จาก พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 460
ทุกขธรรมสูตร (อรรถกถา)
บทว่า ทนฺโธ ภิกฺขเว สตุปฺปาโท ความว่า การเกิดขึ้นแห่งสตินั้นแล ช้า แต่เมื่อสตินั้นพอเกิดขึ้นแล้ว ชวนจิตก็จะแล่นไป กิเลสทั้งหลายก็จะถูกข่มไว้ ไม่สามารถดำรงอยู่ได้.
อธิบายว่า ในจักษุทวาร เมื่อกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้นเกิดขึ้นแล้ว เพราะทราบโดยวาระแห่งชวนจิตที่สองว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ชวนจิตสหรคตด้วยสังวรก็จะแล่นไปในวาระแห่งชวนจิตที่สาม ก็ข้อที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา พึงข่มกิเลสทั้งหลายได้ในวาระแห่งชวนจิตที่สามไม่ใช่เรื่อง น่าอัศจรรย์เลย.
อนึ่งในจักษุทวาร เมื่ออิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่น่าปรารถนา) มาสู่คลอง ภวังคจิตก็จะไหว ครั้นเมื่ออาวัชชนจิตเป็นต้นเกิดขึ้น ก็จะห้ามวาระแห่งชวนจิตที่มีกิเลสคละเคล้าเสีย ต่อจากโวฏฐัพพนจิตแล้วให้วาระแห่งชวนจิตที่เป็นกุศลเกิดขึ้นแทนทันที.
ก็นี้เป็นอานิสงส์ของการที่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ดำรงมั่นอยู่ในการพิจารณาภาวนา. 1. ขอความกรุณาช่วยอธิบายขอ้ความดังกล่าวด้วยนะค่ะ 2. จากข้อความดังกล่าว ไม่ทราบว่าชวนวิถี ไม่ต้องมีอารมณ์เดียวกัน ทั้ง 7 ขณะใช่หรือเปล่าค่ะ
ขอขอบพระคุณมากค่ะ
๑.ท่านอธิบาย สติเกิดขึ้นช้า คือในชวนะทางปัญจทวาร ๗ ขณะ เป็นอกุศลชวนะทางมโนทวารวาระแรกก็เป็นอกุศล ชวนะวาระที่ ๓ จึงเป็นกุศล คือมีสติเกิดร่วมด้วย ข่มกิเลสที่เกิดขึ้นแล้ว..๒. ชวนะ วาระเดียวกัน ๗ ขณะ ต้องมีอารมณ์เดียวกัน เป็นอกุศลเหมือนกันครับ
เรียน อาจาราย์ประเชิญ
เมื่อเป็นชวนะวาระที่ 3 แล้ว จะมีชวนะวาระที่ 4 ที่เป็นอกุศลได้อีกไหมค่ะ
ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ
เรียนความเห็นที่ ๒
เป็นได้ครับ กุศลและอกุศลเกิดสลับกันไปมาได้ แต่ไม่ใช่ชวนะ ในวาระเดียวกัน
ชวนจิตทางปัญจทวารที่เกิดขึ้นเป็นชาติอกุศล..ชวนจิตทางมโนทวารที่เกิดต่อจากทางปัญจทวารเป็นอกุศลด้วย (ชวนทางมโมทวารครั้งที่1) เพราะทราบโดยวาระแห่งชวนจิตที่สองว่า กิเลสทั้งหลายเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ( เป็นทางมโนทวาร) ชวนจิตสหรคตด้วยสังวรก็จะแล่นไปในวาระแห่งชวนจิตที่สาม (หมายถึงชวนทางมโนทวาร)
แต่ภิกษุผู้เจริญวิปัสสนา ดำรงมั่นอยู่ในการพิจารณาภาวนาเมื่อมีอารมณ์.ที่น่าพอใจมากระทบ (อิฏฐารมณ์) ชวนวิถีแรก (วาระแรก) เป็นกุศลจิตแทนอกุศลจิตได้เลย.....
เข้าใจผิดอย่างไรกรุณาอธิบายด้วยนะคะ
ชวนจิต 1 วาระมี 7 ขณะ
ขออนุโมทนาค่ะ