ทายาทแห่งกรรม มี จริง หรือไม่
โดย kan_abc  18 มิ.ย. 2550
หัวข้อหมายเลข 4027

บรรพบุรุษ ฆ่าไก่ ไหว้เจ้า ผลแห่งการทำร้ายสัตว์ จะส่งผลมาถึงลูกหลานหรือไม่ บางท่านฆ่าสัตว์เพื่อจำหน่าย ผลจากการได้มาซึ่งทรัพย์เพื่อเลี้ยงดู และยังชีพ ทายาทต้องชดใช้หรือไม่ ขอขอบพระคุณ



ความคิดเห็น 1    โดย saowanee.n  วันที่ 18 มิ.ย. 2550

เจตนาคือ กรรม กรรมของผู้ใดก็เป็นของผู้นั้น ไม่สามารถโอน หยิบยื่น หรือมอบให้กับใครได้ คำว่า " ทายาทแห่งกรรม " หมายถึง ทายาทแห่งกรรมของตน ที่ได้กระทำแล้วในอดีตทั้งในชาตินี้ และชาติที่ผ่านๆ มา


ความคิดเห็น 2    โดย แล้วเจอกัน  วันที่ 18 มิ.ย. 2550

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้าที่ 465

ข้อความบางตอนจาก ธรรมปริยายสูตร

[๑๙๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว

ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมปริยายอันเป็นเหตุแห่งความกระเสือกกระสนเป็นไฉน

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มีกรรม เป็นกำเนิด มีกรรมเป็นพวกพ้อง มีกรรมเป็นที่พึ่งอาศัย กระทำกรรม อันใดไว้ เป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็ตาม ย่อมเป็นผู้รับผลของกรรมนั้น.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


ความคิดเห็น 4    โดย พุทธรักษา  วันที่ 19 มิ.ย. 2550

อนุโมทนา


ความคิดเห็น 5    โดย kan_abc  วันที่ 29 มิ.ย. 2550

มีกรรมเป็นเผ่าพันธ์ หมายถึงอะไร และกรรมพันธ์ หมายถึง ...

ขอขอบพระคุณ


ความคิดเห็น 6    โดย study  วันที่ 29 มิ.ย. 2550

คำว่าเผ่าพันธุ์หมายถึง เชื้อสาย เพราะมีกรรมเป็นเชื้อสาย เราจึงเกิดมาและดำรงชีวิตอยู่ เป็นสุขเป็นทุกข์ตามกรรมที่ได้กระทำมา คำอธิบายจากอรรถกถาฐานสูตร พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจกฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้ าที่ 144 เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นของตน. บทว่า กมฺมทายาโท แปลว่า เราเป็นทายาทของกรรม อธิบายว่า กรรมเป็นมรดก คือเป็นสมบัติของเรา กรรมเป็นกำเนิดคือ เป็นเหตุเกิดของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นกำเนิด กรรมเป็นเผ่าพันธุ์ของเรา เพราะฉะนั้น เราจึงชื่อว่ามีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์. อธิบายว่ามีกรรมเป็นญาติ. กรรมเป็นที่อาศัยคือ เป็นที่พึ่งของเรา เพราะฉะนั้นเราจึงชื่อว่ามีกรรมที่อาศัย. บทว่า ตสฺส ทายาโท ภวิสฺสามิ แปลว่า เราเป็นทายาทชองกรรมนั้น อธิบายว่า เราจักเป็นผู้รับผลที่กรรมนั้นให้. ส่วนคำว่ากรรมพันธุ์ (ภาษาไทย) หมายถึงลักษณะต่างๆ ซึ่งสืบเนื่องมาแต่บรรพบุรุษ


ความคิดเห็น 7    โดย จิตและเจตสิก  วันที่ 1 มี.ค. 2560

สาธุ สาธุ ฯ


ความคิดเห็น 8    โดย yu_da2554hotmail  วันที่ 30 ม.ค. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ