ญาณสัญญิกเถราปทานที่ ๒ (๑๐๒) ว่าด้วยผลแห่งการยังจิตให้เลื่อมใสถวายบังคม
โดย บ้านธัมมะ  27 พ.ย. 2564
หัวข้อหมายเลข 41092

[เล่มที่ 71] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 356

เถราปทาน

ภิกขทายิวรรคที่ ๑๑

ญาณสัญญิกเถราปทานที่ ๒ (๑๐๒)

ว่าด้วยผลแห่งการยังจิตให้เลื่อมใสถวายบังคม


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 71]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 356

ญาณสัญญิกเถราปทานที่ ๒ (๑๐๒)

ว่าด้วยผลแห่งการยังจิตให้เลื่อมใสถวายบังคม

[๑๐๔] เราได้เห็นพระสัมพุทธเจ้า ผู้มีพระฉวีวรรณดังทอง ผู้ องอาจดุจม้าอาชาไนย ดังช้างมาตังคะตกมัน ๓ ครั้ง ผู้แสวง หาคุณยิงใหญ่ ทรงยังทิศทั้งปวงให้สว่างไสว เหมือนพญารัง มีดอกบาน เป็นเชษฐบุรุษของโลก สูงกว่านระ เสด็จดำเนิน ไปในถนน.

ยังจิตให้เลื่อมใสในพระญาณ ประนมอัญชลี มีจิตเลื่อม. ใส มีใจโสมนัส ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า พระนาม ว่าสิทธัตถะ.

ในกัปที่ ๙๔ แต่กัปนี้ เราได้ทำกรรมใดในกาลนั้น ด้วย กรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่งสัญญาในพระญาณ.

ในกัปที่ ๗๓ แต่กัปนี้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๑๖ ครั้ง มีพระนามว่านรุตตมะ ทรงสมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ มี พละมาก.

คุณวิเศษเหล่านี้ คือ ปฏิสัมภิทา ๔ วิโมกข์ ๘ และ อภิญญา ๖ เราทำให้แจ้งชัดแล้ว คำสอนของพระพุทธเจ้า เรารู้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้.

ทราบว่า ท่านพระญาณสัญญิกเถระได้กล่าวคาถาเหล่านี้ ด้วย ประการฉะนี้แล.

จบญาณสัญญิกเถราปทาน


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 357

๑๐๒. อรรถกถาญาณสัญญิกเถราปทาน

อปทานของท่านพระญาณสัญญิกเถระ มีคำเริ่มต้นว่า สุวณฺณวณฺณํ สมพุทฺธํ ดังนี้.

อะไรเป็นอุบัติเหตุ? พระเถระแม้นี้ ได้บำเพ็ญกุศลสมภาใน พระพุทธเจ้าองค์ก่อนๆ สั่งสมบุญทั้งหลายอันเป็นอุปนิสัยแก่พระนิพพาน ในภพนั้นๆ ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่า สิทธัตถะ บังเกิด ในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่ง เจริญวัยแล้วเกิดศรัทธา มีความเอื้อเฟื้อ มีความ อาลัยในการฟังพระสัทธรรม ส่งญาณไปตามกระแสพระธรรมเทศนาของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เลื่อมใสญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะความที่ ตนเป็นผู้หนักในเสียง กระทำการนอบน้อมด้วยองค์ ๕ และองค์ ๘ แล้ว หลีกไป. ท่านจุติจากอัตภาพนั่นแล้ว เกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติ ในฉกามาวจรเทวโลกนั้น จุติจากเทวโลกนั้น เกิดในมนุษยโลก เสวย จักรพรรดิสมบัติเป็นต้น อันเป็นเลิศในมนุษย์โลกนั้น ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูลแห่งหนึ่งอันสมบูรณ์ด้วยทรัพย์สมบัติ เจริญ วัยแล้ว เลื่อมใสในพระศาสดา บวชแล้วไม่นานนักก็ได้เป็นพระอรหันต์.

ครั้นภายหลัง ท่านระลึกถึงบุพกรรมของตน เกิดโสมนัส เมื่อจะ ประกาศปุพพจริตาปทาน จึงกล่าวคำมีอาทิว่า สุวณฺณวณฺณํ สมพุทฺธํ ดังนี้. คำนั้นมีอรรถดังกล่าวแล้วนั้นแล. บทว่า นิสภาชานิยํ ยถา ความว่า เป็นโคผู้องอาจประเสริฐกว่าโคตั้งแสนตัว. ชื่อว่า นิสภาชานิยะ เพราะเป็นโคผู้ประเสริฐและสูงสุด. อธิบายว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อม


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 17 มี.ค. 2565

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย อปทาน เล่ม ๘ ภาค ๒ - หน้า 358

เป็นเหมือนโคผู้ตัวประเสริฐฉะนั้น. ท่านกล่าวไว้อย่างนั้น ด้วยอำนาจ บัญญัติ รู้กันตามวิสัยแห่งโลก เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าหาผู้เปรียบมิได้. คำที่เหลือในบททั้งปวงมีอรรถง่ายทั้งนั้นแล.

จบอรรถกถาญาณสัญญิกเถราปทาน