เนื่องจากเหตุผลใดก็แล้วแต่ที่ไม่ได้ไปทำบุญกระดูกบิดามารดา แต่มีอยู่เหตุผลหนึ่งคือ เมื่อพ่อแม่ของเราล่วงลับไปแล้วแล้วนำกระดูกไปไว้ที่วัด (ตามสถานที่ที่ทางวัดจัดไว้ให้) คิดว่าพ่อแม่ของเรา ก็คงไม่ได้อยู่ที่ตรงนั้น ท่านก็คงไปเกิดตามกรรมของท่านแต่การที่ไปทำบุญเนื่องในวันสำคัญตามประเพณีนิยมคงเป็นกุศโลบายให้มีการรวมญาติพ่อน้องกันมากกว่า พ่อแม่ของเราคงไม่รับรู้หรือรู้เรื่องอะไร ดังนั้นการที่เราไม่ได้ไปทำบุญกระดูกร่วมกับพี่น้องจะถือว่าเป็นการเนรคุณต่อพ่อแม่หรือเปล่า เพราะคิดว่า การที่ทำบุญต่างๆ เท่าที่ทำได้ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ แล้วก็กรวดน้ำให้ท่าน ก็คิดว่าน่าจะทดแทนกันได้แล้วไม่ได้ต่อต้าน แต่ทำไมต้องเป็นแบบนี้
คำว่า " เนรคุณ " หมายถึงการไม่รู้คุณ ทรยศต่อผู้มีคุณ ลบหลู่คุณท่านฯ กตัญญูกตเวทีคือ การรู้คุณและกระทำการตอบแทน สำหรับมารดาบิดาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ควรตอบแทนด้วยข้าวน้ำ ด้วยวัตถุสิ่งของต่างๆ และธรรมะเมื่อท่านล่วงลับไปแล้ว กระทำตอบแทนคุณท่านโดยกระทำบุญแล้วอุทิศส่วนบุญให้ท่าน อนุโมทนา ในส่วนประเพณีนิยมก็มีประโยชน์อยู่บ้างสำหรับผู้ไม่ได้ศึกษาพระธรรม มีโอกาสได้เจริญกุศล แต่ผู้ที่ศึกษาพระธรรมแล้ว ย่อมไม่รอเพียงวันนั้นเท่านั้น ทำทุกครั้งที่มีโอกาส แต่ก็ไม่ควรคิดว่าได้ทดแทนกันหมดแล้ว เพราะบุญคุณของท่านมีมากเหลือเกิน ขออนุโมทนาในความเข้าใจถูกครับ
การที่ไม่ได้ไปทำบุญกระดูกกับพี่น้องไม่ถือว่าเป็นการเนรคุณต่อพ่อแม่ เพียงแต่คนโบราณเขาอยากให้ญาติพี่น้องได้มาพบกัน ถ้าไม่มีเหตุเขาก็ไม่มา ถ้าเราไม่ได้ไป เราก็ทำบุญแล้วอุทิศกุศลไปให้ท่านค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของท่านผู้ตั้งกระทู้ครับ
ขออนุโมทนากับผู้ที่ตั้งคำถามค่ะ เพราะมีข้อสงสัยเช่นเดียวกันค่ะ
เมื่อก่อนก็เคยสงสัยค่ะ แต่นานเข้าจึงพอรู้ว่าทุกโอกาสที่ทำกุศลหรือระลึกถึงกุศลได้ ก็ยกอุทิศส่วนกุศลนั้นให้กับญาติมิตรผู้ล่วงลับไปแล้วอนุโมทนาได้
ขออนุโมทนาในความเข้าใจและกุศลจิตที่คุณมีค่ะ
พี่ชายดิฉันก็เหมือนกันค่ะ ไม่เคยไปทำบุญสงกรานต์ที่บ้านเลย เขาจะไปทำแต่บ้านพี่สะใภ้ที่สุโขทัยตลอด ดิฉันก็ไม่ว่าอะไรเพราะทำที่ไหนก็เหมือนกัน ไม่จำเป็นต้องเป็นที่วัดบ้านเราที่พ่อแม่เคยทำ การทำบุญสงกรานต์ก็คงทำตามประเพณี และเป็นกลอุบายให้ญาติพี่น้องมาพบกันเพราะหยุดหลายวัน
การกระทำทุกอย่าง ถ้าไม่ประกอบด้วยความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิในมรรคมีองค์ ๘) หรือทิฏฐุชุกรรม (ในบุญญกิริยาวัตถุ ๑๐) มักจะทำตามๆ กันไปโดยไม่รู้ หากเข้าใจความหมายของ ๒ ข้อข้างต้น ไม่ว่าจะร่วมกิจกรรมอะไร เช่น ประเพณีต่างๆ คุณจะทราบเอง ว่าอะไรควรอะไรไม่ควร