[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 306
ตติยปัณณาสก์
เกสีวรรคที่ ๒
๔. นาคสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติ ๔ ของช้างต้นกับของภิกษุสงฆ์
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 35]
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 306
๔. นาคสูตร
ว่าด้วยคุณสมบัติ ๔ ของช้างต้นกับของภิกษุสงฆ์
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ประกอบด้วยองค์ ๔ ย่อมเป็นช้างควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ย่อมถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ องค์ ๔ เป็นไฉน คือ ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 307
เป็นสัตว์สำเหนียก (การเอาใจใส่) ๑ กำจัด ๑ อดทน ไปได้เร็ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์สำเหนียกอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ ย่อมเอาใจใส่ มนสิการถึงเหตุการณ์ที่นายควาญช้างจะให้กระทำ ที่ตนเคยทำก็ตาม ไม่เคยทำก็ตาม ประมวลเหตุการณ์ทั้งหมดไว้ด้วยใจ คอยเงี่ยโสตสดับอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์สำเหนียกอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์กำจัดอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว ย่อมกำจัดช้างบ้าง พลช้างบ้าง ม้าบ้าง พลม้าบ้าง รถบ้าง พลรถบ้าง พลเดินเท้าบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์กำจัดอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทนอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา ในโลกนี้ เข้าสู่สงครามแล้ว เป็นสัตว์อดทนต่อการประหารด้วยหอก ต่อการประหารด้วยดาบ ต่อการประหารด้วยหลาว ต่อเสียงระเบงเซ็งแซ่แห่งกลองบัณเฑาะว์สังข์และมโหระทึก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาเป็นสัตว์อดทน อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์ไปได้เร็วอย่างไร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาในโลกนี้ นายควาญช้างจะใช้ไปสู่ทิศใด ตนจะเคยไปหรือไม่เคยไปก็ตาม ย่อมเป็นสัตว์ ไปสู่ทิศนั้นเร็วพลันทีเดียว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชา เป็นสัตว์ไปได้เร็วอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ช้างตัวประเสริฐของพระราชาประกอบด้วยองค์ ๔ นี้แล ย่อมเป็นสัตว์ควรแก่พระราชา เป็นช้างต้น ถึงการนับว่าเป็นราชพาหนะ.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 308
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการ ก็ฉันนั้น เหมือนกันแล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็นผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้สำเหนียก ๑ กำจัด ๑ อดทน ๑ ไปได้เร็ว ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สำเหนียกอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จดจำ กระทำธรรมวินัยนี้อันพระตถาคตประกาศแล้ว ทรงแสดงอยู่ไว้ในใจ ประมวลธรรมวินัยทั้งปวงไว้ด้วยใจ เงี่ยโสตลงสดับธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สำเหนียก อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้กำจัดอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา กระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งกามวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งพยาบาทวิตกอันบังเถิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งวิหิงสาวิตกอันบังเกิดขึ้นแล้ว ย่อมให้ตั้งอยู่ไม่ได้ย่อมละ ย่อมบรรเทา ย่อมกระทำให้พินาศ ให้ถึงความไม่มี ซึ่งธรรมอันเป็นบาปอกุศล อันบังเกิดขึ้นแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้กำจัดอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้อดทนต่อความหนาว ความร้อน ความหิว ความระหาย สัมผัสแห่งเหลือบ ยุง ลม แดด และสัตว์เลื้อยคลาน เป็นผู้มีปกติอดทนต่อคำกล่าวอันหยาบคาย ร้ายกาจ ที่บังเกิดขึ้นแล้ว ต่อทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ดูก่อน-
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 309
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้อดทนอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็วอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ทิศใดที่ตนไม่เคยไป โดยกาลนานนี้ คือ ความระงับสังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความคลายกำหนัด ความดับนิพพาน เป็นผู้ไปสู่ทิศนั้นได้เร็ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไปได้เร็ว อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๔ ประการนี้แล ย่อมเป็นผู้ควรของคำนับ เป็นผู้ควรของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ทักษิณา เป็น ผู้ควรทำอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งไปกว่า.
จบนาคสูตรที่ ๔
อรรถกถานาคสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในนาคสูตรที่ ๔ ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อฏฺิกตฺวา คือ เป็นประโยชน์. มโหระทึก ชื่อว่า ติณวะ ในคำนี้ ว่า ติณวนินฺนาทสทฺทานํ. บทว่า นินฺนาทสทฺโท ได้แก่ เสียงดังผสมผสานเป็นอันเดียวกัน แม้ของเครื่องตีเป่าทุกอย่าง. ในบทว่า ฑํสา เป็นต้น บทว่า ฑํสา ได้แก่ เหลือบ. บทว่า มกสา ได้แก่ ยุง. บทว่า ขิปฺปญฺเว คนฺตา โหติ ความว่า ภิกษุบำเพ็ญศีล สมาธิปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะแล้วไปเร็วพลัน.
จบอรรถกถานาคสูตรที่ ๔