[เล่มที่ 66] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 379
บทว่า มิจฺฉาทิฏฺฐิกา คือ มีความเห็นวิปริต.
บทว่า มิจฺฉาทิฏฐิกมฺมสมาทาน ยึดถือการทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ คือยึดถือการกระทำต่างๆ หลายอย่าง ด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ อนึ่ง ผู้ใดชักชวนแม้ผู้อื่นในกายกรรม เป็นต้น อันเป็นมูลแห่งมิจฉาทิฏฐิ ผู้นั้นก็ชื่อว่า เป็นผู้ยึดถือการกระทำต่างๆ หลายอย่าง. อนึ่ง ในบทนี้ แม้เมื่อมิจฉาทิฏฐิ สงเคราะห์ด้วยการถือเอาวจีทุจริต และด้วยการถือเอามโนทุจริต ในการติเตียนพระอริยเจ้า คำกล่าวของทั้งสองอย่างเหล่านั้นพึงทราบว่า เพื่อแสดงความมีโทษมาก เพราะผู้ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นผู้มีโทษมาก เช่นเดียวกับ อนัตริยกรรม แม้ข้อนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ว่า
ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุถึงพร้อมด้วยศีล สมาธิ ปัญญา พึงให้ผู้อื่นยินดีในทิฏฐธรรมด้วย แม้ฉันใด ดูก่อนสารีบุตร ข้อนี้ก็มีอุปไมยฉันนั้น เรากล่าวว่า ผู้ไม่ละคำพูดนั้น ไม่ละจิตนั้น ไม่สละคืนทิฏฐินั้นเก็บสะสมไว้ เหมือนยินดีในนรก. ไม่มีอย่างอื่นที่มีโทษมากกว่ามิจฉาทิฏฐิเลย. เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นแม้สักอย่างเดียว ที่มีโทษมากเหมือนมิจฉาทิฏฐินี้เลย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โทษทั้งหลายมีมิจฉาทิฏฐิเป็นอย่างยิ่ง.
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น