[เล่มที่ 59] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 236
๔. คิชฌชาดก
ว่าด้วยเมื่อถึงคราวพินาศ ความคิดย่อมวิบัติ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 59]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 236
๔. คิชฌชาดก
ว่าด้วยเมื่อถึงคราวพินาศ ความคิดย่อมวิบัติ
[๙๙๐] ท่านเหล่านั้น พ่อแม่ของเราแก่เฒ่าแล้ว อาศัยอยู่ที่ซอกเขา จักทำอย่างไรหนอ เราก็ติดบ่วง ตกอยู่ในอำนาจ ของนายพรานนิลิยะ.
[๙๙๑] แร้ง เจ้าโอดครวญทำไม การโอดครวญของเจ้า จะมีประโยชน์อะไรเล่า ข้าไม่เคยได้ยิน หรือไม่เคยเห็น นกพูดภาษาคนได้เลย.
[๙๙๒] เราเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ที่ซอกเขา ท่านจักทำอย่างไรหนอ เมื่อเราตก อยู่ในอำนาจ ของท่านแล้ว.
[๙๙๓] ชาวโลกพูดกันว่า แร้งมองเห็นซากศพ ไกลถึงร้อยโยชน์ เหตุไฉน เจ้าแม้เข้าไปใกล้ ข่าย และบ่วงแล้ว จึงไม่รู้จัก.
[๙๙๔] เมื่อใดความเสื่อมจะมี และสัตว์จะมี ความสิ้นชีวิต เมื่อนั้น เขาแม้จะเข้าไปใกล้ ตาข่าย และบ่วงแล้ว ก็ไม่รู้จัก.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 237
[๙๙๕] เจ้าจงไปเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า ที่อาศัยอยู่ ที่ซอกเขาเถิด ข้าอนุญาตเจ้าแล้ว เจ้าจะไป พบญาติทั้งหลาย โดยสวัสดี.
[๙๙๖] ดูก่อนนายพราน เจ้าก็จงบันเทิงใจ พร้อมด้วยญาติทั้งมวล เหมือนกันเถิด เราก็จักเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ที่ซอกเขา.
จบ คิชฌชาดกที่ ๔
อรรถกถาคิชฌชาดกที่ ๔
พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา จึงตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า เต กถํ นุ กริสฺสนฺติ ดังนี้. เรื่องจักมีชัดแจ้ง ในสามชาดก.
ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัต ครองราชสมบัติ อยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์ เกิดในกำเนิดแร้ง เติบโตแล้ว ให้พ่อแม่ผู้แก่เฒ่า ตาเสื่อมคุณภาพแล้ว สถิตอยู่ที่ถ้ำเขาคิชฌกูฏ นำเนื้อโค เป็นต้น มาเลี้ยง. เวลานั้นในเมืองพาราณสี นายพรานคนหนึ่ง ดักบ่วงแร้ง โดยไม่กำหนด เวลาไปดู ไว้ที่ป่าช้า อยู่มาวันหนึ่งพระโพธิสัตว์ เมื่อแสวงหาเนื้อโค ได้เข้าไปป่าช้า เขาติดบ่วงไม่ได้คิดถึงตน ระลึกถึงแต่พ่อแม่ ผู้แก่เฒ่าแล้ว บ่นไปว่า พ่อแม่ของเรา จักอยู่ไปได้อย่างไรหนอ? ไม่รู้ว่าเราติดบ่วงเลย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 238
หมดที่พึ่ง ขาดอาหารปัจจัย เห็นจักผอมตาย ที่ถ้ำในภูเขานั่นเอง ดังนี้ กล่าวคาถาที่ ๑ ไปพลางว่า :-
ท่านเหล่านั้น พ่อแม่ของเราแก่เฒ่าแล้ว อาศัยอยู่ที่ซอกเขา จักทำอย่างไรหนอ เราก็ติดบ่วง ตกอยู่ในอำนาจของนายพราน นิลิยะ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นิลิยสฺส ได้แก่ บุตรของนายพราน ที่มีชื่ออย่างนี้ บุตรของนายพราน ได้ยินคำโอดครวญ ของแร้งนั้นแล้ว จึงกล่าวว่า :-
แร้ง เจ้าโอดครวญทำไม การโอดครวญของเจ้า จะมีประโยชน์อะไรเล่า ข้าไม่เคยได้ยิน หรือไม่เคยเห็น นกพูดภาษาคนได้เลยว่า เราเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่าแล้ว อาศัยอยู่ที่ซอกเขา ท่านจักทำอย่างไรหนอ? เมื่อเราตกอยู่ในอำนาจ ของท่านแล้ว ชาวโลกพูดกันว่า แร้งมองเห็นซากศพไกล ถึงร้อยโยชน์ เหตุไฉน เจ้าแม้เข้าไปใกล้ตาข่าย และบ่วงแล้ว จึงไม่รู้จัก เมื่อใด ความเสื่อมจะมี และสัตว์จะมี ความสิ้นชีวิต เมื่อนั้น เขาแม้จะเข้าไปใกล้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 239
ตาข่าย และบ่วงแล้ว ก็ไม่รู้จัก เจ้าจงไปเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ ในซอกเขาเถิด ข้าอนุญาตเจ้าแล้ว เจ้าจงไปพบญาติทั้งหลาย โดยสวัสดี ดูก่อนนายพราน เจ้าจงบันเทิงใจ พร้อมด้วยญาติทั้งมวล เหมือนกันเถิด เราก็จักเลี้ยงพ่อแม่ผู้แก่เฒ่า แล้วอาศัยอยู่ที่ซอกเขา.
คาถาเหล่านี้คือ คาถาที่ ๒ นายพราน กล่าวคาถาที่ ๓ แร้งกล่าวแล้ว ตามลำดับ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยนฺนุ ความว่า ชาวโลกกล่าวคำนี้ใด ไว้นะ. บทว่า คิชฺโฌ โยชนสตํ กุณปานิ อุเปกฺขติ ความว่า แร้งมองเห็นซากศพ ที่วางอยู่เกินร้อยโยชน์ ถ้าหากชาวโลกกล่าวถ้อยคำ นั้นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เหตุไฉน แร้งแม้เข้าไปใกล้ข่าย และบ่วง จึงไม่รู้จัก คือ แม้มาถึงที่แล้ว ก็ไม่รู้จัก. บทว่า ปราภโว ได้แก่ ความพินาศ. บทว่า ภรสฺสุ ความว่า นายพรานนั้น ครั้นได้ฟังธรรมกถา ของพระโพธิสัตว์นี้แล้ว คิดว่า พระยาแร้งผู้ฉลาด เมื่อโอดครวญ ก็ไม่โอดครวญเพื่อตน แต่โอดครวญเพื่อพ่อแม่ พระยาแร้งนี้ ไม่ควรตาย แล้วได้กล่าวยินดีต่อพระโพธิสัตว์นั้น ก็แหละ ครั้นกล่าวแล้ว ก็แก้บ่วงออก ด้วยจิตใจรักใคร่อ่อนโยน.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๕ - หน้า 240
ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์พ้นจากมรณทุกข์ มีความสุขใจแล้ว เมื่อจะทำอนุโมทนา แก่นายพรานนั้น จึงกล่าวคาถาสุดท้ายแล้ว ได้คาบเอาเนื้อเต็มปาก ไปให้พ่อแม่.
พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มา ประกาศสัจธรรมทั้งหลาย แล้วทรงประชุมชาดกไว้ ในที่สุดแห่งสัจธรรม ภิกษุผู้เลี้ยงมารดา ได้ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล บุตรนายพรานในครั้งนั้น ได้แก่ พระฉันนเถระ ในบัดนี้ พ่อแม่ ได้แก่ ราชตระกูลใหญ่ ส่วนพระยาแร้ง ได้แก่ เราตถาคต ฉะนี้แล.
จบอรรถกถา คิชฌชาดกที่ ๔