[เล่มที่ 51] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 313
เถรคาถา ติกนิบาต
วรรคที่ ๑
๑๔. โคตมเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 51]
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 313
๑๔.โคตมเถรคาถา
ว่าด้วยคาถาของพระโคตมเถระ
[๓๒๐] ได้ยินว่า พระโคตมเถระได้ภาษิตคาถาม ไว้ อย่างนี้ว่า
อาตมาภาพเมื่อท่องเที่ยวไปมา ได้ไปสู่นรกบ้าง เปรตโลกบ้าง ชาติแล้วชาติเล่า แม้ในกำเนิดเดียรฉาน ที่สุดแสนจะทนได้ อาตมาภาพก็อยู่มานานมากมาย หลายประการ และภพของมนุษย์ อาตมาภาพก็ได้ผ่านมามากแล้ว และได้ไปสวรรค์เป็นครั้งเป็นคราว อาตมาภาพดำรงอยู่ในรูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง อสัญญีภพบ้าง เนวสัญญีนาสัญญีภพบ้าง ภพทั้งหลาย อาตมาภาพรู้ชัดแล้วว่าไม่มีแก่นสาร อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นของแปรปรวน กลับกลอก ถึงความแตกหัก ทำลายไปทุกเมื่อ ครั้นรู้แจ้งภพนั้น อันเป็นของเกิดในตนแล้ว อาตมาภาพจึงเป็นผู้มีสติ บรรลุสันติธรรมแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 314
อรรถกถาโคตมเถรคาถา
คาถาของท่านพระโคตมเถระ มีคำเรีมต้นว่า สํสรํ. มีเรื่องเกิดขึ้น อย่างไร?
ได้ทราบว่า ท่านพระโคตมเถระ นี้ มีบุญญาธิการได้ทำไว้แล้ว ในพระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ ทำบุญในภพนั้นๆ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สิขี ปรินิพพานแล้ว ครั้นเทวดาและคนทั้งหลายพากันบูชาเชิงตะกอน ก็ได้บูชาเชิงตะกอนด้วยดอกจำปา ๘ ดอก
ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปมาในเทวโลกและมนุษยโลก มาในพุทธุปบาทกาลนี้ ถือกำเนิดในตระกูลศากยราชมีพระนามที่ได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะแล้ว ด้วยสามารถแห่งพระโคตรว่า โคตมะนั่นเอง ทรงเจริญวัยแล้ว ในคราวชุมนุมพระญาติของพระศาสดา ได้ศรัทธาผนวชแล้ว บำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐาน ได้เป็นพระอริยบุคคล ผู้มีอภิญญา ๖. ด้วยเหตุนั้น ในอปทาน ท่านจึงได้กล่าวไว้ว่า
เมื่อประชาชนพากันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนามว่า สุขี ผู้ทรง เป็นเผ่าพันธุ์ของชาวโลก ข้าพเจ้าได้โปรยดอกจำปา ๘ ดอกบูชาเชิงตะกอน ในกัปที่ ๓ นับถอยหลัง แต่กัปนี้ไป เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าได้โปรยดอกไม้บูชา จึงไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งการบูชาเชิงตะกอน. กิเลสทั้งหลายข้าพเจ้าเผาแล้ว ฯลฯ คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 315
อนึ่ง ท่านครั้นเป็นพระอริยบุคคลผู้มีอภิญญา ๖ แล้ว เมื่อพักผ่อนอยู่ด้วยวิมุตติสุข วันหนึ่ง ถูกพระญาติทั้งหลายตรัสถามว่า เหตุไฉน ท่านจึงละทิ้งพวกเราไปบรรพชา เมื่อจะประกาศทุกข์ที่ตนได้เสวยแล้วในสงสารนั่นแหละ และนิพพานสุขที่ตนได้บรรลุในปัจจุบัน จึงได้แสดงธรรมถวายพระญาติเหล่านั้นด้วยคาถา ๓ คาถาว่า
อาตมาภาพเมื่อท่องเที่ยวไปมา ได้ไปสู่นรกบ้าง ไปสู่เปรตโลกบ้าง ชาติแล้วชาติเล่า แม้ในกำเนิดเดียรฉานที่สุดแสนจะทนได้ อาตมาภาพก็อยู่มานาน มากมายหลายประการ และภพของมนุษย์ อาตมาภาพก็ได้ผ่านมามากแล้ว และได้ไปสวรรค์เป็นครั้งเป็นคราว อาตมาภาพดำรงอยู่ในรูปภพบ้าง อรูปภพบ้าง อสัญญีภพบ้าง เนวสัญญานาสัญญีภพบ้าง ภพทั้งหลาย อาตมาภาพรู้ชัดแล้วว่าไม่มีแก่นสาร อันปัจจัยปรุงแต่งขึ้น เป็นของแปรปรวน กลับกลอก ถึงความแตกหักทำลายไปทุกเมื่อ ครั้นรู้แจ้งภพนั้น อันเป็นของเกิดในตนแล้ว อาตมาภาพจึงเป็นผู้มีสติบรรลุ สันติธรรมแล้ว.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสรํ ความว่า ท่องเที่ยวไปมาใน สงสารที่ไม่มีเบื้องต้น อธิบายว่า ท่องเที่ยวไปๆ มาๆ ด้วยสามารถแห่งการจุติและอุบัติขึ้นในคติทั้ง ๕ ด้วยกรรมและกิเลสทั้งหลาย. หิ ศัพท์ เป็นเพียง
บทว่า นิริยํ อคจฺฉิสฺสํ ความว่า เข้าถึงนรกใหญ่ทั้ง ๘ ขุม มี สัญชีวนรก เป็นต้น และอุสสทนรก ๑๖ ขุม มีกุกกุฬนรกเป็นต้น ด้วยสามารถ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 316
แห่งปฏิสนธิ. คำว่า ปุนปฺปุนํ นี้ ก็ควรนำมา (ประกอบ) ในคำว่า นิริยํ อคจฺฉิสฺสํ นี้ด้วย.
บทว่า เปตโลกํ ได้แก่ เปรตวิสัย อธิบายว่า ได้แก่ อัตภาพเปรต มีขุปปิปาสาเปรตเป็นต้น.
บทว่า อาคมํ ได้แก่ เข้าถึงคือเกิดขึ้นด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ.
บทว่า ปุนปฺปุนํ ได้แก่ ไปๆ มาๆ.
บทว่า ทุกฺขมมฺหิปิ ความว่า แม้ที่สุดแสนจะทนได้ เพราะทุกข์ ทั้งหลายมีการโบยด้วยหวายที่แข็งและปฏักที่คมเป็นต้น. ก็คำว่า ทุกฺขมมฺหิปิ นี้ ท่านกล่าวไว้ด้วยสามารถแห่งลิงควิปลาส (คือเป็นทุกฺขมายปิ เพราะ เป็นวิเสสนะของติรจฺฉานโยนยํ). บทว่า ติรจฺฉานโยนิยํ ได้แก่ ในกำเนิด เดียรฉาน แยกประเภทเป็นเนื้อและนกเป็นต้น.
บทว่า เนกธา หิ ความว่า อาตมาภาพอยู่มาเนิ่นนานแล้ว คือ ตลอดกาลยึดยาวนานแล้ว มากมายหลายประการ ทั้งด้วยสามารถแห่งสัตว์ ๔ เท้า มีอูฐ โค และแพะเป็นต้น ทั้งด้วยสามารถแห่งสัตว์มีปีกทั้งหลาย มีกา นกตระกุมและเหยี่ยวเป็นต้น และหลายวาระด้วยกัน คือ เสวยทุกข์ด้วยอำนาจแห่งภัยมีความมีใจหวาดสะดุ้งเป็นต้นเนืองนิจ เพื่อแสดงให้เห็นว่า สัตว์ที่เกิดในกำเนิดเดียรฉานวกกลับไปกลับมา ในกำเนิดเดียรฉานนั้นนั่นเอง นานเท่านาน เพราะงมงายมาก ท่านจึงได้กล่าวคำว่า จิรํ ไว้ในที่นี้.
บทว่า มานุโสปิ จ ภโวภิราธิโต ความว่า ถึงอัตภาพมนุษย์ อาตมาภาพก็ชอบใจมาแล้ว คือสำเร็จมาแล้ว ได้แก่ เผชิญมาแล้วด้วยกุศลกรรม เช่นนั้นประชุมกันเป็นเหตุ. ในเรื่องนี้ควรยกญาณกัจฉโปปมสูตรมาเป็น อุทาหรณ์.
บทว่า สคฺคกายมคมํ สกึ สกึ ความว่า อาตมาภาพได้เข้าถึงฝูงทวยเทพชั้นกามาวจร กล่าวคือการไปสู่สวรรค์ ด้วยสามารถแห่งการเกิดขึ้นเป็นครั้งเป็นคราว คือ บางกาลบางสมัย.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 317
บทว่า รูปธาตุสุ ได้แก่ ในรูปภพ มีภวัคคพรหมที่เป็นปุถุชน เป็น ที่สุด.
บทว่า อรูปธาตุสุ ได้แก่ ในอรูปภพทั้งหลาย.
บทว่า นาสญฺญิสุ อสญฺิสุฏฺิตํ ความว่า ไม่ใช่เพียงแต่เกิดขึ้นในรูปภพและอรูปภพล้วนๆ เท่านั้น โดยที่แท้แล้วในเนวสัญญีนาสัญญีภพ และในอสัญญีภพ ก็เกิดขึ้นสถิตอยู่แล้ว. ควรนำบทว่า มยา (อันเรา) มา ประกอบเข้าด้วย. ก็ด้วยศัพท์ว่า เนวสัญญี ในคาถานี้ท่านถือเอาอสัญญีภพ ด้วย พึงทราบว่า ถึงแม้ว่า ภพทั้ง ๒ เหล่านี้ ท่านถือเอาด้วยศัพท์ว่า รูปธาตุ และอธูปธาตุ แต่ว่า สัตว์เหล่าใดที่เป็นภายนอกจากนี้ มีความสำคัญในภพ นั้นว่า เที่ยงแท้ และมีความสำคัญว่า เป็นความหลุดพ้นในภพ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความที่ความสำคัญนั้นของสัตว์เหล่านั้นว่าผิด ท่านจึงได้ถือเอาแยกออกไปต่างหาก.
พระเถระเจ้าครั้นแสดงการเสวยวัฏทุกข์ของตนในสงสารที่ไม่มีเบื้องต้น เพราะความที่ท่านตัดขาดมูลรากของภพ ด้วยคาถา ๒ คาถาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงการเสวยวิวัฏสุข (ความสุขในวิวัฏฏะ) จึงได้กล่าวคาถาที่ ๓ ไว้ โดยนัยมีอาทิว่า สมฺภวา.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สมฺภวา ได้แก่ ภพทั้งหลาย เพราะว่า ภพทั้งหลายมีกามภพเป็นต้นเท่านั้น มีอยู่โดยการชุมนุมแห่งเหตุปัจจัย เพราะฉะนั้น ในคาถานี้ ภพท่านจึงกล่าวว่า สัมภวะ.
บทว่า สุวิทิตา ความว่า รู้ดีแล้วด้วยมรรคปัญญา ที่ประกอบด้วย วิปัสสนาปัญญา.
คำว่า อสารกา เป็นต้น เป็นคำแสดงถึงอาการที่ท่านเหล่านั้นรู้ดี แล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒ - หน้า 318
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อสารกา ความว่า เว้นจากสาระมีสาระ คือ เที่ยงเป็นต้น.
บทว่า สงฺขตา ความว่า อันปัจจัยทั้งหลาย ประมวลปรุงแต่งขึ้น. บทว่า ปจลิตา ความว่า หวั่นไหวไปโดยประการ (ต่างๆ) คือ ไม่ตั้งอยู่มั่นคงแล้ว เพราะความเกิดและความแก่เป็นต้น เหตุที่ถูกปัจจัยปรุงแต่งนั่นเอง.
บทว่า สเทริตา ความว่า หวั่นไหวแล้ว คือ เป็นของต่ำช้าเพราะแตกทำลายไป ได้แก่ ถึงความแตกหักไป อธิบายว่า พังทะลายไปทุกเมื่อ คือ ตลอดกาลทุกเมื่อ.
บทว่า ตํ วิทิตฺวา มหมตฺตสมฺภวํ ความว่า ข้าพเจ้าครั้นรู้ข้อนั้น คือ สภาพที่ถูกปรุงแต่ง ตามที่กล่าวมาแล้วอันเกิดในตน คือ สมภพแล้วในตน ได้แก่ ที่เนื่องด้วยตน ไม่เนื่องด้วยผู้อื่น โดยเป็นอิสระเป็นต้น ด้วยอำนาจการบรรลุด้วยการกำหนดรู้แล้ว จึงเป็นผู้มีสติ ด้วยสติที่สัมปยุตด้วยมรรคปัญญา ได้บรรลุ คือ ถึงทับ ได้แก่ ถึงแล้วโดยลำดับ ซึ่งสันติธรรม นั่นแหละ คือ พระนิพพานนั่นเองที่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังขตธรรมนั้น. พระเถรเจ้าได้พยากรณ์พระอรหัตตผลแก่พระญาติเหล่านั้น ด้วยธรรมเทศนาที่ สำคัญโดยประการดังที่พรรณนามานี้.
จบอรรถกถาโคตมเถรคาถา