ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขออนุญาตแบ่งปันข้อความธรรม (ปันธรรม) ที่ได้จากการฟังพระธรรมจากท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ในแต่ละครั้ง รวบรวมเป็นธรรมเตือนใจเพื่อศึกษาและพิจารณาร่วมกัน เพื่อความเข้าใจธรรม (ปัญญ์ธรรม) ตามความเป็นจริง ซึ่งเป็นข้อความที่สั้นบ้าง ยาวบ้าง แต่ก็มีอรรถที่สมบูรณ์ พอที่จะเข้าใจได้ควรค่าแก่การพิจารณาอย่างยิ่ง ดังนี้
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๓๐๗
~ ไม่ควรเป็นผู้ประมาท ในเมื่อมีอกุศลสะสมมา มากมายทั้งโลภะบ้าง โทสะบ้าง เพราะฉะนั้น ก็จะต้องอาศัยสติ การระลึกได้ เป็นผู้อารักขา (รักษา) การที่จะดำเนินชีวิตต่อไปในการที่จะเจริญกุศลมากขึ้น
~ ถ้ายังไม่ละคลายอกุศลต่างๆ ในชีวิตประจำวันจริงๆ ด้วยความตั้งใจมั่น ด้วยความเพียร ด้วยความอดทน ก็ย่อมไม่ถึงกาลที่จะดับกิเลสได้ เพราะเหตุว่ากิเลสมากมายเหลือเกิน
~ การศึกษาพระธรรม จุดประสงค์ก็เพื่อที่จะขัดเกลากิเลสทั้งหลาย ด้วยการเจริญกุศลยิ่งๆ ขึ้น และการศึกษาพระธรรมทั้งหมดโดยตลอด ก็เพื่อที่จะให้รู้ว่า แม้กุศลธรรมก็ไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล เพราะฉะนั้น กุศลธรรมทั้งหลาย ที่จะค่อยๆ อบรมให้เจริญขึ้น ก็คือ โสภณเจตสิก (สภาพธรรมที่ดีงามที่เกิดกับจิต) แต่ละชนิด ซึ่งต่างก็อาศัยกันเกิดขึ้นและค่อยๆ อบรมเจริญขึ้น
~ ลักษณะของความอยาก เป็นลักษณะที่ต้องการและติด แต่เรื่องของปัญญา เป็นเรื่องรู้แล้วละ นี่คือสิ่งที่ผิดกันมากทีเดียว รู้แล้วละ ย่อมสงบ แต่อยากแล้วติดแล้วพอใจ จะกล่าวว่าสงบได้อย่างไร
~ ธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องอบรมเจริญประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าชีวิตประจำวันของเราดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียว บางขณะจิตเราก็เป็นอกุศล ซึ่งต่างกับขณะที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้น จิตจะเกิดดับสลับเปลี่ยนแปลงกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าจิตเที่ยง แต่ว่าจิตที่เป็นอกุศล ก็ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศล
~ ขณะที่มีเมตตา มีความเป็นเพื่อน ขณะนั้นเป็นกุศล แล้วถ้าเราเพิ่มความเมตตากับทุกๆ คนขึ้น ที่เราพบปะ นั่นคือเราอบรมเจริญความสงบของจิต ไม่ใช่ว่าเราจะต้องไปนั่งท่องภาวนาอยู่ที่มุมหนึ่งมุมใด แต่พอพ้นจากห้องนั้นมาแล้ว เห็นคนอื่นก็หมั่นไส้ หรือไม่ชอบ หรือรำคาญ ขณะนั้นที่เราไปนั่งท่องตั้ง ๒๐ นาที หรือครึ่งชั่วโมง จะไม่มีความหมายเลย เพราะเหตุว่า ไม่เป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
~ เมื่อเป็นมนุษย์เหมือนกันทั้งโลกที่มีโลภะ โทสะ โมหะ ก็เป็นของธรรมดาว่า อกุศลกรรมหรือการกระทำที่ไม่ดีทั้งหลาย ก็ต้องมาจากอกุศลจิต บังคับไม่ได้เลย ต่อเมื่อใดดับกิเลสแล้ว ก็ไม่ต้องบังคับ ไม่มีการบังคับอีกต่อไป เพราะเหตุว่าไม่มีเชื้อปัจจัยที่จะให้เกิดการกระทำที่เป็นอกุศลนั้นๆ
~ จิตต่างกัน เราเมตตาเขาได้ แต่เขาจะเมตตาเราหรือเปล่า แล้วแต่การสะสมของเขา เราไม่เบียดเบียนเขา แต่เขาจะคิดเบียดเบียนเราหรือเปล่า นั่นก็เป็นเรื่องจิตใจของเขา
~ คำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นสัจจธรรม เป็นความจริง ซึ่งทำให้ผู้ฟังเริ่มเกิดปัญญาที่จะรู้จักตัวเอง และรู้จักโลก รู้จักสรรพสิ่งทั้งหลายในโลกตามความเป็นจริง จนกระทั่งดับกิเลสได้ เพราะฉะนั้น อนุสาสนีปาฏิหาริย์ (คำสอนเป็นอัศจรรย์) ก็เป็นเลิศ ด้วยเหตุนี้ ผู้ที่เป็นสาวกทุกท่านต้องฟังพระธรรม เพราะเหตุว่า ตนเองไม่ได้สะสมบารมีมาที่จะเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า หรือพระปัจเจกพุทธเจ้า
~ ถ้ากิเลสมาก ก็ทุกข์มาก ถ้ากิเลสน้อย ก็ทุกข์น้อย เพราะฉะนั้น จะทุกข์มากทุกข์น้อยนั้นขึ้นอยู่กับกิเลสมากหรือกิเลสน้อย เพราะเหตุว่าความทุกข์มีหลายอย่าง ถ้าเป็นความทุกข์กาย แม้แต่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าหรือพระอริยสาวกทั้งหลายก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเหตุว่าเป็นผลของกรรมที่เป็นอกุศลในอดีตที่ได้กระทำแล้ว เมื่อมีกายตั้งแต่ศีรษะตลอดเท้า ย่อมเป็นทางที่จะให้เกิดทุกข์กายได้ทั้งสิ้น ที่ศีรษะก็เป็นทุกข์ได้ ที่ปลายเท้าก็เป็นทุกข์ได้ ในเมื่อมีกายอยู่ นั่นก็เป็นเรื่องของทุกข์กาย แต่ผู้ที่ไม่มีกิเลส แม้ว่าจะมีทุกข์กาย ก็ไม่เดือดร้อนเลย
~ เราเป็นคนมีโลภะ เห็นอะไรก็อยากได้ พอเราเป็นคนมีโทสะ สะสมความไม่ชอบ พอเห็นคนนี้เราก็ไม่ชอบ เห็นคนนั้นเราก็ไม่ชอบ เห็นคนโน้นเราก็ไม่ชอบ เพราะเราสะสมโทสะ เป็นปัจจัย เพราะฉะนั้น มีเรื่องต้องขัดเกลามาก เกิดมาแล้วได้ขัดไปหน่อยก็ยังดี แล้วก็เจริญปัญญาขึ้นทุกภพทุกชาติ
~ ผู้ที่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริงว่า ดีเท่าไรก็ยังไม่พอ ผู้นั้นก็มีโอกาสที่จะเจริญกุศลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
~ ทุกคนอยากจะดี แล้วอย่างไรจึงจะ ดี ได้ ตามที่อยาก ไม่สามารถที่จะ ดี ได้อย่างที่อยาก ถ้าไม่มีปัญญา แต่ถ้ามีปัญญาความเห็นที่ถูกต้อง สิ่งใดเป็นโทษ ปัญญา ละ สิ่งใดเป็นประโยชน์ ปัญญาก็อบรมเจริญกระทำแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
~ อาลัย (ติดข้อง พอใจ) ก็คือ ไม่พร้อมที่จะจากสิ่งนั้น ทั้งๆ ที่รู้ว่าไม่มี เพียงแค่มีเมื่อปรากฏแล้วก็หมดไป แต่เสมือนว่าสิ่งที่ปรากฏนั้นยังอยู่ตลอดเวลา ไม่พร้อมที่จะจากไป
~ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ให้ความรู้ ความเข้าใจในทุกสิ่งทุกอย่างตรงตามเหตุตามผล จะไม่ทำให้ผู้ที่ศึกษาเข้าใจผิดคลาดเคลื่อน แต่ผู้ใดที่ไม่ศึกษา จะเข้าใจคำที่ใช้ในพระพุทธศาสนาคลาดเคลื่อน เช่น คำว่า “บุญ” คิดว่าเป็นเรื่องของวัตถุสิ่งของ ถ้าให้วัตถุสิ่งหนึ่งสิ่งใดมากๆ ก็เข้าใจว่า ขณะนั้นได้บุญมาก โดยที่ไม่ทราบเลยว่า แท้ที่จริงแล้ว บุญไม่ได้อยู่ที่วัตถุ แต่อยู่ที่สภาพจิตที่เป็นกุศลในขณะนั้นซึ่งปราศจากโลภะ ปราศจากโทสะ ปราศจากโมหะ ปราศจากอกุศล
~ เขาก็มีอกุศลจิต เราก็มีอกุศลจิต ถ้าใครยังโกรธใครอยู่ หรือไม่ชอบใครก็ตาม ขอให้คิดเสียว่า เราจะเห็นเขาเป็นครั้งสุดท้าย แล้วก็จะไม่เห็นกันอีก เพราะฉะนั้นจะทำอะไร เมื่อเป็นการเห็นครั้งสุดท้ายกันแล้ว จะทำดีหรือจะทำชั่วต่อกัน
~ ถ้าไม่ฟังพระธรรมเลยก็ไม่สามารถจะมีเครื่องลับปัญญาให้คมกล้า เพราะเหตุว่าพระธรรมที่ได้ยินได้ฟังที่ให้พิจารณาอย่างละเอียดนั้น เปรียบเสมือนเครื่องลับปัญญาให้คมกล้า ซึ่งถ้าไม่มีเครื่องลับ ปัญญาก็จะคมไม่ได้เลย ไม่สามารถจะเข้าใจความละเอียดของลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏตั้งแต่เกิดจนตาย
~ การฟังพระธรรมก็เหมือนกับการเกิดใหม่ก็ได้ เพราะเหตุว่าการเกิดก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม ไม่มีโอกาสจะได้เข้าใจสภาพธรรมเลย ปรมัตถธรรมเป็นอย่างไร ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน เป็นอนัตตาอย่างไร เพราะฉะนั้น แม้ในการที่ได้ฟังพระธรรมก็เหมือนกับเป็นการเกิดใหม่ ที่จะทำให้จิตใจน้อมไปในทางที่เป็นกุศลเพิ่มขึ้น เพื่อที่จะละคลายอกุศลที่แตกต่างจากก่อนที่จะได้ฟังพระธรรม
~ ขณะที่อกุศลจิตเกิด ไม่ใช่ขณะที่ปัญญาเกิด เพราะฉะนั้น ก็ไม่ถือเอาสิ่งที่ควรถือ หรือ ไม่ได้ทำในสิ่งที่ควรทำ แต่ว่ามีความประพฤติเหมือนดังเข้าไปในเรือนที่มืดตื้อ ทำอะไรก็ไม่ถูก และทำสิ่งที่ผิดๆ ด้วย ไม่มีปัญญาที่จะส่องให้เห็นว่า สิ่งนั้นไม่ควรกระทำ แต่ว่าทำไปแล้วด้วยอวิชชา (ความไม่รู้)
~ ปลอดภัยจากอกุศล ด้วยปัญญา
~ ไม่ควรประมาท ถ้ากุศลไม่เกิด ก็เป็นอกุศล
~ ถ้าเข้าใจถึงความเป็นธาตุ กุศลธรรมทั้งหลายก็จะเจริญขึ้น เช่น เมื่อเข้าใจว่า เป็นธาตุ แล้วจะโกรธอะไร
~ ไม่ว่าจะเป็นพระสูตรไหน ก็ไม่พ้นไปจากสัจจธรรม เป็นไปเพื่อความเข้าใจสิ่งที่มีจริงทั้งหมด
~ ฟังพระธรรม จนกว่าจะเข้าใจจริงๆ ว่า เป็นธรรม ไม่ใช่เรา
~ สะสมมาไม่ดีจึงกล่าวคำเท็จ ง่าย กล่าวคำจริง ยาก แต่ถ้าสะสมมาดี กล่าวคำจริง ง่าย กล่าวคำเท็จ ยาก
~ เมื่อตนเอง ชอบคำจริง ชอบความจริง ไม่ชอบคำเท็จ แล้ว ทำไมจึงพูดโกหกผู้อื่น
~ ถ้าไม่มีการอบรมเจริญปัญญา ก็ไม่สามารถขัดเกลา ละคลาย กิเลสอะไรๆ ได้เลย
~ ละอายต่อความไม่รู้ จึงฟังพระธรรม ละอายนั้น ไม่ใช่ตัวตนที่ไปละอาย แต่เป็นธรรม
~ แต่ละคน ควรมีธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่มีสิ่งอื่นเป็นที่พึ่ง
~ ฟังธรรม เป็นบุญ เพราะเข้าใจธรรม
~ ขณะที่เป็นอกุศล ไม่ใช่บุญ
~ กุศลเกิดเมื่อไหร่ เป็นบุญทันที มีความเป็นมิตรเป็นเพื่อน (เมตตา) เมื่อไหร่ เป็นบุญเมื่อนั้น แต่ถ้าความโกรธเกิดเมื่อไหร่ ไม่ใช่บุญเมื่อนั้น
~ เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น เพราะมีความเข้าใจเพิ่มขึ้น.
ขอเชิญคลิกอ่านย้อนหลังครั้งที่ผ่านมาได้ที่นี่ครับ
ปันธรรม - ปัญญ์ธรรม ... ครั้งที่ ๓๐๖
...กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
สาธุ สาธุ สาธุ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
ทุกคำที่อ่าน ล้วนเป็นคำเตือนใจให้รู้ว่า เวลาที่มีคุณค่า ด้วยการเจริญกุศล อบรมปัญญา ขัดเกลากิเลสทั้งหลาย ที่มีความไม่รู้เป็นหัวหน้า ด้วยการฟังพระธรรมต่อไป ค่ะ
กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง
กราบขอบพระคุณอาจารย์คำปั่น อักษรวิลัย ด้วยความยินดีในกุศลทุกประการค่ะ
ขออนุโมทนาครับ
พระธรรมละเอียดลึกซึ้ง เมื่อได้มาอ่าน ซักถาม สนทนาธรรมะ ก็ยิ่งศึกษาเห็นความละเอียดของสภาพธรรม ตามคำสอนที่พุทธองค์ตรัสรู้ และไม่ง่ายที่จะเข้าใจในสิ่งที่ปรากฎ เป็นรูปธรรม และนามธรรม ค่ะ ต้องกราบทุกท่านที่กล่าวพระธรรมในยุคที่พระธรรมกำลังจะไม่มีแล้วด้วยค่ะ
ขอกราบสาธุค่ะ
ขณะที่มีเมตตา มีความเป็นเพื่อน ขณะนั้นเป็นกุศล แล้วถ้าเราเพิ่มความเมตตากับทุกๆ คนขึ้น ที่เราพบปะ นั่นคือเราอบรมเจริญความสงบของจิต
น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ
จิตต่างกัน เราเมตตาเขาได้ แต่เขาจะเมตตาเราหรือเปล่า แล้วแต่การสะสมของเขา เราไม่เบียดเบียนเขา แต่เขาจะคิดเบียดเบียนเราหรือเปล่า นั่นก็เป็นเรื่องจิตใจของเขา
น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ
ธรรมเป็นสิ่งที่จะต้องอบรมเจริญประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวัน เพราะเหตุว่าชีวิตประจำวันของเราดำรงอยู่เพียงชั่วขณะจิตเดียว บางขณะจิตเราก็เป็นอกุศล ซึ่งต่างกับขณะที่เป็นกุศล เพราะฉะนั้น จิตจะเกิดดับสลับเปลี่ยนแปลงกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ว่าจิตเที่ยง แต่ว่าจิตที่เป็นอกุศล ก็ไม่ใช่จิตที่เป็นกุศล
น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ
ขออนุโมทนาครับ
ไม่ควรเป็นผู้ประมาท ในเมื่อมีอกุศลสะสมมา มากมายทั้งโลภะบ้าง โทสะบ้าง เพราะฉะนั้น ก็จะต้องอาศัยสติ การระลึกได้ เป็นผู้อารักขา (รักษา) การที่จะดำเนินชีวิตต่อไปในการที่จะเจริญกุศลมากขึ้น
น้อมกราบอนุโมทนาสาธุ สาธุ สาธุ ขอรับ
ขออนุโมทนาครับ