สนทนาธรรมชาวต่างชาติ ณ มศพ วันเสาร์ที่ ๓๑ ม.ค ๕๘
โดย เมตตา  5 ก.พ. 2558
หัวข้อหมายเลข 26138

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

น้อมรำลึก บูชาคุณ ท่านอาจารย์

ด้วยการ...

"ทำดี และ ศึกษาพระธรรม"

ชาวต่างชาติที่มาสนทนาธรรมที่มูลนิธิในวันนี้ ส่วนมากได้สนทนาธรรมที่เวียดนาม และแก่งกระจานกันมา วันนี้จะสนทนาธรรมกันครั้งสุดท้ายแล้วก็แยกย้ายกันกลับ คงจะได้พบกันใหม่ช่วงสนทนาธรรมที่เวียดนามในเดือน พฤษภาคม ๕๘ ที่จะถึงนี้ วันนี้คนมาแน่นห้อง ขนาดชาวเวียดนามกลับกันไปแล้ว การสนทนาธรรมได้เริ่มขึ้นเมื่อมีชาวอิสราเอลท่านหนึ่งชื่อว่า โอรัม เพื่อนของท่านเป็นคนไทยอาศัยอยู่ที่สหรัฐอเมริกา ทราบมาว่าจะกลับอเมริกาในวันอาทิตย์นี้แล้ว ท่านรู้จักกับพี่สมหมายซึ่งมาฟังธรรมเป็นประจำที่มูลนิธิ เลยแนะนำให้คุณโอรัมมาสนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ก่อน เพราะคุณโอรัม มีความคิดจะบวชเป็นพระโดยไม่มีความเข้าใจธรรมเลย คุณโอรัมกล่าวว่าเขาต้องการศึกษาธรรมเพื่อเป็นคนดี และคิดว่าเขาบวชเป็นพระแล้วจะทำให้เป็นคนดีได้ อย่างทุกวันนี้เวลาเขาจะออกจากบ้าน ก็จะหอมแก้มคุณแม่ พูดคุยกับท่าน จะเห็นว่าวันหนึ่งๆ เขาเองจะเกิดความโกรธบ่อยๆ เลยคิดว่าจะศึกษาพระธรรมเพื่อช่วยให้เขามีจิตใจดีขึ้น ท่านอาจารย์กล่าวว่าการเป็นฆราวาส เป็นคนดีได้ไหม การเป็นพระภิกษุในพระธรรมวินัยเป็นเรื่องยากจริงๆ สมัยพระพุทธกาลผู้ที่บวชเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยสะสมมาเป็นผู้เห็นโทษของอกุศล จึงบวชเป็นบรรพชิตเพื่อขัดเกลากิเลส ท่านอาจารย์ กล่าวว่าบวชแล้วไม่เข้าใจธรรมจะเป็นคนดีได้อย่างไร

ลมหายใจ คือจิตชรูป การหายใจเข้า หายใจออกที่เราสูดลมเข้าออกกัน ไม่ใช่ลมหายใจที่เกิดจากจิต แต่เป็นการคิดเรื่อง ลมหายใจเข้าลมหายใจออก ลมหายใจที่เกิดจากจิตนั้นเป็นอารมณ์ที่ละเอีอดมาก ต้องเป็นผู้ที่มีปัญญามากที่สะสมมาที่จะรู้ลมหายใจที่ละเอียด สภาพธรรมตามเป็นจริงของลมหายใจ ก็คือ วาโยธาตุที่กระทบที่ปลายจมูก ซึ่งวาโยธาตุจะเกิดรูปเดียวเดี่ยวๆ ไม่ได้ ลมหายใจเป็นรูปที่เกิดจากจิตมี ๘ รูป ที่ไม่แยกจากกัน คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม สี กลิ่น รส โอชา สำหรับลมที่กระทบที่กาย เกิดจากทั้ง ๔ สมุฏฐาน คือ กรรม จิต อุตุ และอาหาร ดังนั้น สภาพธรรมใดที่กำลังปรากฏขณะนี้เท่าที่ปัญญาจะรู้ได้ ทำไมต้องรู้ลมหายใจ สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เช่น ลมที่กาย แข็งที่กาย ความเข้าใจก็ยังไม่พอที่จะรู้ จึงควรอบรมความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏ ขณะนี้มีเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียง กลิ่น... ขณะหลับก็ยังมีจิตเกิดดับสืบต่อ ยังคงมีลมหายใจซึ่งเกิดอุปาทขณะของจิตที่สามารถให้เกิดรูปได้แม้ขณะดำน้ำอยู่ กลั้นหายใจไว้ แต่ยังไม่ตายก็ยังมีลมที่เกิดจากจิต

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกายปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑-หน้าที่ 504

บทว่า ฌาน ฌานมี ๒ อย่าง คือ อารัมมณูปนิชฌาน เพ่งอารมณ์ และ ลักขณูปนิชฌาน - เพ่งลักษณะ ในฌาน ๒ อย่างนั้น สมาบัติ ๘ เข้าไปเพ่งอารมณ์มีปฐวีกสิณเป็นต้น ชื่อว่า อารัมมณูปนิชฌาน วิปัสสนามรรคและผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน ในวิปัสสนามรรคและผลเหล่านั้น วิปัสสนาชื่อว่า ลักขณูปนิชฌานเพราะเข้าไปเพ่ง ซึ่งลักษณะมีอนิจลักษณะ เป็นต้น มรรคชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะกิจทำด้วยวิปัสสนาสำเร็จด้วยมรรค,ส่วนผล ชื่อว่า ลักขณูปนิชฌาน เพราะอรรถว่า เข้าไปเพ่งนิโรธสัจอันเป็นลักษณะที่จริงแท้


เมื่อตอนสนทนาธรรมอยู่ที่เวียดนาม คุณซาร่าได้กล่าวถึง เรื่องการอบรมสมถะพร้อม วิปัสสนา ซึ่งในที่นี้หมายความถึงการอบรมเจริญปัญญารู้ลักษณะสภาพธรรมตามความเป็น จริง ดังตัวอย่างที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า " Rather the Buddha said: "Practice jhana (jhaayathaa) , Ananda. Don't be heedless. Don't later fall into regret. This is our message to you all."


We've discussed the phrase jhaayathaa before. The commentary explain that it means: "Develop samatha and vipassanaa". The emphasis is on sati sampajañña, the development of sati and panna. So a better translation for the above would be: :Develop samatha andvipassanaa, Ananda....

ตอนอยู่ที่เวียดนามดิฉันได้ถามคุณซ่าร่าว่า Practice jhana (jhaayathaa) หมายความว่าอย่างไร ท่านก็ได้อธิบายให้เข้าใจหมายถึง การอบรมสมถะพร้อมวิปัสสนา และเมื่อกลับมาที่ประเทศไทย ท่านก็ได้นำพระสูตรนี้ และอธิบายความหมายว่า jhana (jhaayathaa) หมายถึง การอบรมเจริญปัญญา รู้ลักษณะสภาพ นามธรรม และรูปธรรมตามความเป็นจริง ชื่อว่า ลักขณูปนิฌาน คุณซ่าร่าได้นำหัวข้อนี้กราบเรียนถามท่านอาจารย์ ท่านกล่าวว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากล่าวประโยคนี้แก่ใครคือ ท่านพระอานนท์ แล้วเราเป็นใคร มีปัญญาอย่างท่านพระอานนท์หรือเปล่า สำหรับพวกเราปัญญารู้ได้เท่าที่สามารถรู้ได้ สิ่งสำคัญคือ เพื่อเข้าใจความจริงของสิ่งที่กำลังปรากฏ มั่นคงในความเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตนที่จะไปทำอะไรได้ สภาพธรรมเกิดเพราะมีปัจจัยปรุงแต่งทั้งนั้น ท่านอาจารย์ได้อธิบายว่าแม้ขณะสติปัฏฐานเกิดระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรมนามธรรม รูปธรรมตามความเป็นจริง ปัญญาขั้นนั้นก็ชื่อว่าลักขณูปนิฌาน คุณสุคินได้ให้ข้อพิจารณาว่า อย่างพระพุทธองค์ตรัสบอกท่านพระอานนท์ มีหรือจะให้แค่อบรมเจริญสมถภาวนาจนถึงฌาน เพราะฌานนั้นข่มกิเลสเท่านั้นไม่สามารถดับกิเลสได้ ซึ่งก็ยังไม่พ้นจากวัฏฏะ ผู้ศึกษาธรรมควรเป็นผู้ละเอียด คำใดที่กล่าวถึงควรเข้าใจจริงๆ ว่าหมายถึงอะไร บางครั้งคำเดียวกันในที่ต่างกัน ก็ควรพิจารณาเหตุผลให้ตรงต่อความเป็นจริง เป็นผู้ละเอียดในธรรมว่าท่านหมายความถึงอะไร

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 403

อรรถกถายุคนัทธสูตร

พึงทราบวินิจฉัยในยุคนัทธสูตรที่ ๑๐ ดังต่อไปนี้ :-

บทว่า สมถปุพฺพงฺคมํ ได้แก่ ทำสมถะไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก

บทว่า มคฺโค สญฺชายติ ได้แก่ โลกุตรมรรคที่ ๑ ย่อมเกิดขึ้น

บทว่า โส ตํ มคฺคํ ความว่า ชื่อว่า อาเสวนะ เป็นต้น ไม่มีแก่มรรคอันเป็นไปในขณะจิตเดียว แต่เมือยังมรรคที่ ๒ ให้เกิดขึ้น ท่านกล่าวว่า เธอส้องเสพเจริญทำให้มากซึ่งมรรคนั้นนั่นแล

บทว่า วิปสฺสนา ปุพฺพงฺคมํ ได้แก่ ทำวิปัสสนาไปเบื้องหน้า คือ ให้เป็นปุเรจาริก

บทว่า สมถํ ภาเวติ ความว่า โดยปกติผู้ได้วิปัสสนาตั้งอยู่ในวิปัสสนา ย่อมยังสมาธิให้เกิดขึ้น

บทว่า ยุคนทฺธํ ภเวติ ได้แก่ เจริญทำให้เป็นคู่ติดกันไป ในข้อนั้น ภิกษุไม่สามารถจะใช้จิตดวงนั้นเข้าสมาบัติ แล้วใช้จิตดวงนั้นนั่นแลพิจารณาสังขารได้. แต่ภิกษุนี้เข้าสมาบัติเพียงใด ย่อมพิจารณาสังขารเพียงนั้น พิจารณาสังขารเพียงใด ย่อมเข้าสมาบัติเพียงนั้น ถามว่า อย่างไร ตอบว่า ภิกษุเข้าปฐมฌาน ครั้นออกจากปฐมฌานแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลายครั้น พิจารณาสังขารทั้งหลายแล้ว เข้าทุติยฌาน ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ครั้นออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว พิจารณาสังขารทั้งหลาย ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุนี้ชื่อว่าเจริญปฐมวิปัสสนาให้เป็นคู่ ติดกันไป


สมาธิเป็นได้ทั้งสมถะ และวิปัสสนา สมาธิ คือ เอกัคคตาเจตสิก เกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท เมื่อเกิดกับอกุศลก็เป็นอกุศลสมาธิ เมื่อเกิดกับกุศลก็เป็นกุศลสมาธิ ท่านอาจารย์ได้อธิบายตอนอยู่ที่เวียดนามว่า เมื่ออบรมความเห็นถูกเข้าใจถูกในสิ่งที่กำลังปรากฏตรงตามความเป็นจริง เมื่อปัญญาเจริญขึ้นตามลำดับจนถึงสติปัฏฐานเกิด ความสงบของจิตก็ตั้งมั่นคงขึ้นเป็นสมาธินทรีย์ เมื่อปัญญาอบรมถึงพละ... โพฏชงค์ สมาธิก็ตั้งมั่นคงขึ้นตามกำลังปัญญาที่เจริญขึ้น ไม่ใช่ว่าต้องอบรมเจริญสมาธิก่อน เพื่อให้จิตตั้งมั่นแล้วค่อยอบรมเจริญวิปัสสนา นัยเดียวกับที่คุณซ่าร่ายกตัวอย่างมา ไม่ว่าชาวเวียดนามหรือชาวไทย เมื่อกล่าวถึงการอบรมเจริญสมถะพร้อมวิปัสสนา โดยมากจะยังไม่เข้าใจธรรมอย่างถ่องแท้ โดยคิดว่าต้องอบรมเจริญสมถภาวนาก่อนแล้วจึงอบรมเจริญวิปัสสนาซึ่งอรรถกถายุคนัทธสูตรอธิบายไว้ว่า ทำสมถะไปเบื้องหน้าซึ่งไม่ใช่ให้ไปเจริญฌาน อบรมสมถภาวนาก่อนสมาธิสูตร พูดถึงสมาธิแต่หมายถึงการเจริญวิปัสสนา


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 169

๖. สมาธิสูตร

ว่าด้วยสมาธิ

[ ๑๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิเถิดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง รู้อะไรตามความเป็นจริง. รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า รูปทั้งหลายไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุวิญญาณไม่เที่ยงรู้ตามความเป็นจริงว่า จักษุสัมผัสไม่เที่ยง รู้ตามความเป็นจริงว่า สุขเวทนาทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ไม่เที่ยง ฯลฯ

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 404

๑. สมาธิสูตร

ผู้มีใจตั้งมั่นย่อมรู้ตามความเป็นจริง

[๑๖๕๔] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ตามความเป็นจริง ย่อมรู้อะไรตามความเป็นจริง ย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธนี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เธอทั้งหลายจงเจริญสมาธิ ภิกษุผู้มีใจตั้งมั่นแล้วย่อมรู้ตามความเป็นจริง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทย ฯลฯ

กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ...



ความคิดเห็น 1    โดย paderm  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย j.jim  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย raynu.p  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 4    โดย raynu.p  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 5    โดย khampan.a  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย siraya  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 7    โดย pulit  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 8    โดย สิริพรรณ  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย papon  วันที่ 5 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 10    โดย pamali  วันที่ 6 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย intra  วันที่ 6 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 12    โดย ปวีร์  วันที่ 7 ก.พ. 2558

พระธรรมของพระศาสดาลึกซึ้งยิ่งนักหากประมาทก็จะหลงทาง

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 13    โดย ธุลีพุทธบาท  วันที่ 7 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลวิริยะของคุณป้าเมตตาเป็นอย่างยิ่ง

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ.


ความคิดเห็น 14    โดย nopwong  วันที่ 7 ก.พ. 2558

ขออนุโมทนา


ความคิดเห็น 15    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 7 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่เมตตาด้วยครับ


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 26 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 17    โดย Jarunee.A  วันที่ 31 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ