทอง เกียรติยศใดๆ ทั้งสิ้น จริงไหม?

อาช่า: จริงค่ะ

ท่านอาจารย์: ถ้าไม่ตรงต่อความจริง จะไม่สามารถรู้ความจริง และไม่สามารถจะเป็นบารมีได้

พระโพธิสัตว์ตรงต่อ สัจจบารมี ทรงแสดงว่า บารมีทั้งหมดต้องมาจากปัญญา และเห็นว่า อกุศลทุกประเภทไม่ใช่บารมี

ขณะนี้ กำลังเป็นเมตตาบารมี หรือเปล่า ในกรณีมีความเข้าใจความเจ็บไข้ได้ป่วยของคุณสุคิน? บารมี คือกุศลธรรมทุกอย่างที่มีความเข้าใจธรรมที่ลึกซึ้งเกิดขึ้น อกุศลก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

เมื่อใดที่มีความเข้าใจในคุณของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ความเข้าใจสามารถเข้าใจความจริงในขณะนี้แต่ละขณะตามปกติตามความเป็นจริงว่าเป็นอกุศลส่วนมาก ถ้าปราศจากบารมีแล้วขณะที่จะเป็นกุศลที่เกิดขึ้นเพื่อละความไม่รู้ก็ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย

เมื่อใดที่ความเข้าใจจะเป็นปัจจัยให้กุศลคุณความดีซึ่งเป็นบารมีประการต่างๆ เกิดขึ้นโดยทันที

เราพูดถึงทานบารมี เพราะว่าในชีวิตประจำวันมีการให้ที่มีความเข้าใจเกิดร่วมด้วย

ดังน้ัน ขณะนี้เป็นทานบารมีได้ไหม?

อาคิ่ล: ไม่ได้ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะว่า ทาน ไม่ใช่เพียงแค่ให้สิ่งของเพื่อเป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น แต่ ทานบารมี การให้ที่จะเป็นบารมีนั้นมี ๓ ประเภท

เมื่อไม่มีสิ่งของที่จะให้ ไม่มีผู้คนที่จะรับ แล้วการให้ที่เป็นการให้อภัยล่ะ อะไรจะยากกว่ากัน?

มาธุ: อภัยทาน จะยากกว่าค่ะ

ท่านอาจารย์: แต่ ถ้าทำบ่อยๆ และเห็นประโยชน์ ก็ไม่ยากนะ

มาธุ: เข้าใจค่ะ

ท่านอาจารย์: แต่ถ้าไม่มีปัญญา อภัยไม่ได้

อาคิ่ล: ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ประโยชน์ และปัญญา ของอภัยทาน คืออะไร?

อาช่า: คุณของอภัยทาน คือการที่มีอภัยทาน ทำให้อกุศล ความขุ่นเคืองใจต่อผู้อื่นลดลงไปค่ะ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องเข้าใจว่า ยิ่งกว่านั้น คือไม่มีเขา ไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่เป็นอกุศลที่เป็นโทษ

อาคิ่ล: ครับ

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น โทษคือความไม่รู้ความจริง เป็นเหตุให้มีความพอใจในตัวตนของเรา และไม่พอใจคนอื่น

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย เมตตา  วันที่ 6 ต.ค. 2567

ท่านอาจารย์: เคยไม่พอใจตัวเองไหม เคยไม่ให้อภัยตัวเองไหม?

อาช่า: ในเมื่อเรารักตัวเองมาก เป็นไปไม่ได้ที่เราจะมาโกรธตัวเองว่าตัวเอง แต่ว่าบางที เช่น เราไปตบหน้าเด็ก บางทีเรารู้สึกว่าเราผิด บางครั้งจิตแบบนั้นเกิดขึ้นพิจารณาว่าทำผิดไป

ท่านอาจารย์: แล้วอภัยไหม?

อาช่า: คือ สุดท้ายเราต้องอภัยตัวเองอยู่แล้วทุกครั้ง

ท่านอาจารย์: จะอภัยหรือไม่อภัย ก็ยังมีตัวเรา นี่เป็นสิ่งที่จะต้องรู้ว่า ตราบใดที่ยังมีเรา ก็ยังไม่สามารถที่จะประจักษ์แจ้งความจริงว่า ไม่มีเรา

เพราะฉะนั้น จึงทำความดีทุกอย่าง เพื่อที่จะละความเป็นเรา เพราะฉะนั้น จึงต้องเริ่มรู้ความจริงยิ่งขึ้นทุกขณะซึ่งยากมาก กว่าจะรู้จริงๆ ว่า ขณะนั้นเป็นธรรมแต่ละหนึ่ง

เพราะฉะนั้น เริ่มเห็นความยากแม้ของบารมี ทานบารมี

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: การให้อภัยยังยาก เพราะฉะนั้น การที่จะรู้ว่า ไม่ใช่เรา เป็นธรรม จะยากมากกว่านี้สักแค่ไหน

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: กว่าจะรู้อย่างนี้ กว่าจะมั่นคงว่า ต้องเป็นบารมีความดีเท่านั้นที่จะไม่ให้โอกาสแก่อกุศลเพิ่มขึ้น จึงสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งที่มีทีละเล็กทีละน้อยตามความเป็นจริงได้

ถ้าไม่รู้ว่า การอภัยเป็นธรรม ก็จะมีแต่ธรรมที่เป็นอกุศล เมื่อมีธรรมที่เป็นอกุศล ก็ย่อมไม่สามารถรู้ความจริงที่ไม่ใช่เราได้

ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ไม่รู้จักโลกก็พ้นโลกไม่ได้

ขอเชิญฟังได้ที่ ...

โลกไม่ปรากฏเพราะความตระหนี่

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย เมตตา  วันที่ 7 ต.ค. 2567

ท่านอาจารย์: นี่เป็นประโยชน์ที่จะต้องเข้าใจคำว่า บารมี ถ้าอภัยให้คนอื่นไม่ได้ แล้วจะรู้ความจริงได้ไหม เพราะยังมีเขา?

อาช่า: ไม่สามารถเข้าใจได้

ท่านอาจารย์: เพราะฉะนั้น ต้องมั่นคงในบารมี

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: อภัยให้ใครแล้วหรือยัง?

อาช่า: มีเกิดบ้าง แต่ถ้าจะพูดว่า ให้อภันตัวเองมั่นคงหมดเลย คงยังไม่ได้ค่ะ

ท่านอาจารย์: ถูกต้อง แต่เริ่มรู้ว่า การอภัยให้ ไม่เป็นโทษกับตัวเอง

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: การเข้าใจอย่างนี้ ก็เริ่มจะทำให้เป็นผู้อภัยให้คนอื่นได้ ไม่อภัยเมื่อไหร่เป็นโทษกับตัวเองเมื่อนั้น

เพราะฉะนั้น การเข้าใจความจริงเท่านั้นทีละเล็กทีละน้อย จะทำให้บารมีเพิ่มขึ้น

บารมีเพิ่มขึ้น หมายความว่าความไม่รู้น้อยลง

อาช่า: ค่ะ

ท่านอาจารย์: ไม่ทราบมีใครมีคำถามอะไรบ้างไหม?

เพราะฉะนั้น ก็ยังเหลือบารมีอีก ๑ คือ ธรรมบารมี เพราะบารมีมี ๓ อามิสทาน อภัยทาน ธรรมทาน

ธรรมทานมีประโยชน์ยิ่งใช่ไหม?

อาคิ่ล: ครับ

ท่านอาจารย์: เมื่อรู้คุณรู้ประโยชน์อย่างยิ่งของธรรม ก็พร้อมที่จะให้ธรรมกับคนอื่นที่เขาสามารถจะเข้าใจได้ ให้ทรัพย์สิ่งของ ให้อภัย แต่ไม่ให้ธรรมทาน ก็ขาดประโยชน์ที่สูงสุด

เพราะฉะนั้น กุศลสูงสุด เมื่อมีแล้ว ก็ควรที่จะให้แก่คนอื่นได้มีด้วย ทุกคำของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีประโยชน์สูงสุดเมื่อเข้าใจ

ขอเชิญคลิกได้ที่ ...

ปัญหาท้าวสักกะ ๑.. ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ


ความคิดเห็น 6    โดย panasda  วันที่ 9 ต.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ