[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 132
เถรคาถา ทุกนิบาต
วรรคที่ ๓
๗. นันทกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนันทกเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 132
๗. นันทกเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระนันทกเถระ
[๒๘๔] ได้ยินว่า พระนันทกเถระได้ภาษิตคาถานี้ไว้ อย่างนี้ว่า
โคอาชาไนยที่ดี ถึงพลาดแล้วก็ตั้งตัวได้ ได้ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ย่นย่อ นำภาระต่อไปได้ ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็นอาชาไนยผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่อุระแห่งพระพุทธเจ้า.
อรรถาถกานันทกเถรคาถา
คาถาของท่านพระนันทกเถระ เริ่มต้นว่า ยถาปิ ภทฺโท อาชญฺโ. เรื่องราวของท่านเป็นอย่างไร?
แม้พระเถระนี้ ก็เป็นผู้มีอธิการอันกระทำไว้แล้วในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ กระทำบุญไว้ในภพนั้นๆ บังเกิดในปัจจันตประเทศ ในกาลของพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงพระนามว่า สิขี บรรลุนิติภาวะแล้ว เป็นนายพรานป่า เที่ยวไป วันหนึ่ง เห็นที่สำหรับจงกรมของพระศาสดา แล้วมีจิตเลื่อมใส เกลี่ยทราย (ให้เสมอ).
ด้วยบุญกรรมนั้น เขาท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บังเกิดในตระกูลแห่งคฤหบดี ในจัมปานคร ในพุทธุปบาทกาลนี้ คนทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 133
ตั้งชื่อเขาว่า นันทกะ. ส่วนพี่ชายของเขาชื่อว่า ภรตะ ประวัติตอนต้นของเขา จักแจ่มแจ้งในเรื่องต่อไป แม้เขาทั้งสองบรรลุนิติภาวะแล้ว ฟังข่าวว่าท่านพระโสณโกฬิวิสะบวชแล้ว พูดกันว่า แม้ขึ้นชื่อว่า พระโสณะเป็นสุขุมาลชาติ เห็นปานนั้น ก็ยังบวช เราทั้งสองจะมัวลังเลอยู่ใย? ดังนี้ บวชแล้ว บรรดาพระเถระสองพี่น้องนั้น พระภรตเถระ เจริญวิปัสสนาแล้วได้เป็นผู้มีอภิญญา ๖ ต่อกาลไม่นานนัก.
ส่วนพระนันทกเถระ ไม่อาจจะยังวิปัสสนาให้ก้าวสูงขึ้นได้ก่อนเพราะ เหตุที่กิเลสทั้งหลายมีกำลัง ได้แก่กระทำกรรมในวิปัสสนาอย่างเดียว ลำดับนั้น พระภรตเถระ รู้อาสยกิเลสของพระนันทกเถระผู้น้องชาย ประสงค์จะเป็นที่พึ่ง พำนัก จึงให้พระนันทกเถระเป็นปัจฉาสมณะ (พระติดตาม) ออกจากวิหารแล้ว นั่งที่ใกล้ทาง บอกวิปัสสนากถาแล้ว.
ก็โดยสมัยนั้น เมื่อพวกกองเกวียนเดินทางไป วัวที่เขาเทียมเกวียนตัวหนึ่ง ไม่สามารถจะยกเกวียนขึ้นในที่ๆ เป็นหล่มได้ล้มลง. ลำดับนั้น นายกองเกวียนจึงปลดมันออกจากเกวียน แล้วให้หญ้าและน้ำดื่ม ให้พักเหนื่อย แล้วเทียมที่แอกอีก ลำดับนั้น โคพักหายเหนื่อยแล้ว พอมีกำลัง ก็ยกเกวียน นั้นขึ้นจากที่หล่มให้ตั้งอยู่ในทางได้.
ลำดับนั้น พระภรตเถระ จึงแสดงโคนั้นเป็นตัวอย่างแก่พระนันทกะว่า ดูก่อนอาวุโสนันทกะ เธอเห็นการกระทำของโคนี้หรือไม่ เมื่อพระนันทกะ ตอบว่า เห็นขอรับ จึงกล่าวว่า เธอจงใคร่ครวญความข้อนี้ให้จงดี พระนันทกเถระ กระทำโคนั้นแหละให้เป็นอารมณ์ว่า โคนี้พักเหนื่อยแล้ว ย่อมยกของ หนักออกจากที่ซึ่งเป็นหล่มได้ ฉันใด แม้เราก็พึงยกตนออกจากหล่มคือสงสาร ฉันนั้น ดังนี้แล้ว การทำกรรมในวิปัสสนา บรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก. สมดังคาถาประพันธ์ที่ท่านกล่าวไว้ในอปทานว่า
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 134
เมื่อก่อนเราเป็นพรานเนื้อ เราเที่ยวหาเนื้อสมัน อยู่ในอรัญราวป่า ได้พบที่จงกรม เรามีจิตเลื่อมใส มีใจโสมนัส กอบเอาทรายใส่พกมาโรยลงในที่จงกรมของพระสุคตเจ้าผู้มีสิริ ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ เราได้โรยทราย (ในที่จงกรม) ด้วยกรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งทราย. เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ฯลฯ คำสอนของพระพุทธเจ้า เรากระทำสำเร็จแล้ว ดังนี้.
ก็พระเถระครั้นบรรลุพระอรหัตแล้ว เมื่อจะพยากรณ์พระอรหัตตผล ในสำนักของพระภรตเถระผู้เป็นพี่ชายของตน ได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า
โคอาชาไนยที่ดี ถึงพลาดแล้วก็ตั้งตัวได้ ได้ ความสังเวชอย่างยิ่งแล้ว ไม่ย่นย่อ นำภาระต่อไปได้ ฉันใด ท่านทั้งหลายจงทรงจำข้าพเจ้าไว้ว่า เป็น อาชาไนย ผู้สมบูรณ์ด้วยทัศนะ เป็นสาวกของพระสัมมาสัมพุพธเจ้า เป็นบุตรผู้เกิดแต่อุระแห่งพระพุทธเจ้า ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภิยฺโย ลทฺธาน สํเวคํ อทีโน วหเต ธุรํ ความว่า ได้ความสลดใจว่า การไม่นำภาระอันมาถึง (เฉพาะ) นี้ไปนั้น เป็นสิ่งไม่เหมาะสำหรับเราผู้มีกำลังและความเพียรโดยชาติเลย ดังนี้แล้ว เป็นผู้ไม่ย่นย่อ คือ มีใจไม่ท้อถอย ได้แก่ มีจิตไม่ห่อเหี่ยว. อีกอย่างหนึ่ง ปาฐะว่า อลีโน (ก็มี). ความก็อันนั้นแหละ คือ นำไป ได้แก่ เข็นไปซึ่งธุระคือภาระของตนโดยยิ่ง คือ ยิ่งกว่าประมาณได้บ่อยๆ. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวไว้ใน อรรถกถาแห่งรมณียวิหาริเถรคาถา หนหลังแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถานันทกเถรคาถา