คำว่า "การกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย" คืออะไรครับ และต้องกระทำอย่างไรจึงจะได้ชื่อว่าเป็นการกระทำไว้ในใจโดยแยบคายครับ
ขอบคุณอาจารย์ครับ
คำว่าการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย มาจากคำว่าโยนิโสมนสิการ โปรดอ่านข้อความโดยตรงจากอรรถกถา [เล่มที่ 17] เล่มที่ 17 พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 157
ที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่ การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย = การทำไว้ในใจโดยถูกทาง = การนึก = การน้อมนึก = การผูกใจ = การใฝ่ใจ = การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะเป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยง หรือโดยสัจจานุโลมิกญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
[เล่มที่ 25] เล่มที่ 25 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๒ หน้า 376
อโยนิโสมนสิการสูตร
อกุศลวิตกเกิดเพราะไม่มนสิการโดยแยบคาย ข้อ 789
[เล่มที่ 30] เล่มที่ 30 พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑
ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตฯ ข้อ 136 หน้า 77
ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นนิมิตฯ ข้อ 145 หน้า 81
ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการฯ ข้อ 154 หน้า 85
ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการฯ ข้อ 163 หน้า 89
ปฐมโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นเหตุฯ ข้อ 172 หน้า 93
ทุติยโยนิโสมนสิการสัมปทาสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นเหตุฯ ข้อ 181 หน้า 97
ทุติยสุริยูปมสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นเบื้องต้นฯ ข้อ 413 หน้า 221
ทุติยกุสลสูตร
ธรรมที่เป็นกุศลมีโยนิโสมนสิการฯ ข้อ 465 หน้า 247
ปฐมอังคสูตร
โยนิโสมนสิการเป็นปัจจัยแห่งโพชฌงค์ ข้อ 518 หน้า 271
[เล่มที่ 45] เล่มที่ 45 พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อิติวุตตก เล่ม ๑ ภาค ๔ หน้า 115
ปฐมเสขสูตร
ว่าด้วยโยนิโสมนสิการได้บรรลุผลสูงสุด ข้อ 194
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น