พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จริยาปิฎก เล่ม ๙ ภาค ๓ - หน้า 39
อรรถกถา อกิตติจริยาที่ ๑
อเสวนา จ พาลานัง ปณฺฑิตานญฺ จ เสวนา เอตมฺมงฺคลมุตฺตมัง
การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต เป็นอุดมมงคล
ท่านท้าวสักกะ ผู้เป็นจอมเทพทั้งหลาย หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้บุคคลไม่พึงเห็น ไม่พึงได้ยินคนพาล ไม่พึงอยู่ร่วมด้วยกับคนพาล ไม่พึงกระทำและไม่พึงชอบใจการสนทนาปราศรัยด้วยคนพาล
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะอะไร ท่านจึงไม่ชอบคนพาล ขอจงบอกเหตุ เพราะเหตุไรพระคุณเจ้าจึงไม่ปรารถนาที่จะเห็นคนพาล
คนพาลย่อมแนะนำสี่งไม่ควรแนะนำ ย่อมขวนขวายในกิจอันไม่ใช่ธุระ คนพาลแนะนำให้ดีได้ยาก พูดดีหวังจะให้เขาเป็นคนประเสริฐกลับโกรธ คนพาลนั้นไม่รู้วินัย การไม่เห็นคนพาลได้เป็นความดี
ข้าแต่ท่านกัสสปะ พระคุณเจ้าปรารถนาอะไรอีก
ท่านท้าวสักกะจอมเทพ หากท่านจะให้พรแก่อาตมา ขอจงให้พรดังนี้ บุคคลพึงเห็นนักปราชญ์ พึงฟังนักปราชญ์ พึงอยู่ร่วมกับนักปราชญ์ พึงกระทำและพึงชอบใจการสนทนาปราศรัยกับนักปราชญ์
ข้าแต่ท่านกัสสปะ เพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงชอบใจนักปราชญ์ ขอจงบอกเหตุนั้นเพราะเหตุไร พระคุณเจ้าจึงปรารถนาจะเห็นนักปราชญ์ นักปราชญ์แนะนำสี่งที่ควรแนะนำ ไม่ขวนขวายในกิจที่ไม่ใช่ธุระ นักปราชญ์แนะนำได้ง่าย พูดหวังจะให้ดีก็ไม่โกรธ นักปราชญ์ย่อมรู้วินัย การสมาคมกับนักปราชญ์เป็นความดี
ในพระสูตรท่านเปรียบไว้ เหมือนต้นมะม่วงหวานกับต้นสะเดาขม ถ้าปลูกใกล้กันก็ยังกลายพันธุ์ได้ นี่เป็นเพียงแค่ต้นไม้ที่ไม่มีกิเลส แต่ความวิจิตรของจิตลึกซึ้งเกินประมาณ
การสมาคมกับสัตบุรุษคราวเดียวเท่านั้น การสมาคมนั้นย่อมรักษาผู้สมาคมนั้น การสมาคมกับอสัตบุรุษแม้มากก็รักษาไม่ได้ พึงคบกับสัตบุรุษ พึงกระทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ เพราะรู้สัทธรรมของสัตบุรุษ ย่อมมีความเจริญไม่มีความเสื่อม ราชรถที่เขาให้วิจิตรเป็นอันดียังคร่ำคร่าได้แล แม้สรีระก็เข้าถึงความชราได้เหมือนกัน ส่วนธรรมของสัตบุรุษ ย่อมไม่เข้าถึงความชรา สัตบุรุษกับสัตบุรุษด้วยกันย่อมรู้กันได้ ฟ้าและแผ่นดินไกลกัน ฝังข้างโน้นของมหาสมุทร เขาก็กล่าวกันว่าไกล แต่พระราชาธรรมของสัตบุรุษและธรรมของอสัตบุรุษทั้งสองนั้น ท่านกล่าวว่า ไกลกันยิ่งกว่านั้นแล
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรีคาถา เล่ม ๒ ภาค ๔- หน้าที่ 300
เอกาทสกนิบาต
๑. กิสาโคตมีเถรีคาถา
เฉพาะโลก พระมุนีทรงสรรเสริญความเป็นผู้มีกัลยาณมิตร คนเมื่อคบกัลยาณมิตร แม้เป็นพาล ก็พึงเป็นบัณฑิตได้บ้าง.
ควรคบแต่สัตบุรุษคนดี คนคบสัตบุรุษ ปัญญาย่อมเจริญได้เหมือนกัน คนคบสัตบุรุษจะพึงพ้นจากทุกข์ได้ทุกอย่าง.
บุคคลพึงรู้จักอริยสัจ แม้ทั้ง ๔ คือ ทุกข์ ทุกขสมุทัย ทุกขนิโรธ และมรรคมีองค์ ๘.
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
อนุเคราะห์ได้ทำหน้าที่ของภรรยาที่ดี แต่ไม่เสพคุ้น สนิทสนมทางความคิดหรือไม่เช่นนั้นก็หาโอกาสเกื้อกูลในทางธรรมที่ถูกต้อง แต่ที่สำคัญจะต้องเริ่มจากตัวเองก่อนครับคือ มีความเห็นถูก ซึ่งในตัวอย่างพระไตรปิฎก ภรรยาเห็นถูกสามีเห็นผิดก็มีครับ สำหรับผม มีเพื่อนหรือคนรักเป็นมิจฉาทิฏฐิหรือไม่สนใจพระธรรม อย่ามีซะดีกว่า พึงเที่ยวไปเหมือน นอแรด (แต่ธรรมเป็นอนัตตา)
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ในครั้งพุทธกาลก็มี นางอุตตราแต่งงาน สามีเป็นมิจฉาทิฏฐิ นางก็อยากจะทำบุญกับสงฆ์ นางก็เลยจ้างหญิงคนหนึ่งมาดูแลสามีแทน ฯลฯ และอีกเรื่องหนึ่ง ผู้หญิงเป็นพระโสดาบันแต่งงานกับนายพราน เพราะว่าความรักเกิดด้วยเหตุ 2 ประการ คือ เคยอยู่ด้วยกันในกาลก่อน ๑ เกื้อกูลกันในปัจจุบัน ๑ ภายหลังนายพรานและลูกหลานรวมถึงสะใภ้ก็ได้ฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าได้บรรลุเป็นพระโสดาบันหมดเลยค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง การคืนดีกันของพาลและบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ชาดก เล่ม ๓ ภาค ๔ - หน้าที่ 450
ข้อความบางตอนจาก..
กัสสปมันทิยชาดก
ถ้าแม้สัตบุรุษทั้งหลายวิวาทกัน ก็กลับ เชื่อมกันได้สนิทโดยเร็ว ส่วนคนพาลทั้งหลายย่อมแตกกันเหมือนภาชนะดิน เขาย่อมไม่ถึงความสงบเวรกันได้เลย.
เรื่อง ควรสมาคมกับสัตบุรุษ
พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 365
ข้อความบางตอนจาก..
สิวสูตร
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของ พวกสัตบุรุษแล้ว ก็เป็นคนดี ไม่เป็นคนชั่ว
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมได้ปัญญา ไม่ได้อย่างอื่น บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศกท่ามกลางความเศร้าโศก
บุคคลควร สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ บุคคลรู้ ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมรุ่งโรจน์ท่ามกลางหมู่ญาติ บุคคลควร สมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์รู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมถึงสุคติ
บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษเท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับ พวกสัตบุรุษ เหล่าสัตว์รู้ทั่วถึงพระสัทธรรมของพวกสัตบุรุษแล้ว ย่อมดำรงอยู่ได้ ยั่งยืน.
[๒๘๐] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสตอบ สิวเทวบุตรด้วยพระคาถาว่า บุคคลควรสมาคมกับพวกสัตบุรุษ เท่านั้น ควรทำความสนิทสนมกับพวก สัตบุรุษ บุคคลรู้ทั่วถึงสัทธรรมของพวก สัตบุรุษแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรื่อง ลักษณะของพาลและบัณฑิต
พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์ เล่ม ๓ ภาค ๑- หน้าที่ 185
ข้อความบางตอนจาก..
จูฬปุณณสูตร
ว่าด้วยอสัตบุรุษและสัตบุรุษ
[๑๓๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ ภักดีต่ออสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ มีการงานอย่างอสัตบุรุษ มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษย่อมเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ
[๑๓๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อสัตบุรุษเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ประกอบด้วยธรรมของอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษย่อมภักดีต่ออสัตบุรุษ
[๑๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มีสมณพราหมณ์ชนิดที่ไม่มีศรัทธา ไม่มีหิริ ไม่มีโอตตัปปะ มีสุตะน้อย เกียจคร้าน มีสติหลงลืม มีปัญญาทราม เป็นมิตรเป็นสหาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้ภักดีต่ออสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษ มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ
[๑๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมคิดเบียดเบียนตนเองบ้าง คิดเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง คิดเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความคิดอย่างอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษ
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความรู้อย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมรู้เพื่อเบียดเบียนตนเองบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง รู้เพื่อเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นทั้งสองฝ่ายบ้าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้รู้อย่างอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ
[๑๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มักพูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบเจรจาเพ้อเจ้อ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีถ้อยคำอย่างอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ
[๑๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ มักเป็นผู้ทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง มักถือเอาสิ่งของที่เจ้าของมิได้ให้ มักพระพฤติผิดในกาม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้ แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีการงานอย่างอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ
[๑๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ เป็นผู้มีความเห็นอย่างนี้ว่า ทานที่ให้แล้ว ไม่มีผล ยัญที่บูชาแล้ว ไม่มีผล สังเวยที่บวงสรวงแล้ว ไม่มีผล ผลวิบากของกรรมที่ทำดีทำชั่วแล้ว ไม่มี โลกนี้ไม่มี โลกอื่นไม่มี มารดาไม่มีคุณ บิดาไม่มีคุณ สัตว์ที่เป็นอุปปาติกะไม่มี สมณพราหมณ์ทั้งหลายผู้ดำเนินชอบ ปฏิบัติชอบ ซึ่งประกาศโลกนี้ โลกอื่นให้แจ่มแจ้ง เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง ในโลกไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่าเป็นผู้มีความเห็นอย่างอสัตบุรุษ.
เรื่อง อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ
[๑๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษอย่างไร คือ อสัตบุรุษในโลกนี้ ย่อมให้ทานโดยไม่เคารพ ให้ทานไม่ใช่ด้วยมือของตน ทำความไม่อ่อนน้อมให้ทาน ให้ทานอย่างส่งๆ เป็นผู้มีความเห็นว่าไร้ผล ให้ทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล อสัตบุรุษชื่อว่า ย่อมให้ทานอย่างอสัตบุรุษ ส่วนสัตบุรุษหรือบัณฑิตก็ตรงข้ามจากอสัตบุรุษ ครับ
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขออนุโมทนาค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
อนุโมทนาบุญค่ะ
ขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาครับ