ทั้ง ๓ คำ มีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไรคะ
ขอบคุณและอนุโมทนาค่ะ
ขอเพิ่มคำว่า สงฆ์ อีกคำค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำว่า ภิกษุ หรือ ภิกขุ เป็นคำที่ใช้เรียก สำหรับผู้ที่บวชในพระศาสนานี้ คือ ใน พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง สละ คฤหัสถ์ ออกจากเรือน บวชเป็นพระภิกษุ ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกทั่วไป สำหรับผู้ที่บวชแล้ว แต่ก็ยังมีความหมายลึกซึ้ง ของคำว่า ภิกษุ หรือ ภิกขุ ที่หมายถึง ผู้ขอ หรือผู้มีปกติขอ เพราะธรรมดา ผู้ที่บวชในพระพุทธ ศาสนาย่อมเลี้ยงชีพโดยการเป็นผู้ขอ ไม่ประกอบอาชีพ เลี้ยงตนเอง แต่ขอเพื่อความ ดำรงอยู่ เป็นไปในการดำรงชีวิต อันเป็นไปเพื่อดับกิเลส เป็นประโยชน์กับผู้ที่ถวาย ทาน กับพระภิกษุ ที่จะได้บุญด้วยครับ ภิกขุจึงหมายถึงผู้เลี้ยงชีพโดยการขอ เป็นปกติ
[เล่มที่ 17] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 40
บทว่า ภิกฺขุ เป็นบทกล่าวถึงบุคคลที่ควรจะได้ฟังพระเทศนา. อีกอย่างหนึ่ง ในบทว่า ภิกฺขุ นี้ พึงทราบความหมายของคำโดยนัย เป็นต้นว่า ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เป็นผู้ขอ คือ ชื่อว่า ภิกขุ เพราะอรรถว่า เข้าถึงการเที่ยวไปเพื่อภิกษา.
แต่ ยังมีความละเอียดลึกซึ้ง ที่แสดง ถึง คำว่า ภิกษุ โดยปรมัตถ โดยสัจจะ ความจริง ว่า ภิกขุ ภิกษุ อีกความหมายหนึ่ง คือ ผู้ที่ดับกิเลสหมดสิ้นแล้ว จึงจะชื่อว่า ภิกษุ ซึ่ง ในพระไตรปิฎก มีพราหมณ์ท่านหนึ่ง ได้ เป็นผู้ขออาหารเป็นปกติเช่นกัน แต่ ไม่ใช่พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ทูลถามพระพุทธเจ้าว่า แม้ตัวท่านก็เป็นผู้ขอ พระภิกษุก็เป็นผู้ขอ อย่างนี้ จะแตกต่างกันยังไง ในมื่อเป็นผู้ขอ เป็นภิกขุ เหมือนกัน พระพุทธเจ้าตรัสว่า
[๗๑๗] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า บุคคลหาชื่อว่าเป็นภิกษุเพียงด้วย การขอคนอื่นไม่ บุคคลสมาทานธรรม เป็นพิษ หาชื่อว่าเป็นภิกษุได้ไม่ ผู้ใดใน โลกนี้ละบุญและบาปเสียแล้ว ประพฤติ พรหมจรรย์ด้วยการพิจารณา ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็น ภิกษุ
ส่วนคำว่า บรรพชิต โดยทั่วไป บรรพชิต ก็เข้าใจว่า คือ บุคคลที่บวช สละเพศคฤหัสถ์ บรรพชา จึงชื่อว่า บรรพชิต
ส่วนคำว่า บรรพชิตจริงๆ หมายถึง ผู้เว้นทั่ว เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง เพราะ การบวชเข้ามา ก็เพื่อละอกุศล ละกิเลสทั้งปวง เว้นทั่วทั้งทางกาย วาจา และใจ อีกความหมายหนึ่งของบรรพชิต ในบทเหล่านั้น บทว่า ปพฺพชิเตน บรรพชิต คือ ผู้ตัดวัตถุกามอันเกี่ยวข้องด้วยคฤหัสถ์ออกบวช. (พระไตรปิฎกเล่ม 69 หน้า 578) ส่วนบรรพชิต อีกความหมาย คือ ผู้ที่งดเว้นจากบาปทางกาย วาจาและใจ ก็ชื่อว่า บรรพชิต เพราะเว้นทั่วจากอกุศลธรรม ครับ
ดังข้อความในพระไตรปิฎกที่ว่า
อีกอย่างหนึ่ง ผู้ใดเข้าไปทำร้ายผู้อื่น เพราะไม่มีอธิวาสนขันติฆ่าสัตว์อื่นโดย ที่สุดแม้เหลือบและยุง ผู้นั้นไม่ชื่อว่าเป็น บรรพชิต. เพราะเหตุไร. เพราะยังเว้นมลทิน ไม่ได้. ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า เพราะเว้นมลทินของตนได้ เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าว ว่าบรรพชิตดังนี้ นี้คือลักษณะของบรรพชิต. (มหาปทานสูตร เล่ม 13 หน้า 161)
สรุปได้ว่า ภิกขุ ภิกษุ และ บรรพชิต เหมือนกันโดยนัย ที่ออกจากเรือน บวช สละ เพศคฤหัสถ์ แต่ต่างกัน โดยลักษณะสมมติ ที่ ภิกขุ แสดงถึง วัตรปฏฺบัติ คือ เป็น ผู้ที่เลี้ยงชีพโดยการขอ ส่วน บรรพชิตไม่ได้มีความหมายเช่นนั้น และ สิ่งที่เหมือน กัน สำคัญที่สุด คือ ทั้ง ภิกขุ และ บรรพชิต ต่างก็เป็นไปเพื่อละอกุศล และ ผู้ที่ เป็นภิกขุ และ บรรพชิตจริงๆ คือ ผู้ที่ละสละกิเลสหมดสิ้น ครับ
ส่วนคำว่า สมณะ หมายถึง ผู้สงบ สงบจากกิเลส ภิกษุ โดยมากหมายถึง ภิกษุบุคคล สงฆ์หมายถึงหมู่ของพระภิกษุที่ทำสังฆกรรมตามพระวินัย อนึ่ง สงฆ์จำแนกเป็น ๒ จำพวกคือ ๑. สมมติสงฆ์ (พระภิกษุ - ปุถุชนที่ทำสังฆกรรม) ๒. อริยสงฆ์ (พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า ได้แก่ คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ นับเรียงบรุษ ๘ บุคคล) ฉะนั้น ในภาษาไทยเรานิยมใช้คำว่า ภิกษุสงฆ์ นั้น หมายถึง หมู่ของพระภิกษุตามพระวินัย
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก บรรพชิต หมายถึง ผู้เว้นทั่ว เว้นจากอกุศลโดยประการทั้งปวง ภิกษุ โดยอรรถแล้ว หมายถึง ผู้เห็นภัยในวัฏฏะ ผู้ทำลายซึ่งกิเลสทั้งหลาย ผู้ดับกิเลสได้ ข้ามห้วงน้ำคือกิเลสได้ ไม่มีการเกิดในภพใหม่, สมณะคือผู้สงบจากกิเลสทั้งหลายทั้งปวง มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น
เมื่อกล่าวถึงโดยภาวะ คือ ความเป็นจริงๆ แล้ว ทั้ง ภิกษุ บรรพชิต และสมณะ สูงสุด คือ สามารถดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น ไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดก็ตาม, แต่ถ้ากล่าวโดยเพศแล้ว ภิกษุ บรรพชิต สมณะ เป็นเพศที่ไม่ใช่เพศคฤหัสถ์ เป็นเพศที่สูงกว่าคฤหัสถ์ ต้องสละอาคารบ้านเรือน ละกองแห่งโภคสมบัติทั้งหลายทั้งปวงเข้าสู่เพศบรรพชิต เป็นเพศที่แตกต่างจากคฤหัสถ์อย่างสิ้นเชิง แสดงให้เห็นถึงความพร้อมที่จะขัดเกลากิเลสในเพศของบรรพชิตด้วยความจริงใจ สูงสุดเพื่ออบรมเจริญปัญญาจนกระทั่งสามารถที่จะดับกิเลสทั้งหมดโดยเด็ดขาด บรรลุถึงความเป็นพระอรหันต์
แต่ละบุคคลมีชีวิตเป็นไปตามการสะสม ไม่ว่าจะอยู่ในเพศใดก็ตาม สำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก เห็นประโยชน์ของการอบรมเจริญปัญญา เพราะการอบรมเจริญปัญญาไม่ได้จำกัดเฉพาะเพศหนึ่งเพศใด ขึ้นอยู่กับว่าผู้นั้นจะเห็นความสำคัญมากน้อยแค่ไหน
คำว่า สังฆะ (หรือ สงฆ์) หมายถึง หมู่ ใช้ได้ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นหมู่อะไร ถ้าเป็นหมู่ของพระภิกษุ ก็เรียกว่า ภิกษุสังฆะ หมู่แห่งพระสาวก ก็เป็น สาวกสังฆะ เป็นต้น
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณและอนุโมทนาอ.ผเดิมและอ.คำปั่นค่ะ
อนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ได้ประโยชน์อย่างยิ่ง ขออนุโมทนาครับ