[เล่มที่ 45] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 598
ติกนิบาต
วรรคที่ ๕
๗. กามสูตร
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยกามไปสู่สงสาร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 45]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 598
๗. กามสูตร
ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยกามไปสู่สงสาร
[๒๗๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ เป็นผู้ยังมา ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้ (คือ อัตภาพแห่งมนุษย์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ (แต่) ยังประกอบด้วยภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจาก ภวโยคะ เป็นพระอรหันตขีณาสพ.
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกาม โยคะและภวโยคะ ย่อมไปสู่สงสารซึ่งมี ปกติถึงความเกิดและความตาย ส่วนสัตว์ เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยัง ไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบ ด้วยภวโยคะ สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า เป็นพระอนาคามี ส่วนสัตว์เหล่าใดตัด ความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่ สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ทั้งหลายแล้ว สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้ว ในโลก.
จบกามสูตรที่ ๗
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 599
อรรถกถากามสูตร
ในกามสูตรที่ ๗ พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กามโยคยุตฺโต ความว่า ราคะที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ ชื่อว่า กามโยคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยกามโยคะนั้น ชื่อว่า กามโยคยุตฺโต. บทว่า กามโยคยุตฺโต นี้ เป็นชื่อของ กามราคะ ที่ยังตัดไม่ขาดแล้ว. ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในรูปภพ และอรูปภพทั้งหลาย ชื่อว่า ภวโยคะ. ความใคร่ในฌาน และราคะอันประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ ก็ อย่างนั้น คือ ชื่อว่า ภวโยคะ (เหมือนกัน). บุคคลผู้ประกอบด้วยภวโยคะ นั้น ชื่อว่า ภวโยคยุตฺโต. อธิบายว่า ยังละภวราคะไม่ได้ บทว่า อาคามี ความว่า บุคคลแม้จะดำรงอยู่ในพรหมโลก ก็ยังมาสู่มนุษยโลกนี้เป็นปกติ ด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดังนี้. อธิบายว่า มีอันต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้ กล่าวคืออัตภาพแห่งมนุษย์เป็นธรรมดา ได้แก่มีการบังเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย เป็นปกติ. เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็กามโยคะเป็นเหตุแห่งการมาสู่ความเป็น อย่างนี้ในมนุษยโลกนี้โดยแท้ ถึงกระนั้นผู้ใดประกอบกามโยคะ ผู้นั้นย่อม ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบแม้ภวโยคะโดยส่วนเดียวดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง ตรัสคำทั้งสองไว้รวมกันว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย กามโยคะ และประกอบแล้วด้วยภวโยคะ ดังนี้.
แม้อสุภฌาน ก็ชื่อว่า กามโยควิสํโยโค ในบทว่า กามโยควิสํยุตฺโต นี้. อนาคามิมรรคที่พระอริยบุคคลบรรลุแล้ว โดยกระทำอสุภฌาน นั้นให้เป็นบาท ชื่อว่าผู้พรากจากกามโยคะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. เพราะเหตุ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 600
นั้น พระอริยบุคคลผู้ตั้งอยู่ในผลแห่งมรรคที่ ๓ ท่านจึงเรียกว่า กามโยควิสํยุตฺโต (พรากแล้วจากกามโยคะ) ดังนี้. ก็เพราะเหตุที่ฉันทราคะในรูปภพ และอรูปภพ อันพระโยคาวจรยังละไม่ได้ ด้วยอนาคามิมรรค ฉะนั้น พระโยคาวจรนั้น ท่านจึงเรียกว่า ภวโยคยุตฺโต เพราะยังละภวโยคะไม่ได้. บทว่า อนาคามี ได้แก่ พระอริยบุคคลผู้ไม่มาสู่กามโลก ด้วยสามารถ แห่งการถือปฏิสนธิ. อธิบายว่า พระอนาคามีบุคคล ชื่อว่าไม่ต้องมาสู่ ความเป็นอย่างนี้ เพราะสำเร็จความเป็นผู้ไม่มีสังโยชน์ในภายใน ด้วยการ เพิกถอนเสียได้ ซึ่งโอรัมภาคิยสังโยชน์โดยไม่มีส่วนเหลือ พร้อมกับด้วย สามารถแห่งการพรากจากกามโยคะนั่นเอง เป็นผู้ปรินิพพานในชั้นนั้น มีอัน ไม่กลับมาเป็นธรรมดา.
ก็ภวโยคะอันพระอริยบุคคลใดละได้แล้วโดยไม่มีส่วนเหลือ แม้ กิเลสที่เหลือมีอวิชชาโยคะเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นอันพระอริยบุคคลนั้นละได้ แล้วทีเดียว เพราะเหตุที่กิเลสเหล่านั้น ตั้งอยู่ในที่เดียวกัน เพราะเหตุนั้น พระอริยบุคคลผู้มีสังโยชน์คือภพอันสิ้นแล้วนั้น ท่านจึงเรียกว่า พระอรหันตขีณาสพ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจากภวโยคะ เป็นพระ อรหันตขีณาสพ ดังนี้. ก็ในอธิการนี้ พึงเห็นว่า พระอนาคามีผู้พรากแล้ว จากกามโยคะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพื่อตรัสสรรเสริญ ตติยมรรค ดุจการละ สุข ทุกข์ โสมนัส โทมนัส ของจตุตถฌาม (และสรรเสริญ) จตุตถมรรค ดุจความสิ้นไปแห่งสังโยชน์ คือ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลพตปรามาส ฉะนั้น. ปุถุชนทั้งหมด พร้อมด้วยพระโสดาบัน และพระสกทาคามี พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงถือเอาแล้วด้วยบทแรก. พระอนาคามีทั้งหมด ทรงถือเอาแล้วด้วยบทที่สอง. ส่วนพระอรหันต์ทรงถือเอาด้วยบทที่สาม.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 601
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงยังพระเทศนาให้จบลงด้วยยอด คือ พระอรหัต.
พึงทราบวินิจฉัยในพระคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า อุภยํ ความว่า โดยส่วนสอง อธิบายว่า ประกอบด้วยกามโยคะ และภวโยคะทั้งสอง. บทว่า สตฺตา คจฺฉนฺติ สํสารํ ความว่า สัตว์ ๓ ประเภทเหล่านี้คือ ปุถุชน พระโสดาบัน พระสกทาคามี ยังต้องไปคือท่องเที่ยวไป เพราะยังละกามโยคะ และภวโยคะไม่ได้ ต่อจากนั้นก็จะเป็นผู้ไปสู่ชาติและมรณะ.
ในบรรดาพระโสดาบันบุคคล ๓ จำพวก คือ เอกพีชี โกลังโกละ สัตตักขัตตุปรมะเหล่านี้ พระโสดาบันผู้มีอินทรีย์อ่อนกว่าเขาทั้งหมด ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ ท่านย่อมไม่เกิดในภพที่ ๘ แต่ยังต้องท่องเที่ยวไปด้วย สามารถแห่งการเกิดของตนที่ธรรมดากำหนดไว้. พระโสดาบันแม้นอกนี้ก็ เหมือนกัน. แม้บรรดาพระสกทาคามีทั้งหลาย พระสกทาคามีใดบรรลุสกทาคามิมรรคในโลกนี้แล้วบังเกิดในเทวโลก มาบังเกิดในโลกนี้อีก พระสกทาคามี นั้น ชื่อว่าท่องเที่ยวด้วยสามารถแห่งชาติที่ตนกำหนดแล้ว. แต่พระสกทาคามี บุคคลเหล่าใด ย่อมบังเกิดในเทวโลกนั้นๆ แหละ หรือในมนุษยโลกนั่นเอง โดยเว้นโวมิสสกนัย พระสกทาคามีเหล่านั้น ยังต้องท่องเที่ยวไปอยู่นั่นเอง เพราะยังต้องไปบังเกิดบ่อยๆ จนกว่าอินทรีย์จะแก่กล้า โดยได้บรรลุมรรค ชั้นสูงๆ ขึ้นไป. แต่ในปุถุชนเรื่องที่จะต้องกล่าวถึงไม่มีเลย เพราะสังโยชน์ ในภพทั้งปวงยังไม่หมดสิ้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
สัตว์ทั้งหลาย ผู้ประกอบแล้วด้วย กามโยคะ และภวโยคะ ทั้งสองย่อมไปสู่ สงสาร ซึ่งมีปกติถึงความเกิดและความ ตาย ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ - หน้า 602
บทว่า กาเม ปหนฺตฺวาน ความว่า ละกิเลสกามทั้งหลาย กล่าวคือ กามราคะ ด้วยพระอนาคามิมรรค. บทว่า ฉินฺนสํสยา ความว่า มีความ สงสัยอันตัดขาดแล้วด้วยดี ก็แลการตัดความสงสัยนั่นแล จะมีได้ก็ด้วยพระโสดาปัตติมรรคเท่านั้น. ก็เพื่อจะทรงสรรเสริญมรรคที่ ๔ จึงตรัสไว้อย่างนี้. อธิบายว่า พระอรหันต์ทั้งหลายทรงประสงค์เอาว่า ผู้ตัดความสงสัยได้แล้วใน พระคาถานี้. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ขีณมานปุนพฺภวา มีมานะและภพใหม่สิ้นแล้ว ดังนี้. พระอริยบุคคลชื่อว่า มีมานะและภพใหม่ สิ้นแล้ว เพราะท่านมีมานะทั้ง ๙ และภพใหม่ต่อไปสิ้นแล้ว โดยประการ ทั้งปวง. ก็ในบทว่า ขีณมานปุนพฺภวา นี้ กิเลสอันมรรคที่ ๔ พึงฆ่าทั้งหมด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วด้วยมานศัพท์ หรือด้วยสามารถแห่งลักษณะ เพราะกิเลสมีอรรถอย่างเดียวกับมานะนั้น. ก็สอุปาทิเสสนิพพานธาตุ เป็น อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยที่พระขีณาสพมีอาสวะสิ้นแล้ว. อนุปาทิ- เสสนิพพานธาตุ เป็นอันพระองค์ตรัสแล้ว โดยที่พระขีณาสพมีภพใหม่ สิ้นแล้ว. คำที่เหลือรู้ได้ง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถากามสูตรที่ ๗