รบกวนอธิบายขยายความเพิ่มเติมด้วยค่ะ
ปัญหา ภิกษุรูปหนึ่งไปเฝ้าพระพุทธเจ้า ขอให้พระองค์ทรงแสดงธรรมโปรดแต่โดย ย่อเพื่อจักได้นำไปปฏิบัติต่อไป พุทธดำรัสตอบ “...ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลย่อมครุ่นคิดในสิ่งใด ย่อมเข้าไปมี ส่วนเป็นสิ่งนั้น บุคคลย่อมไม่ครุ่นคิดถึงสิ่งใด ย่อมไม่เข้าไปมีส่วนในสิ่งนั้น.... ถ้าบุคคลครุ่นคิดถึง รูป.... เวทนา... สัญญา...สังขาร... วิญญาณ ย่อมเข้าไปมี ส่วน เป็น รูป.... เวทนา...สัญญา... สังขาร...วิญญาณ นั้น ถ้าไม่ครุ่นคิดถึงรูป (เป็นต้น) นั้น ก็ไม่เข้าไปมีส่วนเป็นรูป (เป็นต้นนั้น) ”
เชิญคลิกอ่านที่นี่..
บุคคลครุ่นคิดถึงสิ่งใด [ภิกขุสูตร]
ปุถุชนเป็นผู้หนาด้วยกิเลส ยึดมั่นถือมั่นในอุปาทานขันธ์ 5 ว่า เป็นเรา เป็น ของๆ เราก็จะคิดถึงแต่ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เวลาที่จากสิ่งเหล่านี้ก็เป็น ทุกข์ แต่ถ้าเราอบรมปัญญาแทนที่จะสะสมความติดในกามคุณ 5 ก็คิดที่จะลดละ คลายลงบ้าง โดยไม่ยึดติดกับกามคุณ 5 มากนัก ไม่เกาะเกี่ยวผูกพันด้วยโลภะ ด้วยอกุศลจิต เป็นต้น
จากที่คุณยกข้อความในพระไตรปิฎกมานั้น ในอรรกถา ภิกขุสูตร ที่ ๑ จะมีอธิบายความหมายเพิ่มเติมดังนี้
ในภิกขุสูตรที่ ๑
มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า รูปญฺเจ ภนฺเต อนุเสติ ความว่า ครุ่นคิดถึงรูปอย่างใด อย่างหนึ่ง. บทว่า เตน สงฺข คจฺฉติ ความว่า ครุ่นคิดถึงรูปนั้นด้วย ความครุ่นคิดอันใดในกามราคะเป็นต้น ด้วยความครุ่นคิดนั้นนั่นแล ย่อมถึงการนับคือบัญญัติว่า รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว. บทว่า น เตน สงฺขคจฺฉติ ความว่า ด้วยความครุ่นคิดอันไม่เป็นจริงนั้น ย่อม ไม่ถึงการนับว่า รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว.
จบ อรรถกถาภิกขุสูตรที่ ๑
จากสูตรนี้ที่คุณยกมาแสดงให้เห็นว่า เหตุให้ได้ชื่อว่าความกำหนัด (โลภะ) เหตุ ให้ได้ชื่อว่าขัดเคือง (โทสะ) เหตุให้ได้ชื่อว่าลุ่มหลง (โมหะ) เกิดจาก จิตนั่นเองที่ตรึก เป็นไปครุ่นคิด ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งก็ไม่พ้นในขณะนี้ ในชีวิต ประจำวัน ที่เราได้เห็นรูป เมื่อมีกิเลส ก็ยินดี พอใจ หรือ ขุ่นเคืองขณะที่ยินดีพอใจ หรือขุ่นเคือง ก็เป็นการครุ่นคิดเป็นไปในกิเลสนั่นเองเมื่อได้เห็นรูป เวทนาเจตสิก ก็เกิดกับจิตที่คิดถึงรูปนั้นด้วย (เวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง) และสัญญาก็เกิด พร้อมกับจิตนั้นนั่นแหละ โดยมีรูปนั้นเป็นอารมณ์สังขาร และวิญญาณ (จิต) โดยนัยเดียว กัน แต่ถ้ามีปัญญา เมื่อเห็นรูป ก็รู้ว่าเป็นเพียงสภาพธัมมะที่มีจริง ขณะนั้น ก็เป็น กุศลที่ประกอบด้วยปัญญา จึงชื่อว่าไม่ครุ่นคิดในรูป เวทนา.....วิญญาณ เพราะอะไร เพราะเป็นกุศลนั่นเอง ไม่เป็นไปใน รัก โกรธ หลง เพราะเห็นตามความเป็นจริง (สติ ปัฏฐาน) ดังข้อความในอรรถกถา สูตรที่ 1 ตอนท้ายสุดแสดงไว้ครับ แต่ปุถุชน ย่อมครุ่นคิดในรูป เวทนา ..วิญญาณ เป็นไปทางอกุศล ส่วนมาก จึง นับว่าหรือเรียกได้ว่า เป็นผู้ที่รักแล้ว โกรธแล้ว หลงแล้ว ใน รูป เวทนา..วิญญาณ นั่นเองครับ ที่สำคัญที่สุด การอบรมเจริญปัญญา ไม่ใช่ ให้ไม่มี รัก โกรธ หลง ในรูป.. วิญญาณ เป็นไปไม่ได้อยู่แล้ว แต่หนทางที่ถูกก็คือ เมื่อรัก (โลภะ) โกรธ (โทสะ) หลง (โมหะ) เกิด ก็ศึกษาลักษณะของเขาว่าเป็นธัมมะอย่างหนึ่ง ไม่ใช่เรา นี่คือ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน โดยเป็นปกติสภาพธัมมะใดเกิดก็รู้ครับ แม้เป็นอกุศล
อนุโมทนาครับ
สติเท่านั้นที่เป็นเครื่องกั้นกระแสของอกุศล ส่วนปัญญาที่เกิดพร้อมกับสติก็จะปรุง แต่งให้มีความรู้ถูกเห็นถูกมากยิ่งขึ้น ทั้งสติและปัญญาจะเกิดไม่ได้ถ้าไม่มีความรู้ความ เข้าใจในพระธรรมค่ะ
อธิบายได้ละเอียดเข้าใจดี อนุโมทนาค่ะ
รูปที่เขาครุ่นคิดนั้น ย่อมตายไปตามความครุ่นคิดที่กำลังตายไป ด้วยว่าเมื่อ อารมณ์แตกไป ธรรมที่มีรูปนั้นเป็นอารมณ์ย่อมตั้งอยู่ไม่ได้. รูปใด ตายไปตามความ ครุ่นคิดใด. ด้วยความครุ่นคิดนั้น บุคคลย่อมถึงการนับว่า รัก โกรธ หลง บุคคลย่อม ถึงการนับว่า รัก โกรธหลง ด้วยความครุ่นคิดถึงรูปที่ตายไปนั้น.
ความจริงก็คือไม่มีเรา มีแต่ความวิปลาสของจิต
อนุโมทนาค่ะ