เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก
โดย Khaeota  28 มิ.ย. 2553
หัวข้อหมายเลข 16617

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔[เล่มที่ 43] หน้าที่ 423

ข้อความจาก...

เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก

ได้ยินว่า พราหมณ์นั้นฟังธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส
เริ่มตั้งนิตยภัต (ภัตประจำ) เพื่อภิกษุมีประมาณ ๑๖ รูป ไว้ในเรือนของตน รับบาตรในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว กล่าวว่า "ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงมา, ขอพระอรหันต์ทั้งหลาย ผู้เจริญ จงนั่ง" เมื่อจะกล่าวคำอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็กล่าว-
คำประกอบเฉพาะด้วยวาทะว่าพระอรหันต์เท่านั้น. บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกที่เป็นปุถุชนคิดกันว่า "พราหมณ์นี้ มีความสำคัญในพวกเราว่าเป็นพระอรหันต์" พวกที่เป็นพระขีณาสพ ก็คิดว่า " พราหมณ์นี้ ย่อมรู้ความที่พวกเราเป็นพระขีณาสพ," ภิกษุแม้ทั้งหมดนั้น ประพฤติรังเกียจอยู่อย่างนี้ จึงไม่ไปสู่เรือนของพราหมณ์นั้น. พราหมณ์เป็นผู้มีทุกข์เสียใจ คิดว่า "ทำไมหนอแล พระผู้เป็นเจ้าจึงไม่มา" จึงไปยังวิหาร ถวายบังคมพระศาสดา กราบทูลเนื้อความนั้น.
พระศาสดาตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย ข้อนั้นเป็นอย่างไร "เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเนื้อความนั้นแล้ว, จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลายก็พวกเธอยังยินดีวาทะว่า เป็นพระอรหันต์ อยู่หรือ." พวกภิกษุ กราบทูลว่า พวกข้าพระองค์ไม่ยินดี พระเจ้าข้า. พระศาสดา ตรัสว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น, คำนั้น เป็นคำกล่าวด้วยความเลื่อมใสของมนุษย์ทั้งหลาย, ภิกษุทั้งหลาย ไม่เป็นอาบัติในเพราะการกล่าวด้วยความเลื่อมใส; ก็แลอีกอย่างหนึ่ง ความรักใคร่ในพระอรหันต์ทั้งหลายของพราหมณ์ มีประมาณยิ่ง;เหตุนั้น แม้พวกเธอตัดกระแสตัณหาแล้วบรรลุพระอรหันต์นั่นแล จึงควร" ดังนี้แล้ว
เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า:-
ฉินฺท โสต ปรกฺกมฺม กาเม ปนูท พฺราหฺมณ
สงฺขาราน ขย ตฺวา อกตญฺญูสิ พฺราหฺมณ. " พราหมณ์ ท่านจงพยายามตัดกระแสตัณหา,
จงบรรเทากามทั้งหลายเสีย, ท่านรู้ความสิ้นไปแห่ง สังขารทั้งหลายแล้ว เป็นผู้รู้พระนิพพานอันอะไรๆ กระทำไม่ได้ นะ พราหมณ์."



ความคิดเห็น 1    โดย Khaeota  วันที่ 28 มิ.ย. 2553

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ หน้าที่ 425

ข้อความจาก... เรื่องพราหมณ์ผู้มีความเลื่อมใสมาก

แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปรกฺกมฺม เป็นต้น ความว่า ขึ้นชื่อว่ากระแสตัณหาใครๆ ไม่อาจเพื่อจะตัดได้ด้วยความพยายามมีประมาณน้อย เหตุนั้นท่านจงพยายาม ตัดกระแสนั ด้วยความบากบั่นอย่างใหญ่ซึ่งสัมปยุต (ประกอบ) ด้วยญาณ คือจงบรรเทา ได้แก่ จงขับไล่กามแม้ทั้งสองเสียเถิด. คำว่า พฺราหฺมณ นั้น เป็นคำร้องเรียกพระขีณาสพทั้งหลาย.

บทว่า สงฺขาราน ความว่า รู้ความสิ้นไปแห่งขันธ์ ๕.

บทว่า อกตญฺญู ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านจะเป็นผู้ชื่อว่า อกตัญญ เพราะรู้พระนิพพาน อันอะไรๆ บรรดาโลกธาตุทั้งหลายมีทองคำเป็นต้น ทำไม่ได้.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดาปัตติผลเป็นต้น .