บังเอิญเมื่อ 4-5 วันก่อนผมได้ไปร่วมงานทอดกฐินที่วัดในหมู่บ้านใกล้เคียงกันครับเมื่อทำ พิธีถวายกฐินเสร็จแล้ว ก็มีพระรูปหนึ่งท่านได้พูดเรื่องการรับกฐินและอานิสงส์กฐินท่าน พูดว่าในวัดที่มีพระจำพรรษาเพียงรูปเดียวก็สามารถทอดกฐินได้ และพระรูปเดียวก็รับ กฐินได้ และท่านได้พูดเรื่องอานิสงส์กฐินในส่วนของพระที่ได้รับว่าเมื่อได้รับกฐินแล้ว พระจะฉันอะไรเมื่อไรก็ได้ไม่ว่ากลางคืนดึกๆ ดื่นๆ ก็ฉันได้ผมเองก็งงๆ ท่านพูดถึงเรื่องฉัน คณะโภชนาและปรัมประโภชนาท่านว่าจะฉันอย่างไรก็ได้เมื่อได้รับกฐินแล้ว ท่านก็พูด ของท่านเรื้อยเปื่อยไป และครับทั้งพระทั้งโยมที่ไปร่วมงานก็นั่งฟังท่านโม้ไปอย่างนั้น แหละ แต่เท่าที่ผมพอจะทราบอยู่บ้างมันไม่เหมือนอย่างที่ท่านพูดเลยครับ
กระผมจึง ใคร่ขอรบกวนขอคำอธิบายให้หายข้องใจหน่อยครับ โดยเฉพาะเรื่องพระรูปเดียวรับกฐิน และเรื่องคณะโภชนาและปะรัมปะระโภชนาครับ
ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงครับ
ตามพระวินัยของพระพุทธเจ้าที่ทรงบัญญัติไว้มีว่า การกรานกฐินเป็นสงฆกรรมประเภท หนึ่ง สังฆกรรมเป็นสงฆ์เป็นผู้ทำ ภิกษุรูปเดียวทำไม่ได้ ส่วนเรื่องการฉันอาหาร พระภิกษุ สามเณร จะฉันอาหารในเวลาวิกาล คือหลังเที่ยงวันไม่ได้ ไม่มีกรณียกเว้นใดๆ แม้แต่เวลาป่วย อาพาธก็ฉันไม่ได้
ขอเชิญคลิกอ่านกระทู้เกี่ยวกับกฐินที่ ...
ทอดกฐิน ต้องมีภิกษุอย่างต่ำกี่รูป
กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๑]
กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๒]
กฐิน ในพระพุทธศาสนา [ตอนที่ ๓]
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
คำว่า ปรัมปรโภชนา หมายความว่าอย่างไรครับ
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
คำว่า ปรัมปรโภชนา โดยศัพย์หมายถึงโภชนะทีหลัง อธิบายว่า อาหารที่เขา นิมนต์ทีหลัง คือเวลาคฤหัสถ์นิมนต์ภิกษุสงฆ์ไปฉันที่บ้าน ใครนิมนต์ก่อนให้ไป ฉันของเขาก่อน นิมนต์ทีหลังให้ไปฉันทีหลัง ถ้าพระฉันอาหารที่เขานิมนต์ทีหลัง ก่อน ฉันอาหารที่เขานิมนต์ก่อนทีหลัง เป็นอาบัติ คือต้องเรียงตามลำดับ
ดังข้อความในพระวินัยปิฎกว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ 480 พระบัญญัติ
๓. เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง.
[๔๙๑] ที่ชื่อว่า โภชนะที่หลัง ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว เว้นโภชนะนั้น ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งอื่นนี่ชื่อว่า โภชนะทีหลัง
และมีการยกเว้นสิกขาบทนี้บางช่วง เช่น ในช่วงฤดูกาลที่เขาถวายจีวร เป็นต้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ