๓. เสขสูตร ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ
โดย บ้านธัมมะ  11 ต.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 37963

[เล่มที่ 31] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 88

๓. เสขสูตร

ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 31]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 88

๓. เสขสูตร

ว่าด้วยพระเสขะและพระอเสขะ

[๑๐๓๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้กรุงโกสัมพี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ มีอยู่หรือ ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 89

ธรรมทั้งหลายของพวกข้าพระองค์ มีพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นแบบอย่าง ฯลฯ

[๑๐๓๒] พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้วตั้งอยู่ในอเสขภูมิ พึงรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะมีอยู่.

[๑๐๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระเสขะ.

[๑๐๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า มีอยู่หรือ พระเสขะนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่นภายนอกจากศาสนานี้ ซึ่งจะแสดงธรรมที่จริงแท้แน่นอนเหมือนพระผู้มีพระภาคเจ้า ไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.

[๑๐๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเสขะย่อมรู้ชัด ซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์ ๑ วิริยินทรีย์ ๑ สตินทรีย์ ๑ สมาธินทรีย์ ๑ ปัญญินทรีย์ ๑ อินทรีย์ ๕ นั้น มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด ภิกษุผู้เป็นเสขะยังไม่ถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุเป็นเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระเสขะ.


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 90

[๑๐๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ปริยายที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ เป็นไฉน ภิกษุผู้เป็นอเสขะในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๕ คือ สัทธินทรีย์... ปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ มีสิ่งใดเป็นคติ มีสิ่งใดเป็นอย่างยิ่ง มีสิ่งใดเป็นผล มีสิ่งใดเป็นที่สุด อริยสาวกผู้เป็นอเสขะถูกต้องสิ่งนั้นด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัย และตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ว่า เราเป็นพระอเสขะ.

[๑๐๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้เป็นอเสขะ ย่อมรู้ชัดซึ่งอินทรีย์ ๖ คือ จักขุนทรีย์ ๑ โสตินทรีย์ ๑ ฆานินทรีย์ ๑ ชิวหินทรีย์ ๑ กายินทรีย์ ๑ มนินทรีย์ ๑ อริยสาวกผู้เป็นอเสขะย่อมรู้ชัดว่า อินทรีย์ ๖ เหล่านี้จักดับไปหมดสิ้นโดยประการทั้งปวง ไม่มีเหลือ และอินทรีย์ ๖ เหล่าอื่น จักไม่เกิดขึ้นในภพไหนๆ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปริยายแม้นี้แล ที่ภิกษุผู้เป็นอเสขะอาศัยแล้ว ตั้งอยู่ในอเสขภูมิ ย่อมรู้ชัดว่า เราเป็นพระอเสขะ.

จบเสขสูตรที่ ๓

อรรถกถาเสขสูตร

เสขสูตรที่ ๓.

คำว่า น เหวโข กาเยน ผุสิตฺวา วิหรติ ได้แก่ ย่อมไม่ถูกต้อง คือได้เฉพาะด้วยนามกายแล้วแลอยู่ อธิบายว่า ย่อมไม่อาจถูกต้องคือไ่ด้เฉพาะ.

คำว่า แต่เห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา คือ ก็แลย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า ชื่อว่าอินทรีย์ คือ อรหัตตผลเบื้องบน ยังมีอยู่.

ในภูมิของอเสขะ คำว่า ถูกต้องแล้วอยู่ คือ ได้เฉพาะแล้วแลอยู่.

คำว่า ด้วยปัญญา คือ ย่อมรู้ชัดด้วยปัญญาเครื่องพิจารณาว่า


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 25 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้า 91

ชื่อว่าอินทรีย์คืออรหัตตผล ยังมีอยู่.

แม้คำทั้งสองว่า น กุหิญฺจิ กิสฺมิญฺจิ ก็เป็นคำที่ใช้แทนกันและกัน. อธิบายว่า จะไม่เกิดขึ้นในภพไรๆ.

ในสูตรนี้ อินทรีย์ทั้งห้าเป็นโลกุตระ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอินทรีย์ ๖ ที่เป็นโลกิยะ อาศัยวัฏฏะเท่านั้น.

จบอรรถกถาเสขสูตรที่ ๓