ญาณทัสสนะ
โดย JANYAPINPARD  18 ต.ค. 2553
หัวข้อหมายเลข 17379

พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 467

ในพระบาลีว่า ญาณทสฺสนาย จิตฺตํ อภินีหรติ นี้ คำว่า ญาณ-ทัสสนะ ท่านกล่าวหมายถึงมรรคญาณก็ไค้ ผลญาณก็ได้ สัพพัญญุตญาณก็ได้ ปัจจเวกขณญาณก็ได้ วิปัสสนาญาณก็ได้. ก็มรรคญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า ดูก่อนอาวุโส ย่อมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อความบริสุทธิ์ แห่งญาณทสัสนะหรือหนอแล. ผลญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่า อุตตริ-มนุสสธรรมอื่นนี้ คือญาณทัสสนะวิเศษที่ควรแก่พระอริยะ เป็นผาสุกวิหารซึ่งเราบรรลุแล้ว. สัพพัญญุตญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่าญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแม้แก่พระผู้มีพระภาคเจ้าแลว่า อาฬารดาบสกาลามโคตร ทำกาละได้ ๗ วัน. ปัจจเวกขณญาณ ท่านเรียกว่า ญาณทัสสนะ ในพระบาลีนี้ว่าก็ญาณทัสสนะเกิดขึ้นแล้วแก่เรา วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย. แต่คำว่า ญาณทสฺสนาย จิตฺตํ ในที่นี้ท่านกล่าวหมายถึง ญาณ-ทัสสนะที่เป็นตัววิปัสสนาญาณ.