[เล่มที่ 77] พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า ๔๖๑
อวิชชา มี ลักษณะ ๒๕ คือ
ปัญญา ชื่อว่า ญาณ ปัญญานั้น ย่อมกระทำสัจจธรรม ๔ ซึ่งเป็นผลและเป็นผล ซึ่งเป็นเหตุและเป็นเหตุ ที่รู้แล้วให้ ปรากฏ แต่อวิชชานี้เกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันกระทำสัจจธรรม ๔ นั้น ให้รู้ ให้ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะเป็นข้าศึกต่อญาณ ปัญญา ชื่อว่า ทัสสนะ (ความเห็น) ก็มี ปัญญาแม้นั้นย่อมเห็นซึ่งอาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อเห็นสัจจธรรม ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อทัสสนะ.
ปัญญา ชื่อว่า อภิสมัย (ความตรัสรู้) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้อาการแห่งสัจจธรรม ๔ ตามที่กล่าวนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ อริยสัจจะ ๔ นั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อนภิสมัย ปัญญา ชื่อว่า อนุโพธะ ความตรัสรู้ตาม) สัมโพธะ (ความตรัสรู้ พร้อม) ปฏิเวธะ (การแทงตลอด) ก็มี ปัญญานั้น ย่อมตรัสรู้ตามย่อมตรัสรู้พร้อม ย่อมแทงตลอดอาการแห่งสัจจธรรม ตามที่กล่าวแล้วนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้วย่อมไม่ให้เพื่อตรัสรู้ตาม เพื่อตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอดสัจจธรรมนั้น เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อนนุโพธะ อสัมโพธะ และ อัปปฏิเวธะ.
ปัญญา ชื่อว่า สังคาหณา (ความถือเอาถูก) ก็มีปัญญานั้นถือเอาแล้วทดลองแล้ว ย่อมถือเอาอาการนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่อถือเอา ทดลองแล้วถือเอาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสังคาหณา
ปัญญา ชื่อว่า ปริโยคาหณา (ความหยั่งโดยรอบ) ก็มี ปัญญานั้นหยั่งลงแล้ว ชำแรกแล้วซึ่งอาการนั้น ย่อมถือเอา แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ไม่ไห้เพื่อหยั่งลง ชำแรกแล้วถือเอา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อปริโยคาหณา
ปัญญา ชื่อว่า สมเปกขนา (ความพินิจ) ก็มี ปัญญานั้น เพ่งอาการนั้นโดยสม่ำเสมอ และโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้ ย่อมเพื่ออันเพ่งอาการนั้น โดยสม่ำเสมอและโดยชอบ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า อสมเปกขนา
ปัญญา ชื่อว่า ปัจจเวกขณา (ความพิจารณา) ก็มี ปัญญานั้นย่อมพิจารณาอาการนั้น แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันพิจารณาอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงถือว่า อปัจจเวกขณา กรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง อันประจักษ์ ย่อมไม่มีแก่อวิชชานี้ และกรรมที่ตัวเอง (คืออวิชชา) ไม่พิจารณาแล้วกระทำ มีอยู่ เพราะเหตุนั้น อวิชชานี้จึงชื่อ ว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์)
อวิชชานี้ ชื่อว่า ทุมมิชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะความโฉดเฉา อวิชชานี้ ชื่อว่า พาลยะ (ความโง่เขลา) เพราะความเป็นธรรมชาติโง่เขลา
ปัญญา ชื่อว่า สัมปชัญญะ (ความรู้ทั่วพร้อม) ก็มี ปัญญานั้นย่อมรู้ทั่วซึ่งสัจจธรรม ๔ เป็นผลและเป็นผล ที่เป็นเหตุและเป็นเหตุโดยชอบ แต่อวิชชาเกิดขึ้นแล้ว ย่อมไม่ให้เพื่ออันรู้ทั่วซึ่งอาการนั้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อสัมปชัญญะ
อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่
อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความ ลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว
อวิชชา ชื่อว่า สัม โมหะ (ความหลงใหล) ด้วยอำนาจความหลงพร้อม
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถมีอาทิว่า ย่อมรู้สิ่งที่ไม่ควร รู้
อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะย่อมนำลงคือ ให้จมลงในวัฏฏะ
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะประกอบไว้ในวัฏฏะ
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุสัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้และเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะย่อมกลุ้มรุม ย่อมจับ ย่อมปล้นกุศลจิต เหมือนพวกโจรซุ่มในหนทางปล้นคนเดินทางฉะนั้น
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาลังคี (กลอนเหล็กคืออวิชชา) เพราะอรรถว่าเมื่อลิ่ม คือ กลอนเหล็กที่ประตูเมืองตกไปแล้ว ย่อมตัดขาดซึ่งการออกไปภายนอกเมือง ของพวกคนภายในเมืองบ้าง ซึ่งการเข้าไปภายในเมืองของพวกคนภายนอกเมืองบ้าง ฉันใด อวิชชา นี้ตกไปในกายนครของตนแห่งบุคคลใด ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณอันให้ถึงพระนิพพานของบุคคลนั้นฉันนั้น
อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เพราะอรรถว่า อกุศลนั้นเป็นมูล หรือเพราะอรรถว่า อวิชชา เป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย ก็อกุศลมูลนั้น มิใช่อื่น ในที่นี้ทรงประสงค์เอาโมหะ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า อกุศลมูล คือ โมหะ
บทว่า อย วุจิจติ (นี้เรียกว่า) ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกว่า นี้ชื่อ ว่า อวิชชามีลักษณะอย่างนี้
พึงทราบลักษณะอวิชชาด้วยอำนาจบท ๒๕ ด้วยประการฉะนี้.
อวิชชา ไม่ให้กระทำสัจจธรม ๔ ให้รู้ ให้ประจักษ์ จึงชื่อว่า อัญญาณ (ความไม่รู้) เพราะ เป็นข้าศึกต่อญาณ
อวิชชา ไม่ให้เห็นสัจจธรรม ๔ จึงชื่อว่า อทัสสนะ
อวิชชา ไม่ให้ตรัสสรู้ อริยสัจจะ ๔ จึงชื่อว่า อนภิสมัย
อวิชชา ไม่ให้ตรัสรู้ตาม ตรัสรู้พร้อม เพื่อแทงตลอดสัจจธรรมนั้น จึงชื่อว่า อนนุโพธะ อสัมโพธะ และ อัปปฏิเวธะ
อวิชชา ไม่ให้ถือเอา ทดลองแล้วถือเอาอาการนั้น จึงชื่อ อสังคาหณา
อวิชชา ไม่ให้หยั่งลง ชำแรกแล้วถือเอา จึงชื่อ อปริโยคาหณา
อวิชชา ไม่ให้เพ่งอาการนั้นโดยสม่ำสเมอ และโดยชอบ จึงชื่อว่า อสมเปกขนา
อวิชชา ชื่อว่า อัปปัจจักขกรรม (มีกรรมอันไม่พิจารณากระทำให้ประจักษ์)
อวิชชา ชื่อว่า ทุม มิชฌะ (ความทรามปัญญา) เพราะความโฉดเฉา
อวิชชา ชื่อว่า พาล ยะ (ความโง่เขลา) เพราะความโง่เขลา
อวิชชา ไม่ให้รู้ทั่วซึ่ง สัจจธรรม ๔ จึงชื่อว่า อสัมปชัญญะ
อวิชชา ชื่อว่า โมหะ (ความหลง) ด้วยอำนาจแห่งความโง่
อวิชชา ชื่อว่า ปโมหะ (ความลุ่มหลง) ด้วยอำนาจความหลงทั่ว
อวิชชา ชื่อว่า สัมโมหะ (ความหลงไหล) ด้วยอำนาจความหลงพร้อม
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ด้วยอำนาจอรรถที่ว่า ย่อมไม่รู้สิ่งที่ควรรู้
อวิชชา ชื่อว่า อวิชโชฆะ (โอฆะคืออวิชชา) เพราะให้จมลงในวัฏฏะ
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาโยคะ (โยคะคืออวิชชา) เพราะปะกอบไว้ไนวัฏฏะ
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชานุสัย (อนุลัยคืออวิชชา) ด้วยอำนาจการละยังไม่ได้และเพราะเกิดขึ้นบ่อยๆ
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชาปริยุฏฐาน (การกลุ้มรุมจิตคืออวิชชา) เพราะกลุ้มรุม จับ ปล้นกุศลจิต
อวิชชา ชื่อว่า อวิชชา ลังคี (กลอนเหล็กคือลังคี) ย่อมตัดขาดการดำเนินไป คือ ญาณอัน ให้ถึงพระนิพพาน
อวิชชา ชื่อว่า อกุศลมูล เป็นมูลแห่งอกุศลทั้งหลาย คือ โมหะ
ขออนุโมทนา
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ