[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒
พระวินัยปิฎก เล่ม ๒
มหาวิภังค์ ทุติยภาค
ปาจิตติยภัณฑ์
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ 449
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 470/449
พระบัญญัติ 450
เรื่องพระสารีบุตร 471/450
พระอนุบัญญัติ 451
สิกขาบทวิภังค์ 472/451
บทภาชนีย์ 452
อนาปัตติวาร 474/453
ปาจิตตีย์โภชนวรรคที่ ๔
อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ ๑ 453
ว่าด้วยการฉันอาหารในโรงทาน 453
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๒ 457
เรื่องพระเทวทัต 475/457
พระบัญญัติ 458
เรื่องภิกษุอาพาธ 476/458
พระอนุบัญญัติ๑ 459
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูถวายจีวร 477/459
พระอนุบัญญัติ ๒ 459
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูทําจีวร 478/460
พระอนุบัญญัติ ๓ 460
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวเดินทางไกล 479/460
พระอนุบัญญัติ ๔ 461
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวโดยสารเรือ 480/461
พระอนุบัญญัติ ๕ 462
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวประชุมใหญ่ 481/462
พระอนุบัญญัติ ๖ 462
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวภัตของสมณะ 482/463
พระอนุบัญญัติ ๗ 464
สิกขาบทวิภังค์ 483/464
บทภาชนีย์ 484/465
อนาปัตติวาร 485/466
โภชนวรรค คณโภชนสิกขาบทที่ ๒ 467
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องพระเทวทัต 467
ว่าด้วยสมัยที่ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้ 469
ว่าด้วยจตุตถะ ๕ หมวดมีอนิมันติตจตุตถะเป็นต้น 471
ว่าด้วยวิธีนิมนต์พระรับภิกษา 473
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓ 477
เรื่องบุรุษเข็ญใจ 486/477
พระบัญญัติ 480
เรื่องคิลานสมัย 487/480
พระอนุบัญญัติ ๑ 480
เรื่องจีวรทานสมัย 488/481
พระอนุบัญญัติ ๒ 481
เรื่องจีวรการสมัย 489/482
พระอนุบัญญัติ ๓ 482
เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ 490/482
สิกขาบทวิภังค์ 491/483
บทภาชนีย์ 492/484
อนาปัตติวาร 493/484
โภชนวรรค ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ ๓ 485
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องปรัมปรโภชนะ 485
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔ 489
เรื่องอุบาสิกาชื่อกาณมาตา 494/489
เรื่องพ่อค้า 495/491
พระบัญญัติ 492
สิกขาบทวิภังค์ 496/492
บทภาชนีย์ 497/493
อนาปัตติวาร 498/494
กาณมาตา สิกขาบทที่ ๔ 494
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องมารดาของนางกาณา 494
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๕ 498
เรื่องภิกษุหลายรูป 499/498
พระบัญญัติ 499
เรื่องอาหารเดน 500/499
พระอนุบัญญัติ 500
สิกขาบทวิภังค์ 501/500
บทภาชนีย์ 502/502
อนาปัตติวาร 503/502
ปฐมปวารณา สิกขาบทที่ ๕ 503
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องการห้ามภัต 503
ว่าด้วยโภชนะและธัญชาติ ๗ ชนิด 505
ว่าด้วยโภชนะต่างๆ เป็นเหตุห้ามและไม่ห้ามภัต 506
ว่าด้วยการฉันและการห้ามโภชนะ 510
ว่าดวยองค ้ ์ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย 511
ว่าด้วยการห้ามภัตมีการห้ามด้วยกายเป็นต้น 512
ว่าด้วยการห้ามภัตที่ระคนกัน 515
ว่าด้วยลักษณะของเป็นเดนเป็นต้น 517
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖ 521
เรื่องภิกษุ ๒ รูป 504/521
พระบัญญัติ 522
สิกขาบทวิภังค์ 505/523
บทภาชนีย์ 506/524
อนาปัตติวาร 507/525
ทุติยปวารณา สิกขาบทที่ ๖ 525
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องภิกษุ ๒ รูป 525
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗ 527
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ 508/527
พระบัญญัติ 528
สิกขาบทวิภังค์ 509/528
บทภาชนีย์ 510/529
อนาปัตติวาร 511/529
วิกาลโภชนสิกขาบทที่ ๗ 530
เรื่องภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไปดูมหรสพบนยอดเขา 530
อธิบายของควรเคี้ยวที่จัดเป็นกาลิกต่างๆ 531
ว่าด้วยลําต้นเปลือกและใบที่ควรเคี้ยว 534
ว่าด้วยดอกผลเมล็ดแป้งและยางที่ควรเคี้ยว 536
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔ 540
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสเถระ 512/540
พระบัญญัติ 541
สิกขาบทวิภังค์ 513/541
บทภาชนีย์ 514/542
อนาปัตติวาร 515/542
สันนิธิการก สิกขาบทที่ ๘ 543
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะทําการสั่งสม 543
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙ 547
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ 516/547
พระบัญญัติ 548
เรื่องภิกษุอาพาธ 517/548
พระอนุบัญญัติ 549
สิกขาบทวิภังค์ 518/549
บทภาชนีย์ 520/550
อนาปัตติวาร 521/551
ปณีตโภชนสิกขาบทที่ ๙ 551
แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องโภชนะประณีต 551
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ 555
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง 522/555
พระบัญญัติ 556
พระอนุบัญญัติ 556
สิกขาบทวิภังค์ 524/556
ลักษณะการรับประเคน 557
บทภาชนีย์ 525/557
อนาปัตติวาร 526/558
ทันตโปณสิกขาบทที่ ๑๐ 559
แก้อรรถภิกษุถือบังสกุลทุกอย่าง 559
ว่าด้วยการประเคนและการรับประเคน 560
บาลีมุตตกวินิจฉัย 562
การรับประเคนมีองค์ ๕ อย่าง 562
วิธีปฏิบัติเมื่อมีของตกลงในบาตรในเวลาต่างๆ 565
ว่าด้วยอัพโพหาริกนัยโดยทั่วๆ ไป 568
ว่าด้วยของเป็นอุคคหิตก์และไม่เป็น 570
หัวข้อประจําเรื่อง 578
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 4]
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 449
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๔๗๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ณ สถานอันไม่ ห่างจากพระนครสาวัตถีนั้น มีประชาชนหมู่หนึ่งได้จัดตั้งอาหารไว้ในโรงทาน พระฉัพพัคคีย์ครองผ้าเรียบร้อย ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร สาวัตถี เมื่อไม่ได้อาหาร ได้พากันไปสู่โรงทาน ประชาชนตั้งใจอังคาสด้วย ดีใจว่า แม้ต่อนานๆ ท่านจึงได้มา ครั้นวันที่ ๒ และวันที่ ๓ เวลาเช้า พระ ฉัพพัคดีย์ครองอันตรวาสกแล้ว ถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร สาวัตถี เมื่อไม่ได้อาหาร ได้พากันไปฉันในโรงทาน ครั้นแล้วได้ปรึกษากัน ว่า พวกเราจักพากันไปสู่อารามทำอะไรกันแม้พรุ่งนี้ก็จักต้องมาที่นี่อีก จึงพา กันอยู่ในโรงทานนั้นแหละ ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำ พวกเดียรถีย์พา กันหลีกไป ประชาชนจึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพวกพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำ อาหารในโรง ทานเขามิได้จัดไว้เฉพาะท่านเหล่านี้ เขาจัดไว้เพื่อคนทั่วๆ ไป.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเหล่านั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็นประจำเล่า ...
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 450
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธออยู่ฉันอาหารในโรงทานประจำ จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้อยู่ฉัน อาหารในโรงทานเป็นประจำเล่า การกระทำของพวก เธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๐.๑ ก. ภิกษุพึงฉันอาหารในโรงทานได้ครั้งหนึ่ง ถ้าฉัน ยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องพระสารีบุตร
[๔๗๑] สมัยต่อมา ท่านพระสูตรีบุตร เดินทางไปพระนครสาวัตถี ในโกศลชนบท ได้ไปยังโรงทานแห่งหนึ่ง ประชาชนตั้งใจอังคาสด้วยดีใจว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 451
แม้ต่อนานๆ พระเถระจึงได้มา ครั้นท่านพระสูตรีบุตรฉันอาหารแล้ว บังเกิด อาพาธหนัก ไม่สามารถจะหลีกไปจากโรงทานนั้นได้ ครั้นวันที่ ๒ ประชาชน พวกนั้น ได้กราบเรียนท่านว่า นิมนต์ฉันเถิด เจ้าข้า จึงท่านพระสูตรีบุตร รังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามการอยู่ฉัน อาหารในโรงทานเป็นประจำ ดังนี้ จึงไม่รับนิมนต์ ท่านได้ยอมอดอาหารแล้ว ครั้นท่านเดินทางไปถึง พระนครสาวัตถีแล้ว ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลายๆ ได้กราบทูลเนื้อความ นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันอาหารในโรงทานได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ อยู่ฉันอาหารในโรงทานเป็น ประจำได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ
๘๐.๑ ข. ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ พึงฉันอาหารในโรงทานได้ ครั้งหนึ่ง ถ้าฉันยิ่งกว่านั้น เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสารีบุตร จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๗๒] ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือ สามารถจะหลีกไปจากโรงทาน นั้นได้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 452
ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือ ไม่สามารถจะหลีกไปจากโรงทานนั้นได้.
ที่ชื่อว่า อาหารในโรงทาน ได้แก่ โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งเข้าจัดตั้งไว้ ณ ศาลา ปะรำ โคนไม้หรือที่กลางแจ้งมิได้จำเพาะใคร มี พอแก่ความต้องการ
ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธฉันได้ครั้งหนึ่ง หากฉันเกินกว่านั้น รับประเคน ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุก คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๗๓] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ฉันอาหารในโรง ทานยิ่งกว่านั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ฉันอาหารในโรงทาน ยิ่งกว่านั้น ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ ฉันอาหารในโรงทาน ยิ่งกว่า นั้น ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกะทุกกฏ
ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ไม่ต้องอาบัติ
ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ ... ไม่ต้องอาบัติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 453
อนาปัตติวาร
[๔๗๔] ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุไม่อาพาธฉันครั้งเดียว ๑ ภิกษุเดินทาง ไปหรือเดินทางกลับมาแวะฉัน ๑ เจ้าของนิมนต์ให้ฉัน ๑ ภิกษุฉันอาหารที่เขา จัดไว้จำเพาะ ๑ ภิกษุฉันอาหารที่เขามิได้จัดไว้มากมาย ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด เว้นโภชนะห้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑ จบ
ปาจิตตีย์โภชนวรรคที่ ๔
อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ ๑
พึงทราบวินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๑ แห่งโภชนวรรคดังต่อไปนี้
[ว่าด้วยการฉันอาหารในโรงทาน]
ก้อนข้าว (อาหาร) ในโรงทาน ชื่อว่า อาวสถปิณฑะ. อธิบายว่า อาหารที่เขาสร้างโรงทาน กั้นรั้วโดยรอบ มีกำหนดห้องและหน้ามุขไว้มากมาย จัดตั้งเตียงและตั่งไว้ตามสมควร แก่พวกคนเดินทาง คนไข้ หญิงมีครรภ์ และบรรพชิต แล้วจัดแจงไว้ในโรงทานนั้น เพราะเป็นผู้มีความต้องการบุญ, คือ วัตถุทุกอย่าง มีข้าวต้ม ข้าวสวย และเภสัชเป็นต้น เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้ เพื่อต้องการให้ทานแก่พวกคนเดินทางเป็นต้นนั้นๆ.
บทว่า ภิยฺโยปิ คือ แม้พรุ่งนี้.
บทว่า อปสกฺกนฺติ คือ ย่อมหลีกไป.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 454
สองบทว่า มนุสฺสา อุชฺฌายนฺติ มีความว่า พวกชาวบ้านไม่เห็น พวกเดียรถีย์ จึงถามว่า พวกเดียรถีย์ไปไหน? ได้ฟังว่าพวกเดียรถีย์เห็นภิกษุ ฉัพพัคคีย์เหล่านั้นหลีกไปแล้ว จึงพากันยกโทษ.
บทว่า กุกฺกุจายนฺโต มีความว่า กระทำความรังเกียจ คือ ให้ เกิดความสำคัญว่าไม่ควร.
หลายบทว่า สกฺโกติ ตมฺหา อาวสถา ปกฺกมิตุํ มีความว่าย่อม อาจเพื่อจะไปได้กึ่งโยชน์ หรือโยชน์หนึ่ง.
บทว่า น สกฺโกติ คือ ย่อมไม่อาจเพื่อจะไปตลอดที่ประมาณเท่า นี้นั่น แหละ
บทว่า อนุทฺทิสฺส มีความว่า เป็นของอันเขาจัดตั้งไว้เพื่อคนทุก จำพวก ไม่เจาะจงลัทธิอย่างนี้ว่า แก่เจ้าลัทธิพวกนี้เท่านั้น หรือว่าแก่พวกนัก บวชมีประมาณเท่านี้เท่านั้น.
บทว่า ยาวทตฺโถ มีความว่า เป็นของที่เขาจัดตั้งไว้มีพอแก่ความ ต้องการ ไม่จำกัดแม้โภชนะว่า เพียงเท่านี้.
บทว่า สกึ ภุญฺชิตพฺพํ คือ พึงฉันได้วันเดียว. ตั้งแต่วันที่ ๒ ไป เป็นทุกกฏในการรับประเคน เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
ส่วนวินิจฉัยในสิกขาบทนี้ ดังต่อไปนี้. โภชนะที่ตระกูลเดียวหรือ ตระกูลต่างๆ รวมกันจัดไว้ ในสถานที่แห่งเดียว หรือในสถานที่ต่างๆ กัน ก็ดี ในสถานที่ไม่แน่นอนอย่างนั้น คือ วันนี้ ที่ ๑ พรุ่งนี้ ที่ ๑ ก็ดี. ภิกษุฉัน วันหนึ่งในที่แห่งหนึ่งแล้ว ในวันที่ ๒ จะฉันในที่นั้น หรือในที่อื่น ไม่ควร. แต่โภชนะที่ตระกูลต่างๆ จัดไว้ในที่ต่างๆ กัน, ภิกษุฉันวันหนึ่งในที่หนึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 455
แล้ว ในวันที่ ๒ จะฉันในที่อื่นควรอยู่. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุฉันหมด ลำดับแล้วจะเริ่มตั้งต้นไปใหม่ไม่ควร ดังนี้. แม้ในคณะเดียวกัน ต่างคณะกัน บ้านเดียวกัน และต่างบ้านกัน ก็นัยนี้นั่นและ ส่วนภัตตาหารใด ที่ตระกูล เดียวจัด หรือตระกูลต่างๆ รวมกันจัดไว้ ขาดระยะไปในระหว่างเพราะไม่มี ข้าวสารเป็นต้น, แม้ภัตตาหารนั้น ก็ไม่ควรฉัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี ว่า ก็ถ้าว่าตระกูลทั้งหลายตัดขาดว่า พวกเราจักไม่อาจให้ เมื่อเกิดน้ำใจงาม ขึ้น จึงเริ่มให้ใหม่, จะกลับฉันอีกวันหนึ่ง ๑ ครั้งก็ได้
สองบทว่า อนาปตฺติ คิลานสฺส ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุ อาพาธผู้พักฉันอยู่.
บทว่า คจฺฉนฺโต วา มีความว่า ภิกษุใด เมื่อไปฉันวันหนึ่งใน ระหว่างทาง, และในที่ไปถึงแล้วฉันอีกวันหนึ่ง ไม่เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุนั้น. แม้ในภิกษุผู้มา ก็นัยนี้แล. จริงอยู่ ภิกษุผู้ไปแล้วกลับมา ย่อมได้เพื่อจะฉัน ในระหว่างทางวันหนึ่ง และในขากลับอีกวันหนึ่ง. เมื่อภิกษุคิดว่า จักไป ฉันแล้วออกไป แม่น้ำขึ้นเต็ม หรือว่ามีภัยคือโจรเป็นต้น, เธอกลับมาแล้ว ทราบว่าปลอดภัยแล้วไป ย่อมได้เพื่อจะฉันอีกวันหนึ่ง, คำทั้งหมดดังว่ามานี้ ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีเป็นต้น.
ข้อว่า อุทฺทิสฺส ปญฺตฺโต โหติ มีความว่า เป็นของที่เขาจัด ไว้จำเพาะ เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุทั้งหลายเท่านั้น.
บทว่า น ยาวทตฺโถ มีความว่า มิใช่เป็นของที่เขาจัดไว้เพียงพอ แก่ความต้องการ คือ มีเพียงเล็กๆ น้อยๆ , จะฉันโภชนะ แม้เช่นนั้นเป็น นิตย์ก็ควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 456
หลายบทว่า ปญฺจ โภชนานิ เปตฺวา สพฺพตฺถ ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในของทุกชนิด เช่น ยาคู ของควรเคี้ยว และผลไม้น้อยใหญ่ เป็นต้น, จริงอยู่ ภิกษุจะฉันโภชนะมียาคูเป็นต้นแม้เป็นนิตย์ก็ควร. บทที่เหลือ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทางกายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล
อาวสถปิณฑสิกขาบทที่ ๑ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 457
โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๒
เรื่องพระเทวทัต
[๔๗๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระเทวทัตเสื่อมจากลาภและสักการะ พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหาร ในตระกูลทั้งหลายมาฉัน ประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้เที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า โภชนะ. ที่ดีใครจะไม่พอใจ อาหารที่อร่อยใครจะไม่ชอบใจ
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้น เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระเทวทัต จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า แล้วกราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระเทวทัตว่า ดูก่อนเทวทัต ข่าวว่า เธอพร้อมด้วยบริษัท เที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉัน จริงหรือ.
พระเทวทัตทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารในตระกูลทั้งหลายมาฉันเล่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 458
การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๑.๒ ก. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระเทวทัต จบ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๔๗๖] สมัยนั้นแล ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้อาพาธฉัน ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ ไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันเป็นหมู่ได้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ฉันเป็นหมู่ได้.
ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 459
พระอนุบัญญัติ
๘๑.๒ ข. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉัน เป็นหมู่ ในสมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ ในสมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูถวายจีวร
[๔๗๗] สมัยต่อมาเป็นฤดูที่ชาวบ้านถวายจีวรกัน ประชาชนตกแต่ง ภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายด้วยตั้งใจว่า ให้ท่านฉัน แล้วจักให้ครองจีวร ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจ ไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย ภิกษุ ทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๒
๘๑.๒ ค. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉัน เป็น หมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูถวายจีวร จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 460
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูทำจีวร
[๔๗๘] สมัยต่อมา ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลายผู้ช่วยทำจีวรฉัน ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายพากัน รังเกียจ ไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน เราอนุญาต ให้ฉันเป็นหมู่ได้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๘๑.๒ ง. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราว ทำจีวร นิสมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในฤดูทำจีวร จบ
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวเดินทางไกล
[๔๗๙] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายพากันเดินทางไกลไปกับประชาชน คราวนั้นภิกษุเหล่านั้น ได้บอกประชาชนพวกนั้นว่า โปรดรอสักครู่หนึ่งเถิดจะ พวกฉันจักไปบิณฑบาต
ประชาชนพวกนั้นกล่าวนิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์ฉันที่นี้แหละเจ้าข้า
ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 461
ทรงอนุญาตว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่เดินทางไกล เราอนุญาต ให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ ๔
๘๑.๒ จ. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราว ที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล นี้สมัยในเรื่องนั้น
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาติให้ฉันเป็นหมู่ในคราวเดินทางไกล จบ
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวโดยสารเรือ
[๔๘๐] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายโดยสารเรือไปกับประชาชน ครั้งนั้น ภิกษุพวกนั้นได้บอกประชาชนพวกนั้นว่า โปรดจอดเรือที่ฝั่งสักครู่หนึ่งเถิดจ้า พวกฉันจักไปบิณฑบาต
ประชาชนพวกนั้น กล่าวนิมนต์อย่างนี้ว่า นิมนต์ฉันที่นี้แหละเจ้าข้า
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่พระผู้มี พระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรง อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวโดยสารเรือ เราอนุญาตใท้ ฉันเป็นหมู่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 462
พระอนุบัญญัติ ๕
๘๑.๒ ฉ. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉัน เป็น หมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่โดยสารเรือไป นี้สมัยใน เรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวโดยสารเรือ จบ
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวประชุมใหญ่
[๔๘๑] สมัยต่อมา ภิกษุทั้งหลายที่จำพรรษาในทิศทั้งหลาย เดินทาง มายังพระนครราชคฤห์เพื่อเฝ้าเยี่ยมพระผู้มีพระภาคเจ้า ประชาชนเห็นภิกษุผู้มา จากราชอาณาเขตต่างๆ จึงนิมนต์ฉันภัตตาหาร
ภิกษุทั้งหลายพากันรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวประชุมให้ เราอนุญาต ให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๖
๘๑.๒ ช. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะฉันเป็นหมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราวที่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 463
ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่โดยสารเรือไป คราวประชุมใหญ่ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวประชุมใหญ่ จบ
ทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวภัตของสมณะ
[๔๘๒] สมัยต่อมา พระญาติร่วมสายโลหิตของพระเจ้าพิมพิสารจอม เสนามาคธราชทรงผนวชอยู่ในสำนักอาชีวก คราวนั้นแล อาชีวกนั้นเข้าเฝ้า พระเจ้าพิมพิสารจอมเสนามาคธราชถึงพระราชสำนัก ครั้นแล้วได้ถวายพระพร ว่า ขอถวายพระพร อาตมภาพปรารถนาจะทำภัตตาหารเลี้ยงนักบวชที่ถือลัทธิ ต่างๆ ท้าวเธอตรัสว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ถ้าพระคุณเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มี มีพระพุทธเจ้าเป็นมุขให้ฉันก่อน ฉันจึงจะจัดทำถวายอย่างนั้นได้
จึงอาชีวกนั้นส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลาย อาราธนาว่า ขอภิกษุ ทั้งหลาย จงรับภัตตาหารของข้าพเจ้า เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้.
ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า การฉันเป็นหมู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว.
จึงอาชีวกนั้นเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงพุทธสำนัก ครั้นแล้วได้ กราบทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้เป็นที่ระลึก ถึงกันไปแล้วได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง กราบทูลว่า แม้พระโคดมผู้เจริญก็ เป็นบรรพชิต แม้ข้าพเจ้าก็เป็นบรรพชิต บรรพชิตควรรับอาหารของบรรพชิต ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงรับภัตตาหารของข้าพเจ้าเพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์เถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 464
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยอาการดุษณี ครั้นอาชีวกนั้น ทราบการทรงรับนิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กลับไป
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ในคราวภัตของสมณะ เราอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ได้.
ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่า ดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๗
๘๑.๒ ญ. เว้นไว้แต่สมัยเป็นปาจิตตีย์ ในเฉพาะฉันเป็น หมู่ นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวอาพาธ คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คราวที่ทำจีวร คราวที่เดินทางไกล คราวที่โดยสารเรือไป คราว ประชุมใหญ่ คราวภัตของสมณะ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องทรงอนุญาตให้ฉันเป็นหมู่ในคราวภัตของสมณะ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๘๓] ที่ชื่อว่า ฉันเป็นหมู่ คือ คราวที่มีภิกษุ ๔ รูปอันเขา นิมนต์ด้วยโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง แล้วฉัน ในชื่อว่าฉันเป็นหมู่.
บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า คราวอาพาธ คือ โดยที่สุดแม้เท้าแตก ภิกษุคิดว่าเป็น คราวอาพาธแล้วฉันได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 465
ที่ชื่อว่า คราวที่เป็นฤดูถวายจีวร คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน กำหนดท้ายฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกฐินกรานแล้ว ๕ เดือน ภิกษุคิดว่าเป็นคราว ที่เป็นฤดูถวายจีวร แล้วฉันได้.
ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุกำลังทำจีวรกันอยู่ ภิกษุคิด ว่าเป็นคราวที่ทำจีวร แล้วฉันได้
ที่ชื่อว่า คราวเดินทางไกล คือ ภิกษุคิดว่า จักเดินทางไปถึงกึ่ง โยชน์ แล้วฉัน ได้ เมื่อจะไปก็ฉันได้ มาถึงแล้วก็ฉันได้.
ที่ชื่อว่า คราวโดยสารเรือไป คือ ภิกษุคิดว่า เราจักโดยสารเรือ ไป แล้วฉันได้ เมื่อจะโดยสารไปก็ฉันได้ โดยสารกลับมาแล้วก็ฉันได้.
ที่ชื่อว่า คราวประชุมใหญ่ คือ คราวที่มีภิกษุ ๒ - ๓ รูปเที่ยว บิณฑบาตพอเลี้ยงกัน แต่เมื่อมีรูปที่ ๔ มารวมด้วย ไม่พอเลี้ยงกัน ภิกษุคิด ว่าเป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันได้.
ที่ชื่อว่า คราวภัตของสมณะ คือ คราวที่มีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งนับเนื่อง ว่าเป็นนักบวชทำภัตตาหารถวาย ภิกษุคิดว่าเป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันได้.
นอกจากสมัย ภิกษุรับว่า จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ กลืนกิน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๘๔] ฉัน เป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่าฉันเป็นหมู่ เว้นไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ฉันเป็นหมู่ ภิกษุสงสัย เว้นไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 466
ฉันเป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ฉันเป็นหมู่ เว้นไว้แต่สมัย ฉัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกะทุกกฏ
มิใช่ฉัน เป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่าฉันเป็นหมู่ ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
มิใช่ฉันเป็นหมู่ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
มิใช่ฉัน เป็นหมู่ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ฉันเป็นหมู่ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
[๔๘๕] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุ ๒ - ๓ รูปฉันรวมกัน ๑ ภิกษุหลาย รูปเที่ยวบิณฑบาตแล้วประชุมฉันแห่งเดียวกัน ๑ ภัตเขาถวายเป็นนิตย์ ๑ ภัต เข้าถวายตามสลาก ๑ ภัตเขาถวายในปักข์ ๑ ภัตเขาถวายในวันอุโบสถ ๑ ภัต เขาถวายในวันปาฎิบท ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิด เว้นโภชนะ ห้า ๑ ภิกษุ- วิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 467
โภชนวรรค คณโภชนสิกขาบทที่ ๒
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๒ พึงทราบดังนี้
[แก้อรรถกถาปฐมบัญญัติ เรื่องพระเทวทัต]
บทว่า ปริหีนลาภสกฺกาโร มีความว่า ได้ยินว่า พระเทวทัตนั้น แนะนำให้พระเจ้าอชาตศัตรูปลงพระชนม์พระราชาก็ดี สั่งนายขมังธนูไป (เพื่อ ปลงพระชนม์พระตถาคต) ก็ดี ทำโลหิตุปบาทก็ดี ได้เป็นผู้ลี้ลับปกปิด, แต่ ในเวลาปล่อยช้างธนบาลก์ไปในกลางวันแสกๆ นั่นแล ได้เกิดเปิดเผยขึ้น.
คืออย่างไร? คือ เพราะว่า เมื่อเกิดพูดกันขึ้นว่า พระเทวทัต ปล่อยช้างไป (เพื่อปลงพระชนม์พระตถาคต) ก็ได้เป็นผู้ปรากฏชัดว่า มิใช่ แต่ปล่อยช้างอย่างเดียว แม้พระราชา พระเทวทัตก็ให้ปลงพระชนม์ ถึงพวก นายขมังธนูก็ส่งไป แม้ศิลาก็กลิ้ง, พระเทวทัตเป็นคนลามก. และเมื่อมีผู้ถาม ว่า พระเทวทัตได้ทำกรรมนี้ร่วมกับใคร? ชาวเมืองกล่าวว่า กับพระเจ้าอชาตศัตรู. ในลำดับนั้น ชาวเมืองก็ลุกฮือขึ้น พูดว่า ไฉนหนอ พระราชาจึง เที่ยวสมคบโจรผู้เป็นเสี้ยนหนามต่อพระศาสนาเห็นปานนี้เล่า? พระราชาทรง ทราบความกำเริบของชาวเมือง จึงทรงขับไสไล่ส่งพระเทวทัตไปเสีย และตั้ง แต่นั้นมาก็ทรงตัดสำรับ ๕๐๐ สำรับ แห่งพระเทวทัตนั้นเสีย. แม้ที่บำรุงพระเทวทัตนั้น ก็มิได้เสด็จไป, ถึงชาวบ้านพวกอื่นก็ไม่สำคัญของอะไรๆ ที่จะ พึงถวาย หรือพึงทำแก่พระเทวทัตนั้น. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงกล่าวว่า มีลาภและสักการะเสื่อมสิ้นแล้ว.
ข้อว่า กุเลสุ วิญฺาเปตฺวา วิญฺาปตฺวา ภุญฺชติ มีความว่า พระเทวทัตนั้น ดำริว่า คณะของเราอย่าได้แตกกันเลย เมื่อจะเลี้ยงบริษัท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 468
จึงได้พร้อมด้วยบริษัทเที่ยวขออาหารฉัน อยู่ในตระกูลทั้งหลายอย่างนี้ว่า ท่าน จงถวายภัตแก่ภิกษุ ๑ รูปท่านจงถวายแก่ภิกษุ ๒ รูป ดังนี้.
คำว่า จีวรํ ปริตฺตํ อุปฺปชฺชติ มีความว่า ชาวบ้านทั้งหลายไม่ ถวายจีวรแก่ภิกษุผู้ไม่รับภัตตาหาร ; เพราะเหตุนั้น จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย.
ข้อว่า จีวรการเก ภิกขู ภตฺเตน นิมนฺเตนฺติ มีความว่า พวก ชาวบ้านเห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบิณฑบาต ในบ้าน แล้วทำจีวรให้เสร็จช้า จึงนิมนต์ด้วยความประสงค์บุญว่า ภิกษุทั้งหลายจักยังจีวรให้เสร็จแล้วใช้สอย ด้วยอาการอย่างนั้น
บทว่า นานาเวรชฺชเก ได้แก่ ผู้มาจากรัฐต่างๆ คือ จากราชอาณาจักรอื่น. ปาฐะว่า นานาเวรญฺชเก ก็มี. เนื้อความก็อย่างนี้เหมือนกัน.
[อรรถาธิบายว่าด้วยการฉันเป็นคณะ]
บทว่า คณโภชเน คือ ในเพราะการฉันของหมู่ (ในเพราะการ ฉันเป็นหมู่) ก็ในสิกขาบทนี้ ทรงประสงค์เอาภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป ชื่อว่า ว่า คณะ (หมู่). พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงกำหนดด้วยคำนั้นนั่น แล จึงตรัสว่า ยตฺถ จตฺตาโร ภิกฺขูฯปฯ เอตํ คณโภชนํ นาม ดังนี้.
ก็คณโภชนะนี้นั้น ย่อมเป็นไปโดยอาการ ๒ อย่าง คือ โดยการ. นิมนต์อย่าง โดยวิญญัติอย่าง ๑. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างไร? คือ ทายกเข้าไปหาภิกษุ ๔ รูป แล้วนิมนต์ระบุชื่อโภชนะทั้ง ๕ โดยไวพจน์อย่าง ใดอย่างหนึ่ง หรือโดยภาษาอื่น อย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ ผมนิมนต์ท่านด้วย ข้าวสุก, ขอท่านจงถือเอาข้าวสุกของผม, จงหวัง จงตรวจดู จงต้อนรับ ซึ่งข้าวสุกของผม ดังนี้. ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป รับนิมนต์รวมกันอย่างนี้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 469
ไปพร้อมกันเพื่อฉันในวันนี้ หรือเพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ ด้วยอำนาจแห่งเวลา ที่เขากำหนดไว้รับรวมกัน ฉันรวมกัน จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ทั้งหมด.
ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน ต่างคนต่างฉัน ก็เป็นอาบัติเหมือน กัน. จริงอยู่ การรับประเคนนั่นแหละเป็นประมาณในสิกขาบทนี้. ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์รวมกัน จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกันก็ตาม, รับประเคนต่าง กัน จะฉันรวมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ไม่เป็นอาบัติ.
ภิกษุทั้งหลายไปยังบริเวณ หรือวิหาร ๔ แห่ง รับนิมนต์ต่างกันหรือ บรรดาภิกษุผู้ยืนอยู่ในที่แห่งเดียวกันนั่นแหละ รับนิมนต์ต่างกัน แม้อย่างนี้ คือ ลูกชายนิมนต์ ๑ รูป บิดานิมนต์ ๑ รูป จะไปพร้อมกัน หรือไปต่างกัน ก็ตาม, จะฉันพร้อมกัน หรือฉันต่างกันก็ตาม ถ้ารับประเคนรวมกัน จัดเป็น คณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด. ย่อมเป็นไปโดยการนิมนต์อย่างนั้นก่อน.
ย่อมเป็นไปโดยวิญญัติอย่างไร คือ ภิกษุ ๔ รูป ยืน หรือนั่งอยู่ ด้วยกัน เห็นอุบาสกแล้วออกปากขอว่า ท่านจงถวายภัตตาหารแก่พวกเรา ทั้ง ๔ รูป ดังนี้ ก็ดี ต่างคนต่างเห็นแล้วออกปากขอรวมกัน หรือขอต่างกัน อย่าง นี้ว่า ท่านจงถวายแก่เรา, ท่านจงถวายแก่เรา ดังนี้ก็ดี จะไปพร้อมกัน หรือ ไปต่างกันก็ตาม, แม้รับประเคนภัตแล้ว จะฉันร่วมกันหรือฉันต่างกันก็ตาม, ถ้ารับประเคนรวมกัน, จัดเป็นคณโภชนะ, เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด, ย่อม เป็นไปโดยวิญญัติอย่างนี้,
[ว่าด้วยสมัยที่ทรงอนุญาตให้ฉันคณโภชนะได้]
สองบทว่า ปาทาปิ ผาลิตา มีความว่า (เท้าทั้ง ๒) แตกโดย อาการที่เนื้อปรากฏให้เห็นข้างหน้าหนังใหญ่ เพียงถูกทรายหรือกรวดกระทบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 470
ก็ก่อให้เกิดทุกข์ขึ้น ไม่สามารถจะไปเที่ยวบิณฑบาตภายในบ้านได้. ในอาพาธ เช่นนั้น ควรฉันได้ด้วยคิดว่า เป็นคราวอาพาธ (แต่) ไม่ควรทำให้เป็น กัปปิยะด้วยเลศ.
สองบทว่า จีวเร กริยมาเน มีความว่า ในคราวที่พวกภิกษุได้ผ้า และด้ายแล้วกระทำจีวร. แท้จริง ชื่อว่า จีวรการสมัย แผนกหนึ่งไม่มี. เพราะ เหตุนั้น ภิกษุใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งที่ควรทำในจีวรนั้น สมดังที่ท่าน กล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ชั้นที่สุดภิกษุผู้ร้อยเข็ม (ผู้สนเข็ม) ดังนี้ก็มี, ภิกษุ นั้นควรฉันได้ด้วยคิดว่า เป็นจีวรการสมัย. ส่วนในกุรุนทีท่านกล่าวไว้โดยพิสดารทีเดียวว่า ภิกษุใด กะจีวร ตัด จีวร ด้นด้ายเนา ทาบผ้าเพาะ เย็บล้มตะเข็บ ติดผ้าดาม ตัดอนุวาท ฟัน ด้าย เย็บสอยตะเข็บในจีวรนั้น กรอด้าย ม้วนด้าย (ควบด้าย) ลับมีดเล็ก ทำเครื่องปั่นด้าย, ภิกษุแม้ทั้งหมดนี้ ท่านเรียกว่า ทำจีวรทั้งนั้น, แต่ภิกษุ ใดนั่งใกล้ๆ กล่าวชาดกก็ดี ธรรมบทก็ดี ภิกษุนี้ไม่ใช่ผู้ทำจีวร, ยกเว้นภิกษุ นี้เสีย ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะคณโภชนะ.
บทว่า อฑฺฒโยชนํ ได้แก่ ผู้ประสงค์จะเดินทางไกลแม้ประมาณ เท่านี้. ก็ภิกษุใดประสงค์จะเดินทางไกล, ในภิกษุนั้น ไม่มีถ้อยคำที่จะต้อง กล่าวเลย.
บทว่า คจฺฉนฺเตน มีความว่า ภิกษุผู้เดินทางไกล จะฉันแม้ในที่ คาวุตหนึ่งภายในกึ่งโยชน์ ก็ควร.
สองบทว่า คเตน ภุญฺชิตพฺพํ คือ ผู้ไปแล้วพึงฉันได้วันหนึ่ง. แม้ในเวลาโดยสารเรือไป ก็นัยนี้นั่นแล. ส่วนความแปลกกันดังต่อไปนี้ :- ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ภิกษุผู้โดยสารเรือไป แม้ถึงที่อันตนปรารถนาแล้ว พึง ฉันได้ตลอดเวลาที่ตนยังไม่ขึ้น (จากเรือ).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 471
กำหนดว่า จตุตฺเถ อาคเต นี้ เป็นกำหนดอย่างต่ำที่สุด. แม้เมื่อ ภิกษุรูปที่ ๔ มา ภิกษุทั้งหลายไม่พอเลี้ยงกัน ในสมัยใด สมัยนั้น จัดเป็นคราว ประชุมใหญ่ได้. ก็ในคราวที่ภิกษุประชุมกันตั้ง ๑๐๐ รูป หรือ ๑,๐๐๐ รูป ไม่มีคำที่จะต้องกล่าวเลย, เพราะฉะนั้น ในกาลเช่นนั้น ภิกษุพึงอธิษฐานว่า เป็นคราวประชุมใหญ่ แล้วฉันเถิด.
คำว่า โย โกจิ ปริพฺพาชกสมาปนฺโน ได้แก่ บรรดาพวก สหธรรมิกก็ดี พวกเดียรถีย์ก็ดี นักบวชพวกใดพวกหนึ่ง, ก็เมื่อนักบวชมี สหธรรมิกเป็นต้นเหล่านั้น รูปใดรูปหนึ่งทำภัตตาหารแล้ว ภิกษุพึงอธิษฐานว่า เป็นคราวภัตของสมณะ แล้วฉันเถิด.
สองบทว่า อนาปตฺติ สมเย ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติในสมัยทั้ง ๗ สมัยใดสมัยหนึ่ง.
คำว่า เทฺว ตโย เอกโต มีความว่า แม้ภิกษุเหล่าได้ยินดีการ นิมนต์ที่ไม่สมควร รับรวมกัน ๒ รูป หรือ ๓ รูป แล้วฉัน, ไม่เป็นอาบัติ แม้แก่ภิกษุพวกนั้น.
[ว่าด้วยจตุตถะ ๕ หมวดมีอนิมันติตจตุตถะเป็นต้น]
ในคำว่า เทฺว ตโย เอกโต นั้น บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยด้วยอำนาจ จตุกกะ ๕ หมวด คือ อนิมันติตจตุตถะ (มีภิกษุไม่ได้นิมนต์เป็นที่ ๔) ๑ ปิณฑปาติกจตุตถะ (มีภิกษุถือบิณฑบาตเป็นวัตรเป็นที่ ๔) ๑ อนุปสัมปันนจตุตถะ (มีอนุปสัมบันเป็นที่ ๔) ๑ ปัตตจตุตถะ (มีบาตรเป็น ที่ ๔) ๑ คิลานจตุตถะ (มีภิกษุอาพาธเป็นที่ ๔) ๑.
คืออย่างไร? คือ คนบางตนในโลกนี้ นิมนต์ภิกษุ ๘ รูปว่า นิมนต์ ท่านรับภัต (ข้าวสวย). ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ไป ๓ รูป, ไม่ไป ๑ รูป อุบาสก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 472
ถามว่า ท่านขอรับ! พระเถระรูปหนึ่งไปไหน ภิกษุตอบว่า ไม่มา อุบาสก! อุบาสกนั้นนิมนต์ภิกษุอื่นบางรูป ซึ่งมาถึงเข้าในขณะนั้น ให้เข้านั่งร่วมว่า นิมนต์ท่านมาเถิด ขอรับ แล้วถวายภัตแก่ภิกษุทั้ง ๔ รูป. ไม่เป็นอาบัติแก่ ภิกษุแม้ทั้งหมด. เพราะเหตุไร เพราะภิกษุคณปูรกะ (รูปที่ครบคณะ) เขาไม่ได้นิมนต์. จริงอยู่ ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ภิกษุ ๓ รูปเท่านั้นเขานิมนต์ ได้รับประเคนแล้ว, คณะยังไม่ครบด้วยภิกษุ ๓ รูปนั้น, และรูปที่ครบคณะ เขาไม่ได้นิมนต์, คณะจึงแยกเพราะภิกษุนั้น, ภิกขุจตุตถะดังว่ามานี้ ชื่อว่า อนิมันติตจทุตถะ.
พึงทราบวินิจฉัยในปิณฑปาติกจตุตถะ :- ในเวลานิมนต์ มีภิกษุถือ บิณฑบาตเป็นวัตรรูปหนึ่ง เธอจึงไม่รับ. แต่ในเวลาจะไป เมื่อพวกภิกษุรับ นิมนต์กล่าวว่า นิมนต์ท่านมาเถิด ขอรับ! แล้วพาเอาภิกษุนั้นแม้ผู้ไม่ไป เพราะไม่ได้รับนิมนต์ ไปด้วยกล่าวว่า มาเถิด ท่านจักได้ภิกษา. ภิกษุนั้นทำ คณะนั้นให้แยกกัน. เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทั้งหมด.
พึงทราบวินิจฉัยในอนุปสัมบันนจตุตถะ :- พวกภิกษุรับนิมนต์พร้อม กับสามเณร. แม้สามเณรนั้น ก็ทำคณะให้แยกกัน ได้.
พึงทราบวินิจฉัยในปัตตจตุตถะ :- ภิกษุรูปหนึ่งไม่ไปเอง ส่งบาตรไป. แม้ด้วยอาการอย่างนี้ คณะก็แยก. เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป.
พึงทราบวินิจฉัยในคิลานจตุตถะ : พวกภิกษุรับนิมนต์รวมกับภิกษุ อาพาธ. ในภิกษุ ๔ รูปนั้น ภิกษุอาพาธเท่านั้นไม่เป็นอาบัติ แต่เธอเป็น คณปูรกะของภิกษุนอกนี้ได้. คณะจึงไม่แยกเพราะภิกษุอาพาธเลย. เพราะฉะนั้น จึงเป็นอาบัติแก่ภิกษุเหล่านั้นแท้. แต่ในมหาปัจจรีท่านกล่าวไว้ โดยไม่แปลก กันว่า ภิกษุอาพาธได้สมัย (คราวอาพาธ) จึงพ้น ไปได้ด้วยตนเองเท่านั้น,
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 473
ทำให้เป็นอาบัติแก่ภิกษุที่เหลือ เพราะเป็นคณปูรกะ. เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษา พึงทราบจตุกกะด้วยอำนาจแม้แห่งภิกษุผู้ได้จีวรทานสมัยเป็นต้น.
ก็ถ้าว่า ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่งในภิกษุ ๔ รูป แม้ผู้รับนิมนต์แล้วไป กล่าวว่า ผมจักแยกคณะของพวกท่าน, ขอพวกท่านจงรับการนิมนต์ เมื่อพวก ชาวบ้านจะรับบาตรเพื่อประโยชน์แก่ภัต ในที่สุดแห่งยาคูและของควรเคี้ยว ไม่ให้ (บาตร) กล่าวว่า พวกท่านให้ภิกษุเหล่านั้นฉัน แล้วส่งกลับไปก่อน, อาตมาทำอนุโมทนาแล้วจักไปตามหลัง แล้วนั่งอยู่, ครั้นภิกษุเหล่านั้นฉันเสร็จ แล้วไป, เมื่ออุบาสกกล่าวว่า โปรดให้บาตรเถิด ขอรับ แล้ว รับบาตรไป ถวายภัตฉันเสร็จทำอนุโมทนาแล้วจึงไป, ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุทุกรูป
จริงอยู่ ความผิดสังเกตในคณโภชนะ ย่อมไม่มีด้วยอำนาจแห่งโภชนะ ๕ อย่างเลย. พวกภิกษุรับนิมนต์ด้วยข้าวสุก แม้รับขนมกุมมาส ก็ต้องอาบัติ และโภชนะเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นไม่ได้รับรวมกัน. แต่มีความผิดสังเกตด้วย อาหารวัตถุมียาคูเป็นต้น. ยาคูเป็นต้นเหล่านั้น ภิกษุเหล่านั้นรับรวมกันได้แล. ภิกษุผู้ฉลาดรูปหนึ่ง ย่อมทำไม่ให้เป็นอาบัติแม้แก่ภิกษุเหล่าอื่น ด้วยประการ อย่างนี้.
[ว่าด้วยวิธีนิมนต์พระรับภิกษา]
เพราะฉะนั้น ถ้าคนบางคนถูกผู้ประสงค์จะทำสังฆภัต วานไปเพื่อ ต้องการให้นิมนต์ (พระ) มายังวิหาร ไม่กล่าวว่า ท่านขอรับ พรุ่งนี้นิมนต์ รับภิกษาในเรือนของพวกกระผม กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับภัต ก็ดี ว่า นิมนต์ ท่านรับสังฆภัต ก็ดี ว่า ขอสงฆ์จงรับภัต ก็ดี, พระภัตตุทเทสก์พึงเป็นผู้ฉลาด. พึงเปลื้องพวกภิกษุผู้รับนิมนต์จากคณโภชน์ , พึงเปลื้องภิกษุพวกถือปิณฑิ- ปาติกธุดงค์จากความแตกแห่งธุดงค์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 474
คืออย่างไร? คือ พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวอย่างนั้นก่อนว่า พรุ่งนี้ ไม่อาจ (รับ) อุบาสก! เมื่ออุบาสกกล่าวว่า มะรืนนี้ ขอรับ! พึงกล่าวว่า มะรืนนี้ก็ไม่อาจ (รับได้) อุบาสกเลื่อนไปอย่างนั้น แม้จนถึงกึ่งเดือน พระภัตตุทเทสก์พึงพูดอีกว่า ท่านพูดอะไร? ถ้าแม้นอุบาสกพูดย้ำอีกว่า นิมนต์ ท่านรับสังฆภัต, ลำดับนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงทำไขว้เขวไปอย่างนี้ว่า อุบาสก! จงทำดอกไม้นี้ จงทำหญ้านี้ ให้เป็นกัปปิยะก่อน แล้วย้อนถามอีกว่า ท่าน พูดอะไร? ถ้าแม้น เขายังพูดซ้ำแม้อย่างนั้นนั่นแหละ, พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ! ท่านจักไม่ได้พระมหาเถระ ผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ท่านจักได้พวกสามเณร. และเมื่อเขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกคนในบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ให้ พระคุณเจ้าผู้เจริญฉัน มิใช่หรือ ผมจะไม่ได้ เพราะเหตุไร? พึงกล่าวว่า พวกเขารู้จักนิมนต์ (ส่วน) ท่านไม่รู้จักนิมนต์. เขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกเขานิมนต์อย่างไร? พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า นิมนต์รับภิกษา ของพวกกระผมขอรับ! ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่พูดนั้นแล, การนิมนต์ นั้นสมควร.
ถ้าเขายังกล่าวซ้ำอีกว่า นิมนต์รับภัต พึงกล่าวว่า ผู้มีอายุ! คราวนี้ ท่านจักไม่ได้ภิกษุมาก จักได้เพียง ๓ รูปเท่านั้น. ถ้าเขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกชาวบ้านโน้นบ้านโน้นและบ้านโน้น นิมนต์ภิกษุสงฆ์ทั้งหมดให้ฉันมิใช่หรือ? ผมจะไม่ได้เพราะเหตุไรเล่า? พึงกล่าวว่า ท่านไม่รู้จักนิมนต์. ถ้าเขาถามว่า ท่านขอรับ! พวกเขานิมนต์อย่างไร พึงกล่าวว่า พวกเขากล่าวอย่างนี้ว่า ท่านขอรับ! นิมนต์รับภิกษาของพวกกระผม. ถ้าแม้นเขากล่าวเหมือนอย่างที่ พูดนั้นนั่นแหละ, การนิมนต์นั่นสมควร.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 475
ถ้าเขาพูดว่า ภัตรเท่านั้น แม้อีก. ทีนั้น พระภัตตุทเทสก์พึงกล่าวว่า ไปเสียเถิดท่าน, พวกเราไม่มีความต้องการด้วยภัตของท่าน บ้านนี้เป็นที่เที่ยว ไปบิณฑบาตประจำของพวกเรา, พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านนี้. เขา กล่าวว่า นิมนต์ท่านเที่ยวไปยังบ้านนั้นเถิด ขอรับ! แล้วกลับมา ชาวบ้าน ถามว่า ผู้เจริญ! ท่านได้พระแล้วหรือ? เขาพูดว่า ในเรื่องนิมนต์นี้ มีคำ จะต้องพูดมาก, จะมีประโยชน์อะไร ด้วยคำพูดที่จะพึงกล่าวให้มากนี้. พระเถระ ทั้งหลายพูดว่า พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตพรุ่งนี้, คราวนี้พวกท่านอย่า ประมาท.
ในวันรุ่งขึ้น พระสังฆเถระพึงบอกภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำเจติยวัตรแล้ว ยืนอยู่ว่า คุณ! ที่บ้านใกล้มีสังฆภัต, แต่คนไม่ฉลาดได้ไปแล้ว, ไปเถิด พวกเราจักเที่ยวไปบิณฑบาตในบ้านใกล้. พวกภิกษุพึงทำตามคำของพระเถระ ไม่พึงเป็นผู้ว่ายาก, พึงเที่ยวไปบิณฑบาต อย่ายืนที่ประตูบ้านเลย. เมื่อชาวบ้าน เหล่านั้นรับบาตรนิมนต์ให้นั่งฉัน พึงฉันเถิด. ถ้าเขาจัดวางภัตไว้ที่หอฉันแล้ว เที่ยวไปบอกในถนนว่า นิมนต์รับภัตที่หอฉัน ขอรับ! ไม่สมควร. แต่ถ้าเขา ถือเอาภัตไปในที่นั้นๆ เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด หรือรีบนำไปยังวิหารทีเดียว วางไว้ในที่อันสมควร แล้วถวายแก่พวกภิกษุผู้มาถึงแล้วๆ , ภิกษานี้ ชื่อว่า ภิกษาที่เขานำมาจำเพาะ ย่อมสมควร.
แต่ถ้าเขาเตรียมทานไว้ที่โรงครัว แล้วเที่ยวไปยังบริเวณนั้นๆ เรียน ว่า นิมนต์รับภัตที่โรงครัว ไม่สมควร. แต่พวกชาวบ้านใด พอเห็นพวกภิกษุ ผู้เข้าไปบิณฑบาต ก็ช่วยกันกวาดหอฉัน นิมนต์ให้นั่งฉัน ที่หอฉันนั้น. ไม่ พึงปฏิเสธชนเหล่านั้น. แต่ชนเหล่าใด เห็นพวกภิกษุผู้ไม่ได้ภิกษาในบ้าน กำลังออกจากบ้านไป เรียนว่า นิมนต์รับภัตเถิด ขอรับ! ไม่พึงปฏิเสธคน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 476
เหล่านั้น. หรือว่า ไม่พึงกลับ ถ้าพวกเขาพูดว่า นิมนต์กลับเถิด ขอรับ! ขอนิมนต์รับภัต จะกลับไปในบทที่เขากล่าวว่า นิมนต์กลับเถิด ก็ได้.
ชาวบ้านกล่าวว่า นิมนต์กลับเถิดขอรับ! ภัตในเรือนทำเสร็จแล้ว, ภัตในบ้านทำเสร็จแล้ว. จะกลับไปด้วยคิดว่า ภัตในเรือนและในบ้าน ย่อมมี เพื่อใครคนใดคนหนึ่งก็ได้ สมควรอยู่. เขากล่าวให้สัมพันธ์กัน ด้วยคำว่า นิมนต์ กลับไปรับ ภัตเถิด ดังนี้ จะกลับไปไม่ควร. แม้ในคำที่ชาวบ้านเห็นพวกภิกษุ ผู้กำลังออกจากโรงฉันไปเพื่อเที่ยวบิณฑบาต แล้วกล่าวว่า นิมนต์นั่งเถิด ขอรับ! ขอนิมนต์รับภัต ดังนี้ ก็นัยนี้นั่นแล.
ภัตประจำ เรียกว่า นิตยภัต. ชาวบ้านพูดว่า นิมนต์รับนิตยภัต จะรับร่วมกันมากรูป ก็ควร. แม้ในสลากภัตเป็นต้น ก็นัยนี้นั่นแล. บทที่ เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานเหมือนเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตทกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
คณโภชนสิกขาบทที่ ๒ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 477
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องบุรุษเข็ญใจ
[๔๘๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร ศาลา ป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ประชาชนได้จัดทั้งลำดับ ภัตตาหารอัน ประณีตไว้ นพระนครเวสาลี คราวนั้น กรรมกรเข็ญใจคนหนึ่ง ดำริว่า ทานนี้จักไม่เป็นกุศลเล็กน้อย เพราะประชาชนพวกนี้ทำภัตตาหารโดย เคารพ ผิฉะนั้น เราควรทำภัตตาหารบ้าง ดังนั้นเขาจึงเข้าไปหานายกิรปติกะ บอกความจำนงว่า คุณครับ กระผมปรารถนาจะทำภัตตาหารถวายภิกษุสงฆ์มี พระพุทธเจ้าเป็นประมุข ขอท่านโปรดให้ค่าจ้างแก่กระผม แม้นายกิรปติกะนั้น ก็เป็นคนมีศรัทธาเลื่อมใส เขาจึงได้ให้ค่าจ้างแก่กรรมกรเข็ญใจนั้นเกินปกติ ฝ่ายกรรมกรเข็ญใจนั้น ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้กราบทูลอาราธนาว่า ขอพระองค์พร้อม ด้วยภิกษุสงฆ์ ทรงพระกรุณาโปรดรับภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้า เพื่อ เจริญบุญกุศลและปีติปราโมทย์ ในวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระพุทธเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่นัก เธอจงทราบ กรรมกรนั้นกราบทูลว่า ภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ก็ไม่เป็นไร พระพุทธเจ้าข้า ผล พุทราข้าพระพุทธเจ้าจัดเตรียมไว้มาก อาหารที่เป็นเครื่องดื่มเจือด้วยผลพุทรา จักบริบูรณ์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับนิมนต์โดยดุษณีภาพ ครั้นเขาทราบการรับ นิมนต์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณหลีกไปแล้ว ภิกษุทั้งหลายทราบข่าวว่า กรรมกรเข็ญใจผู้หนึ่ง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 478
นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ อาหารที่ เป็นเครื่องดื่มเจือด้วยผลพุทราจักบริบูรณ์ เธอจึงเที่ยวบิณฑบาตฉันเสียแต่เช้า ชาวบ้านทราบข่าวว่า กรรมกรเข็ญใจผู้หนึ่งได้นิมนต์ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้า เป็นประมุข เขาจึงนำของเคี้ยวของฉันเป็นอันมากไปช่วยกรรมกรเข็ญใจ ส่วน กรรมกรเข็ญใจผู้นั้น สั่งให้ตกแต่งขาทนียโภชนียาหารอันประณีต โดยล่วง ราตรีนั้น แล้วให้ไปกราบทูลภัตกาลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว พระพุทธเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ขณะนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรงบาตรจีวร เสด็จไปยังที่อยู่ของกรรมกรเข็ญใจผู้นั้น ประทับนั่งเหนือ พุทธอาสน์ที่เขาจัดถวายพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จึงกรรมกรเข็ญใจผู้นั้นอังคาส ภิกษุทั้งหลายในโรงภัตตาหาร.
ภิกษุทั้งหลายพากัน กล่าวอย่างนี้ว่า อาวุโส จงถวายแต่น้อยเถิด จง ถวายแต่น้อยเถิด.
กรรมกรกราบเรียนว่า พระคุณเจ้าทั้งหลาย โปรดอย่าเข้าใจว่า กระผมนี้เป็นกรรมกรเข็ญใจ แล้วรับแต่น้อยๆ เลยเจ้าข้า ของเคี้ยวของฉัน กระผมได้จัดหาไว้มากมาย ขอพระคุณเจ้าทั้งหลายได้โปรดเรียกร้องตาม ประสงค์เถิด เจ้าข้า.
ภิกษุทั้งหลายตอบว่า พวกฉันขอรับแค่น้อยๆ มิใช่เพราะเหตุนั้นเลย เพราะพวกฉันเที่ยวบิณฑบาตฉันมาแต่เช้าแล้วต่างหาก ฉะนั้น พวกฉันจึงขอ รับแต่น้อยๆ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 479
ลำดับนั้นแล กรรมกรเข็ญใจผู้นั้นจึงเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าผู้เจริญทั้งหลาย อันข้าพเจ้านิมนต์ไว้แล้ว จึงได้ฉันเสียในที่ อื่นเล่า ข้าพเจ้าไม่สามารถจะถวายให้เพียงพอแก่ความต้องการหรือ.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินเขาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็น ผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ภิกษุทั้งหลายรับนิมนต์ไว้ ในที่แห่งหนึ่ง แล้วไฉนจึงได้ฉัน เสียในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า แล้ว กราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกภิกษุรับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่งแล้ว ฉันเสียในที่อีกแห่งหนึ่ง จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษ เหล่านั้น รับนิมนต์ไว้ในที่แห่งหนึ่งแล้ว ไฉนจึงได้ฉัน ในที่อีกแห่งหนึ่งเล่า การกระทำของโมฆบุรุษพวกนั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 480
พระบัญญัติ
๘๒. ๓. ก. เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องบุรุษเข็ญใจ จบ
เรื่องคิลานสมัย
[๔๘๗] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งอาพาธ ภิกษุอีกรูปหนึ่ง นำบิณฑบาตเข้าไปถวายภิกษุผู้อาพาธนั้น แล้วได้กล่าวว่า อาวุโส นิมนต์ ฉันเถิด.
ภิกษุอาพาธปฏิเสธว่า ไม่ต้อง อาวุโส ความหวังจะได้ภัตตาหารของ ผมมีอยู่.
พอเวลาสาย ทายกนำบิณฑบาตมาถวายภิกษุอาพาธนั้น เธอฉันไม่ได้ ตามที่คาดหมาย ภิกษุทั้งหลายจึงกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลัง
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุอาพาธฉันโภชนะทีหลังได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้
พระอนุบัญญัติ ๑
๘๒. ๓. ข. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ นี้สมัยในเรื่องนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 481
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องคิลานสมัย จบ
เรื่องจีวรทานสมัย
[๔๘๘] สมัยนั้นแล เป็นคราวที่ถวายจีวร ประชาชนพากันตกแต่ง ภัตตาหารพร้อมด้วยจีวร แล้วนิมนต์ภิกษุทั้งหลายว่า พวกข้าพเจ้าจักนิมนต์ ให้ท่านฉัน แล้วจักให้ครองจีวร ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่า โภชนะทีหลังพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว จีวรจึงเกิดขึ้นเล็กน้อย ภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง อนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายในคราวที่ถวายจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉัน โภชนะทีหลังได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๒
๘๒.๓ ค. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร นี้สมัยใน เรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องจีวรทานสมัย จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 482
เรื่องจีวรการสมัย
[๔๘๙] ต่อมาอีก ประชาชนนิมนต์ภิกษุทั้งหลาย ผู้ทำจีวรฉัน ภัตตาหาร ภิกษุทั้งหลายรังเกียจไม่รับนิมนต์ด้วยอ้างว่าโภชนะทีหลัง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้ามแล้ว ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในคราวที่ทำจีวรกัน เราอนุญาตให้ฉันโภชนะทีหลังได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ ๓
๘๒.๓ ง. เว้นไว้แต่สมัย เป็นปาจิตตีย์ เพราะโภชนะทีหลัง นี้สมัยในเรื่องนั้น คือ คราวเป็นไข้ คราวที่ถวายจีวร คราวที่ทำจีวร นี้สมัยในเรื่องนั้น.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องจีวรการสมัย จบ
เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้
[๔๙๐] ครั้งนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก แล้ว ทรงบาตรจีวร มีท่านพระอานนท์เป็นปัจฉาสมณะ เสด็จเข้าสู่ตระกูล แห่งหนึ่ง ครั้นแล้วประทับนั่งเหนือพุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย จึงชาวบ้าน เหล่านั้นได้ถวายโภชนาหารแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าและท่านพระอานนท์ ท่าน พระอานนท์รังเกียจ ไม่รับประเคน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 483
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า รับเถิด อานนท์.
พระอานนท์กราบทูลว่า ไม่ควร พระพุทธเจ้าข้า เพราะความหวัง จะได้ภัตตาหารของข้าพระพุทธเจ้ามีอยู่.
พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า อานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงวิกัปแล้วรับเถิด.
ครั้นแล้วพระองค์ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ใน เพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้วิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้แล้วฉันโภชนะทีหลังได้ ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงวิกัปอย่างนี้ :-
คำวิกัปภัตตาหาร
ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ของข้าพเจ้า แก่ท่านผู้มีชื่อนี้.
เรื่องวิกัปภัตตาหารที่หวังว่าจะได้ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๑] ที่ชื่อว่า โภชนะที่หลัง ความว่า ภิกษุรับนิมนต์ด้วย โภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งไว้แล้ว เว้นโภชนะนั้น ฉันโภชนะ ๕ อย่างใด อย่างหนึ่งอื่นนี่ชื่อว่า โภชนะทีหลัง.
บทว่า เว้นไว้แต่สมัย คือ ยกเว้นสมัย
ที่ชื่อว่า คราวเป็นไข้ คือ ไม่สามารถจะเป็นผู้นั่งบนอาสนะอันเดียว ฉันจนอิ่มได้.
ภิกษุคิดว่าเป็นคราวอาพาธ แล้วฉันได้
ที่ชื่อว่า คราวที่ถวายจีวร คือ เมื่อกฐินยังไม่ได้กราน ได้ท้าย ฤดูฝน ๑ เดือน เมื่อกฐินกรานแล้ว เป็น ๕ เดือน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 484
ภิกษุคิดว่าเป็นคราวที่ถวายจีวร แล้วฉันได้
ที่ชื่อว่า คราวที่ทำจีวร คือ เมื่อภิกษุทั้งหลายกำลังทำจีวรกันอยู่.
ภิกษุคิดว่า เป็นคราวที่ทำจีวรกัน แล้วฉันได้.
เว้นไว้แต่สมัย ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๙๒] โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่าโภชนะทีหลัง เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
โภชนะทีหลัง ภิกษุสงสัย เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่ามิใช่โภชนะทีหลัง เว้น ไว้แต่สมัย ฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกะทุกกฏ
ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่าโภชนะทีหลัง ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ไม่ใช่โภชนะทีหลัง ภิกษุสำคัญว่ามิใช่โภชนะทีหลัง ... ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
[๔๙๓] ภิกษุฉันในสมัย ๑ ภิกษุวิกัปแล้วฉัน ๑ ภิกษุฉันบิณฑบาต ที่รับนิมนต์ไว้ ๒ - ๓ แห่งรวมกัน ๑ ภิกษุฉันตามลำดับที่รับนิมนต์ ๑ ภิกษุ รับนิมนต์ชาวบ้านทั้งมวลแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในตำบลบ้านนั้น ๑
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 485
ภิกษุรับนิมนต์หมู่ประชาชนทุกเหล่าแล้วฉัน ณ ที่แห่งใดแห่งหนึ่งในประชาชน หมู่นั้น ๑ ภิกษุถูกเขานิมนต์ แต่บอกว่า จักรับภิกษา ๑ ภัตตาหารที่เขา ถวายเป็นนิตย์ ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายด้วยสลาก ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายใน ปักษ์ ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายในวันอุโบสถ ๑ ภัตตาหารที่เขาถวายในวัน ปาฏิบท ๑ ภิกษุฉันอาหารทุกชนิดเว้นโภชนะห้า ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ
โภชนวรรค ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ ๓
ในสิกขาบทที่ ๓ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องปรัมปรโภชนะ]
คำว่า น โข อิทํ โอรกํ ภวิสฺสติ ยถา อิเม มนุสฺสา สกฺกจฺจํ ภตฺตํ กโรนฺติ มีความว่า มนุษย์พวกนี้ทำภัตตาหารโดยเคารพ โดยทำนองที่เป็นเหตุให้พระศาสนานี้ หรือทานในพระสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น ประมุขนี้ ปรากฏชัด จักไม่เป็นทานต่ำต้อยเลย คือจักไม่เป็นกุศลเล็กน้อย เลวทรามเลย.
คำว่า กิร ในบทที่ว่า กิรปติโก นี้ เป็นชื่อของกุลบุตรนั้น. ก็ กุลบุตรนั้นเขาเรียกว่า กิรปติกะ เพราะอรรถว่า เป็นอธิบดี (เป็นใหญ่). ได้ยินว่า เขาเป็นใหญ่ เป็นอธิบดี ให้ค่าจ้างใช้กรรมกรทำงานโดยกำหนด เป็นรายเดือน ฤดู และปี. กรรมกรผู้ยากจนนั้น กล่าวคำว่า พทรา ปฏิยตฺตา นี้ ด้วยอำนาจโวหารของชาวโลก.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 486
บทว่า พทรมิสฺสเกน คือ ปรุงด้วยผลพุทรา.
สองบทว่า อุสฺสุเร อาหรียิตฺถ คือ ทายกนำบิณฑบาตมาถวาย สายไป. การวิกัปนี้ว่า ข้าพเจ้าให้ภัตตาหารที่หวังจะได้ ของข้าพเจ้าแก่ท่าน ผู้มีชื่อนี้ ชื่อว่า การวิกัปภัตตาหาร. การวิกัปภัตตาหารควรทั้งต่อหน้าทั้ง ลับหลัง. เห็น (ภิกษุ) ต่อหน้าพึงกล่าวว่า ผมวิกัปแก่ท่าน แล้วฉันเถิด. ไม่เห็น พึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าวิกัปแก่สหธรรมิก ๕ ผู้มีชื่อนี้ แล้วฉันเถิด. แต่ ในอรรถกถาทั้งหลายมีมหาปัจจรีเป็นต้น ท่านกล่าวไว้แต่วิกัปลับหลังเท่านั้น. ก็เพราะการวิกัปภัตตาหารนี้นั้น ทรงสงเคราะห์ด้วยวินัยกรรม ; ฉะนั้น จึง ไม่ควรวิกัปแก่พระผู้มีพระภาคเจ้า. จริงอยู่ เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ในพระคันธกุฎีก็ดี ประทับนั่งในท่ามกลางสงฆ์ก็ดี กรรมนั้นๆ ที่สงฆ์รวม ภิกษุครบคณะแล้วทำ เป็นอันกระทำดีแล้วแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงทำ ให้เสียกรรม ไม่ทรงทำให้กรรมสมบูรณ์ ไม่ทรงทำให้เสียกรรม เพราะพระ องค์มีความเป็นใหญ่โดยธรรม, ไม่ทรงทำให้กรรมสมบูรณ์ ก็เพราะพระองค์ มิได้เป็นคณปูรกะ (ผู้ทำคณะให้ครบจำนวน).
คำว่า เทฺว ตโย นิมนฺเตน เอกโต ภุญฺชติ มีความว่าบรรจุ คือรวมนิมันตนภัต ๒ - ๓ ทีบาตรใบเดียว คือ ทำให้เป็นอัน เดียวกันแล้วฉัน. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ตระกูล ๒ - ๓ ตระกูล นิมนต์ภิกษุ ให้นั่งในที่แห่ง เดียว แล้วนำ (ภัตตาหาร) มาจากที่นี้และที่นั่น แล้วเทข้าวสวย แกงและ กับข้าวลงไป ภัตเป็นของสำรวมเป็นอันเดียวกัน ไม่เป็นอาบัติในภัตสำรวมนี้.
ก็ถ้าว่า นิมันตนภัตครั้งแรกอยู่ข้างล่าง นิมันตนภัตทีหลังอยู่ข้างบน, เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ฉันนิมันตนภัตทีหลังนั้นตั้งแต่ข้างบนลงไป. แต่ไม่เป็น อาบัติแก่ภิกษุผู้ฉัน โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง จำเดิมตั้งแต่เวลาที่เธอเอามือ ล้วงลงไปภายใน แล้วควักคำข้าวแม้คำหนึ่งจากนิมันตนภัตครั้งแรก ขึ้นมาฉัน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 487
แล้ว ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า แม้ถ้าว่า ตระกูลทั้งหลายราดนมสด หรือ รสลงไปในภัตนั้น, ภัตที่ถูกนมสดและรสใดราดทับ มีรสเป็นอันเดียวกันกับ นมสด และรสนั้น, ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ฉันตั้งแต่ยอดลงไป.
แต่ในมหาอรรถกถากล่าวว่า ภิกษุได้ขีรภัต (ภัตเจือนมสด) หรือ รสภัต (ภัตมีรสแกง) นั่งแล้ว แม้ชาวบ้านพวกอื่นเทขีรภัตหรือรสภัต (อื่น) ลงไปบนขีรภัตและรสภัตนั้นนั่นแหละ (อีก) , ไม่เป็นอาบัติ แก่ภิกษุผู้ดื่มนมสด หรือรส, แต่ภิกษุผู้กำลังฉันอยู่ จะเปิบชิ้นเนื้อหรือก้อนข้าวที่ได้ก่อนเข้าปาก แล้วฉัน ตั้งแต่ยอดลงไปควรอยู่, แม้ในข้าวปายาสเจือเนยใส ก็นัยนี้เหมือนกัน
ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า อุบาสกผู้หญิงนิมนต์ภิกษุไว้, เมื่อ ภิกษุไปสู่ตระกูลแล้ว อุบาสกก็ดี อันใดขนมีบุตรภรรยาและพี่น้องชายพี่น้องของอุบาสกนั้นก็ดี นำเอาเอาภัตส่วนของตนๆ มาใส่ในบาตร, เป็นอาบัติ แก่ ภิกษุผู้ไม่ฉันภัตส่วนที่อุบาสกถวายก่อน ฉันส่วนที่ได้ทีหลัง ในอรรถกถากุรุนที่กล่าวว่า ควร ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ถ้าพวกเขาแยกกันหุงต้ม, นำมาถวาย จากภัตที่หุงต้มเพื่อตนๆ , บรรดาภัตเหล่านั้น เป็นปาจิตตีย์ แก่ภิกษุผู้ฉันภัต ที่เขานำมาทีหลังก่อน, แต่ถ้าพวกเขาทั้งหมดหุงต้มรวมกัน, ไม่เป็น ปรัมปรโภชนะ.
อุบาสกผู้ใหญ่นิมนต์ภิกษุให้นั่งคอย. ชาวบ้านอื่นจะรับเอาบาตร ภิกษุอย่าพึงให้. เขาถามว่า ทำไม ขอรับ! ท่านจึงไม่ให้? พึงกล่าวว่า อุบาสก! ท่านนิมนต์พวกเราไว้มิใช่หรือ? เขากล่าวว่า ช่างเถอะขอรับ! นิมนต์ ท่านฉันของที่ท่านได้แล้วๆ เถิด. จะฉันก็ควร. ในกุรุนที่กล่าวว่า เมื่อคน อื่นนำภัตมาถวาย ภิกษุแม้บอกกล่าวแล้วฉันก็ควร. พวกชาวบ้านทั้งหมดอยาก ฟังธรรมจึงนิมนต์ภิกษุผู้ทำอนุโมทนาแล้วจะไปว่า ท่านขอรับ! แม้พรุ่งนี้ก็
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 488
นิมนต์ท่านมาอีก. ในวันรุ่งขึ้น ภิกษุจะมาฉันภัตที่ได้แล้วๆ ควรอยู่. เพราะ เหตุไร? เพราะชาวบ้านทั้งหมดนิมนต์ไว้.
ภิกษุรูปหนึ่งไปเที่ยวบิณฑบาตได้ภัตตาหารมา. อุบาสกอื่นนิมนต์ภิกษุ รูปนั้น ให้นั่งคอยอยู่ในเรือน และภัตยังไม่เสร็จก่อน. ถ้าภิกษุนั้นฉันภัตที่ตน เที่ยวบิณฑบาตได้มา เป็นอาบัติ. เมื่อเธอไม่ฉัน นั่งคอย อุบาสกถามว่า ทำไม ขอรับ! ท่านจึงไม่ฉัน เธอกล่าวว่าเพราะท่านนิมนต์ไว้ แล้วเขาเรียนว่า นิมนต์ท่านฉันภัตที่ท่านได้แล้วๆ เถิด ขอรับ! ดังนี้ จะฉันก็ได้
สองบทว่า สกเลน คาเมน มีความว่า ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้อัน ชาวบ้านทั่งมวล รวมกันนิมนต์ไว้เท่านั้น ซึ่งฉันอยู่ในที่แห่งหนึ่งแห่งใด แม้ ในหมู่คณะ ก็นัยนี้นั่นแล.
คำว่า นิมนฺติยมาโน ภิกฺขํ คณฺหิสฺสามีติ ภณติ มีความว่า ภิกษุผู้ถูกเขานิมนต์ว่า นิมนต์ท่านรับภัตตาหาร กล่าวว่ารูปไม่มีความต้องการ ภัตของท่าน, รูปจักรับภิกษา. ในคำว่า ภตฺตํฯ เปฯ วทติ นี้พระมหา ปทุมเถระกล่าวว่า ภิกษุผู้กล่าวอย่างนี้ อาจเพื่อจะทำไม่ให้เป็นนิมันตนภัตในสิกขาบทนี้ได้, แต่ได้ทำโอกาสเพื่อประโยชน์แก่การฉัน ; เพราะฉะนั้น ภิกษุ นั้นจึงไม่พ้น จากคณโภชนะ และไม่พ้นจากจาริตตสิกขาบท. พระมหาสุมนเถระ กล่าวว่า ภิกษุอาจจะทำให้ไม่เป็นนิมันตนภัตโดยส่วนใด, ไม่เป็นคณโภชนะ ไม่เป็นจาริตตะ โดยส่วนนั้น. คำที่เหลือดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายและวาจา ๑ ทางกายวาจาและจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา, จริงอยู่ ในกิริยาและอกิริยานี้ การฉันเป็นกิริยา การไม่วิกัป เป็นอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
ปรัมปรโภชนสิกขาบทที่ ๓ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 489
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔
เรื่องอุบาสิกาชื่อกาณมาตา
[๔๙๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น อุบาสิกา ชื่อกาณมาตาเป็นสตรีผู้มีศรัทธาเลื่อมใส ได้ยกบุตรีชื่อกาณาให้แก่ชายผู้หนึ่งใน ตำบลบ้านหมู่หนึ่ง ครั้งนั้น นางกาณาได้ไปเรือนมารดาด้วยธุระบางอย่าง ฝ่าย สามีของนางกาณาได้ส่งทูตไปใสสำนักนางกาณาว่า แม่กาณาจงกลับมา ฉัน ปรารถนาให้แม่กาณากลับ จึงอุบาสิกาชื่อกาณมาตาคิดว่า การที่บุตรีจะกลับไป มือเปล่า ดูกระไรอยู่ จึงได้ทอดขนม เมื่อขนมสุกแล้ว ภิกษุผู้ถือเที่ยว บิณฑบาตรูปหนึ่งได้เข้ามาถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา จึงอุบาสิกากาณมาตาสั่ง ให้ถวายขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว ได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนมแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้นออกไปแล้ว ได้บอกแก่ ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนมแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ขนมตามที่จัดไว้ได้ หมดสิ้นแล้ว.
แม้คราวที่สอง สามีของนางกาณาก็ได้ส่งทูตไปในสำนักนางกาณาว่า แม่กาณาจงกลับมา ฉันปรารถนาให้แม่กาณากลับ.
แม้คราวที่สอง อุบาสิกากาณมาตาก็คิดว่า การที่บุตรีจะกลับไปมือ เปล่า ดูกระไรอยู่ จึงได้ทอดขนม เมื่อขนมสุกแล้ว ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต รูปหนึ่งได้เข้ามาถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา จึงอุบาสิกกาณมาตาได้สั่งให้ถวาย ขนมแก่ภิกษุรูปนั้น ภิกษุรูปนั้น ออกไปแล้วได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่ง ให้ถวายขนมแม้แก่ภิกษุรูปนั้น ขนมตามที่จัดไว้ได้หมดสั้นแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 490
แม้คราวที่สาม สามีของกาณาก็ได้ส่งทูตไปในสำนักนางกาณาว่า แม่ กาณาจงกลับมา ฉันปรารถนาให้แม่กาณากลับมา ถ้าแม่กาณาไม่กลับ ฉันจัก นำหญิงอื่นมาเป็นภรรยา.
แม้คราวที่สาม อุบาสิกากาณมาตาก็คิดว่า การที่บุตรีจะกลับไปมือ เปล่า ดูกระไรอยู่ จึงได้ทอดขนม เมื่อขนมสุกแล้ว ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต รูปหนึ่งได้เข้ามาถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา จึงอุบาสิกากาณมาตาสั่งให้ถวายขนม แก่ภิกษุรูปนั้นๆ ออกไปแล้วได้บอกภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนมแม้ แก่ภิกษุรูปนั้นๆ ออกไปแล้ว ได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น นางก็ได้สั่งให้ถวายขนม แม้แก่ภิกษุรูปนั้น ๑ ขนมตามที่จัดไว้ได้หมดสิ้นแล้ว.
ครั้นสามีของนางกาณานำหญิงอื่นมาเป็นภรรยาแล้ว พอนางกาณา ทราบข่าวว่า สามีได้นำหญิงอื่นมาเป็นภรรยา นางได้ยืนร้องให้อยู่
ขณะนั้นแลเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสกแล้ว ทรง บาตรจีวร เสด็จเข้าไปถึงบ้านอุบาสิกากาณมาตา ครั้นแล้วได้ประทับนั่งเหนือ พุทธอาสน์ที่เขาปูลาดถวาย
ทันใดอุบาสิกากาณมาตาได้เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถานอุบาสิกาณมาตาผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งว่า นางกาณานี้ร้องให้ทำไม จึงอุบาสิกากาณมาตากราบทูล เรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงชี้แจงให้อุบาสิกากาณมาตาเห็นแจ้ง สมาทาน อาจหาญร่าเริง ด้วยธรรมมีกถาแล้ว ทรงลุกจากที่ประทับเสด็จกลับ. เรื่องอุบาสิกาชื่อกาณมาตา จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 491
เรื่องพ่อค้า
[๔๙๕] ก็โดยสมัยนั้นแล พ่อค้าเกวียนพวกหนึ่งประสงค์จะเดินทาง ไปยังถิ่นตะวันตก จากพระนครราชคฤห์ ภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาตรูปหนึ่ง ได้ เข้าไปบิณฑบาตถึงพวกพ่อค้าเกวียนหมู่นั้น อุบาสกคนหนึ่งได้สั่งให้ถวายข้าว สัตตุแก่ภิกษุนั้นๆ ออกไปแล้วได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น อุบาสกก็ได้สั่งให้ถวาย ข้าวสัตตุแม้แก่ภิกษุรูปนั้นๆ ออกไปแล้ว ได้บอกแก่ภิกษุรูปอื่น อุบาสกก็ได้ สั่งให้ถวายข้าวสัตตุแม้แก่ภิกษุรูปนั้น เสบียงตามที่เขาได้จัดเตรียมไว้ได้หมด สิ้นแล้ว จึงอุบาสกนั้นได้บอกแก่คนพวกนั้นว่า วันนี้ท่านทั้งหลายจงรอก่อน เพราะเสบียงตามที่เราได้จัดเตรียมไว้ได้ถวายพระคุณเจ้าทั้งหลายไปหมดแล้ว ข้าพเจ้าจักจัดเตรียมเสบียงก่อน.
คนพวกนั้น กล่าวว่า พวกกระผมไม่สามารถจะคอยได้ ขอรับ เพราะ พวกพ่อค้าเกวียนเริ่มเดินทางแล้ว ดังนี้ แล้วได้พากันไป
เมื่ออุบาสกนั้นตระเตรียมเสบียงเสร็จแล้ว เดินทางไปภายหลัง พวก โจรได้แย่งชิง
ประชาชนพากัน เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะ เชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้รับอย่างไม่รู้ประมาณ อุบาสกนี้ถวายเสบียงแก่พระสมณะเหล่านี้แล้ว จึงเดินทางไปภายหลังได้ถูกพวกโจรแย่งชิง
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ ... จึงกราบ ทูลเนื้อความนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงบัญญัติสิกขาบท
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 492
เหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจประโยชน์ ๑๐ ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อความสำราญแห่งสงฆ์ ๑ เพื่อข่มบุคคลผู้เก้อยาก ๑ เพื่อยู่สำราญแห่งภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก ๑ เพื่อป้องกัน อาสวะอันจะบังเกิดในปัจจุบัน ๑ เพื่อกำจัดอาสวะอันจักบังเกิดในอนาคต ๑ เพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ๑ ความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ๑ เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม ๑ เพื่อถือตามพระวินัย ๑
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่า ดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๓. ๔. อนึ่ง เขาปวารณาเฉพาะภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล ด้วยขนมก็ดี ด้วยสัตตุผงก็ดี เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา ภิกษุผู้ ต้องการพึงรับได้เต็ม ๒ - ๓ บาตร ถ้ารับยิ่งกว่านั้นเป็นปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม ๒ - ๓ บาตรแล้ว นำออกจากที่นั้นแล้ว พึงแบ่งปันกับ ภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั่น.
เรื่องพ่อค้าเกวียน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๔๙๖] คำว่า อนึ่ง ... เฉพาะภิกษุผู้เข้าไปสู่ตระกูล ความว่า ที่ชื่อว่าตระกูล ได้แก่ตระกูล ๔ คือ ตระกูลกษัตริย์ ตระกูลพราหมณ์ ตระกูล แพศย์ ตระกูลศูทร.
บทว่า ผู้เข้าไป คือ ผู้เข้าไปในตระกูลนั้น
ที่ชื่อว่า ขนม ได้แก่ ของกินชนิดใดชนิดหนึ่งที่เขาจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการเป็นของกำนัล
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 493
ที่ชื่อว่า สัตตุผง ได้แก่ ของกินอย่างใดอย่างหนึ่งที่เขาจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการเป็นเสบียง
คำว่า เขาปวารณา ... เพื่อนำไปได้ตามปรารถนา คือ เขา ปวารณาไว้ว่า ท่านประสงค์เท่าใด จงรับไปเท่านั้น.
บทว่า ผู้ต้องการ คือ ผู้อยากได้.
บทว่า พึงรับได้เต็ม ๒ - ๓ บาตร ความว่า พึงรับได้เต็ม ๒ บาตร ๓ บาตร
คำว่า ถ้ารับยิ่งกว่านั้น ความว่า รับเกินกว่ากำหนดนั้น ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์ ครั้นรับเต็ม ๒ - ๓ บาตรแล้ว ออกจากที่นั้นไปพบภิกษุแล้วพึงบอกว่า ณ สถานที่โน้นกระผมรับเต็ม ๒ - ๓ บาตรแล้ว ท่านอย่ารับ ณ ที่นั้นเลย ถ้าพบแล้วไม่บอก ต้องอาบัติทุกกฏ ถ้าเมื่อบอกแล้ว ภิกษุผู้รับบอกยังขืนรับ ต้องอาบัติทุกกฏ
คำว่า นำออกจากที่นั้นแล้ว พึงแบ่งบันกับภิกษุทั้งหลาย คือ นำไปสู่โรงฉันแล้ว พึงแบ่งปันกัน
บทว่า นี้เป็นสามีจิกรรมในเรื่องนั้น หมายความว่า นี้เป็นการ ถูกต้องตามธรรมเนียมในเรื่องนั้น.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๔๙๗] ของเต็มเกิน ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน รับ ต้องอาบัติ ปาจิตตีย์.
ของเต็มเกิน ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสงสัย รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของเต็มเกิน ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าหย่อน รับ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 494
ทุกทุกกฏ
ของหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าเกิน รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ของหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสงสัย รับ ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ของหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ภิกษุสำคัญว่าหย่อน รับ ไม่ต้องอาบัติ
อนาปัตติวาร
[๔๙๘] ภิกษุรับเต็ม ๒ - ๓ บาตร ๑ ภิกษุรับหย่อนกว่า ๒ - ๓ บาตร ๑ เขาไม่ได้ถวายของที่เตรียมไว้เพื่อต้องการเป็นของกำนัล ๑ เขาไม่ได้ถวายของที่ เตรียมไว้เพื่อต้องการเป็นเสบียง ๑ เขาถวายของที่เหลือจากที่เขาเตรียมไว้เพื่อ ต้องการเป็นของกำนัลหรือเพื่อต้องการเป็นเสบียง ๑ เมื่อเขาระงับการไปแล้ว ถวาย ๑ รับของพวกญาติ ๑ รับของตนปวารณา ๑ รับเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ อื่น ๑ จ่ายมาด้วยทรัพย์ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ
กาณมาตาสิกขาบทที่ ๔
วินิจฉัยในสิกขาบทที่ ๔ พึงทราบดังต่อไปนี้
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องมารดาของนางกาณา]
บทว่า กาณมาตา คือ มารดาของนางกาณา. ได้ยินว่า นางกาณานั้น เป็นธิดารูปงามน่าชมของนางผู้เป็นมารดานั้น. อธิบายว่า ชนพวกใดๆ เห็น นาง, ชนพวกนั้นๆ กลายเป็นคนบอด เพราะความกำหนัด คือ เป็นผู้มืด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 495
เพราะราคะ เพราะเหตุนั้น นางจึงได้เป็นผู้ปรากฏชื่อว่า กาณา เพราะ กระทำชนเหล่านั้นให้เป็นผู้บอด. แม้มารดาของนาง ก็พลอยปรากฏชื่อว่า กาณมาตา ด้วยสามารถแห่งนาง.
บทว่า อาคตํ คือ อาคมนํ แปลว่า การมา.
บทว่า กิสฺมึ วิย แปลว่า ดูกระไรอยู่. อธิบายว่า ดูเป็นที่น่า กระดากอาย.
สองบทว่า ริตฺตหตฺถํ คนฺตุํ ได้แก่ ในการไปคราวนี้ มีมือทั้ง ๒ เปล่า (เพราะเหตุนั้น) การไปคราวนี้นั้น จึงชื่อว่า มีมือเปล่า มีอธิบายว่า การไปมือเปล่านั้น ดูที่เป็นการไปที่น่ากระดากอาย
สองบทว่า ปริกฺขยํ อคมาสิ มีความว่า อุบาสิกาผู้อริยสาวิกา เห็นภิกษุทั้งหลายแล้ว ไม่อาจที่จะไม่ถวายของที่มีอยู่, เพราะเหตุนั้น อุบาสิกา จึงได้สั่งให้ถวายจนขนมทั้งหมดได้ถึงความหมดสิ้นไป.
ในคำว่า ธมฺมิยา กถาย นี้ มีวินิจฉัยว่า แม้นางกาณาฟังธรรม ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง เพื่อประโยชน์แก่มารดา ก็ได้เป็นโสดาบันใน เวลาจบเทศนา.
สองบทว่า อุฏฺายาสนา ปกฺกามิ มีความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงอุฏฐาการจากอาสนะแล้วเสด็จไป. บุรุษแม้นั้นได้สดับว่า "ได้ยินว่า พระศาสดาได้เสด็จไปบ้านของมารดานางกาณา" จึงนำนางกาณามาตั้งไว้ในตำแหน่ง ตามปรกติเดิม. แต่พอเมื่อเรื่องนี้เกิดขึ้นแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้ายังมิได้บัญญัติ สิกขาบทเลย เรื่องเสบียงทางก็ได้เกิดขึ้น ก็เพราะเหตุนั้น เพื่อแสดงเรื่องนี้ ติดต่อกันไปเลย พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงได้กล่าวคำว่า เตน โข ปน สมเยน เป็นต้น. และอุบาสกแม้นั้น ก็ได้สั่งให้ถวายของทั้งหมด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 496
เหมือนกัน เพราะคนเป็นอริยสาวก. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ จึงได้กล่าวคำว่า ปริกฺขยํ อคมาสิ.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปหิณกตฺถาย มีความว่า อาหารวัตถุอย่างใด อย่างหนึ่งมีขนมต้ม * และขนมคลุกน้ำอ้อยเป็นต้น ที่มีรสดีเลิศอันเขาจัดเตรียม ไว้ เพื่อต้องการเป็นของกำนัล ถึงการนับว่า "ขนม" ทั้งนั้น ในสิกขาบทนี้.
สองบทว่า ยงฺกิญฺจิ ปาเถยฺยตฺถาย มีความว่า อาหารวัตถุอย่างใด อย่างหนึ่ง มีสัตตุก้อน สัตตุผง งา และข้าวสารเป็นต้นทั้งหมด ที่พวกคน จะเดินจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการเป็นเสบียงในระหว่างทาง ถึงการนับว่า "สัตตุผง" ทั้งนั้น ในสิกขาบทนี้.
สองบทว่า ตโต เจ อุตฺตรึ มีความว่า ถ้าภิกษุรับเอาบาตรที่ ๓ ให้พูนขึ้นมา (ให้เป็นยอดขึ้นมาดุจสถูป) เป็นปาจิตตีย์ ด้วยการนับขนม.
สองบทว่า ทฺวิตฺติปตฺตปูเร ปฏิคฺคเหตฺวา ได้แก่ รับบาตรเต็ม เสมอรอยข้างล่างขอบปากบาตร.
ในคำว่า อมุตฺร มยา ทฺวิตฺติปตฺตปูรา นี้ มีวินิจฉัยว่า ถ้าว่า ภิกษุรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว พึงบอกว่า "ณ สถานที่โน้น ผมรับเต็ม ๒ บาตร แล้ว, ท่านพึงรับบาตรเดียว." แม้ภิกษุผู้มาที่หลังนั้น เห็นภิกษุอื่นแล้วก็พึง บอกว่า "ภิกษุผู้มาถึงก่อนรับเต็ม ๒ บาตรแล้ว, ผมรับเต็มบาตรหนึ่ง, ท่าน อยู่รับ." แม้ในการที่ภิกษุผู้รับก่อนบาตรหนึ่งแล้ว บอกกันต่อๆ ไป ก็นัย นี้นั่นแล. ส่วนภิกษุผู้รับเอง ครบ ๓ บาตรแล้ว เห็นภิกษุอื่นพึงบอกว่า ท่านอย่ารับเลยที่บ้านนี้" ดังนี้.
สองบทว่า ปฏิกฺกมนํ นีหริตฺวา คือ นำไปสู่โรงฉัน, ก็ภิกษุผู้ จะไปยังโรงฉัน อย่าไถลไปศาลาร้าง. พึงไปในสถานที่ที่ภิกษุสงฆ์จำนวนมาก
(๑) ชาวอินเดียเรียกว่าขนมโมทกะนี้ว่า "ลัฑฑู" นัยว่า ท่าจากแป้ง แล้วทอดด้วยน้ำมันพืช คือ ทำเป็นก้อนกลมๆ ข้างในใส่น้ำอ้อยหรือน้ำตาลเหมือนขนมต้มของไทยเรา. ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 497
นั่งอยู่. แต่ในมหาปัจจรีกล่าวว่า "โรงฉันใดที่อยู่ใกล้กับสถานที่ตนได้บิณฑบาต มา พึงไปที่โรงฉันนั้น, จะไปในโรงฉันอื่นด้วยประสงค์ว่า " เราจะถวายแก่ ภิกษุผู้เคยเห็นกัน เคยพบกัน หรือผู้ร่วมนิกายเดียวกันของตน" ย่อมไม่ได้, แต่ถ้าว่า โรงฉันนั้นเป็นสถานที่เธอนั่งเป็นประจำ แม้ไกลก็ควรไป"
บทว่า สํวิภชิตพฺพํ มีความว่า ถ้าภิกษุรับเต็มบาตรแล้ว พึง เหลือไว้เพื่อตนเองบาตรหนึ่ง แล้วถวายเต็ม ๒ บาตรแก่ภิกษุสงฆ์. ถ้ารับ ๒ บาตรพึงเหลือไว้เพื่อตนบาตรหนึ่ง แล้วถวายบาตรหนึ่งแก่สงฆ์. แต่ย่อม ไม่ได้เพื่อจะให้ตามมิตรสหาย. ภิกษุผู้รับบาตรเดียว ไม่ประสงค์จะให้อะไร ก็ไม่พึงให้ คือ พึงทำตามชอบใจ.
สองบทว่า คมเน ปฏิปฺปสฺสทฺเธ มีความว่า เมื่อเขาระงับ คือ ตัดการไปเสียอย่างนี้ว่า บัดนี้ เราจักไม่ส่งไปละ หรือว่าเราจักไม่ไปละ ดังนี้ เพราะเห็นอันตรายในระหว่างทาง หรือเพราะไม่มีความต้องการ.
สองบทว่า าตกานํ ปวาริตานํ ได้แก่ ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ รับของพวกญาติ และคนปวารณาเหล่านั้นผู้ถวายแม้มาก. แต่ในอรรถกถา ทั้งหลายกล่าวว่า ควรจะรับแต่พอประมาณ จากของที่พวกญาติและคนปวารณา แม้เหล่านั้นจัดเตรียมไว้ เพื่อต้องการขนเสบียงทาง และเป็นของกำนัล. บท ที่เหลือตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๖ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
กาณมาตาสิกขาบทที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 498
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๕
เรื่องภิกษุหลายรูป
[๔๙๙] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ คนหนึ่งนิมนต์ภิกษุทั้งหลายให้ฉัน ภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ไปสู่ ตระกูลญาติ บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็รับบิณฑบาตไป หลังจากเลี้ยงพระ แล้ว พราหมณ์ได้กล่าวเชิญชวนพวกเพื่อนบ้านว่า ท่านทั้งหลาย ข้าพเจ้า เลี้ยงภิกษุให้อิ่มหนำแล้ว มาเถิด ข้าพเจ้าจักเลี้ยงท่านทั้งหลายให้อิ่มหนำบ้าง.
พวกเพื่อนบ้านพากันกล่าวแย่งอย่างนี้ว่า ท่านจักเลี้ยงพวกข้าพเจ้า ให้อิ่มได้อย่างไร แม้ภิกษุทั้งหลายที่ท่านนิมนต์ให้ฉันแล้ว ยังต้องไปที่เรือน ของพวกข้าพเจ้า บางพวกก็ฉันอีก บางพวกก็รับบิณฑบาตไป.
จึงพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ ทั้งหลายฉันที่เรือนของเราแล้ว ไฉนจึงได้ฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีกเล่า ข้าพเจ้า ไม่มีกำลังพอจะถวายให้พอแก่ความต้องการหรือ.
ภิกษุทั้งหลาย ได้ยินพราหมณ์นั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดา ที่เป็นพวกมักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุทั้งหลาย ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีกเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุทั้งหลายฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ยังฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีก จริงหรือ.
ภิกษุทั้งหลายทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 499
ทรงติเตียนนั้นแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไฉน ภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว จึงได้ฉัน ณ ที่แห่งอื่นอีกเล่า การกระทำของภิกษุโมฆบุรุษเหล่านั้นนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของ ชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๔. ๕. ก. อนึ่ง ภิกษุใดฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ
เรื่องอาหารเดน
[๕๐๐] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุทั้งหลายนำบิณฑบาตอันประณีตไป ถวายพวกภิกษุอาพาธ พระภิกษุอาพาธฉันไม่ได้ดังใจประสงค์ ภิกษุทั้งหลาย จึงทิ้งบิณฑบาตเหล่านั้นเสีย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับเสียงนกการ้องเกรียวกราว ครั้นแล้วได้ รับสั่งถามท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เสียงนกการ้องเกรียวกราวนั้น อะไรกันหนอ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 500
จึงท่านพระอานนท์กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ภ. ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุทั้งหลายฉันอาหารอันเป็นเดนของภิกษุ อาพาธหรือ.
อา. มิได้ฉัน พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงอนุญาตให้ฉันอาหารเป็นเดนภิกษุไข้
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ฉันอาหารอันเป็นเดนของภิกษุผู้อาพาธและมิใช่ผู้ อาพาธได้ แต่พึงทำให้เป็นเดน อย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้ :-
พระอนุบัญญัติ
๘๔. ๕. ข. อนึ่ง ภิกษุใดฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี อันมิใช่เดน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องอาหารเดน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๑] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่าผู้ใด คือผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ฉันเสร็จ คือ ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้ด้วยปลายหญ้าคา.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 501
ลักษณะห้ามภัต
ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ กำลังฉันอาหารอยู่ ๑ ทายกนำโภชนะ มาถวายอีก ๑ ทายกอยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ ภิกษุห้ามเสีย ๑.
ลักษณะของไม่เป็นเดน
ที่ชื่อว่า มิใช่เดน คือ ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ ๑ ภิกษุมิได้ รับประเคน ๑ ภิกษุมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๑ ทำนอกหัตถบาส ๑ ภิกษุฉันยังไม่เสร็จ ทำ ๑ ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ลุกจากอาสนะแล้วทำ ๑ ภิกษุมิได้พูดว่า ทั้งหมดนั้นพอแล้ว ๑ ของนั้นมิใช่เป็นเดนภิกษุอาพาธ ๑ นี้ชื่อว่า มิใช่เดน.
ลักษณะของเป็นเดน
ที่ชื่อว่า เป็นเดน คือ ของที่ทำให้เป็นกัปปิยะแล้ว ๑ ภิกษุรับ ประเคนแล้ว ๑ ภิกษุยกขึ้นส่งให้ ๑ ทำในหัตถบาส ๑ ภิกษุฉันแล้ว ทำ ๑ ฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังไม่ลุกจากอาสนะ ทำ ๑ ภิกษุพูดว่า ทั้งหมดนั่นพอ แล้ว ๑ เป็นเดนภิกษุอาพาธ ๑ นี้ชื่อว่า เป็นเดน.
ลักษณะของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ต้องเคี้ยว คือ เว้นโภชนะห้า ๑ ของที่เป็นยามกาลิก ๑ สัตตาหกาลิก ๑ ยาวชีวิก ๑ นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.
ลักษณะของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่ โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ๑ ขนมสด ๑ ขนมแห้ง ๑ ปลา ๑ เนื้อ ๑.
ภิกษุรับประเคนด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ. ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 502
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๐๒] ของไม่เป็นเดน ภิกษุสำคัญว่า ไม่เป็นเดน เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของไม่เป็นเดน ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่ง ของฉัน ก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อ ประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ. ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.
ของเป็นเดน ภิกษุสำคัญว่ามิใช่เดน ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ของเป็นเดน ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ของเป็นเดน ภิกษุสำคัญว่าเป็นเดน ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๐๓] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วฉัน ๑ ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจ ว่าจักให้ทำเป็นเดนแล้วจึงฉัน ๑ ภิกษุรับไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ ฉัน อาหารที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ใน เมื่อมีเหตุอันสมควร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 503
ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕
(๑) วินิจฉัย ในสิกขาบทที่ ๕ พึงทราบดังต่อไปนี้ :-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติเรื่องการห้ามภัต]
หลายบทว่า ภิกฺขู ภุตฺตาวี ปวาริตา มีความว่า ภิกษุทั้งหลาย อันพราหมณ์ปวารณา ด้วยปวารณาจนพอแก่ความต้องการอย่างนี้ว่า ข้าแต่ท่าน ผู้เจริญ ท่านทั้งหลายจงรับเท่าที่ที่ท่านปรารถนาเถิด และห้ามด้วยตนเอง ด้วยการห้ามคือการปฏิเสธอย่างนี้ว่า พอละ อาวุโส! จงถวายแต่น้อยๆ เถิด.
บทว่า ปฏิวิสฺสเก คือ พวกเพื่อนบ้านผู้อยู่ในเรึอนใกล้เคียง.
บทว่า กาโกรวสทฺทํ ได้แก่ เสียงพวกนกการ้องเกรียวกราว คือ เสียงฝูงนกกาจับกลุ่มกันร้องระเบ็งเซ็งแซ่ ในคำว่า อลเมตํ สพฺพนฺติ นี้ จะไม่ตรัส ติ อักษรเลย ตรัสเพียง อลเมตํ สพฺพํ (ทั้งหมดนั่นพอแล้ว) เท่านี้ ก็สมควร.
บทว่า ภุตฺตาวี แปลว่า ผู้ฉันเสร็จ ก็เพราะภิกษุใด เคี้ยวก็ตาม ไม่เคี้ยวก็ตาม กลืนกินเมล็ดข้าวแม้เมล็ดเดียวเข้าไป, ภิกษุนั้นถึงการนับว่า ผู้ ฉันเสร็จ ในบทว่า ภุตฺตาวี นั้น. เพราะเหตุนั้น ในบทภาชนะแห่งบทนั้น จึงตรัสคำว่า ภุตฺตาวี นาม ปญฺจนฺนํ โภชนานํ ดังนี้เป็นต้น.
บทว่า ปวาริโต คือ ผู้มีการห้าม (ภัต) อันทำแล้ว คือ มีการ ปฏิเสธอันทำแล้ว. ก็เพราะการห้ามแม้นั้น ไม่ใช่ว่าจะทำสำเร็จได้ด้วยเหตุเพียง การปฏิเสธ, โดยที่แท้ ย่อมสำเร็จได้ด้วยอำนาจองค์ ๕. ด้วยเหตุนั้น ใน
(๑) ในสิกขาบทนี้ ศัพท์ทั่วไป และศัพท์ที่เป็นชื่อธัญชาติต่างๆ ที่แปลไว้เท่าที่หาได้ ไม่แน่ใจ ว่าถกทั้งหมด จึงขอฝากท่านผู้รู้ไว้พิจารณาแก้ไขต่อไป. ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 504
บทภาชนะแห่งบทนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคำว่า ปวาริโต นาม อสนํ ปญฺายติ เป็นต้น.
เพราะบรรดาองค์ ๕ นั้น ด้วยองค์ว่า อสนํ ปญฺายติ นี้ ภิกษุ ผู้ฉันค้างอยู่ จึงเป็นอันเรียกว่า ผู้ห้ามภัต, ส่วนภิกษุใด ชื่อว่าผู้ฉันค้างอยู่, โภชนะบางอย่างภิกษุนั้นฉัน แล้ว บางอย่างยังไม่ได้ฉัน และเพราะหมายเอา โภชนะที่เธอฉันแล้ว จึงถึงการนับว่า ผู้ฉันเสร็จ ; เพราะฉะนั้น ด้วยคำว่า ภุตฺตาวี เราจึงไม่เห็นความสำเร็จประโยชน์อะไรแผนกหนึ่ง. ก็คำว่า ภุตฺตาวี นี้ บัณฑิตพึงทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว โดยความเป็นบทบริวาร แห่งบทว่า ปวาริตะ และโดยความเป็นพยัญชนะสละสลวย ดุจคำว่า ๒ คืน เป็นต้น ในคำว่า ๒ - ๓ คืน ... ๖ คำ ๕ คำ ... เป็นต้น.
ในองค์ว่า อสนํ ปญฺายติ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้. การฉัน ค้างปรากฏ, อธิบายว่า ถ้าบุคคลผู้กำลังฉันนี้อยู่.
องค์ว่า โภชนํ ปญฺายติ ได้แก่ โภชนะเพียงพอแก่การห้าม ปรากฏอยู่. อธิบายว่า ถ้าโภชนะมีข้าวสุกเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะพึง ห้ามมีอยู่.
องค์ว่า หตฺถปาเส ิโต มีความว่า หากทายกถือเอาโภชนะเพียง พอแก่การห้ามอยู่ในโอกาสประมาณ ๒ ศอกคืบ.
องค์ว่า อภิหรติ มีความว่า ถ้าทายกนั้น น้อมภัตนั้นถวายแก่ภิกษุ นั้น ด้วยกาย.
องค์ว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺายติ คือ การห้ามปรากฏ. อธิบายว่า ถ้าภิกษุนั้นปฎิเสธโภชนะที่เขาน้อมถวายนั้น ด้วยกายก็ดี ด้วยวาจาก็ดี. ภิกษุ ย่อมเป็นผู้ชื่อว่าห้ามภัตแล้ว ด้วยอำนาจแห่งองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนี้แล.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 505
สมจริงดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนอุบาลี! การห้าม (ภัต) ย่อมมี ด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ การฉันปรากฏ ๑ โภชนะปรากฏ ๑ ทายก อยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ การห้ามปรากฏ๑๑.
[ว่าด้วยโภชนะและธัญชาติ ๗ ชนิด]
ในปวารณาธิการนั้น มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสนํ เป็นต้นก่อน ภิกษุฉันโภชนะใด และห้ามโภชนะใดที่ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย, โภชนะนั้นบัณฑิตพึงทราบ ว่าเป็นโภชนะเหล่านี้ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ อย่างใด อย่างหนึ่งนั่นแล.
บรรดาโภชนะมีข้าวสุกเป็นต้นนั้น ที่ชื่อว่า ข้าวสุก ได้แก่ ข้าวสุก ที่เกิดจากธัญชาติ ๗ ชนิด คือ ข้าวสาลี ข้าวจ้าว ข้าวเหนียว ข้าวละมาน ข้าวฟ่าง ลูกเดือย หญ้ากับแก้.
บรรดาธัญชาติ ๗ ชนิด มีข้าวสาลีเป็นต้นนั้น กำเนิดข้าวสาลี แม้ ทุกจำพวก ชั้นที่สุดจนกระทั่งลูกเดือย ชื่อว่า ข้าวสาลี. กำเนิดข้าวจ้าวแม้ ทุกชนิด ชื่อว่า วีหิ. ในข้าวเหนียวและข้าวละมาน ไม่มีความแตกต่างกัน. เมล็ดข้าวฟ่าง เช่นข้าวฟ่างสีขาว สีแดง และสีดำ แม้ทุกชนิด ชื่อว่า กังคุ. เมล็ดลูกเดือย มีสีขาว แม้ทุกชนิด ชั้นที่สุดจนกระทั่งข้าวฟ่างชาวเมือง (ข้าว โพดกระมัง๒?) ชื่อว่า วรกะ. หญ้ากับแก้ดำ และติณธัญชาติแม้ทุกชนิด เช่น หญ้าข้าวนก (ข้าวละมานหรือข้าวฟ่างก็ว่า) เป็นต้น ชื่อว่า กุทรุสกะ.
(๑) วิ. ปริวาร. ๘/๔๖๑.
(๒) บางแห่งว่าแฝกหอม น่าจะเป็นข้าวโพด เพราะแปลตามศัพท์ว่า ข้าวฟ่างชาวเมือง. - ผู้ชำระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 506
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ก็ในจำพวกข้าวสาลี และลูกเดือยนี้ ลูก เดือยและข้าวฟ่างชาวเมือง * (ข้าวโพดกระมัง?) อนุโลมเข้ากับธัญชาติ. จะเป็นธัญชาติหรือธัญชาติอนุโลมก็ตามที พวกชาวบ้านเอาข้าวสารแห่ง ธัญชาติทั้ง ๗ มีชนิดดังกล่าวแล้วนี้ หุงต้มหมายให้เป็นโภชนะอย่างใดอย่าง หนึ่งว่า เราจักหุงข้าวสวย หรือว่า เราจักต้มข้าวต้ม หรือว่า เราจักกวนข้าว ต้ม หรือว่า เราจักกวนข้าวปายาสเปรี้ยวเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ก็ตาม. ถ้าเมื่อพวกภิกษุฉันภัตนั้น จะร้อนหรือเย็นก็ตาม รอยย่อมปรากฏในที่ควักเอา หรือตักเอาในเวลาฉันภัตนั้น ถึงการสงเคราะห์เป็นข้าวสุกทีเดียว ก่อให้เกิด การห้าม (ภัต) , ถ้ารอยไม่ปรากฏ, ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นยาคู, ไม่ให้เกิด การห้าม (ภัต).
ข้าวปายาส หรือข้าวยาคูเปรี้ยวซึ่งผสมด้วยใบไม้ ผลไม้และหน่อไม้ (เหง้า) แม้อันใด พอยกลงจากเตายังร้อนอยู่, อาจจะกลอกดื่ม (ตะแคงหม้อ ดื่ม) ได้ แม้ในโอกาสที่มีมือควักเอา ก็ไม่แสดงรอย (ให้ปรากฏ) , ยาคู เป็นต้นนั้น ไม่ให้เกิดการห้าม (ภัต). แต่ถ้าเมื่อไอร้อนหมดไปเย็นลงแล้ว ถึงความแข้นเข้า แสดงรอยให้ปรากฏ กลับก่อให้เกิดการห้าม (ภัต) ได้. ความเป็นของเหลวๆ ในเบื้องต้นคุ้ม (อาบัติ) ไม่ได้.
ถ้าแม้นเขาเติมนมส้ม และเปรียงเป็นต้นลงไปแล้ว ใส่ใบไม้ผลไม้ และหน่อไม้เป็นอันมากลงไป เพิ่มข้าวสารลงไปแม้เพียงกำมือเดียว. ถ้าใน เวลาฉันมีรอยปรากฏ ก่อให้เกิดการห้าม (ภัต).
[ว่าด้วยโภชนะต่างๆ เป็นเหตุห้ามและไม่ห้ามภัต]
ในนิมันตนภัต ไม่มีข้าวยาคู ชาวบ้านเทน้ำข้าว และนมสดลงไปใน ภัต ด้วยตั้งใจว่า จักถวายยาคู แล้วถวายว่า นิมนต์ท่านรับยาคู. ถึงข้าวยาคู
(๑) บางแห่งว่าแฝกหอม.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 507
จะเป็นของเหลวก็จริง, แต่ก็ก่อให้เกิดการห้าม (ภัต) เหมือนกัน. ก็ถ้าว่าพวก เขาใส่ (ข้าวสุก) ลงในน้ำที่เดือดพล่านเป็นต้น ต้มถวาย, โภชนะนั้นก็ถึง การสงเคราะห์เข้าเป็นข้าวยาคูเหมือนกัน. เขาใส่ปลา เนื้อ ลงในภัตแม้ที่ถึง การสงเคราะห์เข้าเป็นยาคูนั้น หรือในยาคูอื่นใด, ถ้าชิ้นปลา และเนื้อ หรือ เอ็นปรากฏ แม้ประมาณเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด. ยาคูนั้น ก่อให้เกิดการห้าม (ภัต) ด้วย. อาหารมีรสล้วนๆ หรือยาคูมีรส ไม่ให้เกิด (การห้ามภัต). แม้ภัตที่ชนพวกใดพวกหนึ่ง ทำด้วยวัตถุมีผลขุยไผ่เป็นต้นอย่างอื่น ยกเว้น ข้าวสารแห่งธัญชาติที่กล่าวแล้วเสีย หรือด้วยเหง้ามันและผลไม้ ย่อมไม่ก่อให้ เกิดการห้าม (ภัต). จะป่วยกล่าวไปไยถึงยาคูแข้น (แห่งผลขุยไผ่เป็นต้น). แต่ถ้าเขาใส่ปลา เนื้อ ลงในยาคูแข้นนี้ ทำให้เกิดการห้าม (ภัต) ได้.
ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แม้ภัตเพื่อประโยชน์แก่ขุพพี๑ ก็ทำให้เกิดการ ห้าม (ภัต) ท่านเรียกข้าวสารที่ใส่ลงในน้ำร้อนเดือดนึ่ง (ตุ๋น) ให้สุก เพื่อ ประโยชน์แก่ผู้กินด้วยขุพพี ชื่อว่า ภัตเพื่อประโยชน์แก่ขุพพี.๒ ก็ถ้าหาก ข้าวสารเหล่านั้น ให้แห้งแล้วฉันควรอยู่. ข้าวสารเหล่านั้นไม่ถึงการนับว่า ขนมแห้ง (และ) ไม่ถึงการนับว่าภัตเลย. แต่ภัตที่เขาทำด้วยข้าวสารนึ่งแล้ว เหล่านั้นอีก ห้าม (ภัต) ทีเดียว. ชนทั้งหลายทอดข้าวสารเหล่านั้นในเนยใส และน้ำมัน เป็นต้น หรือทำเป็นขนม ไม่ห้าม (ภัต) ข้าวเม่าก็ดี ขนมแห้ง และข้าวสวยที่ทำจากข้าวเม่าเหล่านั้น ก็ดี ไม่ห้าม (ภัต).
ขนมกุมมาส ที่เขาทำจากจำพวกข้าวเหนียว ชื่อว่า ขนมสด. ขนม กุมมาสที่เขาทำจากวัตถุอื่น มีถั่วเขียวเป็นต้น ไม่ให้เกิดการห้าม (ภัต).
(๑) ขุพพีศัพท์นี้ ไม่ทราบว่าอะไร? จึงแปลทับศัพท์ไว้ ๒. ไม่รู้ว่าภัตชนิดไหน? ลักษณะ คล้ายข้าวตุ๋นตากแห้ง เป็นเสบียงกรังเพื่อกินแก้หิว. - ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 508
ขนมแห้งที่เขาทำจากจำพวกข้าวสาลี ข้าวจ้าว และข้าวเหนียว ชื่อว่า สัตตุ ชนทั้งหลายคั่วเมล็ดข้าวฟ่าง ลูกเดือย และหญ้ากับแก้แล้วตำเบาะๆ โปรย (ฝัด) แกลบออกแล้วตำใหม่ให้ละเอียดเข้าทำให้เป็นแป้ง. ถ้าแม้น วัตถุนั้นยังติดกันอยู่ เพราะยังสด ก็ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นขนมแห้งทีเดียว. เขาบดข้าวสารจ้าวที่คั่วให้สุกกรอบถวาย. แป้ง แม้นั้นก็ถึงการสงเคราะห์เข้า เป็นสัตตุ (ขนมแห้ง) เหมือนกัน.
ส่วนข้าวสารแห่งข้าวจ้าวที่เขาคั่วให้สุกเสมอกัน หรือแห่งข้าวกล้อง (ที่ไม่ได้คั่ว) หรือข้าว สารที่คั่วแล้วทั่วไป ไม่ห้าม (ภัต). แต่แป้งข้าวสาร เหล่านั้น ห้าม (ภัต) ได้. แม้รำของข้าวจ้าวที่เขาคั่วให้เกรียมแล้ว ก็ห้าม (ภัต) ได้. ส่วนรำแห่งข้าวสารที่เขาคั่วให้สุกเสมอกัน หรือสุกเพราะแดด ไม่ ห้าม (ภัต).
ข้าวตอกหรือข้าวสวย และขนมแห้งเป็นต้น ที่เขาทำจากข้าวตอกเหล่า นั้น ย่อมไม่ห้าม (ภัต). แป้งที่คั่วแล้ว หรือของเคี้ยวล้วนๆ ชนิดใดชนิด หนึ่ง ไม่ห้าม (ภัต). แต่ของเคี้ยวที่บรรจุปลา เนื้อ (มีปลาเนื้ออยู่ข้างใน) ก็ดี สตูงบหรือสตูก้อนไม่เข้าไฟ * (ก้อนขนมแห้งยังไม่อบ) ก็ดี ย่อมห้าม (ภัต) ส่วนปลา เนื้อ ปรากฏชัดแล้วแล. แต่มีความแปลกกันดังต่อไปนี้.
ถ้าแม้นเมื่อภิกษุกำลังดื่มยาคู ชาวบ้านถวายชิ้นปลา หรือชิ้นเนื้ออย่าง ละ ๒ ชิ้น มีขนาดเท่าเมล็ดยาคูนั่นแหละ ในภาชนะเดียวกัน หรือในต่างภาชนะ กัน, ถ้าภิกษุไม่ฉันชิ้นปลาเนื้อเหล่านั้น ห้ามโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งอื่น ซึ่ง เพียงพอแก่การห้ามภัต ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). จาก ๒ อย่างนั้น อย่างหนึ่ง
(๑) สารัตถทีปนี ๓/๓๒๓ แก้ว่า สตฺตุโมทโกติ สตฺตุโย ปิณเฑตฺวา กโต อปกฺโก สตฺตุคโฬ งบสตูดิบหรือสตูก้อนที่เขาปั้นข้าวสัตตุผลเป็นก้อนยังไม่เข้าไฟ ชื่อว่าสัตตุโมทกะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 509
เธอฉันแล้ว อย่างหนึ่งยังอยู่ในมือ หรือในบาตร. ถ้าเธอห้ามมังสะอื่น ชื่อ ว่าห้าม (ภัต). ทั้ง ๒ อย่างเธอฉันหมดแล้ว, ในปากแม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด ก็ไม่เหลือ. ถ้าแม้นเธอห้ามมังสะอื่น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
ภิกษุกำลังฉันกัปปิยมังสะ ห้ามกัปปิยมังสะ ชื่อว่าห้าม (ภัต) กำลัง ฉันกัปปิยมังสะ ห้ามอกัปปิยมังสะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร? เพราะไม่ใช่วัตถุ. จริงอยู่ มังสะที่ภิกษุควรฉันได้เท่านั้น จึงเป็นเหตุห้ามภัต แก่ภิกษุผู้ห้ามอยู่. แต่เมื่อภิกษุรู้อกัปปิยมังสะนี้ จึงห้ามเสียเพราะเป็นของไม่ ควร. ถึงไม่รู้ ก็ชื่อว่าห้ามสิ่งที่ตั้งอยู่ในฐานะที่ควรห้ามทีเดียว เพราะเหตุ นั้น จึงไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
แต่ถ้าภิกษุฉันอกัปปิยมังสะ ห้ามกัปปิยมังสะ ชื่อว่าห้าม (ภัต) เพราะ เหตุไร? เพราะเป็นวัตถุ (แห่งการห้าม). จริงอยู่ มังสะที่ภิกษุนั้นห้ามนั้น นั่นแหละ เป็นวัตถุ (ที่ตั้ง) แห่งการห้ามภัต. ส่วนอกัปปิยมังสะที่ภิกษุฉัน ตั้งอยู่ในฐานที่ควรห้าม แม้ก็จริง, ถึงอย่างนั้น มังสะที่กำลังฉัน ก็ยังไม่ละ ภาวะแห่งมังสะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่า ห้าม (ภัต). ฉันอกัปปิยมังสะ ห้ามอกัปปิยมังสะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต) โดยนัยก่อนนั่นแล.
ฉันกัปปิยมังสะก็ดี อกัปปิยมังสะก็ดี ห้ามโภชนะทั้ง ๕ อย่างใด อย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นกัปปิยโภชนะ ชื่อว่าห้าม (ภัต). ห้ามอกัปปิยโภชนะ ซึ่ง เกิดจากมิจฉาชีพมีกุลทูสกกรรม เวชกรรม การอวดอุตริมนุสธรรม และ การยินดีรูปิยะเป็นต้น (และ) ที่เกิดจากการแสวงหาอันไม่สมควรที่พระพุทธเจ้า ทรงรังเกียจ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
(๑) วิมติ. แก้ทำนองเดียวกันว่า สตฺตุโมทโกติ สตฺตุํ เตเมตฺวา กโต อปกฺโก, สตุตฺํ ปน ปิสิตฺวา ปิฏํ กตฺวา เตเมตฺวา ปูวํ กตฺวา ปจนฺตี, ตํ น ปวาเรติ. ขนมยังไม่สุกที่เขาชุบขนมแห้งให้ เปียกทำ ชื่อว่าสัตตุโมทกะ. ก็ชนทั้งหลายบดขนมแห้งให้เป็นแป้งแล้วชุบให้เปียกทอดเป็นขนม ไม่ห้ามภัต - ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 510
แม้กำลังฉันกัปปิยโภชนะก็ดี อกัปปิยโภชนะก็ดี ห้ามกัปปิยโภชนะ เสีย ชื่อว่าห้าม (ภัต). ห้ามอกัปปิยโภชนะ ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต) , บัณฑิต พึงทราบเหตุในทุกๆ บทอย่างนี้ โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
[ว่าด้วยการฉันและการห้ามโภชนะ]
บัณฑิตครั้นทราบโภชนะที่ภิกษุฉัน ในคำว่า อสนํ เป็นต้น และ โภชนะที่ทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย เมื่อภิกษุห้าม จึงถึงการห้าม (ภัต) โดยนัยดังกล่าวมาอย่างนี้แล้ว บัดนี้ เพื่อทราบอาการที่เป็นเหตุให้ถึง (การ ห้ามภัต) พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้
พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า อสนํ โภชนํ นี้ก่อน :- ภิกษุใดกลืนกิน ภัตเข้าไปแม้เมล็ดเดียว ภิกษุนั้น เมื่อบรรดาโภชนะทั้ง ๕ โภชนะแม้อย่างหนึ่งมีอยู่ในบาตรูปากและมือ ที่ใดที่หนึ่ง ห้ามโภชนะทั้ง ๕ แม้อย่างหนึ่งอื่น ก็ชื่อว่าห้าม (ภัต). ไม่มีโภชนะในที่ไหนๆ มีบาตรเป็นต้น ปรากฏแต่เพียง กลิ่นอามิส, ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). ไม่มีโภชนะในปาก และในมือ แต่มีอยู่ ในบาตร ฝ่ายภิกษุไม่ประสงค์จะฉันที่อาสนะนั้น ประสงค์จะเข้าไปยังวิหาร แล้วฉัน หรือประสงค์ถวายแก่ภิกษุอื่น ถ้าปฏิเสธโภชนะอย่างใดอย่างหนึ่งใน ระหว่างนั้น ยังไม่จัดว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร? เพราะความเป็นโภชนะ ที่ฉันค้างอยู่ ขาดไป.
ในมหาปัจจรีกล่าวไว้ว่า แม้ภิกษุใดประสงค์จะไปฉันในที่อื่นกลืนภัต ในปากแล้ว ถือเอาภัตส่วนที่เหลือเดินไปอยู่ ห้ามโภชนะอื่นในระหว่างทาง, การห้ามภัตแม้ของภิกษุนั้น ก็ไม่มี.
ก็ถ้าว่า ภิกษุไม่ประสงค์จะกลืนกินโภชนะที่มีอยู่ แม้ในมือ หรือแม้ ในปากเหมือนในบาตร, และห้ามโภชนะอื่นในขณะนั้น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 511
จริงอยู่ ลักษณะที่กล่าวไว้แล้วในบทเดียว เป็นลักษณะที่บัณฑิตควรทราบใน ทุกๆ บท.
อีกอย่างหนึ่ง ในกุรุนทีก็ได้แสดงนัยนี้ไว้เหมือนกัน สมจริงดังที่ ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นว่า ภิกษุกลืนภัตในปากแล้ว ประสงค์จะให้ภัตในมือ แก่คนกินเดน ประสงค์จะให้ภัตในบาตรแก่ภิกษุ ถ้าห้าม (โภชนะอื่น) ใน ขณะนั้น ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
[องค์ว่าทายกอยู่ในหัตถบาสน้อมถวาย]
ก็ในคำว่า หตฺถปาเส ิโต นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ ๒ ศอกคืบ พึงทราบว่า หัตถบาส ถ้าภิกษุนั่งกำหนดตั้งแต่ริมสุดด้านหลังของอาสนะไป ถ้ายืนกำหนดตั้งแต่ที่สุดส้นเท้าไป ถ้านอนกำหนดตั้งแต่ที่สุดด้านนอกแห่งสีข้าง ที่นอนไป ด้วยที่สุดด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า เว้นมือที่เหยียดออกของ ืทายกผู้นั่งอยู่ก็ตาม ยืนอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม การห้ามภัตย่อมมีแก่ภิกษุ ผู้ห้ามโภชนะที่ทายกอยู่ในหัตถบาสนั้น น้อมถวายเท่านั้น, นอกจากนั้นไปหา มีไม่.
บทว่า อภิหรติ มีความว่า ทายกอยู่ภายในหัตถบาส น้อม (โภชนะ) เข้าไปเพื่อรับ (ประเคน). ก็ถ้าว่าภิกษุผู้นั่งถัดไป ไม่นำบาตรที่อยู่ในมือ หรือที่วางอยู่บนตัก หรือบนเชิงรองออกไปเลย กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับ ภัตตาหาร เมื่อภิกษุปฏิเสธภัตนั้น ไม่เป็นการห้าม (ภัต). แม้ในทายกผู้นำ กระเช้าภัตมาวางไว้บนพื้นข้างหน้า แล้วกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับ เถิด ก็นัยนี้ เหมือนกัน.
แต่เมื่อเขาขยับยกขึ้นหรือน้อมเข้าไป กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเถิด เมื่อภิกษุปฏิเสธ จัดเป็นการห้าม (ภัต). พระเถระนั่งอยู่บนเถระอาสน์ ส่ง บาตรไปให้แก่ภิกษุหนุ่มผู้นั่งอยู่ในที่ไกลกล่าวว่า เธอจงรับเอาข้าวสุกจากบาตร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 512
นี้ ฝ่ายภิกษุผู้รับ (บาตร) ไปยืนนิ่งเฉยเสีย, ภิกษุหนุ่มห้ามว่า ผมพอแล้ว ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร? เพราะพระเถระอยู่ไกล และเพราะทูต ไม่นำไปให้แล. ถ้าภิกษุผู้รับ (บาตร) มากล่าวว่า ท่านจงรับภัตนี้ เมื่อภิกษุ หนุ่มปฏิเสธภัตนั้น จัดเป็นการห้าม (ภัต).
ในสถานที่อังคาส ทายกคนเดียวอังคาสภิกษุหลายรูป มือข้างหนึ่งถือ กระเช้าข้าวสุก อีกข้างหนึ่งถือทัพพี. ถ้าในสถานที่อังคาสนั้นมีคนอื่นมาพูดว่า ข้าพเจ้าจักช่วยถือกระเช้า ท่านจงถวายข้าวสุก แล้วทำกิจเพียงจับเท่านั้น ก็ทายกผู้อังคาสนั่นเองยกกระเช้าข้าวสุกนั้น เพราะฉะนั้น กระเช้านั้น จัดว่า อันเขานำมาจำเพาะแท้ จัดเป็นการห้าม (ภัต) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ผู้ถือ (ภัต) จากกระเช้านั้น ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แต่ถ้าผู้อังคาสเพียง แตะต้อง (กระเช้า) เท่านั้น, คนนอกนี้แหละช่วยยกกระเช้านั้น, ไม่จัดว่า เป็นการห้าม (ภัต) แก่ภิกษุผู้ห้ามคนอังคาส ซึ่งถือ (ภัต) จากกระเช้านั้น ด้วยเป็นผู้มีความต้องการจะถวาย. แค่พอเขาเอาทัพพีตักภัต (การห้ามภัต) ย่อมมีแก่ภิกษุผู้ห้าม. แท้จริง การน้อมเข้ามาโดยตรงด้วยทัพพีนั่นแหละ จัด เป็นการน้อมถวายภัตนั้น. ในมหาปัจจรีกล่าวว่า แม้ในภัตที่คน ๒ คน ช่วย กันยก เมื่อภิกษุปฏิเสธ ย่อมชื่อว่าห้ามภัตเหมือนกัน.
เมื่อทายกถวายภัตแก่ภิกษุผู้นั่งถัดไป ภิกษุอีกรูปหนึ่ง เอามือปิดบาตร ไม่เป็นการห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร? เพราะห้ามภัตที่เขาน้อมถวายภิกษุ รูปอื่น.
[ว่าด้วยการห้ามภัตมีการห้ามด้วยกายเป็นต้น]
ในคำว่า ปฏิกฺเขโป ปญฺายติ นี้ พึงทราบวินิจฉัยว่า ภิกษุ ปฏิเสธภัตที่เขาบอกถวายด้วยวาจา ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต) , แต่เมื่อภิกษุ ปฏิเสธด้วยกายหรือด้วยวาจา ซึ่งภัตที่เขาน้อมถวายด้วยกาย จึงเป็นการห้ามภัต.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 513
ในการห้ามด้วยกายและวาจานั้น ที่ชื่อว่าการห้ามด้วยกาย คือภิกษุ สั่นนิ้วมือ หรือมือพัดไล่แมลงหวี่ หรือชายจีวร กระทำอาการด้วยคิ้ว หรือ โกรธแลดู. ที่ชื่อว่าห้ามด้วยวาจา คือ ภิกษุกล่าวว่า พอแล้ว หรือว่า ฉัน ไม่รับ ว่า อย่าเทลง หรือว่า จงถอยไป. เมื่อภิกษุห้ามภัตด้วยกายหรือด้วย วาจา โดยอาการอย่างใดอย่างหนึ่งอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นการห้าม (ภัต).
ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อทายกน้อมถวายภัต กลัวแต่การห้ามภัต ชักมือออก พูดกะชนผู้เทข้าวสุกลงในบาตรแล้วๆ เล่าๆ ว่า ท่านจงเทลงไปๆ เถิด จง กดลงๆ บรรจุให้เต็มเถิด, ถามว่า ในคำนี้ จะว่าอย่างไร?
พระมหาสุมนเถระกล่าวไว้ก่อน จัดเป็นการห้าม (ภัต) เพราะภิกษุ พูดเพื่อต้องการไม่ให้เทลง
แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ธรรมดาภิกษุผู้กล่าวว่า จงเทลง จง บรรจุให้เต็ม ดังนี้ บางรูปก็เป็นการห้าม (ภัต) แล้ว จึงกล่าวว่า ยังไม่ชื่อ ว่าห้าม (ภัต).
ภิกษุอีกรูปหนึ่ง สังเกตเห็นภิกษุผู้กำลังนำภัตไป กล่าวว่า ผู้มีอายุ! ท่านจักรับอะไรบางอย่างจากบาตรของผมนี้บ้างไหม? ผมจะถวายอะไร? แก่ ท่านไหม? ในคำแม้นนี้ พระมหาสุมนเถระก็กล่าวว่า จัดเป็นการห้าม (ภัต) เพราะภิกษุนั้นกล่าวด้วยใส่ใจว่า ภิกษุนี้จักไม่มา (ยังสำนักของเรา) ด้วยการ กล่าวอย่างนี้.
ฝ่ายพระมหาปทุมเถระกล่าวว่า ธรรมดาภิกษุผู้กล่าวว่า ท่านจักรับ ไหม? บางรูปก็เป็นการห้าม (ภัต) จึงกล่าวว่า ยังไม่ชื่อว่าห้ามภัต.
ทายกคนหนึ่งน้อมถวายรสมีเนื้อ กล่าวว่านิมนต์ท่านรับรสเถิด. เมื่อ ภิกษุได้ฟังคำนั้นแล้วปฏิเสธไป ไม่จัดเป็นการห้าม (ภัต) เมื่อเขากล่าวว่า รสปลา รสเนื้อ เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธ. แม้เมื่อเขากล่าวว่า ขอ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 514
นิมนต์ท่านรับรสปลาเนื้อนี้ ก็เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธเหมือนกัน. เขา แยกเนื้อไว้ต่างหากกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับรสมีเนื้อ. ถ้าว่า ในรสนั้นมีชิ้นเนื้อ แม้เท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด, เป็นการห้ามภัตแก่ภิกษุผู้ปฏิเสธรสนั้น. แต่ถ้าเป็น รสที่เขากรองแล้ว ควรอยู่ ฉะนั้นแล.
พระอภัยเถระกล่าวว่า พระมหาเถระกล่าวว่า จงรอสักครู่หนึ่ง กะผู้ ถามโดยเอื้อเฟื้อด้วยรสเนื้อ แล้วกล่าวว่า นำถาดมาเถิด คุณ! ในคำนี้ จะว่า อย่างไรกัน?
พระมหาสุมนเถระกล่าวไว้ก่อนว่า การไปของผู้น้อมถวาย (ภัต) ขาดไป แล้วก่อน เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าห้าม (ภัต). แต่พระมหาปทุมเถระกล่าวว่า พระมหาเถระนี้จะไปที่ไหน? การไปของผู้น้อมถวาย (ภัต) นั่น เป็นเช่นไร? การห้ามภัตย่อมมีแม้แก่ผู้รับ แล้วกล่าวต่อไปว่า ยังไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต).
พวกทายกแกงปลาและเนื้อผสมด้วยหน่อไม้และขนุนเป็นต้น. เขาถือ เอาแกงนั้นมากล่าวว่า นิมนต์ท่านรับแกงหน่อไม้. นิมนต์ท่านรับแกงขนุน. แม้แกงนั่น ก็ไม่ห้าม (ภัต) เพราะเหตุไร? เพราะเขากล่าวโดยชื่อแห่ง สูปพยัญชนะที่ควรแก่การไม่ห้าม (ภัต). แต่ถ้าพวกเขากล่าวว่า แกงปลา แกงเนื้อ ก็ดี, ว่า นิมนต์ท่านรับแกงปลาและเนื้อนี้ ก็ดี, คำนั้นย่อมห้าม (ภัต).
มีอาหาร ชื่อว่า มังสกรัมพก * (ยำเนื้อ) แม้ผู้ประสงค์จะถวาย มังสกรัมพก (ยำเนื้อ) นั้น กล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับกรัมพก (ยำ) สมควรรับ
(๑) สารตฺถทีปนี ๓/๓๒๖ กรมฺพโกติ มิสฺสกาธิวจนเมตํ. ยํ หิ อญฺเนญฺเน มิสฺเสตฺวา กโรนฺติ โส กรมฺพโกติ วุจฺจติ. แปลว่า คำว่า กรัมพก นั่น เป็นชื่อของอาหารผสมกัน. จริงอยู่ อาการที่พวกชาวบ้านทำผสมกัน ด้วยของอย่างหนึ่งกับของอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า กรัมพก น่าจะ ตรงกับคำว่า ยำ ของไทยเรา จึงแปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 515
ไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). แต่เมื่อเขากล่าวว่า ยำเนื้อ หรือว่า ยำเนื้อนี้ คำนั้น ย่อมห้ามภัต. แม้ในโภชนะที่ผสมด้วยปลาและเนื้อทุกๆ อย่าง ก็นัยนี้เหมือน กัน.
ในมหาปัจจรีกล่าวว่า ก็ภิกษุใด ฉันอยู่ในสถานที่นิมนต์ เข้าใจเนื้อ ที่เขาน้อมถวายว่า เป็นเนื้อที่เขาทำเจาะจง จึงห้ามเสีย ภิกษุนั้น จัดว่าเป็น ผู้ห้ามภัตเหมือนกัน.
[ว่าด้วยการห้ามภัตที่ระคนกัน]
ส่วนมิสสกกถา (กถาว่าด้วยโภชนะระคนกัน) ท่านกล่าวไว้โดยละเอียด ในกุรุนที. สมดังที่ท่านกล่าวไว้ในกุรุนทีนั้นอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้ถือเที่ยวบิณฑบาต เป็นวัตร นำยาคูเจือด้วยข้าวสวยมาแล้ว กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับยาคู ยังไม่ ชื่อว่าห้าม (ภัต). เมื่อเธอกล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัต จึงชื่อว่าห้าม (ภัต). เพราะเหตุไร? เพราะภัตที่ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตถามโดยเอื้อเฟื้อ (บอกถวาย) มีอยู่.
ในคำว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัต นี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้ :- ภิกษุเที่ยว บิณฑบาตเป็นวัตรกล่าวว่า ขอนิมนต์ท่านรับภัตเจือด้วยข้าวยาคู. ในภัตเจือ ข้าวยาคูนั้น ถ้ายาคูมีมากกว่า หรือมีเท่าๆ กันยังไม่ชื่อว่าห้าม (ภัต). ถ้ายาคู มีน้อย ภัตมีมากกว่า ชื่อว่าห้าม (ภัต) และคำนี้ใครๆ ไม่อาจคัดค้านได้ เพราะท่านกล่าวไว้ทุกๆ อรรถกถา, แต่เหตุในคำนี้เห็นได้ยาก.
ผู้ถวายกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับยาคูเจือด้วยภัต. ภัตมีมากกว่าก็ดี มี เท่าๆ กันก็ดี มีน้อยกว่าก็ดี ย่อมชื่อว่าห้าม (ภัต) เหมือนกัน. เขาไม่ระบุ ถึงภัตหรือยาคู กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับโภชนะระคนกัน. ในโภชนะระคนกัน นั้น ถ้าภัตมีมากกว่า หรือมีเท่ากันจัดว่าห้าม (ภัต) , มีน้อยกว่า ยังไม่จัดว่า
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 516
ห้าม (ภัต). ก็โภชนะระคนกันนี้ ไม่เหมือนกับยำ. เพราะว่ายำจะเป็นยำเนื้อ ก็ดี ยำไม่มีเนื้อก็ดี; ฉะนั้น เมื่อเขากล่าวคำว่า ยำ ยังไม่เป็นการห้าม (ภัต). แต่โภชนะระคนกันนี้กลายเป็นยาคูผสมภัตไป ย่อมเป็นการห้าม (ภัต) โดย นัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละในโภชนะระคนกันนี้.
ทายกกล่าวแยกถวาย ในภัตที่มีรสมากว่า นิมนต์ท่านรับรส ในภัต ที่มีนมสดมากว่า นิมนต์ท่านรับนมสด และในข้าวปายาสที่มีเนยใสมากว่า นิมนต์ท่านรับเนยใส. เมื่อภิกษุห้ามภัตนั้น ไม่จัดว่าเป็นการห้าม (ภัต).
ฝ่ายภิกษุใด เดินห้ามภัต, ภิกษุนั้นย่อมได้เพื่อจะฉันทั้งเดินนั่นแหละ. เดินไปถึงที่มีโคลนตมหรือแม่น้ำหยุดยืนอยู่แล้ว พึงให้ทำเป็นเดน. ถ้าแม้น้ำ ในระหว่างขึ้นเต็มฝั่ง พึงเดินเวียนรอบพุ่มไม้ทำฝั่งแม้น้ำมันเถิด. ถ้ามีเรือหรือ สะพานนั้นแล้ว พึงเดินไปมาฉันเถิด, ไม่พึงตัดการเดินให้ขาดตอน. ภิกษุนั่ง ห้ามภัต บนยานก็ดี บนหลังช้างและม้าก็ดี บนดวงจันทร์ก็ดี บนดวงอาทิตย์ก็ดี พึงฉันทั้งที่นั่งอยู่บนยานเป็นต้นเหล่านั้น แม้ซึ่งกำลังเคลื่อนไปจนถึงเวลาเที่ยง วัน.
ภิกษุใดยืนห้ามภัต ภิกษุนั้นพึงฉันทั้งยืนเหมือนกัน, ภิกษุใดนั่งห้าม ภัต ภิกษุนั้น พึงฉันทั้งที่นั่งอย่างนั่นแหละ. เมื่อทำอิริยาบถนั้นให้เสีย พึง ให้ทำให้เป็นเดน.
ภิกษุใดนั่งกระโหย่งห้ามภัต ภิกษุนั้นพึงฉันทั้งที่นั่งกระโหย่งนั่นแหละ แต่พึงให้ตั่งฟางหรือที่รองนั่งบางอย่างในภายใต้แก่ภิกษุผ้นั่งกระโหย่งนั้น. ภิกษุ ผู้นั่งเล็กห้ามภัต ย่อมได้เพื่อจะฉันหมุนไปรวมทั้ง ๔ ทิศ ไม่ทำให้อาสนะ เคลื่อนที่. ภิกษุนั่งบนเตียงห้ามภัตย่อมไม่ได้เพื่อจะเลื่อนไปทางโน้นหรือทางนี้. แต่ถ้าชนทั้งหลายยกเธอขึ้นพร้อมทั้งเตียง หามไปในที่อื่น ควรอยู่. ภิกษุผู้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 517
นอนห้ามภัตพึงฉันทั้งๆ ที่นอนนั่นแหละ. เมื่อจะพลิกตัว อย่าพึงให้เลยฐาน แห่งสีข้างที่ตนนอนไป.
[ว่าด้วยลักษณะของเป็นเดนเป็นต้น]
บทว่า อนติริตฺตํ คือ ไม่เป็นเดน, ความว่า ไม่เหลือเฟือ. แต่ ของไม่เป็นเดนนั้น เป็นเพราะไม่ทำให้เป็นเดน โดยอาการแห่งวินัยกรรม ๗ อย่าง มีของไม่ได้ทำให้เป็นกัปปิยะเป็นต้น หรือไม่เป็นเดนของภิกษุอาพาธ; เพราะฉะนั้น ในบทภาชนะจึงตรัสคำว่า อกปฺปิยกตํ เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อกปฺปิยกตํ มีความว่า ในผลไม้เป็น ต้น ผลไม้ หรือเหง้ามันเป็นต้นใด ยังไม่ได้ทำให้เป็นกัปปิยะด้วยสมณโวหาร ทั้ง ๕ และอกัปปิยมังสะ หรืออกัปปิยโภชนะอันใดบรรดามี, ผลไม้เป็นต้นที่ ยังไม่ได้ทำกัปปิยะและอกัปปิยมังสะ อกัปปิยโภชนะนี้ชื่อว่า ของเป็นอกัปปิยะ, ของเป็นอกับปิยะนั้น ภิกษุทำให้เป็นเดนอย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว พึง ทราบว่า อกปฺปิยกตํ (ของที่ยังมิได้กระทำให้เป็นกัปปิยะ).
บทว่า อปฏิคฺคหิตถตํ ได้แก่ ของที่ภิกษุยิ่งไม่ได้รับประเคนทำ ให้เป็นเดนโดยนัยก่อนนั่นและ.
บทว่า อนุจฺจาริตกตํ ได้แก่ ของที่ภิกษุผู้มาเพื่อจะให้ทำกัปปิยะ ยังมิได้ขยับยกให้หรือน้อมถวายแม้แต่น้อย.
สองบทว่า อหตฺถปาเส กตํ ได้แก่ ยืนทำนอกหัตถบาสของภิกษุ ผู้มาเพื่อให้ทำกัปปิยะ.
สองบทว่า อภุตฺตาวินา กตํ ได้แก่ ภิกษุผู้ซึ่งทำให้เป็นเดนว่าทั้ง หมดนั่นพอแล้ว ยังไม่ได้ฉันโภชนะที่เพียงพอแก่การห้ามทำแล้ว
คำว่า ภุตฺตาวินา ปวาริเตน อาสนา วุฏฺิเตน กตํ นี้ ตื้น ทั้งนั้น.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 518
คำว่า อลเมตํ สพฺพนฺติ อวุตฺตํ ได้แก่ ไม่เปล่งวาจาพูดอย่างนั้น (พูดอย่างนี้ว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว). ของเป็นเดนอันใดยังไม่ได้ทำให้เป็น กัปปิยะ โดยอาการแห่งวินัยกรรมทั้ง ๗ อย่างนี้ และของใดไม่เป็นเดนแห่ง ภิกษุอาพาธ. ของแม้ทั้ง ๒ อย่างนั้น พึงทราบว่า ของไม่เป็นเดน ด้วย ประการฉะนี้, ส่วนของเดน ก็พึงทราบโดยนัยตรงกันข้ามของไม่เป็นเดนนั้น นั่นแหละ.
อีกอย่างหนึ่ง ยังมีคำอื่นที่จะพึงกล่าวอยู่ในของเป็นเดนนี้. คำว่า ภุตฺตาวินา กตํ โหติ มีความว่า ถึงโภชนะที่ภิกษุฉันข้าวสุกแม้เมล็ดเดียว หรือเคี้ยวเนื้อแม้ชิ้นเดียวจากบาตรของภิกษุผู้เป็นสภาคกันซึ่งนั่งถัดไปทำแล้ว บัณฑิตก็พึงทราบว่า เป็นอันภิกษุผู้ฉันเสร็จแลทำ.
ส่วนในคำว่า อาสนา อวุฏฺิเตน นี้ เพื่อความไม่งมงาย มีวินิจฉัย ดังต่อไป:- ภิกษุ ๒ รูปฉัน แต่เช้ามืด เป็นผู้ห้ามภัตเสียแล้ว. ภิกษุรูปหนึ่ง พึงนั่งในที่ห้ามภัตนั่นแหละ. อีกรูปหนึ่ง นำนิตยภัต หรือสลากภัตมาแล้ว เทลงในบาตรของภิกษุนั้นครึ่งหนึ่ง ล้างมือแล้ว ให้ภิกษุนั้นทำส่วนที่เหลือให้ เป็นกัปปิยะแล้วฉันเถิด. เพราะเหตุไร? เพราะว่าภัตที่ติดอยู่ในมือของภิกษุผู้ นำภัตมานั้น เป็นอกัปปิยะ แต่ถ้าภิกษุผู้นั่งอยู่แต่แรก เอามือรับเอาจากบาตร ของภิกษุผู้นำภัตมานั้นด้วยตนเองนั่นแหละ, ไม่มีกิจจำต้องล้างมือ. แต่ถ้าเมื่อ ภิกษุให้ทำเป็นกัปปิยะอย่างนั้นแล้วฉัน พวกทายกใส่แกง หรือของเคี้ยวบาง อย่างลงในบาตรอีก ภิกษุผู้ทำให้เป็นกัปปิยะคราวก่อน ย่อมไม่ได้เพื่อจะทำ อีก. ภิกษุผู้ยังไม่ได้ทำ (ให้เป็นกัปปิยะ) พึงทำ. และพึงทำสิ่งที่ยังไม่ได้ทำ เท่านั้น (ให้เป็นกัปปิยะ).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 519
สองบทว่า ยํ จ อกตํ เยน อกตํ มีความว่า ของที่ยังไม่ได้ทำ (ให้เป็นกัปปิยะ) แม้ภิกษุผู้ซึ่งได้ทำกัปปิยะคราวแรก ก็ควรทำ (ให้เป็น กัปปิยะ). แต่ย่อมไม่ได้เพื่อจะทำในภาชนะแรก. อธิบายว่า เพราะว่า ของที่ ภิกษุทำอยู่ในภาชนะแรกนั้น ย่อมเป็นอันทำรวมกันกับของที่ทำไว้คราวแรก; เพราะฉะนั้น จึงควรทำในภาชนะอื่น. แต่ของที่ทำแล้วอย่างนี้ ภิกษุนั้นจะ ฉัน รวมกับของทำไว้คราวแรก ควรอยู่. และเมื่อจะทำกัปปิยะ พึงทำในบาตร อย่างเดียวเท่านั้นหามิได้, พึงวางไว้ในหม้อบ้าง ในกระเช้าบ้าง ในที่ใดที่หนึ่ง ข้างหนึ่งแล้ว พึงทำในภาชนะที่เขาน้อมเข้ามาเถิด. ถ้าแม้นภิกษุตั้ง ๑๐๐ รูป ห้ามภัต, ทุกรูปจะฉันภัตที่ทำกัปปิยะแล้วนั้นก็ควร. แม้พวกภิกษุผู้ไม่ห้ามภัต ก็ควรฉัน. แต่ไม่ควรแก่ภิกษุผู้ทำให้กัปปิยะ.
ถ้าแม้นชาวบ้านเห็นภิกษุผู้ห้ามภัตเข้าไปบิณฑบาต รับบาตรแล้วให้ นั่งในสถานที่นิมนต์เพื่อต้องการมงคล ซึ่งจะต้องมีการฉันแน่นอน, พึงให้ทำ ให้เป็นเดนก่อนแล้วฉันเถิด. ถ้าในสถานที่นิมนต์นั้นไม่มีภิกษุอื่น, พึงส่งบาตร ไปยังหอฉัน หรือวิหารแล้ว ให้ทำ (ให้เป็นเดน). แต่เมื่อจะทำกัปปิยะไม่ ควรทำของที่อยู่ในมืออนุปสัมบัน. ถ้าในหอฉันมีภิกษุไม่ฉลาด พึงไปให้ทำ กัปปิยะอยู่เองแล้วนำมาฉันเถิด.
ในคำว่า คิลานาติริตฺตํ นี้ ภัตที่ภิกษุอาพาธฉันเหลืออย่างเดียวจึง ชื่อว่า ภัตเป็นเดนของภิกษุอาพาธหามิได้, โดยที่แท้ วัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เขานำมาเฉพาะภิกษุอาพาธ ด้วยใส่ใจว่า ท่านจักฉันในวันนี้หรือในพรุ่งนี้ หรือในเวลาที่ท่านต้องการ, วัตถุทั้งหมดนั้นบัณฑิตพึงทราบว่า เดนของภิกษุ อาพาธ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 520
ทุกกฏที่ต้องทุกๆ คำกลืน ในกาลิกทั้งหลายมียามกาลิกเป็นต้น ท่าน ปรับด้วยอำนาจกาลิกไม่ระคนกัน. แต่ถ้าว่าเป็นกาลิกระคนกันกับอามิส เป็น ปาจิตตีย์ทั้งนั้น แก่ภิกษุรับประเคนเพื่อประโยชน์แก่อาหารก็ดี เพื่อประโยชน์ มิใช่อาหารก็ดี กลืนกิน.
ข้อว่า สติ ปจฺจเย มีความว่า ภิกษุฉันยามกาลิก เพื่อขจัดความ กระหายในเมื่อมีความกระหาย ฉันสัตตาหกาลิกและยาวชีวิก เพื่อระงับอาพาธ นั้น ในเมื่อมีอาพาธที่จะพึงให้ระงับได้ ด้วยกาลิกนั้นๆ ไม่เป็นอาบัติ. คำที่ เหลือในสิกขาบทบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจกฐินสิกขาบท เกิดขึ้นทางกายและวาจา ๑ ทางกายวาจาและจิต ๑ เป็นทั้งกิริยาทั้งอกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
ปฐมปวารณาสิกขาบทที่ ๕ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 521
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖
เรื่องภิกษุ ๒ รูป
[๕๐๔] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ภิกษุ ๒ รูปเดินทางไกลไปยังพระนครสาวัตถีในโกศลชนบท ภิกษุรูปหนึ่งประพฤติ- อนาจาร ภิกษุผู้เป็นเพื่อนจึงเตือนเธอว่า อาวุโส ท่านอย่าได้ทำอย่างนั้น เพราะมันไม่สมควร เธอได้ผูกใจเจ็บในภิกษุเพื่อนนั้น ครั้น ภิกษุ ๒ รูปนั้น ไปถึงพระนครสาวัตถีแล้ว พอดีเวลานั้นในพระนครสาวัตถีมีสังฆภัตของประชาชนหมู่หนึ่ง ภิกษุผู้เป็นเพื่อนฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ภิกษุรูปทำผูกใจเจ็บไปสู่ ตระกูลญาติรับบิณฑบาตมาแล้วเข้าไปหาภิกษุที่เป็นเพื่อนนั้น ครั้นแล้วได้กล่าว คำนี้กะเธอว่า อาวุโส นิมนต์ฉัน.
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนปฏิเสธว่า พอแล้ว อาวุโส ผมบริบูรณ์แล้ว.
รูปที่ผูกใจเจ็บแค่นไค้ว่า อาวุโส บิณฑบาตอร่อย นิมนต์ฉันเถิด.
ครั้นภิกษุผู้เป็นเพื่อนถูกภิกษุผู้ผูกใจเจ็บนั้นแค่นได้ จึงได้ฉัน บิณฑบาตนั้น.
รูปที่ผูกใจเจ็บจึงพูดต่อว่าภิกษุผู้เป็นเพื่อนว่า อาวุโส ท่านได้สำคัญ ผมว่าเป็นผู้ที่ท่านควรว่ากล่าว ท่านเองฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ยังฉันโภชนะอัน มิใช่เดนได้.
ภิกษุผู้เป็นเพื่อนค้านว่า อาวุโส ท่านควรบอกมิใช่หรือ.
รูปที่ผูกใจเจ็บพูดแย้งว่า อาวุโส ท่านต้องถามมิใช่หรือ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 522
ครั้นแล้วภิกษุผู้เป็นเพื่อนได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุ ผู้มักน้อย ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้นำไปปวารณา ภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตแล้วด้วยโภชนะอันมิใช่เดนเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่าเธอ นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัต แล้วด้วยโภชนะอันมิใช่เดนจริงหรือ.
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้นำไปปวารณาภิกษุผู้ฉันเสร็จห้ามภัตแล้ว ด้วยโภชนะอันมิใช่เดนเล่า การ กระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๕๘. ๖. อนึ่ง ภิกษุใดรู้อยู่ เพ่งจะหาโทษให้ นำไปปวารณา ภิกษุผู้ฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ด้วยของเคี้ยวก็ดี ด้วยของฉัน ก็ดี อันมิใช่เดน บอกว่า นิมนต์เถิด ภิกษุ เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม พอเธอฉันแล้ว เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุ ๒ รูป จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 523
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๕] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่าที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้
ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า ภิกษุ หมายถึงภิกษุรูปอื่น.
ที่ชื่อว่า ฉันเสร็จ คือ ฉันโภชนะ ๕ อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่สุด แม้ฉันด้วยปลายหญ้าคา.
ลักษณะห้ามภัต
ที่ชื่อว่า ห้ามภัตแล้ว คือ กำลังฉันอาหารอยู่ ๑ ทายกนำโภชนะ มาถวายอีก ๑ ทายกอยู่ในหัตถบาส ๑ ทายกน้อมถวาย ๑ ภิกษุห้ามเสีย ๑.
ลักษณะของมิใช่เดน
ที่ชื่อว่า มิใช่เดน คือ ของที่ยังมิได้ทำให้เป็นกัปปิยะ ๑ ภิกษุมิได้ รับประเคน ๑ ภิกษุมิได้ยกขึ้นส่งให้ ๑ ท่านอกหัตถบาส ๑ ภิกษุยังฉันไม่เสร็จ ทำ ๑ ภิกษุฉันเสร็จ ห้ามภัตแล้ว ลุกจากอาสนะแล้ว ทำ ๑ ภิกษุมิได้พูดว่า ทั้งหมดนั่นพอแล้ว ๑ ของนั้นมิใช่เป็นเดนภิกษุอาพาธ ๑ นี้ชื่อว่า มิใช่เดน.
ลักษณะของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือเว้นโภชนะ ๕ ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว.
ลักษณะของฉัน
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 524
บทว่า นำไปปวารณา คือ บอกว่า จงรับของตามที่ต้องการ.
ที่ชื่อว่า รู้อยู่ คือ รู้เอง หรือรูปอื่นบอกเธอ หรือภิกษุนั้นบอก.
ที่ชื่อว่า เพ่งจะหาโทษให้ คือ เพ่งเล็งว่า จักท้วง จักเตือน จักท้วงซ้ำ จักเตือนซ้ำ ซึ่งภิกษุนี้ จักทำให้เป็นผู้เก้อ ด้วยโทษข้อนี้.
ภิกษุนำไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรับไว้ตามคำของเธอด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน เมื่อภิกษุนั้น ฉันเสร็จ ภิกษุผู้นำไป ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
บทภาชนีย์
[๕๐๖] ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสำคัญว่าห้ามภัตแล้ว นำไปปวารณาด้วย ของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสงสัย นำไปปวารณาด้วยของเคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ห้ามภัตแล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต นำไปปวารณาด้วยของ เคี้ยวก็ดี ของฉันก็ดี อันมิใช่เดน ไม่ต้องอาบัติ.
ภิกษุนำยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ไปเพื่อประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ.
ภิกษุรับไว้ตามคำของภิกษุผู้นำไปด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ภิกษุ ผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ภิกษุผู้นำไปต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.
ยังมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่า ห้ามภัตแล้ว ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ยังมิได้ห้ามภัต ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 525
ไม่ต้องอาบัติ
ยิ่งมิได้ห้ามภัต ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้ห้ามภัต ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๐๗] ภิกษุให้ทำเป็นเดนแล้วให้ ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงให้ทำ เป็นเดนแล้วจึงฉันเถิด ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า จงนำไปเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุ อื่น ๑ ภิกษุให้อาหารที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุให้ด้วยบอกว่า ในเมื่อ มีเหตุสมควรจงฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ
ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖
ในสิกขาบทที่ ๖ มีวินิจฉัยดังนี้ :-
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องภิกษุ ๒ รูป]
สองบทว่า อนาจารํ อาจรติ ได้แก่ ทำการล่วงละเมิดพระบัญญัติ.
บทว่า อุปนทฺธิ มีความว่า เมื่อให้ความผูกโกรธเกิดขึ้น ชื่อว่า ได้ผูกความโกรธของตนไว้ในบุคคลผู้นั้น. อธิบายว่า ให้ความอาฆาตเกิดขึ้น บ่อยๆ.
สองบทว่า อุปนทฺโธ ภิกฺขุ ได้แก่ ภิกษุผู้เกิดมีความผูกโกรธนั้น.
สองบทว่า อภิหฏฺฐุํ ปวาเรยฺย มีความว่า พึงนำไปปวารณา อย่างนี้ นิมนต์เถิดภิกษุ! เคี้ยวก็ตาม ฉันก็ตาม. แต่ในบทภาชนะพระ-
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 526
อุบาลีเถระไม่ทรงยกคำว่า หนฺท ภิกฺขุ เป็นต้นขึ้น เพื่อแสดงอรรถแห่งการ นำไปปวารณาที่ทั่วไปอย่างเดียว จึงได้กล่าวว่า นิมนต์รับของเท่าที่ท่านต้องการ.
บทว่า ชานํ คือ รู้อยู่ว่า ภิกษุนั้นเป็นผู้ห้ามภัตแล้ว. ก็เพราะการรู้ นั้นของภิกษุนั้น ย่อมมีโดยอาการ ๓ อย่าง; ฉะนั้น พระอุบาลีเถระจึงกล่าว บทภาชนะโดยนัยเป็นต้นว่า ชานาติ นาม สามํ วา ชานาติ ดังนี้.
บทว่า อาสาทนาเปกฺโข ได้แก่ เพ่งการรุกราน คือ การโจทท้วง ได้แก่ ภาวะที่ทำให้เป็นผู้อัปยศ.
คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ. ผู้ที่ตนน้อมถวายภัตรับเอา เป็นทุกกฏแก่ภิกษุผู้น้อมถวาย. ส่วนความต่างแห่ง อาบัติทุกอย่างของภิกษุผู้รับนอกนี้ กล่าวไว้แล้วในปฐมสิกขาบท. แต่ใน สิกขาบทนี้ พระวินัยธรพึงปรับอาบัติทั้งหมดแก่ภิกษุผู้น้อมถวายภัตเท่านั้น. บทที่เหลือปรากฏชัดแล้วแล เพราะมีนัยดังกล่าวแล้วในสิกขาบทก่อน.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๓ เกิดขึ้นทางกายกับจิต ๑ ทางวาจากับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา สัญญาวิโมกข์ สจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม อกุศลจิต เป็นทุกขเวทนา ดังนี้แล.
ทุติยปวารณาสิกขาบทที่ ๖ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 527
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๗
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์
[๕๐๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับ อยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็นสถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ในพระนครราชคฤห์มีมหรสพบนยอดเขา พระสัตตรสวัคคีย์ได้ไปดู มหรสพบนยอดเขา ประชาชนเห็นพระสัตตรสวัคคีย์ จึงนิมนต์ให้สรงน้ำ ให้ ลูบไล้ของหอม ให้ฉันอาหารแล้วได้ถวายของเคี้ยวไปด้วย พระสัตตรสวัคคีย์ นำของเคี้ยวไปถึงอารามแล้วได้กล่าวคำนี้กะพระฉัพพัคคีย์ว่า อาวุโสทั้งหลาย นิมนต์รับของเคี้ยวไปขบฉันเถิด.
พระฉัพพัคคีย์ถามว่า อาวุโสทั้งหลาย พวกท่านได้ของเคี้ยวมาจากไหน.
พระสัตตรสวัคคีย์ได้แจ้งเรื่องนั้นแก่พระฉัพพัคคีย์.
ฉ. อาวุโสทั้งหลาย ก็พวกท่านฉัน อาหาร เวลาวิกาลหรือ.
ส. เป็นอย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
พระฉัพพัคคีย์จึงเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสัตตรสวัคคีย์ จึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า ... แล้ว แจ้งเรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่าไฉนพระสัตตรสวัคดีย์จึงได้ฉัน อาหารในเวลาวิกาลเล่า ... แล้วกราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระสัตตรสวัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอฉันอาหารในเวลาวิกาล จริงหรือ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 528
พระสัตตรสวัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ฉันอาหารในเวลาวิกาลเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่เป็น ไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของ ชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้ :-
พระบัญญัติ
๘๑. ๗. อนึ่ง ภิกษุใด เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่ง ของฉัน ก็ดี ในเวลาวิกาล เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องพระสัตตรสวัคคีย์ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๐๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า เวลาวิกาล หมายตั้งแต่เวลาเที่ยงวันล่วงแล้วไปจนถึงอรุณขึ้น
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือ เว้น โภชนะ ๕ ของที่เป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่า ของเคี้ยว
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง. ปลา เนื้อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 529
ภิกษุรับไว้ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน คืออาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๑๐] เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่า เวลาวิกาล เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เวลาวิกาล ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของ ฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
เวลาวิกาล ภิกษุสำคัญว่าในกาล เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุรับยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิกไว้ เพื่อประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.
ในกาล ภิกษุสำคัญว่าวิกาล ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ในกาล ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ในกาลภิกษุสำคัญว่าในกาล ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๑๑] ภิกษุฉันยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เมื่อมีเหตุสมควร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๗ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 530
วิกาลโภชนาสิกขาบทที่ ๗
ใน (๑) สิกขาบทที่ ๗ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
[เรื่องภิกษุสัตตรสวัคคีย์ไปดูมหรสพบนยอดเขา]
บทว่า คิรคฺคสมชฺโช คือ มหรสพชั้นเยี่ยมบนภูเขา. อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่ มหรสพ (ที่แสดง) บนยอดเขาแห่งภูเขา. ทวยนครทำการโฆษณาใน เมืองว่า นัยว่า มหรสพนั้นจักมีกันในวันที่ ๗ ฝูงชนเป็นอันมากได้ชุมนุมกัน ที่ร่มเงาแห่งบรรพต บนภูมิภาคที่ราบเรียบภายนอกเมือง การฟ้อนรำของพวก นักฟ้อน มีประการมากมายหลายอย่างเป็นไปอยู่. ชนทั้งหลายได้ผูกเตียงซ้อน เตียง เพื่อดูการฟ้อนรำของพวกนักฟ้อนเหล่านั้น. พวกภิกษุสัตตรสวัคคีย์ อุปสมบทแต่ยังเด็กๆ ในเมื่อสิกขาบทยังมิได้ทรงบัญญัติ. ภิกษุเหล่านั้นชักชวน กันว่า ผู้มีอายุ! พวกเราจักไปดูฟ้อนรำกัน แล้วได้ไปในที่นั้น. ครั้งนั้น เหล่าญาติของพวกเธอ มีจิตยินดีว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเราก็มาด้วย จึงให้ อาบน้ำ ลูบไล้ ให้ฉันแล้ว ได้ถวายแม้ของอื่น มีขนมและของควรเคี้ยวเป็น ต้นติดมือไปด้วย. พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายหมายถึงญาติเหล่านั้น จึง ได้กล่าวว่า พวกมนุษย์ได้เห็นภิกษุสัตตรสวัคคีย์เหล่านั้น เป็นต้น.
บทว่า วิกาเล คือ ในเมื่อกาลผ่านไปแล้ว. กาลแห่งโภชนะของ ภิกษุทั้งหลายท่านประสงค์เอาว่า กาล ก็กาลแห่งโภชนะนั้นโดยกำหนดอย่าง ต่ำกว่าเขาทั้งหมด เที่ยงวัน อธิบายว่า เมื่อกาล (เวลา) เที่ยงวันนั้นล่วง เลยไปแล้ว. ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ ในบทภาชนะแห่งบทว่า วิกาเล นั้น
(๑) ศัพท์ที่เป็นชื่อขาทนียะโภชนียะและเภสัชเป็นต้น เท่าที่ค้นหาได้แปลไว้ในสิกขาบทนี้ ยังไม่ แน่ใจของฝากที่ท่านผู้รู้พิจารณาแก้ไขต่อไป. - ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 531
พระอุบาลีเถระจึงกล่าวว่า เมื่อกาลเที่ยงวันล่วงไปแล้ว จนถึงอรุณขึ้น ชื่อว่า วิกาล แม้เวลาเที่ยงตรงก็ถึงการสงเคราะห์เข้าเป็นกาล. จำเดิมแต่เวลาเที่ยง ตรงไป ภิกษุไม่อาจเพื่อจะเคี้ยวหรือฉันได้ (แต่) ยังอาจเพื่อจะรีบดื่มได้, ส่วนภิกษุผู้มีความรังเกียจไม่พึงทำ. และเพื่อรู้กำหนดกาลเวลา ควรปักเสา เครื่องหมายกาลเวลาไว้. อนึ่ง พึงทำภัตกิจภายในกาล.
ในคำว่า อวเสสํ ขาทนียํ นาม นี้ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:- ใน อาหารวัตถุมีขนมต้มเป็นต้น (๑) ทำสำเร็จมาแต่บุพพัณชาติ และอปรัณชาติมีคำ ที่ควรจะกล่าวก่อนอย่างนั้น:-
วัตถุแม้ใด มีชนิดเช่นใบและรากเหง้าเป็นต้น เป็นของมีดติอย่างอามิส, นี้ คืออย่างไร? คือ วัตถุแม้น เป็นต้นว่า รากควรเคี้ยว หัวควรเคี้ยว เหง้าควรเคี้ยว ยอดควรเคี้ยว ลำต้นควรเคี้ยว เปลือกควรเคี้ยว ใบควรเคี้ยว ดอกควรเคี้ยว ผลควรเคี้ยว เมล็ดควรเคี้ยว แป้งควรเคี้ยว ยางเหนียวควร เคี้ยว ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในขาทนียะ (ของควรเคี้ยว) ทั้งนั้น. ก็ใน มูลขาทนียะเป็นต้นนั้น เพื่อกำหนดรู้ของควรเคี้ยวมีคติอย่างอามิส มีของควร เคี้ยว ซึ่งจะชี้ให้เห็นพอเป็นตัวอย่างดังต่อไปนี้:-
[อธิบายของควรเคี้ยวที่จัดเป็นกาลิกต่างๆ]
พึงทราบวินิจฉัยในมูลขาทนียะก่อน :- ใบและรากที่ควรเป็นสูปะ (กับข้าว) ได้ มีอาทิอย่างนั้น คือ มูลกมูล วารกมูล ปุจจุมูลตัมพกมูล
(๑) อัตถโยชนา ๒/๗๐ สกฺขลิโมทโกติ วฏฺฏโมทโก. ชาวอินเดียเรียกขนมชนิดนี้ว่า ลัฑฑู นัยว่า ทำจากแป้งเป็นก้อนกลมๆ ข้างในใส่ไส้แล้วทอดด้วยน้ำมันพืชลักษณะใกล้กับขนมต้มของไทย จึงได้แปลไว้อย่างนั้น. - ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 532
ตัณฑุเลยยกมูล วัตถุเลยยกมูล วัชชกลิมูล ชัชฌริมูล ๑ มีคติอย่างอามิส. ก็ บรรดาขาทนียะ มีมูลกมูลเป็นต้นนี้ ชนทั้งหลาย ตัดหัวอ่อน ในวชัชกลิมูล (หัวมันใหญ่) ทิ้ง, หัวอ่อนนั้นเป็นยาวชีวิก. รากเหง้าแม้อย่างอื่นเห็นปานนี้ ก็พึงทราบโดยนัยนี้แหละ. ท่านกล่าวไว้ว่า ส่วนหัวของมูลกะวารกะและชัชฌริ (เผือกมัน มันอ้อนและมันเสา) แม้ยังอ่อน ก็มีคติอย่างอามิสเหมือนกัน.
ส่วนเภสัชเหล่าใดที่ตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เรา อนุญาตมูลเภสัช คือ ขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ว่านเปราะ อุตพิด ข่า แฝก แห้วหมู ก็หรือมูลเภสัชแม้ชนิดอื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวใน ของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค๒ ดัง นี้, เภสัชเหล่านั้น เป็นยาวชีวิก. เภสัชเป็นยาวชีวิกเหล่านั้น เมื่อคำนวณนับ โดยนัย เป็นต้นว่า จูฬเบญจมูล มหาเบญจมูล (รากทั้งห้า รากทั้งห้าใหญ่) ไม่มีที่สุดด้วยการนับ. ก็ภาวะ คือ ความไม่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และ ประโยชน์แก่โภชนียะนั่นแล เป็นลักษณะแห่งมูลเภสัชที่เป็นยาวชีวิกเหล่านั้น.
เพราะฉะนั้น (๓) รากเหง้าชนิดใดชนิดหนึ่ง สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ. และประโยชน์แก่โภชนียะของพวกมนุษย์ ด้วยอำนาจแห่งอาหารตามปกติใน ชนบทนั้นๆ , รากเหง้านั้น พึงทราบว่า เป็นยาวกาลิก, รากเหง้านอกนี้ พึง ทราบว่าเป็นยาวชีวิก, ถึงแม้พวกเราจะกล่าวให้ละเอียดมากไป ก็จำต้องยืนยัน อยู่ในลักษณะนี้แล. แต่เมื่อจะกล่าวนามสัญญา (เครื่องหมายชื่อ) ทั้งหลายไว้ ก็จะเป็นความฟั่นเฟื้อหนักขึ้น แก่เหล่าชนผู้ไม่รู้ชื่อนั้นๆ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้า
(๑) หัวเผือกมัน หัวลูกเดือย หัวมันอ้อน หัวมันแดง หัวเถาข้าวสาร หัวผักโหมหัด หัวมันใหญ่ หัวผักไห่ หรือผักปลัง วชิรพุทธิฏีกาฉบับพม่า ขาทกมูลนฺติ ยูปสมูลํ. จจฺจุมฺลํ=เนฬิยมูลํ. ตมฺพกํ=วจํ. ตณฺฑฺเลยฺยกํ=จูฬกุหุ. วตฺถุ เลยฺยกํ=มหากุหุ วชกลิ=นิโกฏฺ ํ. ชชฺฌริ=หิรโต.-ผู้ชำระ
(๒) วิ. มหา. ๕/๔๑.
(๓) โยชนาปาฐะ ๒/๗๒ เป็น ตสฺมา แปลตามนั้นเห็นว่าถูกกว่า - ผู้ชำระ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 533
จึงไม่ทำความเอื้อเฟื้อในนามสัญญา แสดงไว้แต่ลักษณะเท่านั้น. อนึ่ง พึง ทราบวินิจฉัย ด้วยอำนาจแห่งลักษณะที่ได้แสดงไว้แม้ในหัวมันเป็นต้นนั่นแล เหมือนในรากเหง้า ฉะนั้น. อนึ่ง แม้ลำต้น เปลือก ดอก และผลแห่งเหง้า ๘ ชนิด มีขมิ้นเป็นต้น ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีทั้งหมด ท่าน ก็กล่าวว่า เป็นยาวชีวิก.
ในหัวควรเคี้ยว มีวินิจฉัยดังนี้:- หัวมัน (หัวใต้ดิน) มี ๒ ชนิด คือ ชนิดยาว ๑ ชนิดกลม ๑ หัวบัว และหัวทองกวาวเป็นต้น มีทั้งชนิด ยาวและชนิดสั้น, หัวบัวและหัวกระจับเป็นต้น ที่อาจารย์บางพวกเรียกว่า คัณฐี ก็มี เป็นหัวชนิดกลม. บรรดาหัวเหล่านั้น ที่แก่และอ่อนของหัว สะเก็ด และจำพวกรากฝอยแห่งหัวทุกอย่าง จัดเป็นยาวชีวิก.
ส่วนจำพวกหัวที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะและประโยชน์แก่ โภชนียะ ของพวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้นๆ มีอาทิอย่างนั้น คือ หน่อต้นขานางที่ยังอ่อน เคี้ยวง่าย หัวอ่อนต้นทองกวาว หัวต้นมะกอก หัว การะเกด หัวเถาย่านทราย หัวบัวหลวง และบัวขาวที่เรียกกันว่าเหง้าบัว หัว เถาวัลย์มีเถาพวงและเถาหูกวางเป็นต้น หัวเครือเขา * หัวต้นมะรุม หัวตาล หัวบัวเขียวบัวแดง โกมุทและจงกลนี หยวกกล้วย หน่อไม้ไผ่ หัวกระจับที่ ยังอ่อน เคี้ยวง่าย จัดเป็นยาวกาลิก. หัวเถากลอย (เถาน้ำนม เถาข้าวสาร ก็ว่า) ที่ยังไม่ฟอก เป็นยาวชีวิก, ที่ฟอกแล้วเป็นยาวกาลิก.
ส่วนหัวของกระทือกระเม็ง (ไพร) กระชาย (ขิง) และกระเทียม เป็นต้น เป็นยาวชีวิก. หัวเหล่านั้นท่านสงเคราะห์เข้ากับมูลเภสัชนั่นแลใน พระบาลี อย่างนี้ว่า ก็หรือว่า มูลเภสัชเหล่าใด แม้อย่างอื่นบรรดามี.
(๑) ชาวอินเดียเรียกว่า อาลู เป็นมันชนิดหนึ่ง สมัยนี้แปลกันว่า มันฝรั่ง-ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 534
ในมูลฬาลขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- เหง้าบัวหลวงเป็นเช่นเดียวกัน กับเหง้าบัวขาวนั่นแหละ. เหง้าที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่ โภชนียะของพวกมนุษย์ ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้นๆ มีอาทิ อย่างนั้น คือ เหง้าตะไคร้น้ำ เหง้าเถาคล้า เป็นยาวกาลิก.
ส่วนเหง้าของขมิ้น ขิง ปอ เถา ๔ เหลี่ยม การะเกด ตาล เต่าร้าง ต้นตาว (๑) มะพร้าว ต้นหมากเป็นต้น จัดเป็นยาวชีวิก. เหง้าขมิ้นเป็นต้น แม้ทั้งหมดนั้น ท่านสงเคราะห์เข้ากับมูลเภสัชเหมือนกัน ในพระบาลีอย่างนี้ว่า ก็หรือว่า มูลเภสัชแม้ชนิดอื่นในบรรดามี.
ในมัตถกขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ยอดหรือหน่อแห่งต้นไม้และ เถาวัลย์เป็นต้น ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะ และประโยชน์แก่โภชนียะของ พวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปรกติในชนบทนั้นๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ยอด ที่เรียกกันว่าหน่อของตาล เต่าร้าง ต้นตาว การะเกด มะพร้าว ต้นหมาก อินทผลัม (เป้งก็ว่า) หวาย ตะไคร้น้า และกล้วย หน่อไม้ไผ่ หน่ออ้อ หน่ออ้อย หน่อเผือกมัน หน่อเมล็ดพันธุ์ผักกาด หน่อสามสิบ และหน่อแห่งธัญชาติ ๗ ชนิด จัดเป็นยาวกาลิก. โคนรากอ่อน (ยอดอ่อน) แห่งหน่อขมิ้น ขิง ว่านน้ำ ปอ กระเทียมและแห่งหน่อตาล เต่าร้าง ต้นตาว มะพร้าว ที่เขาตัดให้ขาด ตกไปเป็นยาวชีวิก.
[ว่าด้วยลำต้นเปลือกและใบที่ควรคี้ยว]
ในขันธขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ลำต้นมีอาทิอย่างนี้ คือลำต้น ไม้ ขานาง ลำอ้อย สายบัวเขียว บัวแดง โกมุท และจงกลนีที่อยู่ภายในปฐพี ที่สำเร็จประโยชน์แก่ขาทนียะและประโยชน์แก่โภชนียะ ของพวกมนุษย์ด้วย
(๑) บางท่านก็ว่า ต้นลาน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 535
อำนาจแห่งอาหารตามปกติในชนบทนั้นๆ จัดเป็นยาวกาลิก. ก้านใบแห่งบัว ชนิดอุบลชาติก็ดี ก้านทั้งหมดแห่งบัวชนิด ปทุมชาติก็ดี และก้านบัวที่เหลือ ทุกๆ อย่าง มีก้านบัวหลวงเป็นต้น จัดเป็น ยาวชีวิก.
ในตจขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- เปลือกอ้อยอย่างเดียวเท่านั้นท่าน จัดเป็นยาวกาลิก. เปลือกอ้อยแม้นั้น ยิ่งเป็นของมีรส (หวานอยู่). เปลือก ที่เหลือทุกอย่างเป็นยาวชีวก. ก็ยอด ลำต้น และเปลือกทั้ง ๓ นั้น พึงทราบ ว่า สงเคราะห์เข้ากับกสาวเภสัช ในพระบาลี. สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสไว้นี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตกสาวเภสัช (น้ำฝาดที่เป็นยา) คือ น้ำฝาดสะเดา น้ำฝาดมูกมัน (น้ำฝาดกระดอมหรือมูลกา๑) น้ำฝาดบอ ระเพ็ดหรือพญามือเหล็ก น้ำฝาดกถินพิมาน, ก็หรือกสาวเภสัชแม้ชนิดอื่นใด บรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค๒.
การสงเคราะห์ยอดลำต้นและเปลือกแม้เหล่านั้นเข้าในพระพุทธานุญาตนี้ ย่อมสำเร็จ (ย่อมใช้ได้). และจำพวกน้ำฝาดที่กล่าวแล้วบัณฑิตพึงทราบว่า เป็นของสมควรโดยประการทุกอย่าง.
ในปัตตขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ใบทั้งหลายแห่งรุกชาติเหล่านี้ คือ เผือกมัน ลูกเดือย มันอ้อน และมันแดง มะพลับ บุนนาค ผักโหมหัด มันใหญ่ ผักไห่ หรือผักปลัง มะคำไก่ หรือ มะกอก กะเพรา ถั่วเขียวจีน ถั่วเหลือง ถั่วราชมาษ ยอป่าที่เหลือ เว้นยอใหญ่ (ยอบ้านเสีย) คนทิสอ หรือพังคี เบญจมาศ กุ่มขาว มะพร้าว ชาเกลือเกิดบนดิน และใบไม้เหล่า
(๑) ในอรรถกถาตกปโฏลกสาวํ ในพระบาลีมีครบ-ผู้ชำระ. ๒. วิ. มหา. ๕/๔๒.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 536
อื่นเห็นปานนี้ ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว และสำเร็จประโยชน์แก่ของ ควรบริโภคของพวกมนุษย์ด้วยอำนาจอาหารตามปกติในชนบทนั้นๆ จัดเป็น ยาวกาลิกโดยส่วนเดียว.
แต่ชาเกลือมีใบขนาดเท่าหลังเล็บเขื่องๆ แม้อื่นใด เลื้อยขึ้นบนต้นไม้ หรือพุ่มไม้, พวกอาจารย์ชาวเกาะ (ชาวชมพูทวีป หรือชาวลังกาทวีป) กล่าว ใบชาเกลือนั้นว่า เป็นยาวชีวก และใบพรห๑มีว่าเป็นยาวชีวิก. ใบมะม่วงอ่อน เป็นยาวกาลิก. ส่วนใบอโศกอ่อนเป็นยาวชีวิก.
ก็หรือใบอื่นใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เราอนุญาตปัณณเภสัช (ใบไม้ที่เป็นยา) คือ ใบสะเดา ใบมูกมัน ใบกระดอม หรือกะเพรา หรือ แมงรักใบฝ้าย, ก็หรือปัณณเภสัช แม้ชนิด อื่นใดบรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่ สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ในของควรบริโภค๒ ดังนี้, ใบเหล่านั้น เป็นยาวชีวิก และไม่ใช่แต่ใบอย่างเดียว แม้ดอกและผลของสะเดาเป็นต้นเหล่า นั้นก็เป็นยาวชีวิก (เหมือนกัน) จำพวกใบที่เป็นยาวชีวิกจะไม่มีที่สุดด้วย อำนาจการนับ อย่างนี้ว่า ใบกระดอม หรือมูลกา ใบสะเดา หรือบอระเพ็ด ใบแมงรัก หรืออ้อยช้าง ใบตะไคร้ หรือผักคราด ใบพลู ใบบัว เป็นต้น.
[ว่าด้วยดอก ผล เมล็ด แป้ง และยางที่ควรเคี้ยว]
ในปุปผขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ดอกที่สำเร็จประโยชน์แก่ของ ควรเคี้ยวและที่สำเร็จประโยชน์แก่ของที่ควรบริโภคของหมู่มนุษย์ ด้วยอำนาจ แห่งอาหารตามปรกติในชนบทนั้นๆ มีอาทิอย่างนี้ คือ ดอกเผือกมัน ดอก ลูกเดือย ดอกมันอ้อน ดอกมันแดง ดอกมะพลับ (ดอกมันใหญ่) ดอกผัก
(๑) วชิรพุทฺธิ. แก้เป็น เทเมเตเยปณสา.
(๒) วิ. มหา. ๕/๔๒
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 537
โหมหัด ดอกผักไห่ ดอกยอป่า ดอกยอใหญ่ (ยอบ้าน) ดอกกระจับ ดอก อ่อนของมะพร้าว ตาล และการะเกด (ลำเจียก) ดอกกุ่มขาว ดอกมะรุม ดอกบัวชนิดอุบล และปทุม ดอกกรรณิการ์ ดอกไม้มีกลิ่น (ดอกคนทิสอ) ดอกชบา (ดอกทองหลาง) ดอกเทียนขาว เป็นยาวกาลิก.
ส่วนดอกของพวกรุกขชาติ เช่น อโศก พิกุล กระเบา บุนนาค จำปา ชาตบุษย์ ชบา กรรณิการ์ คล้า (ตาเลีย) มะลิวัน มะลิซ้อน เป็น ต้น เป็นยาวชีวิก. ดอกไม้ที่เป็นยาวชีวิกนั้น ไม่มีสิ้นสุดด้วยการนับ. แต่ผู้ ศึกษาพึงทราบว่า สงเคราะห์ดอกไม้ที่เป็นยาวชีวิกนั้นเข้ากับกสาวเภสัชในพระบาลีนั่นแล.
ในผลขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ผลไม้ทั้งหลาย มีขนุน ขนุนสำปะลอ ตาล มะพร้าว มะม่วง ชมพู่ มะกอก มะขาม มะงั่ว มะขวิด น้ำเต้า ฟักเขียว ผลแตงไทย มะพลับ แตงโม มะเขือ (มะแว้ง) กล้วยมีเมล็ด กล้วยไม่มีเมล็ด และมะซางเป็นต้น (และ) จำพวกผลไม้ที่สำเร็จประโยชน์ แก่ของควรเคี้ยว และที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ของหมู่มนุษย์ด้วย อาหารตามปกติในชนบทนั้นๆ ในโลก ทุกๆ อย่างเป็นยาวกาลิก. และด้วย อำนาจการนับชื่อ ใครๆ ก็ไม่อาจจะแสดงผลไม้ที่เป็นยาวกาลิกเหล่านั้นให้สิ้น สุดได้.
ก็แลผลเหล่าใดที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในพระบาลีว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เราอนุญาตผลเภสัช (ผลไม้ที่เป็นยา) คือ ลูกพิลังกาสา ดีปลี พริก สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม ผลแห่งโกฐ, ก็หรือผลเภสัชชนิดอื่นใด บรรดามี ที่ไม่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว ในของควรเคี้ยว ที่ไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่ของควรบริโภคในของควรบริโภค * ดังนี้, ผลเหล่านั้นเป็นยาวชีวิก.
(๑) วิ. มหา. ๕/๔๒ - ๓.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 538
แม้ผลไม้ที่เป็นยาวชีวิกเหล่านั้น ใครๆ ก็ไม่อาจจะแสดงให้สิ้นสุดลงด้วยอำนาจ แห่งชื่ออย่างนี้ คือ พวกผลแห่งหมากไฟ (ลูกเข็ม) ลูกไทร หรือตำลึง การะเกด (ลำเจียก) ไข่เน่า (มะตูม) เป็นต้นที่ยังไม่สุก ลูกจันทน์เทศ ลูกข่า (พริก) กระวานใหญ่ กระวาน (เล็ก) เป็นต้น.
ในอัฏฐีขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- เมล็ดทั้งหลาย มีอาทิอย่างนี้ คือ เมล็ดขนุนสำปะลอ เมล็ดขนุน เมล็ดมะกอก เมล็ดหูกวาง เมล็ดของผลที่ยัง อ่อนแห่งจำพวกอินทผลัม (เป้งก็ว่า) การะเกด (ลำเจียก) มะพลับ เมล็ดมะขาม เมล็ดตำลึง เมล็ดสะคร้อ เมล็ดบัว (ลูกบัว) ชนิดอุบล และปทุม ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยว และที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค ด้วยอำนาจแห่งอาหารตามปกติของหมู่มนุษย์ในชนบทนั้นๆ จัด เป็นยาวกาลิก. เมล็ดมีอาทิอย่างนั้น คือ เมล็ดมะซาง เมล็ดบุนนาค เมล็ดจำพวกสมอไทยเป็น ต้น เมล็ดพันธุ์ผักกาด เมล็ดผักชีล้อม จัดเป็นยาวชีวิก. เมล็ดที่เป็นยาวชีวิก เหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า สงเคราะห์เข้ากับผลเภสัชในพระบาลีนั่นแล.
ในปิฏฐขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- แป้งทั้งหลายมีอาทิอย่างนั้นคือ แป้งแห่งธัญชาติ ๗ ชนิด ธัญชาติอนุโลมและอปรัณชาติ แป้งขนุน แป้งขนุนสำปะลอ แป้งมะกอก แป้งหูกวาง แป้งตาล ที่ฟอกแล้ว แป้งหัวกลอย (เถาน้ำนม เถาข้าวสารก็ว่า) ที่สำเร็จประโยชน์แก่ของควรเคี้ยวและที่ สำเร็จประโยชน์แก่ของควรบริโภค แห่งหมู่มนุษย์ด้วยอำนาจแห่งอาหารตาม ปรกติในชนบทนั้น จัดเป็นยาวกาลิก. แป้งตาลที่ยังไม่ได้ฟอก แป้งหัวกลอย (เถาน้ำนม เถาข้าวสารก็ว่า) แป้งต้นป้าแป้น * เป็นต้น (ที่ยังไม่ ได้ฟอก) จัดเป็นยาวชีวิก. แป้งที่เป็นยาวชีวิกเหล่านั้น ผู้ศึกษาพึงทราบว่า สงเคราะห์ เข้ากับพวกน้ำฝาดและพวกรากผล.
(๑) ต้นสาคู กระมัง?
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 539
ในนิยยาสขาทนียะ มีวินิจฉัยดังนี้:- ยาง๑อ้อย (น้ำอ้อยตังเม) อย่าง เดียว เป็นสัตตาหกาลิก. ยางที่เหลือซึ่งตรัสไว้ในพระบาลีอย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย! เราอนุญาตชตุเภสัช (ยางไม้ที่เป็นยา) คือ ยางอันไหลออกจากต้น หิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากก้านและใบแห่งต้นหิงคุ ยางอันเขาเคี่ยวจากใบแห่งต้น หิงคุ หรือเจือของอื่นด้วย ยางอันไหลออกจากยอดไม้ตักกะ๒ ยางอันไหลออก จากใบแห่งต้นตักกะ ยางอันเขาเดียวจากใบ หรือไหลออกจากก้านแห่งต้น ตักกะ กำยาน ก็หรือจตุเภสัชชนิดอื่นใดบรรดามี ดังนี้ จัดเป็นยาวชีวิก. ใครๆ ก็ไม่อาจจะแสดงชตุเภสัชที่ท่านสงเคราะห์ด้วยเยวาปนกนัย ในพระบาลี นั้น ให้สิ้นสุดลงด้วยอำนาจแห่งชื่ออย่างนั้น คือ ยางกรรณิการ์ ยางมะม่วงเป็น ต้น.
บรรดาขาทนียะมีมูลขาทนียะเป็นต้น เหล่านั้น ดังกล่าวมานี้ ยาวกาลิก ชนิดใดชนิดหนึ่งแม้ทั้งหมด ท่านสงเคราะห์เข้าในอรรถนี้ว่า ที่เหลือ ชื่อว่า ขาทนียะ (ของควรเคี้ยว). ส่วนคำที่ควรกล่าวในคำว่า โภชนะ ๕ อย่าง ชื่อ ว่า โภชนียะ (ของควรบริโภค) เป็นต้น ข้าพเจ้าได้กล่าวแล้วแล.
คำว่า ขาทิสฺสามิ ภุญฺชิสฺสามีติ ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า ภิกษุใดรับประเคนขาทนียะและโภชนียะนั่นในเวลา วิกาล, ภิกษุนั้นต้องอาบัติทุกกฏในเพราะรับก่อน. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
วิกาลโภชนสิกขาบทที่ ๗ จบ
(๑) น้ำอ้อยตังเม คือ น้ำอ้อย หรือน้ำตาลเคี่ยวเป็นตังเม.-ผู้ชำระ. ๒. วิ. บาลีเป็นตกะ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 540
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๘
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสเถระ
[๕๑๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น ท่าน พระเวพัฏฐสีสะพระอุปัชฌายะของท่านพระอานนท์อยู่ในอาวาสป่า ท่านเที่ยว บิณฑบาต ได้บิณฑบาตเป็นอันมาก แล้วเลือกนำแต่ข้าวสุกล้วนๆ ไปสู่อาราม ตากให้แห้งแล้วเก็บไว้ เมื่อใดต้องการอาหาร ก็แช่น้ำฉันเมื่อนั้น ต่อนานๆ จึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต ภิกษุทั้งหลายถามท่านว่า อาวุโส ทำไมนานๆ ท่าน จึงเข้าบ้านเพื่อบิณฑบาต จึงท่านได้แจ้งเรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลาย ถามว่า อาวุโส ก็ท่านฉันอาหารที่ทำการสั่งสมหรือ.
ท่านรับว่า อย่างนั้น อาวุโสทั้งหลาย.
บรรดาภิกษุที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนท่านพระเวฬัฏฐสีสะจึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามท่านพระเวฬัฏฐสีสะว่า ดูก่อนเวฬัฏฐ- สีสะ ข่าวว่า เธอฉันอาหารที่ทำการสั่งสม จริงหรือ.
ท่านพระเวฬัฏฐสีสะทูลรับ ว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนเวฬัฏฐสีสะ ไฉนเธอ จึงได้ฉันอาหารที่ทำการสั่งสมเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 541
ความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่ เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๗. ๘. อนึ่ง ภิกษุใดเคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ที่ทำการสั่งสม เป็นปาจิตตีย์ ...
เรื่องพระเวฬัฏฐสีสเถระ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๓] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ทำการสั่งสม คือรับประเคนในวันนี้ ขบฉันในวันอื่น.
ที่ชื่อว่า ของเคี้ยว คือเว้นโภชนะ ๕ ของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก นอกนั้นชื่อว่าของเคี้ยว.
ที่ชื่อว่า ของฉัน ได้แก่โภชนะ ๕ คือ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ.
ภิกษุรับประเคนไว้ด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 542
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๑๔] ของทำการสั่ง ภิกษุสำคัญว่าทำการสั่งสม เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของทำการสั่งสม ภิกษุสงสัย เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
ของทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่ามิได้ทำการสั่งสม เคี้ยวก็ดี ฉันก็ดี ซึ่งของเคี้ยวก็ดี ซึ่งของฉันก็ดี ต้องอาบติปาจิตตีย์
ทุกกฏ
ภิกษุรับประเคนของเป็นยามกาลิก สัตตาหกาลิก ยาวชีวิก เพื่อ ประสงค์เป็นอาหาร ต้องอาบัติทุกกฏ.
ขณะกลืน ต้องอาบัติทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน.
ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่าทำการสั่งสม ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
ของมิได้ทำการสั่งสม ภิกษุสำคัญว่ามิได้ทำการสั่งสม ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๑๕] ภิกษุเก็บของเป็นยาวกาลิกไว้ฉันชั่วกาล ๑ ภิกษุเก็บของ เป็นยามกาลิกไว้ฉันชั่วยาม ๑ ภิกษุเก็บของเป็นสัตตาหกาลิกไว้ฉันชั่วสัปดาห์ ๑ ภิกษุฉันของเป็นยาวชีวิกในเมื่อมีเหตุสมควร ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิ- กัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรคสิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 543
สันนิธิการสิกขาบทที่ ๘
ในสิกขาบทที่ ๘ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[เรื่องพระเวฬัฏฐสีสะทำการสั่งสม]
พระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งรวมอยู่ภายในแห่งภิกษุชฎิลพันรูป ชื่อว่า เวฬัฏฐสีสะ.
สองบทว่า อรญฺเ วิหรติ ได้แก่ อยู่ในอาวาสแห่งหนึ่ง อันเป็น เรือนเป็นที่บำเพ็ญเพียรใกล้พระเชตวันวิหาร.
บทว่า สุกฺขกูรํ ได้แก่ ข้าวสุกไม่มีแกงและกับ. ได้ยินว่า พระเถระ นั้นฉันภายในบ้านแล้ว ภายหลังเที่ยวบิณฑบาต นำเอาข้าวสุกเช่นนั้นมา. ก็แล พระเถระนำเอาข้าวสุกนั้นมาเพราะความเป็นผู้มักน้อย ไม่ใช่เพราะความเป็นผู้ ติดในปัจจัย. ได้ยินว่า พระเถระยับยั้งอยู่ด้วยนิโรธสมาบัติตลอด ๗ วัน ออกจากสมาบัติแล้ว เอาบิณฑบาตนั้นชุบน้ำฉัน, ย่อมนั่งเข้าสมาบัติต่อจาก ๗ วันนั้นไปอีก ๗ วัน, ท่านยับยั้งอยู่ตลอด ๒ สัปดาห์บ้าง ๓ สัปดาห์บ้าง ๔ สัปดาห์บ้าง ด้วยประการอย่างนี้ จึงเข้าสู่บ้านเพื่อบิณฑบาต. เพราะเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย จึงกล่าวว่า นานๆ ท่านจึงจะเข้าไปยังบ้าน เพื่อบิณฑบาต.
คำว่า การ การณ์ กิริยา (ทั้ง ๓ นี้) โดยอรรถเป็นอันเดียวกัน. การทำความสะสมมีอยู่แก่ขาทนียะและโภชนียะนั้น; ฉะนั้น จึงชื่อว่าสันนิธิการ. สันนิธิการนั่นแหละ ชื่อว่า สันนิธิการก. ความว่า สันนิธิกิริยา (ความทำการ สะสม). คำว่า สันนิธิการกนั้น เป็นชื่อ (แห่งขาทนียโภชนียะ) ที่ภิกษุ รับประเคนไว้ให้ค้างคืน ๑. ด้วยเหตุนั้นแล พระอุบาลีเถระจึงกล่าวไว้ในบท
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 544
ภาชนะแห่งบทว่า สนฺนิธิการกํ นั้นว่า ที่ภิกษุรับประเคนในวันนี้ ขบฉัน ในวันอื่น ชื่อว่า สันนิธิการก.
คำว่า ปฏิคฺคณฺหาติ อาปตฺติ ทุกฺกฏสฺส มีความว่า เมื่อภิกษุ รับยาวกาลิก หรือยามกาลิกอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่กระทำสันนิธิอย่างนี้ ด้วย ความประสงค์จะกลืนกิน ต้องทุกกฏ ในเพราะรับประเคนก่อน. แต่เมื่อกลืนกิน เป็นปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน. ถ้าแม้นว่า บาตรล้างไม่สะอาด ซึ่งเมื่อลูบด้วย นิ้วมือ รอยปรากฏ, เมือกซึมเข้าไปในระหว่างหมุดแห่งบาตรที่มีหมุด, เมือกนั้น เมื่ออังที่ความร้อนให้ร้อนย่อมซึมออก หรือว่า รับข้าวยาคูร้อน จะปรากฏ เป็นปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้ฉัน แม้ในบาตรเช่นนั้นในวันรุ่งขึ้น. เพราะฉะนั้น ภิกษุ พึงล้างบาตรแล้ว เทน้ำใสลงไปในบาตรนั้น หรือลูบด้วยนิ้วมือ จึงจะรู้ได้ว่า ไม่มีเมือก. ถ้าแม้นว่ามีเมือกบนน้ำก็ดี รอยนิ้วมือปรากฏในบาตรก็ดี, บาตร ย่อมเป็นอันล้างไม่สะอาด. แต่ในบาตรมีสีน้ำมัน รอยนิ้วมือยู่อมปรากฏ, รอยนิ้วมือนั้นเป็นอัพโพหาริก. ภิกษุทั้งหลายไม่เสียดาย สละโภชนะใดให้แก่ สามเณร ถ้าสามเณรเก็บโภชนะนั้นไว้ถวายแก่ภิกษุ ควรทุกอย่าง. แต่ที่ตน เองรับประเคนแล้วไม่สละเสียก่อน ย่อมไม่ควรในวันรุ่งขึ้น. จริงอยู่ เมื่อภิกษุ กลืนกินข้าวสุกแม้เมล็ดเดียวจากโภชนะที่ไม่สละนั้น เป็นปาจิตตีย์เหมือนกัน.
บรรดาเนื้อที่เป็นอกัปปิยะ ในเนื้อมนุษย์เป็นปาจิตตีย์กับถุลลัจจัย. ในเนื้อที่เหลือเป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ. เมื่อกลืนกินยามกาลิกในเมื่อมีเหตุเป็น ปาจิตตีย์. เมื่อกลืนกินเพื่อประโยชน์เป็นอาหาร เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ. ถ้า ภิกษุเป็นผู้ห้ามภัต กลืนกินโภชนะที่ไม่ได้ทำให้เป็นเดน, ในอามิสตามปรกติ เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว. ในเนื้อมนุษย์เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว กับถุลลัจจัย. ใน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 545
อกัปปิยมังสะที่เหลือ เป็นปาจิตตีย์กับทุกกฏ. เมื่อกลืนกินยามกาลิก ทางปาก ที่มีอามิส เมื่อมีเหตุ เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว. ทางปากไม่มีอามิสเป็นปาจิตตีย์ ตัวเดียวเท่านั้น. เมื่อกลืนกินเพื่อประโยชน์เป็นอาหาร ทุกกฏเพิ่มขึ้นแม้ใน วิกัปทั้ง ๒. ถ้าภิกษุกลืนกินในเวลาวิกาล, ในโภชนะตามปรกติ เป็นปาจิตตีย์ ๒ ตัว เพราะการสันนิธิเป็นปัจจัย ๑ เพราะฉันในวิกาลเป็นปัจจัย ๑. ใน อกัปปิยมังสะ ถุลลัจจัยและทุกกฏเพิ่มขึ้น. ในพวกยามกาลิกไม่เป็นอาบัติ เพราะฉันในวิกาลเป็นปัจจัย. แต่ไม่เป็นอาบัติในวิกัปทุกอย่าง ในเวลาวิกาล เพราะความไม่เป็นเดนในยามกาลิกเป็นปัจจัย.
ข้อว่า สตฺตาหกาลิกํ ยาวชีวิกํ อาหารตฺถาย มีความว่า เมื่อ ภิกษุรับประเคนเพื่อประโยชน์เป็นอาหาร เป็นทุกกฏ เพราะการรับประเคน เป็นปัจจัยก่อน. แต่เมื่อกลืนกิน ถ้าเป็นของไม่มีอามิสเป็นทุกกฏ ทุกๆ คำกลืน. ถ้าสัตตาหกาลิก ยาวชีวิก ระคนด้วยอามิสเป็นของที่ภิกษุรับประเคน เก็บไว้ เป็นปาจิตตีย์ตามวัตถุแท้.
ในคำว่า อนาปตฺติ ยาวกาลิกํ เป็นต้น มีวินิจฉัยว่า ขาทนียะ โภชนียะ ทำพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงขยายไว้แล้วในวิกาลโภชนสิกขาบท เรียกว่า ยาวกาลิก เพราะเป็นของอันภิกษุพึงฉันได้ชั่วเวลา คือ เที่ยงวัน, ปานะ ๘ อย่าง กับพวกอนุโลมปานะ เรียกว่า ยามกาลิก ด้วยอรรถว่า มีเวลาเป็นครู่ยาม เพราะเป็นของที่ภิกษุพึงฉันได้ตลอดชั่วยาม คือ ปัจฉิมยาม แห่งราตรี, เภสัช ๕ อย่าง มีสัปปิเป็นต้น เรียกว่า สัตตาหกาลิก ด้วย อรรถว่า มีเวลา ๗ วัน เพราะเป็นของที่ภิกษุพึงเก็บไว้ได้ถึง ๗ วัน, กาลิก ที่เหลือแม้ทั้งหมด เว้นน้ำเสีย เรียกว่า ยาวชีวิก เพราะเป็นของที่ภิกษุพึง รักษาไว้ฉันได้ตลอดชีวิตเมื่อมีเหตุ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 546
บรรดากาลิกเหล่านั้น ภิกษุเก็บยาวกาลิกที่รับประเคนในเวลารุ่งอรุณ ไว้ ฉันได้ทั้งร้อยครั้ง ตราบเท่าที่กาลเวลายังไม่ล่วงเลยไป, ฉันยามกาลิกได้ ตลอดวัน ๑ กับคืน ๑, ฉันสัตตาหกาลิกได้ ๗ คืน ฉันยาวชีวิกนอกนี้ได้แม้ ตลอดชีวิตเมื่อมีเหตุ ไม่เป็นอาบัติ. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
แต่ในฐานะนี้ ในอรรถกถาทั้งหลาย ท่านกล่าวปานกถา กัปปิยานุ- โลนกถา กถามีอาทิว่า ยามกาลิก กับยาวกาลิก ระคนกัน ควรไหมหนอ? และกัปปิยภูมิกถาไว้พิสดารแล้ว. ข้าพเจ้าจักกล่าวกถานั้นๆ ในอาคตสถาน นั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมุฎฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดขึ้นทางกาย ๑ ทาง กายกับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
สันนิธิการกสิกขาบทที่ ๘ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 547
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙
เรื่องพระฉัพพัคคีย์
[๕๑๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน ประชาชนพากัน เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตรจึงได้ขอ โภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน โภชนะที่ดีใครจะไม่พอใจ ของ ที่อร่อยใครจะไม่ชอบ ภิกษุทั้งหลายได้ยินคนพวกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนา อยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์จึงได้ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า ... แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าพวกเธอขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน จริงหรือ.
พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉน พวกเธอจึงได้ขอโภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉันเล่า การกระทำ ของพวกเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือ เพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 548
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๘. ๙. ก. อนึ่ง ภิกษุใดขอโภชนะอันประณีตเห็นปานนี้ คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องพระฉัพพัคคีย์ จบ
เรื่องภิกษุอาพาธ
[๕๑๗] ก็โดยสมัยนั้นแล มีภิกษุทั้งหลายอาพาธอยู่ พวกภิกษุผู้ พยาบาล ได้ถามพวกภิกษุผู้อาพาธว่า อาวุโสทั้งหลาย ยังพอทนได้อยู่หรือ ยังพอครองอยู่หรือ
ภิกษุอาพาธเหล่านั้น ตอบว่า อาวุโสทั้งหลาย เมื่อก่อนพวกกระผมขอ โภชนะอันประณีตเพื่อประโยชน์แก่ตนมาฉัน เพราะเหตุนั้นพวกกระผมจึงมี ความผาสุก แต่เดี๋ยวนี้พวกกระผมรังเกียจอยู่ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงห้าม แล้ว จึงไม่ขอ เพราะเหตุนั้นพวกกระผมจึงไม่มีความผาสุก
ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงอนุญาตให้ภิกษุอาพาธขอโภชนะอันประณีต
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็น เค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์ แก่ตนมาฉันได้
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 549
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๘๘. ๙. ข. อนึ่ง ภิกษุใด มิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอัน ประณีตเห็นปานนี้คือ เนยใส เนยข้น น้ำมัน น้ำผึ้ง น้ำอ้อย ปลา เนื้อ นมสด นมส้ม เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุอาพาธ จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๑๘] คำว่า โภชนะอันประณีต ความว่า ที่ชื่อว่า เนยใส ได้แก่ เนยใสที่ทำจาก น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือจากน้ำนม สัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า เนยข้น ได้แก่เนยข้นที่ทำจากน้ำนมสัตว์เหล่านั้น
ที่ชื่อว่า น้ำมัน ได้แก่น้ำมันอันสกัดออกจากเมล็ดงา จากเมล็ดพันธุ์ ผักกาด จากเมล็ดมะซาง จากเมล็ดละหุ่ง หรือจากเปลวสัตว์
ที่ชื่อว่า น้ำผึ้ง ได้แก่รสหวานที่แมลงผึ้งทำ
ที่ชื่อว่า น้ำอ้อย ได้แก่รสหวานที่เกิดจากอ้อย
ที่ชื่อว่า ปลา ท่านว่าได้แก่สัตว์ที่เที่ยวไปในน้ำ
ที่ชื่อว่า เนื้อ ได้แก่เนื้อของสัตว์บกที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า นมสด ได้แก่น้ำนมโค น้ำนมแพะ น้ำนมกระบือ หรือ น้ำนมของสัตว์ที่มีมังสะเป็นกัปปิยะ
ที่ชื่อว่า นมส้ม ได้แก่นมส้มที่ทำจากน้ำนมของสัตว์เหล่านั้นแหละ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 550
[๕๑๙] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ...
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
บทว่า โภชนะอันประณีตเห็นปานนั้น ได้แก่ โภชนะอันประณีต มีสภาพดังกล่าวแล้ว
ที่ชื่อว่า มิใช่ผู้อาพาธ คือผู้ที่เว้น โภชนะอันประณีต ก็ยังผาสุก
ที่ชื่อว่า ผู้อาพาธ คือผู้ที่เว้น โภชนะอันประณีต ไม่ผาสุก
ภิกษุมิใช่ผู้อาพาธขอเพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นทุกกฏในประโยคที่ขอ
ได้ของนั้นมา รับประเคนด้วยตั้งใจว่าจักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ
ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๒๐] มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ขอโภชนะอันประณีต เพื่อประโยชน์ แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
มิใช่ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าอาพาธ ขอโภชนะอันประณีต เพื่อ ประโยชน์แก่ตนแล้วฉัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ทุกะทุกกฏ
ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่ามิใช่ผู้อาพาธ ... ต้องอาบัติทุกกฏ
ผู้อาพาธ ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติ ทุกกฏ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 551
ไม่ต้องอาบัติ
ผู้อาพาธ ภิกษุสำคัญว่าผู้อาพาธ ... ไม่ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๒๑] ภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุเป็นผู้อาพาธ ขอมา หายอาพาธแล้ว ฉัน ๑ ภิกษุฉันโภชนะที่เหลือของภิกษุอาพาธ ๑ ภิกษุขอต่อญาติ ๑ ภิกษุขอ ต่อคนปวารณา ๑ ภิกษุขอเพื่อประโยชน์แก่ภิกษุอื่น ๑ ภิกษุจ่ายมาด้วยทรัพย์ ของตน ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๙ จบ
ปณีตโภชนสิกขาบทที่ ๙
ในสิกขาบทที่ ๙ มีวินิจฉัยดังนี้.
[แก้อรรถปฐมบัญญัติ เรื่องโภชนะอันประณีต]
บทว่า ปณีตโภชนานิ ได้แก่ โภชนะอย่างดียิ่ง.
คำว่า กสฺส สมฺปนฺนํ น มนาปํ ได้แก่ โภชนะที่ประกอบ ด้วยคุณสมบัติ ใครจะไม่ชอบใจ.
บทว่า สาทู แปลว่า มีรสอร่อย.
ในคำว่า โย ปน ภิกฺขุ เอวรูปานิ ปณีตโภชนานิ อคิลาโน อตฺตโน อตฺถาย วิญฺาเปตฺวา ภุญฺเชยฺย นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ :- ภิกษุ ขอโภชนะที่ดีล้วนๆ มีสัปปิเป็นต้นมาฉัน ไม่ต้องปาจิตตีย์. ต้องทุกกฏเพราะ ขอแกงและข้าวสุกในพวกเสขิยวัตร. แต่ภิกษุผู้ขอโภชนะดี ทีระคนกับข้าวสุก มาฉัน บัณฑิตพึงทราบว่า ต้องปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 552
ทราบว่า ในคำนี้ มีอธิบายดังต่อไปนี้:- ก็เพราะเหตุนั้นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสว่า ปณีตานิ ตรัสในสูตรว่า ปณีตโภชนานิ. จริงอยู่ เมื่อพระองค์ตรัสว่า ปณีตานิ ย่อมรวมสัปปิเป็นต้นเข้าด้วย. แต่เมื่อตรัสว่า ปณีตโภชนานิ เนื้อความย่อมปรากฏดังนี้ว่า โภชนะที่เกิดจาก ธัญชาติ ๗ ชนิด ระคนด้วยของประณีต ชื่อว่า โภชนะประณีต.
บัดนี้ ในคำว่า วิญฺาเปติ ปโยเค ทุกฺกฏํ เป็นต้น มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้:- เมื่อภิกษุขอว่า ท่านจงให้ภัตกับเนยใส, จงราดเนยใสให้, จงทำให้ระคนกับเนยใสแล้วให้, จงให้เนยใส จงให้เนยใสและภัต ดังนี้ เป็นทุกกฏ เพราะการออกปากขอ, เป็นทุกกฏ เพราะรับประเคน, เป็นปาจิตตีย์ เพราะกลืนกิน. แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า ท่านจงให้สัปปิภัต เพราะธรรมดาว่า สัปปิภัตดุจสาลีภัต ไม่มี ฉะนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นทุกกฏ เพราะออก ปากขอแกงและข้าวสุกอย่างเดียว.
ก็ถ้าเมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ภัตกับเนยใส แต่ทายกถวายภัตแล้ว ถวาย เนยขึ้น นมสด หรือนมส้ม ด้วยกล่าวว่า นิมนต์ท่านทำเนยใสฉันเถิด ก็ หรือถวายมูลค่ากล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเอาเนยใสด้วยมูลค่านี้ฉันเถิด (เป็น ปาจิตตีย์) ตามวัตถุทีเดียว.
แต่เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ภัตกับเนยใสโค ทายกจงถวายด้วยเนยใสโค หรือเมื่อเนยใสโคไม่มี จงถวายเนยข้นโคเป็นต้นโดยนัยก่อนนั้นแล หรือจง ถวายแม่โคทีเดียวก็ตามที กล่าวว่า นิมนต์ท่านฉันด้วยเนยใสจากแม่โคนี้ (เป็นปาจิตตีย์) ตามวัตถุเหมือนกัน.
แต่ถ้าทายกถูกภิกษุขอด้วยเนยใสโค ถวายด้วยเนยใสของแพะเป็นต้น เป็นอันผิดสังเกต. จริงอยู่ เมื่อมีการถวายอย่างนี้ จึงเป็นอันทายกถูกภิกษุขอ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 553
อย่างหนึ่ง ถวายไปอีกอย่างหนึ่ง เพราะฉะนั้น จึงไม่เป็นอาบัติ. แม้ในคำว่า จงให้ด้วยเนยใสแพะ เป็นต้นก็นัยนี้.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ด้วยกัปปิยะเนยใส ทายกถวายด้วยอกัปปิยะ เนยใส เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ด้วยอกัปปิยะ เนยใส ทายกถวายด้วยกัปปิยะเนยใส เป็นทุกกฏเหมือนกัน ทั้งในการรับ ทั้งในการบริโภค. เมื่ออกัปปิยะเนยใสไม่มี เขาถวายด้วยอกัปปิยะเนยข้น เป็นต้น โดยนัยก่อนนั้นแล ด้วยกล่าวว่า นิมนต์ท่านทำเนยใสฉันเถิด เป็น อันเขาถวายด้วยอกัปปิยะเนยใสแท้.
เมื่อภิกษุกล่าวว่า ด้วยอกัปปิยะเนยใส เขาถวายด้วยกัปปิยะเนยใส เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. เมื่อกล่าวว่า ด้วยเนยใส เขาถวายด้วยของ อย่างใดอย่างหนึ่ง มีเนยข้น เป็นต้นที่เหลือ เป็นอันผิดสังเกตเหมือนกัน. แม้ใน คำว่า จงถวายด้วยเนยข้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แท้จริง มีการออกปากขอด้วยวัตถุใดๆ เมื่อภิกษุได้วัตถุนั้น หรือ มูลค่าแห่งวัตถุนั้นแล้ว จัดว่าเป็นอันได้วัตถุนั้นๆ แล้วเหมือนกัน. แต่ถ้าเขา ถวายของอื่นที่มาในพระบาลี หรือมิได้มาก็ตาม เป็นผิดสังเกต. เมื่อภิกษุ ออกปากขอด้วยเนยข้นเป็นต้นอย่างอื่น. ยกเว้นเนยข้นที่มาในพระบาลีเป็นต้น เสีย เป็นทุกกฏ. เหมือนอย่างที่ท่านกล่าวไว้ว่า เมื่อภิกษุกล่าวว่า จงให้ สัปปีภัต การออกปากขอแกงและข้าวสุก เป็นทุกกฏเท่านั้น เพราะสัปปิภัต ไม่มีเหมือนสาลีภัต ฉันใด แม้ในคำว่า จงให้นวนีตภัต เป็นต้นก็ฉันนั้น (คือเป็นเพียงทุกกฏฉันนั้น).
จริงอยู่ แม้เมื่อจะกล่าวเนยขึ้นเป็นต้นแต่ละอย่างให้พิสดารตามลำดับ (แห่งเนยขึ้น) ก็จะต้องกล่าวเนื้อความนี้นั่นและ. และเนื้อความพิสดารนั้น
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 554
บัณฑิตอาจรู้ได้แม้ด้วยความสังเขป, จะมีประโยชน์อะไรด้วยความพิสดารใน เนยข้นแต่ละอย่างเป็นต้นนั้น. ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวว่า แม้ในคำว่า จงให้ด้วยเนยขึ้น เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน.
แต่ถ้าภิกษุออกปากขอในที่เดียวกัน หรือในทำต่างกัน ด้วยวัตถุมีเนยใสเป็นต้นแม้ทั้งหมด เทของที่ได้แล้วลงในภาชนะเดียวกันทำให้เป็นรสเดียวกัน แม้เอาปลายหญ้าคาแตะหยดลงที่ปลายลิ้นหยดเดียว จากรสนั้นแล้วกลืนกิน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ๙ ตัว. สมจริงดังคำแม้นี้ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ใน คัมภีร์ปริวารว่า
ภิกษุต้องปาจิตตีย์ที่เป็นไปทางกาย มิใช่ เป็นไปทางวาจาทั้งหมด (๙ ตัว) มีวัตถุ ต่างๆ กัน พร้อมๆ กัน คราวเดียว, ปัญหา ข้อนี้ท่านผู้ฉลาดคิดกันแล้ว.
ในคำว่า อคิลาโน คิลานสญฺี นี้ มีวินิจฉัยดังนี้:- ถ้าภิกษุ แม้เป็นผู้มีความสำคัญว่าอาพาธ ออกปากขอเภสัช ๕ เพื่อประโยชน์แก่เภสัช, พระวินัยธรพึงปรับเธอด้วยมหานามสิกขาบท. แต่เมื่อออกปากขอโภชนะ ประณีต ๙ อย่าง พึงปรับด้วยสิกขาบทนี้. แต่โภชนะประณีต ๙ อย่างนั้น เป็น ปาฏิเทสนียวัตถุสำหรับพวกภิกษุณี. ในเพราะการออกปากขอแกงและข้าวสุก เป็นทุกกฏที่ตรัสไว้ในเสขิยบัญญัติเท่านั้น แก่ภิกษุและภิกษุณีแม้ทั้ง ๒ พวก. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐาน ๔ เกิดจากทางกาย ๑ ทางกายกับวาจา ๑ ทางกายกับจิต ๑ ทางกายวาจากับจิต ๑ เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม วจีกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
ปณีตโภชนะ สิกขาบทที่ ๙ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 555
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง
[๕๒๒] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ กูฏาคาร ศาลาป่ามหาวัน เขตพระนครเวสาลี ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่งเป็นผู้มีปกติถือ ของทุกอย่างเป็นบังสกุล สำนักอยู่ในสุสานประเทศ ท่านไม่ปรารถนาจะรับ อาหารที่ประชาชนถวาย เที่ยวถือเอาอาหารเครื่องเซ่นเจ้าตามป่าช้าบ้าง ตาม โคนไม้บ้าง ตามธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง ประชาชนต่างก็เพ่งโทษติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน ภิกษุนี้จึงได้ถือเอาอาหารเครื่องเช่นเจ้าของพวกเราไปฉัน เองเล่า ภิกษุนี้อ้วนล่ำ บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์.
ภิกษุทั้งหลายได้ยินประชาชนพวกนั้น เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า ไฉนภิกษุจึงได้ กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปากเล่า ... แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นแด่ พระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอบถามภิกษุรูปนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ ข่าวว่า เธอกลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก จริงหรือ.
ภิกษุนั้นทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูก่อนโมฆบุรุษ ไฉนเธอจึง ได้กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปากเล่า การกระทำของเธอนั่น ไม่
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 556
เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่ง ของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๘๙. ๑๐. ค. อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ล่วง ช่องปาก เป็นปาจิตตีย์.
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุ ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
เรื่องภิกษุรูปหนึ่ง จบ
ทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน
[๕๒๓] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุพากันรังเกียจน้ำและไม้ชำระฟัน ภิกษุทั้งหลายได้กราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าๆ ทรงอนุญาตว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ถือเอาน้ำ และไม้ชำระฟันเองแล้วบริโภคได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนั้น ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๘๙. ๑๐. ข. อนึ่ง ภิกษุใด กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วง ช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องทรงอนุญาตน้ำและไม้ชำระฟัน จบ
สิกขาบทวิภังค์
[๕๒๔] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือผู้เช่นใด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 557
บทว่า ภิกษุ ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุ เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ ชื่อว่า ภิกษุ ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้.
ที่ชื่อว่า ที่เขายังไม่ได้ให้ ท่านกล่าวว่า ที่ยังไม่ได้รับประเคน.
ลักษณะการรับประเคน
ที่ชื่อว่า เขาให้ คือ เมื่อเขาให้ด้วยกาย ด้วยของเนื่องด้วยกาย หรือ โยนให้ ๑ เขาอยู่ในหัตถบาส ๑ ภิกษุรับประเคนด้วยกาย หรือด้วยของเนื่อง ด้วยกาย ๑ นี้ชื่อว่า เขาให้.
ที่ชื่อว่า อาหาร ได้แก่ ของที่กลืนกินได้ อย่างใดอย่างหนึ่ง ยกเว้น น้ำและไม้ชำระฟัน นี้ชื่อว่าอาหาร.
บทว่า เว้นไว้แต่น้ำ และไม้ชำระฟัน คือ ยกเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน. ภิกษุถือเอาด้วยตั้งใจว่า จักเคี้ยว จักฉัน ต้องอาบัติทุกกฏ ขณะกลืน ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ทุกๆ คำกลืน.
บทภาชนีย์
ติกปาจิตตีย์
[๕๒๕] อาหารที่ยังไม่ได้รับ ประเคน ภิกษุสำคัญว่ายังมิได้รับประเคน กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
อาหารที่ยังไม่ได้ประเคน ภิกษุสงสัย กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน ต้องอาบัติปาจิตตีย์.
อาหารที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุสำคัญว่าได้รับประเคนไว้แล้ว กลืนอาหารที่เขายังไม่ได้ให้ ล่วงช่องปาก เว้นไว้แต่น้ำและไม้ชำระฟัน ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 558
ทุกะทุกกฏ
อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ายังไม่ได้รับประเคน ... ต้อง อาบัติทุกกฏ.
อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสงสัย ... ต้องอาบัติทุกกฏ.
ไม่ต้องอาบัติ
อาหารที่รับประเคนไว้แล้ว ภิกษุสำคัญว่ารับประเคนไว้แล้ว ... ไม่ ต้องอาบัติ.
อนาปัตติวาร
[๕๒๖] กลืนน้ำและไม้ชำระฟัน ๑ ฉันยามหาวิกัติ ๔ ในเมื่อมีเหตุ ฉุกเฉินเมื่อกัปปิยการกไม่มี ภิกษุถือเอาเองแล้วฉันได้ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
โภชนวรรค สิกขาบทที่ ๑๐ จบ
ปาจิตตีย์ วรรคที่ ๔ จบ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 559
ทันตโปณสิกขาบทที่ ๑๐
ในสิกขาบทที่ ๑๐ มีวินิจฉัยดังนี้:-
[แก่อรรถด้วยภิกษุถือบังสุกุลทุกอย่าง]
ภิกษุนั้น ชื่อว่า สรรพบังสุกูลิกะ (ผู้มีปกติถือบังสกุลทุกอย่าง) เพราะอรรถว่า ภิกษุนั้นมีบรรดาปัจจัย ๔ ทุกอย่าง โดยที่สุด แม้ไม้ชำระฟัน ก็เป็นบังสกุลทั้งนั้น. ได้ยินว่า ภิกษุนั้น ทำภาชนะที่เขาทั้งในป่าช้านั้นนั่นเอง ให้เป็นบาตร ทำจีวรด้วยท่อนผ้าที่เขาทิ้งในป่าช้านั้นนั่นแหละ ถือเอาเตียง และตั่งที่เขาทั้งในป่าช้านั้นเหมือนกันใช้สอย.
ปู่และตาของบิดาผู้ล่วงลับไปแล้ว เรียกว่า อัยยะ ในคำว่า อยฺยโวสาฏิตกานิ นี้. ขาทนียะและโภชนียะที่เขาเซ่นทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่บรรพบุรุษเหล่านั้น เรียกว่า โวสาฏิตกะ (เครื่องเซ่น). ได้ยินว่า พวกมนุษย์ได้ทำของอันเป็นที่รักแห่งพวกญาติเหล่านั้น ในเวลาที่ ยังมีชีวิตอยู่ ให้เป็นก้อนข้าวบิณฑ์อุทิศพวกญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว เช่นวางไว้ ในที่ทั้งหลาย มีป่าช้าเป็นต้นนั่นด้วยตั้งใจว่า ขอเหล่าญาติของพวกเรา จง บริโภคเถิด.
ภิกษุนั้นเอาข้าวบิณฑ์นั้นมาฉัน, ไม่ปรารถนาของอื่นแม้ประณีตที่เขา ถวาย. ด้วยเหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลายจึงได้กล่าวว่า ถือเอา อาหารเครื่องเซ่นเจ้าที่ป่าช้าบ้าง ที่โคนไม้บ้าง ที่ธรณีประตูบ้าง มาฉันเอง ดังนี้.
บทว่า เถโร แปลว่า แข็งแรง คือ ล่ำสัน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 560
บทว่า วทฺธโร แปลว่า อ้วนล่ำ. มีคำอธิบายว่า ภิกษุนี้ทั้งอ้วน ทั้งมีร่างกายล่ำสัน.
สามบทว่า มนุสฺสมํสํ มญฺเ ขาทติ มีความว่า พวกเราเข้าใจ ภิกษุนั้นว่า บางทีจะฉันเนื้อมนุษย์. ประชาชนเหล่านั้นมีความเข้าใจดังนี้ว่า ความจริง พวกคนกินเนื้อมนุษย์ ย่อมเป็นผู้เช่นนี้.
ในคำว่า อุทกทนฺตโปเณ กุกฺกุจฺจายนฺติ นี้ มีวินิจฉัยดังนี้ พวกภิกษุเหล่านั้นไม่ได้สังเกตอรรถแห่งบ่ทว่า พึงกลืนกินอาหารที่เขาไม่ได้ให้ ผ่านทวารปากเข้าไป ให้ถูกต้อง จึงได้พากันรังเกียจ. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงยังภิกษุเหล่านั้น ให้ยอมตกลง ด้วยอำนาจแห่งเรื่องตามที่เกิดขึ้น แล้ว ดุจบิดาชี้แจงให้พวกลูกๆ ยินยอม ฉะนั้น จึงได้ทรงตั้งอนุบัญญัติไว้.
บทว่า อทินฺนํ มีความว่า เขาไม่ได้ให้ด้วยกาย ของเนื่องด้วยกาย และการโยนให้อย่างใดอย่างหนึ่ง แก่ภิกษุผู้รับด้วยกายหรือด้วยของเนื่องด้วย กาย. จริงอยู่ พระอุบาลีเถระหมายเอาของที่เขาไม่ได้ให้นี้แหละ จึงกล่าวไว้ ในบทภาชนะว่า ชื่อว่าของที่เขายังไม่ได้ให้ ท่านเรียกของที่ยังไม่ได้รับประเคน. แต่ในทุติยปาราชิกตรัสว่า ชื่อว่า ของทำเขาไม่ได้ให้ ท่านเรียกทรัพย์ที่ผู้อื่น หวงแหน. ส่วนบทว่า ของที่เขาให้นี้ ท่านยกขึ้นไว้ เพื่อแสดงลักษณะแห่ง ของที่เขาไม่ได้ให้นั้นนั่นแหละ ด้วยอำนาจแห่งนัยที่ทรงกันข้าม.
[ว่าด้วยการประเคนและการรับประเคน]
ก็ในนิเทศแห่งบทว่า ทินฺนํ นั้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ข้อว่า กาเยน วา กายปฏิพทฺเธน วา นิสฺสคฺคิเยน วา เทนฺเต ได้แก่ เมื่อคนอื่น เขาให้อยู่อย่างนี้ (คือให้อยู่ด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกายหรือด้วยการ โยนให้).
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 561
ข้อว่า หตฺถปาเส ิโต กาเยน วา กายปฏิพทฺเธน วา ปฏิคฺคณหาติ มีความว่า ถ้าภิกษุอยู่ในหัตถบาสมีลักษณะดังกล่าวแล้วในก่อน รับ ประเคนของนั้นที่เขาให้อยู่อย่างนั้น ชั้นที่สุดแม้ละอองรถด้วยกาย หรือด้วย ของเนื่องด้วยกาย. วัตถุนั่นที่รับประเคนแล้ว อย่างนั้นท่านเรียกชื่อว่า ของที่ เขาให้. ของที่เขาเสียสละด้วยคำว่า ท่านจงถือเอาของนี้, ของนี้จงเป็นของท่าน เป็นต้น ท่านไม่เรียกชื่อว่าของที่เขาให้.
บรรดานิเทศเหล่านั้น บทว่า กาเยน มีความว่า ที่เขาให้ด้วยบรรดา สรีราวัยวะมีมือเป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ชั้นที่สุด แม้ด้วยนิ้วเท้า ก็เป็น อันชื่อว่าเขาให้แล้วด้วยกาย. แม้ในการรับประเคน ก็นัยนี้นั่นแล. แท้จริง ของที่ภิกษุรับประเคนด้วยสรีราวัยวะ (ส่วนแห่งร่างกาย) ส่วนใดส่วนหนึ่ง จัดว่า รับประเคนแล้วด้วยกายเหมือนกัน. ถ้าแม้นเขาให้ของที่ต้องทำการนัตถุ์ ภิกษุอาพาธไม่อาจนัตถุ์เข้าทางช่องจมูกได้เลย รับเข้าทางปากได้ (รับประเคน ทางปากได้). ความจริง เพียงความใส่ใจเท่านั้น เป็นประมาณในการรับ ประเคนนี้. นัยนี้ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรี.
บทว่า กายปฏิพทฺเธน มีความว่า ของที่เขาให้ด้วยอุปกรณ์อย่างใด อย่างหนึ่ง บรรดาอุปกรณ์ มีทัพพีเป็นต้น เป็นอันชื่อว่าเขาให้ด้วยของเนื่อง ด้วยกาย. แม้ในการรับประเคนก็นัยนี้เหมือนกัน. ของที่ภิกษุรับด้วยวัตถุ อย่างใดอย่างหนึ่งที่เนื่องด้วยร่างกาย มีบาตรและถาดเป็นต้น จัดว่ารับประเคน ด้วยของเนื่องด้วยกายเหมือนกัน.
บทว่า นิสฺสคฺคิเยน มีความว่า ก็ของที่เขาโยนถวายให้พ้นจากกาย และจากของเนื่องด้วยกาย แก่ภิกษุผู้อยู่ในหัตถบาส ด้วยกายหรือของเนื่อง ด้วยกาย เป็นอันชื่อว่าเขาถวายด้วยประโยคที่โยนให้. นี้เป็นการพรรณนาตาม พระบาลีก่อน.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 562
บาลีมุตตกวินิจฉัย
ก็ในสิกขาบทนี้ พึงทราบบาลีมุตตกวินิจฉัยดังต่อไปนี้:-
[การรับประเคนมีองค์ ๕ อย่าง]
การรับประเคน ย่อมขึ้นด้วยองค์ ๕ คือ ของพอบุรุษมีกำลังปานกลาง ยกได้ ๑ หัตถบาสปรากฏ (เขาอยู่ในหัตถบาส) ๑ การน้อมถวายปรากฏ (เขาน้อมถวาย) ๑ เทวดาก็ตาม มนุษย์ก็ตาม ดิรัจฉานก็ตาม ถวาย (ประเคน) ๑ และภิกษุรับประเคนของนั้นด้วยกาย หรือด้วยของเนื่องด้วยกาย ๑. การรับประเคนย่อมขึ้นด้วยองค์ ๕ ด้วยประการอย่างนั้น. ในองค์ ๕ นั้น หัตถบาส แห่งภิกษุผู้ยืนนั่งและนอน บัณฑิตพึงทราบโดยนัยดังกล่าวแล้ว ในปวารณาสิกขาบท.
ก็ถ้าบรรดาผู้ให้และผู้รับประเคน ฝ่ายหนึ่งอยู่บนอากาศ ฝ่ายหนึ่งอยู่ บนพื้น, พึงกำหนดประมาณหัตถบาสทางศีรษะของผู้ยืนอยู่บนพื้น และทาง ริมด้านในแห่งอวัยวะที่ใกล้กว่า ของผู้ยืนอยู่บนอากาศ ยกเว้นมือที่เหยียดออก เพื่อให้หรือเพื่อรับเสีย. ถ้าแม้นฝ่ายหนึ่งอยู่ในหลุม (บ่อ) อีกฝ่ายหนึ่งอยู่ริมหลุม หรือฝ่ายหนึ่งอยู่บนต้นไม้ อีกฝ่ายหนึ่งอยู่บนแผ่นดิน ก็พึงกำหนดประมาณ หัตถบาส โดยนัยดังกล่าวแล้วนั่นแหละ.
ถ้าแม้นนกเอาจะงอยปากคาบดอกไม้ หรือผลไม่ถวาย หรือช้างเอา งวงจับดอกไม้ หรือผลไม่ถวายอยู่ในหัสถบาสเห็นปานนี้, การรับประเคน ย่อมขึ้น (ใช้ได้). ก็ถ้าภิกษุนั่งอยู่บนคอช้างแม้สูง ๗ ศอกคืบ จะรับของที่ช้าง นั้นถวายด้วยงวงก็ควรเหมือนกัน. ทายกคนหนึ่งทูนภาชนะข้าวสวยและกับข้าว เป็นอันมากไว้บนศีรษะ มายังสำนักของภิกษุพูดทั้งยืนว่า นิมนต์ท่านรับเถิด
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 563
การน้อมถวายยังไม่ปรากฏก่อน เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรรับ. แต่ถ้าเขาน้อม ลงมาแม้เพียงเล็กน้อย, ภิกษุพึงเหยียดแขนออกรับภาชนะอันล่าง แม้โดย เอกเทศ. ด้วยการรับเพียงเท่านี้ ภาชนะทั้งหมดเป็นอันรับประเคนแล้ว. ตั้งแต่ รับประเคนนั้นไป จะยกลง หรือเลื่อนออก แล้วหยิบเอาของที่คนต้องการ สมควรอยู่. ส่วนในภาชนะเดียวกันมีกระบุงซึ่งมีข้าวสวยเป็นต้น ไม่มีคำที่จะ พึงกล่าวเลย.
แม้ทายกผู้หาบภัตตาหารไป ถ้าน้อมหาบลงถวาย สมควรอยู่. ถ้าแม้น มีไม้ไผ่ยาว ๓๐ ศอก, ที่ปลายข้างหนึ่งผูกหม้อน้ำอ้อยแขวนไว้ ที่ปลายข้างหนึ่ง ผูกหม้อเนยใสแขวนไว้, ถ้าภิกษุรับประเคนลำไม้ไผ่นั้น เป็นอันรับประเคน ของทั้งหมดเหมือนกัน.
ถ้าทายกกล่าวว่า นิมนต์ท่านรับน้ำอ้อยสดซึ่งกำลังไหลออกจากราง หีบอ้อย การน้อมเข้ามาถวาย ยิ่งไม่ปรากฏ เพราะฉะนั้น จึงไม่สมควรรับ. แต่ถ้าเขาเอากากทิ้งแล้วเอามือวักขึ้นถวายๆ ควรอยู่.
บาตรมากใบ เขาวางไว้บนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี บนเสื่อลำแพนก็ดี บนรางไม้ก็ดี บนแผ่นกระดานก็ดี. ทายก (ผู้ให้) อยู่ในหัตถบาสแห่งภิกษุ ผู้อยู่ในที่ใด, ของที่เขาให้ในบาตรเหล่านั้น อันภิกษุผู้อยู่ในที่นั้น แม้เอานิ้ว แตะเตียงเป็นต้น ด้วยความหมายว่ารับประเคนจะยืนอยู่ก็ตาม นั่งอยู่ก็ตาม นอนอยู่ก็ตาม เป็นอันรับประเคนแล้วทั้งหมด. ถ้าแม้นภิกษุขึ้นนั่งเตียงเป็นต้น ด้วยหมายใจว่า เราจักรับประเคน. ก็ควรเหมือนกัน.
ก็ถ้าแม้นเขาวางบาตรทั้งหลายไว้บนแผ่นดิน เอากระพุ้งกับกระพุ้ง จดกัน, ของที่เขาถวายในบาตรใบที่ภิกษุนั่ง เอานิ้วมือหรือเข็มแตะไว้เท่านั้น เป็นอันรับประเคนแล้ว. ท่านกล่าวไว้ในที่บางแห่งว่า การรับประเคนในบาตร
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 564
ที่เขาตั้งไว้บนเสื่อลำแพนผืนใหญ่ และเครื่องลาดหลังช้างเป็นต้น ย่อมไม่ขึ้น. คำนั้นพึงทราบว่า ท่านกล่าวหมายเอาการล่วงเลยหัตถบาสไป. แต่เมื่อมีหัตถบาสในที่ใดที่หนึ่งก็ควร นอกจากของซึ่งเกิดอยู่กับที่นั้น.
ก็การรับประเคนบนใบปทุม หรือบนใบทองกวาวเป็นต้น ซึ่งเกิดอยู่ กับที่นั้น ย่อมไม่ควร. เพราะใบปทุมเป็นต้นนั้น ไม่ถึงการนับว่าของเนื่อง ด้วยกาย. เหมือนอย่างว่าในของเกิดกับที่นั้น การรับประเคนไม่ขึ้น ฉันใด ในเตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอเป็นต้น ในแผ่นกระดาน หรือในหินที่เป็นอสังหาริมะ การรับประเคน ก็ไม่ขึ้นเหมือนกัน ฉันนั้น. จริงอยู่ เตียงที่ตั้งตรึงไว้ที่ตอ เป็นต้นแม้นั้นเป็นของควรสงเคราะห์เข้ากับของที่เกิดอยู่กับที่นั้น.
แม้บนใบมะขามเป็นต้น ซึ่งเป็นใบเล็กๆ ดาดไว้บนพื้น การรับ ประเคนก็ไม่ขึ้น. เพราะว่า ใบมะขามเป็นต้นเหล่านั้น ไม่สามารถจะทั้งไว้ได้ ด้วยดี. แต่บนใบที่ใหญ่มีใบปทุมเป็นต้น (รับประเคน) ขึ้น.
ถ้าทายก (ผู้ให้) ยืนเลยหัตถบาสในที่นั้น เอากระบวยคันยาวตักถวาย, ภิกษุพึงบอกเขาว่า เข้ามาถวายใกล้ๆ. เขาไม่ได้ยินคำพูด หรือไม่เอื้อเฟื้อ เทลงไปในบาตรทีเดียว, ภิกษุพึงรับประเคนใหม่. แม้ในบุคคลผู้ยืนอยู่ห่าง โยนก้อนข้าวไปถวาย ก็นัยนี้เหมือนกัน. ถ้าในบาตรที่นำออกมาจากถุงบาตร มีผงน้ำย้อม, เมื่อมีน้ำพึงล้างเสียก่อน. เมื่อไม่มี พึงเช็ดผงน้ำย้อม หรือรับ ประเคนแล้ว จึงเที่ยวไปบิณฑบาต. ถ้าเมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตผงตกลง (ในบาตร) พึงรับประเคนก่อนจึงรับภิกษา. แต่เมื่อไม่รับประเคน รับ (ภิกษา) เป็น วินัยทุกกฏ. แต่ไม่เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้รับประเคนธุลีที่ตกนั้นใหม่แล้วฉัน. ก็ถ้า เมื่อภิกษุกล่าวว่า รับประเคนก่อนจงถวาย พวกเขาไม่ได้ยินคำพูด หรือไม่ เอื้อเฟื้อถวายภิกษุเลยทีเดียว, ไม่เป็นวินัยทุกกฏ. ภิกษุรับประเคนใหม่แล้ว พึงรับภิกษาอื่นเถิด.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 565
[วิธีปฏิบัติเมื่อมีของตกลงในบาตรในเวลาต่างๆ]
ถ้าลมแรงพัดธุลีให้ลอยไปตกจากที่นั้นๆ , ภิกษุไม่อาจรับภิกษาได้, จะผูกใจรับด้วยจิตบริสุทธิ์ว่า เราจักให้แก่อนุปสัมบัน ควรอยู่. เที่ยวไป บิณฑบาตอย่างนั้นแล้วกลับไปยังวิหาร หรืออาสนศาลา ให้ภิกษานั้นแก่ อนุปสัมบันแล้ว จะรับเอาภิกษาที่อนุปสัมบันนั้น ถวายใหม่ หรือจะถือเอาของ อนุปสัมบันนั้นด้วยวิสาสะฉัน ก็ได้.
ถ้าภิกษุให้บาตรที่มีธุลีแก่ภิกษุในเวลาเที่ยวภิกษาจาร, พึงบอกภิกษุ เจ้าของบาตรนั้นว่า ท่านรับประเคนบาตรนี้แล้ว พึงรับภิกษาหรือพึงฉัน. ภิกษุเจ้าของบาตรนั้น พึงทำอย่างนั้น. ถ้าธุลีลอยอยู่ข้างบน, พึงรินน้ำข้าวออก แล้วฉันส่วนที่เหลือเถิด. ถ้าธุลีจมแทรกลงข้างใน พึงประเคนใหม่. เมื่อไม่มี อนุปสัมบันอย่าปล่อย (บาตร) จากมือเลย พึงนำไปในที่ซึ่งมีอนุปสัมบัน แล้วรับประเคนใหม่. จะนำธุลีที่ตกลงในข้าวแห้งออกแล้วฉัน ก็ควร. แต่ถ้า เป็นธุลีละเอียดมาก พึงนำออกพร้อมกับข้าวสวยส่วนข้างบน หรือพึงรับประเคน ใหม่ แล้วฉันเถิด.
เมื่อชาวบ้านวางข้าวยาคูหรือแกงไว้ข้างหน้าแล้วคน หยดแกงกระเซ็น ขึ้นจากภาชนะตกลงในบาตร. ภิกษุพึงรับประเคนบาตรใหม่. เมื่อพวกเขาเอา กระบวยตักมาถวาย หยาดสูปะเป็นต้น หยดออกจากกระบวยตกลงไปในบาตร ก่อน, เป็นอันตกลงไปด้วยดี ไม่มีโทษ เพราะเขาน้อมเข้ามาถวาย
ถ้าแม้นเมื่อเขาเอาจอกน้ำเกลี่ยข้าวสุกลงอยู่ เขม่า หรือเถ้าตกลงไป จากจอกน้ำ ไม่มีโทษเหมือนกัน เพราะเขาน้อมถวาย ของที่เขากำลังถวายแก่ ภิกษุรูปถัดไป กระเด็นออกจากบาตรไปตกในบาตรของภิกษุอีกรูปหนึ่ง เป็น อันตกไปดี จัดว่ารับประเคนแล้วเหมือนกัน.
เมื่อเขาจัดผักปลัง (ผักไห่) ดองเป็นต้น ถวายแก่ภิกษุรูปหนึ่ง หยดน้ำ (ผักดอง) จากผักดองตกลงไปในบาตรของภิกษุอื่นเธอพึงรับประเคน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 566
บาตรใหม่. พวกเขากำลังจับข้างบนบาตรของภิกษุใด, เมื่อหยดน้ำผักดองตก ลงไปในบาตรของภิกษุนั้น ไม่มีโทษ เพราะเขาน้อมเข้ามาด้วยความเป็นผู้ ประสงค์จะถวาย.
พวกชาวบ้านถวายบาตรเต็มด้วยข้าวปายาส, ภิกษุไม่อาจจับข้างล่างได้ เพราะมันร้อน จะจับแม้ที่ขอบปาก ก็ควรเหมือนกัน. ถ้าแม้นอย่างนั้นก็ไม่อาจ (จับได้) พึงรับด้วยเชิงรองบาตร (ตีนบาตร)
ภิกษุผู้นั่งถือบาตรหลับอยู่ที่หอฉัน. เธอไม่รู้ว่าเขากำลังนำโภชนะ มาเลย เขาถวายอยู่ก็ไม่รู้, โภชนะจัดว่ายังไม่ได้รับประเคน. แต่ถ้าเธอเป็นผู้ นั่งใส่ใจไว้ (แต่ต้น) ควรอยู่. ถ้าแม้นเธอวางมือจากเชิงบาตรแล้วเอาเท้า หนีบไว้ม่อยหลับไป สมควรเหมือนกัน. แต่เมื่อเธอเอาเท้าเหยียบเชิงบาตรไว้ รับประเคน ถึงจะตื่นอยู่ ก็เป็นการรับประเคนโดยไม่เอื้อเฟื้อ. เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรทำ.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า การรับประเคนด้วยเชิงรองบาตรอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นการรับประเคนด้วยของเนื่องกับบาตรซึ่งเนื่องด้วยกาย เพราะฉะนั้น จึงไม่ควร. คำนั้นเป็นแค่เพียงกำพูดเท่านั้น. แต่โดยอรรถ ทั้งหมดนั่น ก็เป็น ของเนื่องด้วยกายทั้งนั้น. และแม้ในกายสังสัคคสิกขาบท ก็ได้แสดงนัยนี้ไว้แล้ว. ถึงจะหยิบแม้ของตกที่เขากำลังถวายแก่ภิกษุ ขึ้นมาฉันเอง ก็ควร.
ในการหยิบเอาของตกฉันนั้น มีพระสูตรเป็นเครื่องสาธกดังต่อไปนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เราอนุญาตให้ภิกษุหยิบเอาของตกที่เขากำลังถวายฉัน เองได้. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เพราะของนั้น พวกทายกเขาสละถวาย * แล้ว. ก็แล พระสูตรนี้ มีอรรถควรอธิบาย เพราะฉะนั้น ในพระสูตรนี้ พึงทราบอธิบายอย่างนี้:- ของใดที่เขากำลังถวาย พลัดหลุด จากมือของผู้ถวาย ตกลงไปบนพื้นที่สะอาด หรือบนใบบัว ผ้า เสื่อลำแพน
(๑) วิ จุลฺล. ๗/๔๙
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 567
เป็นต้น, ของนั้นจะหยิบขึ้นมาฉันเองก็ควร. แต่ของใดตกลงไปบนพื้นที่มีฝุ่น ละออง, ของนั้น พึงเช็ด หรือล้างฝุ่นละอองออกแล้ว หรือรับประเคนแล้วฉัน เถิด ถ้าของกลิ้งไปยังสำนักของภิกษุอื่น, แม้ภิกษุเจ้าของๆ นั้น จะให้นำคืน มาก็ควร. ถ้าเธอกล่าวกะภิกษุนั้นว่า นิมนต์ท่านนั่นแหละฉันเถิด แม้ภิกษุ นั้นจะฉัน ก็ควร. แต่ภิกษุนั้นอันภิกษุเจ้าของสิ่งของไม่ได้สั่ง ไม่ควรรับ.
ในกุรุนทีกล่าวว่า แม้จะไม่ได้รับคำสั่ง จะรับด้วยทั้งใจว่า จักถวาย ภิกษุเจ้าของสิ่งของนอกน ก็ควร
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ของนั่นจึงไม่ควรที่ภิกษุนอกนี้จะรับ?
แก้ว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงอนุญาตไว้.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อตรัสว่า เราอนุญาตให้ภิกษุหยิบของ ฉันเองได้ ดังนี้ ก็ทรงอนุญาตแก่ภิกษุผู้ซึ่งเขากำลังถวายของที่พลัดตกไปนั้น เท่านั้น ให้หยิบเอาของนั้น แม้ไม่ได้รับ ประเคนฉันได้. แต่ด้วยคำว่า ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย! เพราะของนั้นพวกทายกสละให้แล้ว จึงเป็นอันทรงแสดงความ ไม่เป็นของคนอื่นในพระดำรัสนี้; เพราะฉะนั้น ภิกษุอื่นหยิบฉันเอง จึงไม่ ควร, แต่สมควร เพราะการสั่งของภิกษุผู้เป็นเจ้าของแห่งสิ่งของนั้น. นัยว่า นี้เป็นอธิบายในคำว่า อนุชานามิ ภิกฺขเว เป็นต้นนี้.
ก็เพราะของที่พลัดตกนั้น ทรงอนุญาตไว้ เพราะเป็นของยังไม่ได้รับ ประเคน; ฉะนั้น ภิกษุไม่จับต้องของตามที่ตั้งอยู่นั่นแหละเอาของบางอย่าง ปิดไว้ แล้วฉันแม้ในวันรุ่งขึ้น ก็ควร, ไม่เป็นอาบัติ เพราะสันนิธิเป็นปัจจัย. แต่ควรรับประเคนก่อนแล้ว จึงฉัน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุญาต การหยิบฉันเองแก่ภิกษุนั้น เฉพาะในวันนั้น นอกจากวันนั้นไปไม่ทรงอนุญาต ทราบว่า อรรถแม้นี้ก็เป็นอธิบายในพระดำรัสว่า อนุชานามิ ภิกฺเว เป็นต้นนี้.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 568
[ว่าด้วยอัพโพหาริกนัยโดยทั่วๆ ไป]
บัดนี้ ข้าพเจ้าจะกล่าวอัพโพหาริกนัยต่อไป:- จริงอยู่ เมื่อภิกษุทั้ง หลายฉันอยู่ ฟันทั้งหลายย่อมสึกหรือ, เล็บทั้งหลาย ย่อมสึกกร่อน สี (ผิว) บาตรย่อมลอก, ทั้งหมดเป็นอัพโพหาริก. เมื่อภิกษุปอกอ้อยเป็นต้นด้วยมีด สนิมย่อมปรากฏ. สนิมนั้น ธรรมดาเป็นของเกิดขึ้นใหม่ ควรรับประเคนก่อน จึงฉัน. เมื่อภิกษุล้างมีดแล้วจึงปอก สนิมไม่ปรากฏ, มีแต่สักว่ากลิ่นโลหะ, เพียงกลิ่นโลหะนั้น เป็นอัพโพหาริก. ถึงแม้ในจำพวกของที่ผ่าด้วยมีดเล็กที่ พวกภิกษุเก็บรักรักษาไว้ ก็นัยนี้นั่นแล. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายจะเก็บมีดนั้น ไว้เพื่อต้องการใช้สอย ก็หามิได้แล.
เมื่อภิกษุทั้งหลายบด หรือตำอยู่ซึ่งเครื่องยา มีรากยาเป็นต้น ตัว หินบด ลูกหินบด ครก และสากเป็นต้น ย่อมสึกกร่อนไป. ภิกษุทั้งหลาย จะเผามีดที่เก็บรักษาไว้ แล้วใส่ลงในเปรียง หรือนมสดเพื่อประโยชน์เป็นยา สีเขียวย่อมปรากฏในเปรียง หรือนมสดนั้น. มีวินิจฉัยเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้ว ในมีดเล็กนั่นแหละ. ส่วนในเปรียงดิบเป็นต้น ไม่ควรจุ่มมีดที่เก็บไว้ลงไปด้วย ตนเอง หากว่า ภิกษุจุ่มลงไป ย่อมไม่พ้นสามปักกะ.
เมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาตในเมื่อฝนตก น้ำสกปรกหยดจากตัวหรือจาก จีวรลงในบาตร พึงรับประเคนบาตรนั้นใหม่ แม้ในหยาดน้ำที่ตกลง เมื่อ ภิกษุกำลังฉันอยู่ที่โคนต้นไม้เป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าว่า เมื่อฝนตก ตลอด ๗ วัน เป็นน้ำบริสุทธิ์ หรือน้ำฝนที่ตกกลางแจ้งควรอยู่.
ภิกษุเมื่อจะให้ข้าวสุกแก่สามเณร พึงให้อย่าถูกต้องข้าวสุกที่อยู่ใน บาตรของสามเณรนั้นเลย, หรือว่า พึงรับประเคนบาตรของสามเณรนั้น. เมื่อ ภิกษุถูกต้องข้าวสุกในบาตรที่ไม่ได้รับประเคน แล้วจับข้าวสุกในบาตรของตน
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 569
อีก ข้าวสุกเป็นอุคคหิตก์. (๑) แต่ถ้าว่าภิกษุเป็นผู้มีความประสงค์จะให้ กล่าวว่า แน่ะสามเณร! เธอจงนำบาตรมา, จงรับเอาข้าวสุก ดังนี้, แต่สามเณรนั้น ปฏิเสธว่า กระผมพอแล้ว, และแม้เมื่อภิกษุกล่าวอีกว่า ข้าวสุกนั่นเราสละ แก่เธอแล้ว สามเณรยังกล่าวว่า กระผมไม่ต้องการข้าวสุกนั่น ดังนี้, ถึงจะ สละตั้งร้อยครั้งก็ตามที ตลอดเวลาที่ข้าวสุกยังอยู่ในมือของตนจัดว่าเป็นของ รับประเคนแล้วแล.
แต่ถ้าว่า ข้าวสุกตั้งอยู่แม้บนเชิงรองบาตร ภิกษุไม่มีความเสียดาย กล่าวว่า. เธอจงรับเอาไป, ต้องรับประเคนใหม่ ถ้าภิกษุยังมีความเสียดายอยู่ วางบาตรไว้บนเชิงรองบาตร แล้วกล่าวกะสามเณรว่า เธอจงรับเอาขนมหรือ ข้าวสวยจากบาตรนี้ ดังนี้, สามเณรล้างมือแล้ว ถ้าแม้นว่าถือเอาไปตั้งร้อยครั้ง ไม่ถูกต้องของที่อยู่ในบาตรของตนเลยใส่ลงในบาตรของตนเอง, ไม่มีกิจที่จะ ต้องรับประเคนใหม่. แต่ถ้าสามเณรถูกต้องของที่อยู่ในบาตรของตนหยิบเอา ออกจากบาตรนั้น, ของนั้นย่อมระคนกับของๆ สามเณรพึงรับประเคนใหม่.
แต่เกจิอาจารย์ทั้งหลายกล่าวว่า ถ้าแม้นว่า ของที่สามเณรหยิบเอาอยู่ ขาดตกลงในบาตรนั้น พึงรับประเคนใหม่. คำนั้นบัณฑิตพึงทราบในก้อนข้าว สุกเป็นต้น ที่ภิกษุกล่าวจำกัดไว้อย่างนี้ว่า เธอจงหยิบ เอาก้อนข้าวก้อนหนึ่ง, จง หยิบขนมชิ้นหนึ่ง, จงหยิบเอาส่วนเท่านี้แห่งก้อนน้ำอ้อยนี้. ส่วนในคำนี้ว่า เธอจงหยิบเอาขนมหรือข้าวสวยจากบาตรนี้ ไม่มีการจำกัด; เพราะฉะนั้น ของ ที่ตกลงในบาตรของสามเณรเท่านั้น จึงจะขาดประเคน. ส่วนข้าวสวยที่อยู่ใน มือ (ของสามเณร) ยังเป็นของภิกษุนั้นเองตลอดเวลาที่สามเณรยังไม่บอกงด หรือภิกษุยังไม่ห้ามว่า พอละ, เพราะฉะนั้น จงยังไม่ขาดประเคน.
ถ้าภิกษุใส่ข้าวสวยลงในภาชนะสำหรับต้มข้าวต้มของตน หรือของ ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรบางพวก พึงกล่าวว่า แน่ะสามเณร!
(๑) ของฉันทุกอย่างที่ยังไม่ได้รับประเคน ภิกษุจับต้องเรียกว่า ของเป็นอุคคหิตก์, ผู้ชำระ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 570
เธอจงวางมือไว้ข้างบนภาชนะ แล้วตักลงที่มือของสามเณรนั้น. ของตกจากมือ ของสามเณรลงในภาชนะ. ของที่ตกนั้น ย่อมไม่ทำให้ภาชนะเป็นอกัปปิยะใน วันรุ่งขึ้น เพราะข้าวสุกนั้น ภิกษุสละแล้ว. ถ้าว่าภิกษุไม่ทำอย่างนั้นตักลงไป, พึงทำภาชนะให้ปราศจากอามิสเหมือนบาตรแล้วฉันเถิด.
พวกทายกวางหม้อข้าวต้มไว้แล้วไปเสีย. สามเณรเล็กไม่อาจให้ภิกษุ รับประเคนหม้อข้าวต้มนั้นได้, ภิกษุเอียงบาตรเข้าไป. สามเณรวางคอหม้อ บนขอบปากบาตรแล้ว เอียงลง. ข้าวต้มทำไหลไปในบาตรเป็นอันประเคนแล้ว แล. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุวางมือลงบนพื้น. สามเณรหมุนไปวางลงบนมือของ ภิกษุนั้น ควรอยู่. แม้ในกระเช้าขนมกระเช้าข้าวสวย (กระบุงขนมและกระบุง ข้าวสวย) และมัดอ้อยเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ถ้าสามเณร ๒ - ๓ รูป จะ ช่วยกันถวาย ภาระ (ของหนัก) ที่ควรประเคนได้, หรือภิกษุ ๒ - ๓ รูปจะช่วย กันรับของที่คนมีกำลังแข็งแรงคนเดียวยกขึ้นถวาย ควรอยู่.
[ว่าด้วยของเป็นอุคคหิตก์และ ไม่เป็น]
ชนทั้งหลายแขวนหม้อน้ำมัน หรือหม้อน้ำอ้อยไว้ที่เท้าเตียงหรือตั่ง, ภิกษุจะนั่งบนเตียงก็ดี บนตั่งก็ดี ควรอยู่ น้ำมัน เป็นต้นนั้น จะชื่อว่าเป็น อุคคหิตก์หามิได้. หม้อน้ำมัน ๒ หม้อเป็นของที่เขาแขวนไว้บนไม้ฟันนาค หรือบนขอ. หม้อบนรับประเคนแล้ว, หม้อล่างยังไม่ได้รับประเคน, จะจับ หม้อบน ควรอยู่. หม้อล่างรับประเคนแล้ว, หม้อบนยังไม่ได้รับประเคน. เมื่อภิกษุจับหม้อบนแล้ว จับหม้อล่าง หม้อบน เป็นอุคคหิตก์. ภายใต้เตียงมี ถ้วยน้ำมันยังไม่ได้รับประเคน. ถ้าภิกษุกวาดเอาไม้กวาดกระทบถ้วยน้ำมัน, น้ำ มันนั้นยังไม่เป็นอุคคหิตก์.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 571
ภิกษุตั้งใจว่า เราจะหยิบของที่รับประเคนไว้แล้ว ไพล่ไปหยิบของที่ ไม่ได้รับประเคน รู้แล้วกลับวางไว้ในที่ที่คนหยิบมา, ของนั้นไม่เป็นอุคคหิตก์. นำออกมาภายนอกแล้วจึงรู้. อย่าตั้งไว้ข้างนอกพึงนำกลับเข้าไปตั้งในที่เดิมนั่น เอง, ไม่มีโทษ. ก็ถ้าว่าถ้วยน้ำมันนั้นเมื่อก่อน วางเปิดไว้, ไม่ควรปิด พึง วางไว้ตามเคยเหมือนที่วางอยู่ก่อน. ถ้าวางไว้ข้างนอก, อย่าไปแตะต้องอีก. ถ้าภิกษุกำลังลงมายังปราสาทชั้นล่าง รู้เอาในท่ามกลางบันได เพราะไม่มีโอกาส พึงนำไปวางไว้ข้างบน หรือข้างล่างก็ได้.
ราขึ้นในน้ำมันที่รับประเคนแล้ว, ผงราขึ้นที่แง่งขิงเป็นต้น. ราหรือ ผงรานั่น ธรรมดาเกิดในน้ำมันและขิงนั้นนั่นเอง, ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน ใหม่. คนขึ้นต้นตาล หรือต้นมะพร้าว เอาเชือกโรยทะลายผลตาลลงมา ยัง คงอยู่ข้างบน กล่าวว่า นิมนต์ท่านรับเถิด อย่าพึงรับ. ถ้าคนอื่นยืนอยู่บน พื้นดิน จับที่ห่วงเชือกยกถวาย, จะรับควรอยู่. ภิกษุให้ทำกิ่งไม้ใหญ่ที่มีผล ให้เป็นกัปปิยะแล้ว รับประเคน. ผลทั้งหลายเป็นอันภิกษุรับประเคนแล้วเหมือน กัน ควรบริโภคได้ตามสบาย.
ชนทั้งหลายยืนอยู่ภายในรั้วแหวกรั้ว (ลอดรั้ว) ถวายอ้อยลำ หรือ ผลมะพลับ; เมื่อได้หัตถบาส ควรรับ. เมื่อภิกษุรับอ้อยลำ หรือผลมะพลับ นั้นที่ลอดออกมา ไม่ถูกบนคร่าวรั้ว (ไม่พาดบนคร่าวรั้ว) จึงควร. ในอ้อยลำ และผลมะพลับที่ลอดออกมาถูก (บนคร่าวรั้ว) ท่านไม่ได้แสดงโทษไว้ใน อรรถกถาทั้งหลาย. แต่พวกเราเข้าใจว่า จากฐานที่ลำอ้อยเป็นต้นถูก เป็น เหมือนหยิบของตกขึ้นเอง. แม้คำนั้นย่อมใช้ได้ในเมื่อของออกไปไม่หยุด เหมือนภัณฑะที่โยนให้ตกกลิ้งไปภายนอกด่านภาษี ฉะนั้น.
พวกชนโยนของข้ามรั้ว หรือกำแพงถวาย. แต่ถ้ากำแพงไม่หนา หัตถบาสย่อมเพียงพอแก่ผู้ยืนอยู่ภายในกำแพงและภายนอกกำแพง ภิกษุจะรับของ ที่สะท้อนขึ้นสูงแม้ตั้งร้อยศอกแล้วลอยมาถึงควรอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 572
ภิกษุเอาคอแบกสามเณรอาพาธไป (ให้สามเณรอาพาธขี่คอไป). เธอ เห็นผลไม้น้อยใหญ่ เก็บถวาย ทั้งที่นั่งอยู่บนคอ, ภิกษุควรจะรับ. บุคคลอื่น แบกภิกษุไป ถวายผลไม้แก่ภิกษุผู้นั่งอยู่บนคอ, สมควรรับเหมือนกัน. ภิกษุ ถือกิ่งไม้มีผล เพื่อต้องการร่มเดินไป. เมื่อเกิดความคิดอยากจะฉันผลขึ้นมา จะให้อนุปสัมบันประเคนแล้ว ควรอยู่. ภิกษุให้ทำกับปิยะกิ่งไม้เพื่อไล่แมลงหวี่ (แมลงวัน) แล้วรับประเคนไว้. หากว่า มีความประสงค์จะฉัน, การรับประเคน ไว้เดิมนั่นแหละยังใช้ได้อยู่, ไม่มีโทษแก่ภิกษุผู้ขบฉัน.
ภิกษุวางภัณฑะทีควรรับประเคนไว้บนยานของพวกชาวบ้านเดินทาง ไป. ยานติดหล่ม. ภิกษุหนุ่มจับล้อดันขึ้น ควรอยู่. สิ่งของไม่ชื่อว่า เป็น อุคคหิตก์. ภิกษุวางของที่ควรประเคนไว้ในเรือ เอาแจวๆ เรือไป หรือเอา มือพุ้ยไป ควรอยู่. แม้ในพ่วง (แพ) ก็นัยนี้เหมือนกัน. ภิกษุแม้วางภัณฑะไว้ ในถาดก็ดี ในคนโท (ตุ่ม) ก็ดี ในหม้อ ก็ดี แล้วใช้ให้อนุปสัมบันถือภัณฑะ นั้นจับแขนอนุปสัมบันข้าม (น้ำ) ไปควรอยู่. แม้เมื่อถาดเป็นต้นไม่มี ให้ อนุปสัมบันถือแล้ว จับอนุปสัมบันนั้นที่แขนข้ามไป ก็ควร.
พวกอุบาสกถวายข้าวสารเป็นเสบียงทางแก่พวกภิกษุผู้เตรียมตัวจะเดิน ทาง. พวกสามเณรช่วยถือข่าวสารภิกษุทั้งหลายแล้วไม่อาจเพื่อจะถือข้าวสาร ส่วนของตนเอง. พวกภิกษุจึงช่วยถือข้าวสารของสามเณรเหล่านั้น. สามเณรทั้ง ทั้งหลาย เมื่อข้าวสารที่ตนถือหมดแล้วเอาข้าวสารนอกนี้ต้มข้าวต้ม ทั้งบาตร ของภิกษุสามเณรทั้งหมดไว้ตามลำดับแล้ว เทข้าวต้มลง. สามเณรผู้ฉลาดเอา บาตรของคนถวายแก่พระเถระ ถวายบาตรของพระเถระแก่พระเถระรูปที่ ๒ เปลี่ยนบาตรกันทั้งหมด อย่างนี้เป็นต้นจนทั่วถึงกัน เป็นอันภิกษุทั้งหมดฉัน ข้าวต้มของสามเณร ควรอยู่. ถ้าแม้นว่าสามเณรเป็นผู้ไม่ฉลาดเริ่มจะดื่มข้าวต้ม ในบาตรของตน ด้วยตัวเองเท่านั้น, พวกพระเถระควรจะขอดื่มไปตามลำดับ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 573
อย่างนี้ว่า ผู้มีอายุ! จงให้ข้าวต้มของเธอแก่เรา ดังนี้. เป็นอันภิกษุทั้งหมด ไม่ต้องโทษเพราะอุคคตหิตก์เป็นปัจจัย ไม่ต้องโทษเพราะสันนิธิเห็นปัจจัย.
แต่ในการเปลี่ยนบาตรกันนี้ ความแปลกกันแห่งภิกษุทั้งหลาย ผู้นำ น้ำมันเป็นต้นไป เพื่อมารดาบิดา และนำกิ่งไม้เป็นต้นไปเพื่อต้องการร่มเป็นต้น กับภิกษุผู้แลกเปลี่ยนบาตรกันเหล่านี้ ไม่ปรากฏ; เพราะฉะนั้น บัณฑิต พึงใคร่ครวญหาเหตุ.
สามเณรประสงค์จะหุงข้าว ไม่อาจจะซาวข้าวสารให้หมดกรวด * ทราย ได้. ภิกษุพึงรับประเคนข้าวสารและภาชนะ ซาวข้าวสารให้หมดกรวดทรายแล้ว ยกภาชนะขึ้นสู่เตาเถิด. อย่าพึงก่อไฟ. ในเวลาหุงจะต้องเปิดดูจึงจะรู้ความที่ ข้าวเป็นของสุกได้. ถ้าข้าวสุกไม่ดี จะปิดเพื่อต้องการให้สุก ไม่ควร. จะปิด เพื่อต้องการไม่ให้ผง หรือขี้เถ้าตกลงไป ควรอยู่. เมื่อเวลาสุกแล้ว จะปลงลง ก็ดี จะฉันก็ดี ควรอยู่. จำเดิมแต่นั้นไป ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่.
สามเณรสามารถจะหุงได้, แต่เธอไม่มีเวลา, เธอประสงค์จะไปในที่ บางแห่ง, ภิกษุรับประเคนภาชนะพร้อมทั้งข้าวสาร และน้ำแล้วยกขึ้นสู่เตา พึงกล่าวว่า เธอจงก่อไฟให้ติดแล้วไปเถิด. ต่อจากไฟติดโพลงนั้น แล้ว จะทำ กิจทุกอย่าง สมควร โดยนัยก่อนเหมือนกัน. ภิกษุตั้งภาชนะสะอาดต้มน้ำเดือด ไว้ เพื่อประโยชน์แก่ข้าวต้ม ควรอยู่. เมื่อน้ำเดือดแล้ว สามเณรกรอกข้าวสารลง. ก็จำเดิมแต่นั้นไป ภิกษุอย่าพึงเร่งไฟ. จะรับประเคนข้ามต้มที่สุกแล้ว ดื่มควรอยู่.
สามเณรต้มข้าวต้มอยู่. ภิกษุคะนองมือเล่นอยู่ จับภาชนะ, จับฝาละมี, ปาดฟองที่พลุ่งขึ้นทิ้งไป. เฉพาะภิกษุนั้น ไม่ควรจะดื่ม, เป็นทุกกฏ ชื่อ ทุรุปจิณณะ. ก็ถ้าว่า ภิกษุจับทัพพี หรือกระบวยแล้ว คนไม่ยกขึ้น. ข้าว
(๑) สารตฺถทีปนิ ๓/๓๔๕ นิจิจาเลตุํ น สกฺโกตีติ นิจฺจาเลตฺวา สกฺขํรา อปเนตุํ น สกฺโกติ.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 574
ต้มนั้นไม่ควรแก่ภิกษุทั้งหมด, ย่อมเป็นทั้งสามปักกะ ทั้งทุรุปจิณณะ. ถ้ายก ขึ้น เป็นทั้งอุคคหิตก์.
ภิกษุเที่ยวบิณฑบาตวางบาตรไว้บนเชิงรอง. ถ้าภิกษุโลเลรูปอื่นเล่น อยู่ในที่นั้น จับต้องบาตร, จับต้องฝาบาตร. ภัตที่ได้จากบาตรนั้นไม่ควร เฉพาะแก่ภิกษุโลเลนั้น. แต่ถ้าเธอยกบาตรขึ้นแล้ววางไว้ ไม่ควรแก่ภิกษุทุกๆ รูป. ภิกษุจับกิ่งไม้หรือเถาวัลย์ เขย่าผลไม้ที่เกิดอยู่บนต้นไม้เป็นต้นนั้น. ผล ที่ได้จากกิ่งไม้ หรือเถาวัลย์นั้น ไม่ควรแก่ภิกษุผู้เขย่านั้นเหมือนกัน. และ เธอย่อมต้องทุรุปจิณณทุกกฏด้วย. ท่านกล่าวไว้ในมหาปัจจรีว่า ภิกษุจะค้ำต้น ไม้มีผล หรือผูกหนามไว้ที่ต้นไม้นั้น ควรอยู่ ไม่เป็นทุรุปจิณณทุกกฏ.
ฝ่ายภิกษุเห็นผลไม้ มีผลมะม่วงเป็นต้นที่หล่นในป่า ตั้งใจว่า เราจัก ให้แก่สามเณร แล้วนำมาให้ ควรอยู่. ภิกษุเห็นเนื้อเดนแห่งสีหะเป็นต้น คิด ว่า เราจักให้แก่สามเณร รับประเคนก็ตาม ไม่ได้รับประเคนก็ตาม นำมาให้ ควรอยู่. ก็ถ้าอาจจะชำระวิตกให้หมดจดได้ แมจะขบฉันอาหารที่ได้มาจากเนื้อ เป็นเดนสีหะเป็นต้นนั้น ก็ควร. ไม่ต้องโทษเพราะรับประเคนเนื้อดิบเป็นปัจจัย และไม่ต้องโทษเพราะของอุคคหิตก์เป็นปัจจัยเลย.
เมื่อภิกษุถือน้ำมันเป็นต้นเดินไป เพื่อประโยชน์แก่มารดา และบิดา เกิดพยาธิขึ้นในระหว่างทาง จะรับประเคนสิ่งที่ตนปรารถนาจากน้ำมันเป็นต้น นั้นแล้วฉัน ควรอยู่. แต่ถ้าเป็นของภิกษุรับประเคนไว้ แม้ในครั้งแรก, ไม่ มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่.
ภิกษุนำข้าวสารมาให้เพื่อประโยชน์แก่มารดา และบิดา. มารดาและ บิดานั้น จัดปรุงข้าวต้มเป็นต้น จากข้าวสารนั้นนั่นเอง ถวายแก่ภิกษุนั้น ควรอยู่. ไม่มีโทษเพราะสันนิธิเป็นปัจจัย หรือเพราะของอุคคหิตก์เป็นปัจจัย. ภิกษุปิดฝาต้มน้ำร้อนให้เดือด, ควรบริโภคได้จนกว่าจะหมด. แต่ถ้าเถ้าตกลง
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 575
ในน้ำร้อนนี้ พึงรับประเคน. เมื่อภิกษุเอาปากคีมด้ามยาวจับถ้วยหุงน้ำมัน เถ้าตกลงไป อย่าปล่อยมือเสีย เคี่ยวไปจนได้ที่ปลงลงแล้ว พึงรับประเคน ใหม่. ถ้าแม้ถ่านก็ดี ฟืนก็ดี ภิกษุรับประเคนวางไว้, การรับประเคนเดิมนั่น แหละยังใช้ได้.
ภิกษุเคี้ยว (ฉัน) อ้อยอยู่. สามเณรกล่าวว่า ท่านให้ผมบ้าง. ภิกษุ บอกเธอว่า จงตัดเอาจากส่วนนี้ไป แล้วถือเอา, ก็ในส่วนที่ยังเหลือ ไม่มีกิจ ที่จะต้องรับประเคนใหม่. แม้สำหรับภิกษุผู้ฉันงบน้ำอ้อย ก็นัยนี้เหมือนกัน. จริงอยู่ อ้อยส่วนที่เหลือจากที่สามเณรตัดเอาจากโอกาสที่ภิกษุบอกไว้ ยังไม่ ละ (ไม่ขาด) การรับประเคนไปเลย
ภิกษุเมื่อจะแจกงบน้ำอ้อย รับประเคนแล้วจัดไว้เป็นส่วนๆ. พวก ภิกษุก็ดี พวกสามเณรก็ดี มาแล้วจะถือเอาคนละส่วนๆ โดยการหยิบครั้งเดียว เท่านั้น. ส่วนที่เหลือจากที่ภิกษุสามเณรหยิบเอาไปแล้ว ยังเป็นของประเคน อยู่อย่างเดิม. ถ้าสามเณรซุกซนจับๆ วางๆ , ส่วนที่เหลือจากสามเณรนั้นถือ เอาไป เป็นของไม่ได้รับประเคน.
ภิกษุรับประเคนกล้องยาสูบ แล้วสูบยา. ปากและคอเป็นเหมือนทา ด้วยมโนศิลา. จะฉันยาวกาลิก ได้อยู่. ไม่มีโทษเนื่องด้วยยาวชีวิกกับยาวกาลิกระคนกัน. เมื่อภิกษุระบมบาตร หรือต้มกรัก ควันเข้าไปทางช่อหู จมูก และปาก, จะสูดดมดอกไม้หรือผลไม้ เพราะความเจ็บไข้เป็นปัจจัย, ควรอยู่ เพราะเป็นอัพโพหาริก.
การเรออ้วกอาหารที่ฉันแล้วออกมากระทบเพดาน กลับเข้าไปในภาย ในอีก ควรอยู่ เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย. ที่เรออ้วกออกมาถึงปากแล้วกลืนเข้า ไปอีก เป็นอาบัติ เพราะวิกาลโภชนสิกขาบท. รสของอามิสที่ติดอยู่ในซอก
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 576
ฟัน เข้าไป (ในลำคอ) เป็นอาบัติเหมือนกัน. ถ้าอามิสละเอียด รสไม่ปรากฏ, จัดเข้าฝักฝ่ายแห่งอัพโพหาริก.
เมื่อเวลาจวนแจ ภิกษุฉันอาหารในที่ไม่มีน้ำ ขากบ้วนน้ำลาย ทิ้งไป ๒ - ๓ ก้อน แล้วพึงไปยังที่มีน้ำบ้วนปากเถิด. หน่อขิงที่รับประเคนเก็บไว้เป็น ต้นงอกออก, ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคนใหม่. ไม่มีเกลือจะทำเกลือด้วยน้ำ ทะเล ควรอยู่. น้ำเค็มที่ภิกษุรับประเคนเก็บไว้กลายเป็นเกลือ หรือเกลือกลาย เป็นน้ำ, น้ำอ้อยสดกลายเป็นน้ำอ้อยแข้นหรือน้ำอ้อยแข้นกลายเป็นน้ำอ้อยเหลว ไป การรับประเคนเดิมนั่นแหละยังใช้ได้อยู่. หิมะและลูกเห็บ มีคติอย่างน้ำ นั้นแล.
พวกภิกษุกวน (แกว่ง) น้ำให้ใสด้วยเมล็ดผลไม้ที่ทำน้ำให้ใส (เมล็ด ตุมกาก็ว่า) ซึ่งเก็บรักษาไว้, น้ำมีน้าที่กวนให้ใสเป็นต้นนั้น เป็นอัพโพหาริก ระคนกับอามิส ก็ควร. น้ำที่กวนให้ใสด้วยผลมะขวิดเป็นต้น ที่มีคติเหมือน อามิส ควรแต่ในเวลาก่อนฉันเท่านั้น. น้ำในสระโบกขรณีเป็นต้น ขุ่นข้น ก็ควร แต่ถ้าว่า น้ำขุ่นข้นนั้น ติดปากและมือ ไม่ควร. น้ำนั้นควรรับประเคน แล้วจึงบริโภค. น้ำขุ่นข้นในสถานที่ถูกไถในนาทั้งหลาย พึงรับประเคน. ถ้าน้ำไหลลงสู่ลำธารเป็นต้น แล้วเต็มแม่น้ำ ควรอยู่.
ชลาลัยมีบึงซึ่งมีต้นกุ่มเป็นต้น มีน้ำอันดาดาษไปด้วยดอกไม้ที่หล่น จากต้น. ถ้ารสดอกไม้ไม่ปรากฏ ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน. ถ้าน้ำนี้อยู่ มี รสปรากฏ พึงรับประเคน. แม้ในน้ำที่ปกคลุมด้วยใบไม้สีดำในลำธารทั้งหลาย มีซอกเขาเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. ดอกไม้ทั้งหลายมีเกสรก็ดี มีน้ำต้อยที่ขั้ว ก็ดี (มีขั้วและน้ำนมก็ดี) เขาใส่ลงในหม้อน้ำดื่ม, พึงรับประเคน. หรือว่า ดอกไม้ทั้งหลายภิกษุรับประเคนแล้วพึงใส่ลงไปเถิด. ดอกแคฝอยและดอกมะลิ
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 577
เป็นของที่เขาใส่แช่ไว้, น้ำคงอยู่เพียงถูกอบกลิ่น. น้ำนั้นเป็นอัพโพหาริก ควร กับอามิสแม้ในวันรุ่งขึ้น.
สามเณรตัดน้ำดื่มจากน้ำดื่มอบดอกไม้ที่ภิกษุเก็บไว้ แล้วเทน้ำที่เหลือ จากที่ตนดื่มแล้วลงในน้ำดื่มนั้นอีก, พึงรับประเคนใหม่. ภิกษุจะเอาหม้อน้ำ แกว่งแหวกเกสรดอกไม้ที่แผ่คลุมน้ำอยู่ในสระบัวเป็นต้น ออกไปแล้ว ตักเอา แต่น้ำ ควรอยู่.
ไม้สีฟันที่ภิกษุให้ทำเป็นกัปปียะแล้วรับประเคนเก็บไว้. ถ้าภิกษุประสงค์ จะดูดรสแห่งไม้สีฟันนั้น, การรับประเคนเดิมนั่นแหละสมควรอยู่. ที่ไม่ได้รับ ประเคนไว้ ต้องรับประเคน. แม้เมื่อรสเข้าไปในลำคอ ก็เป็นอาบัติแก่ภิกษุผู้ ไม่รู้เหมือนกัน. จริงอยู่ สิกขาบทนี้เป็นอจิตตกะ.
ถามว่า บรรดามหาภูตรูป อะไรควร อะไรไม่ควร?
แก้ว่า นมสด สมควรก่อน. จะเป็นนมสดแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็น กัปปิยะ หรือนมสดแห่งสัตว์ที่มีมังสะเป็นอกัปปิยะ ก็ตามที, ภิกษุดื่ม ไม่เป็น อาบัติ. วัตถุนี้ คือ น้ำตา น้ำลาย น้ำมูก มูตร กรีส เศลษม์ มูลฟัน คูถตา คูถหู ส่าเกลือ (เหงื่อไหล) เกิดในร่างกาย ควรทุกอย่าง.
แต่บรรดาสิ่งเหล่านี้ สิ่งใดเคลื่อนจากแหล่ง (ของมัน) แล้วตกลง ในบาตรก็ดี ที่มือก็ดี สิ่งนั้นต้องรับประเคน. สิ่งที่ยังติดอยู่ในอวัยวะ เป็น อันรับประเคนแล้วแท้. เมื่อภิกษุฉันข้าวปายาสร้อนเหงื่อที่ติดตามนิ้วมือแล้ว ติดอยู่ที่ข้าวปายาส หรือว่าเมื่อภิกษุเที่ยวบิณฑบาตเหงื่อไหลจากมือถึงขอบปาก บาตรลงสู่ก้นบาตร. ในบาตรนี้ไม่มีกิจที่จะต้องรับประเคน, ในมหาภูตที่เผา แล้ว ไม่มีคำว่า ส่วนชื่อนี้ ไม่ควร. แต่ที่เผาไม่ดี (ไหม้ไม่สนิท) ไม่ควร. ก็ภิกษุ จะบดแม้กระดูกมนุษย์ ที่เผาดีแล้วให้เป็นผง แล้วโรยลงในของลิ้ม ควรอยู่.
พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้า 578
เมื่อไม่มีกัปปิยการก จะถือเอายามหาวิกัติ ๔ ฉันแม้เอง ก็ควร. ก็ ในอธิการแห่งยามหาวิกัตินี้ กัปปิยะการกเป็นคนว่ายากก็ดี เป็นผู้ไม่สามารถก็ดี ย่อมตั้งอยู่ในฝักฝ่ายไม่มีเหมือนกัน. เมื่อเถ้าไม่มี ภิกษุพึงเผาไม้แห้งเอาเถ้า เมื่อไม้ฟืนแห้งไม่มี แม้จะตัดฟืนสดจากต้นไม้ทำเถ้าก็ควร. ก็ยามหาวิกัติทั้ง ๔ อย่างนี้ ชื่อว่า อนุญาตเฉพาะกาล ควรแต่ในเวลาถูกงูกัดเท่านั้น. บทที่เหลือ ในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้น.
สิกขาบทนี้ มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เกิดจากทางกาย ๑ ทางกายกับจิต ๑ เป็นกิริยา เป็นโนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัขชะ กายกรรม มีจิต ๓ มีเวทนา ๓ ดังนี้แล.
ทันตโปณสิกขาบทที่ ๑๐ จบ
โภชนวรรคที่ ๔ จบบริบูรณ์
ตามวรรณนานุกรม
หัวข้อประจำเรื่อง
๑. อาวสถปิณฑสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารในโรงทาน
๒. คณโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารเป็นหมู่.
๓. ปรัมปรโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารทีหลัง.
๔. กาณมาตาสิกขาบท ว่าด้วยอุบาสิกากาณมาตา.
๕. ปฐมปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยห้ามภัตแล้วฉันอีก.
๖. ทุติยปวารณาสิกขาบท ว่าด้วยห้ามภัตแล้วถูกแค่นให้ฉัน.
๗. วิกาลโภชนสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารในเวลาวิกาล.
๘. สันนิธิการกสิกขาบท ว่าด้วยรับประเคนเว้นน้ำและไม้ชำระฟัน
๙. ปณีตโภชนสิกขาบท ว่าด้วยขอโภชนะอันประณีต.
๑๐. ทันตไปณสิกขาบท ว่าด้วยฉันอาหารที่ทำการสั่งสม.