นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทธสฺส
พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
••• ... .. ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย ... ..•••
ต้นสาละ ที่ได้นำมาจากประเทศอินเดีย จากสถานที่ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จดับขันธปรินิพพาน โดยคุณสุวัฒ ชาญสุวิทยานันท์ เป็นผู้นำมามอบให้มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ให้ปลูกไว้ที่มูลนิธิฯ ๑ ต้น
และอีก ๑ ต้น ปลูกไว้ที่บ้านพักอาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม ที่แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี ซึ่งสาละทั้ง ๒ ต้น ปลูกไว้ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ ปกติไม่ค่อยได้เห็นดอกสาละ ท่านอาจารย์ทั้งสองท่านบอกว่า รอเป็นเวลาสิบกว่าปี นานมาก และแล้ว วันที่รอคอยก็มาถึง ต้นสาละที่ปลูกไว้ที่บ้านท่านอาจารย์ดวงเดือน ที่แก่งกระจาน ที่มีดินอุดมสมบูรณ์ ได้ออกดอกเป็นครั้งแรกแล้ว และเวลาที่สาละออกดอก ใบจะสวยงามมาก
ท่านอาจารย์ทั้งสองได้ให้นำมาเพื่อจัดเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุที่มูลนิธิฯ ประจำสัปดาห์ วันเสาร์ที่ ๑ และ วันอาทิตย์ที่ ๒ มีนาคม ๒๕๕๗ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสนทนาธรรมได้เห็นดอกสาละโดยพร้อมเพรียงกัน
ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้ถามท่านผู้เข้าร่วมสนทนาธรรมในวันนี้ว่า เป็นอนุสสติหรือยัง พูดเรื่องอนุสสติ จะไม่พ้นจากอนุสสติ แม้แต่เห็นดอกสาละ ก็ระลึกถึงวันปรินิพพานได้ ดอกสาละบานสะพรั่ง พระองค์ประทับอยู่ใต้ต้นสาละทั้งคู่
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๐๖
สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาลดอกไม้เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต.
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม
และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
...กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม
และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ได้เห็นต้นไม้สำคัญแห่งพุทธกำเนิดแล้วมีจิตระลึกถึงพระคุณที่ยิ่งใหญ่ทรงตรัสรู้ ความจริงอันประเสริฐที่จะพาพวกเราออกจ่ากวัฏฏะ
ขอกราบนอบน้อมพระคุณนั้นด้วยเศียรเกล้า
พร้อมทั้งกราบขอบพระคุณท่านอ.สุจินต์ และท่านอ.ดวงเดือน และอนุโมทนาในกุศลจิต ที่เป็นผู้สร้างเหตุให้พวกเรามีกุศลจิตต่อๆ ไปด้วยค่ะ
ขอบคุณคณะวิทยากรและเจ้าหน้าที่ มศพ.ทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
(ภาพต้นสาละ หนึ่งในสองต้นที่ทางมูลนิธิฯ นำมาจากสถานที่ปรินิพพาน)
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ หน้าที่ ๓๐๖
".........ดูก่อนอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายยังพระสรีระของพระตถาคตเพื่อบูชาพระตถาคต แม้ดอกมณฑารพ อันเป็นของทิพย์ แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์... แม้ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า...แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต
ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตจะชื่อว่าอันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชานอบน้อมด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่..."
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่วันชัย ภู่งาม ด้วยครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
(ภาพดอกสาละอินเดีย กลีบดอกมี ๕ กลีบ ที่เนปาล)
(ภาพสาละอินเดียกำลังออกดอกที่อินเดีย)
... ... .ภาพเกี่ยวกับ สาละอินเดีย ... ..
จาก //th.wikipedia.org/wiki
อนึ่ง ต้นสาละลังกา หรือ ต้นลูกปืนใหญ่ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ พุทธประวัติแต่อย่างใด
เนื่องจากต้นลูกปืนใหญ่มีดอกและผลตลอดปี ออกเป็นงวงยาวตามลำต้นตั้งแต่โคนขึ้นไป ซึ่งผลของต้นสาละลังกามีเปลือกแข็งขนาดส้มโอย่อมๆ ซึ่งไม่เหมาะแก่การนั่งพักหรือทำกิจได้ หากตกใส่ก็อาจทำให้บาดเจ็บได้
(ภาพตามความคิดเห็นที่ ๕ เป็นภาพ ต้นสาละลังกา หรือ ต้นลูกปืนใหญ่)
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุญาตนำเสนอข้อมูลเพิ่มเติม เผื่อจะมีผู้สนใจนะคะ
จาก www.oknation.net/blog/print.php?id=586374
สาละ ... ต้นไม้พุทธประวัติที่ยังเข้าใจคลาดเคลื่อนกันอยู่
มีเรื่องที่ยังเข้าใจที่ไม่ถูกต้องอยู่ ๒ ประการด้วยกัน ได้แก่
๑. สาละ มีอยู่ ๒ ชนิด สาละอินเดีย และ สาละลังกา
๑.๑ สาละอินเดีย Shorea robusta Roxb. มีชื่อสามัญว่า Sal,Shal, Sakhuwan,Sal Tree, Sal of India, Religiosa (ภาษาละติน หมายถึง เกี่ยวเนื่องกับศาสนา) มีถิ่นกำเนิด ทางเหนือของประเทศอินเดีย (ซึ่งปัจจุบันคือประเทศเนปาล) ซึ่งเป็นชนิดที่เกี่ยวเนื่องกับ พุทธประวัติโดยตรง บางทีเรียกว่า สาละใหญ่ หรือ มหาสาละ
สาละ เป็นพืชพวกเดียวกันกับ พะยอม เต็ง รัง อยู่ในสกุล Shorea ในวงศ์ Dipterocarpaceae
ลักษณะ เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ไม่ผลัดใบ ลำต้นเปลาตรง เปลือกสีเทาแตกเป็นร่อง เป็นสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มทึบ ปลายกิ่งมักจะลู่ลง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ใบ เดี่ยว ดกหนาทึบ รูปไข่กว้าง โคนใบเว้าเข้า ปลายใบเป็นติ่งแหลมสั้นๆ ผิวใบเป็นมัน ขอบใบเป็นคลื่น ดอก ออกเป็นช่อสั้นๆ ตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกมีอย่างละ ๕ กลีบ กลีบดอกสีขาวอมเหลือง มีกลิ่นหอม ผล เป็นผลชนิดแห้ง แข็ง มีปีก ๕ ปีก ยาว ๓ ปีก ปีกสั้น ๒ ปีก บน แต่ละปีกมีเส้นตามความยาวของปีก ๑๐ -๑๕ เส้น ออกดอกประมาณกลางเดือนมีนาคม
สาละอินเดีย ตอนนี้มีปลูกมาก ในรัฐอุตตรประเทศ แถบเมืองโครักขปูร์ ไปสู่ด่านชายแดนโสเนาลี เชื่อมต่อเขตเนปาล เรียกว่า สวนป่าสาละ พุทธชยันตี รัฐบาล ปลูกเป็นที่ระลึก คราวที่พระพุทธศาสนาครบรอบ ๒๕๐๐ ปี และพบมากในเขตเชิงเขาหิมาลัยของเนปาล
ต้นสาละใหญ่ (ต้นสาละอินเดีย) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า
“Shorea robusta Roxb.” อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae ในภาษาบาลีเรียกว่า “ต้นมหาสาละ” มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดียทางเหนือ ซึ่งปัจจุบันคือ ประเทศเนปาล มักขึ้นเป็นกลุ่มๆ ตามบริเวณที่ค่อนข้างจะชุ่มชื้น ชาวอินเดียเรียกกันโดยทั่วไปว่า “ซาล” (Sal, Sal of India) เป็นไม้พันธุ์ที่อยู่ในตระกูลยาง มีมากในแถบแคว้นเบงกอล อัสสัม ลุ่มน้ำยมุนา เป็นไม้ยืนต้น ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงราว 10-25 เมตร และ สามารถสูงได้ถึง 35 เมตร ไม่ผลัดใบ
เป็นไม้ที่มีความสง่างาม ด้วยว่ามีลำต้นตรง เปลือกสีน้ำตาลอมดำ แตกเป็นร่องสะเก็ดทั่วไป เรือนยอดเป็นพุ่มหนาทึบ ใบดกหนา รูปไข่ ปลายใบหยักเป็นติ่งแหลมสั้น ผิวใบเป็นมันเกลี้ยง กิ่งอ่อนเกลี้ยง ปลายกิ่งห้อยลู่ลง ดอกจะออกในช่วงต้นฤดูร้อน มีสีเหลืองอ่อน ออกรวมกันเป็นช่อสั้นตามปลายกิ่งและง่ามใบ กลีบดอกและกลีบรองกลีบดอกมีอย่างละ 5 กลีบ ผลแข็ง มีปีก 5 ปีก ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ดหรือตอนกิ่ง
สาละใหญ่เป็นไม้เนื้อแข็งที่มีประโยชน์มาก ชาวอินเดียมักนำมาสร้างบ้านเรือน ต่อเรือ ทำเกวียน ทำไม้หมอนรถไฟ ทำสะพาน รวมถึงทำเฟอร์นิเจอร์เครื่องใช้ต่างๆ เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เป็นต้น ส่วนเมล็ดนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ และน้ำมันที่ได้จากเมล็ดนำมาทำอาหาร เช่น ทำเนย และใช้เป็นน้ำมันตะเกียง รวมทั้งใช้ทำสบู่ด้วย
นอกจากนี้ ยังมีสรรพคุณด้านพืชสมุนไพรด้วย คือ ยางใช้เป็นยาสมานแผล ยาห้ามเลือด ใช้แก้โรคผิวหนัง ตุ่มพุพอง โรคซิฟิลิส โกโนเรีย วัณโรค โรคท้องร่วง บิด โรคหูอักเสบ เป็นต้น, ผลใช้แก้โรคท้องเสีย ท้องร่วง เป็นต้น
ในประเทศไทย หลวงบุเรศรบำรุงการ ได้นำเอาต้นสาละใหญ่ หรือต้นซาล มาถวายสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธมฺมธโร) วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร โดยปลูกไว้ที่หน้าพระอุโบสถ ๒ ต้น กับได้น้อมเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๑๐ อีก ๒ ต้น ในจำนวนนี้ได้ทรงปลูกไว้ในพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ๑ ต้น กับทรงมอบให้ วิทยาลัยเผยแพร่พระพุทธศาสนา ต.กระทิงลาย อ.บางละมุง จ.ชลบุรี อีก ๑ ต้น
อาจารย์เคี้ยน เอียดแก้ว และอาจารย์เฉลิม มหิทธิกุล ก็ได้นำต้นสาละใหญ่มาปลูกไว้ในบริเวณคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร และที่ค่ายพักนิสิตวนศาสตร์ สวนสักแม่หวด อ.งาว จ.ลำปาง
พุทธทาสภิกขุ ก็ได้นำมาปลูกไว้ที่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี และนายสวัสดิ์ นิชรัตน์ ผู้อำนวยการกองบำรุง ก็ได้นำมาปลูกไว้ในสวนพฤกษศาตร์พุแคจ.สระบุรี ซึ่งต่างก็มีความเจริญงอกงามดี และคาดว่าคงจะให้ผลเพื่อขยายพันธุ์ไปตามสถานที่ต่างๆ ได้เพิ่มขึ้นในเวลาอันควร
(สาละอินเดีย จะหาดูได้ที่หลังเจดีย์องค์ใหญ่วัดพระศรีมหาธาตุบางเขน, วัดเบญจมบพิตร และที่จิตตภาวัน วิทยาลัย จังหวัดชลบุรี เป็นต้น)
๑.๒ สาละลังกา หรือ ต้นลูกปืนใหญ่ (Cannonball Tree)
เป็นพืชวงศ์จิก วงศ์ Lecythidaceae (ปัจจุบันจิกอยู่ในวงศ์ Barringtoniaceae) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Couroupita guianensis Aubl. ซึ่งเป็นชนิดที่ไม่เกี่ยวเนื่องกับพุทธประวัติ (ภาษาละติน guianensis แสดงว่ามีถิ่นกำเนิดจากประเทศ Guiana)
สาละลังกา มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศ Guiana และ ประเทศอื่นๆ ในแถบทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะที่ราบลุ่มแม่น้ำอเมซอน นิยมปลูกเป็นไม้ประดับทั่วไปใน ประเทศเขตร้อน โดยเฉพาะในสวนพฤกษศาสตร์
เป็นพันธุ์ไม้นำมาจากประเทศคิวบา ศรีลังกาได้มาปลูกประมาณปี พ.ศ. ๒๔๒๒ ส่วนประเทศไทยปลูกเมื่อปี พ.ศ.๒๕๐๐ เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบสูง ๑๕-๒๕ เมตร เปลือกสีน้ำตาลแตกเป็นร่องและเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยว ออกเวียนสลับตามปลายกิ่งรูปใบหอกกลับ กว้าง ๕-๘ ซม. ยาว ๑๕-๓๐ ซม. ปลายแหลม โคนสอบ มน ขอบใบจักตื้นๆ
ดอกช่อใหญ่ ยาว ออกตามโคนต้น ดอกสีชมพูอมเหลืองและแดง กลิ่นหอมแรง ออกเป็นช่อใหญ่ตามลำต้น กลีบดอก ๔-๖ กลีบแข็ง หักง่าย เกสรตัวผู้มีจำนวนมาก เมื่อบานเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๘ ซม. โคนของเกสรตัวผู้เชื่อมติดกันเป็นรูปโค้ง ผลกลม ใหญ่สะดุดตา ผลแห้งเปลือกแข็ง ผิวสีน้ำตาลปนแดง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑๐-๒๐ ซม. ผลสุกมีกลิ่นเหม็น ภายในมีเมล็ดจำนวนมาก รูปไข่ ออกดอกเกือบตลอดปี ต้องการแสงแดดจัด ต้องการน้ำและความชื้นปานกลาง ขึ้นได้ดีในดินทุกประเภท
ชาวลังกาถือว่าเป็นต้นไม้มงคลในพระพุทธศาสนา เห็นว่า ดอกมีลักษณะสวยและ มีกลิ่นหอม จึงนำไปถวายพระ อีกทั้งนิยมปลูกภายในวัดมากกว่าตามอาคารบ้านเรือน
(สาละลังกา ปัจจุบันปลูกอยู่ที่ วัดบวรนิเวศวิหาร
วัดพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นต้น)
ปรากฏว่า ตามวัดสำคัญต่างๆ โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด ได้นำสาละ ไปปลูก แต่ส่วนมากจะเป็นสาละลังกา อาจจะเกิดความเข้าใจผิดและสับสนก็เป็นได้
สมัยก่อนคนไทยเข้าใจกันว่า ต้นสาละใหญ่เป็นต้นเดียวกับ ต้นรัง ที่มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า “Shorea siamensis Miq.” และใช้ในความหมายเดียวกันในพุทธประวัติ เนื่องจากมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก
ส่วนที่แตกต่างกันที่เด่นชัดคือ ต้นสาละใหญ่มีใบแก่ที่ร่วงหล่นเป็นสีเหลือง เกสรเพศผู้จำนวน ๑๕ อัน เส้นแขนงใบย่อยมี ๑๐-๑๒ คู่ ผลมีเส้นปีก ๑๐-๑๒ เส้น มีขนสั้นรูปดาวปกคลุมประปราย
ส่วนต้นรังใบแก่มีสีแดง เกสรเพศผู้มีจำนวนมาก เส้นแขนงใบย่อยมี ๑๔-๑๘ คู่ ผลมีเส้นที่ปีก ๗-๙ เส้น และไม่มีขนปกคลุม (ภาษาละตินระบุว่า มีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศไทย)
สมัยก่อน หนังสือพุทธประวัติรวมทั้งแบบเรียน แทบทุกเล่ม จะระบุว่าทรงประทับระหว่าง ต้นรังทั้งคู่ ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องเป็น ต้นสาละทั้งคู่ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะต้นสาละและตันรังมีความคล้ายคลึงกัน จึงทำให้เกิดความเข้าใจผิดเกิดขึ้นก็เป็นได้ ไม่ทราบว่าสมัยนี้ได้แก้ไขหมดแล้วหรือยัง
ขออนุโมทนา
ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาค่ะ
กราบอนุโมทนาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
อาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาคุณวันชัย ภู่งาม คุณใหญ่ราชบุรี
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
ต้นสาละที่บ้านท่านอาจารย์ดวงเดือน บารมีธรรม
ณ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๘
ปี2559 นี้ต้นสาละออกดอกรึเปล่าครับ?
สาธุ สาธุ สาธุอนุโมทามิ น้อมกราบอนุโมทนาท่านอาจารย์ทุกท่านครับ รวมถึงคุณวันชัย 2504 ที่ได้กรุณานำพระสูตรมาลงไว้ให้ครับ
"......ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสำเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรม สมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่..."
กราบอนุโมทนาค่ะ