สมาบัติ ๘
อฏฺฐ (แปด) + สํ (พร้อม) +อาปตฺติ (การต้อง การถึงทั่ว)
การถึงทั่วพร้อม การเข้าฌาน ๘ อย่าง หมายถึง รูปฌาน ๔ และอรูปฌาน ๔ โดยนัยของพระสูตร ทรงแสดงรูปฌานว่ามี ๔ (จตุกนัย) ตามอัธยาศัยของบุคคลผู้บรรลุเร็ว คือ
ฌานที่ ๑ มีองค์ฌาน ๕ องค์
ฌานที่ ๒ ละองค์ฌาน ๒ องค์ คือ วิตกและวิจาร เหลือองค์ฌาน ๓
ฌานที่ ๓ ละปีติ เหลือองค์ฌาน ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา
ฌานที่ ๔ ละสุข เหลือองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขากับเอกัคคตา
โดยนัยของพระอภิธรรม ทรงแสดงรูปฌานว่ามี ๕ (ปัญจกนัย) ตามอัธยาศัยของบุคคลผู้บรรลุช้า คือ
ฌานที่ ๑ มีองค์ฌานครบ ๕ องค์
ฌานที่ ๒ ละวิตก เหลือองค์ฌาน ๔
ฌานที่ ๓ ละวิจาร เหลือองค์ฌาน ๓
ฌานที่ ๔ ละปีติเหลือองค์ฌาน ๒ คือ สุขกับเอกัคคตา
ฌานที่ ๕ ละสุข เหลือองค์ฌาน ๒ คือ อุเบกขากับเอกัคคตา
ความต่างกันของรูปฌานโดยนัยทั้ง ๒ คือ
โดยนัยของพระสูตร ฌานที่ ๒ ละองค์ฌานที่เดียว ๒ องค์ คือ วิตกและวิจาร ฌานที่ ๓ และฌานที่ ๔ ละทีละองค์
ส่วนโดยนัยของพระอภิธรรม ตั้งแต่ฌานที่ ๒ ฌานที่ ๓ ฌานที่ ๔ ฌานที่ ๕ ละองค์ฌานที่ละองค์เท่านั้น
(ดู ฌานสมาบัติ)
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนา