สมมติว่าเราแค่โกหกเล่นๆ เพื่อแกล้งเพื่อน โดยที่ไม่ได้มีความประสงค์มุ่งร้ายและก็ไม่เกิดผลอะไร ที่ทำให้คนที่เราโกหกเสื่อมเสีย การกระทำอย่างนี้ถือว่าเราได้ทำ ผิดศีลหรือเปล่าครับ
ศีลข้อนี้สำหรับคฤหัสถ์เมื่อกล่าวมุสาโดยไม่ทำลายประโยชน์ผู้อื่น ไม่เป็นกรรมบถ แต่ย่อมมีโทษเพราะเป็นการพูดไม่จริง สะสมการพูดไม่จริง ขาดสัจจวาจา สำหรับ พระวินัยของพระภิกษุ ผิดศีลของพระ แม้กล่าวมุสาเพื่อล้อกันเล่น ที่ว่าโกหกโดยไม่ ได้ตั้งใจ ไม่มี เพราะถ้าไม่มีเจตนาพูด คำพูดที่ไม่จริงออกมาไม่ได้
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
มุสาวาท [มังคลัตถทีปนี]
เชิญคลิกอ่านได้ที่...
มุสาวาท [มังคลัตถทีปนี]
อนุโมทนา
ถึงแม้ว่าศึลไม่ขาด ไม่ถึงกับล่วงกรรมบถ เพราะไม่ครบองค์ แต่ก็เป็นอกุศล จิต พระพุทธเจ้าตรัสสอนกับราหุลว่า ไม่ควรพูดมุสาเพียงเพื่อหัวเราะกันเล่น คนที่พูดเท็จ จะไม่ทำชั่วในที่ลับไม่มีค่ะ
อนุโมทนาครับ
ทำไมพระพุทธเจ้าจึงตรัสว่า "...คนที่พูดเท็จ จะไม่ทำชั่วในที่ลับไม่มี" (เพราะบางคนแค่พูดหลอกเล่น แต่ไม่ได้ไปทำจริงๆ)
พระพุทธองค์ทรงแสดงโทษของอกุศลกรรมแม้เพียงเล็กน้อยว่า จะเป็นเชื้อให้เกิด อกุศลกรรมใหญ่ๆ ตามมาได้ ในชีวิตประจำวัน กิเลสอย่างกลางที่เกิดกับจิต แม้ไม่ ล่วงออกมา ก็ยังมีการสั่งสม และหมักดองมากขึ้นๆ อยู่ในจิตได้ ไม่หายไปไหน ไม่ต้องกล่าวถึงวาจาเท็จที่ล่วงออกมาในที่แจ้งแล้ว เพราะสามารถกล่าวกับผู้อื่นโดยไม่ ละอายใจได้ นั่นเป็นเป็นกิเลสอย่างหยาบที่หลายคนมองข้าม ส่วนจะไปทำในที่ ลับอีกหรือไม่ ก็แล้วแต่กุศลเหตุของผู้นั้นว่า จะสั่งสมคุณธรรมมาพอที่จะเกิดวิรัติงด เว้นคำพูดอย่างนั้นได้จริงๆ และได้ทุกครั้งตลอดไปไหม อย่าลืมว่าผู้ที่ไม่เห็นโทษ ของอกุศล ไม่มั่นคงในธรรมะ ย่อมตั้งอยู่บนความประมาทครับ
อนุโมทนา
ขอบคุณมากครับ...ajarnkruo
ขออนุโมทนาครับ