[เล่มที่ 52] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 338
เถรคาถา ทสกนิบาต
๒. เอกวิหาริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอกวิหาริยเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 52]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 338
๒. เอกวิหาริยเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระเอกวิหาริยเถระ
[๓๗๑] ถ้าไม่มีผู้อื่นอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังเรา ความสบาย ใจอย่างยิ่งคงจะมีแก่เราผู้อยู่ในป่าผู้เดียว มิฉะนั้น เรา ผู้เดียวจักไปสู่ป่าอันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ความ ผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุผู้อยู่แต่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว เรา ผู้เดียวเป็นผู้ชำนาญในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จักเข้าไปสู่ป่า ใหญ่ อันทำให้เกิดปีติแก่พระโยคาวจร น่ารื่นรมย์ เป็น ที่อยู่ของหมู่ช้างตกมัน โดยเร็วพลัน เราผู้เดียวจักอาบน้ำ ในซอกเขาอันเยือกเย็น ในป่าอันเย็น มีดอกไม้บาน สะพรั่ง จักจงกรมให้เป็นที่สำราญใจ เมื่อไรเราจึงจักได้ อยู่ในป่าใหญ่อันน่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง จัก เป็นผู้ทำกิจสำเร็จ หาอาสวะมิได้ ขอความประสงค์ของ เราผู้ปรารถนาจะทำอย่างนี้จงสำเร็จเถิด เราจักยังความ ประสงค์ของเราให้สำเร็จจงได้ ผู้อื่นไม่อาจทำผู้อื่นให้ สำเร็จได้เลย.
เราจักผูกเกราะคือความเพียร จักเข้าไปสู่ป่าใหญ่ เรายังไม่บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ออกไปจาก ป่านั้น เมื่อลมพัดเย็นมา กลิ่นดอกไม้ก็หอมฟุ้งมา เรา จักนุ่งอยู่บนยอดเขาทำลายอวิชชา เราจักได้รับความสุข รื่นรมย์อยู่ด้วยวิมุตติสุข ในถ้ำที่เงื้อมเขาซึ่งดารดาษไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 339
ด้วยดอกโกสุม มีภาคพื้นเยือกเย็น อันมีอยู่ในป่าใหญ่ เป็นแน่ เรามีความดำริอันเต็มเปี่ยม เหมือนพระจันทร์ ในวันเพ็ญ เป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ ภพใหม่ มิได้มี.
จบเอกวิหาริยเถรคาถา
อรรถกถาเอกวิหาริยเถรคาถาที่ ๒
คาถาของท่านพระเอกวิหาริยเถระ เริ่มต้นว่า ปุรโต ปจฺฉโต วาปิ ดังนี้. เรื่องนั้นมีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร?
พระเอกวิหาริยะแม้นี้ เป็นผู้มีอธิการได้บำเพ็ญมาแล้ว ในพระพุทธเจ้าพระองค์ก่อนๆ ในภพนั้นๆ ได้สั่งสมบุญเป็นอันมากไว้ ในกาล แห่งพระทศพลทรงพระนามว่า กัสสปะ บังเกิดในเรือนมีสกุล ถึงความรู้ เดียงสาแล้ว ได้ฟังธรรมในสำนักพระศาสดาแล้ว ได้มีความเลื่อมใส บรรพชาแล้วเข้าไปสู่ป่า อยู่แบบสงบสงัด.
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านจึงท่องเที่ยวไปในเทวโลกและมนุษยโลก ตลอดพุทธันดรหนึ่ง ในพุทธุปบาทกาลนี้ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพานแล้ว ได้บังเกิดเป็นพระกนิษฐภาดา ของพระเจ้าธรรมาโศกราช.
ได้ยินว่า ในปีที่ ๒๑๘ นับแต่พระศาสดาได้ปรินิพพานมา พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงได้รับการอภิเษกเป็นเอกราชในชมพูทวีปทั้งสิ้น แล้ว ทรงสถาปนาติสสกุมารผู้พระกนิษฐภาดาของพระองค์ ไว้ในตำแหน่ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 340
อุปราช ทรงใช้พระอุบายอย่างหนึ่ง ทำพระกนิษฐภาดานั้น ให้มีความ เลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา. วันหนึ่ง ติสสกุมารนั้นเข้าไปหานายพรานเนื้อ แล้ว มองเห็นพระโยนกมหาธรรมรักขิตเถระในป่า ซึ่งช้างตัวประเสริฐ กำลังจับกิ่งไม้สาละนั่งพัดถวาย จึงเกิดความเลื่อมใสคิดว่า โอ! หนอ เรา บวชแล้ว พึงเป็นดุจพระมหาเถระนี้ อยู่ในป่าบ้าง.
พระเถระทราบถึงความเป็นไปแห่งจิตของเขา เมื่อเขากำลังเห็นอยู่ นั่นแหละ จึงเหาะขึ้นสู่อากาศแล้วมายืนบนน้ำแห่งสระโบกขรณี ใน อโศการาม ไม่ทำให้น้ำแตกแยกกันแล้ว คล้องจีวรและผ้าอุตราสงค์บน อากาศ เริ่มจะอาบน้ำ.
พระกุมาร เห็นอานุภาพของพระเถระแล้ว มีความเลื่อมใสเป็น อย่างยิ่ง กลับจากป่าแล้วเข้าไปยังกรุงราชคฤห์ แล้วกราบทูลแด่พระราชา ว่า หม่อมฉันจักบวช ดังนี้. พระราชาทรงอ้อนวอนพระกุมารนั้นมีประการ ต่างๆ ก็ไม่อาจจะล้มเลิกความประสงค์ที่จะบวชได้. พระกุมารนั้นเป็น อุบาสก เมื่อปรารถนาถึงความสุขในการบวช จึงกล่าวคาถา ๖ คาถา๑ เหล่านี้ว่า :-
ถ้าไม่มีผู้อื่นอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังเรา ความสบาย ใจอย่างยิ่ง คงจะมีแก่เราผู้อยู่ในป่าผู้เดียว มิฉะนั้นเรา ผู้เดียวจักไปสู่ป่าอันพระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญว่า ความ ผาสุกย่อมมีแก่ภิกษุผู้อยู่แต่ผู้เดียว มีใจเด็ดเดี่ยว เรา ผู้เดียว เป็นผู้ชำนาญในสิ่งที่เป็นประโยชน์ จักเข้าไปสู่
๑. ขุ. เถร. ๒๖/ข้อ ๓๗๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 341
ป่าใหญ่ อันทำให้เกิดปีติแก่พระโยคาวจร น่ารื่นรมย์ เป็นที่อยู่ของหมู่ช้างตกมัน โดยเร็วพลัน เราผู้เดียวจัก อาบน้ำในซอกเขาอันเยือกเย็น ในป่าอันเย็น มีดอกไม้ บานสะพรั่ง จักจงกรมให้เป็นที่สำราญใจ เมื่อไรเราจึง จักได้อยู่ในป่าใหญ่อันน่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว ไม่มีเพื่อนสอง จักเป็นผู้ทำกิจสำเร็จ หาอาสวะมิได้ ขอความประสงค์ ของเราผู้ปรารถนาจะทำอย่างนี้ จงสำเร็จเถิด เราจักยัง ความประสงค์ของเราให้สำเร็จจงได้ ผู้อื่นไม่อาจทำผู้อื่น ให้สำเร็จได้เลย.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ปจฺฉโต วา ความว่า ถ้าคนอื่น ไม่มีอยู่ข้างหน้าหรือข้างหลังตน คือเพราะการที่ต้องกำหนดเสียง หรือ การที่ต้องมองดูก็ไม่มี. ความสุขสบายใจอย่างยิ่งจะมีแก่เรา. แก่เราผู้เดียว คือไม่มีสหายโดยความเป็นอยู่ผู้เดียว.
บทว่า วสโต วเน ความว่า อุบาสกนั้นมีหัวใจอันอัธยาศัยในความ สงบที่ตนสั่งสมมาแล้วเป็นเวลานาน ชักชวนอยู่เสมอ เมื่อตนมีมหาชน แวดล้อมอยู่ทั้งกลางคืนกลางวัน จึงพลันเกิดความเบื่อหน่ายต่อการอยู่ คลุกคลีด้วยคณะ สำคัญหมายถึงความสุขอันเกิดแต่ความสงัด และความ สุขเป็นอันมาก จึงกล่าวไว้.
ศัพท์ว่า หนฺท เป็นนิบาต ลงในอรรถว่า สละวาง. ด้วยเหตุนั้น บัดนี้ เขาจึงกล่าวถึงกิริยาที่ตนกำลังทำ ซึ่งละหมู่คณะไปสู่ป่า.
บทว่า เอโก คมิสฺสามิ ความว่า เราผู้เดียว ไม่มีเพื่อน จักไป
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 342
คือจักเข้าไป โดยความประสงค์จะอยู่ป่า ที่พระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ ไว้ โดยพระดำรัสมีอาทิว่า ดูก่อนคฤหบดี พระตถาคตทั้งหลาย ย่อมยินดี ยิ่งในเรือนว่างแล. เพราะความผาสุกในการอยู่ป่า ย่อมมีแก่ภิกษุผู้อยู่แต่ ผู้เดียว คือผู้อยู่คนเดียว เพราะไม่มีเพื่อนในที่ทั้งหลายเป็นต้น ผู้มีตน อันส่งไปแล้ว ได้แก่ผู้ศึกษาสิกขา ๓ มีอธิศีลสิกขาเป็นต้น เพราะตน มีจิตส่งไปเฉพาะพระนิพพาน อธิบายว่า นำสิ่งที่น่าปรารถนาและความ สุขมาให้.
บทว่า โยคีปีติกรํ ได้แก่ ชื่อว่า อันกระทำให้เกิดปีติแก่พระโยคาวจร เพราะการนำมาซึ่งปีติที่เกิดแต่ฌานและวิปัสสนาเป็นต้น แก่ พระโยคาวจรทั้งหลาย ผู้ประกอบความเพียรในการภาวนา ด้วยความไม่มี ศรัทธาเป็นต้น.
ชื่อว่า รมฺมํ เพราะเป็นสถานที่สมควรแก่การหลีกเร้น โดยที่ไม่มี วิสภาคารมณ์.
บทว่า มตฺตกุญฺชรเสวิตํ ได้แก่ เป็นที่เที่ยวไปของหมู่ช้างตกมัน, ด้วยบทนี้ ท่านแสดงถึงที่อยู่อันสงัดจากหมู่ชนเท่านั้น เพราะมีป่าขึ้น หนาแน่น.
สมณธรรม ท่านประสงค์ถึงประโยชน์ ในบทว่า อตฺถวสี นี้, ได้แก่ 1 ไปสู่อำนาจของประโยชน์นั้นว่า ทำอย่างไรหนอ สมณธรรมนั้นจะพึงมี แก่เรา ดังนี้.
บทว่า สุปุปฺผิเต ได้แก่ มีดอกไม้อันบานสะพรั่งด้วยดี.
บทว่า สีตวเน ได้แก่ ในป่าที่เย็น เพราะมีร่มเงาและน่าสมบูรณ์. ด้วยบทแม้ทั้งสอง ท่านแสดงถึงสถานที่นั้นว่า ร่มรื่นเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 343
บทว่า คิริกนฺทเร ได้แก่ ในซอกระหว่างแห่งภูเขา. จริงอยู่ น้ำ ท่านเรียกว่า กํ, สถานที่ลุ่มอันน้ำนั้นเซาะแล้ว ชื่อว่า กันทระ. ท่าน แสดงถึงความประพฤติที่ไม่ครอบครองที่อยู่อาศัย ในที่ไหนๆ ว่า เรา ผู้เดียวบรรเทาความเร่าร้อนในฤดูร้อนเสีย ในซอกเขาอันเยือกเย็นเช่นนั้น แล้ว ราดรด อาบตัวของตัวแล้วจักจงกรม ดังนี้.
บทว่า เอกากิโย ได้แก่ ผู้ผู้เดียวไม่มีเพื่อน.
บทว่า อทุติโย ได้แก่ ไม่มีเพื่อน เพราะไม่มีเพื่อนกล่าวคือตัณหา จริงอยู่ ตัณหาชื่อว่าเป็นเพื่อนของบุรุษ เพราะอรรถว่า ไม่ละทิ้งในกาล ทั้งปวง. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า บุรุษมีตัณหาเป็น เพื่อน ท่องเที่ยวไปอยู่ตลอดกาลอันยาวนาน ดังนี้.
บทว่า เอวํ เม กตฺตุกามสฺส ความว่า ขอความประสงค์ของเราผู้ ปรารถนาจะไปป่าทำการประกอบความเพียรเจริญภาวนา โดยวิธีที่กล่าว แล้ว เป็นต้นว่า เอาเถอะ เราผู้เดียวจักไป ดังนี้.
บทว่า อธิปฺปาโย สมิชฺฌตุ ความว่า ขอมโนรถที่เป็นไปแล้ว อย่างนี้ว่า ในคราวนั้น เราจักเป็นผู้เสร็จกิจ ไม่มีอาสวะ ดังนี้ จงสำเร็จ คือจงถึงซึ่งความสำเร็จเถิด. ก็เพราะการบรรลุพระอรหัต จะสำเร็จด้วย เพียงการอ้อนวอน ก็หามิได้ ทั้งผู้อื่นจะพึงให้สำเร็จ ก็หามิได้ ฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราจักทำความประสงค์ของเราให้สำเร็จให้ได้, ผู้อื่นไม่ อาจจะทำผู้อื่นให้สำเร็จได้เลย ดังนี้เป็นต้น.
พระราชาทรงทราบว่า อุปราชมีความปรารถนามั่นคงในการ บรรพชาอย่างนั้น จึงทรงมีรับสั่งให้คนประดับทนทางที่จะไปยังอโศการาม แล้ว ทรงนำพาพระกุมารผู้ประดับด้วยอลังการพร้อมสรรพ ไปยังพระ-
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 344
วิหาร ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ ด้วยเสนาหมู่ใหญ่. พระกุมารไปยังเรือน ที่บำเพ็ญเพียรแล้ว บวชในสำนักของพระมหาธรรมรักขิตเถระ, พวก มนุษย์หลายร้อยคน พากันบวชตามพระกุมารนั้นแล้ว. แม้ท่านอัคคิพรหม ผู้เป็นราชภาคิไนย และผู้เป็นพระสวามีของพระนางสังฆมิตตา ก็ออกบวช ตามพระกุมารนั้นเหมือนกัน. พอพระกุมารนั้นบวชแล้วเป็นผู้มีจิตร่าเริง ยินดี เมื่อจะประกาศถึงกิจที่ตนควรจะกระทำ จึงกล่าวคาถา ๓ คาถาว่า
เราจักผูกเกราะคือความเพียร จักเข้าไปสู่ป่าใหญ่ เรา ยังไม่บรรลุถึงความสิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ออกไปจากป่า นั้น เมื่อลมพัดเย็นมา กลิ่นดอกไม้ก็หอมฟุ้งมา เราจัก นั่งอยู่บนยอดเขาทำลายอวิชชา เราจักได้รับความสุข รื่นรมย์อยู่ด้วยวิมุตติสุข ในถ้ำที่เงื้อมเขาซึ่งดารดาษไป ด้วยดอกโกสุม มีภาคพื้นเยือกเย็น อันมีอยู่ในป่าใหญ่ เป็นแน่.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอส พนฺธามิ สนฺนาหํ ความว่า เรานั้นจักผูกเกราะคือความเพียร ได้แก่เราไม่ห่วงใยในร่างกายและชีวิต จะผูกไว้ด้วยเกราะคือความเพียร. มีคำที่ท่านกล่าวอธิบายไว้ว่า เปรียบ เสมือนบุรุษผู้กล้าหาญ มีความประสงค์จะเอาชนะเหล่าข้าศึกที่ลุกขึ้นตั้งรับ จึงละทิ้งกิจอื่นแล้วผูกสอดเครื่องรบ มีเสื้อเกราะเป็นต้น และไปยังยุทธภูมิ แล้ว ยังไม่ชนะเหล่าข้าศึกแล้ว ก็ไม่ยอมกลับมาจากที่นั้น ชื่อฉันใด แม้ เราเองก็ฉันนั้นเหมือนกัน มุ่งเพื่อจะเอาชนะเหล่าข้าศึกคือกิเลส ไม่ห่วงใย ศีรษะและผ้า ถึงว่าจะถูกความร้อนแผดเผาทั่วก็ตาม จะผูกสอดเกราะคือ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 345
ความเพียร อันได้แก่สัมมัปปธาน ๔ อย่างไว้, ยังไม่ชนะเหล่ากิเลส จะ ไม่ยอมสละละทิ้งที่อันสงัด สำหรับทำความเพียรเพื่อชนะกิเลสให้ได้. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า เราจักเข้าไปสู่ป่าใหญ่ เรายังไม่บรรลุถึงความ สิ้นอาสวะแล้ว จักไม่ยอมออกไปจากป่านั้น ดังนี้เป็นต้น.
ด้วยบทว่า มาลุเต อุปวายนฺเต ดังนี้เป็นต้น ท่านกล่าวถึงสถานที่ อยู่ในป่า เหมาะแก่การเจริญกัมมัฏฐาน, ประกอบความว่า เราจักรื่นรมย์ อยู่ในถ้ำที่เงื้อมเขาแน่นอน, อธิบายว่า ท่านกล่าวกำหนดความที่เป็น อนาคตกาลว่า เราเห็นจักอภิรมย์ที่เชิงบรรพต. คำที่เหลือพึงรู้ได้โดยง่าย ทีเดียว.
พระเถระกล่าวอย่างนั้นแล้ว เข้าไปสู่ป่า บำเพ็ญสมณธรรมพร้อม กับพระอุปัชฌาย์ ได้ไปยังแคว้นกลิงคะ. ในแคว้นนั้น พระเถระเกิดเป็น โรคผิวหนังขึ้นที่เท้า. หมอคนหนึ่งเห็นท่านแล้วจึงกล่าวว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ท่านหาเนยใสมาเถิด, ผมจะรักษาเยียวยาให้ท่าน. พระเถระไม่ ยอมแสวงหาเนยใส มุ่งแต่จะบำเพ็ญวิปัสสนาถ่ายเดียว. โรคกำเริบขึ้น หมอเห็นว่าพระเถระมีความขวนขวายน้อยในที่นั้นแล้ว ตนเองจึงแสวงหา เนยใสเสียเองแล้ว ได้ทำพระเถระให้หายขาดจากโรค. พระเถระนั้นไม่มี โรค ต่อกาลไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ อปทาน๑ว่า :-
ในภัทรกัปนี้ พระพุทธเจ้าพระนามว่า กัสสปะ โดย พระโคตร เป็นเผ่าพรหม มีพระยศใหญ่ ประเสริฐกว่า นักปราชญ์ทั้งหลาย เสด็จอุบัติขึ้นแล้ว พระองค์ไม่มี
๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๒๑.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 346
ธรรมเครื่องให้เนิ่นช้า ไม่มีเครื่องยึดหน่วง มีพระทัย เสมอด้วยอากาศ มากด้วยสุญญตสมาธิ คงที่ ยินดีใน อนิมิตตสมาธิ ประทับอยู่แล้ว พระองค์ผู้มีพระทัยรังเกียจ ไม่มีตัณหาเครื่องฉาบทา ไม่เกี่ยวข้องในสกุล ในคณะ ประกอบด้วยพระกรุณาใหญ่ เป็นนักปราชญ์ ทรงฉลาด ในอุบายเครื่องแนะนำ ทรงขวนขวายในกิจของผู้อื่น ทรง แนะนำในหนทางอันยิ่งสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน ซึ่งเป็น เหตุทำเปือกตมคือคติ ให้แห้ง ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก ประทับนั่งแสดงอมตธรรม อันเป็นความแช่มชื่นอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นเครื่องห้ามชราและมรณะ ในท่ามกลางบริษัทใหญ่ ยังสัตว์ให้ข้ามโลก พระวาจาไพเราะเหมือนนกการะเวก เป็นนาถะของโลก มีพระสุรเสียงก้องประหนึ่งเสียงพรหม ผู้เสด็จมาด้วยประการนั้น ถอนพระองค์ขึ้นจากมหันตทุกข์ ในเมื่อโลกปราศจากผู้แนะนำ ทรงแสดงธรรมที่ปราศจาก ธุลี นำสัตว์ออกจากโลก เราได้เห็นแล้ว ได้ฟังธรรม ของพระองค์ จึงออกบวชเป็นบรรพชิต ครั้นเราบวชแล้ว ในกาลนั้น คิดถึงคำสั่งสอนของพระชินเจ้า ถูกความ เกี่ยวข้องบีบคั้น จึงได้อยู่เสียในป่าที่น่ารื่นรมย์แต่ผู้เดียว เท่านั้น การที่เรามีกายหลีกออกมาได้ เป็นเหตุแห่งการ หลีกออกแห่งใจของเราผู้เห็นภัย ในความเกี่ยวข้อง เรา เผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ. ..พุทธศาสนาเราได้ทำ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้า 347
เสร็จแล้ว ดังนี้.
ก็เมื่อพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว อยู่ในที่นั้น พระราชาทรง บริจาคทรัพย์ ๑ โกฏิ แล้วให้ทรงสร้างวิหารชื่อว่า โภชกคิริวิหาร แล้ว ทรงนิมนต์พระเถระให้อยู่ในพระวิหารนั้น.
พระเถระนั้น อยู่ในพระวิหารนั้น ในเวลาใกล้จะปรินิพพาน ได้ กล่าวคาถาสุดท้ายว่า
เรานั้น มีความดำริอันเต็มเปี่ยมแล้ว เหมือนพระจันทร์ในวันเพ็ญ เป็นผู้สิ้นอาสวะทั้งปวงแล้ว บัดนี้ ภพ ใหม่มิได้มีอีก.
คาถานั้น มีเนื้อความง่ายแล้วแล. ก็การพยากรณ์พระอรหัตนั้นนั่นแล ได้ มีแล้วแก่พระเถระแล.
จบอรรถกถาเอกกวิหาริยเถรคาถาที่ ๒