รู้สึกผิดเป็นกังวล
โดย medulla  11 ต.ค. 2550
หัวข้อหมายเลข 5090

วันนี้ได้ฟังธรรมเรื่องพระโพธิสัตว์บำรุงมารดาบิดาอย่างไร ถึงประโยคที่ "เพราะบำรุง บิดามารดา ให้หัวเราะแจ่มใสอยู่เสมอ" แต่ในชีวิตของดิฉัน มักทำให้พ่อแม่ท่านอารมณ์ขุ่นมัวเป็นกังวลในตัวดิฉันอยู่เสมอ รู้สึกเป็นกังวลในอกุศลกรรมที่ไม่ทำตามที่บิดามารดาต้องการ แต่เหมือนเป็นวิบากที่ต้องขัดใจท่านบ่อยๆ ท่านให้ไปทางซ้าย แต่เราถนัดไปทางขวา รู้สึกเป็นบาปในใจลึกๆ มาตลอดเวลา แม้แต่ตอนฟังธรรมถ้ามี พูดถึงการบำรุงบิดามารดา ดิฉันถึงจะให้ข้าวของเงินทอง เอาซีดี ธรรมะให้ฟัง แต่เรา ก็ไม่สามารถทำตามที่ท่านต้องการได้ และทำให้ท่านขุ่นมัวในใจกังวลเรื่องเราตลอด นึกแล้วก็อดร้องไห้ไม่ได้ คงเพราะเราสะสมอารมณ์ขี้กังวลมาเยอะ มีวิบากเยอะอีก ขอความกรุณาทุกท่านชี้แนะ ปลอบโยน ด้วยค่ะ



ความคิดเห็น 1    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 11 ต.ค. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด ในฐานะที่เป็นบุตรครับ ว่าควรปฏิบัติอย่างไรในมารดา บิดา ทุกคนสะสมมาต่างกัน จะทำให้ถูกใจไม่ได้แต่ควรทำให้ถูกต้อง ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกเป็น กุศลและพิจารณาโดยรอบคอบแล้ว แต่ก็ทำให้ท่านเป็นอกุศล นั่นก็เป็นธรรมดาและไม่สามารถทำอะไรได้เพราะยังมีกิเลสกันครับ แต่ก็ควรพิจารณาถึงคำพูดของท่านด้วยใน การอบรมสั่งสอนของท่าน ว่าเป็นจริงอย่างไร ถ้าเป็นสิ่งที่ถูกก็ควรประพฤติปฏิบัติตาม เพราะ บิดา มารดาย่อมหวังดีกับบุตรเสมอ ดังนั้น บาปไม่บาปนั้นก็อยู่ที่เจตนาและเป็นอกุศลหรือไม่ ถ้าทำสิ่งที่ถูกแล้ว แต่คนอื่นเกิดอกุศล บาปย่อมไม่ตกกับบุคคลที่ทำถูก แต่เรื่องของใจของคนอื่นเป็นเรื่องที่ห้ามกันไม่ได้ ที่สำคัญ ขอให้มีพระธรรมเป็นที่พึ่ง พิจารณาสิ่งที่ผิดหรือถูกครับ เปลี่ยนจากการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสม หรือการขัดใจ ก็อธิบายเหตุผลให้ท่านฟังก็ได้ และอธิบายสิ่งที่ถูกครับ


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 11 ต.ค. 2550

[เล่มที่ 60] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๖ - หน้าที่ 159

๕. ชนสันธชาดก

ว่าด้วยเหตุที่ทำจิตให้เดือดร้อน

[๑๖๕๗] ผู้ไม่ทำตามโอวาทบิดา ย่อมเดือดร้อน ในภายหลังว่า เราได้ดูหมิ่นบิดาผู้เป็นอาจารย์สั่งสอน ผู้นำรสที่ต้องการทุกอย่างมาเลี้ยงดู (แต่ควรพิจารณาคำโอวาทว่าถูกต้องในพระธรรมหรือไม่)


ความคิดเห็น 3    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 11 ต.ค. 2550

เรื่อง บาปย่อมไม่เปื้อนกับบุคคลที่ จิตเป็นกุศลทำสิ่งที่ถูกต้อง
[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้าที่ ๓๑๙

ข้อความบางตอนจาก

คันธารชาดก

ลำดันนั้น พระโพธิสัตว์จึงกล่าวคาถาที่ ๕ แก่วิเทหดาบสนั้นว่า :- ผู้ถูกตักเตือน จะแค้นเคืองหรือไม่แค้นเคืองก็ตามเถิด หรือจะเขี่ยทิ้งเหมือนโปรย แกลบทิ้งก็ตาม เมื่อเรากล่าวคำเป็นธรรมอยู่ ขึ้นชื่อว่าบาป ย่อมไม่เปรอะเปื้อนเรา

เชิญคลิกอ่านที่นี่...

การกระทำตอบแทนบิดามารดา ..โสณนันทจริยา

มารดาบิดา เป็นทิศเบื้องหน้า

บิดามารดาเป็นบุคคลผู้ควรบูชา

ทำอย่างไรดี ให้บิดามารดามีความเข้าใจในสภาวธรรม

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 12 ต.ค. 2550

อนุโมทนาคะ


ความคิดเห็น 5    โดย medulla  วันที่ 12 ต.ค. 2550
ขอบพระคุณค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 6    โดย ครูโอ  วันที่ 12 ต.ค. 2550

อกุศลกรรมที่กระทำแล้ว ล่วงไปแล้ว ถ้าพิจารณาแล้วไม่เอื้อต่อการเจริญกุศลธรรมเลย ก็ไม่ควรจะครุ่นคิดให้อกุศลวิตกกำเริบขึ้น จนทำให้เราต้องเกิดความเดือดร้อนรำคาญใจหรือน้อยใจในตัวเองบ่อยๆ ครับ ถ้าเห็นโทษของการคิดแล้วเศร้า คิดแล้วขุ่นใจ ก็ควรตั้งใจดี เจตนาดี คิดดี คิดที่จะละอกุศลที่ไม่ดีที่ได้เคยกระทำลงไปให้เกิดน้อยลงด้วยการเจริญกุศลทุกประการ เพื่อเกื้อกูลสรรพสัตว์ (ไม่เพียงเฉพาะแต่บุพการี) ควบคู่กันไปกับการฟังพระธรรมเพื่อเจริญปัญญาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย Komsan  วันที่ 13 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 8    โดย อิสระ  วันที่ 13 ต.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 9    โดย medulla  วันที่ 14 ต.ค. 2550

ขอขอบพระคุณทุกท่านอย่างสูงนะคะ สมกับคำว่า กัลยาณมิตร ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 10    โดย chatchai.k  วันที่ 21 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 11    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 23 ก.พ. 2566

ยินดีในกุศลจิตค่ะ