ประเพณีการเวียนเทียนที่ขณะนี้จะมีการเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ หรือพระเจดีย์ในสถานที่ต่างๆ มีมาตั้งแต่สมัยใดคะในสมัยพุทธกาลมีใหม หรือมามีทีหลัง พุทธชาติอื่นๆ เขามีการเวียนเทียนแบบเราหรือไม่หรือเราไปเอาของพุทธชาติอื่นเขามา ควรจะไปเวียนเทียนไหมคะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
สมัยครั้งพุทธกาลไม่มีการเวียนเทียน แต่มีข้อความหลายสูตรแสดงว่าผู้ที่เข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเมื่อจะลากลับ แสดงความเคารพโดยการกระทำประทักษิณ (เดินเวียนขวา) หรือเดินให้ขวา (หันด้านขวาให้ท่าน) ชื่อว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างหนึ่ง แต่สมัยปัจจุบันการเวียนเทียนเป็นพิธีกรรมอย่างหนึ่งของชาวพุทธ
ในสมัยพุทธกาล เมื่ออุบาสก อุบาสิกา ฟังพระธรรมเสร็จเรียบร้อยจากพระพุทธเจ้า เมื่อจะกลับไป ก็จะเดินเวียนขวา ๓ รอบ แสดงถึงความเคารพ และอีกประการหนึ่งที่สำคัญคือ แม้ในขณะที่เดิน ก็ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ตามความเป็นจริง อันแสดงถึงความเคารพในขณะนั้นครับ มาในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว แต่มีศาสนสถาน มี พระเจดีย์ เป็นต้น ที่เป็นเหมือนตัวแทนของพระพุทธเจ้า การกระทำความเคารพและระลึกถึงพระคุณของพระองค์ก็ด้วยการเดิน วน ๓ รอบ แต่ไม่ใช่เดินวนเฉยๆ เท่านั้น แต่ระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรมและพระสงฆ์ ตามความเป็นจริง จึงเป็นการเดินเวียน ๓ รอบด้วยความเคารพ ด้วยการะลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยครับ นี่คือวัตถุประสงค์ของการเดินวน ๓ รอบที่แท้จริง ซึ่งก็จะได้ประโยชน์จากเดินวน ๓ รอบด้วยกุศลจิต คือ การเคารพ พระรัตนตรัย และการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในขณะที่เดินครับ
คำว่า ประทักษิณ โดยความหมายทั่วไปแล้ว หมายถึง การเวียนขวา คือ การเวียนไปทางขวา ซึ่งเป็นการแสดงซึ่งความเคารพ
ดังเช่นข้อความจากพระไตรปิฎก ดังนี้
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๓๑
ครั้งนั้น ท่านพระมหากัสสปเข้าไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละในเมืองกุสินารา และถึงจิตกาธารของพระผู้มีพระภาค ครั้นแล้วกระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณจิตกาธาร ๓ รอบ แล้วเปิดทางพระบาทถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น ก็กระทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทำประทักษิณ ๓ รอบแล้วถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคด้วยเศียรเกล้า
[เล่มที่ 28] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สฬายตนวรรค เล่ม ๔ ภาค ๑ - หน้าที่ 122
[๑๑๗] ครั้งนั้นแล ท่านพระปุณณะชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เก็บเสนาสนะแล้ว ถือบาตรและจีวรหลีกจาริกไปทางสุนาปรันตชนบท เมื่อเที่ยวจาริกไปโดยลำดับก็บรรลุถึงสุนาปรันตชนบท
ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษานั้น อุปการะเกื้อกูลเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส เพราะกิเลสที่มีมาก ถ้าไม่ได้อาศัยการขัดเกลา ด้วยกุศลธรรม แล้ว ก็ไม่สามารถจะทำให้กิเลสเบาบางลงได้เลย การเวียนเทียน แม้จะมีขึ้นในภายหลัง แต่ก็ต้องมุ่งที่จุดประสงค์คือ ความเคารพสักการะบูชาต่อพระรัตนตรัย คือ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระอริยสงฆ์ โดยมีกุศลจิต เป็นเครื่องบูชา ขณะที่น้อมบูชาสักการะในสิ่งที่ควรบูชา นั้น เป็นกุศลจิต เป็นสภาพจิตที่อ่อนโยน สำคัญจึงอยู่ที่สภาพจิตจริงๆ เพื่อน้อมระลึกถึงพระรัตนตรัย อันเป็นรัตนะที่ประเสริฐ ๓ ประการ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรม และ พระอริยสงฆ์ ซึ่งเป็นการนอบน้อมสักการะบูชาในสิ่งที่ควรแก่การสักการะบูชา
สิ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุด คือ ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าแล้ว แล้วน้อมประพฤติปฏิบัติตามพระธรรม เพราะเมื่อมีความเข้าใจมากขึ้น กุศลธรรมก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นในชีวิตประจำวัน ตามระดับขั้นของความเข้าใจ ความเข้าใจพระธรรม จะเป็นเครื่องนำทางชีวิตให้น้อมไป ให้เป็นไปในทางที่เป็นกุศล ยิ่งขึ้น ซึ่งจะเป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลสของตนเอง ครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขออนุโมทนาครับ
กราบอนุโมทนาค่ะ