เรียน อาจารย์ครับ
"เวทนา" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับเวทนาและชาติของเวทนาด้วยครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เวทนา เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นนามธรรมที่รู้สึกในอารมณ์ เวทนาเป็นเจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตทุกขณะตามควรแก่จิตขณะนั้นๆ ขณะใดที่จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ใด เวทนาเจตสิก ที่เกิดร่วมกับจิตในขณะนั้นก็ทำกิจรู้สึกดีใจ (โสมนัส) บ้าง หรือเสียใจ (โทมนัส) บ้าง สุขทางกาย (สุขเวทนา) หรือทุกข์ทางกาย (ทุกขเวทนา) หรือเฉยๆ (อทุกขมสุขเวทนา) ในอารมณ์นั้น ตามควรแก่จิตขณะนั้นๆ (โดยไม่ปะปนกัน โดยไม่พร้อมกันทั้ง ๕ ความรู้สึก) เพราะเหตุว่าเวทนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท และต่างกันไปตามประเภทของจิตนั้นๆ เช่นโทมนัสเวทนาเกิดร่วมกับโทสมูลจิต อุเบกขาเวทนาเกิดร่วมกับจิตเห็น สุขเวทนาทางกายเกิดร่วมกับกายวิญญาณ กุศลวิบาก เป็นต้น เวทนาเกิดกับจิตชาติใดก็มีความเสมอกันกับจิตชาตินั้น กล่าวคือถ้าเวทนาเกิดร่วมกับกุศลจิตเวทนาก็เป็นชาติกุศล ถ้าเกิดร่วมกับอกุศลจิต ก็เป็นอกุศลชาติ ถ้าเกิดร่วมกับวิบากจิตก็เป็นชาติวิบาก และถ้าเกิดกับกิริยาจิต ก็เป็นชาติกิริยา ครับ
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
เวทนา คือ ความรู้สึกเป็นสุข เป็นทุกข์ ดีใจ เสียใจ เฉยๆ และ เวทนาเกิดเป็นชาติกุศล ชาติอกุศล ชาติวิบาก ชาติกิริยา แล้วแต่ค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ภาษาไทย เป็นอุปสรรคในการศึกษาบัญญัติมาก เพราะความหมายไม่เหมือนกับภาษามคธ (ภาษาบาลี)
เวทนาในภาษาบาลีหมายความถึงความรู้สึก เพราะฉะนั้นความรู้สึกมี ๕ อย่าง สุขเวทนา ทุกขเวทนา โสมนัสเวทนา โทมนัสเวทนา อุเบกขาเวทนา
ต่อไปนี้เวลาใช้คำว่า “เวทนา” ไม่ได้หมายความถึงว่าน่าสงสารมาก เพราะว่าคนไทยเราใช้คำว่าน่าเวทนาเหลือเกิน แต่ความจริงเวทนาเป็นเจตสิกที่เป็นความรู้สึกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ เวลาที่จิตเกิดขึ้น เห็น ต้องมีเวทนาเกิดร่วมด้วย เวลาที่จิตได้ยินเกิดขึ้นก็มีเวทนาเจตสิกเกิดร่วมด้วย เวทนาเจตสิกต้องเกิดกับจิตทุกขณะ และก็เป็นสภาพธรรมที่ทุกคนต้องการแต่สุขเวทนา หรือโสมนัสเวทนา เพราะฉะนั้นเวทนาก็เป็นขันธ์หนึ่ง
ที่มา ...
เวทนาในภาษาบาลีมี ๕ ประเภท
ภาษาไทยใช้คำภาษาบาลีมาก ชื่อของเราก็มาจากภาษาบาลีกันทั้งนั้น หรือแม้แต่คำว่า “สติ” คำว่า “ปัญญา” พวกนี้ เป็นภาษาบาลีทั้งนั้น “มานะ” ก็เป็นภาษาบาลี แต่ว่าตามที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงพระธรรมเป็นภาษาบาลี ท่านใช้คำเพื่อที่จะส่องถึงลักษณะของสภาพธรรม อย่างความสำคัญตน เหมือนลักษณะของธงเป็นสภาพที่สูงเด่น เพราะฉะนั้น แต่ละบุคคลที่ไม่ใช่พระอรหันต์จะมีความสำคัญตน คือ เรา จะดีจะชั่ว จะต่ำจะสูง ก็คือเรา
นี่คือสภาพธรรมอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคทรงใช้ภาษาบาลีสำหรับเรียกสภาพธรรมนั้นว่า “มานะ” แต่คนไทยเราชื่อมานะ ดูเหมือนเป็นกุศล แต่ว่าเราก็ใช้ในความหมายของเรา คือ ไปเอาภาษาบาลีมาใช้แล้วก็เป็นภาษาไทยเราไปเลย
เพราะฉะนั้น เราก็ต้องรู้ว่าเรากำลังพูดถึงภาษาไทย ที่เขาใช้คำว่า “ปัญญา” หรือว่าเราพูดถึงสภาพของปัญญาในพระศาสนา ซึ่งหมายความถึง สภาพธรรมอย่างหนึ่งซึ่งต่างจาก “มนสิการ” หรือการพิจารณา มีสภาพธรรมหลายอย่าง ลักษณะที่พิจารณาทั่วๆ ไป ไม่ใช่ลักษณะของปัญญา แต่เป็นสภาพธรรมอีกอย่างหนึ่งซึ่งพระผู้มีพระภาคทรงใช้คำภาษาบาลีว่า “มนสิการ” การพิจารณาการไตร่ตรอง อันนี้ไม่ใช่ปัญญา
เพราะฉะนั้น เราก็ต้องแยกว่า ขณะนี้เรากำลังพูดภาษาไทยกัน หรือว่าเรากำลังจะพยายามเข้าใจพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง
ที่มา ...
พระผู้มีพระภาคทรงแสดงธรรมเป็นภาษาบาลี