อีก ๓ วันก็จะถึงวันอาสาฬหบูชา ขอเรียนถามเกี่ยวกับวินัยของสงฆ์ เมื่อพระภิกษุรับบิณฑบาตเต็มบาตรแล้ว จะรับอีกได้หรือไม่ ส่วนอาหารที่ท่านได้แล้วควรกระทำอย่างไรตามวินัย
พระบัญญัติ เรื่องการรับอาหารของพระภิกษุสงฆ์ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติไว้ในพระวินัยปิฎก เสขิยวัตรสิกขาบทโภชนปฏิสังยุตต์ ขัมภกตวรรค สิขาบทที่ ๑๐ ว่า ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจะรับบิณฑบาตเพียงเสมอขอบบาตรถ้าภิกษุไม่เอื้อเฟื้อรับเกิน เป็นอาบัติทุกกฏ อาหารที่พระภิกษุรับไปแล้ว ท่านสามารถเก็บไว้ฉันชั่วเวลาเช้าถึงเที่ยง เกินกว่านั้นไปฉันไม่ได้ จะเก็บไว้ฉันวันพรุ่งนี้ก็ไม่ได้ ต้องสละทิ้ง ขอเชิญอ่านต่อที่นี่
การที่ภิกษุรับบิณฑบาต จนเต็มบาตร
พระภิกษุไม่ควรรับบิณฑบาตเกิน ๓ บาตร
นำอาหารแห้งใส่บาตร เช่น ข้าวสาร อาหารกระป่อง ผิดหรือไม่
ทุกวันดิฉันก็จะใส่บาตร การที่พระรับบิณฑบาตรของที่ใส่เต็มบาตรแล้ว มีลูกศิษย์ มาช่วยหยิบของออกจากบาตร และเดินรับบาตรต่อไป ถือว่าผิดวินัยสงฆ์ หรือไม่
ชีวิตของบรรพชิตเป็นชีวิตที่เนื่องด้วยคฤหัสถ์ เพราะต้องอาศัยปัจจัย ๔ จากคฤหัสถ์ ปัจจัย ๔ คือ อาหารบิณฑบาต ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ดังนั้นอุบาสก อุบาสิกา ควรมีความเข้าใจว่าบรรพชิตพึงเป็นผู้สันโดษ และเป็นผู้เลี้ยงง่ายค่ะ
ขอเรียนถามเพิ่ม ในเรื่องอาหาร ภิกษุผู้รับบิณฑบาต สามารถเลือกรับอาหารได้หรือไม่ เพื่อเหมาะแก่อาพาธของท่าน
ถ้าพระภิกษุป่วย ปฏิเสธไม่รับอาหารได้ บอกว่าให้กับภิกษุรูปอื่น แต่พระภิกษุจะเอ่ยปากขออาหารไม่ได้ ยกเว้น เขาปาวารนาไว้เท่านั้น หรือป่วย แต่ถ้าป่วยถึงเขาไม่ได้ปาวารนาก็ขอยารักษาโรคได้ค่ะ
คำว่าปฏิเสธไม่รับอาหารได้นั้น หมายถึงในขณะใด ถ้าท่านอาพาธเล็กน้อยแต่สามารถออกไปบิณฑบาตได้ขณะที่ท่านเดินบิณฑบาตนั้น การปฏิเสธและเลือกรับอาหารบิณฑบาตควรเป็นอย่างไร
การออกบิณฑบาตเป็นวงศ์ของพระพุทธเจ้า เพราะอาศัยอาหารที่คฤหัสถ์ถวายมาจึงทำให้ชีวิตเป็นไปได้ พระภิกษุผู้ที่สามารถออกบิณฑบาตได้ ไม่ควรกล่าวปฏิเสธในการเลือกรับอาหาร เพราะบรรพชิตพึงเป็นบุคคลผู้เลี้ยงง่าย แต่ถ้าหากว่าท่านเป็นผู้ที่ป่วย เมื่อได้อาหารมาเป็นอาหารที่แสลงต่อโรค หรือทำให้โรคกำเริบขึ้นก็ปฏิเสธไม่รับอาหารนั้น หรือรับมาแล้วก็สามารถแลกเปลี่ยนกับเพื่อนภิกษุด้วยกันได้ค่ะ
ยินดีในกุศลจิตค่ะ