[เล่มที่ 49] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 106
อุรควรรคที่ ๑
๑๑. นาคเปตวัตถุ
ว่าด้วยกรรมทําให้เป็นเทพและเป็นเปรต
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 49]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 106
๑๑. นาคเปตวัตถุ
ว่าด้วยกรรมทำให้เป็นเทพและเป็นเปรต
สามเณรถามว่า :-
[๙๖] คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่งขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรไปท่ามกลาง นางสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ ส่วนท่านทั้งหลายมือถือค้อนเดินร้องไห้ มีหน้าชุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัวเป็นแผลแตกพัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ได้ทำบาปอะไรไว้ ท่านทั้งหลายดื่มกินโลหิตของกันและกัน เพราะกรรมอะไร.
เปรตทั้งสองได้ฟังสามเณรถามจึงตอบว่า :-
ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชรมี ๔ เท้าไปข้างหน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเป็นมนุษย์เขาได้ถวายทานแก่สงฆ์ จึงได้รับความสุขบันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร ๔ ตัว แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้นเป็นบุตรคนกลางของข้าพเจ้าทั้งสอง เมื่อเขาเป็นมนุษย์เป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งโรจน์อยู่ นารีที่มีปัญญา ดวงตากลมงาม ดุจตาเนื้อ ขึ้นวอมาข้างหลัง ผู้นั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 107
เป็นธิดาคนสุดท้ายของข้าพเจ้าทั้งสอง นางมีความสุขเบิกบานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อก่อนเขาทั้งสามมีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองเป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขา ทั้งสามนี้ถวายทานแล้ว บำรุงบำเรอด้วยกามคุณอันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้าทั้งสองซูบซีดอยู่ ดุจไม้อ้อที่เขาตัดทิ้ง ฉะนั้น.
สามเณรถามว่า :-
อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรมอย่างยิ่ง ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างไร เมื่อโภคะเป็นอันมากมีอยู่ไม่น้อย ท่านหน่ายสุข ได้รับแต่ทุกข์ในวันนี้.
เปรตทั้งสองตอบว่า :-
ข้าพเจ้าทั้งสองตีซึ่งกันและกัน แล้วกินหนองและเลือดของกันและกัน ได้ดื่มหนองและเลือดเป็นอันมาก ก็ยังไม่หายอยาก มีความหิวอยู่เป็นนิจ สัตว์ทั้งหลายไม่ให้ทาน ละไปแล้ว เกิดในยมโลก ย่อมร่ำไรอยู่ เหมือนข้าพเจ้าทั้งสองฉะนั้น สัตว์เหล่าใดได้ประสบโภคะต่างๆ แล้ว ไม่ใช้สอยเอง ทั้งไม่ทำบุญ สัตว์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 108
จักต้องหิวกระหายในปรโลก ภายหลังถูกความหิวแผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นทำกรรมทั้งหลายมีผลเผ็ดร้อน มีทุกข์เป็นกำไรแล้ว ย่อมได้เสวยทุกข์ ก็บัณฑิตทั้งหลายรู้ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอย่างหนึ่ง รู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายใน มนุษยโลกนี้เป็นอย่างหนึ่ง รู้ทรัพย์และข้าวเปลือกและชีวิตมนุษย์เป็นอีกอย่างหนึ่ง จากสิ่งนอกนี้แล้ว พึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในธรรม มารู้ชัดอย่างนี้ ชนเหล่านั้นย่อมไม่ประมาทในทาน เพราะได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย.
จบ นาคเปตวัตถุที่ ๑๑
อรรถกถานาคเปตวัตถุที่ ๑๑
เมื่อพระคาสดาประทับอยู่ในพระวิหารชื่อว่า เชตวัน ทรงพระปรารภพราหมณ์เปรต ๒ ตน จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำ เริ่มต้นว่า ปุรโต ว เสเตน ปเลติ หตฺถินา ดังนี้.
ได้ยินว่า ท่านสังกิจจะผู้มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุพระอรหัต ในขณะจรดมีดโกนที่ปลายผมนั่นแล ดำรงอยู่ในภูมิสามเณร อยู่ในราวป่าพร้อมกับภิกษุประมาณ ๓๐ รูป ห้ามความตายที่มาถึงแก่ภิกษุเหล่านั้น จากมือของพวกโจร ๕๐๐ คน และฝึกโจรเหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 109
แล้ว ให้บรรพชา ได้พาไปยังสำนักของพระศาสดา. พระศาสดาทรงแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ในเวลาจบพระธรรมเทศนา ภิกษุเหล่านั้นก็ได้บรรลุพระอรหัต. ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะมีพรรษาครบ ได้อุปสมบทแล้ว พร้อมด้วยภิกษุ ๕๐๐ รูป เหล่านั้น พากันไปยังกรุงพาราณสี อยู่ในป่าอิสิปตนมฤคทายวัน. พวกมนุษย์พากันไปหาพระเถระ ได้ฟังธรรมแล้ว มีจิตเลื่อมใส ได้ถวายอาคันตุกทานเป็นพวกๆ ตามลำดับถนน. ในบรรดามนุษย์เหล่านั้น มีอุบาสกคนหนึ่งได้ชักชวนพวกมนุษย์ในนิตยภัตร. มนุษย์เหล่านั้นได้เริ่มตั้งนิตยภัตตามกำลัง.
ก็สมัยนั้น ในกรุงพาราณสี มีพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิคนหนึ่ง ได้มีบุตรชาย ๒ คน บุตรหญิง ๑ คน. ในบุตรเหล่านี้ บุตรคนโตได้มีอุบาสกเป็นมิตร. อุบาสกนั้นพาบุตรคนโต (ของพราหมณ์) นั้นไปพาท่านสังกิจจะ. ท่านสังกิจจะแสดงธรรมแก่เธอ. เธอได้เป็นผู้มีจิตอ่อน. ลำดับนั้นอุบาสกนั้นกล่าวกะเธอว่า เธอจงให้นิตยภัตรแก่ภิกษุรูปหนึ่ง. บุตรพราหมณ์กล่าวว่า พวกเราผู้เป็นพราหมณ์ไม่เคยประพฤตินิตยภัตรทานแก่พระสมณผู้ศากยบุตรเลย เพราะฉะนั้น เราจักไม่ยอมให้. อุบาสกกล่าวว่า ถึงเราท่านก็จักไม่ให้ภัตรบ้างหรือ บุตรพราหมณ์กล่าวว่า ทำไมฉันจักไม่ให้. อุบาสกพูดว่า ถ้าเมื่อเป็นเช่นนั้น สิ่งที่เธอจะให้เรา เธอจงถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่งเถิด. เขารับคำแล้ว ในวันที่ ๒ ได้ไปยังวิหารแต่เช้าตรู่ นิมนต์ภิกษุมารูปหนึ่งให้ฉันแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 110
เมื่อเวลาผ่านไปอย่างนี้ น้องชายและน้องสาวของเขา เห็นการปฏิบัติของภิกษุทั้งหลาย และได้ฟังธรรมแล้ว มีความเลื่อมใสยิ่งในพระศาสนา และได้มีความยินดีในบุญกรรม. ชนทั้ง ๓ คนเหล่านั้น เมื่อให้ทานตามกำลังทรัพย์อย่างนี้ ได้สักการะเคารพนับถือบูชาสมณพราหมณ์ทั้งหลาย. ส่วนมารดาและบิดาของพวกเรา เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีความเลื่อมใส ไม่เคารพในสมณพราหมณ์ ไม่เอื้อเฟื้อ ไม่พอใจในการบำเพ็ญบุญ. พวกญาติจึงได้ขอเด็กหญิงผู้เป็นธิดาแห่งมารดาบิดาเหล่านั้น มาเพื่อประโยชน์แก่บุตรของลุง. ก็บุตรคนโตนั้นฟังธรรมในสำนักของท่านสังกิจจะ แล้วเกิดความสังเวช บรรพชาแล้ว ไปยังเรือนของมารดาตน เพื่อฉันเป็นนิตย์. มารดาปลอบใจเธอด้วยเด็กรุ่นสาว ผู้เป็นมารดาของพี่ชายตน. ด้วยเหตุนั้น เธอเป็นผู้กลุ้มใจจึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เรียนว่า ท่านครับ ผมจักสึก ขอท่านจงอนุญาตให้ผมสึกเถิด. พระอุปัชฌาย์เห็นเธอผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย จึงกล่าวว่า พ่อ สามเณร รอสักเดือนก่อนเถอะ. สามเณรรับคำท่านแล้ว ผ่านไปได้เดือนหนึ่ง จึงได้แจ้งให้ทราบอย่างนั้นเหมือนกัน. พระอุปัชฌาย์ก็กล่าวซ้ำอีกว่ากึ่งเดือนเถิด. พอกึ่งเดือนผ่านไป เมื่อสามเณรกล่าวอย่างนั้น พระเถระก็กล่าวอีกว่า รอสัก ๗ วันเถอะ. สามเณรรับคำแล้ว. ครั้นภายใน ๗ วันนั้น เรือนของน้าหญิงสามเณรหลังพังไป ทรุดโทรม ฝาเรือนชำรุด ถูกลมพัดและฝนสาดเข้าก็พังลง. ในคนเหล่านั้น ท่านพราหมณ์ พราหมณี ลูกชาย ๒ คน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 111
ลูกหญิง ๑ คน ถูกเรือนพังทับตายไปหมด. ในคนที่ตายไปเหล่านั้น พราหมณ์และนางพราหมณีบังเกิดในกำเนิดเปรต. ลูกชาย ๒ คน ลูกหญิง ๑ คน บังเกิดในภุมมเทวดา. ในบุตรเหล่านั้น บุตรคนโตเกิดมีช้างเป็นพาหนะ. บุตรคนเล็กเกิดมีรถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร. บุตรหญิงมีวอทองคำเป็นเครื่องแห่แหน. พราหมณ์และนาง พราหมณีถือเอาค้อนเหล็กชนิดใหญ่มาทุบกัน. ที่ที่ถูกทุบแล้ว มีฝีประมาณเท่าหม้อลูกใหญ่ผุดขึ้นครู่เดียวเท่านั้น หัวฝีก็แก่เต็มที่แล้วแตกผุพังไป. พราหมณ์สองผัวเมียนั้น ต่างช่วยกันผ่าฝีของกันและกัน ถูกความโกรธครอบงำ ไร้ความกรุณาตะคอกด้วยวาจาหยาบ พากันดื่มหนองและเลือด, และไม่ได้รับความอิ่ม.
ลำดับนั้น สามเณรถูกความกลุ้มใจกลุ้มรุมจึงเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ เรียนว่า ท่านครับ กระผมผ่านวันปฏิญญาณไปแล้ว ผมจักกลับไปเรือน ขอท่านจงอนุญาตผมเถิด. ลำดับนั้น พระอุปัชฌาย์กล่าวแก่เธอว่า เมื่อถึงวันแรม ๑๔ ค่ำ เวลาพระอาทิตย์ตกดิน เธอจงมาเถิด. ดังนี้แล้ว ได้เดินไปหน่อยหนึ่งแล้ว ยืนอยู่ด้านอิสิปตนวิหาร. ก็สมัยนั้น เทพบุตร ๒ องค์นั้น พร้อมด้วยน้องสาว เดินผ่านไปทางนั้นนั่นแล เพื่อจะอวดอ้างสมาคมยักษ์. ฝ่ายมารดาบิดาของพวกเขา ต่างก็ถือไม้ค้อน พูดวาจาหยาบ รูปร่างดำ มีเส้นผมยุ่งรุงรังเศร้าหมองยาว เช่นกับต้นตาลที่ถูกไฟไหม้ มีหนองและโลหิตไหล มีตัวหดเหี่ยวเห็นเข้าน่าเกลียดน่ากลัวพิลึก ติดตามพวกบุตรไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 112
ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะสำแดงฤทธิ์โดยประการที่สามเณรนั้นจะได้พบเห็นพวกเหล่านั้น ผู้กำลังเดินไปทั้งหมดแล้วกล่าวกะสามเณรว่า เห็นไหม? พ่อสามเณร พวกเหล่านี้กำลังเดินไป. สามเณรเรียนว่า เห็นขอรับ. ท่านสังกิจจะกล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น เธอจงสอบถามถึงกรรมที่พวกเหล่านี้กระทำไว้เถิด. สามเณรสอบถามพวกที่ไปด้วยยานช้างเป็นต้น ตามลำดับ. คนเหล่านั้นกล่าวว่า ท่านจงสอบถามพวกเปรตที่มาภายหลังเถิด. สามเณรกล่าวกะเปรตเหล่านั้น ด้วยคาถาทั้งหลายว่า :-
คนหนึ่งขี่ช้างเผือกไปข้างหน้า คนหนึ่งขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดรไปในท่ามกลาง นางสาวน้อยขึ้นวอไปข้างหลัง เปลงรัศมีสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ ส่วนท่านทั้งหลาย มือถือค้อนเดินร้องไห้ มีใบหน้าพุ่มไปด้วยน้ำตา มีตัวเป็นแผลแตกพัง ท่านเกิดเป็นมนุษย์ ได้ทำกรรมชั่วอะไรไว้ ท่านทั้งหลายดื่มกินโลหิตของกันและกัน เพราะกรรมอะไร.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ได้แก่ก่อนเขาทั้งหมด. บทว่า เสเตน แปลว่า ขาว. บทว่า ปเลติ แปลว่า เดินไป. บทว่า มชฺเฌ ปน ได้แก่ ในระหว่างเทพบุตรผู้ขึ้นช้าง และเทพธิดาผู้ขึ้นวอ. มีวาจาประกอบความว่า บทว่า อสฺสตรีรเถน ความว่า ไปด้วยรถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร. บทว่า นียติ แปลว่า นำไป.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 113
บทว่า โอภาสยนฺติ ทส สพฺพโส ทิสา ความว่า เปล่งรัศมีสว่างไสวไปทั่วทั้ง ๑๐ ทิศ โดยรอบ ด้วยรัศมีแห่งสรีระของตน และด้วยรัศมีแห่งผ้าและเครื่องอาภรณ์เป็นต้น. บทว่า มุคฺครหตฺถปาณิโน ได้แก่ ส่วนท่านทั้งหลายมีมือถือไม้ค้อน. ฝ่ามือนั่นแหละ แปลกออกไปกว่าศัพท์ว่า มือ เพราะได้โวหารว่าฝ่ามือในกิจที่จะพึงทำพื้นดินให้ละเอียดเป็นต้น. บทว่า ฉินฺนปภินฺนคติตา ได้แก่ มีตัวเป็นแผลแตกพังในที่นั้นๆ ด้วยการใช้ไม้ค้อนทุบ. บทว่า ปิวาถ แปลว่า ขอท่านทั้งหลายจงดื่มกินเถิด.
เปรตเหล่านั้นถูกสามเณรถามอย่างนั้น จึงได้กล่าวตอบเรื่องนั้นทั้งหมด ด้วย ๔ คาถาว่า :-
ผู้ใดขี่ช้างเผือกชาติกุญชร มี ๔ เท้า ไปข้างหน้า คนนั้นเป็นบุตรหัวปีของข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อเป็นมนุษย์ เขาได้ถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ จึงได้รับความสุข บันเทิงใจ ผู้ใดขี่รถเทียมด้วยแม่ม้าอัสดร ๔ ม้า แล่นเรียบไปท่ามกลาง ผู้นั้นเป็นบุตรคนกลางของข้าพเจ้าทั้ง ๒ เมื่อเขาเป็นมนุษย์ เขาเป็นคนไม่ตระหนี่ เป็นทานบดีรุ่งเรืองอยู่ นารีใดที่มีปัญญา มีดวงตากลมงดงามรุ่งเรือง ดุจตาเนื้อ ขึ้นวอมาข้างหลัง นารีนั้นเป็นธิดาคนสุดท้ายของข้าพเจ้าทั้ง ๒ นางมีความสุขเบิก บานใจ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน เมื่อก่อนเขา
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 114
ทั้ง ๓ คนมีจิตเลื่อมใส ได้ให้ทานแก่สมณพราหมณ์ทั้งหลาย ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ เป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณพราหมณ์ทั้งหลาย เขาทั้ง ๓ คนนี้ ถวายทานแล้วบำรุงบำเรอด้วยกามคุณ อันเป็นทิพย์ ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซูบซีดอยู่เหมือนไม้อ้อที่เขาตัดทิ้งไว้ ฉะนั้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปุรโต ว โย คจฺฉติ ความว่า บรรดาคนที่เดินไปเหล่านี้ ผู้ที่เดินไปข้างหน้า. บาลีว่า โยโส ปุรโต คจฺฉติ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ผู้ที่ไปข้างหน้านั้น. บทว่า กุญฺชเรน ได้แก่ ช้างอันได้นามว่า กุญชร เพระอรรถว่า ยังพื้นปฐพี คือแผ่นดินให้เจริญขึ้น หรือเพราะยินดี คือเที่ยวไปในท้องภูเขาที่สะสมด้วยหญ้าและเถาวัลย์เป็นต้น. บทว่า นาเคน ได้แก่ ชื่อว่า นาค เพราะเป็นสัตว์ไม่ควรล่วงละเมิด ไม่ควรดูหมิ่น. ด้วยช้างเชือกประเสริฐนั้น. บทว่า จตุกฺกเมน ได้แก่ มี ๔ เท้า. บทว่า เชฏฺโก แปลว่า ผู้เกิดก่อน.
บทว่า จตุพฺภิ ได้แก่ ด้วยแม้ม้าอัสดร ๔ ม้า. บทว่า สุวคฺคิเตน ได้แก่ ซึ่งมีการแล่นเรียบ คือ แล่นไปอย่างสวยงาม. บทว่า นิคมนฺทโลจนา ได้แก่ ผู้มีดวงตางามดุจดวงตาเนื้อ. บทว่า ภาคฑฺฒภาเคน ได้แก่ เพราะส่วนแห่งทานกึ่งส่วน คือ เพราะทานกึ่งส่วนจากส่วนแห่งทานที่ตนได้แล้วเป็นเหตุ. บทว่า สุขี แปลว่า ได้รับความสุข. จริงอยู่ คำว่า สุขี นี้ ท่านกล่าวโดยเป็นลิงควิปลาส.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 115
บทว่า ปริภาสกา แปลว่า ผู้ด่า. บทว่า ปริจารยนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้นย่อมยังอินทรีย์ของตนให้เที่ยวไปในกามคุณอันเป็นทิพย์ ตามความสุข ทั้งข้างโน้น ข้างนี้, หรือยังชนผู้เป็นบริวารให้ทำการบำเรอตนด้วยวิบากเป็นเครื่องไหลออกแห่งบุญญานุภาพของตน. บทว่า มยญฺจ สุสฺสาม นโฬว ฉินฺโน ความว่า ส่วนข้าพเจ้าทั้ง ๒ ซูบซีดอยู่เหมือนไม้อ้อที่เขาตัดทิ้ง คือ ที่เขาโยนไปกลางแดด ฉะนั้น ได้แก่ เป็นผู้เหือดแห้ง แห้งผาก ด้วยความหิวกระหายและด้วยการใช้ไม้ทำร้ายกัน.
เปรตเหล่านั้น ครั้นประกาศความชั่วของตนอย่างนี้แล้ว จึงแจ้งว่า พวกเราเป็นลุงและป้าของท่าน. สามเณรได้ฟังดังนั้นแล้วเกิดความสลดใจ เมื่อจะถามว่า ทำอย่างไรหนอ โภชนะจึงจะสำเร็จแก่พวกคนทำความชั่วเห็นปานนี้ได้ จึงกล่าวคาถานี้ว่า
อะไรเป็นโภชนะของท่าน อะไรเป็นที่นอนของท่าน และท่านมีบาปธรรมเป็นอย่างยิ่ง ยังอัตภาพให้เป็นไปอย่างไรได้ และโภคะเป็นอันมากมีอยู่ไม่น้อย ท่านเบื่อหน่ายความสุข ได้ประสบทุกข์ในวันนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กึ ตุมฺหากํ โภชนํ ความว่า สิ่งเช่นไรเป็นโภชนะของท่าน. บทว่า กึ สยานํ ความว่า สิ่งเช่นไรเป็นที่นอนของท่าน. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า กึ สยานา ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า สิ่งเช่นไรเป็นที่นอนของท่าน คือ ท่านนอนในที่นอน
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 116
เช่นไร บทว่า กถญฺจ ยาเปถ ความว่า ท่านยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยประการไร. บาลีว่า กถํ โว ยาเปถ ดังนี้ก็มี, อธิบายว่า ท่านยังอัตตภาพให้เป็นไปด้วยอาการอย่างไร. บทว่า สุปาปธมฺมิโน ได้แก่ ผู้มีบาปธรรมด้วยดี คืออย่างยิ่ง. บทว่า ปหูตโภเคสุ ความว่า เมื่อโภคะอันหาที่สุดมิได้ คืออย่างยิ่ง มีอยู่. บทว่า อนปฺปเกสุ แปลว่า ไม่น้อย คือมาก. บทว่า สุขํ วิราธาย ได้แก่ เบื่อหน่าย คือไม่ยินดีความสุข เพราะไม่ทำบุญอันเป็นเหตุให้เกิดความสุข. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สุขสฺส วิราเธน ก็มี. บทว่า ทุกฺขชฺช ปตฺตา ความว่า วันนี้คือบัดนี้ ท่านได้รับความทุกข์อันนับเนื่องในกำเนิดเปรตนี้.
เปรตทั้งหลาย ถูกสามเณรถามอย่างนั้นแล้ว เมื่อจะแก้ข้อความที่สามเณรถาม จึงได้ภาษิตคาถา ๕ คาถาว่า :-
ข้าพเจ้าทั้งสองตีซึ่งกันและกันแล้ว กินหนองและเลือดของกันและกัน ได้ดื่มหนองและเลือดเป็นอันมาก ก็ยังไม่หายอยาก มีความหิวอยู่เป็นนิตย์ สัตว์ทั้งหลายไม่ได้ให้ทาน ละไปแล้วเกิดในยมโลก ย่อมร่ำไรอยู่ เหมือนข้าพเจ้าทั้ง ๒ ฉะนั้น สัตว์เหล่าใดได้ประสพโภคะต่างๆ แล้วไม่ใช้สอยเอง ไม่ทำบุญ สัตว์เหล่านั้น จักต้องหิวกระหายในปรโลก ภายหลังถูกความหิวแผดเผาไหม้อยู่สิ้นกาลนาน ครั้นทำกรรมทั้ง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 117
หลายมีผลเผ็ดร้อน เป็นทุกข์ เป็นกำไรแล้ว ย่อมได้เสวยทุกข์ บัณฑิตทั้งหลายรู้ทรัพย์และข้าวเปลือกเป็นอย่างหนึ่ง รู้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้ เป็นอย่างหนึ่ง รู้ทรัพย์ ข้าวเปลือก และชีวิตมนุษย์เป็นอีกอย่างหนึ่ง จากสิ่งนอกนี้ แล้ว พึงทำที่พึ่งของตน ชนเหล่าใดเป็นผู้ฉลาดในธรรม ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลายแล้ว มารู้ชัดอย่างนี้ ชนเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ประมาทในทาน.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ธาตา โหม ความว่า ข้าพเจ้ายังไม่หายอยาก คือ ยังไม่หายอิ่มหนำ. บทว่า นจฺฉาทิมฺหเส แปลว่า ยังไม่อิ่มใจ, คือ ไม่ยังความชอบใจให้เกิดขึ้น, อธิบายว่า พวกเราไม่ได้ดื่มหนองและเลือดนั้นตามความชอบใจของตน. บทว่า อิจฺเจว แก้เป็น เอวเมว แปลว่า ฉันนั้นนั่นแล. บทว่า มจฺจา ปริเทวยนฺติ ความว่า พวกมนุษย์แม้เหล่าอื่นผู้ทำบาปไว้ ย่อมรำพัน ย่อมคร่ำครวญ เหมือนพวกเรา. บทว่า อทายกา ได้แก่ เป็นผู้ไม่ให้เป็นปกติ คือเป็นผู้ตระหนี่. บทว่า ยมสฺส ายิโน ได้แก่ เป็นผู้มีปกติตั้งอยู่ในฐานะแห่งพระยายม อันเข้าใจกันว่า ยมโลก คือ ในเปตวิสัย. บทว่า เย เต วิทิจฺจ อธิคมฺม โภเค ความว่า ชนเหล่านั้นเหล่าใดได้ประสบคือได้รับโภคะต่างๆ อันเป็นความสุขพิเศษในบัดนี้ และในต่อไป. บทว่า น กุญฺชเร นาปิ กโรนฺติ ปุญฺํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 118
ความว่า ย่อมไม่บริโภค แม้ด้วยตนเองเหมือนพวกเรา เมื่อจะให้แก่ชนเหล่าอื่น ก็ไม่ทำบุญอันสำเร็จด้วยทาน.
บทว่า เต ขุปฺปิปาสุปคตา ปรตฺถ ความว่า สัตว์เหล่านั้นจะต้องถูกความหิวกระหายครอบงำ ในโลกหน้า คือ ในปรโลก ได้แก่ในเปตวิสัย. บทว่า จิรํ ฌายเร ฑยฺหมานา ความว่า ถูกไฟคือทุกข์อันมีความหิวเป็นต้น เป็นเหตุ คือ ถูกไฟคือความเดือดร้อนอันเป็นไปโดยนัยมีอาทิว่า พวกเราไม่ได้กระทำกุศลไว้เลย ทำแต่ความชั่ว ดังนี้ แผดเผาไหม้อยู่คือ ทอดถอนอยู่. บทว่า อนุโภนฺติ ทุกฺขํ กฎุกปฺผลานิ ความว่า คนเหล่านั้นครั้นทำบาปกรรม อันมีผลไม่น่าปรารถนาแล้ว ย่อมเสวยทุกข์ คือทุกข์อันเป็นไปในอบายตลอดกาลนาน.
บทว่า อิตฺตรํ ความว่า ไม่ตั้งอยู่ตลอดกาลนาน คือ ไม่เที่ยง มีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา. บทว่า อิตฺตรํ อิธ ชีวิตํ ความว่า แม้ชีวิตของสัตว์ทั้งหลายในมนุษยโลกนี้นิดหน่อย คือมีประมาณเล็กน้อย. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ผู้ใดเป็นอยู่ได้นาน ผู้นั้นก็เป็นอยู่เพียง ๑๐๐ ปี หรือเกินไปเพียงเล็กน้อย. บทว่า อิตฺตรํ อิตฺตรโต ตฺวา ความว่า ใคร่ครวญด้วยปัญญาว่า เครื่องอุปกรณ์มีทรัพย์และธัญญาหารเป็นต้น และชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายมีนิดหน่อยคือ มีชั่วขณะ ได้แก่ไม่นาน. บทว่า ทีปํ กยิราถ ปณฺฑิโต ความว่า บุรุษผู้มีปัญญา พึงทำเกาะคือที่พึ่งของตนให้เป็นที่ตั้งอาศัยแห่งหิตสุขในปรโลก. บทว่า เย เต เอวํ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เปตวัตถุ เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้า 119
ปชานนฺติ ความว่า ชนเหล่านั้นเหล่าใดย่อมรู้ตามความเป็นจริงว่า โภคะและชีวิตของมนุษย์ทั้งหลายเป็นของนิดหน่อย ชนเหล่านั้นย่อมไม่ประมาทในทานตลอดกาลทุกเมื่อ. บทว่า สุตฺวา อรหตํ วโจ ความว่า ได้ฟังคำของพระอรหันต์ทั้งหลาย คือของพระอริยเจ้าทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น, อธิบายว่าเพราะฟัง. คำที่ เหลือ ปรากฏชัดแล้วทีเดียว.
เปรตเหล่านั้นถูกสามเณรถามแล้วอย่างนี้ จึงบอกความนั้นแล้ว ประกาศว่า พวกเราเป็นลุงและป้าของท่าน. สามเณรได้ฟังดังนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ บรรเทาความกลุ้มใจเสียได้ ซบศีรษะลงที่แทบเท้าทั้ง ๒ ของพระอุปัชฌาย์แล้วกล่าวอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้อที่ท่านผู้อนุเคราะห์ อาศัยความเอ็นดูพึงกระทำนั้น เป็นอันท่านกระทำแล้วแก่กระผม กระผมจะรักษาไว้ โดยไม่ให้ตกไปสู่ความพินาศเป็นอันมาก, บัดนี้ เราไม่มีความต้องการด้วยการครองเรือน เราจักยินดียิ่งในการอยู่ประพฤติพรหมจรรย์. ลำดับนั้น ท่านสังกิจจะได้บอกกัมมัฏฐานอันเหมาะสมแก่อัธยาศัยของสามเณรนั้น. สามเณรนั้นหมั่นประกอบพระกัมมัฏฐาน ไม่นานนักก็บรรลุพระอรหัต. ฝ่ายท่านสังกิจจะได้กราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระศาสดาทรงกระทำเรื่องนั้นให้เป็นอัตถุปัตติเหตุ ทรงแสดงธรรมโดยพิสดารแก่บริษัทผู้พรั่งพร้อมแล้ว. พระเทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนฉะนี้แล.
จบ อรรถกถานาคเปตวัตถุที่ ๑๑