การที่เราอยากให้ประเทศชาติเจริญ ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสุข เป็นกิเลสหรือไม่ครับ
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ความละเอียดของสภาพจิตที่เกิดดับสลับกันอย่างรวดเร็วมาก ผู้ที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะย่อมทราบว่า ขณะไหนจิตของตนเป็นกุศล ขณะไหนเป็นอกุศล แม้ความปรารถนาดีต่อประชาชน และประเทศชาติก็เป็นอกุศลหรือกุศลก็ได้ เช่น ประเทศชาติของเรา ประชาชน ญาติของเราด้วย ด้วยโลภะก็ได้ หรือถ้าเป็นเมตตาที่มีความหวังดีกับทุกคนไม่แยกชาติชั้นวรรณะ เป็นกุศลไม่ใช่กิเลส ฉะนั้น แม้คำเดียวกันแต่สภาพจิตต่างกันได้ ผู้นั้นย่อมทราบ
ประเทศเจริญ ประชาชนมีสุข
(ต่อจากข้อความที่แล้ว) หากประชาชนส่วนใหญ่มีปัญญาด้วย ประเทศยิ่งมั่นคง
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขออธิบายโดยนัยพระอภิธรรม ในเรื่องนี้ ปรมัตถธรรมคือสภาพธัมมะที่มีจริง มี จิต เจตสิก รูป เป็นต้น บัญญัติธรรม เป็นสภาพธัมมะที่ไม่มีจริง เป็นเรื่องราว อันเกี่ยวเนื่องมาจากปรมัตถธรรม ถ้าไม่มีสิ่งที่มีจริง (ปรมัตถธรรม) เช่น ไม่มีจิต เจตสิก คน สัตว์ ก็ไม่มี คนหรือสัตว์ก็เป็นบัญญัติ เรื่องราวอันเกี่ยวเนื่องมาจาก ปรมัต (จิต เจตสิก รูป) จิต มีทั้งที่เป็นกุศลหรืออกุศล เป็นต้น จิตเกิดขึ้น ต้องมีสิ่งที่จิตรู้เรียกว่า อารมณ์ (สิ่งที่ถูกรู้) สิ่งที่จิตรู้ มีทั้งปรมัต (จิต เจตสิก รูป) เช่น จิตรู้แข็ง สิ่งที่จิตรู้ เป็นบัญญัติด้วย (เรื่องราว)
จิตรู้ปรมัตเป็นกุศล หรืออกุศลก็ได้ เช่น จิตรู้แข็ง แล้วสติปัฏฐานเกิดเป็นกุศล จิตรู้แข็งแล้วไม่ชอบเป็นอกุศล จิตรู้บัญญัติ เป็นเรื่องราว เป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้
นัยที่เป็นกุศล จิตรู้เรื่องราวที่อยากให้ประเทศชาติเจริญ เพื่อความสุขของคนที่อยู่ด้วยเมตตา หวังดี นัยที่เป็นอกุศล อยากให้ประเทศเจริญ เพราะเป็นประเทศของเรา ด้วยโลภะ หรือด้วยมานะว่า จะได้ดีกว่าประเทศอื่น เป็นต้น ดังนั้น จิตที่มีบัญญัติ (เรื่องราว) เป็นอารมณ์ จิตนั้นเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ความอยากเป็นกิเลสเป็นโลภเจตสิก แต่เกิดกับสลับกับกุศลจิตได้ค่ะ
เชิญคลิกอ่าน สัสสตทิฏฐิ ๔
ต้องแยกให้ออกระหว่าง ความอยาก กับ ความปรารถนาดี
ความอยากเป็นโลภะ ความปรารถนาดีเป็นเมตตา ทั้งหมดไม่ใช่แค่ตัวหนังสือ แต่อยู่ที่จิตใจที่ดีงามเกิดจากกุศลจิตค่ะ
แยกได้เมื่อสติเกิดระลึกสภาพธัมมะนั้นครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย