[เล่มที่ 80] พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑
พระอภิธรรมปิฏก เล่มที่ ๔
กถาวัตถุ ภาคที่ ๑
มหาปัณณาสก์
วรรคที่ ๕
วิมุตตกถาและอรรถกถา 1026/759
อเสกขญาณกถาและอรรถกถา 1030/766
วิปรีตกถาและอรรถกถา 1035/770
นิยามกถาและอรรถกถา 1046/777
ปฏิสัมภิทากถาและอรรถกถา 1059/784
สัมมติญาณกถาและอรรถกถา 1062/788
จิตตารัมมณกถาและอรรถกถา 1065/791
อนาคตญาณกถาและอรรถกถา 1069/796
ปัจจุปปันนญาณกถาและอรรถกถา 1073/800
ผลญาณกถาและอรรถกถา 1075/804
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 80]
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 759
วรรคที่ ๕
วิมุตตกถา
[๑๐๒๖] สกวาที วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณ ไม่ว่าอย่างใดหมด ชื่อว่าหลุดพ้น แล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัจจเวกขณญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณ ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของโคตรภูบุคคล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒๗] ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 760
ส. ญาณของพระโสดาบัน เป็นญาณของผู้ถึง ได้ เฉพาะ บรรลุ ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณของพระสกทาคามี เป็นญาณของผู้ถึง ได้ เฉพาะ บรรลุ ทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณของพระอนาคามี เป็นญาณของบุคคลผู้ถึง ได้เฉพาะ บรรลุ ุ ทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ญาณของพระอรหันต์ ชื่อว่า ญาณของผู้ถึง ได้
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 761
เฉพาะ บรรลุ ทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒๘] ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 762
ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย อรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๒๙] ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ญาณของผู้บรรลุผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง โสดาปัตติผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ญาณของผู้บรรลุผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ญาณของผู้บรรลุผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง สกทาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็นญาณของผู้บรรลุ หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 763
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ญาณของผู้บรรลุผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อนาคามิผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ของผู้บรรลุผล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. วิมุตติญาณของบุคคล ผู้มีความพร้อมเพรียงด้วย อรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ญาณของบุคคลผู้บรรลุผล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. วิมุตติญาณของบุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่ง อรหัตตผล ชื่อว่าหลุดพ้นแล้ว และนั้นเป็น ญาณของบุคคลผู้บรรลุผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ วิมุตตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 764
อรรถกถาวิมุตตกถา
ว่าด้วยวิมุตติ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องวิมุตติ คือการหลุดพ้น. ในเรื่องนั้น คำว่า วิมุตตญาณ เป็นชื่อของญาณทั้ง ๔ คือ วิปัสสา ๑. มัคค ๑. ผล ๑. และปัจจเวกขณญาณ ๑. บรรดาญาณเหล่านั้น วิปัสสนา ชื่อว่า วิมุตติญาณ เพราะหลุดพ้นแล้วจากนิมิตตารมณ์เป็นนิตย์ หรือ เพราะความเป็นตทังควิมุติ มรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิมุติ ผล ชื่อว่า ปฏิปัสสัทธิวิมุติ ก็ปัจจเวกขณญาณย่อมรู้ซึ่งวิมุติ เพราะฉะนั้น จึง ชื่อว่า วิมุตติญาณ ในวิมุตติญาณ ๔ อย่าง อย่างนี้ ผลญาณเท่านั้น หลุดพ้นแล้วโดยสิ้นเชิง วิมุตติญาณ ๓ ที่เหลืออันใครๆ ไม่พึงกล่าวว่า หลุดพ้นแล้ว หรือว่าไม่หลุดพ้นแล้ว ดังนี้ เพราะฉะนั้น ชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า วิมุตติญาณหลุดพ้นแล้วโดยไม่แปลกกันเลย เพราะไม่กล่าวว่า วิมุตติญาณชื่อนี้หลุดพ้นแล้ว ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรอง เป็นของปรวาที. ถูกถามอีกว่า วิมุตติญาณไม่ว่าอย่างใดหมดชื่อว่า หลุดพ้นแล้ว ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะหมายเอาปัจจเวกขณญาณ เป็นต้น ถูกถามว่า ของบุคคลผู้ปฏิบัติ เป็นต้น ก็ตอบรับรอง หมายเอาความไม่มีอาสวะของมรรคญาณ. สกวาทีกล่าวว่า ญาณของ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 765
พระโสดาบัน ดังนี้ เป็นต้นอีก เพื่อท้วงว่า ก็ญาณนั้นไม่ใช่ญาณ ของพระโสดาบันผู้ตั้งอยู่ในผล แต่ก็ชื่อว่า วิมุตติญาณหรือ ดังนี้. พึงทราบเนื้อความในที่ทั้งปวงโดยอุบายนี้ ดังนี้แล.
อรรถกถาวิมุตตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 766
อเสกขญาณกถา
[๑๐๓๐] สกวาที พระเสกขะ มีญาณของพระเสกขะ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระเสกขะ รู้เห็นธรรมของพระอเสกขะได้ เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งธรรมของพระอเสกขะที่ตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ทำให้แจ้งแล้วได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ธรรมของพระอเสกขะ อันพระเสกขะ รู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อมิได้เห็น มิได้รู้ ก็เข้าถึงไม่ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ธรรมของพระอเสกขะ อันพระเสกขะ รู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อมิได้เห็น มิได้รู้ มิได้ทำให้แจ้ง ก็เข้าถึงไม่ ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ ก็ต้องไม่กล่าวว่า พระเสกขะมีญาณของ พระอเสกขะ.
[๑๐๓๑] ส. พระอเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ พระอเสกขะรู้เห็นธรรมของพระอเสกขะได้ เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งธรรมของพระอเสกขะ ที่ตนเห็นแล้ว รู้แจ้งแล้ว ทำให้แจ้งแล้วได้ หรือ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 767
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ พระเสกขะ รู้เห็นธรรมของพระอเสกขะได้ เข้าถึงอยู่ ถูกต้องด้วยกายอยู่ ซึ่งธรรม ของพระอเสกขะที่ตนเห็นแล้ว รู้แล้ว ทำให้แจ้งแล้วได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓๒] ส. พระเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ แต่ธรรม ของพระอเสกขะอันพระเสกขะรู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อไม่ได้เห็น มิ ได้รู้ มิได้ทำให้แจ้ง ก็เข้าถึงไม่ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ แต่ธรรม ของพระเสกขะ อันพระอเสกขะรู้ไม่ได้ เห็นไม่ได้ เมื่อมิได้เห็น มิได้รู้ มิได้ทำให้แจ้ง ก็เข้าถึงไม่ได้ ถูกต้องด้วยกายไม่ได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓๓] ส. พระอเสกขะ มีญาณของพระอเสกขะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โคตรภูบุคคล มีญาณในโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี ญาณในโสดาปัตติผล หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 768
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล มีญาณในอรหัตตผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระเสกขะมีญาณของพระอเสก- ขะ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ท่านพระอานนท์เมื่อยังเป็นเสกขะ ก็ทราบได้ ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณอันยิ่ง ทราบได้ว่า พระสารีบุตรเถระ พระมหาโมคคัลลานเถระ มีคุณอันยิ่ง มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า ท่านพระอานนท์เมื่อยังเป็นเสกขะ ก็ ทราบได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณอันยิ่ง ทราบได้ว่า พระสารี- บุตรเถระ พระโมคคัลลานเถระ มีคุณอันยิ่ง ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึง ต้องกล่าวว่าพระเสกขะมีญาณของพระอเสกขะ. อเสกขญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 769
อรรถกถาอเสกขญาณกถา
ว่าด้วยญาณของพระอเสกขะ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณของพระอเสกขะ คือผู้ไม่ต้องศึกษา. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ ทั้งหลายว่า พระเสกขะทั้งหลายมีพระอานนท์เป็นต้น ย่อมรู้ซึ่งอเสกขบุคคลทั้งหลาย โดยนัยเป็นต้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ประเสริฐ ที่สุดเป็นต้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น อเสกขญาณ คือญาณของพระอเสกขะ ย่อมมีแก่พระเสกขบุคคล ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึง ชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. คำว่า รู้เห็น นี้ สกวาทีกล่าวด้วยอำนาจแห่งการรู้ที่ตนเองบรรลุแล้ว. คำว่า โคตรภู บุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงความไม่มีแห่งญาณในเบื้อง บนและเบื้องบนของของพระอริยบุคคล ผู้ตั้งอยู่ในภูมิธรรมเบื้องต่ำ. ข้อว่า ท่านพระอานนท์เมื่อยังเป็นพระเสกขะก็ทราบได้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระคุณอันยิ่ง อธิบายว่า ปรวาทีย่อมปรารถนา พระเสกขะนั้นว่าเป็นผู้มีญาณของพระอเสกขะ เพราะความเป็นไปแห่ง ญาณว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอเสกขะ แต่ไม่ปรารถนาญาณ นั้นว่าเป็นอเสกขะ เพราะฉะนั้น ลัทธิแม้ปรวาทีตั้งแล้วอย่างนี้ก็ไม่เป็น อันตั้งไว้นั่นแหละ ดังนี้แล.
อรรถกถาอเสกขญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 770
วิปรีตกถา
[๑๐๓๕] สกวาที ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความ รู้วิปริตหรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มีความเห็นผิดในสภาวะที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. มีความเห็นผิดในสภาวะที่เป็นทุกข์ว่าเป็นสุข หรือ ฯลฯ มีความเห็นผิดในสภาวะที่เป็นอนัตตาว่าเป็นอัตตาหรือ ฯลฯ มีความเห็นผิดในสภาวะที่ไม่งามว่างาม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓๖] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. เป็นกุศลไม่ใช่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่าเป็นกุศล ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติ มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ความรู้วิปริต
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 771
[๑๐๓๗] ส. สภาวะที่ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง เป็นความเห็นผิด และนั้นเป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต และนั้นเป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯ ลฯ
ส. สภาวะที่เป็นทุกข์เห็นว่าเป็นสุข ฯลฯ สภาวะที่ เป็นอนัตตาเห็นว่าเป็นอัตตา ฯลฯ สภาวะที่ไม่งามเห็นว่างาม เป็นความ เห็นผิด และนั้นเป็นอกุศล หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต และนั้นเป็นอกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓๘] ส. ผู้เข้าสมาบัติปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต และนั้นเป็นอกุศล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. สภาวะที่ไม่เที่ยงเห็นว่าเที่ยง และนั้นเป็นกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต และนั้นเป็นกุศล หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 772
ป. ถูกแล้ว.
ส. สภาวะที่เป็นทุกข์เห็นว่าเป็นสุข ฯลฯ สภาวะที่ เป็นอนัตตาเห็นว่าเป็นอัตตา ฯ ลฯ ภาวะที่ไม่งามเห็นว่างาม เป็นความ เห็นผิด และนั้นเป็นกุศล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๓๙] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์พึงเข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์พึงเข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้ที่เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มี ความรู้วิปริต
[๑๐๔๐] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต พระอรหันต์พึงเข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ยังมีความเห็นผิดอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 773
[๑๐๔๑] ส. พระอรหันต์ ยังมีความเห็นผิดอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระอรหันต์ ยังมีความสำคัญผิด มีความคิดผิด มีความเห็นผิดอยู่ หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๔๒] ส. พระอรหันต์ไม่มีความสำคัญผิด ความคิดผิด ความเห็นผิด หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า พระอรหันต์ ไม่มีความสำคัญผิด ความ คิดผิด ความเห็นผิด ก็ต้องไม่กล่าว พระอรหันต์ยังมีความเห็นผิดอยู่.
[๑๐๔๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่าผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้วิปริต หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ปฐวีกสิณปรากฏแก่ท่านผู้เข้าสมาบัติ มีปฐวีกสิณ อารมณ์อยู่ เป็นดินล้วนเทียว หรือ ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็มีความรู้วิปริตน่ะสิ.
[๑๐๔๔] ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้ วิปริต หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 774
ป. ถูกแล้ว.
ส. ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิณจากดินก็มีอยู่ มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ดินมีอยู่ และบางคนที่ถ้าปฐวีกสิณจาก ดินก็มีอยู่ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มีความ รู้วิปริต
[๑๐๔๕] ส. ดินมีอยู่ แต่ความรู้ของผู้เข้าปฐวีกสิณจากดิน เป็นความรู้วิปริต หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. นิพพานมีอยู่ แต่ความรู้ของผู้เข้าสมาบัติมีนิพ- พานเป็นอารมณ์จากนิพพาน ก็เป็นความรู้ วิปริต หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่พึงกล่าวว่า ผู้เข้าสมาบัติมีปฐ- วีกสิณเป็นอารมณ์ มีความรู้วิปริต. วิปริตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 775
อรรถกถาวิปรีตกถา
ว่าด้วยญาณวิปริต
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณวิปริต. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความ เห็นดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผู้ใดมีสัญญาในปฐวีย่อมเข้า สมาบัติมีปฐวีเป็นอารมณ์ ญาณนั้นของผู้นั้นเป็นญาณวิปริต ดังนี้ คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นคำตอบรับรองเป็นของปรวาที พึง ทราบคำอธิบายของปัญหานั้นดังนี้ว่า นิมิตที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยปฐวี แต่นิมิตที่เกิดนั้นไม่ใช่ปฐวีเลย อนึ่ง ผู้ใดมีความสำคัญในปฐวีกสินย่อม เข้าฌานมีปฐวีเป็นอารมณ์ ฌานนั้นชื่อว่ามีญาณอันวิปริต คือผิดจาก ความเป็นจริงดังนี้.
ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงว่า ลักขณปฐวีก็ดี สสัมภารปฐวีก็ดี นิมิตตปฐวีก็ดี ปฐวีเทวดาก็ดี ปฐวีทั้งหมดนั่นแหละ ในปฐวีเหล่านั้น ญาณว่าปฐวีมิใช่เป็นญาณวิปริต ส่วนความเห็นอันผิดปกติในธรรมที่ ไม่เที่ยงว่าเที่ยงเป็นต้นชื่อว่าญาณวิปริต ญาณในปฐวีทั้งหลายเหล่านี้ ญาณใดญาณหนึ่งตามลัทธิของท่านเป็นญาณวิปริตหรือ จึงกล่าวคำว่า มีความเห็นผิดในสภาวะที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง เป็นต้น ปรวาทีตอบ ปฏิเสธ หมายเอาความไม่มีลักขณะอันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ย่อมตอบรับรองหมายเอาปฐวีนิมิต. คำว่า กุสลํ ท่านกล่าวหมาย เอาญาณของพระเสกขะและปุถุชนทั้งหลาย.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 776
แม้ในปัญหาว่า พระอรหันต์ยังมีความเห็นผิดอยู่ หรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีลักขณะอันวิปัลลาสเช่นนั้น ย่อม ตอบรับรองหมายเอาปฐวีนิมิต.
คำว่า เป็นคนล้วนเทียวหรือ ความว่า ปรวาทีถามด้วย คำว่า ปฐวีกสินทั้งปวงนั้นเป็นลักขณปฐวีทั้งหมดหรือ สกวาทีตอบ ปฏิเสธเพราะความไม่มีเช่นนั้น.
คำถามของสกวาทีว่า ดินมีอยู่ และบางคนที่เข้าปฐวีกสิน จากดินก็มีอยู่มิใช่หรือ ดังนี้ พึงทราบเนื้อความแห่งปัญหานั้นว่า สกวาทีถามว่า นิมิตตปฐวีอยู่ บุคคลย่อมเข้าสมาบัติมีดินเป็นนิมิตจาก ดินนั้นแหละก็มีอยู่ มิได้เข้าจากอาโป หรือจากเตโชมิใช่ หรือ ดังนี้. คำว่า ดินมีอยู่ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงด้วยคำว่า ถ้าญาณ ของผู้เข้าปฐวีกสินเป็นญาณวิปริตฉันนั้นไซร้ นิพพานมีอยู่เมื่อบุคคล เข้าสมาบัติ มีนิพพานเป็นอารมณ์ก็ดี มรรคญาณอันถอนซึ่งความวิปริต ทั้งปวงก็ดี ก็ย่อมจะวิปริตตามลัทธิของท่าน ดังนี้.
อรรถกถาวิปรีตกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 777
นิยามกถา
[๑๐๔๖] สกวาที บุคคลผู้ไม่แน่นอน คือยังเป็นปุถุชน มี ญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน คืออริยมรรค หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้แน่นอน คืออริยบุคคล มีญาณเพื่อไปสู่ โลกกิยธรรมอันมิใช่ทางแน่นอน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๔๗] ส. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ โลกิยธรรม อันมิใช่ทางแน่นอน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๔๘] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 778
[๑๐๔๙] ส. บุคคลผู้แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๕๐] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ โลกิยธรรม อันมิใช่ทางแน่นอน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๕๑] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ โลกิย- ธรรมอันมิใช่ทางแน่นอน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๕๒] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 779
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีทางอันแน่นอน เพื่อไปสู่ ทางอันแน่นอน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๑๕๓] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีสติปัฏฐาน ฯลฯ สัมมัปป- ธาน อิทธิบาท อินทรีย์ พละ โพชฌงค์ เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๕๔] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอน ไม่มีทางอันแน่นอนเพื่อไป สู่ทางอันแน่นอน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอน ไม่มีทางอันแน่นอน เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณ เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน หรือ?
[๑๐๕๕] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนไม่มีสติปัฏฐาน ฯลฯ โพช- ฌงค์ เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 780
ส. หากว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอน ไม่มีโพชฌงค์เพื่อ ไปสู่ทางอันแน่นอน ก็ต้องไม่กล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไป สู่ทางอันแน่นอน.
[๑๐๕๖] ส. บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. โคตรภูบุคคลมีญาณในโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๕๗] ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี ญาณในโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล มีญาณ ในอรหัตตผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๕๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอนมีญาณเพื่อไป ทางอันไม่แน่นอน หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบได้ว่า บุคคลนี้ จักก้าวลงสู่ทางอันแน่นอนเพื่อความชอบ บุคคลนี้เป็นรู้ควรเพื่อจะตรัสรู้ ธรรมนี้ มิใช่หรือ ?
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 781
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทราบได้ว่า บุคคลนี้จักก้าวลงสู่ทางอันแน่นอนเพื่อความชอบ บุคคลนี้เป็นผู้ควร เพื่อจะตรัสรู้ธรรม ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงกล่าวว่า บุคคลผู้ไม่แน่นอน มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน.
นิยามกถา จบ
อรรถกถานิยามกถา
ว่าด้วยนิยาม
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องนิยาม คือทางอันแน่นอนได้แก่ อริยมรรค. ในเรื่องนั้นชนเหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอุตตราปถกะ ทั้งหลายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลใดจักหยั่งลง สู่สัมมัตตนิยาม คือมรรคอันถูกต้อง บุคคลนั้นควรเพื่อจะตรัสรู้ธรรมนั้น เหตุใด เพราะเหตุนั้น ญาณเพื่อการบรรลุนิยาม คือทางอันแน่นอน ของอนิยตบุคคลผู้เป็นปุถุชนนั่นแหละมีอยู่ ดังนี้ คำถามว่า อนิยต คือบุคคลผู้ไม่แน่นอน เป็นต้น ของพระสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น. คำว่า เพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน ในปัญหานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงตรัสเรียกมรรคว่านิยาม อธิบายว่า เพื่อการบรรลุมรรค เพื่อการ หยั่งลงสู่มรรค. ก็คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบว่า บุคคลนี้ ควรเพื่อบรรลุนิยาม เพราะเห็นญาณอันใดของบุคคลนั้น พระปรวาที หมายญาณนั้น จึงตอบรับรอง. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อแสดงว่า วาทะ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 782
ของปรวาทีนั้นไม่ถูกต้อง๑ จึงซักถามถึงเนื้อความอันตรงกันข้าม ด้วยคำ ว่า บุคคลผู้แน่นอน เป็นต้น.
บรรดาปัญหาเหล่านั้น ในปัญหาแรก ปรวาทีตอบปฏิเสธเพราะ ชื่อว่าญาณเพื่อการบรรลุนิยามของบุคคลผู้แน่นอนไม่มีด้วยมรรค. ใน ปัญหาที่ ๒ ย่อมตอบรับรองเพราะความไม่มี. ปัญหาที่ ๓ ตอบปฏิเสธ เพราะถูกถามด้วยคำว่า ผู้ไม่แน่นอนไม่มีญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่ นอน โดยผิดจากลัทธิ สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็นปัญหา ที่ ๔ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหาของนิยตบุคคลด้วยสามารถแห่งการบรรลุ นิยามเป็นต้น. ในปัญหาเหล่านั้น ปัญหาที่ ๑ ปรวาทีตอบปฏิเสทเพราะ ญาณ เพื่อการบรรลุนิยามนั้นอีกของนิยตบุคคลไม่มีด้วยมรรคต้น. ใน ปัญหาที่ ๒ ตอบรับรองเพราะความไม่มีนั้นแหละ. ในปัญหาที่ ๓ ย่อม ตอบปฏิเสธเพราะผิดจากลัทธิ. สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็น ปัญหาที่ ๘ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหาของอนิยตบุคคลด้วยสามารถแห่งการ ไม่บรรลุนิยามเป็นต้น. บัณฑิตพึงทราบเนื้อความแห่งปัญหาเหล่านั้น โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ. สกวาทีทำปัญหาแรกนั่นแหละให้เป็น ปัญหาที่ ๑๒ อีก แล้วทำ ๓ ปัญหามีคำว่า มีทางอันแน่นอน เป็น ต้นจากมูลนั้น. ในปัญหาทั้งหลายเหล่านั้น มัคคญาณเท่านั้น ชื่อว่า ญาณเพื่อไปสู่ทางอันแน่นอน เหตุใด เพราะเหตุนั้น สกวาทีหมายญาณ
๑. บาลีอรรถกถาไทย ใช้คำว่า อยุตฺตนฺติ หมายถึง คำไม่ถูกต้อง ของพม่า ใช้ คำว่า อยุตฺตวาทีตีติปิ หมายถึง มีวาทะอันไม่ถูกต้องคือใช้ได้ด้วยกันทั้ง ๒ นัย
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 783
นั้น จึงว่า มีทางอันแน่นอน ดังนี้ ครั้นเมื่อคำว่า มีทางอันแน่ นอนอันสกวาทีกล่าวแล้ว ปรวาทีก็ตอบปฏิเสธ. เมื่อสกวาทีกล่าวว่า มีญาณ ปรวาทีก็ตอบรับรอง. แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า สติปัฏฐาน เป็นต้น ก็นัยนี้. คำปัจจนิก มีเนื้อความง่ายทั้งนั้นแล. คำว่า โคตรภู- บุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อแสดงว่า ญาณใดอันบุคคลใดไม่ บรรลุแล้ว ญาณนั้นของบุคคลนั้นย่อมไม่มี. คำว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบด้วย ญาณพละของพระองค์เอง ไม่ใช่ทรงทราบจากสภาพการบรรลุนิยาม ธรรมของผู้นั้น เพราะฉะนั้น ด้วยเหตุนี้ ปรวาทีแม้ตั้งลัทธิไว้แล้วก็ ตั้งอยู่ไม่ได้เลย ดังนี้แล.
อรรถกถานิยามกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 784
ปฏิสัมภิทากถา
[๑๐๕๙] สกวาที ความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. ความรู้สมมติเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความรู้สมมติเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้สมมติ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น เป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น เป็นปฏิสัมภิทา
ป. ถูกแล้ว.
ส. ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้จิตของบุคคลอื่น ชน เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้ถึงปฏิสัมภิทาแล้ว หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 785
[๑๐๖๐] ส. ความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ปัญญาทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ก็มีปัญญา นั้นเป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ผู้เข้าสมาบัติมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มี เตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีวาโยกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีนีลกสิณ เป็นอารมณ์ ฯลฯ มีปีตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีโลหิตกสิณเป็น อารมณ์ ฯลฯ มีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ ผู้เข้าอากาสานัญจา- ยตนสมาบัติ ฯลฯ วิญญาณญัญจายตนสมาบัต ฯลฯ อากิญจัญญายตน สมาบัติ ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ผู้ให้ทาน ฯลฯ ผู้ให้จีวร ฯลฯ ผู้ให้บิณฑบาต ฯลฯ ผู้ให้เสนาสนะ ฯลฯ ผู้ให้ คิลานปัจจยเภสัชชบริขารก็มีปัญญา ปัญญานั้น เป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๖๑] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ทั้งปวง เป็นปฏิสัมภิทา หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 786
ป. ปัญญาอันเป็นโลกุตตระมีอยู่ ปัญญานั้นไม่เป็น ปฏิสัมภิทา หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น ความรู้ทั้งปวงก็เป็นปฏิสัมภิทา น่ะสิ.
ปฏิสัมภิทากถา จบ
อรรถกถากถาปฏิสัมภิทากถา
ว่าด้วยปฏิสัมภิทา
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องปฏิสัมภิทา คือปัญญาเครื่องแตกฉาน. ใน เรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณ คือความรู้ ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทา เพราะถือเอาพระบาลีว่า ญาณ คือความรู้ ของพระอริยะทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นโลกุตตระ ดังนี้คำถามของสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้นคำตอบรับรองเป็นของปรวาที ในปัญหาว่าด้วยญาณ คือความรู้สมมติทั้งหลาย ปรวาทีตอบปฏิเสธ หมายเอาญาณในสมาบัติที่เป็นปฐวีกสิณอันเป็นสมมติ คือเป็นบัญญัติ อารมณ์ ย่อมตอบรับรองหมายเอานิรุตติญาณ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งรู้สมมติ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาปุถุชน ทั้งหลาย. ในปัญหาว่าด้วย เจโตปริยายะ ความรู้ในการกำหนดใจ ผู้อื่น ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาญาณของปุถุชน ตอบรับรองหมาย เอาญาณของพระอริยะ. ในปัญหาทั้งหลายว่า ปัญญาทั้งปวงเป็น ปฏิสัมภิทาหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธหมายเอาปัญญาในกสิณ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 787
สมาบัติ ตอบรับรองหมายเอาโลกุตตระ. คำว่า สมาบัติมีปฐวีกสิญ เป็นอารมณ์ เป็นต้น สกวาทีกล่าวเพื่อถามด้วยคำว่า ปัญญา ในที่ทั้งหลายมีประมาณเท่านี้นั้น ปัญญานั้นเป็นปฏิสัมภิทาทั้งหมดหรือ. คำว่า ถ้าอย่างนั้นความรู้ทั้งปวงเป็นปฏิสัมภิทาหรือ อธิบายว่า โลกุตตรปัญญาทั้งสิ้น เป็นปฏิสัมภิทา เหตุใด เพราะเหตุนั้น คำว่า ทั้งปวง ท่านจึงให้ตั้งไว้เฉพาะกันสามัญญผล ดังนี้แล.
อรรถกถาปฏิสัมภิทากถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 788
สัมมติญาณกถา
[๑๐๖๒] ปรวาที ไม่พึงกล่าวว่า ญาณให้สมมติ มีสัจจะ เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น อารมณ์ หรือ?
สกวาที ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้เข้าสมาบัติปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ มี ญาณ และปฐวีกสิณเป็นสมมติสัจจะ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า บุคคลผู้เข้าสมาบัติมีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ มีญาณ และปฐวีกสิณเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่น เป็นอารมณ์.
[๑๐๖๓] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. บุคคลผู้เข้าสมาบัติมีอาโปกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ มีเตโชกสิณเป็นอารมณ์ ฯลฯ บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ- ขาร มีญาณและคิลานปัจจัยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 789
ป. หากว่า บุคคลผู้ให้อยู่ซึ่งคิลานปัจจยเภสัชชบริ- ขาร มีญาณและคิลานปัจจยเภสัชชบริขารเป็นสมมติสัจจะ ด้วยเหตุนั้น นะท่านจึงต้องกล่าวว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มี ธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
[๑๐๖๔] ส. ญาณในสมมติ มีสัจจะเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่ มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. กำหนดรู้ทุกข์ได้ ละสมุทัยได้ กระทำนิโรธ ให้แจ้งได้ ยังมรรคให้เกิดได้ด้วยญาณนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
สัมมติญาณกถา จบ
อรรถกถาสัมมติญาณกถา
ว่าด้วยสมมติญาณ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องสมมติญาณ คือญาณในสมมติ. ในเรื่องนั้น สัจจะมี ๒ คือสมมติสัจจะ และปรมัตถสัจจะ. ก็บุคคลเหล่าใดไม่ทำการ แยกสัจจะอย่างนี้ ย่อมกล่าวแม้ซึ่งสมมติญาณว่ามีสัจจะเป็นอารมณ์นั่น เทียว ด้วยการกล่าวอ้างคำว่า สัจจะ ดุจลัทธิของนิกายอันธกะ ทั้งหลาย สกวาทีจึงเริ่มคำนี้ เพื่อชำระล้างวาทะของชนเหล่านั้นว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 790
พวกเขาเหล่านั้นมีวาทะไม่ถูกต้อง. ในคำเหล่านั้น คำถามว่า ไม่ พึงกล่าว เป็นของปรวาที. คำตอบรับรองเป็นของสกวาที หมาย เอาปรมัตถสัจจะ. คำว่า ญาณในสมมติสัจจะ ได้แก่ ญาณใน สัจจะที่เข้าไปอาศัยคำสมมติ อีกอย่างหนึ่ง คำว่า ญาณในสมมติ- สัจจะ เป็นสัตตมีวิภัตติใช้ในอรรถแห่งปฐมาวิภัตติ อธิบายว่า ได้แก่ สมมติสัจจะ. คำถามของสกวาทีว่า ญาณในสมมติมีสัจจะเป็น อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ คำตอบรับรองเป็นของ ปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อจะท้วงด้วยคำวำ ถ้าญาณในสมมติ นั้นมีสัจจะเป็นอารมณ์โดยไม่แปลกกัน บุคคลก็พึงทำกิจทั้งหลายมีการ กำหนดรู้ทุกข์ เป็นต้นด้วยญาณนั้นได้ ดังนี้ จึงกล่าวคำว่า กำหนดรู้ทุกข์ได้ ฯลฯ ด้วยญาณนั้นหรือ ดังนี้.
อรรถกถาสมมติญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 791
จิตตารัมมณกถา
[๑๐๖๕] สกวาที ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. มีบางคน เมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมีราคะ มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะ ก็รู้ชัดว่าจิตมี ราคะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็น อารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
ส. มีบางคน เมื่อจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต ปราศจากราคะ ฯลฯ เมื่อจิตมีโทสะ ฯลฯ เมื่อจิตปราศจากโทสะ เมื่อ จิตมีโมหะ เมื่อจิตปราศจากโมหะ เมื่อจิตหดหู่ เมื่อจิตกวัดแกว่ง เมื่อ จิตใหญ่ เมื่อจิตไม่ใหญ่ เมื่อจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า เมื่อจิตเป็นสมาธิ เมื่อจิตไม่เป็นสมาธิ เมื่อจิตหลุด ฯลฯ เมื่อจิตยังไม่ หลุด ก็รู้ชัดว่าจิตยังไม่หลุด มิใช่หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า มีบางคนเมื่อจิตยังไม่หลุด ก็รู้ชัดว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 792
จิตยังไม่หลุด ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิต เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
[๑๐๖๖] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึง กล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ในการ กำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์.
ส. ความรู้ในการกำหนดใจผู้อื่น พึงกล่าวว่า ความ รู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ว่าความ รู้ในอารมณ์คือเจตนา ว่าความรู้ในอารมณ์คือจิต ว่าความรู้ในอารมณ์ คือศรัทธา ว่าความรู้ในอารมณ์คือวิริยะ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสติ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสมาธิ ว่าความรู้ในอารมณ์คือปัญญา ฯลฯ ว่า ความรู้ในอารมณ์คือราคะ ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือโทสะ ฯลฯ ว่า ความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น พึง กล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ ก็ต้องไม่กล่าวว่า ความรู้ ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น อารมณ์.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 793
[๑๐๖๗] ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ผัสสะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์คือเวทนา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คือสัญญา ฯลฯ ว่าความรู้ในอารมณ์คืออโนตตัปปะ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้อโนตตัปปะ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๖๘] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิตเป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็น อารมณ์ หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มิใช่หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. หากว่า เป็นความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น ด้วย เหตุนั้นนะท่าน จึงต้องกล่าวว่าความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น มีจิต เป็นอารมณ์เท่านั้น ไม่มีธรรมอื่นเป็นอารมณ์. จิตตารัมมณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 794
อรรถกถาจิตตารัมมณกถา
ว่าด้วยญาณมีจิตเป็นอารมณ์
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องญาณมีจิตเป็นอารมณ์. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใด มีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ญาณนั้น มีจิตเป็นอารมณ์อย่างเดียวเท่านั้น เพราะถือเอาเหตุสักแต่คำว่า เจโตปริยญาณ ความรู้ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่น. ดังนี้ คำถามของสกวาที หมายถึงชนเหล่านั้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาที เพื่อท้วงด้วยคำว่า บุคคลใดย่อมรู้จิตของผู้อื่นด้วยสามารถแห่งจิตมี ราคะเป็นต้น แม้ราคะเป็นต้นก็ย่อมเป็นอารมณ์ของผู้นั้น เพราะฉะนั้น ท่านไม่พึงกล่าวว่า ญาณนั้นมีจิตเป็นอารมณ์เพียงอย่างเดียวไม่มีอย่าง อื่นเป็นอารมณ์ ดังนี้ จึงเริ่มคำว่า มีบางคนเมื่อจิตมีราคะก็รู้ชัด ว่าจิตมีราคะมิใช่หรือ. คำว่า ในอารมณ์คือผัสสะ ได้แก่ ในอารมณ์กล่าวคือผัสสะ แม้ในคำทั้งหลายมีคำว่า ในอารมณ์คือ เวทนา เป็นต้น ก็นัยนี้แหละ.
ถูกสกวาทีถามอีกว่า ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอารมณ์ คือ ผัสสะหรือ อีก ปรวาทีตอบรับรองด้วยคำว่า เมื่อมนสิการซึ่งผุสนลักขณะของผัสสะ ย่อมเป็นอารมณ์ของผัสสะ ดังนี้. ถูกสกวาทีถาม ว่า เป็นความรู้ในภารกำหนดรู้ผัสสะหรือ ปรวาทีตอบปฏิเสธ เพราะความไม่มีบทพระสูตรเช่นนั้น. แม้ในเวทนาเป็นต้นก็นัยนี้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 795
ในบัดนี้ ลัทธิของปรวาทีนั้นอาศัยคำใดที่ตนกล่าว ครั้นแสดง คำนั่นแล้ว เพื่อให้ลัทธิตั้งไว้. จึงกล่าวด้วยคำว่า นั่น เป็นความรู้ ในการกำหนดรู้ใจผู้อื่นมิใช่หรือ แต่ ลัทธินี้แม้เป็นลัทธิอันปรวาที ให้ตั้งไว้ด้วยสามารถการอาศัยสักแต่ถ้อยคำนั้น ย่อมไม่เป็นอันตั้งไว้ได้ เลย ดังนี้แล.
อรรถกถาจิตตารัมมณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 796
อนาคตญาณกถา
[๑๐๖๙] สกวาที ความรู้ในอนาคต คือ สภาวะที่ยังไม่มาถึง มีอยู่ หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. อนาคตรู้ได้โดยมูล รู้ได้โดยเหตุ รู้ได้โดย นิทาน คือเหตุเป็นแดนมอบให้ซึ่งผล รู้ได้โดยสมภพ คือเหตุเป็นแดน เกิด รู้ได้โดยประภพ คือเหตุเป็นแดนเกิดก่อน รู้ได้โดยสมุฏฐาน รู้ได้โดยอาหาร คือเหตุนำมาซึ่งผล รู้ได้โดยอารมณ์ คือเหตุเป็นที่ยึด หน่วง รู้ได้โดยปัจจัย คือเหตุเป็นที่อาศัยเป็นไป รู้ได้โดยสมุทัย หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗๐] ส. ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. รู้ความเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความ เป็นอารัมณปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความเป็นอธิปติปัจจัยที่เป็นอนาคต ได้ รู้ความเป็นอนันตรปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ รู้ความเป็นสมันตรปัจจัย ที่เป็นอนาคตได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗๑] ส. ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 797
ส. โคตรภูบุคคล มีความรู้ในโสดาปัตติมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล มี ความรู้ในโสดาปัตติผล หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลผู้ปฏิบัติ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล ฯลฯ เพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตตผล มีความ รู้ในอรหัตตผล หรือ ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗๒] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในอนาคตมีอยู่ หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนอานนท์ อันตราย ๓ อย่าง จักเกิดแก่เมืองปาฏลีบุตร คือ จากไฟ หรือ จากนี้ หรือจากการแตกความสามัคคี๑ ดังนี้ เป็นสูตรมีอยู่จริง มิใช่หรือ ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. ถ้าอย่างนั้น ความรู้ในอนาคตก็มีอยู่ น่ะสิ อนาคตญาณกถา จบ
๑. วิ. มหา ๕/๗๑.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 798
อรรถกถาอนาคตญาณกถา
ว่าด้วยความรู้ในอนาคต
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องความรู้ในอนาคต. ในปัญหานั้น ขณะอัน เป็นอันตระก็ดี หมายเอาขณะจิต เป็นอนันตระก็ดี ชื่อว่า อนาคต. ในขณะทั้ง ๒ เหล่านั้น ญาณย่อมรู้อนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่อย่าง เดียวเท่านั้น อนึ่งญาณอนาคตที่เป็นอนันตระมีอยู่โยประการใด แม้ ญาณที่หยั่งลงในชวนะหนึ่งของวิถีหนึ่งก็มีอยู่โดยประการนั้น. ในปัญหา นั้น ชนเหล่าใด ย่อมปรารถนาญาณในอนาคตแม้ทั้งปวง ดุจลัทธิของ นิกายอันธกะทั้งหลาย คำถามของสกวาทีหมายชนเหล่านั้น คำตอบ รับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วงด้วยคำว่า ญาณ ในอนาคตอันไม่มีอยู่ตามลัทธิของท่าน. บุคคลย่อมรู้อนาคตที่เกิดใน ภายหลังแต่นั้นได้ด้วยสามารถแห่งมูลเป็นต้นหรือดังนี้จึงกล่าวกะปรวาที นั้นว่า อนาคตรู้ได้โดยมูล เป็นต้น. บรรดาคำเหล่านั้น คำทั้ง ปวงว่า โดยมูล เป็นต้น คือ โดยมูล โดยเหตุ โดยนิทาน โดยสมภพ โดยประภพ โดยสมุฏฐาน โดยอาหาร โดยอารมณ์ โดย ปัจจัย และโดยสมุทัย นี้เป็นคำไวพจน์ของคำว่า การณะ คือ การณะ แปลว่า เครื่องกระทำ หรือ เหตุ ทั้งสิ้น. จริงอยู่ การณะ ชื่อว่า มูล เพราะอรรถว่า ย่อมทำธรรมใดให้เป็นผลของตน ธรรมที่เป็น ผลนั้นในที่นั้นจึงอาศัยตั้งอยู่ได้. ชื่อว่า เหตุ เพราะอรรถว่า ให้ผล ธรรมนั้นเจริญและเป็นไปทั่ว. ชื่อว่า นิทาน เพราะอรรถว่า เป็นแดน มอบให้ซึ่งผลธรรมนั้นๆ นั่นแหละ ราวกะการมอบให้อยู่ด้วยคำว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 799
เชิญเถิดท่านทั้งหลาย จึงถือเอาสิ่งนี้ ดังนี้. ชื่อว่า สมภพ เพราะ อรรถว่า ย่อมให้ผลธรรมเก่พร้อมแต่เหตุนั้น. ชื่อว่า ประภพ เพราะ อรรถว่า เป็นแดนเกิดก่อน. ชื่อว่า สมุฏฐาน เพราะอรรถว่า ผลธรรม นั้นย่อมตั้งขึ้นพร้อมในเพราะธรรมอันเป็นเหตุนั้น อีกอย่างหนึ่ง เพราะ อรรถว่า ย่อมยังผลธรรมนั้นๆ ให้ตั้งขึ้นพร้อม. ชื่อว่า อาหาร เพราะ อรรถว่า ย่อมนำมาซึ่งผลธรรมนั้นๆ นั่นแหละ. ก็เหตุนั้น ชื่อว่า อารมณ์ เพราะอรรถว่า ไม่สละซึ่งผลธรรมนั้น. ชื่อว่า ปัจจัย เพราะ อรรถว่า ผลธรรมนั้นอาศัยธรรมอันเป็นเหตุเป็นไ
ป. สภาวะใด ย่อม ยังผลธรรมนั้นให้เกิดขึ้นแต่เหตุ เพราะเหตุนั้นสภาวะนั้น ท่านจึงเรียก ว่า สมุทัย ที่ชื่อว่า สมุทัย เพราะอรรถว่า ยังผลธรรมให้เกิดขึ้น จากเหตุ. ก็ใครๆ ไม่อาจเพื่อรู้อนันตรจิตได้ด้วยอาการเหล่านี้ คือเหตุ เหล่านี้ เหตุใด เพราะเหตุนั้น ปรวาทีจึงตอบปฏิเสธว่า ไม่พึงกล่าว อย่างนั้น. คำว่า รู้ความเป็นเหตุปัจจัยที่เป็นอนาคตได้ ความว่า เมือจิ อันเป็นอนาคตที่จะเกิดติดต่อกันไป บุคคลย่อมรู้ซึ่งจิตนั้น เพราะ ความเป็นเหตุปัจจัย อธิบายว่า ธรรมเหล่าใดมีเหตุปัจจัยในธรรมเหล่า นั้น ย่อมรู้ซึ่งธรรมเหล่านั้น. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้นั่นแหละ. คำว่า โคตรภูบุคคล เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วเพื่อแสดงญาณ ที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้นโดยย่อ. พระสูตรว่า ปาฏลีบุตร ที่ปรวาที นำมาก็เพื่อแสดงญาณที่เกิดขึ้นในอนาคตนั้น แต่พระสูตรนั้นไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่ญาณในอนาคตทั้งปวง เหตุใด เพราะเหตุนั้น พระสูตร นั้นจึงสักแต่ว่านำมาเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล.
อรรถกถาอนาคตญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 800
ปัจจุปปันนญาณกถา
[๑๐๗๓] สกวาที ความรู้ในปัจจุบันคือสภาวะที่เกิดขึ้นเฉพาะ หน้า มีอยู่หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นว่าความรู้ ด้วยความรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. บุคคลรู้ความรู้นั้นว่าความรู้ ได้ด้วยความรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. ความรู้นั้น เป็นอารมณ์แห่งความรู้นั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. ความรู้นั้น เป็นอารมณ์แห่งความรู้นั้น หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นได้ด้วยผัสสะนั้น เสวย เวทนานั้นได้ด้วยเวทนานั้น จำสัญญานั้นได้ด้วยสัญญานั้น ตั้งเจตนา
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 801
นั้นได้ด้วยเจตนานั้น คิดจิตนั้นได้ด้วยจิตนั้น ตรึกวิตกนั้นได้ด้วยวิตก นั้น ตรองวิจารนั้นได้ด้วยวิจารนั้น ดื่มปีตินั้นได้ด้วยปีตินั้น ระลึก สตินั้นได้ด้วยสตินั้น ทราบชดปัญญานั้นได้ด้วยปัญญานั้น ตัดขันธ์นั้น ได้ด้วยขันธ์นั้น ถากขวานนั้นได้ด้วยขวานนั้น ถากผึ่งนั้นได้ด้วยผึ่งนั้น ถากมีดนั้นได้ด้วยมีดนั้น เย็บเข็มนั้นได้ด้วยเข็มนั้น ลูบคลำปลายองคุลี นั้นได้ด้วยปลายองคุลีนั้น ลูบคลำปลายนาสิกนั้นได้ด้วยปลายนาสิกนั้น ลูบคลำกระหม่อมนั้นได้ด้วยกระหม่อมนั้น ล้างคูถนั้นได้ด้วยคูถนั้น ล้าง มูตรนั้นได้ด้วยมูตรนั้น ล้างเขฬะนั้นได้ด้วยเขฬะนั้น ล้างหนองนั้น ได้ด้วยหนองนั้น ล้างเลือดนั้นได้ด้วยเลือดนั้น หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗๔] ป. ไม่พึงกล่าวว่า ความรู้ในปัจจุบันมีอยู่ หรือ? ถูกแล้ว.
ป. เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวง โดยความ เป็นของไม่เที่ยงแล้ว แม้ความรู้นั้น ก็เป็นพระโยคาวจรนั้นได้เห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย มิใช่หรือ ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. หากว่า เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยงแล้ว แม้ความรู้นั้นก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้น ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วย ด้วยเหตุนั้นนะท่านจึงต้องกล่าวว่า ความรู้ในปัจจุบันมีอยู่. ปัจจุปปันนญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 802
อรรถกถาปัจจุปปันนญาณกถา
ว่าด้วยความรู้ในปัจจุบัน
บัดนี้ ชื่อว่า เป็นเรื่องปัจจุบันนญาณ คือความรู้ในปัจจุบัน. ในเรื่องนั้น ชนเหล่าใดมีความเห็นผิด ดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลาย ว่า ญาณในปัจจุบันทั้งปวงมีอยู่โดยไม่แปลกกัน เพราะอาศัยพระบาลี ว่า เมื่อเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่เที่ยง ญาณแม้นั้น ย่อม ชื่อว่าเป็นญาณอันบุคคลนั้นเห็นแล้วโดยความเป็นของไม่เที่ยง ดังนี้ สกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า ความรู้ในปัจจุบัน เป็นต้น คำรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีจึงกล่าวซักถามปรวาทีนั้น ด้วยคำว่า บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ เพื่อท้วง ว่า ผิว่า ญาณในปัจจุบันมีโดยไม่แปลกกันแล้ว บุคคลก็พึงรู้ญาณแม้
ในปัจจุบันขณะ ด้วยญาณนั้นได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ญาณทั้ง ๒ ก็ไม่ใช่ ญาณอันเดียวกัน บุคคลจะพึงรู้ญาณนั้นด้วยญาณนั้นได้อย่างไร. ในปัญหาเหล่านั้นปัญหาที่ ๑ ปรวาทีปฏิเสธว่า ไม่อาจรู้ ญาณนั้นด้วยญาณนั้นได้. ในปัญหาที่ ๒ ปรวาทีตอบรับรอง หมาย เอาการสืบต่อ. ปัญหานั้น อธิบายว่า เมื่อบุคคลเห็นอยู่ซึ่งความแตกดับ ไปแห่งสังขารทั้งหลายโดยลำดับ บุคคลนั้นชื่อว่าย่อมเห็นภังคานุปัสสนาญาณได้ด้วยภังคานุปัสสนาญาณนั้นนั่นแหละ. แม้ในคำทั้งหลาย คำว่า บุคคลรู้ความรู้นั้นได้ด้วยความรู้นั้น หรือ เป็นต้น ก็นัยนี้.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 803
คำทั้งหลายที่สกวาทีกล่าวว่า บุคคลถูกต้องผัสสะนั้นได้ด้วยผัสสะ นั้น เป็นต้น เพื่อห้ามโอกาสอันมีเลศนัยของปรวาทีนั้น. ก็เพื่อให้ ลัทธิตั้งไว้ ปรวาทีกล่าวคำใดว่า เมื่อพระโยคาวจรเห็นสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยงแล้ว แม้ความรู้นั้นก็เป็นอันพระโยคาวจรนั้น ได้เห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงด้วยมิใช่หรือ คำตอบรับรองเป็นของ สกวาที ในปัญหานั้นอธิบายว่า ญาณนั้นชื่อว่าเห็นแล้วโดยนัย แต่ ไม่เห็นโดยอารมณ์. เพราะฉะนั้น ลัทธิที่ปรวาทีตั้งไว้แล้วอย่างนี้ ก็ ไม่เป็นอันตั้งไว้ได้เลย ดังนี้แล.
อรรถกถาปัจจุปปันนญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 804
ผลญาณกถา
[๑๐๗๕] สกวาที พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ?
ปรวาที ถูกแล้ว.
ส. พระสาวกประกาศคุณสมบัติแห่งผลได้ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผล การรู้ความยิ่ง ความหย่อนแห่งอินทรีย์ การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งบุคคล ของ พระสาวกมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. การบัญญัติขันธ์ การบัญญัติอายตนะ การบัญญัติ ธาตุ การบัญญัติสัจจะ การบัญญัติอินทรีย์ การบัญญัติบุคคล ของ พระสาวกมีอยู่ หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 805
ส. พระสาวก เป็นพระชินะ เป็นพระศาสดา เป็น พระสัมมาสัมพุทธะ เป็นพระสัพพัญญู เป็นผู้เห็นธรรมทั้งปวง เป็น เจ้าแห่งธรรม เป็นที่อาศัย เป็นไปแห่งธรรม หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ส. พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ?
ป. ถูกแล้ว.
ส. พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดขึ้น ให้เกิด ขึ้น เป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม เป็นผู้กล่าวมรรคที่ ใครๆ ยังไม่กล่าวเป็นผู้รู้มรรค เป็นผู้รู้แจ้งมรรค เป็นผู้ฉลาดในมรรค หรือ?
ป. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
[๑๐๗๖] ป. ไม่พึงกล่าวว่า พระสาวกมีความรู้ในผล หรือ?
ส. ถูกแล้ว.
ป. พระสาวกเป็นผู้ไม่มีความรู้ หรือ?
ส. ไม่พึงกล่าวอย่างนั้น ฯลฯ
ป. ถ้าอย่างนั้น พระสาวกก็มีความรู้ในผลน่ะสิ ผลญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 806
อรรถกถาผลญาณกถา
ว่าด้วยผลญาณ
บัดนี้ ชื่อว่า เรื่องผลญาณ คือความรู้ในผล. ในเรื่องนั้น ชน เหล่าใดมีความเห็นผิดดุจลัทธิของนิกายอันธกะทั้งหลายว่า ผลญาณอัน สัตว์นั้นๆ พึงบรรลุแม้ของพระสาวกทั้งหลาย ดุจของพระพุทธเจ้าทั้ง หลายโดยสามัญนี้ว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ดี พระสาวกทั้งหลายก็ดี ย่อม แสดงธรรมเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยผลของสัตว์ทั้งหลาย ดังนี้ พระสกวาทีหมายถึงชนเหล่านั้น จึงถามว่า พระสาวกมีความรู้ในผล เป็นต้น คำตอบรับรองเป็นของปรวาที. ลำดับนั้น สกวาทีเพื่อท้วง ปรวาทีนั้นด้วยคำว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้า ไซร้ พระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมทรงบัญญัติการทำผลในโสดาปัตติผล แม้มีอยู่ว่า พระโสดาบันรูปนี้เป็นเอกพีชี รูปนี้เป็นโกลังโกละ รูปนี้ เป็นสัตตักขัตตุปรมะได้ด้วยญาณพละของพระองค์ ฉันใด แม้พระสาวก ตามลัทธิของท่านก็บัญญัติการทำผลเช่นนั้นหรือ ดังนี้ จึงกล่าวว่า พระสาวกประกาศคุณสมบัติแห่งผลได้หรือ ปรวาทีย่อมตอบ ปฏิเสธ. คำว่า การรู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผลของพระสาวกมี อยู่หรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อถามถึงปัจจัยเพราะผลญาณมีปัจจัย ของผลก็ต้องมี ดังนี้.
ในปัญหานั้นอธิบายว่า ผลทั้งหลายอันบัณฑิตนับพร้อมแล้วว่า การรู้ความสูงและต่ำแห่งผลทั้งหลายของพระพุทธเจ้าทั้งหลายอย่างนี้ว่า
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 807
สภาวะนี้เป็นผลอันนี้ สภาวะนี้เป็นผลอันอื่น สภาวะนี้เป็นผลที่ ปราศจากไปแล้ว ดังนี้ ชื่อว่า ปโรปริยัตติ หรือผลปโรปริยัตติ การ รู้ความยิ่งความหย่อนแห่งผล อินทริยปโรปริยัตติและปุคคลปโรปริ- ยัตติ ของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็มีอยู่โดยทำนองนั้น พระพุทธเจ้าทั้ง หลายย่อมรู้ซึ่งผลนั้นๆ ด้วยความสามารถแห่งการรู้บุคคลนั้นๆ หรือว่า ด้วยความสามารถแห่งการรู้อินทรีย์เหล่านั้น เพราะความที่ญาณเหล่า นั้นมีอยู่ ปโรปริยัตติญาณทั้งหลายเหล่านี้ แม้ของพระสาวกมีอยู่หรือ. คำทั้งหลาย แม้มีคำว่า การบัญญัติขันธ์ของพระสาวกมีหรือ เป็นต้น สกวาทีกล่าวแล้วก็เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณของพระสาวกมีอยู่ เหมือนของพระพุทธเจ้าไซร้ พระสาวกก็พึงบัญญัติธรรมเหล่านี้ได้ บัญญัติเหล่านี้ของพระสาวกย่อมมี พระสาวกย่อมอาจเพื่อรู้ หรือเพื่อ บัญญัติซึ่งบัญญัติเหล่านี้ด้วยกำลังของตนหรือ ดังนี้. คำว่า พระสาวก เป็นพระชินะ เป็นต้น สกวาทีกล่าว เพื่อท้วงว่า ผิว่า ผลญาณ ของพระสาวกมีเหมือนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายได้ไซร้ เมื่อความเป็น เช่นนั้นมีอยู่ พระสาวกนั้นนั่นแหละก็เป็นพระชินพุทธเจ้า. แม้ใน ปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ยังมรรคที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ในปัญหาว่า พระสาวกเป็นผู้ไม่มีความรู้หรือ สกวาทีตอบปฏิเสธ เพราะว่าความไม่รู้คืออวิชชาอันพระสาวกขจัดได้ แล้ว แต่ว่าผลญาณของพระสาวกมีอยู่เหมือนพระพุทธเจ้าก็หาไม่ เพราะ ฉะนั้น วาทะ คือลัทธิ ของปรวาที จึงเป็นการตั้งอยู่ไม่ได้เลยดังนี้แล.
อรรถกถาผลญาณกถา จบ
พระอภิธรรมปิฎก กถาวัตถุ เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้า 808
รวมกถาที่มีในวรรคนี้คือ
๑. วิมุตตกถา ๒. อเสกขญาณกถา ๓. วิปรีตกถา ๔. นิยามกถา ๕. ปฏิสัมภิทากถา ๖. สัมมติญาณกถา ๗. จิตตาสัมมณกถา ๘. อนาคตญาณกถา ๙. ปัจจุปันนญาณกถา ๑๐. ผลญาณกถา.
วรรคที่ ๕ จบ
รวมวรรคที่มีในปัณณาสก์นี้
๑. วรรคที่ ๑ ๒. วรรคที่ ๒ ๓. วรรคที่ ๓. ๔. วรรคที่ ๔ ๕. วรรคที่ ๕
มหาปัณณาสก์ จบ
กถาวัตถุภาคที่ ๑ จบ