สารีปุตตเถราปทานที่ ๓ ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร
โดย บ้านธัมมะ  26 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40987

เล่มที่ 70 [เล่มที่ 70] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑

พุทธวรรคที่ ๑

๓. เถราปทาน

สารีปุตตเถราปทานที่ ๓ (๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 70]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 399

๓. เถราปทาน

สารีปุตตเถราปทานที่ ๓ (๑)

ว่าด้วยบุพจริยาของพระสารีบุตร

ลำดับนี้ขอเชิญฟังเถราปทาน

[๓] ในที่ไม่ไกลแต่หิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ เรา สร้างอาศรมไว้อย่างดี สร้างบรรณศาลาไว้ใกล้ภูเขานั้น อาศรมของเราไม่ไกลจากแม่น้ำอันไม่ลึก มีท่าน้ำราบเรียบ เป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วยหาดทรายขาวสะอาด.

ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวดตลิ่งไม่ชัน น้ำจืดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็นไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ฝูงจระเข้ มังกร ปลาฉลาม และเต่า ว่ายเล่นอยู่ในแม่น้ำ นั้น แม่น้ำไหลไปทำให้อาศรมของเรางาม.

ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา ตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโดดอยู่ ทำให้อาศรมของ เรางาม.

ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่ ทั้งสองฝั่ง ทำให้อาศรมของเรางาม.

ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า แคฝอย ไม้ย่างทราย ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่เป็นนิจ บานอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กากะทิ บุนนาค และลำเจียก มีกลิ่นหอมฟุ้งเป็นนิจ บานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรม ของเรา.


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 400

ไม้ลำดวน ต้นอโศก ดอกกุหลาบบานสะพรั่ง ไม้ปรู และมะกล่ำหลวง ดอกบานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา. การะเกด พะยอมขาว พิกุลและมะลิซ้อน มีดอกหอมอบอวล ทำให้อาศรมของเรางาม.

ไม้เจตพังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันมีมาก ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำให้อาศรมของเรางาม.

บุนนาค บุนนาคเขา และแคฝอย ดอกบานสะพรั่ง หอมตลบอบอวล ทำให้อาศรมของเรางาม. ไม้ราชพฤกษ์ อัญชันเขียว ไม้กระทุ่มและพิกุลมีมาก ดอกหอมฟุ้งไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด งอกงามด้วยน้ำหอม ออกผลสะพรั่ง.

ดอกปทุมอย่างอื่นบานเบ่ง ดอกบัวชนิดอื่นก็เกิดขึ้น บัว หลวงชนิดหนึ่งดอกร่วงพรู บานอยู่ในบึงในกาลนั้น.

กอปทุมมีดอกตูม เหง้าบัวก็เลื้อยไป กระจับเกลื่อนด้วยใบ งามอยู่ในบึงในกาลนั้น.

ไม้เตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรา และชบา กลิ่นหอม ตลบไป ดอกบานอยู่ในบึงในกาลนั้น.

ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา ตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน มีอยู่ในบึงในกาลนั้น.

ฝูงจระเข้ ปลาสลาด ปลาฉนาก ผีเสื้อน้ำ และงูเหลือม ใหญ่ อยู่ในบึงนั้นในกาลนั้น. ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 401

นกจากพรากที่เที่ยวไปในน้ำ นกดุเหว่า และสาลิกา อาศัย สระนั้นเลี้ยงชีวิต.

ฝูงนกกวัก ไก่ฟ้า ฝูงนกกะลิงป่า นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต. ฝูงหงส์ นกกะเรียน นกยูง นกดุเหว่า ไก่ นกค้อนหอย และนกโพระดก ย่อมอาศัย เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขา เหยี่ยวและนกกาน้ำ จำนวนมาก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ฝูงเนื้อฟาน กวาง หมู หมาป่า หมาจิ้งจอก ละมั่ง และเนื้อทรายมากมาย ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมี หมาใน เสือดาว โขลงช้าง แยกกันเป็นสามพวก อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้ สระนั้น.

เหล่ากินนร วานร แม้คนทำงานในป่า หมาไล่เนื้อ และนายพราน ก็อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ต้นมะพลับ มะหาด มะซาง หมากเม่า เผล็ดผลอยู่ เป็นประจำในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา.

ต้นคำ ต้นสน กระทุ่ม สะพรั่งด้วยผลมีรสหวาน เผล็ดผล ทุกฤดู อยู่ ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา.

ต้นสมอ มะขามป้อม มะม่วง หว้า สมอพิเภก กระเบา ไม้รกฟ้า และมะตูม เผล็ดผลเป็นนิจ.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 402

เหง้ามัน มันอ้อน ต้นนมแมว มันนก กะเม็ง และคัดมอน มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.

ณ ที่ไม่ไกลอาศรมของเรานั้น มีสระขุดไว้อย่างดี มี น้ำรสเย็นจืดสนิท มีท่าน้ำราบเรียบเป็นที่รื่นรมย์ใจ.

ดาดาษด้วยบัวหลวง อุบล และบัวขาว เกลื่อนกลาด ด้วยบัวขม บัวเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.

ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ เป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ ด้วยวัตร มีปกติเพ่งฌาน ยินดีในฌานทุกเมื่อ บรรลุ อภิญญาพละ ๕ อยู่ในอาศรมที่สร้างเรียบร้อยน่ารื่นรมย์ ใน ป่าอันมีไม้ดอก ไม้ผล สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทั้งปวงด้วย ประการอย่างนี้.

ศิษย์ของเรา ๒๔,๐๐๐ คนนี้เป็นพราหมณ์ทั้งหมด ผู้มีชาติ มียศ บำรุงเราอยู่.

มวลศิษย์ของเรานี้เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ในตำราทำนายลักษณะและในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้งคัมภีร์ นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ ถึงความเต็มเปี่ยมในธรรมของตน.

เหล่าศิษย์ของเราเป็นผู้ฉลาดในลางดีร้าย. ในนิมิต และ ในลักษณะ ศึกษาดีแล้วในแผ่นดิน ในพื้นที่และอากาศ.

ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้มักน้อย มีปัญญา มีอาหารน้อย ไม่โลภ สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

เป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ มีจิตตั้งมั่น ปรารถนาความไม่มีกังวล ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 403

เป็นผู้ถึงความยอดเยี่ยมแห่งอภิญญา ยินดีในโคจรคือ อาหารอันเป็นของบิดา เที่ยวไปในอากาศ เป็นนักปราชญ์ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

ศิษย์ของเราเหล่านั้นเป็นนักปราชญ์ สำรวมทวาร ๖ ไม่ หวั่นไหว รักษาอินทรีย์ไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ หาผู้ทัดเทียม ได้ยาก.

ศิษย์ของเราเหล่านั้นยับยั้งอยู่ตลอดราตรี ด้วยการนั่งคู้ บัลลังก์ ด้วยการยืนและการเดินจงกรม หาผู้ทัดเทียมได้ ยาก.

เหล่าศิษย์ของเรา ไม่กำหนัดในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความ กำหนัด ไม่ขัดเคืองในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความขัดเคือง ไม่ หลงในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความหลง หาผู้ทัดเทียมได้ยาก.

ศิษย์เหล่านั้นแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ ประพฤติอยู่เป็นนิจ- กาล บันดาลให้แผ่นดินไหวก็ได้ ยากที่ใครจะแข่งได้.

ศิษย์ของเราเหล่านั้น เมื่อจะเล่น ย่อมเล่นฌาน นำผล หว้าจากต้นหว้ามา หาผู้ทัดเทียมมิได้.

พวกหนึ่งไปยังอมรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปยังปุพพวิเทหทวีป พวกหนึ่งไปยังอุตตรกุรุทวีป ไปนำเอาผลหว้ามา ยากที่ผู้อื่นจะทัดเทียมได้ด้วยการแสวงหา.

ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้างหน้า ตนเองไปข้างหลัง ท้องฟ้าถูกดาบส ๒๔,๐๐๐ ปกปิดแล้ว. ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุก


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 404

ด้วยไฟแล้วกิน บางพวกก็กินดิบๆ นั่นเอง บางพวกเอาฟัน แทะเปลือกออกแล่วจึงกิน.

บางพวกซ้อมด้วยครกแล้วกิน บางพวกทุบด้วยหินกิน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง บางพวกชอบสะอาด ลงอาบน้ำ ทั้งเวลาเย็นและเช้า บางพวกเอาน้ำราดตัว ศิษย์ของเราหา ผู้ทัดเทียมได้ยาก.

ศิษย์ของเราปล่อยเล็บมือ เล็บเท้า และขนรักแร้ออกยาว ขี้ฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร หอมด้วยกลิ่นศีล หาผู้ทัดเทียม ได้ยาก.

ชฏิลทั้งหลายมีตบะแรงกล้า ประชุมกันในเวลาเช้า แล้วไปประกาศลาภมากในอากาศในกาลนั้น. เมื่อดาบส เหล่านี้หลีกไป เสียงอันดังย่อมเป็นไป เทวดาทั้งหลายย่อม ยินดีด้วยเสียงหนังเสือ.

ฤๅษีเหล่านั้นกล้าแข็งด้วยกำลังของตน เหาะไปในอากาศ ไปสู่ทิศน้อยทิศใหญ่ตามปรารถนา.

ปวงฤๅษีนี้แลทำแผ่นดินให้หวั่นไหว เที่ยวไปในอากาศ มีเดชแผ่ไป ยากที่จะข่มขี่ได้ อันคนอื่นให้กระเพื่อมไม่ได้ ดังสาครอันใครๆ ให้กระเพื่อมไม่ได้ฉะนั้น.

ฤๅษีศิษย์ของเรา บางพวกประกอบการยืนและเดิน บาง พวกไม่นอน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง หาผู้อื่นเสมอ ได้ยาก.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 405

ท่านเหล่านี้มีปกติอยู่ด้วยเมตตา แสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ ไม่ยกตนทั้งหมด ไม่ติเตียนใครๆ ทั้งนั้น.

เป็นผู้ไม่สะดุ้งดังพญาราชสีห์ มีกำลังดังพญาคชสาร ยาก ที่จะข่มได้ดังเสือโคร่ง ย่อมมาในสำนักของเรา.

พวกวิชาธร เทวดา นาค คนธรรพ์ ผีเสื้อน้ำ กุมภัณฑ์ อสูร และครุฑ ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ศิษย์ของเราเหล่านั้น ทรงชฎา สมบูรณ์ด้วยหาบบริขารดาบส นุ่งห่มหนังสัตว์ เที่ยวไปในอากาศได้ทุกคน อาศัย เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ในกาลนั้น ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้เหมาะสม มีความเคารพกัน และกัน เสียงไอจามของศิษย์ทั้ง ๒๔,๐๐๐ ย่อมไม่มี.

ท่านเหล่านี้ซ้อนเท้าบนเท้า เงียบเสียง สังวรดี ทั้งหมด นั้น เข้ามาไหว้เราด้วยเศียรเกล้า.

เราเป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในณาน อันศิษย์เหล่านั้นผู้สงบ ผู้มีตบะ ห้อมล้อมอยู่ในอาศรมนั้น.

อาศรมของเรามีกลิ่นหอมด้วยกลิ่นศีลของเหล่าฤๅษี และ ด้วยกลิ่นดอกไม้และกลิ่นผลไม้ทั้งสองอย่าง.

เราไม่รู้จักคืนและวัน ความไม่พอใจ ย่อมไม่มีแก่เรา เราสั่งสอนบรรดาศิษย์ของตน ย่อมได้ความร่าเริงอย่างยิ่ง.

เมื่อดอกไม้ทั้งหลายบาน และเมื่อผลไม้ทั้งหลายสุก กลิ่นหอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 406

เราออกจากสมาธิแล้ว มีความเพียร มีปัญญา ถือเอา บริขารดาบสเข้าไปป่า.

ในกาลนั้น เราศึกษาชำนาญในลางดีร้าย ในการทำนาย ฝัน และตำราทำนายลักษณะ ทรงบทมนต์อันกำลังเป็นไป.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เป็นผู้ประเสริฐ ในโลก เป็นนระผู้องอาจ ทรงใคร่ความวิเวก เป็นพระสัมพุทธเจ้า เข้าไปยังเขาหิมวันต์.

พระองค์ผู้เลิศ เป็นมุนี ประกอบด้วยพระกรุณา เป็น อุดมบุรุษ เสด็จเข้าป่าหิมพานต์แล้ว ทรงนั่งขัดสมาธิ.

เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น มีพระรัศมีสว่างจ้า น่ารื่นรมย์ใจ ดุจดอกบัวเขียว ควรบูชา ทรงรุ่งเรืองดังกองไฟ.

เราได้เห็นพระนายกของโลก ทรงรุ่งโรจน์ดุจต้นไม้ ประดับด้วยประทีป ดุจสายฟ้าในท้องฟ้า ดุจพญารังอันบาน สะพรั่ง.

เพราะอาศัยการได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประเสริฐ ผู้ เป็นมหาวีระ ทรงทำที่สุดทุกข์ เป็นมุนีนี้ ย่อมพ้นจากทุกข์ ทั้งปวงได้.

ครั้นเราได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นเทวดาล่วงเทวดา แล้ว ได้ตรวจดูลักษณะว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าหรือมิใช่.

เอาเถอะ เราจะดูพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีพระจักษุ เราได้ เห็นจักรมีกำพันหนึ่งที่พื้นฝ่าพระบาท ครั้นได้เห็นพระลักษณะ ของพระองค์แล้ว จึงถึงความตกลงใจในพระตถาคต.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 407

ในกาลนั้น เราจับไม้กวาดกวาดที่นั้น แล้วได้นำเอา ดอกไม้ ๘ ดอก มาบูชาพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุด.

ครั้นบูชาพระพุทธเจ้า ผู้ข้ามโอฆะไม่มีอาสวะนั้นแล้ว ทำ หนังเสือเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง นมัสการพระนายกของโลก.

พระสัมพุทธเจ้าผู้ไม่มีอาสวะ ทรงอยู่ด้วยพระญาณใด เราจักประกาศพระญาณนั้น ท่านทั้งหลายจงฟังคำเรากล่าว.

ข้าแต่พระสยัมภู ผู้เป็นแดนเกิดขึ้นแห่งพระคุณหาประมาณมิได้ ขอพระองค์จงรื้อถอนสัตว์โลกนี้ สัตว์โลกเหล่านั้น อาศัยการได้เห็นพระองค์ ย่อมข้ามกระแสคือความสงสัย เสียได้.

พระองค์ทรงเป็นศาสดา เป็นยอด เป็นธงชัย เป็นหลัก เป็นที่อาศัย เป็นที่พึ่งพิง เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ เป็นพระพุทธเจ้าของสัตว์ทั้งหลาย.

น้ำในมหาสมุทรอาจประมาณได้ด้วยมาตราตวง แต่ ใครๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้ เลย.

เอาดินมาชั่งดูแล้ว อาจประมาณแผ่นดินได้ แต่ใครๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย.

อาจวัดอากาศได้ด้วยเชือกหรือนิ้วมือ แต่ใครๆ ไม่อาจ ประมาณพระสัพพัณญุตญาณของพระองค์ได้เลย.

พึงอาจประมาณน้ำในมหาสมุทร และแผ่นดินทั้งหมดได้ แต่จะถือเอาพระพุทธญาณมาประมาณนั้นไม่ควร.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 408

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ จิตของสัตว์เหล่าใดย่อมเป็น ไปในโลกพร้อมทั้งเทวโลก สัตว์เหล่านี้ย่อมอยู่ในภายในข่าย คือพระญาณของพระองค์.

พระองค์ทรงบรรลุพระโพธิญาณอันสูงสุดสิ้นเชิง ด้วย พระญาณใด พระสัพพัญญูก็ทรงย่ำยีอัญเดียรถีย์ ด้วยพระญาณนั้น. สุรุจิดาบสกล่าวชมเชยด้วยคาถาเหล่านี้แล้ว ปูลาด หนังเสือบนแผ่นดินแล้วนั่ง.

ท่านกล่าวไว้ในบัดนี้ว่า ขุนเขาสูงหยั่งลงในห้วงมหรรณพ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ขุนเขาสิเนรุทั้งด้านยาวและด้านกว้าง สูง เพียงนั้น ทำให้ละเอียดถึงแสนโกฏิ ด้วยชนิดแห่งการนับ.

เมื่อทำคะแนน (นับ) ไว้ ย่อมถึงความหมดสิ้นได้ แต่ ใครๆ ไม่อาจประมาณพระสัพพัญญุตญาณของพระองค์ได้เลย.

ผู้ใดพึงเอาข่ายตาถี่ๆ ล้อมน้ำไว้ สัตว์น้ำบางเหล่าพึง เข้าไปในภายในข่ายของผู้นั้น.

ข้าแต่พระมหาวีระ เดียรถีย์ผู้มีกิเลสหนาบางพวกก็ฉันนั้น แล่นไปถือเอาทิฏฐิผิด หลงอยู่ด้วยการลูบคลำ.

เดียรถีย์เหล่านี้เข้าไปภายในข่าย ด้วยพระญาณอัน บริสุทธิ์ มีปกติทรงเห็นได้โดยไม่ติดขัด ไม่ล่วงพ้นพระญาณ ของพระองค์ไปได้.

ก็สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้มีพระยศใหญ่ ทรงชำนะกิเลส เสด็จออกจากสมาธิแล้ว ทรงตรวจดูทิศ.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 409

พระอัครสาวกนามว่า นิสภะ ของพระอโนมทัสสีมุนี อัน พระขีณาสพหนึ่งแสน ผู้มีจิตสงบมั่นคง บริสุทธิ์สะอาด ได้ อภิญญา ๖ ผู้คงที่ แวดล้อมอยู่ ทราบพระดำริของพระพุทธเจ้าแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก.

ท่านเหล่านั้นอยู่ในอากาศ ได้กระทำประทักษิณพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลงมาประนมอัญชลีนมัสการอยู่ในสำนัก ของพระพุทธเจ้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นโลกเชษฐ์ เป็นนระผู้องอาจ ทรงชำนะกิเลสแล้ว ประทับนั่งใน ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ทรงกระทำการแย้มพระโอฐ.

พระภิกษุนามว่า วรุณะ อุปัฏฐากของพระศาสดาอโนมทัสสี ทำผ้าเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง แล้วทูลถามพระโลกนายกว่า

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า อะไรเป็นเหตุให้พระศาสดา ทรงกระทำการแย้มหนอ เพราะเมื่อไม่มีเหตุ พระพุทธเจ้า ทั้งหลายย่อมไม่ทรงทำการแย้มให้ปรากฏ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี ผู้เจริญที่สุดในโลก เป็น นระผู้องอาจ ประทับนั่งท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ได้ตรัสพระคาถา นี้ว่า ผู้ใดบูชาเราด้วยดอกไม้ ทั้งชมเชยญาณของเรา เรา จักประกาศผู้นั้น ท่านทั้งหลายจงฟังเรากล่าว.

เทวดาทั้งปวงพร้อมทั้งมนุษย์ ทราบพระดำรัสของพระ-


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 410

พุทธเจ้าแล้ว ประสงค์จะฟังพระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้า พระสัมพุทธเจ้า.

หมู่ทวยเทพผู้มีฤทธิ์มากในหมื่นโลกธาตุ ประสงค์จะฟัง พระสัทธรรม จึงพากันมาเฝ้าพระสัมพุทธเจ้า.

จตุรงคเสนา คือพลช้าง พลม้า พลรถ และพลเดินเท้า จักแวดล้อมผู้นี้เป็นนิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า

ดนตรีหกหมื่น กลองที่ประดับสวยงาม จักบำรุงผู้นี้เป็น นิจ นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า.

หญิงล้วนแต่สาวๆ หกหมื่นนาง ประดับประดาสวยงาม มีผ้าและอาภรณ์อันวิจิตรตระการตา สวมกุณฑลแก้วมณี มี หน้าแฉล้ม ยิ้มแย้ม ตะโพกผาย ไหล่ผึ่ง เอวกลม จักห้อม ล้อมผู้นี้เป็นนิจ.

นี้เป็นผลแห่งการบูชาพระพุทธเจ้า ผู้นี้จักรื่นรมย์อยู่ใน เทวโลกตลอดแสนกัป จักได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิในแผ่นดิน พันครั้ง จักเป็นจอมเทวดาเสวยราชสมบัติในเทวโลกพันครั้ง จักเป็นเจ้าประเทศราชอันไพบูลย์นับไม่ถ้วน.

เมื่อถึงภพสุดท้าย ถึงความเป็นมนุษย์ จักคลอดจากครรภ์ นางพราหมณีชื่อสารี นระนี้จักปรากฏตามชื่อและโคตรของ มารดา โดยชื่อว่า สารีบุตร จักมีปัญญาคมกล้า จักหากังวล มิได้ ละทิ้งทรัพย์ ๘๐ โกฏิ แล้วออกบวช จักเที่ยวแสวงหา สันติบททั่วแผ่นดินนี้.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 411

ในกัปอันประมาณมิได้ แต่กัปนี้ไป พระศาสดาทรง พระนามว่า โคตมะ โดยพระโคตร ทรงสมภพในสกุล พระเจ้าโอกกากราช จักมีขึ้นในโลก ผู้นี้จักเป็นโอรสทายาท ในธรรมของพระศาสดาพระองค์นั้น อันธรรมนิรมิตแล้ว จัก ได้เป็นพระอัครสาวกมีนามว่า สารีบุตร.

แม่น้ำคงคาชื่อว่า ภาคีรสี นี้ ไหลมาแต่ประเทศหิมวันต์ ไหลไปถึงมหาสมุทร ยังห้วงน้ำใหญ่ให้เต็ม ฉันใด พระสารีบุตรนี้ ก็ฉันนั้น เป็นผู้อาจหาญแกล้วกล้าในเวททั้งสาม ถึงที่สุด แห่งปัญญาบารมี จักยังสัตว์ทั้งหลายให้อิ่มหนำสำราญ.

ตั้งแต่ภูเขาหิมวันต์จนถึงมหาสมุทรสาคร ในระหว่างนี้ ว่าถึงการนับทรายนี้ใดนับไม่ถ้วน การนับทรายแม้นั้น ก็อาจ นับได้โดยไม่เหลือ ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักไม่มี ฉันนั้นเลย.

เมื่อทำคะแนน (นับ) ไว้ ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป แต่ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักไม่เป็นเหมือนอย่าง นั้นเลย.

คลื่นในมหาสมุทร เมื่อจะว่าโดยการนับ ก็นับไม่ถ้วน ฉันใด ที่สุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักนับไม่ได้ ฉันนั้น เหมือนกัน.

พระสารีบุตรจักยังพระสัมพุทธเจ้า ผู้ศากยโคดม ผู้ประเสริฐให้ทรงโปรด แล้วจักได้เป็นพระอัครสาวกถึงความยอด เยี่ยมแห่งปัญญา จักประกาศตามได้โดยชอบ ซึ่งพระธรรม


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 412

จักรที่พระผู้มีพระภาคศากยบุตรทรงประกาศแล้ว จักยังเมล็ด ฝน คือธรรมให้ตกลาง.

พระโคดมผู้เป็นศากยะ ผู้ประเสริฐ ทรงทราบข้อนั้น ทั้งหมดแล้ว ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ จักทรงตั้งไว้ ในตำแหน่งอัครสาวก.

โอ! กรรมเราได้ทำไว้อย่างดีแล้ว แก่พระศาสดาพระนามว่า อโนมทัสสี. เราได้กระทำอธิการคือบุญอันยิ่งใหญ่ แก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด ได้ถึงที่สุดในที่ทั้งปวง พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงเป็นผู้น่าอัศจรรย์.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงแสดงกรรมที่เรากระทำไว้ใน กาลอันนับไม่ได้ว่าเป็นวิบากของกรรมในภพสุดท้ายนี้แก่เรา.

เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว เหมือนกำลังแห่งลูกศรอันพ้น ดีแล้ว (จากแล่ง). เรานี้แสวงหาบทอันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้ ดับสนิท ไม่หวั่นไหว พิจารณาเดียรถีย์ทั้งปวง ท่องเที่ยว ไปแล้วในภพ.

คนเป็นไข้พึงแสวงหาโอสถ ต้องสะสมทรัพย์ไว้ทุกอย่าง เพื่อปลดเปลื้องความป่วยไข้ แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อ แสวงหาอมตบทคือพระนิพพาน อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ได้ บวชเป็นฤๅษี ๕๐๐ ชาติ โดยไม่ปะปนกัน.

เราทรงชฎา เลี้ยงชีวิตด้วยหาบคอน นุ่งห่มหนังเสือ ถึงที่สุดอภิญญาแล้ว ได้ไปสู่พรหมโลก. ความบริสุทธิ์ในลัทธิ ภายนอก ย่อมไม่มี ยกเว้นแต่ศาสนาของพระชินเจ้า.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 413

สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งผู้มีปัญญา ย่อมบริสุทธิ์ได้ใน ศาสนาของพระชินเจ้า. เพราะฉะนั้น เราจึงไม่นำตัวเรานี้ ผู้ใคร่ต่อประโยชน์ ไปในลัทธิภายนอก, เราเมื่อแสวงหาบท อันปัจจัยไม่ปรุงแต่ง จึงท่องเที่ยวไปสู่ลัทธิอันผิด.

บุรุษผู้ต้องการแก่น พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออก จะไม่ได้ แก่นไม้ในต้นกล้วยนั้น เพราะมันว่างจากแก่น ฉันใด คน เป็นอันมากผู้เป็นเดียรถีย์ มีทิฏฐิต่างๆ กันในโลก ก็ฉันนั้น แล.

คนเหล่านั้นเป็นผู้ว่างเปล่าจากอสังขตบท เหมือนต้นกล้วย ว่างเปล่าจากแก่นฉะนั้น. เมื่อถึงภพสุดท้ายแล้ว เราได้เป็น เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ ละทิ้งโภคสมบัติเป็นอันมาก ออกบวช เป็นบรรพชิตแล้ว.

จบปฐมภาณวาร

ข้าพระองค์อยู่ในสำนักของพราหมณ์นามว่า สัญชัย ซึ่ง เป็นผู้สอน ทรงจำมนต์ รู้จบไตรเพท ข้าแต่พระมหาวีระ พราหมณ์ชื่อ อัสสชิ สาวกของพระองค์ หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกาลนั้น.

ข้าพระองค์ได้เห็นท่านผู้มีปัญญาเป็นมุนี มีจิตตั้งมั่นใน ความเป็นมุนี มีจิตสงบระงับ เป็นมหานาค แย้มบานดัง ดอกปทุม.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 414

ครั้นข้าพระองค์เห็นท่านผู้มีอินทรีย์อันฝึกดีแล้ว มีใจ บริสุทธิ์ องอาจ ประเสริฐ แกล้วกล้า จึงเกิดความคิดว่า ท่านผู้นี้จักเป็นพระอรหันต์.

ท่านผู้มีอิริยาบถน่าเลื่อมใส มีรูปงาม สำรวมดี จักเป็น ผู้ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกอันสูงสุด จักเป็นผู้เห็นอมตบท เราถามแล้ว ท่านจักตอบ เราจักสอบถามท่านอีก.

ข้าพระองค์ได้ตามไปข้างหลังของท่านผู้กำลังเที่ยวบิณฑ- บาต รอคอยโอกาสอยู่ เพื่อจะสอบถามอมตบท.

ข้าพระองค์เข้าไปหาท่านซึ่งพักอยู่ในระหว่างถนน แล้ว ได้ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ มีความเพียร ท่านมีโคตร อย่างไร ท่านเป็นศิษย์ของใคร.

ท่านอันข้าพระองค์ถามแล้วไม่ครั่นคร้าม ดังพญาไกรสร ได้พยากรณ์ว่า พระพุทธเจ้าเสด็จอุบัติแล้วในโลก อาตมา เป็นศิษย์ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น.

ข้าแต่ท่านผู้มีความเพียรใหญ่ ผู้เป้นอนุชาตบุตร มียศมาก ศาสนธรรมแห่งพระพุทธเจ้าของท่าน เป็นเช่นไร ขอได้ โปรดบอกแก่ข้าพเจ้าเถิด.

ข้าพระองค์ถามแล้ว ท่านกล่าวบทอันลึกซึ้งละเอียดทุก อย่าง เป็นเครื่องฆ่าลูกศรคือตัณหา เป็นเครื่องบรรเทาความ ทุกข์ทั้งมวลว่า

ธรรมเหล่าใดมีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตตรัสเหตุ


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 415

แห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระ มหาสมณเจ้ามีปกติตรัสอย่างนี้.

เมื่อท่านพระอัสสชิแก้ปัญหาแล้ว ข้าพระองค์นั้นได้บรรลุ ผลที่หนึ่ง เป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้ฟัง คำสอนของพระชินเจ้า.

ครั้นข้าพระองค์ได้ฟังคำสอนของพระมุนี ได้เห็นธรรม อันสงสุด จึงหยั่งลงสู่พระสัทธรรม แล้วได้กล่าวคาถานี้ว่า

ธรรมนี้เท่านั้น ถ้ามีเพียงเท่านั้น พระองค์ทรงทำให้แจ้ง บทอันไม่เศร้าโศก ที่ข้าพเจ้าไม่ได้พบเห็น ล่วงเวลาไปหลาย หมื่นกัป.

ข้าพระองค์แสวงหาธรรมอยู่ ได้เที่ยวไปในลัทธิผิด ประโยชน์นั้นอันข้าพระองค์ได้บรรลุแล้วโดยลำดับ กาลนี้ มิใช่กาลที่เราจะประมาท ข้าพระองค์อันพระอัสสชิให้ยินดี แล้ว เพราะได้บรรลุบทอันไม่หวั่นไหว.

ข้าพระองค์เมื่อจะแสวงหาสหาย จึงได้ไปยังอาศรม สหายของข้าพระองค์ สหายเห็นข้าพระองค์จากที่ไกลทีเดียว

เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอิริยาบถ ได้กล่าวคำนี้ว่า ท่านเป็นผู้มีหน้าตาผ่องใส ความเป็นมุนีคงจะปรากฏแน่ ท่านได้บรรลุอมตบทอันดับสนิท ไม่มีการเคลื่อนแลหรือ.

ท่านได้เป็นผู้เหมาะสมแก่ความงามมาแล้ว เหมือนช้างถูก แทงด้วยหอกซัดไม่หวั่นไหฉะนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ท่าน


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 416

เป็นเหมืนฝึกตนแล้ว เป็นผู้สงบระงับในธรรมเครื่องฝึกที่ได้ ฝึกมาแล้ว.

เราได้บรรลุอมตบทอันเป็นเครื่องบรรเทาลูกศรคือความโศก ได้แล้ว แม้ตัวท่านก็จงบรรลุอมตบทนั้น พวกเราจงไปยัง สำนักของพระพุทธเจ้ากันเถิด.

สหายอันข้าพระองค์ให้ศึกษาดีแล้ว รับคำแล้ว ได้จูงมือ พากันเข้ามายังสำนักของพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นศากยบุตร ข้าพระองค์ทั้งสองจักบวชในสำนักของพระองค์ จัก อาศัยคำสอนของพระองค์ แล้วเป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ท่านโกลิตะ เป็นผู้ประเสริฐด้วยฤทธิ์ ข้าพระองค์ถึงที่สุด แห่งปัญญา ข้าพระองค์ทั้งสองจะร่วมกันทำศาสนาให้งาม ข้าพระองค์มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด จึงเที่ยวไปในลัทธิผิด เพราะได้อาศัยทัสสนะของพระองค์ ความดำริของข้าพระองค์ จึงเต็ม.

ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดิน มีดอกบานตามฤดูกาล ส่งกลิ่น หอมตลบ ยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีระศากยบุตร ผู้มียศใหญ่ ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้น ดำรงอยู่ใน ศาสนธรรมของพระองค์แล้ว ย่อมเบ่งบานในสมัย.

ข้าพระองค์แสวงหาดอกไม้คือวิมุตติ เป็นที่พ้นภพสงสาร ย่อมยังสัตว์ทั้งปวงให้ยินดี ด้วยการได้ดอกไม้ คือวิมุตติ.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ เว้นพระมหามุนีเสีย ตลอดพุทธ-


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 417

เขต ไม่มีใครเสมอด้วยปัญญาแห่งข้าพระองค์ผู้เป็นบุตรของ พระองค์.

ศิษย์และบริษัทของพระองค์ พระองค์ทรงแนะนำดีแล้ว ให้ศึกษาดีแล้ว ฝึกแล้วในอุบายเครื่องฝึกจิตอันสูงสุด ย่อม แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นเพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ ตั้งมั่น เป็นมุนี ถึงพร้อมด้วยความเป็นมุนี ย่อม แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นมีความปรารถนาน้อย มีปัญญา เป็น นักปราชญ์ มีอาหารน้อย ไม่โลเล ยินดีทั้งลาภ และความ เสื่อมลาภ ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นถือการอยู่ป่าเป็นวัตร ยินดีธุดงค์ เพ่งฌาน มีจีวรเศร้าหมอง ยินดียิ่งในวิเวก เป็นนักปราชญ์ ย่อม แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ปฏิบัติมรรค ๔ ตั้งอยู่ในอรหัตตผล เป็น เสขะพรั่งพร้อมด้วยผลเบื้องต่ำ ๓ หวังประโยชน์อันสูงสุด ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ทั้งท่านผู้เป็นพระโสดาบัน ทั้งท่านที่เป็นพระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ปราศจากมลทิน ย่อมแวดล้อม พระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

สาวกของพระองค์เป็นอันมาก ฉลาดในสติปัฏฐาน ยินดี ในโพชฌงคภาวนา ทุกท่านย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 418

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้ฉลาดในอิทธิบาท ยินดีในสมาธิภาวนา หมั่นประกอบในสัมมัปปธาน ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุก เมื่อ.

ท่านเหล่านั้นมีวิชชา ๓ มีอภิญญา ๖ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ และปัญญา ย่อมแวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บรรดาศิษย์ของพระองค์เช่นนี้ แลหนอ ศึกษาดีแล้ว หาผู้เสมอได้ยาก มีเดชรุ่งเรือง แวดล้อมพระองค์อยู่ทุกเมื่อ.

พระองค์ อันศิษย์เหล่านั้นผู้สำรวมดีแล้ว มีตบะ แวดล้อม แล้ว ไม่ทรงครั่นคร้าม ดุจพญาราชสีห์ ย่อมงดงามดุจ พระจันทร์.

ต้นไม้ตั้งอยู่บนแผ่นดินย่อมงาม ถึงความไพบูลย์ และ ย่อมเผล็ดผล ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร ผู้มีพระยศ ใหญ่ พระองค์ก็เป็นเช่นกับแผ่นดิน ฉันนั้น ศิษย์ทั้งหลายตั้ง อยู่ในศาสนาของพระองค์ ย่อมได้อมตผล.

แม่น้ำสินธุ สรัสสดี จันทภาคา คงคา ยมุนา สรภู และแม่น้ำมหี เมื่อแม่น้ำเหล่านี้ไหลมา สาครย่อมรับไว้หมด แม่น้ำเหล่านี้ย่อมละชื่อเดิม ย่อมปรากฏว่าเป็นสาครเท่านั้น ฉันใด วรรณ ๔ เหล่านี้ ก็ฉันนั้น ในสำนักของพระองค์ แล้ว ทั้งหมดย่อมละชื่อเดิม ปรากฏว่าพุทธบุตร.

เปรียบเหมือนดวงจันทร์อันปราศจากมลทิน โคจรอยู่ใน อากาศ ย่อมรุ่งโรจน์ล่วงหมู่ดาวทั้งหมดในโลก ด้วยรัศมี


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 419

ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ ก็ฉันนั้น อันศิษย์ ทั้งหลายแวดล้อมแล้ว ย่อมรุ่งเรืองล้นเหล่าเทวดาและมนุษย์ ตลอดพุทธเขตในกาลทุกเมื่อ.

คลื่นตั้งขึ้นในน้ำลึก ย่อมล่วงเลยฝั่งไปไม่ได้ คลื่นเหล่า นั้นกระทบทั่วฝั่ง ย่อมเป็นระลอกเล็กน้อยละลายหายไป ฉันใด ชนในโลกเป็นส่วนมากที่เป็นเดียรถีย์ ก็ฉันนั้น มีทิฏฐิ ต่างๆ กัน ต้องการจะข้ามธรรมของพระองค์ แต่ก็ไม่ล่วง เลยพระองค์ผู้เป็นมุนีไปได้.

ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระจักษุ ก็ถ้าชนเหล่านั้นมาถึงพระองค์ด้วยความประสงค์จะคัดค้าน พากันเข้ามายังสำนักของ พระองค์แล้ว ย่อมกลายเป็นจุณไฟ.

เปรียบเหมือนโกมุท บัวขมและบัวเผื่อนเป็นอันมาก ที่ เกิดในน้ำ ย่อมเอิบอาบอยู่ด้วยน้ำเปือกตมและโคลน ฉันใด สัตว์เป็นอันมาก ก็ฉันนั้น เกิดแล้วในโลก อันราคะและโทสะ เบียดเบียนแล้วงอกงามอยู่ เหมือนโกมุทงอกงามอยู่ใน เปือกตมฉะนั้น.

ปทุมเกิดในน้ำ ย่อมไพโรจน์อยู่ในท่ามกลางน้ำ มันมี เกสรบริสุทธิ์ ไม่ติดด้วยน้ำ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ ก็ฉันนั้น เป็นมหามุนีเกิดในโลก แต่ไม่ติดโลก เหมือนปทุมไม่ติดน้ำฉะนั้น.

ดอกไม้อันเกิดในน้ำเป็นอันมาก ย่อมบานในเดือนจิตรมาส ย่อมไม่ล่วงพ้นเดือนนั้น สมัยนั้นเป็นสมัยดอกไม้น้ำ


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 420

บาน ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้ศากยบุตร พระองค์ ก็ฉันนั้น เป็นผู้บานแล้วด้วยวิมุตติของพระองค์.

สัตว์ทั้งหลายไม่ล่วงเลยศาสนาของพระองค์ ดังดอกบัว เกิดในน้ำ ย่อมบานไม่พ้นเดือนกัตติกาฉะนั้น.

พญาไม้รังดอกบานสะพรั่ง กลิ่นหอมตลบ อันไม้รังต้นอื่น แวดล้อม ย่อมงามยิ่ง ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ ฉันนั้น บานแล้วด้วยพุทธญาณ อันภิกษุสงฆ์แวดล้อมแล้ว ย่อมงาม เหมือนพญาไม้รังฉะนั้น.

ภูเขาหินชื่อว่าหิมวันต์เป็นที่เกิดโอสถของปวงสัตว์ เป็นที่ อยู่ของพวกนาค อสูร และเทวดาทั้งหลาย ฉันใด ข่าแต่ พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ ฉันนั้น เป็นดังโอสถของมวลสัตว์.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า บุคคลผู้บรรลุวิชชา ๓ และอภิญญา ๖ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์ ผู้ที่พระองค์ทรงมีพระกรุณาพร่ำสอนแล้ว ย่อมยินดีด้วยความยินดีในธรรม ย่อมอยู่ในศาสนาของ พระองค์.

ราชสีห์ผู้เป็นพญาเนื้อ ออกจากถ้ำที่อยู่เหลียวดูทิศทั้ง ๔ แล้วบันลือสีหนาท ๓ ครั้ง เมื่อราชสีห์คำราม มฤคทั้งปวง ย่อมสะดุ้งกลัว.

อันที่จริง ราชสีห์ผู้มีชาติกำเนิดนี้ ย่อมยังปศุสัตว์ให้ สะดุ้งกลัวทุกเมื่อ ฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า เมื่อพระองค์ ทรงบันลืออยู่ พสุธานี้ย่อมหวั่นไหว สัตว์ผู้ควรจะตรัสรู้ย่อม ตื่น หมู่มารย่อมสะดุ้งกลัว ฉันนั้น.


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 421

ข้าแต่พระมหามุนี เมื่อพระองค์ทรงบันลืออยู่ ปวงเดียรถีย์ ย่อมสะดุ้งกลัว ดังฝูงกา เหยี่ยว และเนื้อ วิ่งกระเจิงเพราะ ราชสีห์ฉะนั้น.

ผู้เป็นเจ้าคณะเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ชาวโลกเรียกกันว่าเป็น ศาสดาในโลก ท่านเหล่านั้นย่อมแสดงธรรมอันนำกันสืบๆ มา แก่บริษัท.

ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า ส่วนพระองค์ไม่ทรงแสดงธรรมแก่ มวลสัตว์เหมือนอย่างนั้น พระองค์ตรัสรู้สัจจะและโพธิปักขิยธรรม ด้วยพระองค์เอง ทรงทราบอัธยาศัยกิเลส และ อินทรีย์มีกำลังและไม่มีกำลัง ทรงทราบภัพพบุคคลและ อภัพพบุคคล แล้วจึงทรงบันลือประดุจมหาเมฆ.

บริษัทจะพึงนั่งเต็มรอบจักรวาล เขาเหล่านั้นมีทิฏฐิต่างกัน คิดต่างกัน เพื่อทรงตัดความสงสัยของสัตว์เหล่านั้น พระองค์ ผู้เป็นมุนี ผู้ฉลาดในข้ออุปมา ทรงทราบจิตของสัตว์ทั้งปวง เมื่อได้ทรงแก้ปัญหาข้อเดียวเท่านั้น ก็ตัดความสงสัยของสัตว์ ทั้งหลายได้.

แผ่นดินพึงเต็มด้วยคนเช่นกับจอกแหนในน้ำ คนทั้งหมด นั้นประนมอัญชลีสรรเสริญพระองค์ผู้เป็นนายกของโลก หรือ ว่าคนเหล่านั้นสรรเสริญอยู่ตลอดกัป ฟังสรรเสริญพระคุณ ต่างๆ ก็ไม่ทำพระคุณให้สิ้นสุดประมาณได้ พระตถาคตมี พระคุณหาประมาณมิได้.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 422

ด้วยว่าพระมหาชินเจ้า เป็นผู้อันเราสรรเสริญแล้วตาม กำลังของตนเท่านั้นฉันใด คนทั้งหลายก็ฉันนั้น เมื่อสรรเสริญ อยู่ถึงโกฏิกัปป์ ก็จะพึงสรรเสริญอย่างนี้ๆ.

ก็ถ้าใครๆ จะเป็นเทพหรือมนุษย์ก็ตาม ผู้ศึกษามาดีแล้ว จะสรรเสริญคุณให้สุดประมาณได้

ผู้นั้นก็จะได้แต่ความลำบากเท่านั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้ ศากยบุตร มีพระยศมาก ข้าพระองค์ดำรงอยู่ในศาสนาของ พระองค์ ถึงที่สุดแห่งปัญญาแล้ว เป็นผู้หาอาสวะมิได้อยู่.

ข้าพระองค์จะย่ำยีพวกเดียรถีย์ ยังศาสนาของพระชินเจ้า ให้เป็นไป จะเป็นธรรมเสนาบดีในศาสนาของพระศากยบุตร ในวันนี้ไป.

กรรมที่ข้าพระองค์กระทำแล้ว ในกาลอันหาประมาณมิได้ แสดงผลแก่ข้าพระองค์ ณ ที่นี้ ข้าพระองค์เผากิเลสแล้ว ดุจ ลูกศรอันหมดกำลังแล้ว.

มนุษย์คนใดคนหนึ่งทูนของหนักไว้บนศีรษะทุกเวลา ต้อง ลำบากด้วยภาระ ฉันใด อันภาระที่เราแบกอยู่ ก็ฉันนั้น. เรา ถูกไฟ ๓ กองเผาอยู่ เป็นผู้แบกภาระคือภพ เหมือนถอน เขาสิเนรุวางไว้บนศีรษะ ท่องเที่ยวไปในภพ.

บัดนี้ เราปลงภาระแล้ว เพิกภพทั้งหลายเสียแล้ว กิจที่ ควรทําทุกอย่างในศาสนาของพระศากยบุตร เราทำเสร็จแล้ว.

ในกำหนดพุทธเขต เว้นพระศากยบุตร เราเป็นเลิศด้วย ปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา.


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 423

เราเป็นผู้ฉลาดดีในสมาธิ ถึงที่สุดแห่งฤทธิ์วันนี้ เรา ปรารถนาจะนิรมิตคนสักพันก็ได้.

พระมหามุนีทรงเป็นผู้ชำนาญในอนุปุพพวิหารธรรม ตรัส คำสอนแก่เรา นิโรธเป็นที่อยู่ของเรา.

ทิพยจักษุของเราหมดจด เราเป็นผู้ฉลาดในสมาธิ หมั่น ประกอบในสัมมัปปธาน ยินดีในการเจริญโพชฌงค์.

ก็กิจทุกอย่างที่สาวกจะพึงทำ เราทำเสร็จแล้ว เว้นพระโลกนาถ ไม่มีใครเสมอเรา.

เราเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ได้ฌานและวิโมกข์รวดเร็ว ยินดีในการเจริญโพชฌงค์ ถึงที่สุดแห่งสาวกคุณ.

เราทั้งหลายเป็นผู้เคารพในบุรุษผู้สูงสุด ด้วยการสัมผัส สาวกคุณ และด้วยปัญญาจิตของเรา สงเคราะห์เพื่อน พรหมจรรย์ด้วยศรัทธาทุกเมื่อ.

เรามีความเย่อหยิ่งด้วยมานะอันวางแล้ว ดุจงูถูกถอนเขี้ยว และเหมือนโคเขาหักฉะนั้น เข้าไปหาหมู่คณะด้วยความ เคารพหนัก.

ถ้าปัญญาของเราจะมีรูปร่าง ก็จะเสมอด้วยพระเจ้าแผ่นดินทั้งหลาย นี้เป็นผลแห่งการชมเชยพระญาณของ พระผู้มีพระภาคเจ้าอโนมทัสสี.

เราย่อมยังพระธรรมจักร อันพระผู้มีพระภาคศากยบุตร ผู้คงที่ให้เป็นไปแล้ว ให้เป็นไปตามได้โดยชอบ นี้เป็นผล แห่งการชมเชยพระญาณ.


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 424

คนที่มีความปรารถนาลามก เกียจคร้าน ละความเพียร มีสุตะน้อย และไม่มีอาจาระ อย่าได้สมาคมกับเราในที่ไหนๆ ในกาลไรๆ.

ส่วนคนผู้มีสุตะมาก มีปัญญา ตั้งมั่นดีแล้วในศีล และ เป็นผู้ประกอบด้วยความสงบใจ ขอจงตั้งอยู่บนกระหม่อม ของเรา.

ด้วยเหตุนั้น เราจึงขอบอกกล่าวท่านทั้งหลาย ขอความ เจริญจงมีแก่ท่านทั้งหลายผู้มาประชุมกันในสมาคมนี้.

ขอท่านทั้งหลายจงมีความปรารถนาน้อย สันโดษ และ ให้ทานทุกเมื่อ.

เราเป็นผู้ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เพราะได้เห็น พระอัสสชิก่อน ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชินั้น เป็นอาจารย์ ของเรา เป็นนักปราชญ์.

เราเป็นสาวกของท่าน วันนี้ เป็นธรรมเสนาบดี ถึงที่สุด ในที่ทุกแห่ง เป็นผู้ไม่มีอาสวะอยู่.

ท่านพระสาวกนามว่าอัสสชิผู้เป็นอาจารย์ของเรา อยู่ใน ทิศใด เราย่อมทำท่านไว้เหนือศีรษะในทิศนั้น.

พระโคดมศากยะผู้ประเสริฐ ทรงระลึกถึงกรรมของเรา แล้วประทับนั่งอยู่ในหมู่ภิกษุ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ.

คุณวิเศษเหล่านี้คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้าเราทำ เสร็จแล้วฉะนี้แล.


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 425

ทราบว่า ท่านพระสารีบุตรเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ด้วยประการ ฉะนี้แล.

จบสารีปุตตเถราปทาน

พรรณนาเถราปทาน

๑. พรรณนาสารีปุตตเถราปทาน

ต่อจากนั้น เพื่อจะสังวรรณนาคาถารวบรวมเถราปทาน ท่าน จึงกล่าวว่า อถ เถราปทานํ สุณาถ ดังนี้.

อรรถแห่ง อถ ศัพท์ และ อปทาน ศัพท์ ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น.

ก็บรรดาศัพท์เหล่านี้ เถร ศัพท์นี้ เป็นไปในอรรถมิใช่น้อย มี อรรถว่า กาล มั่นคง บัญญัติ ชื่อ และใหญ่ เป็นต้น.

จริงอย่างนั้น เถรศัพท์ที่ใช้ในความหมายว่า กาล เช่นในประโยค มีอาทิว่า เถโรวสฺสิกานิ ปูตีนิ จุณฺณกชาตานิ แปลว่า ท่อนกระดูก ทั้งหลาย ที่ฝนตกชะอยู่เกินเวลานานปีแล้ว ผุป่นละเอียดไป. อธิบายว่า ฝนตกชะอยู่นาน คือตกเป็นเวลานาน.

ใช้ในความหมายว่า มั่นคง เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโรปิ ตาว มหา แปลว่า เพียงเป็นผู้มั่นคง เป็นใหญ่ก่อน. อธิบายว่า เป็นผู้มีศีล มั่นคง.

ใช้ในความหมายว่า บัญญัติ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโร อยมายสฺมา มหลฺลโก แปลว่า ท่านผู้มีอายุนี้เป็นคนแก่คนเฒ่า, อธิบายว่า เป็นเพียงโลกบัญญัติ.


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 426

ใช้ในความหมายว่า ชื่อ เช่นในประโยคมีอาทิว่า จุนฺทตฺเถโร ผุสฺสตฺเถโร พระจุนทเถระ พระผุสสเถระ อธิบายว่า เขาตั้งชื่อไว้อย่างนี้.

ใช้ในความหมายว่า คนใหญ่ เช่นในประโยคมีอาทิว่า เถโร จายํ กุมาโร มม ปุตฺเตสุ บรรดาลูกๆ ของข้าพเจ้า กุมารนี้เป็นคนใหญ่ (คนหัวปี) อธิบายว่า เด็กคนโต.

แต่ในที่นี้ เถระ ศัพท์นี้ ใช้ในความหมายว่า กาล และ มั่นคง. เพราะฉะนั้น ชื่อว่า เถร เพราะดำรงอยู่มาสิ้นกาลนาน, อีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้ประกอบด้วยคุณมีศีล อาจาระ และมัทวะ อันมั่นคงยิ่ง เรียกว่า เถระ. พระเถระและเถระ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า พระเถระทั้งหลาย, อปทานคือเหตุแห่งพระเถระทั้งหลาย ชื่อว่าเถราปทาน, เชื่อมความว่า ท่านทั้งหลายจงฟังเถราปทานนั้น.

คำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺส อวิทูเร ลมฺพโก นาม ปพฺพโต ดังนี้ เป็นอปทานของท่านพระสารีบุตร, เรื่องของท่านผู้มีอายุนั้น และของ พระมหาโมคคัลลานเถระ พึงทราบอย่างนี้.

ได้ยินว่า ในอดีตกาล ในที่สุดหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป ท่าน พระสารีบุตรบังเกิดในตระกูลพราหมณ์มหาศาล เป็นผู้ชื่อว่า สรทมาณพ โดยชื่อ, ท่านพระมหาโมคคัลลานะบังเกิดในตระกูลคหบดีมหาศาล โดย ชื่อ มีชื่อว่า สิริวัฑฒนกุฏุมพี.

คนทั้งสองนั้นเป็นสหายเล่นฝุ่นด้วยกัน บรรดาคนทั้งสองนั้น สรทมาณพ เมื่อบิดาล่วงลับไปแล้ว ได้ครอบครองทรัพย์อันเป็นของ ตระกูล วันหนึ่ง อยู่ในที่ลับคิดว่า ชื่อว่าความตายของสัตว์เหล่านั้นเป็น


ความคิดเห็น 29    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 427

สิ่งที่แน่นอน เพราะฉะนั้น เราควรเข้าถือการบวชอย่างหนึ่ง แสวงหา ทางหลุดพ้น จึงเข้าไปหาสหายแล้วกล่าวว่า สหาย เราอยากบวช ท่าน จักอาจบวชไหม. เมื่อสหายนั้นกล่าวว่า ไม่อาจ จึงกล่าวว่า ช่างเถอะ เฉพาะเราเท่านั้นจักบวช แล้วให้เปิดคลังรัตนะให้มหาทานแก่คนกำพร้า และคนเดินทางเป็นต้น แล้วไปยังเชิงเขาบวชเป็นฤาษี. เมื่อสรทมาณพ นั้นบวช ได้มีเหล่าบุตรพราหมณ์ประมาณ ๗๔,๐๐๐ คนบวชตาม. สรทดาบสนั้นทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิด แล้วจึงบอกกสิณบริกรรมแก่ชฎิลเหล่านั้น. ชฎิลทั้งหมดนั้นก็ทำอภิญญา ๕ และสมาบัติ ๘ ให้บังเกิดขึ้น.

สมัยนั้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี เสด็จอุบัติ ขึ้นในโลก ทรงประกาศพระธรรมจักรอันประเสริฐ ได้ยังเหล่าสัตว์ให้ ข้ามจากโอฆะสงสารใหญ่ วันหนึ่ง มีพระประสงค์จะสงเคราะห์สรทดาบส และเหล่าอันเตวาสิก พระองค์เดียวไม่มีเพื่อน ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จไปทางอากาศ ทรงดำริว่า จงรู้ว่าเราเป็นพระพุทธเจ้า เมื่อสรทดาบส นั้นเห็นอยู่นั่นแล จึงเสด็จลงจากอากาศ ประทับยืนบนแผ่นดิน.

สรทดาบส พิจารณามหาบุรุษลักษณะในพระสรีระของพระศาสดา แล้วลงสันนิษฐานว่า ท่านผู้นี้เป็นพระสัพพัญญูพุทธะแท้เทียว จึงได้ กระทำการต้อนรับ ให้ปูลาดอาสนะถวาย พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง บนอาสนะที่เขาปูลาดแล้ว สรทดาบสนั่งอยู่ ณ ส่วนข้างหนึ่ง ในสำนัก ของพระศาสดา.

สมัยนั้น ชฎิลประมาณ ๗๔,๐๐๐ ผู้เป็นอันเตวาสิกของสรทดาบส นั้น ถือผลไม้น้อยใหญ่อันประณีตๆ มีโอชะมาอยู่ ได้เห็นพระศาสดาเกิด


ความคิดเห็น 30    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 428

ความเลื่อมใส แลดูอาการนั่งแห่งอาจารย์ของตนและพระศาสดา แล้วพา กันกล่าวว่า ท่านอาจารย์ เมื่อก่อนพวกข้าพเจ้าสำคัญว่า ใครๆ ผู้จะใหญ่ กว่าท่านไม่มี ก็บุรุษนี้เห็นจะใหญ่กว่าท่าน. สรทดาบสกล่าวว่า พ่อ ทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร พวกเธอปรารถนาจะกระทำเขาสิเนรุอันสูง หกล้านแปดแสนโยชน์ ให้เสมอกับเมล็ดพันธุ์ผักกาด พวกเธออย่า กระทำเราให้เท่ากับพระสัพพัญญูพุทธเจ้าเลย. ลำดับนั้น ดาบสเหล่านั้น ครั้นได้ฟังคำของอาจารย์แล้ว พากันคิดว่า ท่านผู้นี้เป็นอุดมบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ทีเดียวหนอ ทั้งหมดจึงหมอบลงที่พระบาทไหว้พระศาสดา.

ทีนั้น อาจารย์จึงกล่าวกะพวกศิษย์นั้นว่า นี่แน่ะพ่อทั้งหลาย ไทยธรรมของพวกเราอันสมควรแก่พระศาสดา ไม่มี และพระศาสดาก็เสด็จมา ณ ที่นี้ในเวลาภิกขาจาร เอาเถอะ พวกเราจักถวายไทยธรรมตามกำลัง ผลาผลอันประณีตใดๆ พวกเธอได้นำมาแล้ว พวกเธอก็จงนำเอาผลาผลไม้ นั้นๆ มาเถิด ครั้นให้นำมาแล้ว จึงล้างมือทั้งสอง ให้ตั้งผลาผลไม้ ลงในบาตรของพระตถาคตด้วยตนเอง เมื่อพระศาสดาสักว่าทรงรับผลาผลไม้ เทวดาทั้งหลายได้ใส่ทิพโอชาเข้าไป. แม้น้ำพระดาบสก็ได้กรอง ถวายด้วยตนเองเหมือนกัน.

จากนั้น เมื่อพระศาสดาทรงทำกิจด้วยโภชนะให้เสร็จแล้วประทับ นั่ง ดาบสให้เรียกเหล่าอันเตวาสิกทั้งหมดมา แล้วนั่งกล่าวสาราณียกถา อยู่ในสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงดำริว่า อัครสาวกทั้งสองจง มาพร้อมกับหมู่ภิกษุ. ทันใดนั้น พระอัครสาวกมีพระขีณาสพหนึ่งแสน เป็นบริวาร ก็มาถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วได้ยืนอยู่ ณ ส่วน ข้างหนึ่ง.


ความคิดเห็น 31    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 429

ลำดับนั้น สรทดาบสจึงเรียกเหล่าอันเตวาสิกมาว่า พ่อทั้งหลาย ควรทำการบูชาด้วยอาสนะดอกไม้ แก่พระศาสดาและภิกษุสงฆ์ เพราะฉะนั้น พวกเธอจงนำดอกไม้มา. ทันใดนั้น เหล่าอันเตวาสิกจึงนำดอกไม้ ทั้งหลายอันสมบูรณ์ด้วยสีและกลิ่นมาด้วยฤทธิ์ แล้วปูลาดอาสนะดอกไม้ ประมาณหนึ่งโยชน์แก่พระพุทธเจ้า ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณ ๓ คาวุต แก่พระอัครสาวกทั้งสอง ปูลาดอาสนะดอกไม้ชนิดกึ่งโยชน์เป็นต้น แก่ เหล่าภิกษุที่เหลือ ปูลาดอาสนะดอกไม้ประมาณอุสภะแก่ภิกษุผู้ใหม่ ในสงฆ์.

ครั้นปูลาดอาสนะทั้งหลายอย่างนี้แล้ว สรทดาบสจึงประคองอัญชลี ตรงพระพักตร์ของพระตถาคต แล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอ พระองค์เสด็จขึ้นยังอาสนะดอกไม้นี้ เพื่ออนุเคราะห์ข้าพระองค์. พระผู้- มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะดอกไม้ เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว พระอัครสาวกทั้งสองและเหล่าภิกษุที่เหลือ ก็นั่งบนอาสนะอันถึงแก่ตนๆ.

พระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติด้วยพระประสงค์ว่า ผลใหญ่จงมี แก่ดาบสเหล่านั้น. ฝ่ายพระอัครสาวกทั้งสองและภิกษุที่เหลือ รู้ว่าพระศาสดาทรงเข้านิโรธสมาบัติ จึงพากันเข้านิโรธสมาบัติ. พระดาบสได้ยืน กั้นฉัตรดอกไม้แด่พระศาสดาสิ้นกาลหาระหว่างมิได้ตลอด ๗ วัน. พระดาบสนอกนี้ฉันมูลผลาหารจากป่าแล้ว ในเวลาที่เหลือก็ได้ยืนประคอง อัญชลีอยู่.

พอล่วงไปได้ ๗ วัน พระศาสดาทรงออกจากนิโรธสมาบัติ แล้ว ตรัสเรียกพระนิสภเถระอัครสาวกว่า เธอจงกระทำอนุโมทนาอาสนะดอกไม้แก่ดาบสทั้งหลาย. พระเถระตั้งอยู่ในสาวกบารมีญาณ ได้กระทำ


ความคิดเห็น 32    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 430

อนุโมทนาอาสนะดอกไม้แก่ดาบสทั้งหลายเหล่านั้น ในเวลาจบเทศนาของ พระนิสภเถระนั้น พระศาสดาตรัสเรียกพระอโนมเถระทุทิยอัครสาวกว่า แม้เธอก็จงแสดงธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น. ฝ่ายพระอโนมเถระพิจารณา พระพุทธพจน์ คือพระไตรปิฎก แล้วกล่าวธรรมแก่ดาบสเหล่านั้น ธรรมาภิสมัยการตรัสรู้ธรรม มิได้มีด้วยเทศนาของพระอัครสาวกทั้งสอง.

ลำดับนั้น พระศาสดาทรงตั้งอยู่ในพุทธวิสัย แล้วทรงเริ่มพระธรรมเทศนา. ในเวลาจบเทศนา ชฎิลเจ็ดหมื่นสี่พันที่เหลือแม้ทั้งหมด เว้นสรทดาบสบรรลุพระอรหัตแล้ว. พระศาสดาทรงเหยียดพระหัตถ์ ตรัสกะชฎิลเหล่านั้นว่า เธอทั้งหลายจงเป็นภิกษุมาเถิด. ทันใดนั้น ชฎิล เหล่านั้นมีเพศดาบสอันตรธานหายไป ได้เป็นผู้ทรงบริขาร ๘ ดุจพระเถระ มีพรรษา ๖๐ ฉะนั้น.

ส่วนสรทดาบส เพราะความที่ตนเป็นผู้เกิดปริวิตกขึ้นเวลาแสดง ธรรมว่า โอหนอ แม้เราก็พึงเป็นพระสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งใน อนาคต เหมือนพระนิสภเถระนี้ ได้มีจิตส่งไปอื่น จึงไม่ได้อาจเพื่อจะทำ ให้รู้แจ้งมรรคผล. ลำดับนั้น จึงถวายบังคมพระศาสดา แล้วได้กระทำ ความปรารถนาเหมือนอย่างนั้น.

พระศาสดาทรงเห็นว่าจะสำเร็จโดยหาอันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์ ว่า ล่วงไปหนึ่งอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป. แต่กัปนี้ไป อัครสาวกของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า จักมีนามว่าสารีบุตร ดังนี้แล้วตรัสธรรมกถา มี ภิกษุสงฆ์เป็นบริวารแล่นไปยังอากาศแล้ว.

ฝ่ายสรทดาบสก็ได้ไปยังสำนักของสิริวัฑฒกุฎุมพีผู้สหาย แล้วกล่าว ว่า สหาย เราปรารถนาตำแหน่งอัครสาวกของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า


ความคิดเห็น 33    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 431

ผู้จะอุบัติขึ้นในอนาคต ณ ที่บาทมูลของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี แม้ท่านก็จงปรารถนาตำแหน่งทุติยสาวกของพระโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น.

สิริวัฑฒกุฎุมพีได้ฟังการชี้แจงดังนั้น จึงให้กระทำที่ประมาณ ๘ กรีสที่ประตูนิเวศน์ของตนให้มีพื้นราบเรียบ แล้วโรยดอกไม้มีข้าวตอก เป็นที่ ๕ ให้สร้างมณฑปมุงด้วยอุบลเขียว ให้ลาดอาสนะสำหรับพระพุทธเจ้า ให้ลาดอาสนะสำหรับภิกษุทั้งหลาย แล้วตระเตรียมเครื่อง สักการะและสัมมานะมากมาย แล้วให้สรทดาบสไปนิมนต์พระศาสดามา ยังมหาทานให้เป็นไปตลอด ๗ วัน แล้วให้ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประธาน ครองผ้าทั้งหลายอันควรค่ามาก แล้วได้กระทำความปรารถนา เพื่อความเป็นทุติยสาวก.

พระศาสดา ทรงเห็นความสำเร็จของสิริวัฑฒกุฎุมพีนั้นโดยหา อันตรายมิได้ จึงทรงพยากรณ์โดยนัยดังกล่าวแล้ว ทรงทำอนุโมทนาภัต แล้วเสด็จหลีกไป. สิริวัฑฒกุฎุมพีร่าเริงแจ่มใส กระทำกุศลกรรมตลอด ชั่วอายุ แล้วบังเกิดในกามาวจรเทวโลก ในวาระจิตที่ ๒ สรทดาบส เจริญพรหมวิหาร ๔ แล้วบังเกิดในพรหมโลก.

จำเดิมแต่นั้น ท่านไม่กล่าวถึงกรรมในระหว่างของสหายทั้งสอง. ก็สรทดาบสถือปฏิสนธิในครรภ์ของนางรูปสารีพราหมณี ในอุปติสสคาม ไม่ไกลนครราชคฤห์ ก่อนกว่าการอุบัติขึ้นแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ทั้งหลาย. ในวันนั้นเอง แม้สหายของสรทดาบสนั้น ก็ถือปฏิสนธิใน ครรภ์ของนางโมคคัลลีพราหมณี ในโกลิตคาม ไม่ไกลนครราชคฤห์ เหมือนกัน.


ความคิดเห็น 34    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 432

เพราะฉะนั้น โมคคัลลานะ ชื่อว่า โมคคัลลานะ เพราะเป็นบุตร ของนางโมคคัลลีพราหมณี, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโมคคัลลานะ เพราะ เกิดโดยโมคคัลลีโคตร. อีกอย่างหนึ่ง ในเวลาที่มารดายังเป็นกุมาริกา บิดามารดาของนางกุมาริกานั้นเรียกชื่อว่า มุคคลี เพราะถือเอาคำว่า มา อุคฺคลิ มา อุคฺคลิ อย่ากลืน อย่ากลืน. ชื่อว่าโมคคัลลานะ เพราะเป็น บุตรของนางมุคคลีนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าโมคคัลลานะ เพราะเป็น ผู้อาจ คือสามารถในการได้ ในการถือเอา ในการรู้แจ้งมรรคมีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น.

ได้ยินว่า ตระกูลทั้งสองนั้น เป็นสหายเนื่องกันมา ๗ ชั่วสกุล. บิดามารดาได้ให้การบริหารครรภ์แก่คนทั้งสองนั้นในวันเดียวกัน. พอล่วง ไปได้ ๑๐ เดือน บิดามารดาก็เริ่มตั้งแม่นม ๖๖ คน แก่คนทั้งสองนั้น แม้ผู้เกิดแล้ว. ในวันตั้งชื่อ บิดามารดาตั้งชื่อบุตรของนางรูปสารีพราหมณี ว่า อุปติสสะ เพราะเป็นบุตรของตระกูลผู้เป็นหัวหน้าในอุปติสสคาม. ตั้งชื่อของบุตรนอกนี้ว่า โกลิตะ เพราะเป็นบุตรของตระกูลผู้เป็นหัวหน้า ในโกลิตคาม. คนทั้งสองนั้นเจริญอยู่ด้วยบริวารใหญ่ อาศัยความเจริญ เติบโตแล้ว ได้ถึงความสำเร็จศิลปะทั้งปวง.

อยู่มาวันหนึ่ง คนทั้งสองนั้นกำลังดูมหรสพบนยอดเขาในกรุงราชคฤห์ เห็นมหาชนประชุมกัน เพราะญาณถึงความแก่กล้า จึงเกิดความคิดขึ้น โดยแยบคายได้ความสังเวชว่า คนเหล่านี้ทั้งหมด ภายในร้อยปีเท่านั้น ก็จะ เข้าไปยังปากของมัจจุราช จึงทำการตัดสินใจว่า เราทั้งหลายควรแสวงหา โมกขธรรม และเมื่อจะแสวงหาโมกขธรรมนั้น ควรได้การบรรพชาอย่างหนึ่ง จึงพากันบวชในสำนักของสัญชัยปริพาชกพร้อมกับมาณพ ๕๐๐ คน.


ความคิดเห็น 35    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 433

จำเดิมแต่คนทั้งสองนั้นบวชแล้ว สัญชัยปริพาชกได้เป็นผู้ถึงลาภ อันเลิศและยศอันเลิศ. โดย ๒ - ๓ วัน เท่านั้น คนทั้งสองนั้นก็เรียนลัทธิของ สัญชัยได้ทั้งหมด ไม่เห็นสาระในลัทธินั้น ได้เหนื่อยหน่ายลัทธินั้น จึง ถามปัญหากะสมณพราหมณ์ที่เขาสมมติกันว่า เป็นบัณฑิตในที่นั้นๆ สมณพราหมณ์เหล่านั้น ผู้ถูกคนทั้งสองถามแล้ว ไม่ยังการแก้ปัญหาให้สำเร็จ ได้ โดยที่แท้ คนทั้งสองนั้นนั่งเอง พากันแก้ปัญหาไห้แก่สมณพราหมณ์ เหล่านั้น. เมื่อเป็นอย่างนั้น คนทั้งสองนั้น เมื่อจะแสวงหาโมกขธรรม (ต่อไป) จึงได้ทำกติกาว่า ในเราทั้งสอง คนใดบรรลุอมตะก่อน คนนั้น จงบอกแก่อีกคนหนึ่ง.

ก็สมัยนั้น เมื่อพระศาสดาของเราทั้งหลายทรงบรรลุพระปฐมาภิ- สัมโพธิญาณแล้ว ทรงประกาศพระธรรมจักรอันบวร ทรงทรมานชฎิล พันคนมีอุรุเวลกัสสปเป็นต้น แล้วประทับอยู่ในกรุงราชคฤห์โดยลำดับ วันหนึ่ง อุปติสสปริพาชกไปยังปริพาชการาม เห็นท่านพระอัสสชิเถระ เที่ยวบิณฑบาตอยู่ในกรุงราชคฤห์ คิดว่า บรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยมารยาท เห็นปานนี้ เราไม่เคยเห็น ชื่อว่าธรรมอันละเอียดจะพึงมีในบรรพชิตนี้ จึงเกิดความเลื่อมใส มองดูท่านผู้มีอายุเพื่อจะถามปัญหา ได้ติดตามไป ข้างหลัง.

ฝ่ายพระเถระได้บิณฑบาตแล้ว ไปยังโอกาสอันเหมาะสม เพื่อจะ บริโภค. ปริพาชกได้ลาดตั่งปริพาชกของตนถวาย และในเวลาเสร็จภัตกิจ ได้ถวายน้ำในคนโทของตนแก่พระเถระ. ปริพาชกนั้นกระทำอาจริยวัตร อย่างนี้แล้ว กระทำปฏิสันถารกับพระเถรผู้กระทำภัตกิจเสร็จแล้วจึงถามว่า ใครเป็นศาสดาของท่านหรือ หรือว่าท่านชอบใจธรรมของใคร? พระ-


ความคิดเห็น 36    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 434

เถระอ้างเอาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันปริพาชกนั้นถามอีกว่า ก็ศาสดา ของท่านผู้มีอายุมีวาทะอย่างไร คิดว่า เราจักแสดงความที่พระศาสนานี้ เป็นของลึกซึ้ง จึงประกาศว่าตนยังเป็นผู้ใหม่ และเมื่อจะแสดงธรรมใน พระศาสนาแก่ปริพาชกนั้นโดยสังเขป จึงกล่าวคาถาว่า เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เป็นต้น.

ปริพาชกได้ฟังเฉพาะสองบทแรกเท่านั้น ก็ดำรงอยู่ในพระโสดาปัตติมรรคและโสดาปัตติผลอันสมบูรณ์ด้วยนัยพันหนึ่ง สองบทหลังจบลง ในเวลาเขาเป็นพระโสดาบัน. ก็ในเวลาจบคาถา เขาเป็นพระโสดาบัน เมื่อคุณวิเศษในเบื้องบนยังไม่เป็นไป จึงกำหนดว่า เหตุในพระศาสนานี้ จักมี จึงกล่าวกะพระเถระว่า ท่านผู้เจริญ ท่านอย่าขยายธรรมเทศนาให้ สูงเลย เท่านี้แหละพอแล้ว พระศาสดาของเราทั้งหลายอยู่ที่ไหน. พระอัสสชิกล่าวว่า อยู่ทีพระเวฬุวัน. ปริพาชกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ท่านจง ล่วงหน้าไป ข้าพเจ้าจะเปลื้องปฏิญญาที่ทำไว้แก่สหายของข้าพเจ้าแล้วจัก พาสหายนั้นมาด้วย แล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กระทำประทักษิณ สั่งพระเถระแล้วได้ไปยังปริพาชการาม.

โกลิตปริพาชกเห็นอุปติสสปริพาชกนั้นกำลังมาแต่ไกล คิดว่า สีหน้า ไม่เหมือนวันอื่น อุปติสสะนี้จักบรรลุอมตธรรมเป็นแน่จึงยกย่องการบรรลุ คุณวิเศษของอุปติสสะนั้น โดยอาการนั้นแหละ แล้วถามถึงการบรรลุ อมตธรรม. ฝ่ายอุปติสสะนั้นก็ปฏิญญาแก่โกลิตะนั้นว่า ผู้มีอายุ ข้าพเจ้า บรรลุอมตธรรมแล้ว จึงได้กล่าวคาถานั้นนั่นแหละ.

ในเวลาจบคาถา โกลิตะดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วกล่าวว่า พระศาสดาของพวกพวกเราอยู่ที่ไหน.


ความคิดเห็น 37    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 435

อุปติสสะกล่าวว่า อยู่ที่พระเวฬุวัน.

โกลิตะกล่าวว่า ผู้มีอายุ ถ้าอย่างนั้น พวกเราจงมา จักเฝ้าพระศาสดา.

อุปติสสะเป็นผู้บูชาอาจารย์แม้ตลอดกาลทั้งปวงทีเดียว เพราะฉะนั้น จึงได้เป็นผู้ใคร่จะประกาศคุณของพระศาสดาแก่สัญชัย แล้วนำสัญชัย แม้นั้นไปยังสำนักของพระศาสดาด้วย.

สัญชัยปริพาชกนั้นถูกความหวังในลาภครอบงำ ไม่ปรารถนาจะ เป็นอันเตวาสิก จึงปฏิเสธว่า เราไม่อาจเป็นตุ่มสำหรับตักวิดน้ำ คน ทั้งสองนั้นเมื่อไม่อาจให้สัญชัยปริพาชกนั้นยินยอมได้ด้วยเหตุหลายประการ จึงได้ไปยังพระเวฬุวันพร้อมกับอันเตวาสิก ๒๕๐ คน ผู้ประพฤติตาม โอวาทของตน.

พระศาสดาทรงเห็นคนเหล่านั้นมาจากที่ไกล จึงตรัสว่า นี้จักเป็น คู่สาวกของเรา จักเป็นคู่อันเจริญเลิศ แล้วทรงแสดงธรรมตามจริยาแห่ง บริษัทของคนทั้งสองนั้น ให้ดำรงอยู่ในพระอรหัต แล้วได้ประทาน อุปสมบทด้วยความเป็นเอหิภิกขุ บาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยฤทธิ์ได้มา แม้แก่พระอัครสาวก เหมือนมาแก่ภิกษุเหล่านั้น แต่กิจแห่งมรรคสาม เบื้องบนของพระอัครสาวกยังไม่สำเร็จ เพราะเหตุไร? เพราะสาวกบารมีญาณเป็นคุณยิ่งใหญ่.

บรรดาพระอัครสาวกนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ในวันที่ ๗ แต่บวชแล้วกระทำสมณธรรมอยู่ที่บ้านกัลลวาลคาม ในมคธรัฐ เมื่อถีนมิทธะก้าวลงอยู่ อันพระศาสดาให้สังเวชแล้ว บรรเทาถีนมิทธะ (ความ


ความคิดเห็น 38    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 436

โงกง่วง) ได้ กำลังฟังธาตุกรรมฐานอยู่ทีเดียว ได้บรรลุมรรคเบื้องบน ทั้ง ๓ ถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ.

ท่านพระสารีบุตรล่วงไปได้กึ่งเดือนแต่การบรรพชา อยู่ในถ้ำสุกร๑- ขตะ ในกรุงราชคฤห์กับพระศาสดา เมื่อพระศาสดาทรงแสดงเวทนา แนวแห่งปริคคหสูตร แเก่ทีฆนขปริพาชกผู้เป็นหลานของตน ส่งญาณ ไปตามพระธรรมเทศนา จึงถึงที่สุดแห่งสาวกบารมีญาณ เหมือนบุคคล บริโภคภัตที่เขาคดมาเพื่อผู้อื่นฉะนั้น ดังนั้น สาวกบารมีญาณของพระอัครสาวกทั้งสองได้ถึงที่สุดในที่ใกล้พระศาสดาทีเดียว.

ท่านพระสารีบุตรบรรลุสาวกบารมีญาณอย่างนี้แล้วจึงรำพึงว่า สมบัตินี้เราได้ด้วยกรรมอะไร ได้รู้กรรมนั้นแล้ว เมื่อจะเปล่งอุทานด้วย อำนาจความปีติโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า หิมวนฺตสฺส อวิทูเร ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า

ในที่ไม่ไกลหิมวันตประเทศ มีภูเขาชื่อลัมพกะ เราสร้าง อาศรมไว้อย่างดี (และ) สร้างบรรณศาลาไว้อย่างดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า หิมวนฺตสฺส ความว่า ที่ชื่อว่า หิมวา เพราะประเทศนั้นมีหิมะ, ในที่ไม่ไกล คือในที่ใกล้หิมวันตประเทศนั้น อธิบายว่า ในป่าอันเนื่องกับเขาหิมาลัย.

บทว่า ลมฺพโก นาม ปพฺพโต ความว่า ภูเขาเจือด้วยดินร่วน อันมีชื่ออย่างนั้น.

บทว่า อสฺสโม สุกโต มยฺหํ ความว่า อาศรม คืออรัญวาส ที่ทำไว้เพื่อเรา คือเพื่อประโยชน์แก่เรา ณ ที่ภูเขาชื่อลัมพกะนั้น ชื่อว่า อาศรม เพราะสงบเงียบโดยทั่วไป คือโดยรอบ. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า


๑. ที่ปรากฏโดยมากกว่า สุกรขาตา.


ความคิดเห็น 39    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 437

อาศรม เพราะเป็นที่ไม่มีความดิ้นรน คือความกระวนกระวาย แก่ผู้เข้า ไปแล้ว, อรัญวาสอันเป็นอย่างนี้ เราทำไว้ดีแล้ว. อธิบายว่า สร้างไว้ ด้วยอาการอันดี เช่นที่พักกลางคืน ที่พักกลางวัน กุฎี และปะรำเป็นต้น.

บทว่า ปณฺณสาลา ได้แก่ บรรณศาลาสำหรับเป็นที่อาศัยอยู่ มุง ด้วยใบไม้มีแฝกและหญ้าปล้องเป็นต้น.

แม่น้ำมีฝั่งตื้น มีท่าดี เป็นที่รื่นรมย์ใจ เกลื่อนกล่นด้วย ทรายขาวสะอาด มีอยู่ไม่ไกลอาศรมของเรา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุตฺตานกูลา ได้แก่ แม่น้ำไม่ลึก.

บทว่า สุปติตฺถา แปลว่า มีท่าดี.

บทว่า มโนรมา ได้แก่ ประทับใจ คือเป็นที่ยังใจให้เอิบอาบ,

บทว่า สุสุทฺธปุลินากิณฺณา ได้แก่ เกลื่อนกลาดด้วยทราย ปาน ประหนึ่งว่ากลีบแก้วมุกดาขาวดี อธิบายว่า เป็นต้องทราย.

อธิบายว่า แม่น้ำคือแม่น้ำน้อยที่เป็นอย่างนี้นั้น ได้มีอยู่ในที่ไม่ไกล คือในที่ใกล้อาศรมของเรา. ก็บทว่า อสฺสมํ พึงทราบว่า เป็นทุติยาวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.

ที่ใกล้อาศรมของเรานั้น มีแม่น้ำไม่มีก้อนกรวด ตลิ่งไม่ ชัน น้ำจืดสนิท ไม่มีกลิ่นเหม็น ไหลไป ทำให้อาศรมของ เรางาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสกฺขรา ความว่า ชื่อว่าไม่มีกรวด คือเว้นจากกรวด เพราะท่านกล่าวว่า เกลื่อนกลาดด้วยทราย.

บทว่า อปพฺภารา แปลว่า เว้นจากเงื้อม อธิบายว่า ฝั่งไม่ลึก.

บทว่า สาทุ อปฺปฏิคนฺธิกา ความว่า แม่น้ำ คือแม่น้ำน้อย มีน้ำ


ความคิดเห็น 40    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 438

มีรสอร่อย เว้นจากกลิ่นเหม็น ไหลไป คือเป็นไป ทำอาศรมบทของเรา ให้งาม.

ฝูงจระเข้ มังกร ปลาร้าย และเต่าว่ายน้ำเล่นอยู่ในแม่น้ำ นั้น แม่น้ำไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า จระเข้ มังกร ปลาฉลาม คือปลาร้าย และเต่า ได้เล่นอยู่ในแม่น้ำนี้. เชื่อมความว่า แม่น้ำ คือแม่น้ำน้อยไหล คือไหลไป ทำให้อาศรมของเรางาม.

ฝูงปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา ตะเพียน ปลานกกระจอก ว่ายโลดโดดอยู่ ย่อมทำให้ อาศรมของเรางาม.

อธิบายว่า ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา ตะเพียน และปลานกกระจอก มัจฉาชาติทั้งหมดนี้ โดดไปข้างโน้นข้าง นี้ คือไหลไปกับแม่น้ำ ทำให้อาศรมบทของเรางาม.

ที่สองฝั่งแม่น้ำ มีหมู่ไม้ดอก หมู่ไม้ผล ห้อยย้อยอยู่ ทั้งสองฝั่ง ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุโภ กูเลสุ ความว่า ที่ข้างทั้งสอง ของแม่น้ำนั้น มีต้นไม้ที่มีดอกประจำ มีผลประจำ ห้อยอยู่ทั้งสองฝั่ง คือน้อมลงเบื้องล้างที่ฝั่งทั้งสองของแม่น้ำ ย่อมทำให้อาศรมของเรางาม.

ไม้มะม่วง ไม้รัง หมากเม่า แคฝอย ไม้ย่างทราย บานอยู่เป็นนิจ มีกลิ่นหอมดุจกลิ่นทิพย์ ฟุ้งตลบไปในอาศรม ของเรา.


ความคิดเห็น 41    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 439

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อมฺพา เป็นต้น ความว่า มะม่วงเป็น พวงมีรสหวานอร่อย ต้นรัง ต้นหมากเม่า ต้นแคฝอย ต้นย่างทราย ต้นไม้ เหล่านี้ มีดอกบานอยู่เป็นนิจ. มีกลิ่นหอมเหมือนกลิ่นทิพย์ ฟุ้ง คือฟุ้ง ตลบไปรอบๆ อาศรมของเรา.

ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่ม กากะทิง บุนนาค และลำเจียก บานสะพรั่งมีกลิ่นหอมดังกลิ่นทิพย์ ฟุ้งไปใน อาศรมของเรา.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า ไม้จำปา ไม้อ้อยช้าง ไม้กระทุ่มมีดอก เหมือนวงกลมทองคำ ไม้กากะทิง ไม้บุนนาค และไม้ลำเจียกหอม ไม้ ทั้งหมดนี้ มีดอกบาน คือบานสะพรั่ง กลิ่นตลบ คือส่งกลิ่นหอมฟุ้งไป ในอาศรมของเรา เหมือนกลิ่นทิพย์.

ต้นลำดวน ต้นอโศก ต้นกุหลาบ ไม้ปรู และไม้มะกล่ำ หลวง มีดอกบานสะพรั่งอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ต้นลำดวนดอกบาน ต้นอโศกดอก บาน ต้นกุหลาบดอกบาน ต้นปรูดอกบาน และมะกล่ำหลวงดอกบาน ไม้เหล่านี้บานสะพรั่งงดงามอยู่ใกล้อาศรมของเรา.

การะเกด พะยอมขาว พิกุล และมะลิซ้อน ส่งกลิ่นหอม อบอวล ทำอาศรมของเราให้งดงาม.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เกตกา ได้แก่ กอสุคนธการะเกด. อธิบายว่า ต้นพะยอมขาว พิกุล กอมะลิซ้อน รุกขชาติทั้งหมดนี้ส่งกลิ่น หอมตลบ ทำให้อาศรมของเรางามไปทั่ว.


ความคิดเห็น 42    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 440

ไม้เจตพังคี ไม้กรรณิการ์ ไม้ประดู่ และไม้อัญชันเป็น อันมาก ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำให้อาศรมของเรางาม.

เชื่อมความว่า ไม้ทั้งหลายมีเจตพังคีเป็นต้นเหล่านี้ ทำอาศรมของ เราให้งามไปทั่ว ส่งกลิ่นหอมอบอวลอยู่.

บุนนาค บุนนาคเขา และต้นโกวิฬาร์ (ไม้สวรรค์) ดอก บานสะพรั่ง หอมตลบอบอวล ทำอาศรมของเราให้งาม.

อธิบายว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีบุนนาคเป็นต้น ส่งกลิ่นหอมตลบ ทำ ให้อาศรมของเรางาม.

ไม้ราชพฤกษ์ อัญชันเขียว ไม้กระทุ่ม และพิกุล มีมาก ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง ทำอาศรมของเราให้งาม.

เชื่อมความว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นราชพฤกษ์เป็นต้น ส่งกลิ่นหอม ตลบ ทำให้อาศรมของเรางาม.

ถั่วดำ ถั่วเหลือง กล้วย และมะกรูด เจริญเติบโตด้วย น้ำหอม ออกผลสะพรั่ง.

ในคาถานั้น มีใจความว่า พุ่มถั่วดำเป็นต้นเหล่านี้ เจริญเติบโต ด้วยน้ำหอมแห่งเครื่องหอมมีจันทน์เป็นต้น ทรงผลดุจทอง ทำให้อาศรม ของเรางดงาม.

ปทุมอย่างหนึ่งบาน ปทุมอย่างหนึ่งกำลังเกิด ปทุมอย่าง หนึ่งดอกร่วง บานอยู่ในบึงในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อญฺเ ปุปฺผนฺติ ปทุมา ความว่า ใน บึง ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา ปทุมอย่างหนึ่ง คือบางพวกบาน ปทุม


ความคิดเห็น 43    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 441

บางพวกเกิดอยู่ คือบังเกิดอยู่ ปทุมบางพวกมีดอกร่วง คือมีเกสรใน กลีบโรยไป.

ปทุมกำลังเผล็ดดอกตูม เหง้าบัวไหลไป กระจับเกลื่อน ด้วยใบ งามอยู่ในบึง ในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า คพฺภํ คณฺหนฺติ ปทุมา ความว่า ใน กาลนั้น คือในสมัยที่เราเป็นดาบสอยู่ ปทุมบางเหล่ากำลังเผล็ดดอกตูมอยู่ ในภายในบึง เหง้าบัว คือรากปทุม กำลังไหลไป คือไหลไปจากภายใน เปือกตมนี้เหมือนงาช้าง. ความว่า กระจับทั้งหลายเป็นกอ ดาดาษด้วย ใบและดอก งดงามอยู่.

ไม้ตาเสือ จงกลนี ไม้อุตตรี และชบา บานอยู่ในบึง ส่งกลิ่นหอมตลบอยู่ในกาลนั้น.

อธิบายความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยที่เราอยู่ ณ ที่ใกล้บึง กอตาเสือ กอจงกลนี กอชื่ออุตตรี และกอชบา กอไม้ทั้งหมดนี้บาน คือ ออกดอก พาเอากลิ่นหอมมา ทำบึงให้งดงาม.

ปลาสลาด ปลากระบอก ปลาสวาย ปลาเค้า ปลา ตะเพียน ปลาสังกุลา และปลารำพัน ย่อมอยู่ในบึง ใน กาลนั้น.

เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยที่เราอยู่ หมู่ปลามีปลาสลาด เป็นต้น ไม่กลัวย่อมอยู่ในบึง.

ฝูงจระเข้ ปลาฉลาม ปลาฉนาก ผีเสื้อน้ำ เต่า และงู เหลือม ย่อมอยู่ในบึง ในกาลนั้น.


ความคิดเห็น 44    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 442

เชื่อมความว่า ในกาลนั้น คือในสมัยที่เราอยู่ ฝูงปลามีจระเข้เป็นต้น เหล่านั้น ไม่กลัว ไม่มีอันตราย ย่อมอยู่ในบึง ใกล้อาศรมของเรา.

ฝูงนกคับแค นกเป็ดน้ำ นกจากพรากที่เที่ยวไปในน้ำ นกดุเหว่า นกแขกเต้า และนกสาลิกา ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิต อยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า นกคับแค นกเป็ดน้ำ นกจากพราก ที่เที่ยวไปในน้ำ นกดุเหว่า นกแขกเต้า และนกสาลิกา อาศัยสระใกล้ อาศรมของเรา คือเข้าไปอาศัยสระนั้นเป็นอยู่.

ฝูงนกกวัก ไก่ฟ้า นกกะลิงป่า นกต้อยตีวิด นกแขกเต้า ย่อมอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุกุตฺถกา ได้แก่ นกที่มีชื่ออย่างนั้น บทว่า กุฬีรกา ได้แก่ นกที่มีชื่ออย่างนั้น. เชื่อมความว่า นกกะลิงป่า นกต้อยตีวิด และนกแขกเต้า นกทั้งหมดนี้ ย่อมอาศัยสระใกล้อาศรม ของเรานั้นเป็นอยู่.

ฝูงหงส์ นกกระเรียน นกยูง นกดุเหว่า ไก่ นกค้อนหอย นกโพระดก ย่อมอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

อธิบายว่า ฝูงนกมีหงส์เป็นต้นเหล่านี้ทั้งหมด เข้าไปอาศัยสระนั้น เป็นอยู่ คือเลี้ยงชีวิตอยู่.

ฝูงนกแสก นกหัวขวาน นกเขาเหยี่ยว และนกกาน้ำ นกมากมาย เข้าไปอาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานั้น มีอธิบายว่า นกแสก นกหัวขวาน นกเขา นกเหยี่ยว


ความคิดเห็น 45    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 443

และนกกาน้ำ นกมากมายบนบก ย่อมเป็นอยู่ คือสำเร็จความเป็นอยู่ ณ สระนั้น คือ ณ ที่ใกล้สระนั้น.

เนื้อฟาน หมู จามรี กวาง ละมั่ง เนื้อทราย เป็น อันมาก เลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานั้น มีใจความว่า มฤคเหล่านั้นมีเนื้อฟานเป็นต้น เลี้ยง ชีวิตอยู่ ณ สระนั้น คือใกล้สระนั้น. ทุติยาวิภัตติใช้ในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ.

ราชสีห์ เสือโคร่ง เสือเหลือง หมู หมาใน เสือดาว โขลงช้าง แยกกันเป็น ๓ พวก อาศัยเลี้ยงชีวิตอยู่ใกล้สระ นั้น.

เชื่อมความว่า สัตว์จตุบทมีสีหะเป็นต้นเหล่านี้ เว้นจากอันตราย เป็นอยู่ใกล้สระนั้น.

พวกกินนร วานร คนทำงานในป่า สุนัขไล่เนื้อ และ นายพราน ย่อมอาศัยเป็นอยู่ใกล้สระนั้น.

ในคาถานี้ มีความหมายว่า สัตว์เหล่านี้มีกินนรเป็นต้นซึ่งมีชื่อ อย่างนี้ ย่อมอยู่ใกล้สระนั้น.

มะพลับ มะหาด มะซาง หมากเม่า เผล็ดผลอยู่เป็น นิจ ในที่ไม่ไกลจากอาศรมของเรา.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ไม้ทั้งหลายมีมะพลับเป็นต้นเหล่านี้ เผล็ดผลมีรสอร่อย ในที่ไม่ไกลจากอาศรมของเรา ตลอดกาลทั้ง ๓ คือ ฤดูหนาว ฤดูร้อน และฤดูฝน เป็นประจำ.


ความคิดเห็น 46    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 444

ต้นคำ ต้นสน ต้นสะเดา สะพรั่งด้วยผลมีรสหวาน เผล็ดผลเป็นประจำอยู่ในที่ไม่ไกลอาศรมของเรา.

ในคาถานั้น มีความว่า ต้นไม้ทั้งหลายมีต้นคำเป็นต้นเหล่านี้ มี ผลเป็นสำคัญ มีผลอร่อย มีผลอันอุดมมาร่วมกัน คือประกอบพร้อมดี ได้แก่ สะพรั่งพร้อม เผล็ดผลเป็นประจำ งดงามอยู่ในที่ใกล้อาศรมของเรา.

ต้นสมอ มะขามป้อม มะม่วง หว้า สมอพิเภก กระเบา ไม้รกฟ้า และมะตูม ต้นไม้เหล่านั้นเผล็ดผลอยู่.

เชื่อมความว่า ต้นไม้มีสมอเป็นต้นเหล่านั้น เกิดอยู่ในที่ใกล้อาศรม ของเรา เผล็ดผลอยู่เป็นนิจ.

เหง้ามัน มันอ้อน นมแมว มันนก กะเม็ง และคัดมอน มีอยู่มากมายใกล้อาศรมของเรา.

เชื่อมความว่า มูลผลทั้งหลายมีเหง้ามันเป็นต้นเหล่านี้ หวาน มีรส อร่อย มีอยู่เป็นอันมาก ณ ที่ใกล้อาศรมของเรา.

ณ ที่ไม่ไกลอาศรมของเรา มีสระน้ำสร้างไว้ดีแล้ว มีน้ำ ใสเย็น มีท่าน้ำราบเรียบ เป็นที่รื่นรมย์ใจ.

ในคาถานั้น มีความว่า ในที่ไม่ไกลอาศรม คือในที่ใกล้อาศรม ได้มีสระน้ำสร้างไว้ดีแล้ว คือเขาสร้างให้ควรแก่การขึ้นและการลงด้วยดี มีน้ำใส คือมีน้ำใสแจ๋ว น้ำเย็น มีท่าราบเรียบ คือมีท่าดี เป็นที่รื่นรมย์ ใจ คือกระทำความโสมนัสให้.

ดารดาษด้วยปทุมและอุบล สะพรั่งด้วยบุณฑริก ปกคลุม ด้วยบัวขมและเผื่อน กลิ่นหอมตลบไป.

ในคาถานั้น มีความว่า สระทั้งหลายดารดาษ คือบริบูรณ์ด้วย


ความคิดเห็น 47    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 445

ปทุมบัวหลวง และอุบลบัวขาว ประกอบคือสะพรั่งด้วยบุณฑริกบัวขาว เกลื่อนกลาด คือเป็นกลุ่มๆ ด้วยบัวขมและบัวเผื่อน กลิ่นหอมฟุ้งตลบ คือฟุ้งไปรอบด้าน.

ในกาลนั้น เราอยู่ในอาศรมที่สร้างไว้อย่างดี น่ารื่นรมย์ ในป่าที่มีดอกไม้บาน สมบูรณ์ด้วยองค์ประกอบทั้งมวลอย่างนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวํ สพฺพงคสมฺปนฺเน ความว่า ใน กาลนั้น คือในกาลเป็นดาบสอยู่ในอาศรม คือในอรัญวาส อันน่ารื่นรมย์ ที่สร้างอย่างดี ในป่าอันเป็นชัฏด้วยไม้ดอกและไม้ผล สมบูรณ์ คือบริบูรณ์ ด้วยองค์ประกอบมีแม่น้ำเป็นต้นทุกชนิด.

พระดาบสครั้นแสดงสมบัติแห่งอาศรมของตน ด้วยลำดับคำมี ประมาณเท่านี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงคุณสมบัติมีศีลเป็นต้นของตน จึง กล่าวว่า

ในกาลนั้น เราเป็นดาบสชื่อสุรุจิ มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร เพ่งฌาน ยินดีในฌาน บรรลุอภิญญาพละ ๕.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สีลวา ความว่า สมบูรณ์ด้วยศีล ๕ เช่นปาริสุทธิศีล ๔ อันประกอบพร้อมด้วยฌาน.

บทว่า วตฺตสมฺปนฺนา ความว่า บริบูรณ์ด้วยการสมาทานวัตรว่า ตั้งแต่นี้ไป เราจักไม่เสพฆราวาสและกามคุณ ๕.

บทว่า ฌายี ได้แก่ ผู้มีปกติเพ่ง คือมีการเพ่งเป็นปกติ ด้วย ลักขณูปนิชฌาน และอารัมมณูปนิชฌาน.

บทว่า ฌานรโต ความว่า ยินดีแล้ว คือเร้นอยู่ ได้แก่ สมบูรณ์ อยู่ทุกเมื่อในฌานทั้งหลายเหล่านี้.


ความคิดเห็น 48    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 446

บทว่า ปญฺจาภิญฺาพลสมฺปนฺโน ความว่า สมบูรณ์ด้วยพละ อธิบายว่า บริบูรณ์ด้วยอภิญญา คือปัญญาพิเศษ ๕ ประการ คือออิทธิวิธะ แสดงฤทธิ์ได้ ทิพพโสตะ หูทิพย์ ปรจิตตวิชานนะ รู้ใจคนอื่น ปุพพนิวาสานุสสติ ระลึกชาติก่อนได้ ทิพพจักขุ ตาทิพย์. เชื่อมความว่า เรา เป็นดาบส โดยชื่อว่า สุรุจิ อยู่.

ครั้นแสดงคุณสมบัติของตนด้วยคำมีประมาณเท่านี้แล้ว เมื่อจะ แสดงปริสสมบัติ คือความสมบูรณ์ด้วยบริษัท จึงกล่าวคำมีอาทิว่า

ศิษย์ของเราทั้งหมดนี้ เป็นพราหมณ์ ๒๔,๐๐๐ คน มีชาติ มียศ บำรุงเราอยู่.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ศิษย์ของเราทั้งหมดนี้ เป็นพราหมณ์ ๒๔,๐๐๐ คน มีชาติ คือสมบูรณ์ด้วยชาติกำเนิด มียศ คือสมบูรณ์ด้วย บริวารบำรุงเราอยู่.

มวลศิษย์ของเรานี้ เป็นผู้เข้าใจตัวบท เข้าใจไวยากรณ์ ในตำราทำนายลักษณะ และในคัมภีร์อิติหาสะ พร้อมทั้ง คัมภีร์นิฆัณฑุและคัมภีร์เกฏุภะ ถึงความเต็มเปี่ยมในธรรม ของตน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ลกฺขเณ ได้แก่ ในตำราทำนายลักษณะ. ย่อมรู้ลักษณะของสตรีและบุรุษชาวโลกีย์ทั้งปวงว่า ผู้ประกอบด้วยลักษณะ เหล่านี้ จะมีทุกข์ ผู้ประกอบด้วยลักษณะเหล่านี้จะมีสุข. ตำราอัน ประกาศลักษณะนั้น ชื่อว่า ลักขณะ. ในตำราทายลักษณะนั้น.

บทว่า อิติหาเส ได้แก่ ในทำราอันแสดงเฉพาะคำที่พูดว่า เรื่องนี้ เป็นแล้วอย่างนี้ เรื่องนี้เป็นแล้วอย่างนี้. เชื่อมความว่า ถึงความเต็มเปี่ยม คือที่สุดในตำราทายลักษณะ และตำราอิติหาสะ.


ความคิดเห็น 49    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 447

ตำราอันประกาศชื่อต้นไม้และภูเขาเป็นต้น เรียกว่า นิฆัณฑุ.

บทว่า เกฏุเภ ได้แก่ ตำราว่าด้วยการกำหนดใช้คำกิริยา อันเป็น อุปการะแก่กวีทั้งหลาย. ชื่อว่า สนิฆัณฑุ เพราะเป็นไปกับด้วยคัมภีร์ นิฆัณฑุ. ชื่อว่า สเกฏุกะ เพราะเป็นไปกับด้วยคัมภีร์เกฏุภะ, เชื่อม ความว่า ถึงความสำเร็จในไตรเพทอันเป็นไปกับด้วยคัมภีร์นิฆัณฑุและ เกฏุภะนั้น.

บทว่า ปทกา ได้แก่ ผู้ฉลาดในบทนาม สมาส ตัทธิต อาขยาต และกิตก์เป็นต้น.

บทว่า เวยฺยากรณา ได้แก่ ผู้ฉลาดในพยากรณ์มีจันทปาณินียกลาปะ เป็นต้น.

อธิบายว่า สธมฺเม ปารมึ คตา ความว่า ถึง คือบรรลุความเต็มเปี่ยม คือที่สุดในธรรมของตน คือในธรรมของพราหมณ์ ได้แก่ ไตรเพท.

ศิษย์ทั้งหลายของเรา เป็นผู้ฉลาดในลางดีร้าย ในนิมิต และในลักษณะ ศึกษาดีแล้วในแผ่นดิน พื้นที่และอากาศ.

พึงทราบวินิจฉัยในคาถานั้นต่อไป :- เป็นผู้ฉลาด คือเฉลียวฉลาด ในลางดีร้ายมีอุกกาบาต คือดวงไฟตกและแผ่นดินไหวเป็นต้น ในนิมิต ดีและนิมิตร้าย และในอิตถีลักษณะ ปุริสลักษณะ และมหาปุริสลักษณะ.

ศิษย์ทั้งหลายของเราศึกษาดีแล้วในสิ่งทั้งปวง คือในแผ่นดิน ใน พื้นที่ และในกลางหาว คืออากาศ.

ศิษย์เหล่านี้เป็นผู้มักน้อย มีปัญญา มีอาหารน้อย ไม่ โลภ สันโดษด้วยลาภและความเสื่อมลาภ ห้อมล้อมเราอยู่ ทุกเมื่อ.


ความคิดเห็น 50    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 448

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปิจฺฉา ได้แก่ ผู้ยังอัตภาพให้เป็น ไปด้วยอาหารแม้มีประมาณน้อย.

บทว่า นิปกา คือ เป็นผู้ประกอบด้วยปัญญา กล่าวคือปัญญาเครื่อง รักษาตน.

บทว่า อปฺปาหารา ได้แก่ มีอาหารมื้อเดียว อธิบายว่า บริโภค ภัตมื้อเดียว.

บทว่า อโลลุปา ได้แก่ เป็นผู้ไม่เป็นไปด้วยตัณหาคือความอยาก.

บทว่า ลาภาลาเภน ความว่า ศิษย์ทั้งหลายของเราเหล่านี้สันโดษ คือมีความพอใจด้วยลาภ และความไม่มีลาภ ห้อมล้อม คือบำรุงเราอยู่ ทุกเมื่อ คือเป็นนิตยกาล.

(ศิษย์ของเรา) เป็นผู้เพ่งฌาน ยินดีในฌาน เป็นนักปราชญ์ มีจิตสงบ มีใจตั้งมั่น ปรารถนาความไม่มีกังวล ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฌายี คือ ประกอบด้วยลักขณูปนิชฌาน และในอารัมมณูปนิชฌาน. อีกอย่างหนึ่ง แปลว่า ผู้มีปกติเพ่ง.

บทว่า ฌานรตา ได้แก่ เป็นผู้ยินดี คือแนบแน่นในฌานเหล่านั้น.

บทว่า ธีรา ได้แก่ ผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา เครื่องทรงจำ.

บทว่า สนฺตจิตฺตา แปลว่า ผู้มีใจสงบ.

บทว่า สมาหิตา ได้แก่ ผู้มีจิตแน่วแน่.

บทว่า อากิญฺจญฺํ ได้แก่ ความเป็นผู้ไม่มีปลิโพธกังวล.

บทว่า ปตฺถยนฺตา แปลว่า ปรารถนาอยู่. เชื่อมความว่า ศิษย์ ทั้งหลายของเราถึงซึ่งความเป็นอย่างนี้ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.


ความคิดเห็น 51    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 449

(ศิษย์ของเรา) บรรลุอภิญญาบารมี คือความยอดเยี่ยม แห่งอภิญญา ยินดีในโคจร คืออาหารอันเป็นของมีอยู่ของ บิดา ท่องเที่ยวไปในอากาศ มีปัญญา ห้อมล้อมเราอยู่ ทุกเมื่อ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิญฺาปารมิปฺปตฺตา ความว่า บรรลุ ความเต็มเปี่ยม คือที่สุดในอภิญญา ๕ ได้แก่ ทำให้บริบูรณ์แล้ว.

บทว่า เปตฺติเก โคจเร รตา ความว่า ยินดีแล้วในอาหารที่ได้ด้วย การไม่วิญญัติ คือการไม่ขอ อันเป็นพุทธานุญาต.

บทว่า อนฺตลิกฺขจรา ความว่า ไปและมาทางห้วงเวหา คือ อากาศ.

บทว่า ธีรา ความว่า เป็นผู้มั่นคง คือมีสภาวะไม่หวั่นไหวใน อันตรายมีสีหะ และพยัคฆ์เป็นต้น. อธิบายความว่า หมู่ดาบสของเรา เป็นแล้วอย่างนี้ ห้อมล้อมเราอยู่ทุกเมื่อ.

หมู่ศิษย์ของเราเหล่านั้นสำรวมทวาร ๖ ไม่หวั่นไหว รักษาอินทรีย์ ไม่คลุกคลี เป็นนักปราชญ์ หาผู้ทัดเทียม ได้ยาก.

ในคาถานั้น มีความว่า สำรวมแล้ว คือกั้นแล้ว ได้แก่ปิดแล้ว ในทวาร ๖ มีจักขุทวารเป็นต้น และในอารมณ์ ๖ มีรูปารมณ์เป็นต้น อธิบายว่า เป็นผู้รักษาและคุ้มครองทวาร.

บทว่า ทุราสทา แปลว่า เข้าถึงยาก อธิบายว่า ไม่อาจ คือไม่ สมควรเข้าไปใกล้ คือกระทบกระทั่ง.


ความคิดเห็น 52    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 450

ศิษย์ของเราเหล่านั้นหาผู้ทัดเทียมได้ยาก ยับยั้งอยู่ตลอด ราตรี ด้วยการนั่งคู้บัลลังก์ ด้วยการยืน และการจงกรม.

ในคาถานั้น เชื่อมความว่า ศิษย์ทั้งหลายของเรายังราตรีทั้งสิ้นให้ น้อมล่วงไป คือให้ก้าวล่วงไปโดยพิเศษ ด้วยการนั่งคู้บัลลังก์ คือนั่ง ให้ขาอ่อนเนื่องกัน เว้นการนอน ด้วยการยืน และด้วยการจงกรม.

ศิษย์ทั้งหลายของเราเข้าใกล้ได้ยาก ไม่กำหนัดในอารมณ์ เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ไม่ขัดเคืองในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่ง ความขัดเคือง ไม่หลงในอารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งความหลง.

อธิบายความในคาถานั้นว่า หมู่ศิษย์ของเรา คือดาบสเหล่านั้น ถึงซึ่งอาการอย่างนี้ ย่อมไม่กำหนัดคือไม่ทำความกำหนัดให้เกิดขึ้นใน วัตถุอันน่ากำหนัด คืออันควรกำหนัด, ไม่ขัดเคือง คือไม่ทำความขัดเคือง ในวัตถุที่น่าขัดเคือง คือควรขัดเคือง ได้แก่ ควรทำความขัดเคืองให้ เกิดขึ้น, ไม่หลง คือไม่ทำความหลงในวัตถุอันน่าหลง คือควรให้หลง อธิบายว่า เป็นผู้ประกอบพร้อมด้วยปัญญา.

ศิษย์เหล่านั้นทดลองการแผลงฤทธิ์ ประพฤติอยู่ตลอด กาลเป็นนิจ ศิษย์เหล่านั้นทำแผ่นดินให้ไหว ยากที่ใครจะ แข่งได้.

เชื่อมความว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้น ทดลองประพฤติอยู่เป็น นิตยกาล ซึ่งการแผลงฤทธิ์ มีอาทิว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลาย คนเป็นคนเดียวก็ได้.

อธิบายว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นนิรมิตแผ่นดินในอากาศบ้าง ใน น้ำบ้าง แล้วทำอิริยาบถให้สั่นไหว.


ความคิดเห็น 53    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 451

อธิบาย (บท สารมฺเภน) ว่า อันใครๆ ไม่พึงได้ด้วยการแข่งดี คือด้วยการถือเอาเป็นคู่ คือด้วยการกระทำการทะเลาะ.

ศิษย์ของเราเหล่านั้น เมื่อจะเล่นย่อมเล่นฌาน ไปนำ เอาผลหว้าจากต้นหว้ามา หาผู้เข้าถึงได้ยาก.

อธิบายว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นเมื่อเล่นกีฬา คือเล่น ได้แก่ ยินดี การเล่นปฐมฌานเป็นต้น.

บทว่า ชมฺพุโต ผลมาเนนฺติ ความว่า ไปด้วยฤทธิ์แล้วนำเอา มาซึ่งผลหว้าประมาณเท่าหม้อ จากต้นหว้าสูงร้อยโยชน์ ในหิมวันตประเทศ.

ศิษย์พวกหนึ่งไปอปรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปปุพพวิเทหทวีป พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป ศิษย์เหล่านั้นไม่มีผู้ทัดเทียม ด้วยการแสวงหา.

เชื่อมความในคาถาว่า ระหว่างศิษย์ของเราเหล่านั้น ศิษย์อื่นคือ พวกหนึ่งไปทวีปโคยาน คืออปรโคยานทวีป พวกหนึ่งไปปุพพวิเทหทวีป พวกหนึ่งไปอุตตรกุรุทวีป, ศิษย์เหล่านั้นหาผู้เข้าถึงได้ยาก ย่อมไปหา คือแสวงหา ได้แก่แสวงหาปัจจัยในสถานที่เหล่านี้.

ศิษย์เหล่านั้นส่งหาบไปข้างหน้า ส่วนตนเองไปข้างหลัง ท้องฟ้าถูกดาบส ๒๔,๐๐๐ บดบังไว้.

ความในคาถาว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นเมื่อไปทางอากาศ ส่งหาบ คือกระเช้าอันเต็มด้วยบริขารดาบส ก็ครั้นส่งหาบนั้นไปข้างหน้าก่อนแล้ว ตนเองไปข้างหลังหาบนั้น.


ความคิดเห็น 54    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 452

เชื่อมความ (ในบาทคาถาต่อมา) ว่า ท้องฟ้าคือพื้นอากาศมี ดาบส ๒๔,๐๐๐ ผู้ไปอยู่อย่างนั้น บดบังไว้ คือปิดบังไว้.

ศิษย์บางพวกปิ้งให้สุกด้วยไฟ บางพวกกินดิบๆ บาง พวกเอาฟันแทะกิน บางพวกซ้อมด้วยครกกิน บางพวกทุบ ด้วยหินกิน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง.

ในคาถานั้น มีการเชื่อมความว่า ศิษย์ของเราบางเหล่าคือบางพวก ปิ้งไฟ คือเผาผลาผลและผักเป็นต้นแล้วจึงกิน, บางพวกไม่ปิ้งไฟ คือไม่ปิ้งให้สุกด้วยไฟ กินทั้งดิบๆ. บางพวกเอาฟันนั่นแหละแทะ เปลือกกิน. บางพวกตำด้วยครก คือใช้ครกตำกิน บางพวกทุบด้วยหิน คือเอาหินทุบกิน บางพวกกินผลไม้ที่หล่นเอง.

ศิษย์ของเราบางพวกชอบสะอาด ลงอาบน้ำทั้งเช้าและ เย็น บางพวกเอาน้ำราดรดตัว หาผู้เข้าถึงได้ยาก.

ความของคาถาว่า ศิษย์ทั้งหลายของเราหาผู้เข้าถึงได้ยาก บางพวก ชอบสะอาด คือต้องการความบริสุทธิ์ ลงอาบน้ำ คือเข้าไปในน้ำทั้งเช้า และเย็น.

บางพวกเอาน้ำราดรดตัว อธิบายว่า ทำการรดที่ตัวด้วยน้ำ.

ศิษย์ทั้งหลายของเราหาผู้ทัดเทียมมิได้ ปล่อยเล็บมือ เล็บเท้าและขนรักแร้งอกยาว ขี้ฟันเขลอะ มีธุลีบนเศียร แต่ หอมด้วยกลิ่นศีล.

ความในคาถามันว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นหาผู้ทัดเทียมมิได้ มีเล็บ และขนยาวงอกคือเกิดที่รักแร้ทั้งสอง และที่มือและเท้า, อธิบายว่า ไม่ ประดับไม่ตกแต่ง เพราะเว้นจากขุรกรรม คือโกนด้วยมีดโกน.


ความคิดเห็น 55    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 453

บทว่า ปงฺกทนฺตา ความว่า มีมลทินจับที่ฟัน เพราะไม่ได้กระทำ ให้ขาวด้วยผงอิฐหรือผงหินน้ำนม.

บทว่า รชสฺสิรา ได้แก่ มีศีรษะเปื้อนธุลี เพราะเว้นจากการ ทาน้ำมันเป็นต้น.

บทว่า คนฺธิตา สีลคนฺเธน ความว่า เป็นผู้มีกลิ่นหอมไปในที่ ทุกแห่งด้วยกลิ่นโลกียศีล เพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลอันประกอบด้วย ฌาน สมาธิ และสมาบัติทั้งหลาย.

ในบทว่า มม สิสฺสา ทุราสทา มีความว่า ศิษย์ทั้งหลายของเรา ใครๆ ไม่อาจเข้าถึง คือกระทบได้ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณมี ประการดังกล่าวแล้วนี้.

ชฏิลทั้งหลายมีตบะแรงกล้า ประชุมกันเวลาเช้าแล้วไป ประกาศลาภน้อยลาภมากในท้องฟ้าในกาลนั้น.

บรรดาบทเหล่านั้น ในบทว่า ปาโตว สนฺนิปติตฺวา นี้ โต ปัจจัยลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ อธิบายว่า เป็นหมวดหมู่กันอยู่ใน สำนักของเราในเวลาเช้าตรู่ทีเดียว.

ชฎิล คือดาบสผู้สวมชฏา มีตบะกล้า คือมีตบะปรากฏ ได้แก่ มีตบะแผ่ไปแล้ว.

เชื่อมความในตอนนี้ว่า ชฎิลทั้งหลายประกาศลาภน้อยลาภใหญ่ คือกระทำลาภเล็กและลาภใหญ่ให้ปรากฏ ในครั้งนั้น คือในกาลนั้น จึงไป ในอัมพรคือพื้นอากาศ.

สุรุจิดาบสเมื่อจะประกาศคุณทั้งหลาย เฉพาะของดาบสเหล่านั้นอีก จึงกล่าวคำว่า เอเตสํ ปกฺกมนฺตานํ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้นมีความว่า


ความคิดเห็น 56    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 454

เสียงดังอันเกิดจากผ้าคากรองของดาบสเหล่านี้ ผู้หลีกไป คือผู้ไปอยู่ใน อากาศหรือบนบก ย่อมสะพัดไป.

ในบทว่า มุทิตา โหนฺติ เทวตา นี้ เชื่อมความว่า เพราะเสียง หนังเสือของเหล่าดาบสผู้ทำเสียงดังให้สะพัดไปอยู่อย่างนั้น เทวดาทั้งหลาย จึงยินดี เกิดความโสมนัสว่า สาธุ สาธุ พระผู้เป็นเจ้าทั้งหลาย เป็นผู้ ยินดี คือพอใจด้วย.

ในบทว่า ทิโส ทิสํ นี้ เชื่อมความว่า ฤๅษีเหล่านั้นไปในห้อง กลางหาว คือเที่ยวไปในอากาศเป็นปกติ ย่อมหลีกไป คือไปยังทิศใหญ่ และทิศน้อย.

ในบทว่า สเก พเลนุปตฺตทฺธา นี้ เชื่อมความว่า เป็นผู้ประกอบ ด้วยกำลังร่างกาย และกำลังฌานของตน ย่อมไปในที่ที่ประสงค์จะไปตาม ความต้องการ.

เมื่อจะประกาศอานุภาพเฉพาะของดาบสเหล่านั้นอีก จึงกล่าวคำมี อาทิว่า ปวี กมฺปกา เอเต ดังนี้.

ในกาลนั้น ดาบสเหล่านั้น มีความต้องการเที่ยวไปในที่ทุกแห่ง ทำแผ่นดินให้ไหว คือทำเมทนีให้เคลื่อนไหว มีปกติเที่ยวไปในท้องฟ้า คือมีปกติเที่ยวไปในอากาศ.

บทว่า อุคฺคเตชา เป็นต้น ความว่า มีเดชพลุ่งขึ้น คือมีเดช แพร่สะพัดไป ผู้ข่มขี่ได้ยาก คือไม่อาจข่มขี่ คือครอบงำเป็นไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าผู้ข่มได้ยาก.

ในบทว่า สาคโรว อโขภิยา นี้ เชื่อมความว่า เป็นผู้อันคนอื่น


ความคิดเห็น 57    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 455

ให้กระเพื่อมไม่ได้ คือไม่อาจให้หวั่นไหวได้ เหมือนสาคร คือเหมือน สมุทรอันคนอื่นให้กระเพื่อมไม่ได้ คือให้ขุ่นไม่ได้.

ในบทว่า านจงฺกมิโน เกจิ นี้ เชื่อมความว่า ในระหว่างศิษย์ ของเราเหล่านั้น ฤๅษีบางพวกถึงพร้อมด้วยอิริยาบถยืน และอิริยาบถ จงกรม ฤๅษีบางพวกถือการนั่งเป็นวัตร คือถึงพร้อมด้วยอิริยาบถนั่ง ฤๅษีบางพวกกินปวัตตโภชนะ คือกินใบไม้ที่หล่นเอง ชื่อว่ายากที่จะหา ผู้ทัดเทียม เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้.

เมื่อจะชมเชยดาบสทั้งหมดนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เมตฺตาวิหาริโน ดังนี้.

ในคำนั้น มีเนื้อความว่า ศิษย์ของเราเหล่านี้ ชื่อว่ามีปกติอยู่ด้วย เมตตา เพราะแผ่เมตตาอันมีความเสน่หาเป็นลักษณะโดยนัยมีอาทิว่า สัตว์ หาประมาณมิได้ ในจักรวาลอันหาประมาณมิได้ จงเป็นสุขเถิด ดังนี้ แล้วอยู่ คือยังอัตภาพให้เป็นไปอยู่. อธิบายว่า ฤๅษีเหล่านั้นทั้งหมดเป็น ผู้แสวงหาประโยชน์ คือแสวงหาประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์ คือสัตว์ ทั้งปวง ไม่ยกตน คือไม่ถือตัว ไม่ข่มใครๆ คือคนไรๆ ได้แก่ ไม่สำคัญโดยทำให้เป็นคนต่ำกว่า.

เชื่อมความ (ในคาถานี้) ว่า ศิษย์ของเราเหล่านั้นเป็นผู้ไม่สะดุ้ง คือไม่กลัวดุจราชสีห์ เพราะเป็นผู้ประกอบด้วยคุณคือศีล สมาธิ และ สมาบัติ มีเรี่ยวแรง คือถึงพร้อมด้วยกำลังกาย และกำลังฌาน ดุจคชราช คือดุจพญาช้าง ยากที่จะเข้าถึง คือไม่อาจกระทบ ดุจพญาเสือโคร่ง ย่อมมาในสำนักของเรา.


ความคิดเห็น 58    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 456

ลำดับนั้น พระดาบสเมื่อจะประกาศโดยเลศ คือการแสดงอานุภาพ ของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า วิชฺชาธรา ดังนี้. ในคำนั้น มีการเชื่อม ความว่า วิชาธรมีการท่องมนต์เป็นต้น ภุมเทวดาผู้อยู่ที่ต้นไม้และภูเขา เป็นต้น นาคผู้ตั้งอยู่ในภาคพื้น และผู้ตั้งอยู่บนบก คนธรรพ์เทพ รากษส ผู้ดุร้าย กุมภัณฑเทพ ทานพเทพ และครุฑผู้สามารถนิรมิตสิ่งที่ปรารถนา แล้วๆ ย่อมเข้าไปอาศัยสระนั้นเลี้ยงชีวิต, อธิบายว่า อยู่ที่สระนั้น คือ ที่ใกล้สระ.

เมื่อจะพรรณนาคุณทั้งหลาย ของเหล่าดาบสผู้เป็นศิษย์ของตนนั้น แหละแม้อีก จึงกล่าวคำว่า เต ชฏา ขาริภริตา ดังนี้เป็นต้น. คำทั้งหมด นั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น. บทว่า ขาริภารํ ได้แก่ บริขารของดาบสมี กระบวยตักน้ำ และคนโทน้ำเป็นต้น.

เมื่อจะประกาศคุณทั้งหลายของตนแม้อีก จึงกล่าวคำว่า อุปฺปาเต สุปิเน จาปิ ดังนี้เป็นต้น. ในคำนั้น เชื่อมความว่า เพราะถึงความ สำเร็จในศิลปะของพราหมณ์ และเพราะเป็นผู้ฉลาดในเรื่องราวของ นักษัตร เราถูกใครๆ ถามถึงความเป็นไปในลักษณะแห่งอุปบาตและ ในสุบินว่า นักขัตฤกษ์ที่ราชกุมารนี้เกิดงามหรือไม่งาม เราเป็นผู้ศึกษามา ดีแล้วในการบอกถึงความสำเร็จแห่งสุบินว่า สุบินนี้งาม สุบินนี้ไม่งาม และในการบอกลักษณะมือเท้าของสตรีและบุรุษทั้งปวง ชื่อว่าทรงไว้ซึ่ง บทมนต์ คือโกฏฐาสของมนท์ทำนายลักษณะทุกอย่าง ซึ่งเป็นไปอยู่ใน ชมพูทวีปทั้งสิ้นในกาลนั้น คือในกาลที่เราเป็นดาบส.

เมื่อจะประกาศการพยากรณ์ของตน ให้มีพุทธคุณเป็นเบื้องหน้า จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทัสสี ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า ที่ชื่อว่า


ความคิดเห็น 59    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 457

อโนมะ เพราะไม่ต่ำทราม. การเห็นสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยมังสจักษุ ทิพยจักษุ สมันตจักษุ ธรรมจักษุ และพุทธจักษุ ชื่อว่าทัสสนะ ทัศนะของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ไม่ต่ำทราม พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น ชื่อว่า อโนมทัสสี. ชื่อว่า ภควา เพราะเหตุทั้งหลาย มีความเป็นผู้มีภาคยะคือบุญเป็นต้น ชื่อว่า โลกเชษฐ์ เพราะเป็นผู้เจริญ ที่สุดและประเสริฐสุดของโลก โคผู้เจริญที่สุดมี ๓ พวก คือโคอุสภะ โคนิสภะ และโคอาสภะ ในโค ๓ พวกนั้น โคผู้เป็นจ่าฝูงแห่งโคร้อยตัว ชื่ออุสภะ โคผู้เป็นจ่าฝูงแห่งโคพันตัว ชื่อว่านิสภะ โคผู้นำบุรุษ ที่ประเสริฐสุด โคผู้เป็นจ่าฝูงแห่งโคแสนตัว ชื่อว่าอาสภะ โคผู้ยิ่งใหญ่, นระผู้ยิ่งใหญ่แห่งนรชนทั้งหลาย ชื่อว่านราสภะ, นระผู้แทงตลอดธรรม ทั้งปวง ชื่อว่าสัมมาสัมพุทธะ, นระผู้ทรงใคร่ความวิเวก คือผู้ปรารถนา ความเป็นผู้เดียว เสด็จเข้าไปยังหิมวันค์คือเขาหิมาลัย.

บทว่า อชโฌคาเหตฺวา หิมวนฺตํ ความว่า หยั่งลง คือเสด็จ เข้าไปใกล้เขาหิมวันต์. คำที่เหลืออง่ายทั้งนั้น.

เชื่อมความว่า เราได้เห็นพระโลกนายกผู้ประทับนั่งอยู่ รุ่งเรือง คือโชติช่วงดุจดอกบัวเขียว เป็นตั่งแห่งเครื่องบูชายัญ คือเป็นตั่งแห่ง เครื่องบูชาเทพคือเครื่องสังเวย สว่างจ้า คือประกอบด้วยรัศมีดังกองไฟ โพลงอยู่ในอากาศดุจสายฟ้า บานสะพรั่งดุจพญารัง.

เทพของเทพทั้งหลาย ชื่อว่าเทวเทวะ, เพราะได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ผู้เป็นเทพของเทพ เราจึงตรวจคือพิจารณาพระลักษณะ คือ เหตุเป็นเครื่องให้รู้มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการของพระองค์ว่า จะเป็น


ความคิดเห็น 60    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 458

พระพุทธเจ้าหรือไม่หนอแล. เชื่อมความว่า เราเห็นพระชินเจ้าผู้มีพระจักษุ คือผู้มีพระจักษุ ๕ ด้วยเหตุอะไร.

ความในคาถานี้ว่า กำหนึ่งพัน คือจักรลักษณะปรากฏที่พระบาท อันอุดม คือที่พื้นฝ่าพระบาทอันอุดม, เราได้เห็นลักษณะเหล่านั้น ของ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น จึงได้ตกลงคือถึงสันนิษฐาน อธิบายว่า เป็นผู้หมดความสงสัยในพระตถาคต. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

ความในคาถานี้ว่า พระสยัมภู คือพระผู้เป็นเอง. ผู้เป็นแดนเกิด แห่งพระคุณนับไม่ได้ คือเป็นแดนเกิดขึ้น ได้แก่ เป็นฐานที่ตั้งขึ้นแห่ง พระคุณทั้งหลายนับไม่ได้ คือประมาณไม่ได้, บททั้งสองนี้เป็นอาลปนะ ทั้งนั้น พระองค์ทรงรื้อขนชาวโลกนี้ คือสัตว์โลกนี้ด้วยดี คือทรงขน ขึ้นจากสังสารให้ถึงบนบก คือนิพพาน.

เชื่อมความว่า มวลสัตว์เหล่านั้นมาสู่ทัสสนะของพระองค์แล้ว ย่อม ข้ามคือก้าวล่วงกระแสคือความแคลงใจ ได้แก่โอฆะใหญ่ คือวิจิกิจฉา.

พระดาบสเมื่อจะสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตุวํ สตฺถา ดังนี้ ในคำนั้นเชื่อมความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระองค์เป็นศาสดาคือเป็นอาจารย์ของชาวโลกพร้อมทั้งเทวโลก. พระองค์เท่านั้นชื่อว่าเป็นเกตุ คือเป็นของสูง เพราะอรรถว่า สูงสุด, พระองค์ เท่านั้นชื่อว่าเป็นธง เพราะอรรถว่า ปรากฏในโลกทั้งสิ้น, พระองค์เท่านั้น ชื่อว่าเป็นเสา คือเป็นเช่นกับเสาที่ปักไว้ เพราะอรรถว่า สูงขึ้น, พระองค์ เท่านั้นเป็นที่อาศัย คือเป็นฐานะที่จะพึงถึงชั้นสูงสุดของสัตว์ทั้งหลาย คือ ของสรรพสัตว์ พระองค์เท่านั้นเป็นที่พึ่ง คือเป็นฐานที่พึ่งพิง พระองค์ เท่านั้นชื่อว่าเป็นประทีป คือเป็นดุจประทีปน้ำมัน เพราะกำจัดความมืด


ความคิดเห็น 61    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 459

คือโมหะของสัตว์โลก เป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้า คือเป็นผู้สูงสุด ประเสริฐสุดแห่งเหล่าเทพ พรหม และมนุษย์ผู้มี ๒ เท้า.

เมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สกฺกา สมุทฺเท อุทกํ ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายว่า ใครๆ อาจ ประมาณ คือนับน้ำในมหาสมุทรอันลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ได้ด้วยเครื่องตวง ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระญาณของพระองค์ใครๆ ไม่อาจเลยที่จะ ประมาณ คือนับว่า มีประมาณเท่านี้.

เชื่อมความว่า ใครๆ วางที่มณฑลตราชั่ง คือที่ช่องตราชั่งแล้วอาจ ชั่งปฐพีคือดินได้ ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระญาณของพระองค์ ใครๆ ไม่อาจชั่งได้เลย.

ความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ อากาศคือห้วงเวหา ทั้งสิ้น ใครๆ อาจนับได้ด้วยเชือกหรือนิ้วมือ แต่ญาณได้แก่อากาศ คือญาณของพระองค์ ใครๆ ไม่อาจประมาณ คือนับไม่ได้เลย.

ในบทว่า มหาสมุทฺเท อุทกํ นี้ ความว่า พึงละ คือทิ้ง ได้แก่ ก้าวล่วงน้ำทั้งสิ้นในสาคร ลึก ๘๔๐๐๐ โยชน์ และแผ่นดินทั้งสิ้นหนาได้ ๒๔๐,๐๐๐ โยชน์ คือพึงทำให้เสมอได้ จะถือเอาพระญาณของพระพุทธเจ้า มาชั่งคือทำให้เสมอ ย่อมไม่ควรด้วยอุปมา คือด้วยอำนาจอุปมา พระญาณเท่านั้นเป็นคุณชาติอันยิ่ง.

ข้าแต่พระผู้มีจักษุ คือข้าแต่พระผู้มีจักษุด้วยจักษุ ๕ คำนี้เป็น อาลปนะคือคำร้องเรียก. โลกเป็นไปกับด้วยเทวดาทั้งหลาย คำนี้เป็น ฉัฏฐีวิภัตติลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ. เชื่อมความว่า จิตของสัตว์ ทั้งหลายเหล่าใด คือมีประมาณเท่าใด ย่อมเป็นไปในระหว่างโลกพร้อม


ความคิดเห็น 62    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 460

ทั้งเทวโลก สัตว์ทั้งหลายผู้มีจิตเหล่านั้น คือมีประมาณเท่านั้น อยู่ใน ภายในข่ายคือญาณของพระองค์ คือเข้าไปในภายในข่ายคือพระญาณ อธิบายว่า ทรงเห็นสรรพสัตว์ทั้งหลายด้วยข่ายคือพระญาณ.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า ข้าแต่พระสัพพัญญู คือผู้รู้ธรรมทั้งปวง ผูเจริญ พระองค์ทรงถึง คือบรรลุพระโพธิญาณ คือพระนิพพานทั้งสิ้น ด้วยพระญาณใด อันสัมปยุตด้วยมรรค ทรงย่ำยี คือครอบงำเดียรถีย์ เหล่าอื่น คืออันเดียรถีย์ทั้งหลาย ด้วยพระญาณนั้น.

พระธรรมสังคาหกเถระทั้งหลาย เมื่อจะประกาศอาการที่ดาบสนั้น สรรเสริญ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อิมา คาถา ถวิตฺวาน ดังนี้. บรรดาบท เหล่านั้น บทว่า อิมา คาถา ความว่า ดาบสชื่อว่าสุรุจิโดยชื่อ แต่มาใน อรรถกถาที่เหลือว่า สรทมาณพ สรรเสริญ คือทำการสรรเสริญด้วยคาถา ทั้งหลายเหล่านี้. บาลีตามอรรถกถานัยนั้น เป็นประมาณ, อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าสุรุจิ เพราะมีความชอบใจ คืออัธยาศัย ได้แก่นิพพานาลัยงาม, ชื่อว่า สรทะ เพราะแล่น คือไป ได้แก่ เป็นไปในการฝึกอินทรีย์, ดังนั้น แม้ทั้งสองอย่างก็เป็นชื่อของดาบสนั้น. สุรุจิกาบสนั้นลาดหนังเสือ แล้วนั่งบนแผ่นดิน อธิบายว่า สรทดาบสนั่งเว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการ มีใกล้เกินไปเป็นต้น.

พระดาบสนั่งในที่นั้นแล้ว เมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพระญาณของ พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเท่านั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า จุลฺลาสีติสหสฺสานิ ดังนี้.

ในบทว่า จุลฺลาสีติสหสฺสานิ ในคาถานั้น มีการเชื่อมความว่า ขุนเขาคือขุนเขาเมรุ หยั่ง คือหยั่งลง ได้แก่ ลงไปในห้วงมหรรณพ คือ


ความคิดเห็น 63    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 461

ในสาครลึก ๘๔,๐๐๐ โยชน์ สูงคือพุ่งขึ้น ๘๔,๐๐๐ โยชน์เพียงนั้น คือ มีประมาณเท่านั้น อันท่านกล่าวไว้ในบัดนี้.

เขาเนรุสูงเพียงนั้น คือสูงขึ้นไปอย่างนั้น เขามหาเนรุนั้น คือขุนเขา เนรุใหญ่อย่างนั้น โดยส่วนยาว ส่วนสูง และส่วนกว้าง เป็นขุนเขาถูก ทำให้ละเอียด คือถูกทำให้แหลกละเอียดถึงแสนโกฏิ โดยส่วนแห่ง การนับ.

เชื่อมความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระญาณของพระองค์เมื่อ ตั้งคะแนนนับไว้ คือเมื่อทำร้อย พัน หรือแสนก็ตาม ให้เป็นหน่วยหนึ่งๆ แล้วตั้งไว้ในพระญาณ จุณแห่งเขาเนรุใหญ่นั้นนั่นแหละพึงสิ้นไป พระญาณของพระองค์ใครๆ ไม่อาจประมาณคือทำการประมาณได้เลย.

อธิบายความในคาถานี้ว่า บุคคลใดพึงล้อม คือพึงทำการล้อมไว้ โดยรอบ ซึ่งน้ำในมหาสมุทรทั้งสิ้น ด้วยตาข่ายตาถี่ๆ คือมีช่องละเอียด เมื่อบุคคลนั้นล้อมน้ำไว้อย่างนี้ สัตว์เหล่าใดเหล่าหนึ่งที่เกิดในน้ำ สัตว์ ทั้งหมดนั้นจะต้องถูกกักไว้ในภายในข่าย.

พระดาบสเมื่อจะแสดงความอุปไมยนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตเถว หิ ดังนี้. ในข้อที่กล่าวมานั้น สัตว์ทั้งหลายที่เกิดในน้ำ ย่อมอยู่ในภาย ในข่าย ฉันใด ข้าแต่พระผู้มีภาคเจ้าผู้มีความเพียรใหญ่ คือผู้กระทำความ เพียรเพื่อบรรลุพระมหาโพธิญาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. เดียรถีย์ คือเจ้า ลัทธิผิดเหล่าใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมาก คือไม่ใช่น้อย ผู้แล่นไปในการถือผิด คือผู้เข้าไปสู่การยึดถือกล่าวคือทิฏฐิ เป็นผู้ถูกปรามาสคือการยึดมั่น ได้แก่ ถูกทิฏฐิอันมีลักษณะยึดถือไปข้างหน้าโดยสภาพ ให้ลงอยู่คือปิดกั้นไว้.


ความคิดเห็น 64    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 462

เชื่อมความในคาถานี้ว่า เดียรถีย์เหล่านี้ทั้งหมด อยู่ในข่าย หรือ เข้าไปในภายในข่ายแห่งพระญาณ ด้วยพระญาณอันบริสุทธิ์ คือไม่มีกิเลส ของพระองค์ อันมีปกติเห็นโดยไม่ติดขัด คือเห็นธรรมทั้งปวงเว้นจาก เครื่องกั้นเป็นปกติ อย่างนั้นเหมือนกัน. บทว่า าณํ เต นาติวตฺตเร ความว่า พวกเดียรถีย์เหล่านั้นไม่ล่วงพ้นพระญาณของพระองค์ไปได้.

ในเวลาเสร็จสิ้นการสรรเสริญที่ล่วงแล้วอย่างนี้ เพื่อจะแสดงการ เริ่มพยากรณ์ของตน พระดาบสจึงกล่าวคำมีอาทิว่า ภควา ตมฺหิ สมเย ดังนี้ ในคำนั้น เชื่อมความว่า ในสมัยใด ดาบสสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า ในสมัยนั้น คือกาลเสร็จสิ้นการสรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่าอโนมทัสสี ชื่อว่าผู้มีพระยศใหญ่ เพราะทรงมีบริวารล่วงพ้น การนับ ชื่อว่าพระชินะ เพราะทรงชนะกิเลสมารเป็นต้น ทรงออกจาก สมาธิ คือจากอัปปนาสมาธิ ทรงตรวจดูสกลชมพูทวีปทั้งสิ้นด้วยทิพยจักษุ.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า พระสาวกนามว่านิสภะ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสีนั้น ผู้เป็นมุนี คือผู้ประกอบด้วยพระญาณ กล่าวคือโมนะ อันพระขีณาสพหนึ่งแสนผู้มีจิตสงบ คือมีกิเลสในใจอัน สงบระงับ ผู้เป็นตาที่บุคคล ชื่อว่าผู้คงที่ เพราะเป็นผู้มีสภาพไม่หวั่นไหว ในสิ่งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ผู้บริสุทธิ์ คือผู้ประกอบด้วยกายกรรมเป็นต้นอันบริสุทธิ์ มีอภิญญา ๖ ผู้คงที่ คือมีสภาวะอันไม่หวั่นไหว ด้วยโลกธรรม ๘ ห้อมล้อมแล้ว รู้คือทราบพระดำริของพระพุทธเจ้า จึงเข้าไปเฝ้าพระโลกนายก คือได้ไปยังที่ใกล้ในทันใดนั้นเอง.


ความคิดเห็น 65    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 463

ท่านเหล่านั้นเป็นผู้มาแล้วอย่างนั้น ณ ที่นั้น คือ ณ ที่ใกล้พระผู้มี พระภาคเจ้า. ทั้งที่ยังอยู่ในกลางหาว คือในอากาศ ได้กระทำประทักษิณ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. เชื่อมความว่า ท่านเหล่านั้นทั้งหมดประคอง อัญชลีนมัสการอยู่ จากอากาศลงมาในสำนักของพระพุทธเจ้า.

พระดาบส เมื่อจะประกาศเหตุอันเป็นส่วนเบื้องต้นแห่งการให้การ พยากรณ์อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สิตํ ปาตุกริ ดังนี้. คำทั้งหมดนั้นมี เนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า โย มํ ปุปฺเผน ความว่า ดาบสใดยังจิตให้เลื่อมใสในเรา แล้วบูชาเราด้วยดอกไม้มิใช่น้อย และสรรเสริญคือชมเชยญาณของเรา เนืองๆ คือบ่อยๆ. บทว่า ตมหํ ความว่า เราจักประกาศ คือจัก กระทำดาบสนั้นให้ปรากฏ. ท่านทั้งหลายจงฟัง คือจงกระทำอารมณ์ ในการที่จะฟัง คือจงใส่ใจคำเรากล่าว.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงประทานการพยากรณ์ จึงตรัสว่า ปจฺฉิเม ภวสมฺปตฺเต ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า เมื่อภพอันมีใน สุดท้าย คือเป็นที่สุดถึงพร้อมแล้ว ดาบสนี้จักถึงความเป็นมนุษย์ คือชาติ กำเนิดมนุษย์ ได้แก่ จักเกิดขึ้นในมนุษยโลก. นางพราหมณีชื่อว่าสารี เพราะเป็นผู้มีสาระด้วยสาระทั้งหลาย มีสาระคือรูปทรัพย์ตระกูลโภคทรัพย์ และสาระคือบุญเป็นต้น จักตั้งครรภ์.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเริ่มมูลพยากรณ์ว่า อปริเมยฺเย อิโต กปฺเป ดังนี้. ในมูลพยากรณ์นี้ พึงเห็นว่า พระอัครสาวกทั้งสอง บำเพ็ญ บารมีหนึ่งอสงไขยแสนกัปก็จริง แม้ถึงอย่างนั้น เพื่อความสะดวกในการ ประพันธ์คาถา ท่านจึงถือเอาอันตรกัปแล้วกล่าวไว้อย่างนั้น.


ความคิดเห็น 66    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 464

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ประทานพยากรณ์ว่า จักได้เป็นพระอัครสาวก โดยชื่อว่า สารีบุตร พระผู้มีพระภาคเจ้านั้นครั้นประทานพยากรณ์แล้ว เมื่อจะสรรเสริญดาบสนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า อยํ ภาคีรถี๑ ดังนี้. อธิบายว่า ระหว่างแม่น้ำ ๕ สายนี้ คือ คงคา ยมุนา สรภู มหี อจิรวดี แม่น้ำ ใหญ่สายที่หนึ่งชื่อว่าภาคีรถีนี้ เกิดจากเขาหิมวันต์ คือไหลมาจากเขา หิมวันต์ คือเกิดจากสระอโนดาต ไหลไปถึงทะเลใหญ่ คือห้วงน้ำใหญ่ ย่อมถึง คือเข้าไปยังมหาสมุทร คือมหาสาคร ฉันใด สารีบุตรนี้ ก็ฉันนั้น เหมือนกัน เป็นผู้อาจหาญในเวททั้งสามของตน คือเป็นผู้กล้าหาญมีญาณ ไม่พลั้งพลาด คือมีญาณแผ่ไปในเวททั้งสามอันเป็นไปอยู่ในตระกูลของ ตน ถึงความเต็มเปี่ยมด้วยปัญญา คือถึงที่สุดแห่งสาวกญาณของตน จัก ยังสัตว์ทั้งหลาย คือสัตว์ทั้งมวลให้อิ่ม คือให้อิ่มหนำ คือจักกระทำความ อิ่มหนำให้.

บทว่า หิมวนฺตมุปาทาย ความว่า กระทำภูเขาหิมาลัยให้เป็นต้น แล้วกระทำห้วงน้ำใหญ่คือมหาสมุทร ได้แก่สาครอันมีน้ำเป็นภาระให้เป็น ที่สุด ในระหว่างนี้ คือในท่ามกลางภูเขาและสาครนี้ ทรายใด คือ กองทรายประมาณเท่าใดมีอยู่ ว่าด้วยการนับ คือว่าด้วยอำนาจการนับ ทรายนั้นนับไม่ถ้วน คือล่วงพ้นการนับ.

บทว่า ตมฺปิ สกฺกา อเสเสน ความว่า แม้ทรายนั้น ใครๆ อาจคือพึงอาจนับได้หมด, เชื่อมความว่า การนับนั้นย่อมมีได้ด้วยประการ ใด. ที่สุดคือปริโยสานแห่งปัญญาของพระสารีบุตรจักไม่มีเลย ด้วย ประการนั้น.


๑. บาลีว่า ภาคีรสี.


ความคิดเห็น 67    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 465

บทว่า ลกฺเขฯ เปฯ ภวิสฺสติ ความว่า เมื่อคะแนน ได้แก่คะแนน แห่งญาณ คือเวลาหนึ่งของญาณ ที่ใครๆ วางคือตั้งไว้มีอยู่ ทรายใน แม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป คือพึงถึงความหมดสิ้นไป.

ในบทว่า มหาสมุทฺเท นี้ เชื่อมความว่า คลื่นทั้งหลายคือกลุ่ม คลื่นชนิดหนึ่งคาวุตเป็นต้น ในมหาสาครทั้ง ๔ อันลึกได้ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ ว่าถึงการนับ นับไม่ถ้วน คือเว้นจากการนับ ย่อมมีด้วยประการใด ที่สุดคือความสิ้นสุดแห่งปัญญาของพระสารีบุตร จักไม่มีด้วยประการนั้น.

เชื่อมความในคาถานี้ว่า พระสารีบุตรนั้นมีปัญญาอย่างนี้ ยังพระสัมพุทธเจ้า ชื่อว่าโคตมะ เพราะเป็นโคตมโคตร ผู้เป็นใหญ่ในศากยตระกูล ชื่อว่าผู้เป็นศากยะผู้ประเสริฐ ให้ทรงโปรดแล้ว คือทำความ ยินดีแห่งจิตด้วยวัตรปฏิบัติ ศีลและอาจาระเป็นต้น ถึงความเต็มเปี่ยม คือ ที่สุดแห่งสาวกญาณด้วยปัญญา จักเป็นอัครสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า นั้น.

อธิบายความในคาถานี้ว่า พระสารีบุตรนั้นได้รับตำแหน่งอัครสาวก อย่างนี้แล้ว จักประกาศตามพระธรรมจักร คือพระสัทธรรม อันพระผู้มีพระภาคเจ้าศากยบุตรทรงประกาศแล้ว คือทรงทำให้ปรากฏแล้ว ด้วย สภาวะอันไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์ และอนิฏฐารมณ์ คือจักทรงจำไว้ ไม่ให้พินาศ. จักยังฝนคือธรรม ได้แก่ฝนคือพระธรรมเทศนาให้ตกลง ได้แก่จักแสดง ประกาศ เปิดเผย จำแนก กระทำให้ตื่นเป็นไป.

เชื่อมความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้โคตมศากยะผู้ประเสริฐ ทรง รู้ยิ่งสิ่งทั้งหมดนั้น คือทรงรู้ด้วยญาณวิเศษ ประทับนั่งในหมู่ภิกษุ คือ ในท่ามกลางพระอริยบุคคล จักทรงตั้งไว้ในตำแหน่งอันเลิศ คือ


ความคิดเห็น 68    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 466

ในตำแหน่งอันสูง อันเป็นที่อภิรมย์แห่งหมู่ของคุณความดีมีปัญญาทั้งสิ้น เป็นต้น.

ดาบสนั้นได้รับพยากรณ์อย่างนี้แล้ว ถึงความโสมนัส เมื่อจะเปล่ง อุทานด้วยอำนาจปีติโสมนัส จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโห เม สุกตํ กมฺมํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า อโห เป็นนิบาต ลงในอรรถว่าน่า อัศจรรย์. อธิบายว่า กรรมคือโกฏฐาสแห่งบุญ ที่เราทำดีแล้ว คือทำ ด้วยดีแล้ว ได้แก่เชื่อแล้ว กระทำแก่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า อโนมทัสสี ผู้เป็นศาสดาคือเป็นครู เป็นกรรมน่าอัศจรรย์ คือน่าพิศวง มีอานุภาพเป็นอจินไตย.

เชื่อมความว่า เราได้ทำอธิการคือบุญสมภารแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์ใด ถึงความเต็มเปี่ยมคือที่สุด ได้แก่ถึงพร้อมซึ่งที่สุดอันยอด เยี่ยมในที่ทั้งปวง คือในคณะแห่งคุณทั้งสิ้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ นั้นเป็นผู้น่าอัศจรรย์ คือน่าพิศวง.

บทว่า อปริเมยฺเย เป็นต้น ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง แสดงกุศลกรรมที่ทำไว้ ในกาลอันล่วงพ้นการนับ ว่ามีผลคือวิบากใน อัตภาพหลังสุดนี้แก่เรา. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้วด้วยผลแห่งบุญนั้น เหมือนกำลังเร็วแห่งศรอันพ้นดีแล้ว คือหลุดไปดีแล้ว ได้แก่ที่นายขมังธนู ผู้ฉลาดยิ่งไปแล้วฉะนั้น. ท่านพระสารีบุตรเมื่อจะประกาศความเพียร เฉพาะของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อสงฺขตํ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสงฺขตํ แปลว่า ปรุงแต่งไม่ได้ อธิบายว่า อันปัจจัยทั้งหลายประชุมกันทำไม่ได้. เชื่อมความว่า เรานั้น


ความคิดเห็น 69    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 467

แสวงหานิพพานที่ปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้นั้น ชื่อว่าไม่หวั่นไหว เพราะไม่มี ความปฏิกูลด้วยกิเลส ชื่อว่าบท เพราะเป็นที่ตั้งแห่งบุญสมภารที่ทำไว้ แล้ว ค้นหาคือเข้าไปพิจารณาพวกเดียรถีย์ทั้งปวง คือเจ้าลัทธิทั้งสิ้น ได้แก่บุคคลผู้ก่อให้เกิดทิฏฐิ จึงท่องเที่ยว คือวนเวียนไปในภพมีกามภพ เป็นต้น.

เมื่อจะประกาศความประสงค์ของตน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยถาปิ พฺยาธิโต โปโส ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺยาธิโต เชื่อมความว่า ชาย คือบุรุษ ถูกพยาธิเบียดเบียนจะต้องแสวงหาโอสถฉันใด เราก็ฉันนั้น เมื่อจะแสวง หาอมตบทคือนิพพานอันปรุงแต่งไม่ได้ จึงบวชเป็นฤๅษี ๕๐๐ ชาติ คือในอัตภาพ ๕๐๐ ชาติ อันไม่ปะปนกันคือไม่ขาดสาย ติดต่อกันไป.

บทว่า กุติตฺเถ สฺจรึ อหํ ความว่า เราท่องเที่ยวไปในท่าคือ ทางไปอันลามก. ชายผู้ต้องการแก่น คือบุรุษผู้แสวงหาแก่น. บทว่า กทลึ เฉตฺวาน ผาลเย ความว่า พึงตัดต้นกล้วยแล้วผ่าออกสองซีก. บทว่า น ตตฺถ สารํ วินฺเทยฺย ความว่า ก็แหละครั้นผ่าออกแล้ว ไม่พึงประสบ คือไม่พึงได้แก่นในต้นกล้วยนั้น, เชื่อมความว่า บุรุษนั้น เป็นผู้ว่าง คือเปล่าจากแก่น.

เชื่อมความว่า ต้นกล้วยว่างเปล่า คือเปล่าจากแก่น ฉันใด พวก เดียรถีย์ คือชนมากผู้มีทิฏฐิคติต่างๆ ในโลก ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็น ผู้ว่างคือเปล่าจากพระนิพพานอันเป็นอสังขตะ. ศัพท์ว่า เส เป็นเพียง นิบาต.


ความคิดเห็น 70    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 468

อธิบายในคาถานี้ว่า ในภพหลังสุดคือในชาติสุดท้าย เราได้เป็น เผ่าพันธุ์ของพราหมณ์ คือเกิดในตระกูลพราหมณ์. บทว่า มหาโภคํ ฉฑฺเฑตฺวาน ความว่า เราทิ้งกองโภคทรัพย์ใหญ่ เหมือนก้อนเขฬะ บวชคือปฏิบัติเป็นบรรพชิต ได้แก่เป็นผู้เว้นจากกรรมมีกสิกรรมและ พาณิชกรรมเป็นต้น คือบวชเป็นดาบส.

พรรณนาปฐมภาณวารจบบริบูรณ์

บทว่า อชฺฌายโกฯ เปฯ มุนึ โมเน สมาหิตํ ความว่า ญาณ เรียกว่าโมนะ, ผู้ประกอบด้วยโมนะนั้น ชื่อว่ามุนี, ผู้มีจิตตั้งคือตั้งลง โดยชอบ ชื่อว่าตั้งมั่นในโมนะนั้น. ชื่อว่านาค เพราะไม่กระทำบาปคือ โทษ ได้แก่พระอัสสชิเถระ, ซึ่งพระมหานาคนั้นผู้ไพโรจน์ เหมือนดอก ปทุมอันแย้มบานดีแล้วฉะนั้น.

บทว่า ทิสฺวา เมฯ เปฯ ปุจฺฉิตุํ อมตํ ปทํ มีเนื้อความง่ายๆ ทั้งนั้น.

บทว่า วีถินฺตเร เชื่อมความว่า เราเข้าไป คือไปใกล้พระเถระนั้น ผู้ถึงแล้วโดยลำดับ คือผู้ถึงพร้อมแล้ว ได้แก่เข้าไปแล้วในระหว่างถนน แล้วจึงถาม.

บทวา กีทิสํ เต มหาวีร เชื่อมความว่า ข้าแต่มหาวีระผู้บรรลุ พระอรหัต ในการประกาศพระธรรมจักรครั้งแรก ในระหว่างพระอรหันต์ทั้งหลายในศาสนาของบุรุษผู้มีปัญญาทรงจำได้ทั้งสิ้น ข้าแต่ท่านผู้ มียศใหญ่ เพราะเป็นผู้มากด้วยบริวารอันเกิดตามมา พระพุทธเจ้าของท่าน


ความคิดเห็น 71    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 469

มีศาสนธรรม คือศาสนา กล่าวคือธรรมเทศนาเป็นเช่นไร อธิบายว่า ท่านผู้เจริญ คือท่านผู้มีหน้าอันผ่องใส ขอท่านจงบอก คือจงกล่าวคำสอน อันดีคือเจริญแก่ข้าพเจ้า.

ลำดับนั้น พระสารีบุตรเมื่อจะแสดงอาการที่ถาม จึงกล่าวคำมีอาทิ ว่า โส เม ปุฏฺโ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โส โยค อสฺสชิตฺเถโร. พระอัสสชิเถระ อันเราถามแล้ว คือกล่าวว่า คำสอนเป็นเช่นไร? จึงกล่าวถ้อยคำทั้งหมด. เชื่อมความในตอนนี้ว่า คำสอนทั้งหมด ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะลึกโดยอรรถ ชื่อว่าลึกซึ้ง เพราะลึกโดยเทศนา ธรรม และปฏิเวธ เป็นบทอันละเอียด คือเป็นพระนิพพาน เพราะประกาศปรมัตถสัจเป็นต้น เป็นธรรมฆ่า ลูกศรคือกิเลส ได้แก่กระทำให้พินาศ เป็นเครื่องบรรเทาสังสารทุกข์ ทั้งปวง คือเป็นธรรมทำความสิ้นสังสารทุกข์ทั้งปวง.

เมื่อแสดงอาการที่พระอัสสชิเถระกล่าว จึงกล่าวคำมีอาทิว่า เย ธมฺมา ดังนี้. เชื่อมความว่า ธรรมเหล่าใด คือสภาวธรรมเหล่าใด พร้อมทั้งปัจจัย มีเหตุเป็นแดนเกิด คืออุบัติ เกิด เป็น เกิดพร้อม บังเกิด บังเกิดเฉพาะ จากเหตุ คือจากการณ์ มีอยู่ มีพร้อม ได้อยู่, พระตถาคตตรัสเหตุคือการณ์ของธรรมเหล่านั้น. บทว่า เตสฺจ โย นิโรโธ ได้แก่ ความดับ คือสภาวะแห่งการดับอันใด แห่งธรรมอันมีเหตุเหล่านั้น บทว่า เอวํวาที มหาสมโณ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่อว่า มหาสมณะ เพราะเป็นผู้ใหญ่ด้วยบริวารคือคุณมีศีล สมาธิ ปัญญาเป็นต้น และเพราะเป็นผู้กำจัดบาปได้แล้ว มีปกติตรัสอย่างนี้ คือตรัสการสงบ ระงับเหตุเป็นต้น เป็นปกติ ตรัสไว้.


ความคิดเห็น 72    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 470

ครั้นฟังธรรมที่พระเถระกล่าวแล้ว แต่นั้น เมื่อจะแสดงประการที่ ตนกระทำให้ประจักษ์ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า โสหํ ดังนี้. คำนั้นง่าย ทั้งนั้น.

บทว่า เอเสว ธมฺโม ยทิ ตาวเทว ความว่า แม้ถ้าว่า ไม่มี ยิ่งไปกว่านี้ไซร้ ก็พึงบรรลุเฉพาะเท่านี้ คือเฉพาะโสดาปัตติผลนี้เท่านั้น. ก็เหมือนอย่างนั้น คือพึงบรรลุธรรมนี้แหละ. พระองค์รู้แจ้งคือแทง ตลอดบทคือพระนิพพานอันไม่เศร้าโศก. บทนี้ ชื่อว่าอันข้าพระองค์ ทั้งหลายไม่ได้เคยพบเห็น ล่วงเลยไปหลายหมื่นกัป.

บทว่า ยฺวาหํ ธมฺมํ คเวสนฺโต ความว่า ข้าพระองค์ใด เมื่อ แสวงหา คือเสาะหาธรรมคือสันติบท จึงท่องเที่ยวไป คือวนเวียนไปใน ท่าที่ผิด คือท่าอันน่าเกลียด ได้แก่ท่าอันควรตำหนิ. บทว่า โส เม อตฺโถ อนุปฺปตฺโต ความว่า ประโยชน์ที่ควรแสวงหานั้นข้าพระองค์ถึงแล้วโดย ลำดับ คือถึงพร้อมแล้ว ก็บัดนี้เป็นกาลที่ข้าพระองค์ไม่ประมาท คือ เป็นผู้ไม่ประมาท.

อธิบายว่า ข้าพระองค์อันพระอัสสชิเถระให้ยินดีแล้ว คือทำความ โสมนัสให้แล้ว ถึงคือบรรลุบทคือนิพพานอันไม่หวั่นไหวคือไม่เคลื่อนไหว เมื่อแสวงหา คือไปหาสหาย คือโกลิตมาณพ จึงได้ไปยังอาศรมบท.

บทว่า ทูรโตว มมํ ทิสฺวา ความว่า สหายของข้าพระองค์สำเหนียกดี เห็นข้าพระองค์มาแต่ที่ไกลจากอาศรมบท เขาเป็นผู้สมบูรณ์ คือพรั่งพร้อม ด้วยอิริยาบถ มีการยืนและการนั่งเป็นต้น ได้กล่าว คือพูดคำที่จะกล่าว ต่อไปข้างหน้านี้.


ความคิดเห็น 73    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 471

อธิบายว่า นี่แน่ะสหายผู้เจริญ ท่านเป็นผู้มีหน้าตาผ่องใส คือเป็น ผู้ประกอบด้วยหน้าและตาผ่องใส คืองดงาม ได้แก่โชติช่วง. ราวกะว่า ความเป็นมุนีท่านเห็นได้คือปรากฏแก่ท่าน. ท่านถึงความเป็นอย่างนี้ ได้ บรรลุอมตนิพพานแล้ว ข้าพเจ้าขอถามท่านว่า ท่านได้บรรลุบทคือพระนิพพานอันไม่จุติแลหรือ.

บทว่า สุภานุรูโป อายาสิ ความว่า ท่านเป็นผู้สมควรแก่ความ งาม คือวรรณะอันผ่องใสมาแล้ว. ด้วยบทว่า อาเนญฺชการิโต วิย นี้ โกลิตมาณพถามว่า นี่แน่ะท่านผู้ชื่อว่าพราหมณ์ เพราะเป็นผู้ลอยบาปแล้ว ท่านเป็นเหมือนผู้ฝึกมาแล้ว คือเหมือนได้ศึกษามาอย่างดีถึง ๓ เดือน เหมือนช้างถูกแทงด้วยหอกซัดเป็นต้นก็ไม่หวั่นไหว ผู้มีการฝึกอันฝึกแล้ว คือมีสิกขาอันได้ศึกษาแล้ว เป็นผู้เข้าไปสงบแล้วในบท คือพระนิพพาน.

อุปติสสมาณพถูกโกลิตมาณพนั้นถาม จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อมตํ มยา ดังนี้. คำนั้นมีเนื้อความง่ายทั้งนั้น.

บทว่า อปริโยสิตสงฺกปฺโป ความว่า ผู้มีความดำริยังไม่ถึงที่สุด แห่งความปรารถนาที่ปรารถนาไว้ว่า เราพึงเป็นอัครสาวกของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอนาคต. เราท่องเที่ยว คือหมุนไปรอบๆ ในท่าอันผิด คือในทางที่ไม่ควรไป. อธิบายว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คือข้าแต่พระโคดมผู้เจริญที่สุดในโลก เพราะอาศัยคือเพราะได้บรรลุทัสสนะของ พระองค์ ความดำริของข้าพระองค์ คือความปรารถนาของข้าพระองค์จึง เต็มแล้ว คือบริบูรณ์แล้ว ด้วยการบรรลุอรหัตตมรรค คือด้วยการบรรลุ สาวกบารมีญาณ. บทว่า ปวิยํ ปติฏฺาย ความว่า ต้นไม้ที่เกิดบน แผ่นดิน ย่อมบานคือแย้มบานในสมัย คือในฤดูเหมันต์, กลิ่นทิพย์


ความคิดเห็น 74    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 472

คือกลิ่นหอมย่อมฟุ้ง คือฟุ้งตลบไป ย่อมยังสัตว์ทั้งปวง คือยังเทวดาและ มนุษย์ทั้งปวงให้ยินดี คือกระทำให้ประกอบด้วยโสมนัส ฉันใด.

ในบทว่า ตเถวาหํ มหาวีร เชื่อมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีความ เพียรใหญ่ คือผู้มีพระโอรสในศากยตระกูลเป็นมหาบริวาร ข้าพระองค์ ตั้งอยู่เฉพาะแล้ว ในศาสนาของพระองค์ จึงหาคือแสวงหาสมัย คือกาล เพื่อจะบาน คือเพื่อแย้มบานด้วยอรหัตตมรรคญาณ ฉันนั้นเหมือนกัน.

บทว่า วิมุตติปุปฺผํ ความว่า ชื่อว่าวิมุตติ เพราะพ้นหรือหลุดพ้น, หาอยู่ คือแสวงหาดอกไม้ กล่าวคืออรหัตตผลวิมุตติ อันเป็นที่พ้นจากภพ สงสารนั้น คือการท่องเที่ยว คือการไปในภพมีกามภพเป็นต้น ชื่อว่า ภวสังสาระ, การพ้นจากภวสังขาระนั้น ชื่อว่าภวสังสารโมจนะ. บทว่า วิมุตฺติปุปฺผลาเภน ความว่า ชื่อว่าวิมุตติ เพราะหลุดพ้น อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าวิมุตติ เพราะเป็นเครื่องหลุดพ้นแห่งบุคคลผุ้มีบุญสมภารอันทำไว้ แล้ว คืออัครผล ได้แก่พระอรหัตตผล. ชื่อว่า ปุปฺผํ ดอกไม้ เพราะ เป็นเครื่องบานคือแย้มบานแห่งเวไนย. ดอกไม้คือวิมุตติ ชื่อว่าวิมุตติ- ปุปผะ. การได้ ชื่อว่าลาภะ, การได้ดอกไม้คือวิมุตติ ชื่อว่าวิมุตติปุปผลาภะ, ข้าพระองค์ยังสัตว์ทั้งปวง คือเหล่าสรรพสัตว์ให้ยินดี คือให้ถึงความ โสมนัส ด้วยการได้ดอกไม้คือวิมุตติ ได้แก่ด้วยการบรรลุนั้น.

ในบทว่า ยาวตา พุทฺธเขตฺตมฺหิ ดังนี้เป็นต้น เชื่อมความว่า ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุ คือมีจักษุด้วยจักษุ ๕. อาณา คืออานุภาพแห่ง พระปริตรมีรัตนสูตรเป็นต้น ย่อมเป็นไปในที่ประมาณเท่าใดในพุทธเขต กล่าวคือในที่แสนโกฏิจักรวาลมีประมาณเท่านั้น เว้นพระมหามุนี คือเว้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า บรรดาสัตว์ทั้งหลายที่เหลือ ใครๆ อื่นผู้จะเหมือน


ความคิดเห็น 75    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 473

คือเสมอด้วยปัญญาแห่งบุตรของพระองค์ คือข้าพระองค์ผู้เป็นบุตรของ พระองค์ย่อมไม่มี. คำที่เหลือง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ปฏิปนฺนา เป็นต้น ความว่า พระอริยภิกษุทั้ง ๘ เหล่านี้ คือท่านผู้พรั่งพร้อมด้วยมรรค ๔ ท่านผู้ตั้งอยู่ในผล คือตั้งอยู่ในอรหัตตผล และพระเสขะผู้พรั่งพร้อมด้วยผล คือท่านผู้ประกอบด้วยผลทั้ง ๓ เบื้องต่ำ หวังคือแสวงหาประโยชน์อันสูงสุด คือพระนิพพาน แวดล้อม พระองค์ผู้มีปัญญา คือเสวนา คบหา เข้าไปนั่งใกล้อยู่ทุกเมื่อ คือตลอด กาลทั้งปวง.

เป็นผู้ฉลาด คือเฉลียวฉลาดในสติปัฏฐาน ๔ กล่าวคือ กายานุปัสสนา เวทนานุปัสสนา จิตตานุปัสสนา และธัมมานุปัสสนา ยินดีติดแน่นใน การอบรม คือการเจริญโพชฌงค์ทั้ง ๗ มีสติสัมโพชฌงค์เป็นต้น.

พระองค์ย่อมงดงามเหมือนอุฬุราชา คือเหมือนราชาแห่งดาวคือ พระจันทร์.

ชื่อว่า ธรณี เพราะทรงต้นไม้ ภูเขา รัตนะ และสัตว์เป็นต้น. ต้นไม้ทั้งหลาย ชื่อว่า ธรณีรุหา เพราะงอกขึ้นคือเกิด, และเจริญบน ธรณี. ต้นไม้ทั้งหลายตั้งอยู่บนปฐพี ย่อมงอกและย่อมเจริญ คือย่อมถึง ความเจริญงอกงาม ชื่อว่าย่อมถึงความไพบูลย์ คือความบริบูรณ์, ต้นไม้ เหล่านั้นย่อมแสดงผล คือย่อมทรงผลโดยลำดับ.

เมื่อจะสรรเสริญเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าแม้อีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สินฺธุ สรสฺสตี ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในคำนั้นต่อไป. แม้น้ำชื่อว่าสินธุวาทิ แม่น้ำชื่อว่า สรัสสดี แม่น้ำชื่อว่านันทิยะ แม่น้ำชื่อว่าจันทภาคา แม่น้ำชื่อว่าคงคา แม่น้ำ


ความคิดเห็น 76    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 474

ชื่อว่ายมุนา แม่น้ำชื่อว่าสรภู และแม่น้ำชื่อว่ามหี. สาครเท่านั้น คือ มหาสมุทรเท่านั้นย่อมรับ คือรับเอา ได้แก่ทรงไว้ซึ่งแม่น้ำเหล่านี้ซึ่งไหล ไปคือกำลังไปอยู่. ในกาลนั้น แม่น้ำทั้งหมดเหล่านั้นย่อมละคือทิ้งชื่อเดิม ได้แก่ชื่อและบัญญัติโวหารเดิมมีแม่น้ำสินธุวาทิเป็นต้น ย่อมรู้ คือย่อม ปรากฏชื่อว่า สาคร เท่านั้น ฉันใด. วรรณะทั้ง ๔ เหล่านี้ คือตระกูลทั้ง ๔ คือกษัตริย์ พราหมณ์ แพศย์ และศูทร ก็ฉันนั้นเหมือนกัน พากัน บวชในสำนักของพระองค์ คือในสำนักได้แก่ในที่ใกล้พระองค์ ทรง บาตรและผ้ากาสายจีวรบำเรออยู่ ย่อมละคือย่อมสละชื่อเดิม คือบัญญัติ โวหารอันมีชื่อว่ากษัตริย์เป็นต้น พึงรู้กัน คือเป็นผู้ปรากฏว่าพุทธบุตร คือว่าพุทธโอรส.

พระจันทร์ คือดวงจันทร์ชื่อว่าปราศจากมลทิน คือมีมลทินไป ปราศแล้ว ได้แก่ไม่มีมลทิน เพราะปราศจากเครื่องเศร้าหมอง ๕ ประการ คือหมอก น้ำค้าง ธุลี ควัน และราหู โคจรไปอยู่ในอากาศธาตุ คือ ท้องฟ้า ย่ำยีหมู่ดาวทั้งหมดด้วยรัศมี ไพโรจน์ คือสว่างจ้าอยู่ในโลก ฉันใด พระองค์ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ.

บัวขาวและบัวเผื่อนเกิดในน้ำ คือเจริญในน้ำมีมากมาย คือล่วง พ้นการนับ ไม่เปื้อนคือไม่ติดด้วยน้ำ เปือกตมและโคลน ฉันใด สัตว์ เป็นอันมาก คือสัตว์ไม่มีประมาณ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน เกิดคือเจริญอยู่ใน โลก อันราคะและโทสะเบียดเบียน คือผูกพันไว้ ย่อมงอกงาม เหมือน โกมุทงอกงาม คือเกิดในเปือกตมฉะนั้น. ปทุม ชื่อว่า เกสรี.

บทว่า รมฺมเก มาเส ได้แก่ ในเดือน ๑๒ เพราะท่านกล่าวไว้ว่า ในวันเพ็ญแห่งเดือนทั้ง ๔ อันเป็นที่บานแห่งดอกโกมุท. เชื่อมความว่า


ความคิดเห็น 77    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 475

ดอกไม้เป็นอันมากเกิดในน้ำ ได้แก่ดอกปทุมเป็นต้นย่อมบาน คือแย้ม ขยาย ดอกไม้ที่เกิดในน้ำ ย่อมล่วงเลยเดือนนั้น คือเดือน ๑๒ นั้น ไปไม่ได้. บทว่า สมโย ปุปฺผนาย โส ความว่า เดือน ๑๒ นั้นเป็น สมัยคือเวลาแห่งการบาน คือแย้มบาน. ดอกไม้ทั้งหลายย่อมบาน ฉันใด ข้าแต่พระศากยบุตร พระองค์ทรงเป็นผู้บาน คือแย้มบานแล้ว ฉันนั้น เหมือนกัน. บทว่า ปุปฺผิโต เต วิมุตฺติยา ความว่า ภิกษุทั้งหลายผู้เป็น ศิษย์ของพระองค์ กระทำบุญสมภารไว้แล้ว เป็นผู้บานแล้ว คือเป็นผู้ แย้มบานแล้วด้วยวิมุตติ คือด้วยญาณในอรหัตตผล. อธิบายว่า ปทุมที่เกิด ในน้ำ ย่อมไม่ล่วงพ้นเวลาที่บาน ฉันใด สัตว์เหล่านั้นย่อมไม่ล่วงเลย คือ ไม่ล่วงพ้นคำสอนคือโอวาทานุสาสนีของพระองค์ ฉันนั้น.

บทว่า ยถาปิ เสโล หิมวา ได้แก่ ภูเขาล้วนแล้วด้วยหินชื่อว่า หิมวันต์. ภูเขาหิมวันต์นั้น มีโอสถ คือมีโอสถสำหรับสัตว์ทั้งปวง คือ สำหรับสัตว์ผู้ป่วยไข้ทั้งหมด เป็นที่อยู่ คือเป็นบ้านเรือนของเหล่านาค อสูร และเทวดาทั้งปวงฉันใด ข้าแต่พระมหาวีรเจ้า พระองค์ก็ฉันนั้น เหมือนกัน ทรงเป็นประดุจโอสถ เพราะทรงปลดเปลื้องสัตว์ทั้งปวงให้ พ้นจากชรา พยาธิ และมรณะเป็นต้น. เชื่อมความว่า ภูเขาหิมวันต์นั้น เป็นที่อยู่ของพวกนาคเป็นต้น ฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึง คือผู้บรรลุความ เต็มเปี่ยม คือที่สุดแห่งวิชชา ๓ อภิญญา ๖ และอิทธิฤทธิ์ ก็ย่อมอาศัย พระองค์อยู่ ฉันนั้น. นัยที่คาถาทั้งหลายเนื่องสัมพันธ์กันด้วยอุปมาและ อุปไมย ในหนหลังหรือในเบื้องหน้า บัณฑิตพึงเข้าใจได้ดีทีเดียว.

ในคำว่า อาสยานุสยํ ตฺวา นี้ อัธยาศัยคือจริยา ชื่อว่า อาสยะ, กิเลสอย่างแรงกล้า ชื่อว่า อนุสยะ. อธิบายว่า ทรงทราบอัธยาศัยและ


ความคิดเห็น 78    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 476

อนุสัยคือความเป็นของกิเลส โดยนัยมีอาทิว่า ผู้นี้เป็นราคจริต ผู้นี้เป็น โทสจริต ผู้นี้เป็นโมหจริต. บทว่า อินฺทฺริยานํ พลาพลํ ความว่า ทรง รู้อินทรีย์ ๕ มีสัทธินทรีย์เป็นต้นมีกำลังและไม่มีกำลังอย่างนี้ว่า มีอินทรีย์ แก่กล้า มีอินทรีย์อ่อน มีอาการดี มีอาการไม่ดี ให้รู้ได้ง่าย ให้รู้ได้ ยาก. บทว่า ภพฺพาภพฺเพ วิทิตฺวาน ความว่า ข้าแต่พระสัพพัญญูผู้เจริญ พระองค์ทรงรู้แจ้ง คือทรงทำให้ประจักษ์ว่า บุคคลนี้ควร คือสามารถ บุคคลนี้ไม่ควรเพื่อรู้แจ้งธรรมที่เราแสดงแล้ว จึงทรงบันลือ คือทรง กระทำจักรวาลทั้งสิ้นให้มีการบันลือเป็นอย่างเดียวกัน ด้วยการบันลืออัน ไม่หวาดกลัว ด้วยการบันลือดุจสีหะในการแสดงธรรม เหมือนมหาเมฆ อันตั้งขึ้นในทวีปทั้ง ๔ บันลืออยู่ฉะนั้น.

บทว่า จกฺกวาฬปริยนฺตา ความว่า บริษัทพึงนั่งเต็มห้องจักรวาล โดยรอบ. พวกเขานั่งอยู่อย่างนั้น มีทิฏฐิต่างๆ กัน คือมีการถือทัสสนะ มิใช่น้อย กล่าวต่างๆ กัน เกิดแคลงใจ วิวาทกันอยู่ เพื่อจะตัดความ สงสัย คือเพื่อต้องการจะตัดความรู้ผิดของพวกเขา พระองค์ผู้เป็นมุนี ทรงฉลาดในข้ออุปมา คือทรงมีความชำนาญในอุปมาอุปไมย ทรงทราบจิต คือทรงทราบการเที่ยวไปแห่งจิตของสัตว์ทั้งปวง ตรัสปัญหาเดียวเท่านั้น ก็ตัดความเคลือบแคลงสงสัยของสัตว์ทั้งหลายผู้นั่งอยู่ในห้องแห่งจักรวาล ทั้งสิ้นเสียได้ คือทรงกระทำให้หมดความสงสัย โดยการตรัสปัญหาเดียว เท่านั้น.

บทว่า อุปทิสสทิเสเหว นี้ มีวิเคราะห์ดังต่อไปนี้. ชื่อว่า อุปทิสะ เพราะเขาเห็นกัน คือเป็นของปรากฏอยู่บนน้ำ ได้แก่พวกจอกแหน. ผู้เช่นกับพวกจอกแหน ชื่อว่า อุปทิสสทิสา ได้แก่ พวกมนุษย์. เหมือน


ความคิดเห็น 79    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 477

อย่างว่า อุปทิสะ คือจอกแหนทั้งหลาย ทำน้ำไม่ให้ปรากฏ แผ่ตั้งอยู่ บนน้ำนั้น ฉันใด พสุธา คือแผ่นดิน ก็ฉันนั้น พึงเต็มด้วยพวกมนุษย์ ผู้เช่นกับจอกแหนนั้นนั่นแหละ ผู้ยืนแผ่ติดๆ กันไป. มนุษย์ทั้งหมดนั้น ยืนเต็มปฐพี ประนมอัญชลี คือประคองอัญชลีไว้บนศีรษะ พึงประกาศ คุณพระโลกนายก คือพึงกล่าวคุณของพระพุทธเจ้าผู้โลกนายก.

หรือว่าเทวดาและมนุษย์ทั้งหมดนั้นประกาศอยู่ คือแม้จะกล่าว พระคุณอยู่ตลอดกัป คือตลอดกัปทั้งสิ้น ก็จะพึงประกาศด้วยพระคุณ ต่างๆ คือด้วยพระคุณมีประการต่างๆ แม้ถึงอย่างนั้น เทวดาและ มนุษย์ทั้งหมดนั้น ก็จะไม่พึงถึง คือจะไม่ถึงพร้อม คือจะไม่อาจเพื่อจะ นับประมาณ คือเพื่อจะกล่าวประมาณพระคุณได้. พระตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้าประมาณไม่ได้ คือมีพระคุณล้นเหลือ จนนับประมาณไม่ได้. ท่าน แสดงความเป็นผู้มีพระคุณยิ่งใหญ่ด้วยคำว่า อปฺปเมยฺโย นี้.

อธิบายในคาถานี้ว่า พระพุทธเจ้าผู้ทรงชนะแล้ว คือผู้ทรงชนะ กิเลส เป็นผู้อันเราประกาศ คือชมเชยแล้ว ด้วยเรี่ยวแรงของตน คือ ด้วยกำลังของตน โดยอุปมา อุปไมย ในหนหลัง ฉันใด เทวดาและ มนุษย์ทั้งปวงประกาศอยู่โกฏิกัปป์ก็ดี ร้อยโกฏิกัปป์ก็ดี ก็จะพึงประกาศ คือ พึงกล่าว ฉันนั้นเหมือนกัน.

เพื่อจะแสดงพระคุณทั้งหลายหาประมาณมิได้ ซ้ำอีก จึงกล่าวคำ มีอาทิว่า สเจ หิ โกจิ เทโว วา ดังนี้. บทว่า ปูริตํ ปริกฑฺเฒยฺย ความว่า บุคคลใดจะพึงชักน้ำอันเต็มในมหาสมุทรรอบทุกด้าน บุคคล นั้นพึงได้ คือพึงถึงความคับแค้น คือความทุกข์เท่านั้น. บทว่า วตฺเตมิ ชินสาสนํ ความว่า เราย่อมประพฤติปฏิบัติ คือ


ความคิดเห็น 80    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 478

รักษาพระไตรปิฎกทั้งสิ้นอันพระชินเจ้าตรัสแล้ว. บทว่า ธมฺมเสนาปติ ความว่า ชื่อว่าเป็นธรรมเสนาบดี เพราะเป็นใหญ่ คือเป็นประธานใน บริษัทกล่าวคือบริษัท ๔ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยธรรม คือด้วย ปัญญา. อธิบายว่า ในศาสนาของพระศากยบุตร คือของพระผู้มีพระภาคเจ้า เราจะรักษาพระพุทธศาสนาทั้งสิ้นในวันนี้ คือในกาลที่กำลัง เป็นไปอยู่นี้ เหมือนเชษฐโอรสของพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น.

เมื่อจะแสดงความหมุนเวียนไปในสงสารของตน จึงกล่าวคำมีอาทิ ว่า โย โกจิ มนุโช ภารํ ดังนี้. เชื่อมความในคำนี้ว่า มนุษย์คนใดคน หนึ่งพึงวางภาระ คือภาระบนศีรษะไว้บนกระหม่อม คือบนศีรษะแล้ว ทูนไว้ คือพึงนำไป มนุษย์นั้นพึงมีความลำบากเพราะภาระนั้น คือพึง เป็นผู้ถูกภาระนั้นเบียดเบียน ครอบงำอยู่ทุกเมื่อ คือตลอดกาล. ภาระ ได้แก่ภาระที่แบก เราแบกไว้แล้ว คือแบกไว้มากยิ่งนัก. เราถูกไฟ ๓ กอง กล่าวคือไฟคือราคะ ไฟคือโทสะ ไฟคือโมหะ เผาอยู่อย่างนั้น คือโดย ประการนั้น แบกคือเป็นทุกข์ด้วยภาระคือภพ ได้แก่ภาระคือการเข้าถึง ภพสงสาร เหมือนถอนภูเขา คือเหมือนถอนคือยกเขามหาเมรุบรรพตขึ้น วางไว้บนศีรษะ ท่องเที่ยวคือหมุนไปรอบๆ ในภพทั้งหลาย.

บทว่า โอโรปิโต จ เม ภาโร ความว่า บัดนี้ เราปลงคือวางภาระ คือภพนั้น ตั้งแต่เวลาที่บวชแล้ว. บทว่า ภวา อุคฺฆาฏิตา มยา ความว่า ภพใหม่ทุกภพเรากำจัดแล้ว. กรณียะ คือกรรมในการกำจัดกิเลสโดย ลำดับ มรรคที่จะต้องกระทำอันใด มีอยู่ในศาสนาของพระศากยบุตร คือ พระผู้มีพระภาคเจ้า กรณียะทั้งหมดนั้นเราทำเสร็จแล้ว.

เมื่อจะแสดงความวิเศษของตนอีก จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ยาวตา


ความคิดเห็น 81    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 479

พุทฺธเขตฺตมฺหิ ดังนี้. ในคำนั้น ท่านแสดงว่า ในพุทธเขต กล่าวคือ หมื่นจักรวาลมีกำหนดเพียงใด คือมีประมาณเท่าใด เว้นพระศากยะ ผู้ประเสริฐ คือพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญที่สุดในศากยตระกูล บรรดา สัตว์ที่เหลือทั้งหลาย สัตว์แม้ไรๆ ผู้เสมอเราด้วยปัญญาย่อมไม่มี. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราเป็นผู้เลิศด้วยปัญญา ไม่มีใครเหมือนเรา ดังนี้.

เมื่อจะแสดงอานุภาพของตนอีก จึงกล่าวคำ สมาธิมฺหิ ดังนี้ เป็นต้น. คำนั้นเข้าใจได้ง่ายทั้งนั้น.

บทว่า ฌานวิโมกฺขานขิปฺปปฏิลาภี ความว่า เป็นผู้พลันได้ฌาน มีปฐมฌานเป็นต้น และวิโมกข์อันเป็นโลกุตระ ๘ อันถึงการนับว่า วิโมกข์ เพราะพ้นจากโลก ชื่อว่าย่อมบรรลุได้เร็ว.

เมื่อจะประกาศความที่ตนแม้มีอานุภาพมากอย่างนั้น ก็เป็นผู้มีความ นับถือมาก ด้วยความเคารพในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จึงกล่าวคำมี อาทิว่า อุทฺธตวิโสว ดังนี้. ในคำนั้นมีอธิบายดังต่อไปนี้. บัดนี้ เราเป็น ผู้มีความหยิ่งด้วยมานะอันวางลงแล้ว คือเป็นผู้มีความหยิ่งด้วยมานะ มี ความเมาเพราะโคตรเป็นต้นอันทิ้งเสียแล้ว เหมือนงูถูกถอนพิษเสียแล้ว คือมีพิษกล้าอันเพิกทิ้งแล้ว (และ) เหมือนโคเขาขาด คือถูกตัดเขาเสีย แล้ว ย่อมเข้าไป คือเข้าถึงคณะคือสำนักสงฆ์ ด้วยความเคารพหนัก คือด้วยความนับถือมากด้วยความเต็มใจ.

บัดนี้ เมื่อจะประกาศความใหญ่แห่งปัญญาของตน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า ยทิรูปินี ดังนี้. อธิบายว่า ปัญญาใหญ่ของเราเห็นปานนี้เป็นของ ไม่มีรูปร่าง ถ้าจะพึงมีรูปร่าง ในกาลนั้น ปัญญาของเราก็จะสม คือจะ


ความคิดเห็น 82    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 480

เสมอกับพระเจ้าแผ่นดิน คือพระราชาผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน. ครั้นแสดง ความเป็นใหญ่แห่งปัญญาของตนอย่างนี้แล้ว แต่นั้น ได้ระลึกถึงบุพกรรมด้วยบุพเพนิวาสานุสสติญาณ จึงกล่าวคำมีอาทิว่า อโนมทสฺสิสฺส ดังนี้. ในคำนั้น มีอธิบายว่า ความเป็นใหญ่แห่งปัญญาของเรานี้ เป็น ผลแห่งการสรรเสริญญาณอันเรากระทำแล้วแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม ว่า อโนมทัสสี.

ก็ จักก ศัพท์ ในคำว่า ปวตฺติตํ ธมฺมจกฺกํ นี้ ย่อมเป็นไปใน อรรถว่า พาหนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า จตุจกฺกยานํ ยานมีล้อ ๔ ล้อ.

เป็นไปในอรรถว่า เทศนา เช่นในประโยคว่า ปวตฺติเต จ ปน ภควตา ธมฺมจกฺเก ก็แหละ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศจักรคือ ธรรม.

เป็นไปในอรรถว่า บุญกิริยาวัตถุ คือทานมัย เช่นในประโยค มีอาทิว่า จงยังจักรคือทานให้เป็นไปแก่สัตว์ทั้งปวง.

เป็นไปในอรรถว่า อิริยาบถ เช่นในประโยคมีอาทิว่า ย่อมยัง จักรคืออิริยาบถให้เป็นไปตลอดวันและคืน.

เป็นไปในอรรถว่า จักรกรด เช่นในประโยคมีอาทิว่า จักรย่อม หมุนอยู่บนกระหม่อมของคนผู้ถูกความอยากครอบงำ.

เป็นไปในอรรถว่า จักรรัตนะ เช่นในประโยคมีอาทิว่า พระเจ้า จักรพรรดิทรงเป็นไปด้วยอานุภาพแห่งจักร.

ก็ในที่นี้ จักก ศัพท์นี้ย่อมเป็นไปใน เทศนา. เชื่อมความว่า เรา ประกาศตาม คือประกาศไปตามได้โดยชอบ คือโดยไม่ผิดแผก ได้แก่ แสดง คือกระทำการแสดงพระธรรมจักร กล่าวคือพระไตรปิฎก อัน พระศากยบุตร คือพระโคดมสัมพุทธเจ้าผู้คงที่ คือผู้ประกอบด้วยตาทิคุณ


ความคิดเห็น 83    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 481

ทรงประกาศ คือทรงแสดงไว้แล้ว. การประกาศตาม คือการแสดงภพ ไปตามพระธรรมจักรที่ทรงแสดงแล้วนี้ เป็นผลของการสรรเสริญพระญาณที่เรากระทำแล้วแก่พระพุทธเจ้าองค์ก่อน.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงผลแห่งบุญ มีสัปปุริสูปนิสสยะ และโยนิโสมนสิการะเป็นต้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า มา เม กทาจิ ปาปิจฺโฉ ดังนี้. ในคำนั้น เชื่อมความว่า บุคคลผู้มีความปรารถนาลามก คือผู้ประกอบ ด้วยความอยากอันลามก ได้แก่มีปกติประพฤติลามก ผู้เกียจคร้านในการ กระทำวัตรปฏิบัติ ในการยืนและการนั่งเป็นต้น ผู้มีความเพียรเลวในการ เจริญฌาน สมาธิและมรรคเป็นต้น ชื่อว่าผู้มีสุตะน้อย เพราะเว้นจาก คันถธุระและวิปัสสนาธุระ และชื่อว่าผู้ไม่มีอาจาระ เพราะเว้นจากอาจาระ ในอาจารย์และอุปัชฌาย์เป็นต้น จงอย่าได้มาร่วมคือสมาคมกับเรา ในที่ ไหนๆ ในกาลไรๆ เลย.

บทว่า พหุสฺสุโต ได้แก่ บุคคลผู้เป็นพหูสูต ๒ อย่าง ด้วยอำนาจ ปริยัติและปฎิเวธ. บทว่า เมธาวี ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยเมธาคือปัญญา. บทว่า สีเลสุ สุสมาหิโต ความว่า ตั้งมั่นแล้ว คือมีจิตตั้งมั่นแล้วใน ปาริสุทธิศีล ๔ ศีลอันสัมปยุตด้วยมรรคและอุโบสถศีลมีองค์ ๘ เป็นต้น. บทว่า เจโตสมถานุยุตฺโต ได้แก่ บุคคลผู้ประกอบเอกีภาพแห่งจิต. อธิบายว่า บุคคลเห็นปานนี้ จงตั้งอยู่บนกระหม่อมโดยแท้ คือจงตั้งอยู่ แม้บนศีรษะอันเป็นกระหม่อมของเรา.

พระสารีบุตรเถระครั้นกล่าวผลานิสงส์ที่ตนได้แล้ว เมื่อจะชักชวน คนอื่นในข้อนั้น จึงกล่าวคำมีอาทิว่า ตํ โว วทามิ ภทฺทนฺเต ดังนี้. คำนั้นเข้าใจดีแล้วทั้งนั้น.


ความคิดเห็น 84    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 482

บทว่า ยมหํ ความว่า พระอัสสชิเถระใด เราเห็นครั้งแรกคือ เบื้องต้น ได้เป็นผู้ปราศจากมลทิน คือเว้นจากมลทิน เพราะละกิเลส ทั้งหลายมีสักกายทิฏฐิเป็นต้น โดยการได้โสดาปัตติมรรค พระอัสสชิเถระ นั้นเป็นอาจารย์เรา คือเป็นผู้ให้สำเหนียกโลกุตรธรรม. เราได้เป็นธรรมเสนาบดีในวันนี้ เพราะการได้ฟัง คือเพราะการพร่ำสอนของพระอัสสชิ- เถระนั้น. เราถึงความเต็มเปี่ยม คือถึงที่สุดในที่ทั้งปวง คือในคุณทั้งปวง เป็นผู้ไม่มีอาสวะคือไม่มีกิเลสอยู่.

เมื่อจะแสดงความมีความเคารพในอาจารย์ของตน จึงกล่าวคำมี อาทิว่า โย เม อาจริโย ดังนี้. เชื่อมความว่า พระเถระใดชื่อว่าอัสสชิ ผู้เป็นสาวกของพระศาสดา ได้เป็นอาจารย์ของเรา พระเถระนั้นย่อมอยู่ ในทิศใด คือในทิศาภาคใด เราทำทิศาภาคนั้นไว้เหนือศีรษะเรา คือ เหนือส่วนเบื้องบนแห่งศีรษะ.

แต่นั้น เมื่อจะแสดงถึงความที่คนเป็นผู้ได้ฐานันดร จึงกล่าวคำมี อาทิว่า นม กมฺมํ ดังนี้. เชื่อมความว่า พระโคดมคือพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้เป็นศากยะผู้ประเสริฐ คือผู้เป็นเกตุของศากยตระกูล ทรงระลึกคือทรง ทราบกรรมที่ทำไว้ในกาลก่อนของเรา ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ ประทับนั่งในท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ทรงตั้งเราไว้ในตำแหน่งอันเลิศ คือตำแหน่ง พระอัครสาวก.

ปฏิสัมภิทา ๔ เหล่านี้ คืออรรถปฏิสัมภิทา ธรรมปฏิสัมภิทา นิรุตติปฏิสัมภิทา ปฏิภาณปฏิสัมภิทา และความแตกต่างแห่งปฏิสัมภิทา เหล่านั้น ท่านกล่าวไว้แล้วในปฏิสัมภิทามรรค วิโมกข์ ๘ ว่าด้วยมรรค ๔ และผล ๔ หรือว่าด้วยรูปฌานและอรูปฌาน ได้แก่ธรรมเครื่องหลุดพ้น


ความคิดเห็น 85    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 5 ก.พ. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๑ - หน้า 483

จากสงสาร และอภิญญา ๖ มีอิทธิวิธะการแสดงฤทธิ์ได้ต่างๆ เป็นต้น เรากระทำให้แจ้งแล้ว คือกระทำให้ประจักษ์แล้ว. บทว่า กตํ พุทฺธสฺส สาสนํ ความว่า การพร่ำสอน ได้แก่คำสั่งสอน กล่าวคือโอวาทของ พระพุทธเจ้า เราทำเสร็จแล้ว คือให้สำเร็จแล้วด้วยอรหัตตมรรคญาณ.

ศัพท์ว่า อิตฺถํ ในคำว่า อิตฺถํ สุทํ นี้ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ชี้แจง อธิบายว่า โดยประการนี้. ด้วยคำนั้น ท่านบ่งถึงอปทานของ พระสารีบุตรทั้งสิ้น. ศัพท์ว่า สุทํ เป็นนิบาตใช้ในอรรถว่า ทำบทให้เต็ม. บทว่า อายสฺมา เป็นคำเรียกด้วยความเคารพหนัก. บทว่า สาริปุตฺโต ได้แก่ พระเถระที่เขาตั้งชื่อตามนามของมารดา. บทว่า อิมา คาถาโย ความว่า ได้ภาษิต คือกล่าวคาถาว่าด้วยอปทานของพระสารีบุตรเถระ ทั้งมวลเหล่านี้. อิติ ศัพท์ เป็นนิบาตลงในอรรถว่า จบบริบูรณ์ อธิบายว่า อปทานของพระสารีบุตรทั้งมวลจบแล้ว.

จบพรรณนาสารีปุตตเถราปทาน