พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ - หนาที่ 73
ข้อความตอนหนึ่งจาก...
เรื่องความเกิดขึ้นของนางกาลียักษิณี
"ในกาลไหนๆ เวรทั้งหลายในโลกนี้ ย่อมไม่ระงับ ด้วยเวรเลย ก็แต่ว่า ย่อมระงับไดด้วยความไม่มีเวร, ธรรมนี้เป็นของเก่า."
ในอรรถกถาแก้ไว้ว่า.-
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น หิ เวเรน เป็นต้น ความว่า เหมือนอย่างว่า บุคคล แม้เมื่อล้างที่ซึ่งเปื้อนแล้วด้วยของไม่สะอาดมีน้ำลายและน้ำมูกเป็นต้น ด้วยของไม่สะอาดเหล่านั้นแล ย่อมไม่อาจทําให้เป็นที่หมดจดหายกลิ่นเหม็นได้, โดยที่แท้ ที่นั้นกลับเป็นที่ไม่หมดจดและมีกลิ่นเหม็นยิ่งกว่าเก่าอีก ฉันใด. บุคคลเมื่อด่าตอบชนผู้ด่าอยู่ ประหารตอบชนผู้ประหารอยู่ ย่อมไม่อาจยังเวรให้ระงับด้วยเวรได้, โดยที่แท้ เขาชื่อว่าทําเวรนั่นเองให้ยิ่งขึ้น ฉันนั้นนั่นเทียว. แม้ในกาลไหนๆ ขึ้นชื่อว่าเวรทั้งหลายย่อมไม่ระงับได้ ด้วยเวร โดยที่แท้ ชื่อว่าย่อมเจริญอย่างเดียว ด้วยประการฉะนี้.
สองบทว่า อเวเรน จ สมฺมนฺติ ความว่า เหมือนอย่างว่า ของไม่สะอาดมีน้ำลาย เป็นต้นเหล่านั้น อันบุคคลล้างด้วยน้ำที่ใส ย่อมหายหมดได้, ที่นั้นย่อมเป็นที่หมดจดไม่มีกลิ่นเหม็น ฉันใด, เวรทั้งหลาย ย่อมระงับ คือย่อมสงบ ได้แก่ ย่อมถึงความไม่มีด้วยความไม่มีเวรคือด้วยน้ำคือขันติและเมตตาด้วยการทําไว้ในใจโดยแยบคาย [และ] ด้วยการพิจารณา ฉันนั้นนั่นเทียว.
บาทพระคาถาว่า เอส ธมฺโม สนนฺตโน ความว่า ธรรมนี้ คือ ที่นับว่า ความสงบเวรด้วยความไม่มีเวร เป็นของเก่า คือ เป็นมรรคาแห่งพระพุทธเจ้าพระปัจเจกพุทธเจ้า และพระขีณาสพทั้งหลาย ทุกๆ พระองค์ ดําเนินไปแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ 370
ข้อความตอนหนึ่งจาก...
เวรสูตร
ว่าด้วยภัยเวร ๕ ประการ
[๑๗๔] ครั้งนั้น ท่านอนาถบิณฑิกคฤหบดี ข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนคฤหบดี อุบาสก ไม่ละภัยเวร ๕ ประการ เราเรียกว่า เป็นผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน? คือ การฆ่าสัตว์ การลักทรัพย์ การประพฤติผิดในกาม การพูดเท็จ การดื่มน้ำเมาคือสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ไม่ละภัยเวร ๕ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้ทุศีลด้วย ย่อมเข้าถึงนรกด้วย.
ดูก่อนคฤหบดี อุบาสกผู้ละภัยเวร ๕ ประการ เราเรียกว่า เป็นผู้มีศีลด้วย ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย ภัยเวร ๕ ประการเป็นไฉน? คือ การฆ่าสัตว์ ...การดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
ดูก่อนคฤหบดีอุบาสก ผู้ละภัยเวร ๕ ประการนี้แล เราเรียกว่า เป็นผู้มีศีลด้วย ย่อมเข้าถึงสุคติด้วย
ในอรรถกถาแก้ไว้ว่า.-
บทว่า ภยานิ ได้แก่ ภัยอันทำให้จิตสะดุ้ง
บทว่า เวรานิ ได้แก่ อกุศลเวรบ้าง บุคคลเวรบ้าง
เพียงประมาทในศีลห้า ก็อาจมีที่ไปอันน่ากลัวได้แล้ว ขอบพระคุณมากค่ะ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เชิญคลิกฟังที่นี่ครับ....
ชนะกิเลสตนเอง ไม่ใช่ชนะคนอื่น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 329
ข้อความบางตอนจาก......
เมตตสูตร
สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ไม่ว่าในที่ไรๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น
มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ทั้งปวง แม้ฉันนั้น
พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในโลกทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เป็นธรรมอันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู
ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
เรื่องการล่วง ศีล 5 ล่วงศีล 5 ได้ทุกข้อ ตามแต่กาละ และโอกาส อาจล่วงเพราะเหตุแห่ง ทรัพย์ - อวัยวะ - ชีวิต ผู้ที่ไม่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆ (สิ่งแวดล้อมนั้นๆ ) อาจคิดว่าศีล 5 รักษาได้ง่าย แต่ความจริงไม่ง่ายอย่างที่คิดครับ
พระปัจฉิมวาจา จึงให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้า ๑๔๒
ผู้ใดย่อมปรารถนาสุขเพื่อตน เพราะก่อทุกข์ในผู้อื่น ผู้นั้นเป็นผู้ระคนด้วยเครื่องระคน คือ เวรย่อมไม่พ้นจากเวรได้
ขออนุโมทนาขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ขอเรียนถามอาจารย์คำปั่น เพิ่มเติม ในความหมายเฉพาะคำบาลี "เวร" จะรวมหมายถึง การพยาบาท การผลัดเปลี่ยนรับภาระ ด้วยไหม หรือกว้างแคบกว่านี้อย่างไรบ้างครับ
อนุโมทนา
เรียน ความคิดเห็นที่ ๗ ครับ
คำว่า เวร [เว - ระ] ในภาษาบาลี จะมุ่งหมายถึง อกุศลธรรม ซึ่งเป็นสภาพธรรมฝ่ายที่ไม่ดี เป็นสิ่งที่ควรเว้น หมายรวมอกุศลธรรมทั้งหมด รวมถึง ความโกรธ พยาบาท ด้วย
ส่วน เวร ในความหมายว่า การผลัดเปลี่ยนรับภาระกัน นั้น ก็เป็นคำที่ใช้ในสังคมไทย พอพูดก็เข้าใจได้ว่าหมายถึงอะไร เช่น เข้าเวร, มีเวรทำความสะอาดห้องเรียน เป็นต้น ซึ่งไม่เกี่ยวกับความหมายด้านบนที่กล่าวถึง ครับ
...ยินดีในความดีของทุกๆ ท่านครับ....
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย..
ขอบพระคุณและอนุโมทนายิ่งครับอาจารย์คำปั่น