ผู้ฟัง ผมก็ได้พยายามลอกต้วเองออกจาก คำว่า รูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน ผมก็ไม่มีแล้ว ไม่รู้สึกที่ว่า " เราๆ " ก็พยายามที่จะตัดออก มันก็ยังไม่ออก
อ. พยายามจะตัดนี่เสียเวลา ต้องเป็นปัญญาที่เข้าใจ
ผู้ฟัง สิ่งเหล่านี้ก็พึ่งรู้จากที่นี่ล่ะครับ ซึ่งทำให้ผมยังอยู่ เพื่อที่จะเรียนต่อไปอีก ทีนี้ที่อธิบายไม่ถูก เห็นคนพูดกันเยอะ ก็เลยกลับมาดู ถ้าอย่างนั้นเวลานั่ง นอน ยืน เดิน เราจะพิจารณาอย่างไรก็กลับไปสู่สิ่งที่อาจารย์เคยพูดว่าเห็นอารมณ์ทางทวารไหน ก็พิจารณาตามทวารนั้น ถ้านั่งอยู่ แม้จะนั่งอยู่มันแข็งที่พื้น แต่ถ้าตาไปเห็นอย่างอื่น จะเอาทางตาเป็นอารมณ์ได้ หรือถ้าได้กลิ่นอาหารๆ ก็เป็นอารมณ์ได้ แต่ทีนี้มันติดใจตรงที่ว่าเวลาที่อ่านมหาสติปัฏฐานสูตร ตรงนี้ก็ลองมาถามอีกที เพื่อให้ชัดเจนขึ้นแต่เป็นอย่างนั้นจริง คือแล้วแต่อารมณ์ไหนจะเกิด ก็ให้ระลึกรู้ไปตามอารมณ์นั้น ไม่ว่าจะนั่ง จะยืน จะเดิน จะนอน แล้วแต่อารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กายจะมาปรากฎ ก็รู้ไปตามอารมณ์นั้น ใช่ไหมครับ มันยากจริงๆ
อ.น. มันแก้ยากนะครับ เราต้องเพ่งทั้งอรรถและพยัญชนะของศัพท์ด้วย ผมให้ความหมายของ " ปชานาติ " ไว้แล้ว " ปชานาติ " นี้ " ปัญญา " นะครับ " รู้ชัด " นี่ปัญญานะครับ แล้วปัญญาไปรู้ชัดอะไร ในอิริยาบถอย่างนั้นน่ะ รู้ชัดอะไร ก็บอกอยู่แล้วว่า ถ้าสภาพธรรมไม่มี แล้วจะไปรู้ชัดอะไร? สภาพธรรมมี จึงจะรู้ชัดได้ รู้ชัดนี้หมายความว่า " รู้จริงๆ " ไม่ใช่ไปรู้แบบนึกเอา คือมีสภาพธรรมปรากฎจริงๆ จึงจะรู้ชัดได้ เพราะในตอนสุดท้ายท่านจะบอก ว่า ถ้ารู้อย่างนี้ ก็เหมือน ที่ใครๆ รู้ ที่ชาวบ้านรู้ทั่วๆ ไป เด็กๆ ก็รู้ ใครๆ ก็รู้ "เดิน" มีใครไม่รู้บ้างว่าเขาเดิน ยืน นั่ง นอน มีใครบ้างไม่รู้ ทุกๆ คนรู้แล้วรู้อย่างนี้ถอน " อัตตา " ตัวตนได้หรือเปล่า? ก็ไม่ได้ เขาไม่ได้รู้สภาพธรรมที่เกิดแล้วปรากฎตามความเป็นจริง รู้แต่ชื่อ แต่อาการที่ปรากฎแก่ตัวเราเท่านั้น การที่จะรู้ชัด จนถึงมีปัญญา สามารถที่จะถอนความเป็นตัวเป็นตนได้ "จะต้องรู้ ความจริง " เพราะความจริงจะแสดงออกว่า " ผม" น่ะ ไม่ใช่ใครนะ เป็นธรรมะ เป็นธาตุ แต่ละอย่าง ที่ปรากฎ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ถึงแม้ว่าประโยคของท่านจะบอกว่า เรานั่ง เรานอน เรายืน เราเดิน เราต้องศึกษาอภิธรรม ไม่ใช่เราฟังแต่พระสูตรอย่างเดียว ก็ต้องเกื้อกูลกัน ความรู้ที่ได้จาก พระอภิธรรม ก็ต้องเกื้อกูลกับพระสูตร จึงจะทำให้พระสูตรเดินไปได้ ไม่ได้ติดขัด
ผู้ที่เจริญสติปัฏฐานและผู้ที่สติปัฏฐานไม่เกิด ก็ไม่พ้น ๖ ทวาร คือ เห็น ได้ยิน ได้กลิ่นลิ้มรส กระทบสัมผัส คิดนึก เป็นปกติธรรมดา แต่ต่างกันที่สติเกิดระลึกลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง