การถวายซองสีขาวแด่พระภิกษุ หลังประกอบพิธีกรรม เช่น งานศพและงานบุญอื่นๆ ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยแนะนำว่า ท่านไม่ได้ใส่เงินลงไปในซอง แต่เป็นใบแจ้งรายละเอียดจำนวนเงินที่ถวาย แต่จำรายละเอียดได้แค่นั้น เมื่อเร็วๆ นี้ มีผู้สงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ และมาสอบถามเพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้อง จึงขอเรียนถามว่า
๑. ใบแจ้งรายละเอียดในซอง ควรระบุว่าอย่างไร
๒. เงินทั้งหมดฝากไว้ที่มรรคทายก หรือ กรรมการวัด หรือไม่
๓. หากวัดนั้นไม่มีมรรคทายก หรือ กรรมการวัด ควรฝากเงินไว้ที่ใคร
๑. ใบแจ้งรายละเอียด (ใบปวารณา) ควรระบุว่าเราถวายมูลค่าของปัจจัย ๔ อันสมควรแก่สมณะและให้เรียกขอปัจจัย ๔ ที่ไวยาวัจจกร
๒. และ ๓. เงินทั้งหมดควรฝากไว้ที่มรรคทายก หรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งที่พระภิกษุ ท่านแสดงให้ แต่ไม่ควรถวายเงินกับพระโดยตรง
ขอเชิญคลิกอ่านรายละเอียดที่..
สมุดเงินฝากธนาคารของพระกับข้อห้าม
ใส่บาตรด้วยเงิน
พระใส่บาตรด้วยเงิน
มีพระภิกษุนิกายใดบ้างหรือไม่ที่รับเงินได้
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออนุโมทนาค่ะ
สมัยพุทธกาลมีวัดกี่วัด มีใครเป็นผู้ดูแลปัจจัย ๔ ถวายพระสมัยปัจจุบันมีวัดกี่วัด มีใครเป็นผู้ดูแลปัจจัย ๔ ถวายพระ
ไม่ว่าจะเป็นสมัยไหน มีวัดหรือพระภิกษุจำนวนเท่าไหร่ก็ตาม สิ่งที่ควรประพฤติ คือการเคารพพระธรรมวินัยที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
ภิกษุในครั้งพุทธกาล อยู่ด้วยปัจจัย ๔ เท่านั้น คือ บิณฑบาต ที่อยู่ ยารักษาโรค จีวร เวลาท่านจะเดินทาง ก็มีรองเท้าเป็นยานพานะ ไม่มีรถยนต์เหมือนสมัยนี้ ค่ะ
สมัยนี้พระจะเที่ยวไปได้อย่างไรดีโดยไม่ต้องข้องเกี่ยวกับเงิน (สภาวธรรมที่เป็นปัจจุบันโดยใช้ปัญญารอบรู้ในกองสังขารมากบ้าง น้อยบ้างพิจารนา)
สาธุ
จัดการโดยที่พระไม่ต้องสะสม หรือแตะเงิน เหมาะสุดน่ะ
พระวินัยบัญญัติเป็นบรรทัดฐานการใช้ชีวิตของบรรพชิต ไม่ควรใช้วิถีชีวิตอย่างฆราวาสมาเป็นเครื่องตัดสิน
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ