ลักษณะของการรู้แจ้งอารมณ์...๒
โดย พุทธรักษา  11 มิ.ย. 2552
หัวข้อหมายเลข 12631

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สนธนาธรรม ที่เขาเต่า ๑-๔ สิงหาคม ๒๕๓๗

ท่านผู้ฟัง แล้ว "สัญญา" เป็นอย่างไร

ท่านอาจารย์ "สัญญาเจตสิก" ก็ "จำ"เช่นขณะนี้ มีเสียงอะไร ปรากฏ "จิต" ก็ รู้แจ้ง ทันที ขณะนั้น "สัญญาเจตสิก" ทำกิจหน้าที่ คือ "จำ" พร้อมกับ "จิตได้ยิน" ทันที เช่นเดียวกับ "เวทนาเจตสิก" ที่เกิดร่วมกับ "จิตได้ยิน" ก็ทำกิจ "รู้สึก" ทันที พร้อมกับ "จิตได้ยิน" เพราะฉะนั้นจะไม่ขาด "เจตสิก ๗ ดวง" คือ "สัพพจิตตสาธารณเจตสิก"

ท่านผู้ฟัง ขณะที่ "คิด" ก็มี "วิตกเจตสิก" ด้วยเพราะว่า มีการ "จำ" จึง มี "การคิด"?

ท่านอาจารย์ ต้องเป็น "ขณะอื่น" ไม่ใช่ ขณะที่ "จักขุวิญญาณจิต" เกิด เพราะฉะนั้น จึงมี "การจำแนก" ว่า "จิต" มี "เจตสิก" ที่เกิดร่วมด้วย เท่าไร ประเภทไหนบ้าง และ เพราะอะไร ตามกิจ ตามหน้าที่ ของ จิตนั้นๆ "จิต" รู้แจ้ง อารมณ์ ได้ ทุกอย่าง แต่ "จิต" จำแนกเป็นประเภทต่างๆ ถ้า "จักขุวิญญาณจิต" ทำกิจ คือ เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตา ขณะหนึ่งซึ่ง เกิด และ ดับไป อย่างรวดเร็วมากเพียง "เห็น" สิ่งที่ปรากฏทางตา เท่านั้น ขณะนั้น ยังไม่มี โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิก เกิดขึ้น แต่ ... หลังจากนั้นมี โลภเจตสิก โทสเจตสิก โมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย หลังจาก "เห็น" ขณะนั้น เพราะฉะนั้น ขณะที่เป็น "วิบากจิต" คือขณะที่ "จิต" เห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาแล้ว หลังจากนั้นก็เกิด "ความติดข้อง" ในสิ่งที่ปรากฏทางตานั้นติดข้อง อย่างมากมาย เพราะ "ความไม่รู้ความจริง"
"จิตเห็น" มีกิจเพียง "รู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏทางตา" เท่านั้น ไม่ยึดถือ ในสิ่งที่ปรากฏทางตา ว่า เป็นของตน สิ่งที่ "จิตเห็น" คือ "สิ่งที่ปรากฏทางตา" ซึ่งไม่ว่าใคร ก็ เห็น ได้ แต่ ไม่เป็นของใคร ไม่มีสิ่งใด ที่จะมา "เป็นของเรา" ได้เลยเพราะ เป็น เพียง "สิ่งที่ปรากฏทางตา" แต่ ขณะที่ "ติดข้อง" ขณะนั้น "โลภเจตสิก" เกิดแล้วเพราะเหตุ คือ "อวิชชา" ... "ความไม่รู้" ... "โลภเจตสิก" สภาพธรรม ที่มี "ปัจจัย" เกิดขึ้น ขณะหนึ่ง แล้วต้องดับไปอันนี้ คือ สิ่งที่ "ปัญญา" จะต้องรู้จนกว่า จะ "ประจักษ์แจ้ง" จึงจะสามารถไถ่ถอน "ความเป็นตัวตน" ออกไปได้ มิฉะนั้นก็ยัง เป็น ตัวตนเพราะว่า "โลภเจตสิก" เกิดต่อกันจนเสมือน มีอยู่ ตลอดเวลา

ท่านผู้ฟัง อาจารย์บอกว่า จิต และ เจตสิก เกิดแล้วดับ รวดเร็ว สั้นแสนสั้น แล้วจะประจักษ์ ได้ อย่างไร

ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ หมายความว่าค่อยๆ รู้ "ลักษณะ" ของ นามธรรม และ รูปธรรมโดย การแยกขาด จากกัน ก่อน ถ้าไม่มี "นามธรรม" .. "รูปธรรม" ก็ ไม่ปรากฏ และ ที่มี "โลก" มีความวุ่นวาย อย่างนี้เพราะว่ามี "นามธรรม" รูปธรรม ก็เป็น รูปธรรม ไม่เดือดร้อน ไม่ว่า ภูเขาไฟจะระเบิด น้ำจะท่วม พายุจะพัด ฯลฯ ไม่มีใครเดือดร้อนเลย
แต่ เป็นเพราะว่า มี "นามธรรม" ซึ่งเป็น "สภาพรู้"จึงเป็น ทุกข์ และ เดือดร้อน เพราะ สิ่งต่างๆ เพราะว่า มี "ธาตุรู้" หรือ "อาการรู้" ที่เกิดขึ้น รู้ สิ่งที่ ปรากฏ พระผู้มีพระภาคฯ ทรงดับขันธปรินิพพานหมายความว่าไม่มี "นามธรรม" เกิดขึ้น รู้ สิ่งที่ปรากฏ อีกเลย เพราะเห็นว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เกิดขึ้น แล้วก็ดับไปทั้ง นามธรรม และ รูปธรรม เพราะฉะนั้น การมี "สภาพรู้" คือ "นามธรรม" เปรียบเสมือน คนที่ ต้อง ทำงานเกิดขึ้นมา ก็ ต้อง เห็น ต้อง ได้ยิน ... ฯลฯ
"จิต" มีการรู้แจ้งอารมณ์ ทั้งนั้นแม้ ขณะ ที่ "คิด" อะไร กำลัง ปรากฏ ก็ หมายความว่า "จิต" กำลัง รู้ สิ่งนั้น เพราะฉะนั้น "จิต" จึงเป็น "สภาพธรรมที่รู้แจ้ง" คือ "รู้แจ้งอารมณ์ที่ปรากฏ"
"อารมณ์" คือ สิ่งที่ปรากฏ เท่านั้นไม่ทำหน้าที่อื่นเลยนอกจาก ปรากฏ ขณะที่ "จิต" รู้ "บัญญัติ" . "จิต" ก็ "รู้แจ้งบัญญัติ" แล้วจึงมี โมหมูลจิต มี วิจิกิจฉาเจตสิก มีอุทธัจจเจตสิก ฯลฯ เกิดขึ้น ซึ่ง "จิต" ก็ "รู้แจ้ง" ทั้งนั้นตาม กำลัง ของ "จิต"


"ขออนุโมทนา ท่าน ... ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ ค่ะ"

... ขออนุโมทนา ...



ความคิดเห็น 1    โดย aiatien  วันที่ 11 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 2    โดย h_peijen  วันที่ 12 มิ.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย สุภาพร  วันที่ 25 มิ.ย. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 4    โดย จักรกฤษณ์  วันที่ 25 มิ.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 5    โดย chatchai.k  วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ