๑. กันทรกสูตร สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมสําหรับผู้ยังต้องศึกษา
โดย บ้านธัมมะ  28 ส.ค. 2564
หัวข้อหมายเลข 36056

[เล่มที่ 20] พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 1

คหปติวรรคที่ ๑

๑. กันทรกสูตร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมสําหรับผู้ยังต้องศึกษา


อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 20]



ความคิดเห็น 1    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 1

๑. กันทรกสูตร

สติปัฏฐาน ๔ เป็นธรรมสําหรับผู้ยังต้องศึกษา

[๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ฝังสระโบกขรณี ชื่อ คัคครา เขตนครจัมปา พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ครั้งนั้นบุตรนายหัตถาจารย์ ชื่อ เปสสะ และปริพาชก ชื่อ กันทรกะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว นายเปสสหัตถาโรหบุตรถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ส่วนกันทรกปริพาชกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วเหลียวดูภิกษุสงฆ์ผู้นิ่งเงียบอยู่ แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์ ท่านพระโคดม ไม่เคยมี ท่านพระโคดม เพียงเท่านี้ ท่านพระโคดมชื่อว่าทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้ว ท่านพระโคดมพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใดได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาค-


ความคิดเห็น 2    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 2

เจ้าเหล่านั้น ก็ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนท่านพระโคดมทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนท่านพระโคดมทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้.

[๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนกันทรกะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนกันทรกะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด ได้มีแล้วในอดีตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนเราให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้.

ดูก่อนกันทรกะ พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเหล่าใด จักมีในอนาคตกาล แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ก็จักทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ เหมือนเราให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบในบัดนี้.

ดูก่อนกันทรกะ ก็ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้อรหันตขีณาสพอยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้ว มีสังโยชน์ในภพสิ้นรอบแล้ว หลุดพ้นแล้ว เพราะรู้โดยชอบ มีอยู่.

ดูก่อนกันทรกะ อนึ่ง ในภิกษุสงฆ์นี้ ภิกษุทั้งหลายผู้ยังต้องศึกษา มีปรกติสงบ มีความประพฤติสงบ มีปัญญา เลี้ยงชีพด้วยปัญญามีอยู่ เธอเหล่านั้นมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔.

สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน.

ดูก่อนกันทรกะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌา ละโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัด


ความคิดเห็น 3    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 3

อภิชฌาและโสมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.

[๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว นายเปสสหัตถาโรหบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่เคยมี พระพุทธเจ้าข้า สติปัฏฐาน ๔ นี้ พระองค์ทรงบัญญัติไว้ดีแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ทั้งหลาย เพื่อก้าวล่วงความโศกและความร่ําไร เพื่อความดับแห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุญายธรรม เพื่อทําให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน ที่จริง แม้พวกข้าพระพุทธเจ้าเป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว ก็ยังมีจิตตั้งมั่นดีแล้วในสติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้อยู่ตามกาลที่สมควร.

ขอประทานพระวโรกาส พวกข้าพระพุทธเจ้าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสติ มีสัมปชัญญะ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์รกชัฏเป็นไปอย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกากเป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวดเป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏ คือ มนุษย์ สิ่งที่ตื้น คือ สัตว์ พระพุทธเจ้าข้า.

ด้วยว่าข้าพระพุทธเจ้าสามารถจะให้ช้างที่พอฝึกแล้วแล่นไปได้ ช้างนั้นจักทํานครจัมปา ให้เป็นที่ไปมาโดยระหว่างๆ จักทําความโอ้อวด ความโกง


ความคิดเห็น 4    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 4

ความคด ความงอนั้นทั้งหมดให้ปรากฏด้วย ส่วนมนุษย์ คือ ทาส คนใช้หรือกรรมกรของข้าพระพุทธเจ้า ย่อมประพฤติด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง ด้วยวาจาเป็นอย่างหนึ่ง และจิตของเขาเป็นอย่างหนึ่ง น่าอัศจรรย์ พระพุทธเจ้าข้า ไม่เคยมี พระพุทธเจ้าข้า เพียงเท่านี้ พระพุทธเจ้าข้า.

พระผู้มีพระภาคเจ้าชื่อว่าย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์รกชัฏเป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกากเป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวดเป็นไปอยู่อย่างนี้ ก็สิ่งที่รกชัฏ คือ มนุษย์ สิ่งที่ตื้น คือ สัตว์.

บุคคล ๔ จําพวก

[๔] พ. ดูก่อนเปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูก่อนเปสสะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ก็สิ่งที่รกชัฏ คือ มนุษย์ สิ่งที่ตื้น คือ สัตว์ ดูก่อนเปสสะ บุคคล ๔ จําพวกนี้มีอยู่ หาได้อยู่ในโลก ๔ จําพวกนั้นเป็นไฉน.

๑. ดูก่อนเปสสะ บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน.

๒. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนและประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๓. บุคคลบางคนในโลกนี้ ทําตนให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

๔. ส่วนบุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.


ความคิดเห็น 5    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 5

บุคคลผู้ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนนั้น ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน.

ดูก่อนเปสสะ บรรดาบุคคล ๔ จําพวกนี้ จําพวกไหนจะยังจิตของท่านให้ยินดี.

[๕] เป. พระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อนนี้ ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้.

แม้บุคคลผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ก็ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้.

แม้บุคคลทําตนให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ก็ไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้.

ส่วนบุคคลใดไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน บุคคลนั้นไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน บุคคลนี้ย่อมยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดี.

พ. ดูก่อนเปสสะ ก็เพราะเหตุไรเล่า บุคคล ๓ จําพวกนี้ จึงยังจิตของท่านให้ยินดีไม่ได้.

[๖] เป. พระพุทธเจ้าข้า บุคคลผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อนนี้ เขาย่อมทําตนซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้.

แม้บุคคลผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ย่อมทําผู้อื่นซึ่งรักสุข เกลียดทุกข์ ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้.

แม้บุคคลผู้ทําตนให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือด


ความคิดเห็น 6    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 6

ร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาก็ย่อมทําตนและผู้อื่นซึ่งรักสุขเกลียดทุกข์ให้เดือดร้อน เร่าร้อน ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้จึงไม่ยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้.

ก็แลบุคคลผู้ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน เขาไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบันนี้ ด้วยเหตุนี้ บุคคลนี้ ย่อมยังจิตของข้าพระพุทธเจ้าให้ยินดีได้ พระพุทธเจ้าข้า.

ข้าพระพุทธเจ้าจะขอลาไป ณ บัดนี้ ข้าพระพุทธเจ้ามีกิจมาก มีธุระที่ต้องทํามาก.

พ. ดูก่อนเปสสะ บัดนี้ ท่านจงทราบกาลอันควรเถิด.

ลําดับนั้น นายเปสสหัตถาโรหบุตรชื่นชมอนุโมทนาภาษิตพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทําประทักษิณ แล้วหลีกไป.

[๗] ครั้งนั้น เมื่อนายเปสสหัตถาโรหบุตรหลีกไปไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายเปสสหัตถาโรหบุตรเป็นบัณฑิต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นายเปสสหัตถาโรหบุตรมีปัญญามาก ถ้านายเปสสหัตถาโรหบุตรพึงนั่งอยู่ครู่หนึ่ง ชั่วเวลาที่เราจําแนกบุคคล ๔ จําพวกนี้โดยพิสดารแก่เขา เขาจักเป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่ อนึ่ง แม้ด้วยการฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสหัตถาโรหบุตรยังประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่.

พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นกาล ข้าแต่พระสุคต นี้เป็นกาลของการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าจะพึงทรงจําแนกบุคคล ๔ จําพวกนี้โดยพิสดาร ภิกษุทั้งหลายได้ฟังต่อพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพิสดารแล้วจักทรงจําไว้.


ความคิดเห็น 7    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 7

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้จงดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.

[๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเปลือย ทอดทิ้งมารยาท เลียมือ เขาเชิญให้มารับภิกษา ก็ไม่มา เขาเชิญให้หยุด ก็ไม่หยุด ไม่ยินดีรับภิกษาที่เขานํามาให้ ไม่ยินดีรับภิกษาที่เขาทําเฉพาะ ไม่ยินดีรับภิกษาที่เขานิมนต์ ไม่รับภิกษาปากหม้อ ไม่รับภิกษาจากปากกระเช้า ไม่รับภิกษาคร่อมธรณีประตู ไม่รับภิกษาคร่อมท่อนไม้ ไม่รับภิกษาคร่อมสาก ไม่รับภิกษาของคน ๒ คนที่กําลังบริโภคอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ไม่รับภิกษาของหญิงผู้กําลังให้ลูกดูดนม ไม่รับภิกษาของหญิงผู้คลอเคลียบุรุษ ไม่รับภิกษาที่นัดแนะกันทําไว้ ไม่รับภิกษาในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัข ไม่รับภิกษาในที่มีแมลงวันไต่ตอมเป็นกลุ่ม ไม่รับปลา ไม่รับเนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำหมักดอง.

เขารับภิกษาที่เรือนหลังเดียวเยียวยาอัตภาพด้วยข้าวคําเดียวบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๒ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๒ คําบ้าง รับภิกขาที่เรือน ๓ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๓ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๔ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๔ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๕ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๕ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๖ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๖ คําบ้าง รับภิกษาที่เรือน ๗ หลัง เยียวยาอัตภาพด้วยข้าว ๗ คําบ้าง เยียวยาอัตภาพด้วยภิกษาในถาดน้อยใบเดียวบ้าง ๒ ใบบ้าง ๓ ใบบ้าง ๔ ใบบ้าง ๕ ใบบ้าง ๖ ใบบ้าง ๗ ใบบ้าง กินอาหารที่เก็บค้างไว้วันหนึ่งบ้าง ๒ วันบ้าง ๓ วันบ้าง ๔ วันบ้าง


ความคิดเห็น 8    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 8

๕ วันบ้าง ๖ วันบ้าง ๗ วันบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการบริโภคภัตที่เวียนมากึ่งเดือนบ้าง.

แม้เช่นนี้ด้วยประการฉะนี้อยู่ เขาเป็นผู้มีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรําเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีข้าวไหม้เป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้ามันและผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้ที่หล่นเองเยียวยาอัตภาพ.

เขาทรงผ้าป่านบ้าง ผ้าแกมกันบ้าง ผ้าห่อศพบ้าง ผ้าบังสุกุลบ้าง ผ้าเปลือกไม้บ้าง หนังเสือบ้าง หนังเสือทั้งเล็บบ้าง ผ้าคากรองบ้าง ผ้าเปลือกปอกรองบ้าง ผ้าผลไม้กรองบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยผมคนบ้าง ผ้ากัมพลทําด้วยขนสัตว์บ้าง ทําด้วยขนปีกนกเค้าบ้าง เป็นผู้ถอนผมและหนวด คือ ประกอบความขวนขวายในการถอนผมและหนวดบ้าง เป็นผู้ยืน คือ ห้ามอาสนะบ้าง เป็นผู้กระหย่ง คือ ประกอบความเพียรในการกระหย่ง [คือเดินกระหย่งเหยียบพื้นไม่เต็มเท้า] บ้าง เป็นผู้นอนบนหนาม คือ สําเร็จการนอนบนหนามบ้าง เป็นผู้อาบน้ำวันละ ๓ ครั้ง ประกอบความขวนขวายในการลงน้ำบ้าง เป็นผู้ประกอบความขวนขวายในการทํากายให้เดือดร้อนเร่าร้อนหลายอย่างเห็นปานนี้อยู่.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน.

[๙] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิต ฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิต ฆ่านกเลี้ยงชีวิต ฆ่าเนื้อเลี้ยงชีวิต เป็นคนเหี้ยมโหด เป็นคนฆ่าปลา เป็นโจร เป็นคนฆ่าโจร เป็นคนปกครองเรือนจํา หรือบุคคลเหล่าอื่น


ความคิดเห็น 9    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 9

บางพวกเป็นผู้ทําการงานอันทารุณ.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่าเป็นผู้ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

[๑๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ทําตนให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน และประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นพระราชามหากษัตริย์ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วก็ดี เป็นพราหมณ์มหาศาลก็ดี พระราชาหรือพราหมณ์นั้นโปรดให้ทําโรงที่บูชายัญขึ้นใหม่ทางด้านบูรพาแห่งนคร แล้วทรงจําเริญพระเกศาและพระมัสสุ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ ทรงทาพระกายด้วยเนยใสและน้ำมันงา ทรงเกาพระปฤษฎางค์ด้วยเขามฤค เข้าไปยังโรงที่บูชายัญใหม่ พร้อมด้วยพระมเหสีและพราหมณ์ปุโรหิต บรรทมบนพื้นดิน อันมิได้ลาดด้วยเครื่องลาด เขาทาด้วยโคมัยสด น้ำนมในเต้าที่หนึ่งแห่งโคแม่ลูกอ่อนตัวเดียวมีเท่าใด พระราชาทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๒ มีเท่าใด พระมเหสีทรงเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๓ มีเท่าใด พราหมณ์ปุโรหิต ย่อมเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมเท่านั้น น้ำนมในเต้าที่ ๔ มีเท่าใด ก็บูชาไฟด้วยน้ำนมเท่านั้น ลูกโคเยียวยาอัตภาพด้วยน้ำนมที่เหลือ.

พระราชาหรือพราหมณ์นั้นตรัสอย่างนี้ว่า เพื่อต้องการบูชายัญ จงฆ่าโคผู้ประมาณเท่านี้ ลูกโคผู้ประมาณเท่านี้ ลูกโคเมียประมาณเท่านี้ แพะประมาณเท่านี้ ม้าประมาณเท่านี้ จงตัดต้นไม้ประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการทําเป็นเสายัญ จงเกี่ยวหญ้าประมาณเท่านี้ เพื่อต้องการลาดพื้น ชนเหล่าที่เป็นทาสก็ดี เป็นคนใช้ก็ดี เป็นกรรมกรก็ดี ของพระราชาหรือพราหมณ์นั้น ชนเหล่านั้นถูก


ความคิดเห็น 10    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 10

อาชญาคุกคาม ถูกภัยคุกคาม มีน้ำตานองหน้า ร้องไห้ ทําการงานตามกําหนด.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้ เรากล่าวว่า ผู้ทําตนให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน และทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน.

กถาว่าด้วยพระพุทธคุณ

[๑๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อนไม่ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน เป็นไฉน.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตเสด็จอุบัติในโลกนี้ เป็นพระอรหันต์ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดีแล้ว ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้จําแนกพระธรรม.

พระตถาคตพระองค์นั้น ทรงทําโลกนี้พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัด ด้วยปัญญาอันยิ่งของพระองค์เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณะ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์สิ้นเชิง.

คฤหบดี บุตรคฤหบดี หรือผู้เกิดเฉพาะในตระกูลใดตระกูลหนึ่งย่อมฟังธรรมนั้น ครั้นฟังแล้วได้ศรัทธาในพระตถาคต เมื่อได้ศรัทธาแล้วย่อมเห็นตระหนักว่า ฆราวาสคับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นทาง


ความคิดเห็น 11    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 11

ปลอดโปร่ง การที่บุคคลผู้ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียวดุจสังข์ขัด ไม่ใช่ทําได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมาเขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.

ความถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ

[๑๒] เขาบวชอย่างนี้แล้ว ถึงพร้อมด้วยสิกขาและสาชีพ เสมอด้วยภิกษุทั้งหลาย.

๑. ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศัสตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่.

๒. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจากการลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้สะอาดอยู่.

๓. ละกรรมเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้นจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน.

๔. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ พูดแต่คําจริง ดํารงคําสัตย์มีถ้อยคําเป็นหลักฐาน ควรเชื่อได้ ไม่พูดลวงโลก.

๕. ละคําส่อเสียด เว้นขาดจากคําส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้เพื่อให้คนหมู่โน้นแตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกันแล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คําที่ทําให้คนพร้อมเพรียงกัน.


ความคิดเห็น 12    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 12

๖. ละคําหยาบ เว้นขาดจากคําหยาบ กล่าวแต่คําที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ.

๗. ละคําเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคําเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คําที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คําที่มีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กําหนด ประกอบด้วยประโยชน์โดยกาลอันควร.

๘. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม.

๙. ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดการฉันในเวลาวิกาล.

๑๐. เว้นขาดจากการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคมดนตรี และการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล.

๑๑. เว้นขาดจากการทัดทรง ประดับและตกแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องประเทืองผิว อันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว.

๑๒. เว้นขาดจากการนั่งนอนบนที่นั่งที่นอนอันสูงใหญ่.

๑๓. เว้นขาดจากการรับทองและเงิน.

๑๔. เว้นขาดจากการรับธัญญาหารดิบ.

๑๕. เว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ

๑๖. เว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี.

๑๗. เว้นขาดจากการรับทาสีและทาส.

๑๘. เว้นขาดจากการรับแพะและแกะ.

๑๙. เว้นขาดจากการรับไก่และสุกร.

๒๐. เว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา.

๒๑. เว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน.


ความคิดเห็น 13    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 13

๒๒. เว้นขาดจากการประกอบทูตกรรมและการรับใช้.

๒๓. เว้นขาดจากการซื้อการขาย.

๒๔. เว้นขาดจากการฉ้อโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม และการโกงด้วยเครื่องตวงวัด.

๒๕. เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง.

๒๖. เว้นขาดจากการตัด การฆ่า การจองจํา การตีชิง การปล้นและกรรโชก.

เธอเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง นกมีปีกจะบินไปทางทิศาภาคใดๆ ก็มีปีกของตัวเป็นภาระบินไปฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอจะไปทางทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง.

ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันเป็นอริยะนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน เธอเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความสํารวมในจักขุนทรีย์.

เธอฟังเสียงด้วยโสตะ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ... ลิ้มรสด้วยชิวหา... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือนิมิต ไม่ถืออนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสํารวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สํารวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงํานั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าสํารวมในมนินทรีย์ ภิกษุประกอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสภายใน.


ความคิดเห็น 14    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 14

ภิกษุนั้นย่อมทําความรู้สึกตัว ในการก้าวไป ในการถอยกลับ ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทําความรู้สึกในตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง.

การละนิวรณ์

[๑๓] ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์ อินทรีย์สังวร สติและสัมปชัญญะอันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฎ ที่แจ้ง ลอมฟาง ในกาลภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดํารงสติไว้เฉพาะหน้า เธอละความเพ่งเล็งในโลก มีใจปราศจากความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็ง.

ละความประทุษร้าย คือ พยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากความประทุษร้าย คือ พยาบาทได้.

ละถีนมิทธะแล้ว เป็นผู้ปราศจากถีนมิทธะ มีความกําหนดหมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ.

ละอุทธัจจกุกกุจจะแล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน มีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจกุกกุจจะได้.

ละวิจิกิจฉาแล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความเคลือบแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชําระจิตให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.

ฌาน ๔

[๑๔] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งใจ อันทําปัญญาให้ทุรพลได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐม


ความคิดเห็น 15    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 15

ฌานมีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. บรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะและเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่าผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข บรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่.

บุพเพนิวาสานุสสติญาณ

[๑๕] ภิกษุนั้นเมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อบุพเพนิวาสานุสสติญาณ.

เธอย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ในภพโน้นเรามีชื่ออย่างนั้นมีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้นเราก็มีชื่ออย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกําหนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้มาเกิดในภพนี้ เธอย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการพร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 16    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 16

จุตูปปาตญาณ

[๑๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย.

เธอเห็นหมู่สัตว์ที่กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทําด้วยอํานาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขาเข้าถึงสุคติ โลกสวรรค์ ดังนี้.

เธอย่อมเห็นหมู่สัตว์กําลังจุติ กําลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้.

อาสวักขยญาณ

[๑๗] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เธอย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเธอรู้เห็นอย่างนี้ จิต


ความคิดเห็น 17    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 17

ย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทํา ทําเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลนี้เรากล่าวว่า ไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่ประกอบความขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน เขาไม่ทําตนให้เดือดร้อน ไม่ทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ไม่มีความหิว ดับสนิท เป็นผู้เย็น เสวยแต่ความสุข มีตนเป็นดังพรหมอยู่ในปัจจุบัน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคําเป็นไวยากรณ์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ดังนี้แล.

จบกันทรกสูตรที่ ๑


ความคิดเห็น 18    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 18

ปปัญจสูทนี

อรรถกถามัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์

อรรถกถาคหปติวรรค

๑. อรรถกถากันทรกสูตร

กันทรกสูตร มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า จมฺปายํ คือ ในนครมีชื่ออย่างนั้น. เพราะนครนั้นได้มีต้นจําปาขึ้นหนาแน่นในที่นั้นๆ มีสวนและสระโบกขรณีเป็นต้น. ฉะนั้น จึงได้ชื่อว่า นครจัมปา.

บทว่า คฺคคราย โปกฺขรณิยา ตีเร ณ ฝังสระโบกขรณี ชื่อว่า คัคครา คือ ณ ที่ไม่ไกลนครจัมปานั้นมีสระโบกขรณี ชื่อว่า คัคครา เพราะพระราชมเหสีพระนามว่า คัคครา ทรงขุดไว้. ณ ฝังสระโบกขรณีนั้นมีสวนจําปาขนาดใหญ่ประดับด้วยดอกมี ๕ สีมีสีเขียวเป็นต้นโดยรอบ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ สวนจําปาอันมีกลิ่นดอกไม้หอมนั้น. พระอานนทเถระหมายถึงสวนจําปานั้น จึงกล่าวว่า คคฺคราย โปกฺขรณิยา ตีเร ดังนี้.

บทว่า มหตา ภิกฺขุสงฺเฆน สทฺธิํ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ คือ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่มิได้กําหนดจํานวนไว้.

บทว่า เปสฺโส เป็นชื่อของบุตรนายหัตถาจารย์นั้น.

บทว่า หตฺถาโรหปุตฺโต คือ บุตรของนายหัตถาจารย์ (ควาญช้าง).

บทว่า กนฺทรโก ปริพฺพาชโก คือ ปริพาชกผู้นุ่งผ้า จึงมีชื่ออย่างนี้ว่า กันทรกะ.


ความคิดเห็น 19    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 19

บทว่า อภิวาเทตฺวา คือ เป็นผู้เสมือนเข้าไปในระหว่างพระพุทธรัศมีหนาทึบ ประกอบด้วยวรรณะ ๖ ประการ แล้วดําลงในน้ำครั่งใสสะอาด หรือเสมือนคลี่ผ้าซึ่งมีสีดังสีทองคลุมลงบนศีรษะ หรือสวมศีรษะด้วยเครื่องประดับทําด้วยดอกจําปาซึ่งถึงพร้อมด้วยสีและกลิ่น หรือว่าเสมือนพระจันทร์วันเพ็ญซึ่งโคจรเข้าไปยังเชิงภูเขาสิเนรุ ฉะนั้น แล้วถวายบังคมพระบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า อันประกอบด้วยพระสิริ ดังดอกจําปาสีสดกําลังบาน อันประดับด้วยจักรลักษณะ.

บทว่า เอกมนฺตํ นิสีทิ คือ นั่งในโอกาสหนึ่งอันเว้นโทษของการนั่ง ๖ ประการ.

บทว่า ตุณฺหีภูตํ ตุณฺหีภูตํ คือ เหลียวดูภิกษุสงฆ์นั่งนิ่งเงียบ. เพราะ ณ ที่นั้นภิกษุแม้รูปหนึ่งก็มิได้มีความรําคาญด้วยมือและเท้า. ภิกษุทุกรูปมิได้คุยกัน ด้วยความเคารพแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า และเพราะตนได้รับการศึกษาแล้วเป็นอย่างดี โดยที่สุดไม่ทําแม้เสียงไอ แม้กายก็ไม่ไหว แม้ใจก็ไม่ฟุ้งซ่าน ดุจเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดี ดุจน้ำในมหาสมุทรสงบเงียบในที่ที่ไม่มีลม นั่งล้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าดุจรัตตวลาหกล้อมยอดภูเขาสิเนรุฉะนั้น.

ปีติและโสมนัสอันยิ่งใหญ่ได้เกิดแก่ปริพาชกเพราะเห็นบริษัทสงบเงียบอย่างนั้น. ก็แลปริพาชกไม่อาจสงบปีติโสมนัสอันเกิดแล้วในภายในหทัยให้เงียบอยู่ได้จึงเปล่งวาจาอันน่ารัก กล่าวคํามีอาทิว่า อจฺฉริยํ โภ โคตม น่าอัศจรรย์พระโคดมผู้เจริญ.

ชื่อว่า อัจฉริยะ น่าอัศจรรย์ เพราะย่อมไม่มีเป็นนิจดุจคนตาบอดขึ้นภูเขาได้ฉะนั้น.

พึงทราบว่า นี้เป็นตันตินัย (แบบแผน, ประเพณี) ไว้ก่อน.

ส่วนอรรถกถานัยพึงทราบดังต่อไปนี้.

ชื่อว่า อจฺฉริยํ เพราะประกอบแก่นิ้วมือ. อธิบายว่า ควรประกอบการดีดนิ้วมือ.

ชื่อว่า อพฺภูตํ เพราะไม่เคยมีมาก่อน.

แม้ทั้งสองบทก็อย่างเดียวกัน.

บทว่า อพฺภูตํ นี้เป็นชื่อของการนํามาซึ่งความพิศวง.

ส่วนบทว่า อจฺฉริยํ นี้นั้นมี ๒ อย่าง คือ ครหอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการติเตียน) ๑ ปสังสาอัจฉริยะ (อัศจรรย์ในการสรรเสริญ) ๑.


ความคิดเห็น 20    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 20

ในอัจฉริยะทั้งสองนั้นพระพุทธดํารัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ น่าอัศจรรย์ ดูก่อนโมคคัลลานะ ไม่เคยมี โมฆบุรุษนั้นจักมาหา ก็ต่อเมื่อจับแขนมานี้ชื่อว่า ครหอัจฉริยะ.

พระพุทธดํารัสว่า ดูก่อนนันทมารดา น่าอัศจรรย์ ดูก่อนนันทมารดา ไม่เคยมี แม้จิตตุปบาท ก็ชําระให้บริสุทธิ์ได้ นี้ชื่อว่า ปสังสาอัจฉริยะ.

ในที่นี้ท่านประสงค์เอาปสังสาอัจฉริยะ นี้แหละ. เพราะปริพาชกนี้เมื่อสรรเสริญจึงกล่าวอย่างนี้.

บทว่า อิทํ ในบทว่า ยาวฺจิทํ นี้ เป็นเพียงนิบาต.

บทว่า ยาว กําหนดประมาณ คือ ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่ง. ท่านอธิบายว่า ไม่สามารถจะพรรณนาถึงประมาณที่ให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบ นี้จึงน่าอัศจรรย์ นี้จึงไม่เคยมี โดยแท้แล.

บทว่า เอตปรมํเยว ชื่อว่า เอตปรโม เพราะให้ภิกษุสงฆ์นั้นปฏิบัติชอบอย่างนั้น เป็นอย่างยิ่งของภิกษุแม้นั้น. ชื่อว่า ปฏิบัติชอบเป็นอย่างยิ่งเพียงเท่านี้ อธิบายว่าพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเคยให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติฉันใด ก็ทําให้ภิกษุสงฆ์นี้ปฏิบัติเหมือนกันฉันนั้นไม่ยิ่งไปกว่านี้.

ในนัยที่ ๒ พึงประกอบว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติอย่างนี้ไม่ให้ยิ่งไปกว่านี้.

ในบทเหล่านั้นบทว่า ปฏิปาทิโต ให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติ คือ ให้ประกอบในข้อปฏิบัติอันไม่เป็นข้าศึกโดยชอบ เพราะทําอภิสมาจาริกวัตรให้เป็นเบื้องต้น.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร ปริพาชกนี้จึงอ้างถึงพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีตและอนาคตเล่า.

ปริพาชกนั้นมีญาณกําหนดรู้กาลทั้ง ๓ หรือ.

ตอบว่า ไม่มีแม้ในการถือเอานัย.

บทว่า นิปกา มีปัญญาเฉลียวฉลาด คือ ภิกษุทั้งหลายมีปัญญาประกอบด้วยความเฉลียวฉลาด มีปัญญา เลี้ยงชีพด้วยปัญญา สําเร็จการเลี้ยงชีวิตเพราะตั้งอยู่ในปัญญา.

เหมือนอย่างภิกษุบางรูป แม้บวชในศาสนา เที่ยวไปใน


ความคิดเห็น 21    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 21

อโคจร ๖ เพราะเหตุแห่งชีวิต เที่ยวไปหาหญิงแพศยา เที่ยวไปหาหญิงหม้าย หญิงสาวเทื้อ บัณเฑาะก์ โรงสุราและภิกษุณี คลุกคลีกับพระราชา มหาอํามาตย์ของพระราชา เดียรถีย์ สาวกของเดียรถีย์ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อันไม่สมควร สําเร็จการเลี้ยงชีวิตด้วยการแสวงหาอันไม่สมควร ๒๑ อย่าง คือ ทําเวชกรรม ทําทูตกรรม ทําการส่งข่าว ผ่าฝี ให้ยาพอกฝี ให้ยาระบายอย่างแรง ให้ยาระบายอย่างอ่อน หุงน้ำมันสําหรับนัตถุ์ หุงน้ำมันสําหรับดื่ม ให้ไม้ไผ่ ให้ใบไม้ ดอกไม้ ผลไม้ น้ำอาบ ไม้สีฟัน น้ำบ้วนปาก ให้ดินผงขัดตัว พูดให้เขารัก พูดที่เล่นทีจริง ช่วยเลี้ยงดูเด็ก ช่วยส่งข่าวสาร.

ชื่อว่า ไม่เลี้ยงชีพด้วยปัญญาเฉลียวฉลาด คือ สําเร็จการเลี้ยงชีวิตเพราะไม่ตั้งอยู่ด้วยปัญญา.

จากนั้นครั้นทํากาลกิริยาแล้วก็จะเป็นสมณยักษ์ เสวยทุกข์ใหญ่โดยนัยดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า แม้สังฆาฏิของภิกษุนั้นก็รุ่มร้อนเร้ารุม.

ภิกษุไม่เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงสิกขาบทแม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ดํารงอยู่ในจตุปาริสุทธิศีล เล่าเรียนพระพุทธพจน์ตามกําลัง บําเพ็ญอริยปฏิปทาเหล่านี้ คือ รถวินีตปฏิปทา มหาโคสิงคปฏิปทา มหาสุญญตาปฏิปทา อนังคณปฏิปทา ธรรมทายาทปฏิปทา นาลกปฏิปทา ตุวัฏฏกปฏิปทา จันโทปมปฏิปทา เป็นกายสักขี ในอริยวังสปฏิปทา คือ มีความสันโดษด้วยปัจจัย ๔ และมีความยินดีตามความมีอยู่ของตน เป็นผู้อยู่โดดเดี่ยวในการเที่ยวไปเป็นต้น ดุจช้างพ้นจากข้าศึก ดุจสีหะสละจากฝูง และดุจมหานาวา ไม่มีเรือติดตามไปข้างหลัง เริ่มบําเพ็ญวิปัสสนาตั้งความอุตสาหะอยู่ว่า เราจักบรรลุพระอรหัตในวันนี้ให้จงได้.

บทว่า สุปติฏฺิตจิตฺตา มีจิตตั้งมั่นดีแล้ว คือ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔.

สติปัฏฐานกถาที่เหลือกล่าวไว้พิสดารแล้วในหนหลัง ส่วนในที่นี้ท่านกล่าวถึงสติปัฏฐานเจือกันทั้งโลกิยะและโลกุตตระ.

ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ เป็นอันท่านกล่าวถึงเหตุที่ภิกษุสงฆ์เข้าไปสงบแล้ว.


ความคิดเห็น 22    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 22

บทว่า ยาว สุปฺตฺตา คือ สติปัฏฐาน ๔ พระองค์ทรงตั้งไว้ด้วยดีแล้ว คือ ทรงแสดงดีแล้ว.

ด้วยบทว่า มยํปิ หิ ภนฺเต นี้ เปสสะบุตรควาญช้างนั้นแสดงถึงความที่ตนเป็นผู้ทําการงาน และยกภิกษุสงฆ์ขึ้น.

ในข้อนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้.

ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ที่จริงแม้พวกข้าพระองค์เป็นคฤหัสถ์นุ่งผ้าขาว ฯลฯ เป็นผู้มีจิตตั้งมั่นดีแล้วอยู่. การไถ พืช แอก คันไถและผาลไถนานี้มิได้มีแก่ภิกษุสงฆ์ เพราะฉะนั้นภิกษุสงฆ์จึงมุ่งต่อสติปัฏฐานตลอดกาล. ส่วนพวกข้าพระองค์ได้โอกาสตามกาลสมควรแล้วจึงทํามนสิการนี้. แม้พวกข้าพระองค์จะเป็นผู้ทําการงาน ก็ไม่สละกรรมฐานด้วยประการทั้งปวง.

บทว่า มนุสฺสคหเน มนุษย์รกชัฏ คือ เพราะถือเอาความรกชัฏของอัธยาศัยแห่งมนุษย์ทั้งหลาย.

พึงทราบว่าความที่ถือเอาแม้อัธยาศัยของมนุษย์เหล่านั้นด้วยความรกชัฏด้วยกิเลส. แม้ในอัธยาศัยเดนกากและอัธยาศัยโอ้อวดก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ในอัธยาศัยเหล่านั้น พึงทราบความที่อัธยาศัยชื่อว่าเดนกาก เพราะอรรถว่าไม่บริสุทธิ์. อัธยาศัยชื่อว่า โอ้อวด เพราะอรรถว่าหลอกลวง.

บทว่า สตฺตานํ หิตาหิตํ ชานาติ พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมทรงรู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย คือ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของมนุษย์ทั้งหลายด้วยดี เหมือนอย่างทรงทราบรกชัฏ เดนกากและความหลอกลวงของมนุษย์ฉะนั้น.

ในบทว่า ยทิทํ ปสโว นี้ท่านประสงค์เอาสัตว์ ๒ เท้าแม้ทั้งหมด.

บทว่า ปโหมิ คือ สามารถ.

บทว่า ยาวตฺตเกน อนฺตเรน โดยระหว่างประมาณเท่าใด คือ โดยขณะเท่าไร.

บทว่า จมฺปํ คตาคตํ กริสฺสติ จักทํานครจัมปาให้เป็นที่ไปมา คือ จักทําการไปและการมาตั้งแต่โรงม้าจนถึง


ความคิดเห็น 23    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 23

ประตูนครเมืองจัมปา.

บทว่า สาเยฺยานิ คือ ความเป็นผู้โอ้อวด.

บทว่า กูเฏยฺยานิ คือ ความเป็นผู้โกง.

บทว่า วงฺเกยฺยานิ คือ ความเป็นผู้คด.

บทว่า ชิมฺเหยฺยานิ คือ ความเป็นผู้งอ.

บทว่า ปาตุกริสฺสติ จักทําให้ปรากฏ คือ จักประกาศ จักแสดง. เพราะไม่สามารถเพื่อจะแสดงความโอ้อวดเป็นต้นเหล่านั้นโดยระหว่างประมาณเท่านี้ได้.

พึงทราบวินิจฉัยในความโอ้อวดเป็นต้นดังต่อไปนี้

เมื่อภิกษุสงฆ์จะยืนอยู่ในที่ไหนๆ ทั้งๆ เป็นที่ไม่มีภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ คิดว่า เราจักไปข้างหน้าแล้วยืนลวง จึงไปยืนทําเป็นไม่เคลื่อนไหวเหมือนเสาที่ฝังไว้ในที่ที่ประสงค์จะตั้งไว้ ภิกษุนี้ชื่อว่าโอ้อวด.

เมื่อภิกษุประสงค์จะกั้นในที่ไหนๆ แล้วก้มลําตัวขวางไว้ทั้งๆ ที่เป็นที่ไม่มีภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย คิดว่า เราจักไปข้างหน้าแล้วก้มลวง จึงก้มตัวลวงในที่นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่าโกง.

เมื่อภิกษุประสงค์จะหลีกจากทางในที่ไหนๆ แล้วกลับเดินสวนทางทั้งๆ เป็นที่ไม่มีภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย คิดว่า เราจักไปข้างหน้าแล้วลวงทําอย่างนี้ จึงหลีกจากทางในที่นั้นแล้วกลับเดินสวนทาง ภิกษุนี้ชื่อว่า คด.

เมื่อภิกษุประสงค์จะไปตามทางตรงตามเวลา จากซ้ายตามเวลา จากขวาตามเวลา ทั้งๆ เป็นที่ไม่มีภัยเฉพาะหน้าของมนุษย์ทั้งหลาย คิดว่า เราจักไปข้างหน้าแล้วลวงทําอย่างนี้ จึงไปทางตรงตามเวลาจากซ้ายตามเวลาจากขวาตามเวลาในที่นั้น.

อนึ่ง ที่นี้เขากวาดไว้เตียน จอแจด้วยมนุษย์ น่ารื่นรมย์ ไม่ควรทํากรรมเห็นปานนี้ ในที่นี้ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้ประสงค์จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ด้วยคิดว่าเราจักไปข้างหน้าแล้วทําในที่ที่ปกปิด จึงทําในที่นั้น ภิกษุนี้ชื่อว่า งอ.

ท่านกล่าวไว้ดังนี้ หมายถึง กิริยาแม้ ๔ อย่างนี้ ด้วยประการฉะนี้.


ความคิดเห็น 24    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 24

ช้างนั้นจักทํา ความโอ้อวด ความโกง ความคด ความงอ เหล่านั้นทั้งหมดให้ปรากฏได้.

สัณฐานเป็นต้นเหล่านั้นแม้ทําอยู่อย่างนี้ ก็ชื่อว่าย่อมทําความโอ้อวดเป็นต้นเหล่านั้นให้ปรากฏ.

ครั้งนายเปสสะบุตรครวญช้างแสดงความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่ตื้น บัดนี้เมื่อจะแสดงความที่มนุษย์ทั้งหลายเป็นสิ่งที่รกชัฏ จึงกราบทูลบทมีอาทิว่า อมฺหากํ ปน ภนฺเต.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ทาสา ได้แก่ ทาสเกิดภายใน ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์ ทาสเป็นเชลยหรือถึงความเป็นทาสรับใช้.

บทว่า เปสฺสา คือ คนรับใช้.

บทว่า กมฺมกรา คือ คนเลี้ยงชีวิตด้วยอาหารและค่าจ้าง.

บทว่า อฺตา จ กาเยน ด้วยกายเป็นอย่างหนึ่ง

ท่านแสดงว่า ทาสเป็นต้นย่อมประพฤติด้วยกายโดยอาการอย่างหนึ่ง ด้วยวาจาโดยอาการอย่างหนึ่ง และจิตของทาสเป็นต้นเหล่านั้นย่อมตั้งอยู่โดยอาการอย่างหนึ่ง.

ในทาสเหล่านั้น ทาสใดเห็นนายเฉพาะหน้าแล้วลุกขึ้นต้อนรับ รับของจากมือ ปล่อยสิ่งนี้ถือเอาสิ่งนี้ ทํากิจทั้งหมดแม้ที่เหลือมีปูที่นั่ง พัด และล้างเท้าเป็นต้น แต่พอลับหลัง แม้น้ำมันไหลก็ไม่เหลียวแล การงานแม้ขาดทุนตั้งร้อยตั้งพันเสียหายไป ก็ไม่ปรารถนาจะกลับมาเหลียวแล ทาสเหล่านี้ชื่อว่าประพฤติด้วยกายอย่างอื่น.

อนึ่ง ทาสเหล่าใดต่อหน้าพูดสรรเสริญเป็นต้นว่าเขาเป็นเจ้านายของฉัน พอลับหลังคําที่พูดไม่ได้ไม่มีเลย ย่อมพูดคําที่ต้องการพูด ทาสเหล่านี้ชื่อว่าประพฤติด้วยวาจาอย่างหนึ่ง.

บทว่า จตฺตาโรเม เปสฺส ปุคฺคลา ดูก่อนเปสสะ บุคคล ๔ จําพวกเหล่านี้มีอยู่ แม้บุคคลนี้ก็เป็นการสืบต่อเฉพาะตัว.

เปสสะนี้กราบทูลว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงทราบประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อมนุษย์รกชัฏเป็น


ความคิดเห็น 25    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 25

ไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์เดนกากเป็นไปอยู่อย่างนี้ ในเมื่อมนุษย์โอ้อวดเป็นไปอยู่อย่างนี้.

บุคคล ๓ จําพวกก่อนเป็นผู้ปฏิบัติปฏิปทาไม่เป็นประโยชน์ บุคคลจําพวกที่ ๔ เป็นผู้ปฏิบัติเป็นประโยชน์ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อทรงแสดงว่า เรารู้ประโยชน์และมิใช่ประโยชน์ของสัตว์ทั้งหลายอย่างนี้ จึงทรงปรารภเทศนานี้.

แม้การประกอบกับถ้อยคําของกันทรกปริพาชกในหนหลังก็ควร. ด้วยเหตุนี้ กันทรกปริพาชกจึงกล่าวว่า ท่านพระโคดมผู้เจริญ เพียงเท่านี้ ท่านพระโคดมชื่อว่า ทรงให้ภิกษุสงฆ์ปฏิบัติชอบแล้วดังนี้.

ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้เมื่อทรงแสดงแก่นายเปสสะนั้นว่าเราเว้นบุคคล ๓ จําพวกก่อน แล้วให้บุคคลจําพวกที่ ๔ เบื้องบนปฏิบัติในปฏิปทาเป็นประโยชน์นั่นแหละจึงทรงปรารภเทศนานี้.

บทว่า สนฺโต นี้เป็นไวพจน์ของบทว่า สํวิชฺชมานา มีอยู่.

จริงอยู่ ความดับสนิทในบทนี้ว่า สนฺตา โหนฺติ สมิตา วูปสนฺตา ท่านกล่าวว่า สนฺตา สงบแล้ว.

ท่านกล่าวว่า นิพฺพุตา ดับแล้วในบทนี้ว่า สนฺตา เอเต วิหารา อริยสฺส วินเย วุจฺจนฺติ ท่านกล่าววิหารเหล่านี้สงบในวินัยของพระอริยะ.

ท่านกล่าวว่า บัณฑิต ในบทนี้ว่า สนฺโต หเว สพฺภิ ปเวทยนฺติ สัตบุรุษทั้งหลายย่อมประกาศด้วยความเป็นสัตบุรุษ. บัณฑิตทั้งหลายมีอยู่ในโลกนี้. อธิบายว่า พอหาได้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า ทําตนให้เดือดร้อนชื่อว่า อตฺตนฺตโป เพราะทําตนให้เดือดร้อน ให้ถึงทุกข์. ประกอบการขวนขวายในการทําตนให้เดือดร้อน ชื่อว่า อตฺตปริตาปนานุโยคํ.

ชื่อว่า ปรนฺตโป เพราะทําผู้อื่นให้เดือดร้อน ให้ถึงทุกข์. ประกอบการขวนขวายในการทําผู้อื่นให้เดือดร้อน


ความคิดเห็น 26    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 26

ชื่อว่า ปรปริตาปนานุโยคํ.

บทว่า ทิฏฺเว ธมฺเม คือ ในอัตภาพนี้แหละ.

บทว่า นิจฺฉาโต ไม่มีความหิว ตัณหาท่านเรียกว่า ฉาต.

ชื่อว่า นิจฺฉาโต เพราะไม่มีความอยาก.

ชื่อว่า นิพฺพุโต เพราะดับกิเลสได้ทั้งหมด.

ชื่อว่า สีติภูโต เพราะเป็นผู้เย็นเพราะไม่มีกิเลสอันทําให้เดือดร้อนในภายใน.

ชื่อว่า สุขปฏิสํเวที เพราะเสวยสุขเกิดแต่ฌานมรรคผลและนิพพาน.

บทว่า พฺรหฺมภูเตน อตฺตนา มีตนเป็นดังพรหมคือมีตนประเสริฐ.

บทว่า จิตฺตํ อาราเธติ ยังจิตให้ยินดี คือ ยังจิตให้ถึงพร้อม ให้บริบูรณ์. อธิบายว่า ให้เลื่อมใส.

บทว่า ทุกฺขปฏิกฺกูลํ เกลียดทุกข์ คือ ทุกข์เป็นสิ่งน่าเกลียดตั้งอยู่ในความเป็นข้าศึก. อธิบายว่า ไม่ปรารถนาทุกข์.

ในบทว่า ปณฺฑิโต นี้ไม่ควรกล่าวว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุ ๔ ประการ. แต่ควรกล่าวว่าเป็นบัณฑิตเพราะทํากรรมในสติปัฏฐาน.

แม้บทนี้ว่า มหาปฺโ ก็ไม่ควรกล่าวด้วยลักษณะของมหาปัญญาด้วยบทมีอาทิว่า มหนฺเต อตฺเถ ปริคณฺหติ ถือเอาประโยชน์ใหญ่. แต่ควรกล่าวว่าเป็นผู้มีปัญญามากเพราะประกอบด้วยปัญญากําหนดถือเอาสติปัฏฐาน.

บทว่า มหตา อตฺเถน สํยุตฺโต อภวิสฺส เขาจักเป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่ คือ พึงเป็นผู้ประกอบ เป็นผู้ถึงด้วยประโยชน์ใหญ่ ความว่า พึงบรรลุโสดาปัตติผล.

ถามว่า ก็แม้เมื่อตั้งอยู่เฉพาะพระพักตร์พระพุทธเจ้าทั้งหลาย จะมีอันตรายแก่มรรคผลหรือ.

ตอบว่า มีซิ. แต่มิได้มีเพราะอาศัยพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. โดยที่แท้ย่อมมีได้เพราะความเสื่อมของกิริยาหรือเพราะปาปมิตร.

ในอันตรายทั้งสองนั้น ชื่อว่าย่อมมีเพราะความเสื่อมของกิริยาดังต่อไปนี้.

หากว่าพระธรรมเสนาบดีรู้อัธยาศัยของธนัญชานิยพราหมณ์แล้ว ได้แสดงธรรม พราหมณ์นั้นจักได้เป็นพระโสดาบัน. อย่างนี้ชื่อว่าย่อมมีเพราะความเสื่อมแห่ง


ความคิดเห็น 27    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 27

กิริยา.

ชื่อว่าย่อมมีเพราะปาปมิตรมีอธิบายดังนี้.

หากว่าพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคําของเทวทัตแล้วไม่ทําปิตุฆาต. พระเจ้าอชาตศัตรูจักได้เป็นโสดาบันในวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสามัญญผลสูตรนั่นเอง. แต่เพราะพระเจ้าอชาตศัตรูเชื่อคําของเทวทัตนั้นแล้วทําปิตุฆาต จึงไม่ได้เป็นโสดาบัน. อย่างนี้ชื่อว่าอันตรายย่อมมีเพราะปาปมิตร.

ความเสื่อมแห่งกิริยาเกิดแก่อุบาสกแม้นี้ เมื่อเทศนายังไม่จบพราหมณ์ลุกหลีกไปเสีย.

บทว่า อปิจ ภิกฺขเว เอตฺตาวตาปิ เปสฺโส หตฺถาโรหปุตฺโต มหตา อตฺเถน สํยุตฺโต อนึ่ง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ด้วยการฟังโดยสังเขปเพียงเท่านี้ นายเปสสะควาญช้างยังประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่.

ถามว่าด้วยประโยชน์ใหญ่เป็นไฉน.

ตอบว่า คือ ด้วยอานิสงส์ ๒ ประการ. นัยว่าอุบาสกเลื่อมใสในพระสงฆ์ และนัยใหม่ยิ่งเกิดแก่อุบาสกนั้นเพื่อกําหนดถือเอาสติปัฏฐาน.

ด้วยเหตุนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า มหตา อตฺเถน สํยุตฺโต เป็นผู้ประกอบด้วยประโยชน์ใหญ่. กันทรกปริพาชกได้ความเลื่อมใสในพระสงฆ์เท่านั้น.

บทว่า เอตสฺส ภควา กาโล ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า นี้เป็นกาลแห่งการแสดงธรรมนั้น ความว่า นี้เป็นกาลแห่งการกล่าวธรรมหรือว่าแห่งการจําแนกบุคคล ๔ จําพวก.

พึงทราบความในบทมีอาทิ โอรพฺภิโก ฆ่าแพะเลี้ยงชีวิตดังต่อไปนี้

แพะท่านเรียกว่า อุรพฺภะ ชื่อว่า โอรพฺภิโก เพราะฆ่าแพะ.

แม้ในบทมีอาทิว่า สูกริโก ฆ่าสุกรเลี้ยงชีวิตก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ลุทฺโท คือ เหี้ยมโหดหยาบคาย.

บทว่า มจฺฉฆาฏโก คือ พรานเบ็ดผู้ผูกปลา.

บทว่า พนฺธนาคาริโก คือ คนปกครองเรือนจํา.

บทว่า กุรูรกมฺมนฺตา คือ ทําการงานทารุณ.

บทว่า มุทฺธาวสิตฺโต คือ พระราชาได้รับมุรธาภิเษกด้วยการอภิเษกเป็นกษัตริย์.

บทว่า ปุรตฺถิเมน นครสฺส คือ ทางทิศบูรพาจาก


ความคิดเห็น 28    โดย บ้านธัมมะ  วันที่ 11 ธ.ค. 2564

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาสก์ เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 28

พระนคร.

บทว่า สนฺถาคารํ คือ โรงบูชายัญ.

บทว่า ขราชินํ นิวาเสตฺวา คือ ทรงนุ่งหนังเสือทั้งเล็บ.

บทว่า สปฺปิเตเลน ด้วยเนยใสและน้ำมัน. น้ำมันอย่างใดอย่างหนึ่งที่เหลือเว้นเนยใส ท่านเรียกว่า เตลํ น้ำมัน.

บทว่า กณฺฑวมาโน ทรงเกา คือ ทรงเกาด้วยเขาในเวลาที่ต้องเกาเพราะเล็บกุด.

บทว่า อนนฺตรหิตาย คือ มิได้ลาดด้วยเครื่องลาด.

บทว่า สรูปวจฺฉาย แห่งโคผู้มีรูปเช่นเดียวกับแม่โค คือ ถ้าแม่โคขาว ลูกโคก็ขาวด้วย ถ้าแม่โคด่างหรือแดง ลูกโคก็เป็นเช่นนั้นด้วย เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า สรูปวจฺฉา ด้วยประการฉะนี้.

บทว่า โส เอวมาห พระราชานั้นตรัสอย่างนี้.

บทว่า วจฺฉตรา ลูกโคมีกําลัง ผู้ถึงความมีกําลังเกินความเป็นลูกโคหนุ่ม.

แม้ในบทว่า วจฺฉตรี ลูกโคเมียก็มีนัยนี้เหมือนกัน.

บทว่า ปริสณฺาย เพื่อลาดพื้น คือ เพื่อต้องการทําเครื่องล้อม และเพื่อต้องการลาดบนพื้นบูชายัญ.

บทที่เหลือง่ายทั้งนั้นเพราะกล่าวไว้พิสดารแล้วในบทนั้นๆ ในหนหลัง.

จบอรรถกถากันทรกสูตรที่ ๑