๓. อนิจจสูตรที่ ๑ ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕
โดย บ้านธัมมะ  6 ก.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 36802

[เล่มที่ 27] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 93

๓. อนิจจสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 27]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 93

๓. อนิจจสูตรที่ ๑

ว่าด้วยความเป็นไตรลักษณ์แห่งขันธ์ ๕

[๙๑] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เวทนาไม่เที่ยง ... สัญญาไม่เที่ยง ... สังขารไม่เที่ยง ... วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา เธอทั้งหลายพึงเห็นสิ่งนั้นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา เมื่อเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 1 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 94

[๙๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากรูปธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ถ้าจิตของภิกษุคลายกำหนัดแล้วจากเวทนาธาตุ ... จากสัญญาธาตุ ... จากสังขารธาตุ ... จากวิญญาณธาตุ หลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น เพราะหลุดพ้นแล้วจิตจึงดำรงอยู่ เพราะดำรงอยู่จึงยินดีพร้อม เพราะยินดีพร้อมจึงไม่สะดุ้ง เมื่อไม่สะดุ้งย่อมดับรอบเฉพาะตนเท่านั้น ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

จบ อนิจจสูตรที่ ๑

อรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๑

ในอนิจจสูตรที่ ๑ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้

บทว่า สมฺมปฺปญฺาย ทฏฺพฺพํ ความว่า พึงเห็นด้วยปัญญาอันสัมปยุตด้วยมรรค พร้อมด้วยวิปัสสนา. บทว่า วิรชฺชติ วิมุจฺจติ ได้แก่ ย่อมคลายกำหนัดในขณะแห่งมรรค ย่อมหลุดพ้นในขณะแห่งผล. บทว่า อนุปาทาย อาสเวหิ ความว่า เพราะไม่ยึดถือจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายที่ดับสนิทด้วยการดับสนิทโดยไม่เกิดขึ้น. บทว่า รูปธาตุยา เป็นต้น ตรัสไว้เพื่อแสดงปัจจเวกขณญาณ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อแสดงปัจจเวกขณญาณพร้อมด้วยผล ดังนี้ก็มี. บทว่า ิตํ ได้แก่ ตั้งอยู่โดยความเป็นกิจที่จะพึงกระทำให้สูงขึ้นไป บทว่า ิตตฺตา สนฺตุสิตํ ได้แก่ ยินดีโดยภาวะเที่ยงแท้ที่จะพึงบรรลุ. บทว่า ปจฺจตฺตํเยว ปรินิพฺพายติ ได้แก่ ย่อมปรินิพพานด้วยตนเองทีเดียว.

จบ อรรถกถาอนิจจสูตรที่ ๑