มีความเชื่อกันว่าคนที่เข้ามาบวชเป็นภิกษุ (บางคนบวชใหม่เพียงไม่กี่วัน ๗-๑๕ วัน) แล้วต้องอาบัติสังฆาทิเสสโดยไม่ได้ประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่ใช้กรรม แล้วสึกออกไปโดย ไม่รู้ว่าเป็นอาบัติแล้วจะต้องกระทำคืน ภายหลังพึงรู้ว่าตนต้องอาบัติหนัก (สังฆาทิเสส) และยังไม่ได้ใช้กรรม จำเป็นต้องมาบวชใหม่แล้วเข้าปริวาสเพื่อให้พ้นจากอาบัติตัวนี้หรือไม่
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เพศบรรพชิต และ เพศคฤหัสถ์ต่างกัน เมื่อเป็นพระภิกษุย่อมมีข้อบัญญัติ สิกขาบท เมื่อประพฤติล่วงสิกขาบท ย่อมต้องอาบัติ ข้อใด ข้อหนึ่ง หากไม่ได้แก้อาบัตินั้น หากเป็นเพศพระภิกษุอยู่ อาบัตินั้นย่อมกั้นสวรรค์ และการบรรลุธรรม แต่เมื่อสึกออกมาเป็นเพศคฤหัสถ์แล้ว อาบัตินั้นจะไม่มีผลตามมาติดตัวเพศคฤหัสถ์ อาบัตินั้นย่อมตกไปหมดสิ้น เมื่อเป็นเพศคฤหัสถ์
เพราะฉะนั้น เมื่ออาบัติใด ไม่ได้ปลง ยังติดอยู่ เมื่อเป็นเพศพระภิกษุ ครั้นเป็นคฤหัสถ์ ก็ไม่ต้องปลงอาบัติอีก หรือ ไม่ต้องกลับมาบวชใหม่เพื่อแก้อาบัติ เพราะการสึกเป็นเพศคฤหัสถ์ อาบัตินั้นก็ไม่มีแล้ว เมื่อสึก และไม่มีอาบัติติดตัวมากับเพศคฤหัสถ์ แต่ถ้ากลับไปบวชเป็นเพศพระภิกษุอีก ก็จะต้องปลงอาบัติ ตามสมควรกับอาบัตินั้น ครับ
ขออนุโมทนา
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระวินัยบัญญัติแต่ละสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติด้วยพระองค์เอง เพื่อให้พระภิกษุได้สำรวมระวัง ไม่ล่วงละเมิดในสิกขาบทนั้นๆ อันจะเป็นไปเพื่อฝึกหัดกาย วาจา ใจ ให้เป็นไปในทางที่ถูกที่ควร เป็นไปเพื่อขัดเกลากิเลส
ถ้าไม่ได้ศึกษาพระธรรมวินัยให้เข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว โอกาสที่จะล่วงละเมิดสิกขาบท ก็ย่อมจะมีได้มาก รวมถึงต้องอาบัติสังฆาทิเสส ด้วย ซึ่งเมื่อต้องอาบัติสังฆาทิเสส แล้ว ต้องแก้ไขด้วยการประพฤติวุฏฐานวิธี (อยู่กรรม) ตามพระวินัย จึงจะพ้นจากอาบัติสังฆาทิเสสได้
ตามความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอาบัติหนักหรือเบา ถ้าไม่ได้แก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยแล้ว ย่อมมีโทษแก่ภิกษุรูปนั้น เป็นเครื่องกั้นในการบรรลุมรรค ผล นิพพาน และถ้ามรณภาพในขณะที่ยังมีอาบัติอยู่ ก็เป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้า แต่ถ้าได้แก้ไขให้ถูกต้องแล้ว ย่อมไม่เป็นเครื่องกั้น
ประเด็นที่น่าคิดคือ ผู้ที่ต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้ว ลาสิกขาไปเป็นคฤหัสถ์ ทั้งๆ ที่ยังไม่ได้แก้ไขตามพระวินัยเลย จำเป็นจะต้องไปบวชใหม่เพื่อกระทำให้ถูกต้องหรือไม่?
เมื่อลาสิกขาแล้ว ย่อมไม่มีอาบัติอีกต่อไป สามารถเป็นคนดี ในเพศคฤหัสถ์ได้ โดยไม่ต้องวิตกกังวลในเรื่องอาบัติ เพราะเป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติ ไม่ใช่เพศบรรพชิตอีกต่อไป ก็ควรที่จะเป็นคนดี ควบคู่ไปกับการฟังพระธรรมให้เข้าใจ แต่ถ้ากลับเข้ามาบวชใหม่ อาบัติที่เคยต้องไว้ยังไม่ได้แก้ไขเมื่อตอนบวชครั้งก่อน กลับมาทั้งหมด ก็จะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ต่อไป ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับผม ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ผมเคยบวชพระแล้วไม่สามารถทนต่อความกำหนัดได้จึงได้ล่วงละเมิดอาบัติสังฆาทิเสสข้อ หนึ่ง ข้อสาม ตอนนี้สึกออกมาแล้วไม่ได้ปลงอาบัติ (อยู่กรรม) จึงไม่สบายใจ ปิดบังไว้จนสึกประมาณ ปีครึ่ง จนสึก ตอนนี้รู้สึกละอายใจในสิ่งที่กระทำ ต้องแก้ไขอย่างไร
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เรียน ความคิดเห็นที่ 8 ครับ
ตอนนี้เป็นคฤหัสถ์แล้ว ไม่มีอาบัติติดตัวอีกต่อไป ขอให้สบายใจได้เลย ครับ และขอให้มีความมั่นคงที่จะเป็นคฤหัสถ์ที่ดี ด้วยการสะสมความดีและศึกษาพระธรรมให้เข้าใจต่อไป ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
นมัสการพระคุณเจ้า ผมบวชใหม่ในช่วงเข้าพรรษาได้อาบัติสังฆาทิเสสไป ต้องบอกพระอื่นให้รู้ บอกโดยวิธีปลงอาบัติหรือบอกโดยตรงว่าเราทำอะไรมาครับท่าน แล้วระยะเวลาที่ปกปิดนับตั้งแต่ที่บอกพระอื่นให้รู้จนถึงวันปาริวาส หรือ นับตั้งแต่วันที่อาบัติจนถึงปาริวาส หรือ นับตั้งแต่วันที่อาบัติจนถึงบอกพระอื่นให้รู้ ช่วยตอบหน่อยนะขอรับ
เมื่อต้องอาบัติแล้ว ควรรีบบอกพระรูปอื่นตรงๆ ทันที ไม่ใช่ปลงอาบัติ การปกปิด นับตั้งแต่วันที่อาบัติจนถึงบอกพระอื่นให้รู้ ครับ
ขออนุโมทนาครับ
ทำไมบวช
โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์
คนที่ไม่เข้าใจธรรม ไม่เห็นกิเลสของตัวเองและไม่ได้สะสมอุปนิสัยในการสละเพศคฤหัสถ์ แล้วบวช นั้น ไม่ใช่ผู้ที่จริงใจและไม่ใช่ผู้ตรง เพราะถามว่าบวชทำไม ถ้าตอบว่าเพราะเหตุนั้นๆ แต่ไม่ใช่เพราะได้เข้าใจพระธรรมและรู้อัธยาศัยของตนเองว่าเพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลากิเลสในเพศภิกษุตามพระธรรมวินัยแล้ว สมควรบวชไหม การบวชเป็นภิกษุไม่ใช่เป็นอยู่อย่างสบายให้ผู้คนกราบไหว้ แต่เพราะเป็นผู้ที่เห็นกิเลสและเห็นโทษของกิเลส และรู้ว่าหนทางเดียวที่จะขัดเกลากิเลสก็ด้วยความเข้าใจพระธรรมจึงบวชเพื่อศึกษาธรรมและขัดเกลากิเลสยิ่งกว่าคฤหัสถ์ ฉะนั้น การดำรงชีวิตของคฤหัสถ์และบรรพชิตจึงต่างกันอย่างสิ้นเชิง