(เสาซึ่งสร้างโดยพระเจ้าอโศกมหาราช ณ ประเทศอินเดีย)
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ถอดเสียงจาก ชุดปกิณณกธรรม แผ่นที่ ๑๑ ครั้งที่ ๖๐๖
สนทนาธรรมที่หมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ๑ พ.ศ. ๒๕๔๕
โดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
"เป็นผู้ยินดีในธรรมะอันงาม ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา"
สำหรับเรื่องของศีลเนี่ยค่ะ เป็นเรื่องของกาย วาจา ซึ่งมีประจำอยู่ตลอด เพราะว่าทุกคนมีกาย มีวาจา เพราะฉะนั้น ถ้าเป็นผู้ที่มีความละเอียดในเรื่องของศีลนะคะ ก็ย่อมจะไม่ได้เพียงคิดแต่เพียงว่า เราไม่ได้ฆ่าสัตว์ เราไม่ได้เอาของๆ คนอื่นมาเป็นของเรา เราไม่ได้ประพฤติผิดในกาม เราไม่ได้กล่าววาจาที่ไม่จริง แต่ว่าศีลก็ยังละเอียดมากกว่านั้นอีก เช่น "เป็นผู้ยินดีในธรรมะอันงาม" เพราะเหตุว่ากายของเรามี วาจาของเรามี ถ้าเพียงแต่เราเว้นการพูดสิ่งที่ไม่ดี หรือว่าผรุสวาจา ก็ยังไม่พอ ต้องเป็นผู้ที่ไม่โอ้อวด
ลองคิดดูค่ะ ถ้าจะโอ้อวด โอ้อวดด้วยกาย หรือโอ้อวดด้วยวาจาใจโอ้อวดนี่ก็อยู่ข้างใน ไม่มีใครรู้ แต่ว่าเวลาที่ออกมาทางกาย ออกมาทางวาจา คนนั้นรู้ได้เลยค่ะ แต่คนที่กำลังโอ้อวด รู้ไหม ไม่รู้ใช่ไหม เพราะฉะนั้น การจะศึกษาธรรมะ ก็เป็นเรื่องที่ขัดเกลาอย่างยิ่งโดยละเอียด คือ ไม่ใช่เพียงแต่ให้มีปัญญารู้ว่าสภาพธรรมะ ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่เรา เป็นจิต เป็นเจตสิก แต่ยังรวมถึงใจที่ว่าละเอียดขึ้น ที่จะเป็นเหตุปัจจัย ให้เกิดกายอย่างไร ที่ไม่สมควร หรือว่าวาจาที่ไม่สมควร เพราะฉะนั้น ผู้ที่มีศีลงาม มีใจงามเนี่ยค่ะ จะไม่เป็นผู้ที่โอ้อวด แต่ทีนี้บางคน สะสมมาที่จะโอ้อวด แล้วก็ไม่รู้เลยว่าขณะนั้น ไม่สมควร แต่ว่าพระธรรมก็ทรงแสดงไว้ว่า เรื่องของศีล ไม่ใช่แต่เฉพาะเรื่องของการวิรัติทุจริต แต่ว่าแม้แต่คำพูดหรือกาย ก็จะต้องควรจะเป็นผู้ที่มีศีลด้วย หมายความว่าไม่ประพฤติสิ่งซึ่งไม่สมควร
คนที่อวดเก่งๆ ตอนนี้พอจะทราบไหม ว่าขณะใดที่อวด ขณะนั้นเป็นกุศล หรือ เป็นอกุศล ถ้าไม่ทรงแสดงไว้ เราก็ไม่เห็นโทษใช่ไหม แล้วเราก็อวดต่อไป อวดที่นี่ ก็เป็น (การอวด) ในสิ่งที่ดีใช่มั้ยคะ อวดสิ่งที่คิดว่าตนมี ในสิ่งที่ตนคิดว่าดี หรือว่าเก่ง หรือว่าถ้าไม่อวด (คนอื่น) เขาก็รู้ใช่ไหม แล้วต้องอวดไหม หรือว่าอวดเพราะกิเลสของเรา นี่ก็เป็นเรื่องของกาย วาจา ซึ่งถ้าได้ศึกษาธรรมะจริงๆ จะเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน แล้วก็ไม่เปิดเผยคุณความดีของตัวเอง แล้วก็ทุกอย่าง ก็งามขึ้น ด้วยจิตที่เป็นกุศลที่ละเอียดขึ้น ไม่โอ้อวด ไม่มีมายา
บางทีคำพูดบางคำ ฟังดูดีมาก แต่ไม่รู้เลยว่าแท้ที่จริงคำพูดนั้น แสดงความดีของตนเอง แล้วก็ (แสดง) ความไม่ดีของคนอื่นหรือเปล่า แฝงไว้ด้วยจิตประเภทไหน เพราะฉะนั้น เรื่องของจิตใจเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก แล้วใครจะละได้ นอกจาก (ปัญญาของ) ตัวเองที่จะต้องค่อยๆ เข้าใจตามความเป็นจริงว่า อะไรเป็นสิ่งที่สมควร อะไรเป็นสิ่งที่ไม่สมควร เพราะฉะนั้น ลักษณะที่โอ้อวด มีมายา หรือไม่ซื่อตรง หรือว่ายาก พวกนี้ก็เป็นเรื่องของกายวาจา ทั้งหมด ซึ่งมาจากใจด้วย เพราะฉะนั้น ถ้าใจมีความเข้าใจธรรมะอย่างถูกต้อง ก็จะค่อยๆ พิจารณากาย และ วาจา ของตัวเอง
การกล่าววาจาแม้ตั้งพันแต่ไม่เป็นประโยชน์ สู้การกล่าววาจาเพียงบทเดียว แต่เป็นประโยชน์ ฟังแล้วทำให้จิตสงบจากกิเลสประเสริฐกว่าค่ะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
"ซึ่งถ้าได้ศึกษาธรรมะจริงๆ นะคะ จะเป็นผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตน แล้วก็ไม่เปิดเผยคุณความดีของตัวเอง"
สาธุขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ลักษณะที่โอ้อวด มีมายา ทำให้ไม่รู้ตรงกับความเป็นจริง
ขอบคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
...ขอบพระคุณและขออนุโมทนาด้วยค่ะ...
ขออนุโมทนาค่ะ
"บางทีคำพูดบางคำ ฟังดูดีมาก แต่ไม่รู้เลยว่าแท้ที่จริงคำพูดนั้น แสดงความดีของตนเอง แล้วก็ (แสดง) ความไม่ดีของคนอื่นหรือเปล่า แฝงไว้ด้วยจิตประเภทไหน"
สาธุ ได้นึกทบทวนแล้ว รู้สึกว่าการกล่าวถ้อยคำ เป็นเรื่องละเอียดมากค่ะ สำคัญที่สุดคือพิจารณาอกุศลของตนเองก่อน
ขออนุโมทนาสาธุในข้อธรรมนี้ด้วยนะคะ
สาธุๆ ๆ ค่ะ
การรักษาศีลทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นเรื่องที่ละเอียดและยากจริงๆ คงต้องฟัง ศึกษา และเพียรต่อไปค่ะ ...
ขออนุโมทนา
คนสองคนกล่าวสุภาษิต คนหนึ่งกล่าวด้วยความโอ้อวดจึงเป็นการเจริญอกุศล อีกคน ขณะที่กล่าวประโยคเดียวกัน ด้วยจิตอ่อนโยนมุ่งเกื้อกูล และมีปัญญารู้จักสภาพธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งในขณะนั้นตามความเป็นจริง ว่าไม่มีตัวเขาที่กำลังกล่าว เป็นการอบรมเจริญปัญญา อย่างแท้จริง
การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ