เพราะฉะนั้น การที่เราได้มีโอกาสมาที่อินเดียเป็นพุทธบูชา เป็นธรรมบูชา แล้วก็เป็นการบูชาคุณของพระอริยสงฆ์ทั้งหลายที่เมื่อตรัสรู้แล้ว ทุกท่านบำเพ็ญกิจ ที่จะให้คนอื่นได้เข้าใจอย่างที่ท่านได้อาศัยพระธรรมและเข้าใจแล้ว เพราะฉะนั้น เป็นเรื่องหมดกิเลสแต่ด้วยความเข้าใจสิ่งที่มีขณะนี้ทีละเล็กทีละน้อยจนกว่าจะประจักษ์แจ้งความจริง ทุกคำ เว้นไม่ได้สักคำเดียว เพราะฉะนั้น เราจะเคารพสูงสุดในพระคุณด้วยการฟังด้วยความจริงใจ ฟังเพื่ออะไร? ฟังเพื่อเข้าใจ เข้าใจอะไร? เข้าใจสิ่งที่มีทุกวันตั้งแต่เกิดจนตายทุกชาติโดยเฉพาะเดี๋ยวนี้มีจริง
ถ้าไม่เข้าใจสิ่งที่มีจริงจะเข้าใจอะไร? เมื่อไหร่? นี่เป็นสิ่งที่ต้องให้ทุกคนได้พิจารณาเพื่อที่จะได้เข้าใจความถูกต้องว่า เราฟังธรรมเพื่อเข้าใจ ไม่ใช่เพื่อหวังอะไร ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ทุกข์ สมบัติใดๆ ทั้งสิ้น สิ้นชีวิตแล้วเดี๋ยวนี้เป็นของใคร? ทุกขณะแม้แต่ร่างกายที่กำลังเหมือนอยู่ตรงนี้ นั่งอยู่ตรงนี้ ได้ยินเสียงอยู่ตรงนี้ ไม่เป็นบุคคลนี้อีกต่อไป เพราะฉะนั้น เป็นบุคคลนี้ได้เพียงชาตินี้ชาติเดียว เพราะฉะนั้น ชาตินี้ทั้งหมดทำอะไรไว้ตั้งแต่เกิดก่อนที่ได้ฟังพระธรรม แต่เมื่อฟังแล้วไม่ต้องไปเสียใจอาลัยอาวรณ์อะไรทั้งสิ้น ดับแล้วหมดแล้ว แต่คุณค่าของการมีชีวิตอยู่ดำรงอยู่ทุกขณะตั้งแต่นี้ต่อไป คือฟังพระธรรมด้วยความเคารพเพื่อเข้าใจ ต้องไม่ลืม เพื่อเข้าใจ เพราะเหตุว่า ความเข้าใจเท่านั้นที่มีคำหลายคำเป็นสัมมาทิฏฐิ เป็นปัญญา เป็นบารมีที่นำให้อกุศลที่มีมากมายมหาศาลค่อยๆ ลดลง.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต เล่ม ๕ - หน้า 383
๙. ปุพพังคสูตร (๑)
ว่าด้วยสัมมาทิฏฐิเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย
[๑๒๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งดวงอาทิตย์เมื่อจะอุทัย คือแสงเงินแสงทอง ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่เริ่มต้นเป็นนิมิตเบื้องต้นแห่งกุศลธรรมทั้งหลาย คือสัมมาทิฏฐิ ฉันนั้นเหมือนกันแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัมมาสังกัปปะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาทิฏฐิ สัมมาวาจาย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสังกัปปะ สัมมากัมมันตะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวาจา สัมมาอาชีวะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมากัมมันตะ สัมมาวายามะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาอาชีวะ สัมมาสติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาวายามะ สัมมาสมาธิย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสติ สัมมาญาณะย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาสมาธิ สัมมาวิมุตติย่อมเพียงพอแก่บุคคลผู้มีสัมมาญาณะ.
จบปุพพังคสูตรที่ ๙
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้า 299
๘. ฉันนสูตร
ว่าด้วยเหตุที่เรียกว่าเป็นสัมมาทิฏฐิ
[๒๓๑] สมัยหนึ่ง ภิกษุผู้เถระหลายรูปอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุงพาราณสี. ครั้งนั้น ท่านพระฉันนะออกจากที่เร้นในเวลาเย็น ถือลูกดาลเข้าไปสู่วิหาร ได้กล่าวกะภิกษุผู้เถระทั้งหลายว่า ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงกล่าวสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลาย จงพร่ำสอนผมด้วย ขอท่านพระเถระทั้งหลายจงแสดงธรรมีกถาแก่ผมด้วย ตามที่ผมจะพึงเห็นธรรมได้.
[๒๓๒] เมื่อพระฉันนะกล่าวอย่างนี้แล้ว ภิกษุผู้เถระทั้งหลายได้กล่าวกะท่านพระฉันนะว่า ดูก่อนท่านฉันนะ รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปเป็นอนัตตา เวทนาเป็นอนัตตา สัญญาเป็นอนัตตา สังขารเป็นอนัตตา วิญญาณเป็นอนัตตา สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ธรรมทั้งปวงเป็นอนัตตา
ขอเชิญคลิกฟังได้ที่ ...
อาศัยการฟังให้ค่อยๆ รู้เหมือนจับด้ามมีดจนกว่าจะสึก
ต้องอาศัยพระธรรมเป็นฐานะที่จะอุปการะผู้อื่นให้หลุดพ้น
ขอเชิญคลิกอ่านได้ที่ ...
อยู่โดยอาศัยพระผู้มีพระภาค ไม่มี -หนทางลัด-
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่งค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ ด้วยความเคารพยิ่ง
ยินดีในกุศลจิตครับ
กราบอนุโมทนาครับ