ขณะที่มีสติ....ขณะที่ไม่มีสติ
โดย พุทธรักษา  13 ต.ค. 2551
หัวข้อหมายเลข 10123

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจากการบรรยยายธรรม
โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ถอดเทปโดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล
ท่านผู้ฟัง เมื่อกี้ อาจารย์พูดถึงว่าผู้ที่เจริญสติปัฏฐานนั้น จะต้องรู้ว่าขณะใดที่หลงลืมสติก็รู้ ขณะใดที่มีสติก็รู้ ขณะใดที่มีสติก็รู้ขณะนั้นผมไม่สงสัย สงสัยแต่ว่าขณะใดที่หลงลืมสติมันจะรู้ยังไงครับ

ท่านอาจารย์ ถ้ารู้ขณะที่มีสติ ก็ต้องรู้ความต่างกันขณะที่มีสตินั้น ไม่ใช่ขณะที่หลงลืมสติแน่

ท่านผู้ฟัง ก็หมายความว่า ขณะที่หลงลืมสติไปเมื่อกี้นี้ ก็ไม่รู้ว่าหลงลืมสติ ต่อเมื่อสติเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้ จึงมารู้ว่าหลงลืมสติ ใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ เพราะฉะนั้น ผู้ที่สติยังไม่เกิดเลย ยังไม่มีโอกาสที่จะรู้เลยว่า ท่านหลงลืมสติตลอดเวลา จนกว่าเมื่อไร สติเกิดขึ้นท่านจึงจะรู้ "ความต่างกัน" ว่าสติเกิดขึ้นน้อยจริงๆ แต่ว่าขณะที่หลงลืมสติมากกว่า ขณะที่มีสติ

แต่พอเริ่ม มีสติจะทราบได้ว่า ต่างกับขณะที่หลงลืมสติ การอบรมปัญญาเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันขอให้ทราบความจริงว่า "ปัญญา" สามารถที่จะ "รู้" ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย จึงรู้ชัดว่าสภาพธรรม ที่กล่าวว่า ไม่ใช่ตัวตนนั้นเพราะเกิดขึ้นตามเหตุตามปัจจัยที่ได้สะสมมาและบังคับบัญชาไม่ได้ เมื่อระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมใดก็ตามที่ปรากฏก็จะรู้ว่าสภาพธรรมนั้น เป็นอนัตตาจริงๆ เกิดขึ้นปรากฏ เพราะเหตุปัจจัยบังคับบัญชาไม่ได้จริงๆ เช่น ขณะที่ กำลังเห็น ในขณะนี้ใครบังคับการเห็นได้ การเห็นเกิดแล้วเพราะเหตุปัจจัย บังคับไม่ให้เห็นไม่ได้ แต่ว่าสติ "ระลึก" ได้ใน "ลักษณะ" ของสภาพธรรมที่เกิดขึ้น แล้วปรากฏในขณะนั้น

เพราะฉะนั้น ถ้ายังไม่เกิดอย่าไปพยายามให้เกิด หรือที่เกิดแล้วอย่าไปคิดที่จะบังคับไม่ให้เกิด สภาพธรรมมีปัจจัยให้เกิดดับอยู่ตลอดเวลาและสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับแล้ว ด้วยเกิดขึ้นแล้วก็ ดับไปเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา



ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่คุณพ่อ คุณแม่และสรรพสัตว์



ความคิดเห็น 1    โดย wannee.s  วันที่ 13 ต.ค. 2551

เห็นภาพสังเวชนียสถาน ที่กุสินารา เป็นเครื่องเตือนใจให้รู้ว่าแม้แต่พระพุทธเจ้าที่ประเสริฐที่สุดในโลกยังต้องปรินิพพาน แล้วเราล่ะ ยังเป็นผู้ประมาทอยู่หรือเปล่า คะ


ความคิดเห็น 2    โดย Noparat  วันที่ 14 ต.ค. 2551

เพราะฉะนั้น ผู้ที่สติ ยังไม่เกิดเลย ยังไม่มีโอกาส ที่จะรู้เลยว่า ท่านหลงลืมสติตลอดเวลาจนกว่าเมื่อไร สติเกิดขึ้น ท่านจึงจะรู้ความต่างกันว่าสติเกิดขึ้นน้อยจริงๆ แต่ว่า ขณะที่หลงลืมสติ มากกว่า ขณะที่มีสติ

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 3    โดย Sam  วันที่ 14 ต.ค. 2551

นำเสนอได้เหมาะกับความสามารถในการทำความเข้าใจ (ของผม) ที่ต้องพิจารณาแบบคำต่อคำ ประโยคต่อประโยค และต้องอ่านซ้ำไปซ้ำมาหลายเที่ยวครับ

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 4    โดย suwit02  วันที่ 14 ต.ค. 2551

สาธุ


ความคิดเห็น 5    โดย Komsan  วันที่ 14 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 6    โดย paderm  วันที่ 14 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ก็หมายความว่า ขณะที่หลงลืมสติไปเมื่อกี้นี้ ก็ไม่รู้ว่าหลงลืมสติ ต่อเมื่อสติเกิดขึ้นมาเดี๋ยวนี้ จึงมารู้ว่าหลงลืมสติ ใช่ไหมครับ

ท่านอาจารย์ แน่นอนค่ะ

ขออนุโมทนาครับ


ความคิดเห็น 7    โดย วันชัย๒๕๐๔  วันที่ 14 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 8    โดย เมตตา  วันที่ 15 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบขออนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ค่ะ


ความคิดเห็น 9    โดย JANYAPINPARD  วันที่ 15 ต.ค. 2551

สติเจตสิก เป็นธรรมชาติที่ระลึกได้ เกิดกับโสภณจิตเท่านั้น

สติ เป็นที่พึ่งอาศัยและสติมีการอารักขาเป็นเครื่องปรากฏ เว้นสติเสียแล้ว การประคองและการข่มจิตจะมีไม่ได้


ความคิดเห็น 10    โดย pornpaon  วันที่ 15 ต.ค. 2551

ถ้ารู้ขณะที่มีสติ ก็ต้องรู้ ความต่างกันขณะที่มีสตินั้น มิใช่ขณะที่หลงลืมสติแน่.

สภาพธรรมมีปัจจัย ให้เกิดดับ อยู่ตลอดเวลาและสภาพธรรมที่เกิดแล้วก็ดับแล้วด้วย เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปเป็นเช่นนี้อยู่ตลอดเวลา

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์

ขออนุโมทนาคุณปริศนา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ


ความคิดเห็น 11    โดย คุณ  วันที่ 15 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ

ความคิดเห็น 12    โดย จำแนกไว้ดีจ๊ะ  วันที่ 15 ต.ค. 2551

สัมปชัญญะ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏไหมครับ


ความคิดเห็น 13    โดย เซจาน้อย  วันที่ 19 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ

ความคิดเห็น 14    โดย orawan.c  วันที่ 20 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 15    โดย pamali  วันที่ 5 ก.ค. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ


ความคิดเห็น 16    โดย chatchai.k  วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ