จุนทสูตรที่ ๕ ว่าด้วยสมณะมี ๔ จําพวก
โดย บ้านธัมมะ  12 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 40158

[เล่มที่ 46] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 293

อุรควรรคที่ ๑

จุนทสูตรที่ ๕

ว่าด้วยสมณะมี ๔ จําพวก


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 46]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 293

จุนทสูตรที่ ๕

ว่าด้วยสมณะมี ๔ จำพวก

นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามว่า

[๓๐๒] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระพุทธเจ้าผู้เป็นมุนี มีพระปัญญามาก ผู้เป็น เจ้าของแห่งพระธรรม ผู้มีตัณหาปราศจาก ไปแล้ว ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ผู้ประเสริฐกว่า สารถีทั้งหลายว่า สมณะในโลกมีเท่าไร ขอ เชิญพระองค์ตรัสบอกสมณะเหล่านั้นเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อนจุนทะ

สมณะมี ๔ สมณะที่ ๕ ไม่มี เราถูก ท่านถามซึ่งหน้าแล้ว ขอชี้แจงสมณะทั้ง ๔ เหล่านั้น ให้แจ่มแจ้งแก่ท่าน คือ สมณะ ผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค ๑ สมณะผู้แสดง มรรค (แก่ชนเหล่าอื่น) ๑ สมณะเป็นอยู่ ในมรรค ๑ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ๑.

นายจุนทกัมมารบุตรทูลถามว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสสมณะ ผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรคอะไร สมณะ เป็นผู้มีปรกติเพ่งมรรคไม่มีผู้เปรียบ สมณะ เป็นอยู่ในมรรค ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 294

ขอพระองค์ตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ อนึ่ง ขอพระองค์ทรงชี้แจง สมณะประทุษร้าย มรรคให้แจ้งแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสตอบว่า

พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมตรัสสมณะ ผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว ผู้ไม่มีกิเลสดุจ ลูกศร ผู้ยินดียิ่งแล้วในนิพพาน ผู้ไม่มี ความกำหนัด ผู้คงที่ เป็นผู้นำโลกพร้อม ด้วยเทวโลกว่า สมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วย มรรค ๑.

ภิกษุใดในศาสนานี้รู้ว่า นิพพานเป็น ธรรมยิ่ง ย่อมบอกได้ ย่อมจำแนกธรรมใน ธรรมวินัยนี้แล พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัส ภิกษุที่ ๒ ผู้ตัดความสงสัย ผู้เป็นมุนี ผู้ไม่ หวั่นไหวนั้นว่า สมณะผู้แสดงมรรค.

ภิกษุใด เมื่อบทธรรมอันพระพุทธเจ้า ทั้งหลายทรงแสดงไว้ดีแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้ว มีสติ เสพบทอันไม่มีโทษอยู่ ชื่อว่าเป็นอยู่ ในมรรค พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสภิกษุที่๓ นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค.

บุคคลกระทำเพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวกผู้มีวัตร


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 295

อันงามให้เป็นเครื่องปกปิดแล้ว มักประพฤติ แล่นไป ประทุษร้ายตระกูล เป็นผู้คะนอง มีมายา ไม่สำรวม เป็นคนแกลบ บุคคลนั้น แลชื่อว่า เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค อย่างยิ่งด้วยวัตตปฏิรูป.

ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับ มีปัญญา ทราบสมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นเช่นนั้น เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่ยังศรัทธาของคฤหัสถ์ ผู้ทราบชัดสมณะเหล่านี้ให้เสื่อม จะพึง กระทำสมณะผู้ไม่ถูกโทษประทุษร้าย ให้ เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษประทุษร้าย จะพึง กระทำสมณะผู้บริสุทธิ์ ให้เสมอด้วยสมณะ ผู้ไม่บริสุทธิ์ อย่างไรได้.

จบจุนทะสูตรที่ ๕

อรรถกถาจุนทสูตร

จุนทสูตรเริ่มด้วยคาถาว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ปหุตปญฺํ ดังนี้ :-

มีอุบัติอย่างไร? โดยสังเขปก่อน ในอุบัติ ๔ อย่าง อันต่างเพราะ อัชฌาสัยของตน เพราะอัชฌาสัยของคนอื่น เพราะอุบัติแห่งเรื่อง และเพราะ อำนาจแห่งการถาม สูตรนี้มีอุบัติเพราะอำนาจแห่งการถาม.


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 296

ส่วนโดยพิสดาร ในสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกในแคว้น มัลละ พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์มาก เสด็จถึงเมืองปาวา ได้ยินว่า ในครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อันพวันของนายจุนทกัมมารบุตร ใกล้เมือง ปาวา จำเดิมแต่นี้ไป พึงให้พิสดารโดยนัยที่มาแล้วในสูตรว่า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ในเวลาเช้า ทรงนุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร พร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์ เสด็จไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร ครั้นเสด็จเข้าแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูลาดแล้ว. ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งพร้อมด้วย พระภิกษุสงฆ์อย่างนี้แล้ว นายจุนทกัมมารบุตรเมื่ออังคาสพระภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ได้น้อมภาชนะทองคำทั้งหลาย แด่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อ รับพยัญชนะและสูปะเป็นต้น.

ครั้นเมื่อสิกขาบทยังไม่ทรงบัญญัติ ภิกษุบางพวกรับภาชนะทองคำ บางพวกไม่รับ ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีภาชนะอย่างเดียวเท่านั้น คือ บาตรเสลมัยของพระองค์ พระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่ทรงรับภาชนะที่ ๒ ใน พระภิกษุเหล่านั้น ภิกษุชั่วรูปหนึ่งใส่ภาชนะทองคำราคาหนึ่งพันที่ถึงเพื่อ ประโยชน์แก่โภชนะของตน ในถุงกุญแจด้วยไถยจิต. นายจุนทะอังคาสแล้ว ล้างมือและเท้า นมัสการพระผู้มีพระภาคเจ้า แลดูพระภิกษุสงฆ์อยู่ ได้เห็น ภิกษุนั้น และทำทีเหมือนไม่เห็น ไม่ได้พูดอะไรกะภิกษุนั้น ด้วยความเคารพ ในพระผู้มีพระภาคเจ้า และในพระเถระทั้งหลายว่า เออก็พวกมิจฉาทิฏฐิ อย่ามี ถ้อยคำ เขาอยากจะรู้ว่า สมณะทั้งหลายเป็นผู้ประกอบด้วยสังวรหรือหนอ หรือว่า สมณะแม้เช่นนี้มีสังวรแตกแล้ว ในเวลาเย็นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลถามว่า ปุจฺฉามิ มุนึ ดังนี้.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 297

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุจฺฉามิ มีนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทส นั่นแล โดยนัยมีอาทิว่า การถามสามอย่าง คือ การถามให้สิ่งที่ไม่เห็นให้ แจ่มแจ้ง. (๑)

บทว่า มุนึ แม้นั่น มีนัยที่กล่าวแล้วในนิทเทสนั่นเอง โดยนัยมีอาทิว่า ญาณเรียกว่า โมนะ ปัญญา ความรู้ชัด ฯลฯ สัมมาทิฏฐิใด มุนีประกอบพร้อม ด้วยญาณนั้น ถึงแล้วซึ่งโมนะ เพราะฉะนั้น โมเนยยะ ๓ อย่าง คือ กาย โมเนยยะ. (๒) ก็ความสังเขปในคาถานี้ ดังนี้. บทว่า ปุจฺฉามิ ความว่า นาย จุนทกัมมารบุตรเมื่อกระทำโอกาส จึงทูลร้องเรียกผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นมุนี. บทว่า ปหุตปญฺํ เป็นต้น เป็นคำกล่าวสรรเสริญ. นายจุนทกัมมารบุตร สรรเสริญพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นว่าเป็นมุนี ด้วยบทเหล่านั้น. ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหุตปญฺํ ได้แก่มีพระปัญญาไพบูลย์. ก็ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า นั้นมีพระปัญญาไพบูลย์ พึงทราบว่าทรงการทำไญยธรรมเป็นที่สุด. บทว่า อิต จุนฺโท กมฺมารปุตฺโต นี้ มีนัยที่กล่าวแล้วในธนิยสูตรนั่นแล. ก็เบื้องหน้า แต่นี้ ข้าพเจ้าไม่กล่าวแม้คำมีประมาณเท่านี้ ทิ้งนัยที่กล่าวแล้วทั้งหมด จัก พรรณนานัยที่ยังไม่กล่าวเท่านั้น.

บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระพุทธะทั้งสาม. บทว่า ธมฺมสฺสามึ ความว่า ชื่อว่า ผู้เป็นเจ้าของแห่งพระธรรม คือ ผู้มี พระธรรมเป็นอิสระ ผู้เป็นธรรมราชา ผู้ประพฤติตามอำนาจธรรม เพราะ ความที่พระองค์ทรงให้มรรคธรรมเกิด ดุจบิดาของบุตรเป็นอาจารย์ของพวก ศิลปายตนะที่ตนให้เกิดแล้วเป็นต้น. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า ดูก่อนพราหมณ์


๑. ขุ. จูฬนิทฺเทส. ๖๑. ๒. ขุ. จูฬนิทฺเทส ๖๑.


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 298

ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ทรงยัง มรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ทรงบอกมรรคที่ยังไม่ได้บอก ทรงรู้มรรค ทรงรู้แจ้งมรรค ทรงฉลาดในมรรค ส่วนสาวกทั้งหลาย เป็นผู้คล้อยตามมรรค อยู่ในปัจจุบัน เป็นผู้ประกอบพร้อมในภายหลัง *.

บทว่า วีตตณฺหํ ได้แก่ ผู้ปราศจากกามตัณหา ภวตัณหา และ วิภวตัณหาแล้ว. บทว่า ทิปทุตฺตมํ ได้แก่ ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลาย. ในบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ามิใช่ทรงเป็นผู้สูงสุดกว่าสัตว์ ๒ เท้าอย่างเดียว เท่านั้น ก็จริง ถึงกระนั้น ก็เป็นผู้สุดกว่าสัตว์ทั้งหลายที่ไม่มีเท้า มี ๒ เท้า ฯลฯ หรือ เนวสัญญีนาสัญญีทั้งหมด โดยที่แท้เรียกว่า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า นั่นเทียว ด้วยอำนาจการกำหนดอย่างสูงสุด. เพราะสัตว์ ๒ เท้าทั้งหลายชื่อว่า สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวง เพราะพระเจ้าจักรพรรดิ พระมหาสาวกและพระปัจเจก พุทธเจ้าเป็นต้น ก็เกิดในสัตว์ ๒ เท้านั้น. ก็เมื่อกล่าวว่า ผู้สุดกว่าสัตว์เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เป็นอันเรียกว่า ผู้สูงสุดกว่าสัตว์ทั้งปวงเหมือนกัน.

บทว่า สารถึนํ ปวรํ ความว่า ชื่อว่า สารถี เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ให้แล่นไป. คำว่า สารถี นั่นเป็นชื่อของผู้ฝึกช้างเป็นต้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเป็นผู้ประเสริฐกว่าสารถีเหล่านั้น เพราะพระองค์ทรงสามารถเพื่อฝึกบุรุษ ที่ควรฝึกทั้งหลาย ด้วยการฝึกอันยอดเยี่ยม. เหมือนอย่างที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ฝึกช้างย่อมให้ช้างที่ฝึกแล่นไปสู่ทิศเดียวเท่านั้น หรือทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ หรือทิศใต้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝึกม้าย่อมให้ม้าที่ฝึก


* ม. อุ. โคปกโมคฺคลฺลานสุตฺต ๙๕.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 299

แล่นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผู้ฝึกโค ย่อมให้โคที่ฝึกแล่นไปสู่ ฯลฯ ทิศใต้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมให้บุรุษที่ฝึกแล้ว แล่นไปสู่ทิศทั้งแปด คือ ผู้มีรูปเห็นรูปทั้งหลาย นี้เป็นทิศหนึ่ง ฯลฯ เข้าถึง สัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นทิศที่แปด๑ ดังนี้.

บทว่า กติ ได้แก่ การถามถึงประเภทแห่งเนื้อความ. บทว่า โลเก ได้แก่ในสัตวโลก. บทว่า สมณา เป็นการแสดงไขอรรถอันพึงถาม. บทว่า อิงฺฆ เป็นนิบาตลงในอรรถร้องขอ. บทว่า ตทิงฺฆ แยกออกเป็น เต อิงฺฆ แปลว่า ขอเชิญ ตรัสบอกสมณะเหล่านั้น. บทว่า พฺรูหิ ความว่า ตรัสบอก คือ จักตรัส.

ครั้นนายจุนทะทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเห็นนายจุนทกัมมารบุตรไม่ถามปัญหาของคฤหัสถ์ โดยนัยมีอาทิว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุศลเป็นอย่างไร อกุศลเป็นอย่างไร ถามอยู่ซึ่งปัญหาของสมณะ เมื่อทรงระลึก ทรงรู้ว่า นายจุนทกัมมารบุตรนี้ ถามหมายถึงภิกษุชั่วนั้น เมื่อจะทรงแสดง ความที่ภิกษุนั้นไม่เป็นสมณะ เพราะสักว่าโวหารบัญญัติ จึงตรัสว่า สมณะ ๔ พวก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จตุโร เป็นการกำหนดจำนวน. บทว่า สมณา ความว่า บางคราว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถึงเดียรถีย์ทั้งหลาย โดย วาทะว่า สมณะ เหมือนที่ตรัสว่า เหล่านั้นใดเป็นวตโกตูหลมงคสของสมณพราหมณ์ผู้ปุถุชน. บางคราวตรัสถึงปุถุชนทั้งหลาย ดุจตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ชนย่อมจำท่านว่า สมณะ สมณะ๒. บางคราวตรัสถึงพระเสกขะ ดุจ


๑. ม. อุ. สฬายตนวิภงฺคสุตฺต ๓๗๕. ๒. ม. มู. จูฬอสฺสปุรสุตฺต ๔๘๘.


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 300

ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะผู้เสกขะมีในศาสนานี้เท่านั้น สมณะที่ ๒ มีในศาสนานี้๑. บางคราวตรัสถึงพระขีณาสพทั้งหลาย ดุจตรัสว่า เป็นสมณะ เพราะสิ้นอาสวะทั้งหลาย๒. บางคราวตรัสถึงพระองค์นั่นแล ดุจตรัสว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย คำว่า สมณะ นั่นแล เป็นชื่อของเราตถาคต๓ ดังนี้. แต่ในที่นี้ ตรัสถึงพระอริยะแม้ทั้งหมด และปุถุชนผู้มีศีล ด้วยบททั้งสาม. ด้วยบทที่สี่ ทรงสงเคราะห์ภิกษุนอกนี้แม้ไม่เป็นสมณะมีแต่ผ้าเหลืองพันคอว่า สมณะ ด้วย เหตุสักว่าโวหารอย่างเดียว แล้วจึงตรัสว่า สมณะมี ๔ พวก ดังนี้.

บทว่า น ปญฺจมตฺถิ ความว่า ชื่อว่า สมณะที่ห้าไม่มีในพระธรรมวินัยนี้ โดยเหตุสักว่า โวหาร แม้โดยเหตุสักว่าปฏิญญา. บทว่า เต เต อาวิกโรมิ ความว่า เราจะทำสมณะ ๔ เหล่านั้น ให้ปรากฏแก่ท่าน. บทว่า สกฺขิปุฏโ ความว่า ถูกถามซึ่งหน้าแล้ว.

บทว่า มคฺคชิโน ความว่า ผู้ชนะกิเลสทั้งปวงด้วยมรรค.

บทว่า มคฺคเทสโก ได้แก่ ผู้แสดงมรรคแก่ชนเหล่าอื่น.

บทว่า มคฺเค ชีวติ ความว่า ในพระเสขะทั้ง ๗ พระเสขะรูปใด รูปหนึ่ง ชื่อว่าเป็นอยู่ในมรรคอันเป็นโลกุตระ เพราะการอบรมมรรคอันตน ยังไม่แสวงหา และปุถุชนผู้มีศีล ชื่อว่า เป็นผู้อยู่ในมรรคอันเป็นโลกิยะ หรือ ปุถุชนผู้มีศีล พึงทราบว่าเป็นอยู่ในมรรค แม้เพราะเป็นอยู่ด้วยมรรคนิมิตอัน เป็นโลกุตระ.

บทว่า โย จ มคฺคทูสี ความว่า และสมณะผู้ทุศีล เป็นมิจฉาทิฏฐิ ชื่อว่า ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะปฏิบัติแม้ขัดกับมรรค.


๑. อํ. จุตุกฺก ๓๓๓. ๒. ม. มู. จูฬอสฺสปุรสุตฺต ๔๙๔. ๓. อํ. อฎฺฐฺก. ๒๐๔.


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 301

นายจุนทะเมื่อไม่อาจรู้ชัดซึ่ง สมณะ ๔ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยก ขึ้นแสดงโดยย่อว่า สมณะ ๔ เหล่านี้ อย่างนี้ว่า ในสมณะเหล่านี้ สมณะผู้ ชนะด้วยมรรคชื่อนี้ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรคชื่อนี้ ดังนี้ เพื่อจะทูลถามอีก จึงทูลว่า กมฺมคฺคชินํ ดังนี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มคฺเค ชีวติ เม ความว่า สมณะนั้นใด เป็นอยู่ในมรรค พระองค์อันข้าพระองค์ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกสมณะนั้นแก่ข้าพระองค์. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วเทียว.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงขยายสมณะแม้ทั้งสี่แก่ พราหมณ์นั้น ด้วยคาถา ๔ คาถา จึงตรัสว่า โย ติณฺณกถํกโถ ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณกถํกโถ วิสลฺโล (สมณะผู้ข้าม ความสงสัยได้แล้ว ผู้ไม่มีกิเลสดุจลูกศร) นั่น มีนัยที่กล่าวแล้วในอุรคสูตร นั่นแล. ส่วนความแปลกกัน ดังนี้ :-

เพราะสมณะ คือ พระพุทธเจ้า ทรงประสงค์เอาว่า สมณะผู้ชนะ สรรพกิเลสด้วยมรรค ด้วยคาถานี้ เพราะฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า ชื่อว่า สมณะผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว แม้เพราะความไม่รู้ในธรรมทั้งปวง อันสมควร สงสัย เป็นธรรมอันพระองค์ข้ามได้แล้ว ด้วยสัพพัญญุตญาณ. ก็สมณะทั้งหลาย มีโสดาบันเป็นต้น มีพระปัจเจกพุทธเจ้าเป็นที่สุด แม้ข้ามความสงสัยได้แล้ว โดยนัยที่กล่าวแล้วในบทก่อน แต่โดยปริยาย ชื่อว่า ยังไม่ข้ามความสงสัยทีเดียว เพราะเป็นผู้มีอำนาจญาณไม่กระทบในวิสัยทั้งหลายมีสกทาคามิวิสัยเป็นต้น มี พุทธวิสัยเป็นที่สุด. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นสมณะผู้ข้ามความสงสัยได้แล้ว โดยประการทั้งปวง.


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 302

บทว่า นิพฺพานาภิรโต ได้แก่ ยินดีเฉพาะแล้ว ในนิพพาน. อธิบายว่า มีจิตน้อมแล้วในนิพพานทุกเมื่อ ด้วยอำนาจแห่งผลสมาบัติ. และ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงเป็นเช่นนั้น สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอัคคิเวสสนะ เรานั้นแลย่อมตั้งพร้อม ให้สงบ กระทำให้เป็นธรรมเอก ตั้งมั่น ซึ่งจิตใน ภายในนั้นแลไว้ในสมาธินิมิตอันก่อนนั้นเทียว ในที่สุดแห่งคาถานั้นแล.

บทว่า อนานุคิทฺโธ ความว่า ผู้ไม่มีความกำหนัด ซึ่งธรรมไรๆ ด้วยความกำหนัด คือ ตัณหา.

บทว่า โลกสฺส สเทวกสฺส เนตา ความว่า เป็นผู้นำ คือ ให้ ถึงโลกพร้อมด้วยเทวโลก ด้วยการแสดงธรรม โดยสมควรแก่อาสัยและอนุสัย ให้ถึงการแทงตลอดสัจจะ แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย อันไม่มีปริมาณ ใน สูตรทั้งหลายมาก มีปารายนสูตรและมหาสมยสูตรเป็นต้น. อธิบายว่า ให้ข้าม คือ ให้ถึงฝั่งนอก.

บทว่า ตาทึ ความว่า ผู้เป็นเช่นนั้น มีประการตามที่กล่าวแล้ว หรือผู้ไม่ผันแปรด้วยโลกธรรมทั้งหลาย. บทที่เหลือในคาถานี้ ปรากฏแล้วแล.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะ คือ พระพุทธเจ้าว่า เป็นพระสมณะผู้ชนะสรรพกิเลสด้วยมรรค ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้เมื่อ จะทรงขยายสมณะผู้ขีณาสพ จึงตรัสว่า ปรมํ ดังนี้.

ในคาถานั้น นิพพาน ชื่อว่า ปรมะ อธิบายว่า เลิศ อุดมกว่าธรรม ทั้งปวง. บทว่า ปรมนฺติ โยธ ตฺวา ความว่า ภิกษุใดในศาสนานี้รู้ว่า นิพพานนั้นเป็นธรรมยิ่ง ด้วยปัจจเวกขณญาณ.


๑. ม. มู. มหาสจฺจกสุตฺต ๔๔๐.


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 303

บทว่า อกฺขาติ วิภชติ อิเธว ธมฺมํ ความว่า ย่อมนิพพานธรรม คือ กระทำนิพพานธรรมให้ปรากฏแก่คนเหล่าอื่น เพราะความที่ นิพพานธรรมเป็นธรรมอันตนแทงตลอดแล้วว่า นี้นิพพาน ย่อมจำแนกมรรคธรรมว่า เหล่านี้สติปัฏฐาน ๔ ฯลฯ นี้มรรคมีองค์ ๘ อันประเสริฐดังนี้ หรือ ย่อมบอกธรรมแม้ทั้งสอง โดยแสดงอย่างย่อแก่อุคฆฏิตัญญูบุคคล ย่อมจำแนก โดยแสดงอย่างพิสดาร แก่วิปจิตัญถญูบุคคล เมื่อบอกและจำแนกอย่างนี้ บันลือสีหนาทว่า ธรรมนี้มีในศาสนานี้เท่านั้น ไม่มีในภายนอกจากศาสนานี้ ชื่อว่า ย่อมบอก และย่อมจำแนก ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ว่า ภิกษุใดในศาสนานี้ ย่อมบอก ย่อมจำแนกธรรมในธรรมวินัยนี้แล.

บทว่า ตํ กงฺขจฺฉทํ มุนึ อเนชํ ความว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ตรัสภิกษุที่ ๒ ผู้ตัดความสงสัย ด้วยการแทงตลอดสัจจะสี่ และด้วยการตัดความ สงสัยของคนเหล่าอื่น ด้วยเทศนาของตน ผู้เป็นมุนี ด้วยการถึงพร้อมด้วย โมเนยยะ ผู้ไม่หวั่นไหว เพราะไม่มีตัณหา กล่าว คือ เอชา นั้น คือ เห็น ปานนั้นว่า สมณะผู้แสดงมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดแล้วด้วยพระองค์เอง แม้เป็นผู้แสดงมรรคอันยอดเยี่ยม ด้วยเทศนาแล้ว ทรงแสดงขยายสมณะผู้ ขีณาสพว่า สมณะผู้แสดงมรรค อันสมควรแก่ศาสนาของตน และยังศาสนา ให้รุ่งเรือง ดุจทูต และดุจราชเลขาของพระราชา ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงขยายสมณะผู้เสขะ และสมณะผู้ปุถุชนมีศีล จึงตรัสว่า โย ธมฺมปเท ดังนี้.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 304

การพรรณนาบท ในบทเหล่านั้น ปรากฏชัดแล้วแล แต่นัยแห่ง วัณนนาในคาถานี้ มีดังนี้ :-

ภิกษุใด เมื่อบทธรรม เพราะเป็นบทแห่งนิพพานธรรม อันพระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงแสดงไว้ดีแล้ว เพราะทรงแสดงไม่อิงอาศัย ที่สุดทั้งสอง หรือ เพราะทรงแสดงแล้ว โดยประการต่างๆ มีสติปัฏฐานเป็นต้น โดยสมควรแก่ อาสัย แม้เป็นผู้มรรคสมังคี ชื่อว่า เป็นอยู่ในมรรค เพราะเป็นผู้มีมรรคกิจ อันกิเลสไม่รั่วรดแล้ว เป็นผู้สำรวมแล้วด้วยการสำรวมด้วยศีล มีสติ ด้วย สติอันดำรงดีแล้วในกายเป็นต้น หรือระลึกได้ถึงกิจที่ทำแล้วนานเป็นต้นได้ เสพบทอันไม่มีโทษ กล่าวคือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ เพราะเป็นบท อันไม่มีโทษ โดยไม่มีโทษแม้ประมาณน้อย และเป็นบทโดยภาวะเป็นโกฏฐาส ด้วยการเสพภาวนา จำเดิมแต่ภังคญาณ พระพุทธเจ้าทั้งหลายตรัสภิกษุที่ ๓ นั้นว่า เป็นอยู่ในมรรค.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสขยายสมณะผู้เสขะ และสมณปุถุชนผู้ มีศีลว่า เป็นอยู่ในมรรค ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดง ขยายสมณะสักว่าโวหารอย่างเดียว ซึ่งมีผ้าเหลืองพันคอนั้น จึงตรัสว่า ฉทนํ กตฺวาน ดังนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ฉทนํ กตฺวาน ความว่า กระทำความ สมควรถือเพศ อธิบายว่าทรงเพศ. บทว่า สุพฺพตานํ ได้แก่ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก. จริงอยู่ วัตรของพระพุทธเจ้า พระปัจ- เจกพุทธเจ้าและสาวก ย่อมงาม เพราะฉะนั้น ท่านเหล่านั้นมีพระพุทธเจ้า เป็นต้น เรียกว่า สุพฺพตา ผู้มีวัตรอันงาม.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 305

บทว่า ปกฺขนฺที ความว่า แล่นไป คือเข้าไปในภายใน. จริงอยู่ บุคคลผู้ทุศีลกระทำเพศของผู้มีวัตรอันงามให้เป็นเครื่องปกปิด เพื่อปกปิดความ ที่ตนเป็นผู้ทุศีล เหมือนการปกปิดวัตถุมีหญ้าและใบไม้เป็นต้น เพื่อปกปิด คูถฉะนั้น ย่อมแล่นไปในท่ามกลางภิกษุว่า แม้เราก็เป็นภิกษุ เมื่อเขาถวายลาภ ว่า ภิกษุมีพรรษาประมาณเท่านี้ พึงรับลาภนี้ ก็ย่อมแล่นไปเพื่อจะรับว่า เราก็มีพรรษาประมาณเท่านี้ ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า กระทำเพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงาม ให้เป็นเครื่องปกปิดแล้ว มักประพฤติแล่นไปดังนี้.

บุคคลใดย่อมประทุษร้ายความเลื่อมใส อันเกิดแก่ตระกูลแม้ ๔ มี ตระกูลกษัตริย์เป็นต้น ด้วยการประพฤติอันไม่สมควร เพราะเหตุนั้น บุคคล นั้น ชื่อว่า กุลทูสโก ผู้ประทุษร้ายตระกูล. บทว่า ปคพฺโภ ความว่า ผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยความคะนองกาย ๘ ฐานะ ความคะนองวาจา ๔ ฐานะ และความคะนองใจมีหลายฐานะ. ความสังเขปในพระสูตรนี้มีเพียงเท่านี้ ส่วนความพิสดารข้าพเจ้าจักพรรณนาในเมตตสุตตวัณณนา.

ชื่อว่า มีมายา เพราะเป็นผู้ประกอบพร้อมแล้ว ด้วยมายาอันปกปิด กรรมที่ตนทำแล้วเป็นลักษณะ ชื่อว่า ไม่สำรวม เพราะไม่มีการสำรวมศีล ชื่อว่า เป็นคนแกลบ เพราะความเป็นผู้เช่นกับแกลบ. เปรียบเหมือนแกลบ แม้เว้นข้าวสารในภายใน แต่ปรากฏเหมือนข้าวเหนียวเมล็ดดีในภายนอก ฉันใด บุคคลบางคนในศาสนานี้ก็ฉันนั้น แม้เว้นจากคุณสารมีศีลเป็นต้นใน ภายใน แต่ย่อมปรากฏ เหมือนสมณะ ด้วยเพศสมณะ ปกปิดวัตรอันดีงาม ฉะนั้น บุคคลนั้นเรียกว่า เป็นคนแกลบ เพราะความเป็นคนเช่นกับแกลบ อย่างนี้.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 306

ก็ในอานาปานสติสูตร แม้ปุถุชนผู้ดีงามอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้ไม่มีแกลบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้มีแกลบออกแล้ว ดำรงอยู่ ในสาระอันบริสุทธิ์ ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ ส่วนในสูตรนี้และในกปิลสูตร ผู้ต้องปาราชิกอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงนำคนแกลบ ไม่ใช่สมณะแต่ สำคัญว่า สมณะออกจากที่นั้น * ดังนี้ ตรัสว่า เป็นคนแกลบ.

บทว่า ปฏิรูเปน จรํ ส มคฺคทูสี ความว่า บุคคลนั้นกระทำ เพศแห่งพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระสาวกผู้มีวัตรอันงามให้เป็น เครื่องปกปิดแล้วนั้น ประพฤติด้วยวัตตปฏิรูป คือ วัตตรูป ได้แก่ด้วย อาจาระสักว่าภายนอก โดยประการที่ชนย่อมรู้เรา ตามที่ประพฤติอยู่ว่า ภิกษุ นี้ อยู่ในป่าเป็นวัตร ถือรุกขมูลเป็นวัตร ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร เที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร ผู้มีความปรารถนาน้อย ผู้สันโดษ ดังนี้ พึงทราบว่า เป็นสมณะ ผู้ประทุษร้ายมรรค เพราะประทุษร้ายโลกุตรมรรคของตน และเพราะประทุษ- ร้ายสุคติมรรคของคนเหล่าอื่น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงแสดงขยายสมณะผู้สักว่าโวหาร ผู้ทุศีลว่า เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ด้วยคาถานี้ ด้วยประการฉะนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อ จะทรงแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากันและกัน จึงตรัสว่า เอเต จ ปฏิวิชฺฌิ ดังนี้.

คาถามนั้นมีเนื้อความว่า ผู้ใดจะเป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นกษัตริย์ก็ตาม เป็นพราหมณ์ก็ตาม คนใดคนหนึ่งก็ตาม ทราบชัด คือรู้ทั่ว กระทำให้แจ้ง ซึ่งสมณะ ๔ เหล่านั้น ด้วยลักษณะตามที่กล่าวแล้ว สดับลักษณะของสมณะ ๔


* ขุ. สุ. ๓๐๙.


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 307

เหล่านี้ โดยเพียงได้ฟัง ชื่อว่า อริยสาวก เพราะความที่ลักษณะนั้นแลได้ฟังแล้ว ในสำนักของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีปัญญา ด้วยรู้ชัดว่า ภิกษุรูปนี้ และรูปนี้ มีลักษณะอย่างนี้ รู้สมณะเหล่านั้นนั่นแล ทั้งหมดแม้นี้ว่าเป็นเช่นนั้น สมณะนี้ เป็นสมณะผู้ประทุษร้ายมรรค ตรัสแล้วในภายหลัง เห็นแล้วอย่างนี้ คือ เห็น ภิกษุชั่วนั่น แม้ทำความชั่วอย่างนี้.

ในคาถานั้นมีโยชนาดังนี้ ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับ มีปัญญาทราบ สมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นเช่นนั้น ด้วยปัญญานั้นอยู่ เห็นแล้วอย่างนี้ ย่อมไม่ยังศรัทธาของคฤหัสถ์ผู้ทราบชัดสมณะเหล่านี้ให้เสื่อม คือ แม้เห็นภิกษุ ชั่ว ทำกรรมชั่วอย่างนี้แล้ว ไม่ยังศรัทธาให้เสื่อม คือ ไม่ให้เสื่อมเสีย ไม่ให้ ศรัทธาฉิบหาย ดังนี้.

พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นแสดงความที่สมณะเหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้ากัน และกัน ด้วยคาถานี้อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะสรรเสริญพระอริยสาวก ผู้แม้ เห็นแล้วอย่างนี้ รู้สมณะเหล่านั้นทั้งหมดว่าเป็นเช่นนั้น จึงตรัสว่า กถญฺหิ ทุฏเน ดังนี้.

คาถาวจนะนั้นมีความสัมพันธ์ว่า ก็พระอริยสาวกผู้ได้สดับเรื่องที่ ประกอบแล้วนั่นแล คือ แม้เห็นภิกษุทำความชั่วบางรูป ดังนี้แล้ว รู้สมณะ เหล่านั้นทั้งหมดว่า เป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร

เพราะจะพึงกระทำสมณะผู้ไม่ถูกโทษ ประทุษร้าย ให้เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษ ประทุษร้าย จะพึงกระทำสมณะผู้บริสุทธิ์ ให้เสมอด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ อย่างไรได้.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 26 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้า 308

คาถานั้นมีเนื้อความว่า เพราะพระอริยสาวกผู้สดับ มีปัญญา จะพึง กระทำผู้ไม่ถูกประทุษร้ายนอกนี้ ให้เสมอด้วยสมณะผู้ถูกโทษประทุษร้าย ด้วย ศีลวิบัติ คือ สมณะผู้ประทุษร้ายมรรค จะพึงการทำสมณะผู้บริสุทธิ์ เป็น เช่นนั้น ให้เสมอด้วยสมณะผู้ไม่บริสุทธิ์ด้วยกายสมาจารเป็นต้น คือ สมณะ ผู้สักว่าโวหารผู้สุดท้ายอย่างไรได้ คือ พึงรู้ว่า เป็นเช่นนั้น ดังนี้.

ในการจบพระสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสมรรค หรือ ผล แก่ อุบาสก เพราะอุบาสกนั้นละความสงสัยได้แล้ว ดังนี้แล.

จบจุนทสุตตวัณณนา แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย

ชื่อ ปรมัตถโชติกา