[เล่มที่ 15] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 99
๓. จักกวัตติสูตร
เรื่องพระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ หน้า 99
เรื่องแก้ว ๗ ประการ หน้า 100
เรื่องจักรแก้วทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่ หน้า 105
เรื่องอทินนาทาน หน้า 108
เรื่องปาณาติบาตทําให้อายุเสื่อม หน้า 111
เรื่องอกุศลกรรมบถทําให้อายุเสื่อม หน้า 112
เรื่องความเสื่อมของกุศล อกุศล หน้า 115
เรื่องการงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ อายุยืน หน้า 118
เรื่องการพึ่งตนพึ่งธรรม หน้า 120
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 15]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 99
๓. จักกวัตติสูตร
เรื่อง พระเจ้าจักรพรรดิทัฬหเนมิ
[๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เจ้าประทับอยู่ ณ เมืองมาตุลา ในแคว้นมคธ. ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัส ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง เป็นอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 100
เป็นเกาะ มีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่งอยู่ อย่างนี้แล. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน มารจักไม่ได้โอกาส จักไม่ได้อารมณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้ ย่อมเจริญขึ้นอย่างนี้ เพราะเหตุที่ถือมั่นธรรมทั้งหลายอันเป็นกุศล.
ว่าด้วยแก้ว ๗ ประการ
[๓๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว มีพระราชาจักรพรรดิพระนามว่า ทัฬหเนมิ ผู้ทรงธรรม ทรงเป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ แก้ว ๗ ประการมีดังนี้ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่๗. พระราชโอรสของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย้ำยีเสนาของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชํานะโดยธรรมสม่ําเสมอ มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดิน มีสาครเป็นขอบเขต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นโดยล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ท้าวเธอตรัสเรียกราชบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ในขณะที่ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ พึ่งบอกแก่เราทันที ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดํารัสของท้าวเธอแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้เห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 101
พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารซึ่งเป็นพระโอรสองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร ได้ยินว่าจักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อ ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว ก็พ่อได้ฟังมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิองค์ใด ถอยเคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้เสวยแล้ว บัดนี้ เป็นสมัยที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร พ่อจงปกครองแผ่นดิน อันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจักปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาดออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษีทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว.
[๓๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น ราชบุรุษคนหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้ว ถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น เมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ท้าวเธอได้ทรงเสียพระทัยและทรงเสวยความโทมนัส ท้าวเธอเสด็จเข้าไปหาพระราชฤาษี ถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์พึงทรงทราบว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 102
อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อท้าวเธอกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระราชฤาษีจึงตรัสกะท้าวเธอว่า ดูก่อนพ่อ พ่ออย่าเสียใจและอย่าเสวยความโทมนัสไปเลย ในเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ด้วยว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ หาใช่สมบัติสืบมาจากบิดาของพ่อไม่ ดูก่อนพ่อ เชิญพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้แล เมื่อพ่อประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ ครั้นถึงวันอุโบสถขึ้น ๑๕ ค่ํา จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ซึ่งมีกําพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง จักปรากฏมีแก่พ่อผู้สนานพระเศียร แล้วรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน. ท้าวเธอถามว่า พระพุทธเจ้าข้า ก็จักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น เป็นไฉน. ราชฤาษีตอบว่า ดูก่อนพ่อ ถ้าเช่นนั้นพ่อจงอาศัยธรรมเท่านั้น สักการะธรรม ทําความเคารพธรรม นับถือธรรม บูชาธรรม ยําเกรงธรรม มีธรรมเป็นธงชัย มีธรรมเป็นยอด มีธรรมเป็นใหญ่ จงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันเป็นธรรม ในชนภายใน ในหมู่พล ในหมู่กษัตริย์ผู้ได้รับราชาภิเษก ในหมู่กษัตริย์ประเทศราช ในพวกพราหมณ์และคฤหบดี ในชาวนิคมและชาวชนบททั้งหลาย ในพวกสมณพราหมณ์ ในเหล่าเนื้อและนก ดูก่อนพ่อ การกระทําสิ่งที่เป็นอธรรม อย่าเป็นไปในแว่นแคว้นของลูก อนึ่ง บุคคลเหล่าใดในแว่นแคว้นของพ่อ ไม่มีทรัพย์ พ่อพึงให้ทรัพย์แก่บุคคลเหล่านั้นด้วย อนึ่ง สมณพราหมณ์เหล่าใด ในแว่นแคว้นของลูก งดเว้นจากความเมาและความประมาท ตั้งมั่นอยู่ในขันติและโสรัจจะ ฝึกตนแต่ผู้เดียว สงบตนแต่ผู้เดียว ให้ตนดับกิเลสอยู่แต่ผู้เดียว พึงเข้าไปหาสมณพราหมณ์เหล่านั้น โดยกาลอันสมควร แล้วไต่ถามสอบถามว่า ท่านขอรับ กุศลคืออะไร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 103
อกุศลคืออะไร กรรมมีโทษคืออะไร กรรมไม่มีโทษคืออะไร กรรมอะไรควรเสพ กรรมอะไรไม่ควรเสพ กรรมอะไรอันข้าพเจ้ากระทําอยู่ พึงเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน หรือว่ากรรมอะไรที่ข้าพเจ้ากระทําอยู่ พึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน พ่อได้ฟังคําของสมณพราหมณ์เหล่านั้นแล้ว สิ่งใดเป็นอกุศล พึงละเว้นสิ่งนั้นเสีย สิ่งใดเป็นกุศล พึงถือมั่นสิ่งนั้นประพฤติ ดูก่อนพ่อ นี้แล คือจักกวัตติวัตรอันประเสริฐนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ท้าวเธอรับสนองพระดํารัสพระราชฤาษีแล้ว ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ เมื่อท้าวเธอทรงประพฤติจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ เมื่อถึงวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํา จักรแก้วอันเป็นทิพย์ ซึ่งมีกําพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่ท้าวเธอผู้สนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถอยู่ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบน ท้าวเธอทอดพระเนตรเห็นแล้ว มีพระดําริว่า ก็เราได้สดับมาว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ มีกําพันหนึ่ง มีกง มีดุม บริบูรณ์ด้วยอาการทุกอย่าง ปรากฏมีแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์พระองค์ใด ผู้ได้มูรธาภิเษก สนานพระเศียร ทรงรักษาอุโบสถ ณ ปราสาทอันประเสริฐชั้นบนในวันอุโบสถ ๑๕ ค่ํา พระราชาพระองค์นั้น เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เราได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิหรือหนอ.
[๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอเสด็จลุกจากพระที่แล้ว ทรงทําผ้าอุตตราสงค์เฉวียงพระอังสาข้างหนึ่ง จับพระเต้าด้วยพระหัตถ์ซ้าย ทรงประคองจักรแก้วด้วยพระหัตถ์ขวา แล้วตรัสว่า ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงหมุนไปทั่วโลกเถิด ขอจักรแก้วอันประเสริฐ จงชนะโลกทั้งปวงเถิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 104
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ขณะนั้น จักรแก้วนั้นก็หมุนไปทางทิศบูรพา พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป. พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ได้ไปประทับอยู่ ณ ประเทศที่จักรแก้วประดิษฐานอยู่.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศบูรพา พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว ราชอาณาจักรเหล่านี้ เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น ขอพระองค์จงทรงปกครองเถิด มหาราชเจ้า. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวคําเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศบูรพา ได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงไปสู่สมุทรด้านทิศบูรพา แล้วโผล่ขึ้นไปลงที่สมุทรด้านทิศทักษิณ แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศปัจฉิม. ท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาก็เสด็จติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใด ท้าวเธอก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น พร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช อยู่ ณ ทิศปัจฉิม ก็พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครองเถิด. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 105
คําเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศปัจฉิม ได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น จักรแก้วนั้น ก็ลงสู่สมุทรด้านทิศปัจฉิม แล้วโผล่ขึ้นไปสู่ทิศอุดร. พระเจ้าจักรพรรดิพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จติดตามไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักรแก้ว ประดิษฐานอยู่ ณ ประเทศใดท้าวเธอพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ก็เสด็จเข้าไปพักอยู่ ณ ประเทศนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายพระราชาอริราช ที่อยู่ ณ ทิศอุดร ก็พากันเสด็จเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ได้กราบทูลอย่างนี้ว่า ขอเชิญเสด็จมาเถิด มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาดีแล้ว มหาราชเจ้า อาณาจักรเหล่านี้เป็นของพระองค์ทั้งสิ้น มหาราชเจ้า ขอพระองค์ทรงปกครองเถิด. ท้าวเธอจึงตรัสอย่างนี้ว่า พวกท่านไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ไม่พึงประพฤติผิดในกามทั้งหลาย ไม่พึงกล่าวคําเท็จ ไม่พึงดื่มน้ำเมา จงเสวยสมบัติตามเดิมเถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกพระราชาอริราชที่อยู่ ณ ทิศอุดร ได้พากันตามเสด็จท้าวเธอไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น จักรแก้วนั้นได้ชนะวิเศษยิ่งซึ่งแผ่นดินมีสมุทรเป็นขอบเขตได้แล้ว จึงกลับคืนสู่ราชธานีนั้น ได้หยุดอยู่ที่ประตูพระราชวังของท้าวเธอ ปรากฏเหมือนเครื่องประดับ ณ มุขสําหรับทําเรื่องราว สว่างไสวอยู่ทั่วภายในพระราชวังของท้าวเธอ.
ว่าด้วยจักรแก้วทิพย์ถอยเคลื่อนจากที่
[๓๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระเจ้าจักรพรรดิองค์ที่ ๒ ก็ดี องค์ที่ ๓ ก็ดี องค์ที่ ๔ ก็ดี องค์ที่ ๕ ก็ดี องค์ที่ ๖ ก็ดี องค์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 106
ที่ ๗ ก็ดี โดยกาลล่วงไปหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี ได้ตรัสเรียกบุรุษคนหนึ่งมารับสั่งว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ ในขณะที่ท่านเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ พึงบอกแก่เราทันที.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นทูลสนองพระราชดํารัสของท้าวเธอแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โดยล่วงไปอีกหลายปี หลายร้อยปี หลายพันปี บุรุษนั้นได้แลเห็นจักรแก้วอันเป็นทิพย์ ถอยเคลื่อนจากที่ จึงเข้าไปเฝ้าท้าวเธอถึงที่ประทับ แล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า ขอพระองค์พึงทรงทราบ จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระองค์ ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอตรัสเรียกพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่มารับสั่งว่า ดูก่อนพ่อกุมาร ได้ยินว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพ่อ ถอยเคลื่อนจากที่แล้ว นั่นเป็นความสุขของพ่อ ก็พ่อได้สดับมาดังนี้ว่า จักรแก้วอันเป็นทิพย์ของพระเจ้าจักรพรรดิพระองค์ใด ถอยเคลื่อนจากที่ พระเจ้าจักรพรรดิพระองค์นั้น พึงทรงพระชนม์อยู่ได้ไม่นาน ในบัดนี้ ก็กามทั้งหลายอันเป็นของมนุษย์ พ่อได้เสวยแล้ว บัดนี้ เป็นสมัยที่พ่อจะแสวงหากามทั้งหลายอันเป็นทิพย์ มาเถิดพ่อกุมาร ลูกจงปกครองแผ่นดินอันมีสมุทรเป็นขอบเขตนี้ ฝ่ายพ่อจะปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้าย้อมน้ำฝาด ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต. ดูก่อนภิกษุทั้งหลายลําดับนั้น ท้าวเธอทรงสั่งสอนพระกุมารซึ่งเป็นโอรสองค์ใหญ่ ในราชสมบัติเรียบร้อยแล้ว ทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้าย้อมน้ำฝาด เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิตแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อพระราชฤาษี ทรงผนวชได้ ๗ วัน จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว.
[๓๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น บุรุษคนหนึ่งเข้าไป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 107
เฝ้าพระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกแล้วถึงที่ประทับ ครั้นแล้วได้กราบทูลว่า ขอเดชะ พระพุทธเจ้าข้า พระองค์ทรงทราบเถิด จักรแก้วอันเป็นทิพย์ อันตรธานไปแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอเมื่อจักรแก้วอันเป็นทิพย์อันตรธานไปแล้ว ได้ทรงเสียพระทัย และได้ทรงเสวยความโทมนัส แต่ไม่ได้เสด็จเข้าไปเฝ้าพระราชฤาษี ทูลถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ. นัยว่า ท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง เมื่อท้าวเธอทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เองอยู่ ประชาราษฎร์ก็ไม่เจริญต่อไป เหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น คณะอํามาตย์ ข้าราชบริพาร โหราจารย์และมหาอํามาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น คนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา ได้ประชุมกันกราบทูลท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า ได้ยินว่า เมื่อพระองค์ทรงปกครองประชาราษฎร์ตามพระมติของพระองค์เอง ประชาราษฎร์ไม่เจริญเหมือนเก่าก่อน เหมือนเมื่อกษัตริย์พระองค์ก่อนๆ ซึ่งได้ทรงประพฤติในจักกวัตติวัตรอันประเสริฐอยู่ พระพุทธเจ้าข้า ในแว่นแคว้นของพระองค์ มีอํามาตย์ ข้าราชบริพาร โหราจารย์ และมหาอํามาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น คนรักษาประตู และคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา อยู่พร้อมทีเดียว ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย คือข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายด้วยและประชาราษฎร์เหล่าอื่นด้วย ทรงจําจักกวัตติวัตรอันประเสริฐได้อยู่ ขอเชิญพระองค์โปรดตรัสถามถึงจักกวัตติวัตรอันประเสริฐเถิด พวกข้าพระพุทธเจ้าอันพระองค์ตรัสถามแล้ว จักกราบทูลแก้จักกวัตติวัตรอันประเสริฐถวายพระองค์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 108
ว่าด้วยอทินนาทาน
[๓๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอโปรดให้ประชุมอํามาตย์ ราชบริพาร โหราจารย์และมหาอํามาตย์ นายกองช้าง นายกองม้าเป็นต้น คนรักษาประตูและคนเลี้ยงชีพด้วยปัญญา แล้วตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐ. เขาเหล่านั้น อันท้าวเธอตรัสถามจักกวัตติวัตรอันประเสริฐแล้ว จึงกราบทูลแก้ถวายท้าวเธอ. ท้าวเธอได้ฟังคําทูลแก้ของพวกเขาแล้ว จึงทรงจัดการรักษาป้องกันและคุ้มครองอันชอบธรรม แต่ไม่ได้พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์. เมื่อไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนจึงได้ถึงความแพร่หลาย. เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย บุรุษคนหนึ่งจึงขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว แสดงแก่ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษคนนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคํานี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่าจริงพระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอถามว่า เพราะเหตุไร. บุรุษทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษเธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยทรัพย์นี้เถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดํารัสของท้าวเธอแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 109
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้บุรุษอีกคนหนึ่ง ก็ได้ขโมยทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคํานี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่าเธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไปจริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอตรัสถามว่าเพราะเหตุไร. บุรุษนั้นทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอจึงพระราชทานทรัพย์ให้แก่เขา แล้วรับสั่งว่า พ่อบุรุษ เธอจงเลี้ยงชีพ จงเลี้ยงมารดาบิดา จงเลี้ยงบุตรภรรยา จงประกอบการงานทั้งหลาย จงตั้งทักษิณาที่มีผลในเบื้องบน อันเกื้อกูลแก่สวรรค์ มีสุขเป็นผล เป็นไปเพื่อสวรรค์ในสมณพราหมณ์ทั้งหลาย ด้วยทรัพย์นี้เถิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เขาได้สนองพระราชดํารัสของท้าวเธอแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังมาว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า คนขโมยทรัพย์ของคนพวกอื่นไป พระเจ้าแผ่นดิน ยังทรงพระราชทานทรัพย์ให้อีก. พวกเขาได้ยินมา จึงพากันคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเรา ก็ควรขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นบ้าง.
[๔๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่ท้าวเธอว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคํานี้กะบุรุษผู้นั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 110
คนอื่นไป จริงหรือ. บุรุษนั้นทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า. ท้าวเธอตรัสถามว่า เพราะเหตุไร. บุรุษนั้นทูลว่า เพราะข้าพระพุทธเจ้าไม่มีอะไรจะเลี้ยงชีพ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น ท้าวเธอจึงทรงพระดําริอย่างนี้ว่า ถ้าเรา จักให้ทรัพย์แก่คนที่ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นเสมอไป อทินนาทานนี้ จักเจริญทวีขึ้นด้วยประการอย่างนี้ อย่ากระนั้นเลย เราจะให้คุมตัวบุรุษผู้นี้ให้แข็งแรง จะทําการตัดต้นตอ ตัดศีรษะของบุรุษนั้นเสีย. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้นท้าวเธอ ตรัสสั่งบังคับราชบุรุษทั้งหลายว่า แน่ะ พนาย ถ้าเช่นนั้นท่านจงเอาเชือกเหนียวๆ มัดบุรุษนี้ ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกน โกนศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยบัณเฑาะก์เสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ จงคุมตัวให้แข็งแรงทําการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้นเสีย นอกพระนครทิศทักษิณ ราชบุรุษทั้งหลายรับพระราชดํารัสของท้าวเธอแล้ว จึงเอาเชือกเหนียวมัดบุรุษนั้น ให้มือไพล่หลังให้แน่น เอามีดโกน โกนศีรษะให้โล้น แล้วพาตระเวนตามถนน ตามตรอก ด้วยกลองพิฆาตเสียงกร้าว ออกทางประตูด้านทักษิณ คุมตัวให้แข็งแรง ทําการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุรุษนั้น นอกพระนครทิศทักษิณแล้ว.
[๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ทั้งหลายได้ฟังว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า พระเจ้าแผ่นดิน ได้คุมตัวบุคคลผู้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นอย่างแข็งแรง ทําการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกเขาเสีย. ครั้นได้ฟังมา พวกเขาจึงมีความคิดเห็นอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย แม้พวกเราควรให้ช่างทําศัสตราอย่างคมๆ ครั้นแล้ว จะคุมตัวคนที่เราจับขโมยได้ให้แข็งแรง จักทําการตัดต้นตอ ตัดศีรษะพวกมันเสีย. พวกเขาจึงให้ช่างทําศัสตราอย่างคม. ครั้นแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 111
จึงเริ่มทําการปล้นบ้านบ้าง ปล้นนิคมบ้าง ปล้นพระนครบ้าง ปล้นตามถนนหนทางบ้าง คุมตัวพวกที่จับขโมยไว้อย่างแข็งแรง ทําการตัดต้นตอ ตัดศีรษะบุคคลเหล่านั้นเสีย.
ว่าด้วยปาณาติบาตทําให้อายุเสื่อม
[๔๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุแปดหมื่นปี ก็มีอายุถอยลง เหลือสี่หมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสี่หมื่นปี บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. เขาช่วยกันจับบุรุษนั้นได้แล้ว จึงแสดงแก่พระราชาผู้เป็นกษัตรย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษกว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษผู้นี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเขาพากันกราบทูลอย่างนี้แล้ว ท้าวเธอจึงตรัสคํานี้กะบุรุษนั้นว่า พ่อบุรุษ ได้ยินว่า เธอขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป จริงหรือ. บุรุษนั้นได้กราบทูลคําเท็จทั้งที่รู้อยู่ว่า ไม่จริงเลย พระพุทธเจ้าข้า.
[๔๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 112
ทาน ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสี่หมื่นปี ก็มีอายุสองหมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองหมื่นปี บุรุษคนหนึ่งขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป บุรุษอีกคนหนึ่ง จึงกราบทูลแก่พระราชาผู้เป็นกษัตริย์ ซึ่งได้มูรธาภิเษก ได้กระทําการส่อเสียดว่า พระพุทธเจ้าข้า บุรุษชื่อนี้ขโมยเอาทรัพย์ของคนอื่นไป.
[๔๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชทานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย ฯลฯ ปิสุณวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปิสุณวาจาถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุสองหมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งหมื่นปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุหนึ่งหมื่นปี สัตว์บางพวกมีวรรณะดี สัตว์บางพวกมีวรรณะไม่ดี ในสัตว์สองพวกนั้น สัตว์พวกที่มีวรรณะไม่ดี ก็เพ่งเล็งสัตว์พวกที่มีวรรณะดี ถึงความประพฤติล่วงในภรรยาของคนอื่น.
ว่าด้วยอกุศลกรรมบถทําให้อายุเสื่อม
[๔๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ไม่พระราชทานทรัพย์ ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทาน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 113
ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจาร ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุหนึ่งหมื่นปี ก็มีอายุถอยลงเหลือห้าพันปี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุห้าพันปี ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจา และสัมผัปปลาปะ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการ ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุห้าพันปี บางพวกมีอายุถอยลงสองพันห้าร้อยปี บางพวกมีอายุถอยลงสองพันปี.
. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุสองพันปี อภิชฌาและพยาบาท ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาท ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีสองพันห้าร้อยปี ก็มีอายุถอยลงเหลือหนึ่งพันปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุหนึ่งพันปี มิจฉาทิฏฐิ ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิ ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุหนึ่งพันปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๕๐๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๕๐๐ ปี ธรรม ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภะ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 114
ก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อพวกเขาเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๕๐๐ ปี บางพวกมีอายุถอยลง ๒๕๐ ปี บางพวกมีอายุถอยลง ๒๐๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๒๕๐ ปี. ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ความไม่อ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังพรรณนามานี้ เมื่อพระมหากษัตริย์ ไม่พระราชหานทรัพย์ให้แก่คนที่ไม่มีทรัพย์ ความขัดสนก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อความขัดสนถึงความแพร่หลาย อทินนาทานก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออทินนาทานถึงความแพร่หลาย ศัสตราก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อศัสตราถึงความแพร่หลาย ปาณาติบาตก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อปาณาติบาตถึงความแพร่หลาย มุสาวาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมุสาวาทถึงความแพร่หลาย ปิสุณวาจาก็ได้ถึงความแพร่หลายเมื่อปิสุณวาจาถึงความแพร่หลาย กาเมสุมิจฉาจารก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อกาเมสุมิจฉาจารถึงความแพร่หลาย ธรรม ๒ ประการ คือ ผรุสวาจาและสัมผัปปลาปะก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๒ ประการถึงความแพร่หลาย อภิชฌาและพยาบาทก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่ออภิชฌาและพยาบาทถึงความแพร่หลาย มิจฉาทิฏฐิก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อมิจฉาทิฏฐิถึงความแพร่หลาย ธรรม ๓ ประการ คือ อธรรมราคะ วิสมโลภะ มิจฉาธรรม ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม ๓ ประการถึงความแพร่หลาย ธรรมเหล่านี้คือ ความไม่ปฏิบัติชอบในมารดา ความไม่ปฏิบัติชอบในบิดา ความไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ ความไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ความไม่อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล ก็ได้ถึงความแพร่หลาย เมื่อธรรม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 115
เหล่านี้ถึงความแพร่หลาย แม้อายุของสัตว์เหล่านั้นก็เสื่อมถอย แม้วรรณะก็เสื่อมถอย เมื่อสัตว์เหล่านั้นเสื่อมถอยจากอายุบ้าง เสื่อมถอยจากวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ที่มีอายุ ๒๕๐ ปี ก็มีอายุถอยลงเหลือ ๑๐๐ ปี.
ว่าด้วยความเสื่อมของกุศล อกุศล
[๔๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักมีสมัยที่มนุษย์เหล่านี้ มีบุตรอายุ ๑๐ ปี ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี เด็กหญิงมีอายุ ๕ ปี จักสมควรมีสามีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี รสเหล่านี้ คือเนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย และเกลือ จักอันตรธานไปสิ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ จักเป็นอาหารอย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้าวสาลี เนื้อ ข้าวสุก จักเป็นอาหารอย่างดี ในบัดนี้ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี หญ้ากับแก้ ก็จักเป็นอาหารอย่างดี ฉันนั้นเหมือนกัน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี กุศลกรรมบถ ๑๐ จักอันตรธานไปหมดสิ้น อกุศลกรรมบถ ๑๐ จักรุ่งเรืองเหลือเกิน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ปี แม้แต่ชื่อว่ากุศล ก็จักไม่มี และคนทํากุศล จักมีแต่ที่ไหน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี คนทั้งหลายจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา จักไม่ปฏิบัติชอบในบิดา จักไม่ปฏิบัติชอบในสมณะ จักไม่ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ จักไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นก็จักได้การบูชา และได้รับการสรรเสริญ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คนปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล เขาเหล่านั้นจักได้รับการบูชาและได้รับการสรรเสริญฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่ปฏิบัติชอบในมารดา บิดา สมณพราหมณ์ ไม่ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 116
ในตระกูล เขาเหล่านั้น จักได้รับการบูชาและการสรรเสริญฉันนั้นเหมือนกัน ในบัดนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี เขาจักไม่มีจิตคิดเคารพยําเกรงว่า นี่แม่ นี่น้า นี่พ่อ นี่อา นี่ป้า นี่ภรรยาของอาจารย์ หรือว่านี่ภรรยาของท่านที่เคารพทั้งหลาย สัตว์โลกจักถึงความสมสู่ปะปนกันหมด เปรียบเหมือนแพะ ไก่ สุกร สุนัขบ้าน สุนัขจิ้งจอก ฉะนั้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นต่างก็จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน มารดากับบุตรก็ดี บุตรกับมารดาก็ดี บิดากับบุตรก็ดี บุตรกับบิดาก็ดี พี่ชายกับน้องหญิงก็ดี น้องหญิงกับพี่ชายก็ดี จักเกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่ากันอย่างแรงกล้า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายพรานเนื้อเห็นเนื้อเข้า เกิดความอาฆาต ความพยาบาท ความคิดร้าย ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้า ฉันใด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อมนุษย์ทั้งหลายมีอายุ ๑๐ ปี สัตว์เหล่านั้นจักมีความอาฆาตฯ ความคิดจะฆ่าอย่างแรงกล้าในกันและกัน ฉันนั้นเหมือนกัน.
[๔๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุ๑๐ ปี จักมีสัตถันตรกัป สิ้น ๗ วัน มนุษย์เหล่านั้นจักสําคัญกันและกันว่าเป็นเนื้อ ศัสตราทั้งหลายอันคม จักปรากฏมีในมือของพวกเขา พวกเขาจะฆ่ากันเองด้วยศัสตราอันคมนั้น โดยสําคัญว่า นี้เนื้อ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สัตว์เหล่านั้นบางพวก มีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราอย่าฆ่าใครๆ และใครๆ ก็อย่าฆ่าเรา อย่ากระนั้นเลย เราควรเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะ หรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่สัก ๗ วัน เขาพากันเข้าไปตามป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 117
เกาะหรือซอกเขา มีรากไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารเลี้ยงชีวิตอยู่ตลอด ๗ วัน. เมื่อล่วง ๗ วันไป เขาพากันออกจากป่าหญ้าสุมทุมป่าไม้ ระหว่างเกาะหรือซอกเขา แล้วต่างสวมกอดกันและกัน จักขับร้องปลอบใจกันในที่ประชุมว่า สัตว์ผู้เจริญ เราพบเห็นกันแล้ว ท่านยังมีชีวิตอยู่หรือๆ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น สัตว์เท่านั้น จักมีความคิดอย่างนี้ว่า เราถึงความสิ้นญาติอย่างใหญ่เห็นปานนี้ เหตุเพราะสมาทานธรรมที่เป็นอกุศล อย่ากระนั้นเลย เราควรทํากุศล ควรทำกุศลอะไร เราควรงดเว้นปาณาติบาต ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เขาจักงดเว้นจากปาณาติบาต จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม พวกเขาจักเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของมนุษย์ทั้งหลายที่มีอายุ ๑๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๒๐ ปี.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลําดับนั้น สัตว์เหล่านั้นจักมีความคิดอย่างนี้ว่า พวกเราเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรทํากุศลยิ่งๆ ขึ้นไป ควรทํากุศลอะไร พวกเราควรงดเว้นจากอทินนาทาน ควรงดเว้นจากกาเมสุมิจฉาจาร ควรงดเว้นจากมุสาวาท ควรงดเว้นจากปิสุณวาจา ควรงดเว้นจากผรุสวาจา ควรงดเว้นจากสัมผัปปลาปะ ควรละอภิชฌา ควรละพยาบาท ควรละมิจฉาทิฏฐิ ควรละธรรม ๓ ประการคือ อธรรมราคะ วิสมโลภะ มิจฉาธรรม อย่ากระนั้นเลย พวกเราควรปฏิบัติชอบในมารดา ควรปฏิบัติชอบในบิดา ควรปฏิบัติชอบในสมณะ ควรปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประพฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล ควรสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ. เขาเหล่านั้น จักปฏิบัติชอบในมารดา ปฏิบัติชอบในบิดา ปฏิบัติชอบในสมณะ ปฏิบัติชอบในพราหมณ์ ประ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 118
พฤติอ่อนน้อมต่อท่านผู้ใหญ่ในตระกูล จักสมาทานกุศลธรรมนี้แล้วประพฤติ เพราะเหตุที่สมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เขาเหล่านั้นจักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง เมื่อเขาเหล่านั้นเจริญด้วยอายุบ้าง เจริญด้วยวรรณะบ้าง บุตรของคนผู้มีอายุ ๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๔๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๘๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๘๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๑๖๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๑๖๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้น ๓๒๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๓๒๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึง ๖๔๐ ปี. บุตรของคนผู้มีอายุ ๖๔๐ ปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสองพันปี. บุตรของคนผู้มีอายุสองพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่พันปี. บุตรของคนผู้มีอายุสี่พันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงแปดพันปี. บุตรของคนผู้มีอายุแปดพันปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสองหมื่นปี. บุตรของคนผู้มีอายุสองหมื่นปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงสี่หมื่นปี. บุตรของคนผู้มีอายุสี่หมื่นปี จักมีอายุเจริญขึ้นถึงแปดหมื่นปี.
ว่าด้วยการงดเว้นอกุศลกรรมบถ ๑๐ อายุยืน
[๔๘] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เด็กหญิงมีอายุ ๕๐๐ ปี จึงจักสมควรมีสามีได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักเกิดมีอาพาธ ๓ อย่างคือ ความอยากกิน ๑ความไม่อยากกิน ๑ ความแก่ ๑ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ จักมั่งคั่งและรุ่งเรือง มีบ้านนิคมและราชธานีพอชั่วไก่บินตก. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ชมพูทวีปนี้ ประหนึ่งว่าอเวจีนรก จักยัดเยียดไปด้วยผู้คนทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้อ้อ หรือป่าไม้แก่น ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี เมืองพาราณ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 119
สีนี้ จักเป็นราชธานีมีนามว่าเกตุมดี เป็นเมืองที่มั่งคั่งและรุ่งเรือง มีพลเมืองมาก มีผู้คนคับคั่ง และมีอาหารสมบูรณ์. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี ในชมพูทวีปนี้ จักมีเมืองแปดหมื่นสี่พันเมือง มีเกตุมดีราชธานีเป็นประมุข.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์มีอายุแปดหมื่นปี จักมีพระเจ้าจักรพรรดิ ทรงพระนามว่า พระเจ้าสังขะ ทรงอุบัติขึ้น ณ เมืองเกตุมดีราชธานี เป็นผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีราชอาณาจักรมั่นคงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือจักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว แก้วมณี นางแก้ว คฤหบดีแก้ว ปริณายกแก้วเป็นที่ ๗. พระราชบุตรของพระองค์มีกว่าพัน ล้วนกล้าหาญ มีรูปทรงสมเป็นวีรกษัตริย์ สามารถย่ํายีเสนาของข้าศึกได้. พระองค์ทรงชํานะโดยธรรม มิต้องใช้อาชญา มิต้องใช้ศัสตรา ครอบครองแผ่นดินมีสาครเป็นขอบเขต.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์อายุแปดหมื่น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าเมตไตรย์ จักเสด็จอุบัติขึ้นในโลก พระองค์เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม เหมือนตถาคตอุบัติขึ้นแล้วในโลกในบัดนี้ เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม. พระผู้มีพระภาคพระนามว่า เมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงทําโลกนี้ พร้อมเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เองแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 120
ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม เหมือนตถาคตในบัดนี้ ทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตถาคตเองแล้ว สอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตามอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เหมือนตถาคตในบัดนี้ แสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง. พระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าเมตไตรย์พระองค์นั้น จักทรงบริหารภิกษุสงฆ์หลายพัน เหมือนตถาคตบริหารภิกษุสงฆ์หลายร้อย ในบัดนี้ ฉะนั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น พระเจ้าสังขะ จักทรงให้ยกขึ้นซึ่งปราสาทที่พระจ้ามหาปนาทะทรงสร้างไว้ แล้วประทับอยู่ แล้วจักทรงสละ จักทรงบําเพ็ญทาน แก่สมณพราหมฌ์ คนกําพร้า คนเดินทาง วณิพก และยาจกทั้งหลาย จักทรงปลงพระเกศาและพระมัสสุ ทรงครองผ้ากาสาวพัสตร์ เสด็จออกจากเรือน ทรงผนวชเป็นบรรพชิต ในสํานักของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าเมตไตรย์ ท้าวเธอทรงผนวชอย่างนี้แล้ว ทรงปลีกพระองค์อยู่แต่ผู้เดียวไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว ไม่ช้านัก ก็จักทรงทําให้แจ้ง ซึ่งประโยชน์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายพากันออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ อันเป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ด้วยพระปัญญาอันยิ่งด้วยพระองค์เอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่.
ว่าด้วยการพึ่งตนพึ่งธรรม
[๔๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 121
เป็นที่พึ่ง อย่ามีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ อย่างไรเล่า.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นที่พึ่ง ไม่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะอยู่ อย่างนี้แล.
[๕๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อเธอทั้งหลายเที่ยวไปในโคจร ซึ่งเป็นวิสัยอันสืบมาจากบิดาของตน จักเจริญด้วยอายุบ้าง จักเจริญด้วยวรรณะบ้าง จักเจริญด้วยสุขบ้าง จักเจริญด้วยโภคะบ้าง จักเจริญด้วยพละบ้าง.
ว่าด้วยธรรมที่ทำให้อายุเป็นต้นเจริญ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องอายุของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร จิตตสมาธิปธานสังขาร วิมังสาสมาธิปธานสังขาร เธอนั้น เพราะเจริญอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เพราะกระทําให้มากซึ่งอิทธิบาท ๔ เหล่านี้ เมื่อปรารถนา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 122
ก็พึงตั้งอยู่ได้ถึงกัป ๑ หรือเกินกว่ากัป ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องอายุของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องวรรณะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีศีล สํารวมระวังในพระปาติโมกข์ ถึงพร้อมด้วยมรรยาทและโคจร มีปกติเห็นภัยในโทษเพียงเล็กน้อย สมาทานศึกษาอยู่ในสิกขาบททั้งหลาย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องวรรณะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องสุขของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องสุขของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องโภคะของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตประกอบด้วยเมตตา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยเมตตาอัน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค เล่ม ๓ ภาค ๑ - หน้า 123
ไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน. มีจิตประกอบ ด้วยกรุณาฯ มุทิตาฯ อุเบกขา แผ่ไปตลอดทิศ ๑ อยู่ ทิศที่ ๒ ทิศที่ ๓ ทิศที่ ๔ ก็เหมือนกัน ตามนัยนี้ ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ด้วยจิตประกอบด้วยอุเบกขาอันไพบูลย์ ถึงความเป็นใหญ่ หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน แผ่ไปตลอดโลก ทั่วสัตว์ทุกเหล่า ในที่ทุกสถาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นอธิบายในเรื่องโภคะของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในเรื่องพละของภิกษุ มีอธิบายอย่างไร. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ และปัญญาวิมุติ อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฏฐธรรมเทียว เข้าถึงอยู่. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้แล เป็นคําอธิบายในเรื่องพละของภิกษุ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เล็งเห็นแม้กําลังสักอย่างหนึ่งอื่น อันข่มได้แสนยาก เหมือนกําลังของมารนี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญนี้จะ เจริญขึ้นได้อย่างนี้ เพราะเหตุถือมั่นกุศลธรรมทั้งหลาย
พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว. ภิกษุเหล่านั้น ยินดี ชื่นชม พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.
จบจักกวัตติสูตรที่ ๓